[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
22 ธันวาคม 2567 19:07:21 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: การเชื่ออย่างมีปัญญาด้วยหลักกาลามสูตร 10 (สิ่งที่ไม่ควรเชื่อ 10 ประการ)  (อ่าน 2266 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7866


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 6.0 MS Internet Explorer 6.0


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 17 กรกฎาคม 2553 14:02:01 »

การเชื่ออย่างมีปัญญาด้วย...หลักกาลามสูตร 10
สิ่งที่ไม่ควรเชื่อ 10 ประการ


พระพุทธเจ้าแทนที่จะตรัสเหมือนกับ สมณพราหมณ์เหล่าอื่นที่เคยพูดมาแล้ว พระองค์ไม่ได้ทรงสรรเสริญคำสอนของพระองค์ และก็ไม่ทรงติเตียนคำสอนศาสนาของผู้อื่นแต่พระองค์กลับตรัสอีกแบบหนึ่ง การพูดแบบนี้เป็นลักษณะของวิทยาศาสตร์ปัจจุบัน คือพระองค์ได้กล่าวถึงสิ่งที่ไม่ควรเชื่อ 10 ประการโดยตรัสว่า ท่านทั้งหลายจงฟัง
มา อนุสฺสวเนน อย่าเพิ่งเชื่อโดยฟังตามกันมา
มา ปรมฺปราย อย่าเพิ่งเชื่อโดยถือว่าเป็นของเก่าเล่าสืบๆ กันมา
มา อิติกิราย อย่าเพิ่งเชื่อเพราะข่าวเล่าลือ
มา ปิฏกสมฺปทาเนน อย่าเพิ่งเชื่อโดยอ้างคัมภีร์หรือตำรา
มา ตกฺกเหตุ อย่าเพิ่งเชื่อโดยคิดเดาเอาเอง
มา นยเหตุ อย่าเพิ่งเชื่อโดยคิดคาดคะเนอนุมานเอา
มา อาการปริวิตกฺเกน อย่าเพิ่งเชื่อโดยตรึกเอาตามอาการที่ปรากฏ
มา ทิฎฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา อย่าเพิ่งเชื่อเพราะเห็นว่าต้องกับความเห็นของตน
มา ภพฺพรูปตา อย่าเพิ่งเชื่อว่าผู้พูดควรเชื่อได้
มา สมโณ โน ครูติ อย่าเพิ่งเชื่อว่าผู้พูดนั้นเป็นครูของเรา
สรุปแล้ว พระพุทธเจ้าตรัสว่าอย่าเพิ่งเชื่อ เพราะเหตุ 10 ประการนี้

ข้อ ความประเภทนี้ตรงกับกฎทางวิทยาศาสตร์ เพราะนักวิทยาศาสตร์จะไม่เชื่อถ้าเขายังไม่ได้ ทดสอบหรือพิจารณาเหตุผลให้ปรากฏก่อน และข้อความเช่นนี้ไปตรงกันได้อย่างไรในข้อที่ไม่ให้เชื่อเพราะเหตุ เหล่านี้ ถ้าเช่นนั้นแล้ว เราควรจะเชื่อแบบใดเมื่อปฏิเสธไปหมดเลยทั้ง 10 ข้อ และเราควรจะเชื่ออะไรได้บ้าง
พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาของเหตุและผล ไม่โจมตีศาสนา ไม่โจมตีผู้ใด
ชี้แต่เหตุและผลที่ยกขึ้นมา อธิบายเท่านั้น
