[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
22 ธันวาคม 2567 09:47:22 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: โอ้ว่าอนิจจาความรัก ( ความสุขจากการได้รัก และ ถูกรักของคนหนุ่มสาว )  (อ่าน 2619 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7866


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 5.0.375.99 Chrome 5.0.375.99


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 12 กรกฎาคม 2553 19:25:16 »


[ โดย อ.มดเอ็กซ์ จากบอร์ดเก่า ]





 
โดย นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์
 
ผมได้รับการติดต่อให้เขียนเรื่อง “ความสุขจากการได้รักและถูกรักของคนหนุ่มสาว” ชื่อเชยและยาวกว่าหนังเกาหลีเป็นอันมาก จึงขอตั้งชื่อใหม่แล้ววงเล็บชื่อเก่าเอาไว้เป็นหลักฐาน มีคำสำคัญคือ “ความรัก” และ “ความสุข”
 
จากหนังสือ กามนิต ของเสฐียรโกเศศและนาคะประทีป พระพุทธเจ้าตรัสว่า “วาสิฏฐี เราขอให้ภาวนาธรรมบทนี้ไว้คือ ที่ใดมีความรัก ที่นั้นมีความทุกข์” แล้วยังจะมาให้เขียนเรื่องความรักกับความสุขอยู่อีก ลองมาดูกันว่าความรักและความสุขสัมพันธ์กันอย่างไร
 
ผู้ใหญ่มักพูดว่าความรักเป็นอารมณ์ ชนิดหนึ่ง ทำนองว่าอย่าไปยึดมั่นอะไรกับความรักให้มากนัก ลองขึ้นชื่อว่าอารมณ์ก็จะผ่านมาและผ่านไป เมื่อครั้งผมเรียนจิตเวชศาสตร์ก็มีตำราบางเล่มเขียนทำนองนี้ แต่ไม่มีรายละเอียดว่าความรักเป็นอารมณ์อย่างไร และเพราะอะไร ทั้งนี้ยังไม่นับว่าจริงหรือเปล่าที่ว่าความรักเป็นอารมณ์ชนิดหนึ่ง
 
ผมไปพบอะไรบางอย่างที่คล้ายๆคำตอบในหนังสือ The Expression of the Emotions in Man and Animals เขียนโดย ชาร์ลส์ ดาร์วิน ซึ่งตีพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ.1872 เล่มที่ผมอ่านเป็นฉบับพิมพ์ของสำนักพิมพ์อ๊อกซ์ฟอร์ดปี ค.ศ.1998 สำหรับคนที่ไม่เชื่อดาร์วินก็สามารถหยุดอ่านตรงนี้ได้เลยครับ
 
ดาร์วินเขียนถึงความสัมพันธ์ระหว่างอารมณ์และกล้ามเนื้อ กล่าวคืออารมณ์มิใช่เกิดขึ้นลอยๆแต่มีกล้ามเนื้อกลุ่มหนึ่งที่ทำหน้าที่แสดงออกซึ่งอารมณ์นั้นด้วย ยิ่งไปกว่านั้นอารมณ์ที่ตรงข้ามกันก็จะใช้กล้ามเนื้อที่ทำงานตรงข้ามกันอีกด้วย โดยดาร์วินยกตัวอย่างสุนัขที่กำลังดีใจได้พบเจ้าของจะใช้กล้ามเนื้อร่างกายกลุ่มหนึ่งในการกำหนดท่าทางดีใจ เปรียบเทียบกับเวลาที่สุนัขพบศัตรูมันจะใช้กล้ามเนื้ออีกชุดหนึ่งซึ่งทำงานตรงข้ามกับชุดแรก
 
