..........................อานิสงส์อื่น ๆ.......................
เมตตาที่ท่านสาธุชนหมั่นเจริญอยู่นั้น เปรียบเสมือนเกราะเพชรที่ป้องกันภยันตรายต่างๆ จากอมนุษย์ได้คนที่เจริญเมตตาอยู่เสมอ
จะแคล้วคลาดจากอุปสรรคอันตรายนั้นๆ เพราะมีเกราะเพชรคือเมตตาเป็นเครื่องป้องกันตัว ส่วนคนที่ไม่เจริญเมตตา มักจะได้รับอันตรายต่าง ๆ สมดังที่พระบรมศาสดาตรัสว่า
อมนุษย์ที่ ประสงค์จะทำร้ายผู้เจริญเมตตา จะประสบภัยพิบัติเองเหมือนคนที่ใช้มือจับหอกอันคมกริบ ย่อมได้รับอันตรายจากการจับหอกนั้นนั่นเอง
(สํ. นิ. ๑๖.๒๒๗.๒๕๑)
อมนุษย์ ย่อมไม่เบียดเบียนผู้เจริญเมตตาเหมือนโจรไม่กล้ำกรายบ้านที่มีบุรุษมาก มีสตรีน้อย ส่วนผู้ไม่เจริญเมตตาย่อมประสบอันตรายจากอมนุษย์เหมือนโจรที่มักกล้ำกราย บ้านที่มีบุรุษน้อย มีสตรีมาก” (สํ. นิ. ๑๖.๒๒๕.๒๕๑)
ดูกรภิกษุทั้ง หลาย พระภิกษุผู้แผ่เมตตาเพียงลัดนิ้วมือเดียว เป็นผู้เจริญฌาน เชื่อฟังคำสั่งสอนของพระศาสดา เป็นผู้บริโภคก้อนข้าวของชาวราษฎร์โดยไม่มีโทษ ส่วนพระภิกษุผู้แผ่เมตตาเสมอ ย่อมจะได้รับอานิสงส์มหาศาล(องฺ. เอกก. ๒๐.๕๓.๙๑).........................เมตตาที่บริสุทธิ์แท้จริงนำชัยชนะมาสู่ตนได้.......................
เด็กหญิงน่ารักอายุ ๒ ขวบคนหนึ่ง อบรมเมตตาให้เพื่อนรุ่นราวคราวกัน และควรจะเป็นการอบรมจิตใจผู้ใหญ่ที่ได้รู้ได้ยินด้วย คือ วันหนึ่งเมื่อเพื่อนตัวน้อยๆ เท่ากัน จะบี้มดที่กำลังเดินอยู่กับพื้น เด็กหญิงห้ามทันที มีเหตุผลจากใจจริง ที่จับใจผู้ใหญ่ทั้งหลายเป็นอย่างยิ่ง อย่าทำ ! เดี๋ยวแม่มดกลับมาไม่เห็นลูกมด
แม้ใครทั้งหลายที่กำลัง คิดจะทำลายชีวิตสัตว์น้อยสัตว์ใหญ่ หรือกระทั่งชีวิตมนุษย์ ก็น่าจะนำเสียงห้ามของเด็กหญิงน้อยๆ ดังกล่าว มาเตือนตนเองบ้าง
อย่าทำ ! เดี๋ยวแม่ปลาหาลูกปลาไม่พบ หรือ
อย่าทำ ! เดี๋ยวลูกยุงร้องไห้ คิดถึงแม่ยุง หรือ
อย่าทำ ! เดี๋ยวลูกนกไม่มีแม่นก หรือ
อย่าทำ ! เดี๋ยวไม่มีใครเลี้ยงลูกเขา
เตือนตนเองด้วยจริงใจ ให้รู้สึกจริงจังดังที่คิด หรือที่เปล่งวาจา ก็ย่อมเป็นการอบรมเมตตาอีกวิธีหนึ่งที่ง่ายและน่าทำเสมอๆ
เมตตานั้นไม่จำเป็นที่ผู้ใหญ่จะเป็นฝ่ายสอนเด็กเสมอไป แม้เด็กก็สอนผู้ใหญ่ได้ทั้ง ๆ ที่เด็กไม่ได้รู้ว่ากำลังเป็นผู้สอน และเด็กก็ไม่รู้ว่า
ความคิดของตนเกิด
แต่เมตตาที่บริสุทธิ์แท้จริงข้อมูลโดย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สุดท้ายนี้ขอจบด้วยพระราโชวาทสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ความว่า................................
เมตตา ท่านอธิบายว่า คือความรักใคร่ปรารถนาให้ผู้อื่นเป็นสุข เป็นธรรมสำหรับบำราบพยาบาท อันเป็นมูลของความประพฤติทุจริตเบียดเบียนผู้อื่น ให้เสื่อมหายไป เมตตามีอยู่ในผู้ใด ย่อมค้ำชูให้ผู้นั้นอยู่เย็นเป็นสุข และพลอยให้ผู้อื่นได้รับกระแสแห่งความอยู่เย็นเป็นสุขนั้นด้วย จึงกล่าวว่า เมตตาเป็นเครื่องค้ำจุนโลก อันความเมตตาที่จะค้ำจุนโลกได้นั้น จะต้องเป็นเมตตาที่แท้ที่บุคคลเจริญขึ้น หรืออบรมขึ้นอย่างถูกต้อง คือเจริญขึ้นโดยอาศัยจิตใจที่ตั้งมั่น เป็นกลาง ไม่มีอคติทั้งสี่ประการครอบงำเป็นพื้นฐาน จิตใจที่มีอคติครอบงำ จะเป็นพื้นฐานการเจริญเมตตามิได้เลย ขอให้คิดดูว่า ถ้ามีฉันทาคติหรือโมหาคติเป็นฐาน เมตตาที่เจริญขึ้น จะกลายเป็นความหลงรัก หรือเป็นความรักอย่างงมงาย ซึ่งมีโทษมาก และถ้ามีภยาคติโทสาคติก็เจริญเมตตาไม่ขึ้นเลย เพราะพื้นฐานจิตใจมีแต่ความกลัวกับความร้ายกาจ เพราะฉะนั้น ก่อนที่จะเจริญเมตตา บัณฑิตจะต้องชำระอคติออกให้ได้ เมื่อจิตใจเป็นปรกติ ตั้งมั่นในความเป็นกลางแล้ว จึงจะอบรมเมตตาให้เกิดได้ เป็นเมตตาแท้จริง ที่จะค้ำจุนตนเองและค้ำจุนโลกให้เป็นสุขร่มเย็นได้ถาวรตลอดไป