พระพุทธวจนะทั้ง 10 ประการข้างต้นนั้น ท่านทั้งหลายฟังดูแล้วอาจคิดว่า ถ้าใครถือตามแบบ นี้ทั้งหมดก็มองดูว่าน่าจะเป็นมิจฉาทิฎฐิ คือ ไม่เชื่ออะไรเลย แม้แต่ครูของตนเอง แม้แต่พระไตรปิฎกก็ไม่ให้เชื่อ พิจารณาดูแล้ว น่าจะเป็นมิจฉาทิฎฐิ
แต่ก็ไม่ใช่
คำว่า "มา" อันเป็นคำบาลีในพระสูตรนี้ เป็นการปฏิเสธมีความหมายเท่ากับNoหรือนะคืออย่า แต่โบราณาจารย์กล่าวว่า ถ้าแปลว่า อย่าเชื่อ เป็นการแปลที่ค่อนข้างจะแข็งไปควรแปลว่า"อย่าเพิ่งเชื่อ" คือให้ ฟังไว้ก่อน สำนวนนี้ ได้แก่สำนวนแปลของสมเด็จพระพุทธโฆสาจารย์ (เจริญ) วัดเทพศิรินทราวาส นักปราชญ์ รูปหนึ่งในยุครัตนโกสินทร์ แต่บางอาจารย์ให้แปลว่า"อย่าเพิ่งปลงในเชื่อ" แต่บางท่านแปลตามศัพท์ว่า "อย่าเชื่อ" ดังนั้น การแปลในปัจจุบันนี้จึงมีอยู่ 3 แบบคือ
1. อย่าเชื่อ
2. อย่าเพิ่งเชื่อ
3. อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อ
การแปลว่า "อย่าเชื่อ" นั้น เป็นการแปลที่ค่อนข้างจะแข็งเป็นการไม่ค่อยยอมกัน ส่วนการ แปลอีก 2 อย่างนั้น คือ "อย่าเพิ่งเชื่อ" และ "อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อ" นั้นก็มีความหมายเหมือนกันแต่คำว่า "อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อ" นั้นเป็นสำนวนแปล
ที่ค่อนข้างยาว ดังนั้น คำว่า "อย่าเพิ่งเชื่อ" เป็นสำนวนที่สั้นกว่า ง่ายกว่าและเข้าใจได้ดีกว่า ฉะนั้น การที่จะแปลให้ฟังง่ายและเหมาะสมก็ต้องแปลว่า "อย่าเพิ่งเชื่อ"
เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า ใครจะพูดก็พูดไปเราก็ฟังไป อย่าไปว่าหรือค้านเขา แต่อย่าเพิ่งเชื่อ ต้องพิจารณาดูก่อนว่าถูกหรือผิด เป็นประโยชน์หรือไม่เป็นประโยชน์ เป็นบุญหรือเป็นบาป เป็นไปเพื่อประโยชน์หรือไม่เป็นประโยชน์
นอกจากนั้น พระพุทธเจ้ายังได้ตรัสอีกมากในพระสูตรนี้แต่ในที่นี้จะขออธิบายความหมายของ ข้อแนะนำทั้ง 10 ประการเสียก่อน เพราะเป็นส่วนที่มีความสำคัญมากของพระสูตรนี้ และได้รับการแปลออกเป็น ภาษาต่างๆ หลายภาษา เพราะเขาถือว่าเป็นกฏทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งไม่คาดคิดเลยว่าจะมีกล่าวไว้ในครั้งสมัยเมื่อ ประมาณ 2,600ปีมาแล้ว ที่ใช้ความคิดแบบอิสระอย่างนี้ เป็นความคิดที่มีเหตุผล 10 ประการ คือ