หนังการ์ตูนสั้นเรื่อง Geri’s Game ของพิกซาร์ที่ฉายปะหน้าหนังการ์ตูน A Bug’s Life ของดิสนีย์จะช่วยให้เข้าใจสิ่งที่ดาร์วินเขียนได้ง่ายขึ้น การ์ตูนสั้นความยาว 4 นาทีเรื่องนี้เป็นเรื่องแรกๆของโลกที่สร้างด้วยคอมพิวเตอร์กราฟิกทั้งหมดและชนะรางวัลออสการ์ในปี 1998 เล่าเรื่องการดวลหมากรุกระหว่างชายชราหนึ่งคน เขียนถูกต้องแล้วครับระหว่างชายชราหนึ่งคน ที่น่าสนใจคือพิกซาร์ได้สาธิตการทำงานของกล้ามเนื้อบนใบหน้ามนุษย์คือชายชราทั้งหนึ่งคนนั้นอย่างชัดเจนว่าในแต่ละอารมณ์ที่แสดงออก กล้ามเนื้อมัดต่างๆทำงานอย่างไร ไม่ว่าจะเป็นกล้ามเนื้อ Zygoma และ Orbicularis ที่ควบคุมการหัวเราะ หรือ Corrugator supercilii และ Occipitofrontalis ที่ควบคุมอารมณ์เศร้า เป็นต้น นั่นคืออารมณ์มิใช่สิ่งที่เกิดขึ้นลอยๆ
 
ดาร์วินแบ่งอารมณ์ของมนุษย์ออกเป็น 2 พวก พวกแรกคือ เป็นสุข โศกเศร้า โกรธ และกลัว พวกที่สองคือ รัก เกลียด ริษยา และ หึง ก่อนจะอ่านต่อไปลองทำแบบฝึกหัดต่อไปนี้ก่อนก็ได้ครับ สำหรับคนที่พอวาดการ์ตูนเป็นลองวาดใบหน้าที่แสดงความสุข โศกเศร้า โกรธ และกลัว เราจะพบว่าวาดง่ายมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งใบหน้ามีความสุขและโศกเศร้านั้น ใครๆก็ควรวาดได้ ยิ้มให้วาดริมฝีปากโค้งขึ้น เศร้าให้วาดริมฝีปากโค้งลง ใช่มั้ยครับ อารมณ์โกรธและกลัวก็วาดได้ไม่ยากสำหรับคนที่วาดการ์ตูนเป็น
 
เหตุที่วาดได้ง่ายเพราะอารมณ์กลุ่มแรกนี้มีกล้ามเนื้อบนใบหน้าบางกลุ่มรับผิดชอบอยู่
 
คราวนี้ลองวาดใบหน้าที่แสดงอารมณ์รัก เกลียด อิจฉา และหึง ใครคิดว่าง่ายก็ลองหยิบกระดาษและดินสอลองวาดดู อย่าลืมว่าให้วาดใบหน้าเท่านั้นนะครับ ห้ามใช้ลำคอหรือเส้นผมมาช่วย ห้ามใช้ฉากหลังหรือองค์ประกอบใดๆมาช่วย ห้ามเขียนรูปหัวใจถูกธนูเสียบด้วย แล้วจะพบว่าอารมณ์ที่เราเคยคิดว่าน่าจะวาดได้คือรักและเกลียดนั้นไม่สามารถแสดงออกได้ด้วยใบหน้า ใบหน้าริษยาหรือหึงยิ่งไปกันใหญ่
 
เหตุที่วาดไม่ได้เพราะอารมณ์กลุ่มหลังนี้ไม่มีกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่รับผิดชอบเป็นการเฉพาะ คำถามต่อไปจึงเป็นว่าอารมณ์ทั้งสองกลุ่มนี้ต่างกันอย่างไร
 
ดาร์วินเขียนว่าอารมณ์กลุ่มแรกนั้นมักจะเกิดขึ้นได้รวดเร็วและไม่มีเป้าหมายเฉพาะ หัวเราะเพราะขำกลิ้ง ร้องไห้เพราะโศกเศร้า เป็นที่เข้าใจได้ง่าย แต่ว่าแม้กระทั่งความโกรธและความกลัวก็ไม่มีเป้าหมายเฉพาะด้วย ตรงนี้อ่านแล้วอาจจะเข้าใจยากเพราะคนส่วนใหญ่มักคิดว่าเวลาเราโกรธหรือกลัว เรามักมีเป้าหมายชัดเจนว่าโกรธใครหรือกลัวอะไร อย่างไรก็ตามถ้าเข้าใจงานของซิกมันด์ ฟรอยด์ เราจะพบว่าไม่ง่ายนักที่จะตอบได้อย่างมั่นใจว่ากำลังโกรธใครหรือกลัวอะไร เช่นกันครับ ใครไม่เชื่อฟรอยด์ก็หยุดอ่านที่ตรงนี้ได้
 
