[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
22 ธันวาคม 2567 20:46:37 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: การดูแลรักษาลูกของแมลง  (อ่าน 1753 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
▄︻┻┳═一
SookJai.com
นักโพสท์ระดับ 9
****

คะแนนความดี: +7/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 795


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 21.0.1180.89 Chrome 21.0.1180.89


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 21 กันยายน 2555 14:24:32 »

การดูแลรักษาลูกของแมลง



แมลงดาสวนตัวผู้มีไข่ติดอยู่บนหลัง

การดูแลรักษาลูกของแมลง โดย ไม่ปรากฎชื่อผู้แต่ง

            ส่วนใหญ่พ่อแม่ของแมลงไม่มีการเลี้ยงลูกปล่อยให้ลูกหากินช่วยตัวเอง แมลงส่วนใหญ่จึง วางไข่หรือออกลูกที่แหล่งอาหารหรือบริเวณที่มี อาหารให้ลูก แมลงส่วนน้อยที่มีการดูแลช่วยเหลือ ลูก เช่น แมลงดาสวนตัวเมียจะวางไข่เป็น แผงติดแน่นบนหลังตัวผู้ เมื่อตัวผู้ว่ายน้ำไป ณที่ใดก็เท่ากับพาไข่ติดไปด้วย ไข่จึงรอดพ้นจากศัตรู แมลงดานาจะคอยเฝ้ารักษากลุ่มไข่ที่ตัวเมียวางติดไว้กับต้นพืชในน้ำ ไม่ยอมให้ศัตรูเข้ามาทำลาย รวมทั้งคอยไล่ตัวเมียที่อาจจะเข้ามากินไข่ของตัวเองด้วย จนกระทั่งตัวอ่อนฟักออกจากไข่แล้วจึงละทิ้งไป แมลงหนีบจะเฝ้าดูแลรักษา ตัวอ่อนที่ฟักออกจากไข่ จนกระทั่งโตพอสมควรที่จะช่วยตัวเองได้แล้ว จึงจะแยกตัวไป
          อย่างไรก็ตาม แมลงหลายพวกเสาะหาที่ทำรังหรือสร้างรังอย่างแข็งแรง สำหรับป้องกันภัยให้ลูกและหาอาหารมาเก็บไว้ให้ลูกกิน จนกระทั่งโตเต็มที่โดยลูกไม่ต้องออกหากินเอง เช่น ผึ้งกรวย จะเที่ยวเสาะหารูขนาดพอเหมาะเช่นรูที่ แมลงอื่นเจาะทิ้งร้างไว้ หรือรูที่คนทำขึ้น เช่น

          รูกุญแจที่โต๊ะหรือรูกลอนประตู รูท่อยางที่ถูกทิ้งไว้ เมื่อได้ที่แล้วจะบินออกไปกัดใบไม้เป็นแผ่น เกือบกลม นำมาห่อเป็นรวย รองกันหลายชั้นในรูเพื่อเป็นรัง นำเกสรดอกไม้มาบุรังจนเพียงพอ ที่จะเป็นอาหารให้ลูกอ่อน ซึ่งฟักออกจากไข่กินจนเจริญเติบโตเต็มที่ได้ ส่วนผึ้งหลอดนั้นทำรัง แบบเดียวกันแต่จะกรุรังด้วยดินเหนียวหรือดินผสมยางไม้ ก่อนที่จะขนใบไม้มากรุรัง หมาร่าจะ
ขนดินเหนียวมาสร้างรังให้แข็งแรงจนเสร็จเสียก่อนจึงจะไปหาตัวหนอนที่เป็นอาหารของลูกอ่อนโดยต่อยให้สลบแล้วขนมาใส่ในรังที่เตรียมไว้ ก่อนที่จะวางไข่ลงไปบนตัวหนอนที่สลบนั้นแล้วจึงปิดรังเพื่อให้ลูกน้อยที่ฟักออกจากไข่ได้กินตัวหนอนทีอยู่ในรังจนเจริญเติบโตได้อย่างปลอดภัยแมลงเหล่านี้จึงมีชีวิตอย่างโดดเดี่ยว
           แมลงที่รวมตัวกันอยู่เป็นฝูงช่วยกันทำรังหาอาหารเลี้ยงลูกอ่อน จัดเป็นแมลงที่มีความเป็นอยู่แบบสังคมชั้นสูงนั้น ได้แก่ ต่อ แตน ผึ้งชันโรง มด และปลวก ในรัง ๆ หนึ่งจึงอาจจะพบแมลงเหล่านี้เป็นพัน เป็นหมื่น หรือนับ แสนตัวก็มี แมลงเหล่านี้มีการแบ่งชั้นวรรณะ