1. อย่าเพิ่งเชื่อโดยฟังตามกันมา บางคนเมื่อฟังตามกันมาก็เกิดความเชื่อ เมื่อคนนั้นว่าอย่างนั้น คนนี้ว่าอย่างนี้ ก็เชื่อตามกันไป โดยบอกว่า "เขาว่า"ปัจจุบัน นี้การเชื่อตามเขาว่านี้ ถ้า ไปเป็นพยานในศาลจะไม่เป็นที่ยอมรับ เพราะการที่ "เขาว่า" นั้น มันไม่แน่การฟังตามกันมาก็เชื่อตามกันมา ฉะนั้นสุภาษิตปักษ์ใต้จึงมีอยู่บทหนึ่งว่า
"กาเช็ดปาก คนว่ากาเจ็ดปาก ปากคนมากกว่าปากกาเป็นไหนๆ"
สุภาษิตนี้หมายความว่า ชายคนหนึ่งเห็นกากินเนื้อแล้วเช็ดปากที่กิ่งไม้ ก็มาเล่าให้เพื่อนฟังว่า "ฉันเห็นกาเช็ดปาก"เพื่อนคนนั้นฟังไม่ชัด กลายเป็นว่า"ฉันเห็นกาเจ็ดปาก" ก็ไปเล่าต่อว่า คนโน้นเล่าให้ฟัง เมื่อวันก่อนว่าเขาเห็นกาเจ็ดปาก ก็เล่าต่อกันมาเรื่อย ๆ ว่า กามีเจ็ดปาก นี่เป็นการเชื่อตามคำเขาว่า ซึ่งบางคนก็ฟัง มาไม่ชัดเพราะฉะนั้น ก็อาจฟังผิดได้ การที่เขาว่าจึงอาจจะถูกหรือผิดได้ เช่น บัตรสนเท่ห์
เขาว่าอย่างนั้นอย่างนี้ แล้วก็ว่าตามที่เขาว่านั้น ซึ่งมีจริงบ้างไม่จริงบ้าง ปนกันอยู่
เพราะฉะนั้น อย่าเพิ่งเชื่อตามที่เขาว่า แต่ให้ฟังไว้ก่อนชาวพุทธจะไม่ปฏิเสธการที่เขาว่า แต่จะฟังไว้ ก่อน โดยยังไม่เชื่อทีเดียว บางทีก็ฟังตามกันมาตั้งแต่โบราณ เช่น สมมุติว่าฝนแล้งก็ต้องแห่นางแมวแล้วฝนจะตก เราจะเชื่อได้อย่างไรว่าแห่
นางแมวแล้วฝนจะตก บ้างก็ว่าเป็นเรื่องที่เขาเล่ากันมาอย่างนี้ คือเชื่อตามเขาว่า ซึ่งก็ อาจจะไม่เป็นจริงตามเขาว่าก็ได้ ดังนั้น เราต้องเชื่อตามเหตุผล อย่าเชื่อตามเขาว่า
2. อย่าเพิ่งเชื่อโดยคิดว่าเป็นของเก่า เล่าสืบๆ กันมา บาง คนบอกว่าเป็นของเก่า เป็นความเชื่อ ตั้งแต่สมัยโบราณเราควรจะเชื่อ เพราะเป็นของเก่า ถ้าไม่เชื่อ เขาก็หาว่าจะทำลายของเก่า บางคนเห็นผีพุ่งไต้ ก็บอกว่านั่นแหละวิญญาณจะลงมาเกิด อย่าไปทัก เพราะเป็นความเชื่อกันมาตั้งแต่โบราณ เมื่อมีแผ่นดินไหว คนโบราณจะพูดว่าปลาอานนท์พลิกตัว หรือเวลามีฟ้าผ่าก็บอกว่ารามสูรขว้างขวาน ฟ้าแลบก็คือนางเมขลา ล่อแก้วเข้าตารามสูร รามสูรโกรธ จึงขว้างขวานลงมาเป็นฟ้าผ่า
ความเชื่อเช่นดังกล่าวมานี้เป็น ความเชื่อของคนในสมัยโบราณซึ่งไม่ได้ตั้งอยู่บนหลักของเหตุผล ดังนั้นความเชื่อของคนโบราณนั้นไม่ใช่ว่าจะถูกหรือดีเสมอไป แต่เป็นความเชื่อปรัมปรา เราจึงไม่ควรจะเชื่อ ถ้ายังไม่แน่ใจถึงแม้ว่าจะเป็นเรื่องนำสืบๆกันมา
