[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
22 ธันวาคม 2567 19:02:15 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ความว่าง  (อ่าน 4768 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 12 กรกฎาคม 2553 09:08:11 »






ความว่าง


ความว่างมิอาจว่าง  หากมิวาง ณ ตัวตน

ต้นไม้อันหยัดพ้น   เพราะก่นกิ่งและผลัดใบ

ยิ่งละจึ่งยิ่งมี   งอกงามทวีเติบใหญ่

คลื่นลม ทะเลร้าย   ห่อนระคายความว่างนั้น




  พุทธศาสนาไม่มีอย่างจีน อย่างไทยหรืออย่างแขก ฝรั่ง มีแต่พุทธศาสนาอย่างของพระพุทธเจ้า
อย่างเดียวเท่านั้น แต่ว่ามีวิธีพูด วิธีบอก หรือวิธีนำให้เข้าถึงนั้นต่างกันมากที่เดียว

หลักนิกายเซน นอกจากจะเป็นวิธีการที่ลัดสั้นแล้ว ยังเป็นวิธีปฏิบัติที่อิงหลักธรรมชาติทางจิตใจของคนทั่วไป
แม้ผู้ที่ไม่รู้หนังสือ หรือไม่เข้าใจพิธีรีตองต่างๆ

ผู้ที่จะเข้าใจหลักการของเซน ควรได้รับการชักชวนให้ลืมอะไรต่างๆที่เคยยึดถือไว้ให้หมดเสียก่อน
จึงจะเป็นการง่ายในการอ่านและการเข้าใจโดยแท้

ลืมการคิดดิ่งๆ ด้านเดียว ที่ตนเคยยึดถือ ลีมกระทั่งความเป็นพุทธบริษัทของตนเสีย
เหลือไว้แต่เพียง ใจล้วนๆของมนุษย์

เป็นใจซึ่งกำลังแก้ปัญหาที่ว่า ทำอย่างไรจิตของมนุษย์ทุกคน จักหลุดพ้นจากความบีบคั้น
ห่อหุ้มพัวหันได้โดยสิ้นเชิง?


จากหนังสือ สูตรของเว่ยหลาง  โดย ท่านพุทธทาสภิกขุ



<º))))><.·´¯`·.อยู่อย่างเซน¸.·´¯`·.¸><((((º>



                                                      โดย  สติมา

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 12 กรกฎาคม 2553 09:38:07 »








เชิญชวนผู้ปฎิบัติทั้งหลาย สนใจคำสอนแบบเซนกันหรือเปล่าเอ่ย.. 
รู้สึกว่าง่ายๆ แต่กินใจดี  อย่างเช่น

มึชีวิตกับปัจจุบันขณะ..   อดีตก็ละไปแล้ว..
อนาคตก็ยังไม่มา...

                              โดย  สติมา


อะตีตัง นานวาคะเมยยะ,        นัปปะฏิกังเข อะนาคะตัง,
บุคคลไม่ควรตามคิดถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว,และสิ่งที่ยังไม่มาถึง,

        ยะทะตีตัมปะหีนันตัง,              อัปปัตตัญจะ อะนาคะตัง,
       สิ่งเป็นอดีตก็ละไปแล้ว สิ่งเป็นอนาคตก็ยังไม่มา,

        ปัจจุปปันนัญจะ โย ธัมมัง,      ตัตถะ ตัตถะ วิปัสสะติ,
        อะสังหิรัง อะสังกุปปัง,             ตัง วิทธา มะนุพ๎รูหะเย.

       ผู้ใด เห็นปัจจุบันธรรมอย่างชัดเจน, ไม่หวั่นไหวคลอนแคลน,
เขาควรเพิ่มพูนอาการเช่นนั้นไว้.


มุ.อุ. ภัทเทกรัตตสูตร๑๔/๓๔๘


- อันนี้เป็นตัวอย่างที่ชี้ให้เห็นว่า พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในพระไตรปิฎก 
ไม่ได้ไปเอามาจากเซนที่ไหน ถ้าจะว่าไปแล้ว เซนก็เป็นนิกายหนึ่งของพุทธศาสนา
ควรจะพูดว่า เซน เอาไปจากพระพุทธเจ้ามากกว่า
- หรืออีกตัวอย่างหนึ่ง

ทูรังคะมัง เอกะจะรัง, อะสะรีรัง คุหาสะยัง,
เย จิตตัง สัญญะเมสสันติ, โมกขันติ มาระพันธะนา.