          กล่าวคือในแต่ละรัง ตัวอ่อนเจริญเมื่อโตเต็มวัยมี รูปร่างไม่เหมือนกัน และทำหน้าที่ต่างกัน มี วรรณะตัวผู้ วรรณะตัวเมีย วรรณะกรรมกร และ วรรณะทหาร พวกต่อหลวง ต่อหัวเสือ แตนลิ้นหมา ผึ้งโพรง ผึ้งหลวงผึ้งเลี้ยง และชันโรงเป็นต้น มีตัวผู้ขนาดย่อมกว่าตัวเมียทำหน้าที่ผสมพันธุ์ ตัวเมียที่จะเป็นแม่รังเมื่อผสมพันธุ์และวางไข่ซึ่งจะฟักเป็นตัวแพร่ลูกหลานต่อไปส่วนพวกวรรณะกรรมกรหรือลูกรังนั้นคือตัวเมียที่เป็นหมัน มีขนาดตัวเล็กกว่าตัวผู้เล็กน้อย ทำหน้าที่สร้างรังหาอาหารมาเลี้ยงตัวอ่อน และ
คอยเฝ้าระวังศัตรู โดยมีเหล็กในที่ต่อยให้เจ็บปวดถึงตายได้ ต่อ แตน และผึ้ง เหล่านี้ไม่มีวรรณะทหารที่จะมีรูปร่างผิดแปลกออกไป
 เพราะพวกวรรณะกรรมกรทำหน้าที่นี้อยู่แล้ว โดยปรกติในรังแต่ละรังของต่อและผึ้งดังกล่าว ข้างต้นจะมีตัวเมียตัวเดียวซึ่งเป็นแม่รัง ที่เหลือเป็นลูกรัง ซึ่งเป็นวรรณะกรรมกร จะพบตัวผู้ก็ เฉพาะเมื่อถึงเวลาผสมพันธุ์หรือแยกรัง ต่อและ แตนชนิดที่กล่าวข้างต้นไม่มีการเก็บสำรองอาหารไว้ในรัง ฉะนั้น เมื่อแหล่งอาหารขาดแคลน ก็จำเป็นที่จะต้องแยกรังออกไปหาแหล่งใหม่เพื่อ สร้างรังใหม่ต่อไป สำหรับผึ้งที่กล่าวข้างต้นและชันโรงมีการเก็บสำรองอาหารซึ่งเป็นน้ำผึ้งและเกสรดอกไม้ไว้ในรวงรัง โดยแบ่งสัดส่วนเอา
ไว้เป็นที่เก็บสำรองโดยเฉพาะ มนุษย์เราได้อาศัยน้ำผึ้งที่เก็บสำรองเหล่านี้มาเป็นอาหารอีกทีหนึ่งส่วนผึ้งมิ้มมีวรรณะและความเป็นอยู่เช่นเดียวกับ ผึ้งอื่น ๆ ที่กล่าวข้างต้น ผิดกันแต่ว่าผึ้งงานซึ่งเป็นวรรณะกรรมกรไม่มีต่อมน้ำพิษ และเหล็กใน ที่จะใช้ป้องกันตัว ชอบทำรังตามกิ่งไม้ซึ่งค่อนข้างเปิดเผย จึงมักจะถูกทำลายโดยมนุษย์และศัตรูอื่น ๆ ได้ง่าย ต้องย้ายรังหลีกหนีบ่อย ๆ

          ในกรณีของมดและปลวก นอกจากจะมีวรรณะตัวผู้ ตัวเมีย กรรมกรแล้ว ยังมีวรรณะ ทหาร ซึ่งมักจะมีร่างกายใหญ่โตผิดสัดใหญ่ของรวงรังดังจะเห็นได้จากมดง่ามและ ปลวกโดยทั่วไป เป็นต้น พวกนี้มักจะมีหัวโตผิดสัดส่วนกับอกและท้อง มีขากรรไกรหน้า
รูปร่างคล้ายเขี้ยวใหญ่ เป็นที่น่าเกรงขามของศัตรูพวกวรรณะทหารเหล่านี้จะพบได้บ่อย ๆ เมื่อเดินไปตามทางปะปนกับวรรณะกรรมกร ปลวกงาน มีความแตกต่างกับมด ผึ้ง ต่อ แตน และชันโรงที่กล่าวข้างต้น ในแง่ที่ว่าสามารถช่วยทำงานตั้งแต่อายุเยาว์วัย โดยไม่ต้องรอให้เจริญเติบโตเต็มทส่วนเมื่อเทียบกับวรรณะกรรมกร ซึ่งเป็นประชากรส่วน

          โดยสรุป อาจจะกล่าวได้ว่าแมลงส่วนใหญ่ที่วิวัฒนาการในการที่จะอยู่ร่วมกันในสังคมนั้นยังน้อยอยู่ แต่ก็ยังมีแมลงหลายชนิดหลายพวกที่มีวิวัฒนาการในทางสังคมสูงมากถึงขั้นแบ่งชั้นวรรณะในการทำหน้าที่ของแต่ละฝ่ายอย่างชัดเจนซึ่งหลายสิ่งหลายอย่างที่มนุษย์เองก็ไม่สามารถจะทำได้ ทำให้แมลงเหล่านี้มีชีวิตอยู่รอดในโลกมาได้อย่างดีจนถึงสมัยปัจจุบัน

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

คำค้น: แมลง ลูกแมลง ลูก 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.261 วินาที กับ 30 คำสั่ง

Google visited last this page 05 สิงหาคม 2567 23:58:32