เปรียบเทียบกับอารมณ์กลุ่มหลังมักเป็นอารมณ์ที่เกิดจากการค่อยๆสั่งสมและมีเป้าหมายเฉพาะ นั่นคือ รักใคร เกลียดใคร อิจฉาใคร และหึงใคร จะมีความรู้สึกเหล่านี้ได้ต้องบิลด์อารมณ์กันสักระยะหนึ่ง แต่ไม่มีกล้ามเนื้อช่วยแสดง
 
ดาร์วินเขียนต่อไปว่ากลุ่มอารมณ์ที่มีกล้ามเนื้อช่วยแสดงนั้นเป็นกลุ่มอารมณ์ที่รับใช้ผลประโยชน์ทางชีววิทยา เช่น โกรธศัตรูเพื่อป้องกันตัว กลัวศัตรูเพื่อจะได้หลบเลี่ยง เป็นต้น อารมณ์เหล่านี้ถ่ายทอดทางพันธุกรรมและเป็นส่วนหนึ่งของวิวัฒนาการ จะเห็นว่าสอดคล้องกับความรู้ในปัจจุบันที่พบว่าอารมณ์เป็นสุขหรือเศร้านั้นถ่ายทอดได้ทางพันธุกรรม ส่วนอารมณ์โกรธหรือกลัวนั้นจะพบว่ามันได้ทำหน้าที่ของมันอย่างดีเยี่ยมในการช่วยให้สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำนวนมากสามารถอยู่รอดศัตรูมาได้จนถึงทุกวันนี้
 
ขณะที่อารมณ์รัก เกลียด อิจฉา หรือหึง ไม่มีกล้ามเนื้อรับผิดชอบและไม่ได้รับใช้ผลประโยชน์ทางชีววิทยาใดๆเลย ที่แท้แล้วอารมณ์กลุ่มนี้รับใช้ประโยชน์ทางสังคมมากกว่านั่นคือเป็นกลุ่มอารมณ์ที่ใช้ปฏิสัมพันธ์กับบุคคลรอบข้างเฉพาะช่วงเวลานั้นๆ จึงไม่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมและไม่เป็นส่วนหนึ่งของวิวัฒนาการ
 
จะเห็นว่าความเกลียดไม่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม หากตระกูลของโรเมโอและจูเลียตจะเกลียดกัน หรือชาติพันธุ์ใดๆสองกลุ่มจะเกลียดกันก็เพราะปัจจัยทางสังคมและการเมือง ไม่ใช่ปัจจัยทางชีววิทยา
 
สรุปความสำหรับความรัก ความรักนั้นเป็นเรื่องชั่ววูบ วูบเดียวจริงๆเมื่อเทียบกับสายวิวัฒนาการของมนุษยชาติ ยิ่งไปว่านั้นความรักเป็นของไม่มีประโยชน์ทางชีววิทยา จึงไม่มีประโยชน์ต่อการสืบเผ่าพันธุ์ ที่มีประโยชน์ต่อการสืบเผ่าพันธุ์นั้นเขาเรียกว่าความใคร่
 
ย่อหน้าสุดท้ายผมเขียนเอง ไม่ใช่ดาร์วินหรือฟรอยด์เขียน
 
ฮา (มีความสุขและถ่ายทอดได้ทางพันธุกรรม)
 
หมายเหตุ: ผมได้เตือนผู้ขอต้นฉบับแล้วว่าอย่าให้เขียนเรื่องความรักและความสุข เพราะอ่านแล้วอาจจะเครียดและเป็นทุกข์



 หัวเราะลั่น
 
http://sph.thaissf.org/index.php?module=article&page=detail&id=67




Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
คำค้น: อนิจจา ความรัก ความสุข ได้รัก ถูกรัก หนุ่มสาว 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.304 วินาที กับ 30 คำสั่ง

Google visited last this page 19 ธันวาคม 2567 16:17:26