ชนเหล่าใดจักสำรวมจิตอันท่องเที่ยวไปในที่ไกล, เที่ยวไปดวงเดียว,
ไม่มีสรีระ, มีร่างกายเป็นที่อาศัย,ชนเหล่านั้นย่อมพ้นจากบ่วงแห่งมาร ฯ

มาจากคาถาธรรมบท

การสำรวมจิต หมายถึง มีสติระมัดระวังอยู่ตลอดเวลา ไม่ประมาทนั่นเอง
นี่ก็น่าจะเรียกว่า รู้ปัจจุบันธรรม หรือปัจจุบันขณะ


                                โดย ชินวงส์


บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 12 กรกฎาคม 2553 12:11:29 »






- ที่จริงแล้ว พระพุทธเจ้ามีวิธีการสอนอย่างนี้มากมายในพระไตรปิฎก
ก็อย่างที่คุณว่า ผู้ที่ได้รับยกย่องว่าสอนแบบเซนในเมืองไทยก็มีอยู่สองท่าน
คือ หลวงพ่อพุทธทาสได้รับยกย่องว่าเป็นเซนแห่งสวนโมกข์  หลวงพ่อชา สุภทฺโท 
ได้รับยกย่องว่าเป็นเซนแห่งอีสาน





- ถ้าจะสอนแบบเซนจริงๆ ก็ไม่ต้องพูดอะไรกันเลย เพราะของจริงนิ่งสงบ
อธิบายให้กันฟังไม่ได้หรอก เป็นปัจจัตตังรู้ได้เฉพาะตนเท่านั้น
ที่อาตมานำมาเขียนนั้นเป็นเพียงธรรมะภายนอกเท่านั้น ของจริงต้องศึกษาเอาเอง
จากกายใจของตนทั้งสิ้น

- ขอให้ "ซาโตริ" ในเร็ววัน อนุโมทนา



ซาโตริ(ภาษาญี่ปุ่น) = รู้แจ้ง




http://i168.photobucket.com/albums/u170/pintip/2-2-50-2.png
ความว่าง
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 12 กรกฎาคม 2553 12:25:56 »






ซาโตริ ตามรูปศัพท์หมายถึงการรู้อย่างแจ่มแจ้งหรือการตรัสรู้

แต่ในเซนหมายถึงภาวะแห่งการสำนึกรู้ถึงพุทธจิต
เป็นการสำนึกรู้ถึงจิตสำนึกที่บริสุทธิ์หมดจดอยู่แล้วด้วยตัวของมันเองโดยปราศจากสิ่งใดๆ
(ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทางจิตใจหรือทางร่างกายก็ตาม)


ประสบการณ์ใดๆ ที่สามารถถูกอธิบายกำหนดลักษณะได้ด้วยใจหรืออารมณ์
ประสบการณ์นั้นๆ ก็ไม่จัดเป็นซาโตริตามความหมายข้างต้น

แม้ว่าบางครั้งคำพูดจะถูกใช้อย่างคร่าวๆ
เพื่อไปบ่งถึงภาวะที่จิตใจและอารมณ์เป็นของฟูเฟื่องสูงสุด
และรู้สึกท่วมท้น
ที่ได้สำนึกถึงธรรมชาติแห่งการหยั่งรู้ฉับพลัน

 
ในนิกายเซนทั่วไป

ซาโตริจะมีความหมายอย่างชัดเจนคือเป็นการมองเข้าไปสู่ธรรมชาติที่แท้จริงของตนเอง
แล้วค้นพบ
บางสิ่งซึ่งแปลกใหม่อันจะรู้ได้อย่างชัดเจนแจ่มแจ้ง

และสิ่งนั้นก็จะส่องประกายให้ชีวิตทั้งหมดของเขาแจ่มกระจ่างสว่างไสวไปตลอด

 
แต่ถึงกระนั้นมันก็ไม่อาจถูกแสดงออกมาได้ไม่ว่าจะโดยวิธีใดๆ ก็ตาม

อย่างไรก็ดี อาจกล่าวได้ว่า การหยั่งรู้อย่างฉับพลัน อาจ ชี้บ่งถึงประสบการณ์แห่งซาโตริ
ซึ่งมีอยู่ภายใน ซึ่งได้ส่องประกายของมันเข้าไปสู่จิต

แต่ก็ไม่อาจจะสังเกตเห็นได้โดยง่าย

แต่สำหรับผู้ปฏิบัติอย่างเอาจริงเอาจังเมื่อซาโตริปรากฏขึ้นมา มันก็จะส่งผลไปอย่างตรงดิ่ง
และดำเนินเรื่อยไปอย่างไม่ถดถอย"
บันทึกการเข้า
คำค้น: ความว่าง  เซ็น  พระสูตรเว่ยหลาง ท่านพุทธทาส 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.227 วินาที กับ 30 คำสั่ง

Google visited last this page 25 ตุลาคม 2567 04:50:56