3. อย่าเพิ่งเชื่อเพราะเป็นข่าวเล่าลือ หรือ ตื่นข่าว เรื่องข่าวนั้นมีมาก ไม่ว่าจะเป็นข่าวทันโลก ข่าวช่วงเช้า ข่าวช่วงเย็น ข่าวเขาว่า ซึ่งมีอยู่มากมาย ถ้าเราไปเชื่อตามข่าว เราก็อาจจะเป็นคนโง่ได้ เช่น บางคน อ่านข่าวจากหน้าหนังสือพิมพ์ก็คิดว่าเป็นเรื่องจริงแน่แล้ว แต่ข่าวจากหนังสือพิมพ์นั้น บางทีลงข่าวตรงกันข้าม จากข่าวจริง ๆ เลยก็มี หรือมีจริงอยู่บ้างเพียงบางส่วนก็มี เราจึงควรพิจารณาให้ดีเสียก่อน เพราะข่าวบางข่าวนั้น หนังสือพิมพ์ฉบับนั้นต้องมาลงขอขมากันภายหลังที่ลงข่าวผิด ๆ ไปแล้วก็มี ดังนั้น ข่าวลือจึงมีมาก เช่น ลือว่าจะมีการปฏิวัติ ลือว่าจะมีการปรับคณะรัฐมนตรี ซึ่งบางทีก็จริง บางทีก็ไม่จริง หรือลือกันว่าคนเกิดวันนั้นวันนี้ จะตายในปีหน้า ต้องรีบทำบุญเสีย ก็เลยพากันเฮมาทำบุญกัน นี้ก็เพราะฟังเขาลือกันมา บางคนก็ลือกันแบบ กระต่ายตื่นตูมเป็นข่าวเขาว่าไม่ใช่ข่าวเราว่า เพราะฉะนั้นก็อย่าเพิ่งเชื่อ
4. อย่าเพิ่งเชื่อโดยอ้างคัมภีร์หรือตำรา ถ้าใครเอาตำรามาอ้างให้เราฟัง เราก็อย่าเพิ่งเชื่อ เพราะตำราก็อาจจะผิดได้บางคนอาจจะค้านว่า "ที่เราพูดถึงกาลามสูตรนี้ ไม่ใช่ตำราหรอกหรือ" จริงอยู่ เราก็อ้าง กาลามสูตรซึ่งเป็นตำราเหมือนกัน แต่ท่านว่า อย่าเพิ่งเชื่อ เพราะอาจจะผิดได้ ดังนั้น ไม่ว่าใครจะเอาตำราอะไรก็ตามมาอ้างเราก็ต้องอย่าเพิ่งเชื่อ พระพุทธเจ้าตรัสว่าให้พิจารณาดูก่อน บางคนกล่าวยืนยันว่าตนเอง อ้างตามตำรา ซึ่งแท้จริงแล้วเขาไม่ได้อ่านตำรานั้นเลย แต่ว่าเอามาอ้างขึ้นเอง บางคนก็ต้องการ โดยการอ้างตำรา ดังมีเรื่องเล่ากันมาว่า
"อุบาสก 2 คนเถียงกัน ระหว่างสัตว์น้ำกับสัตว์บกอย่างไหนมีมากกว่ากัน
อุบาสกคนหนึ่งบอกว่า สัตว์บกมีมากกว่า เพราะบนบกนั้นมีสัตว์นานาชนิด เช่น มีแมลงต่างๆ มีมดต่างๆ มากมาย
ส่วนอีกคนหนึ่งค้านว่า สัตว์น้ำมีมากมายหลายชนิดนับไม่ถ้วน แม้แต่กุ้ง ปลา ก็นับไม่ถ้วนเสียแล้ว สัตว์น้ำต้องมากกว่าสัตว์บกแน่นอน
ทั้งสองคนจึงไม่อาจตกลงกันได้
อุบาสกคนหนึ่งหัวไวได้ยกบาลีมาอ้างว่า "พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า สัตว์น้ำมีมากกว่าสัตว์บก ดังพระบาลีที่ว่านัตถิ เม สรณัง อัญญัง แปลว่า สัตว์น้ำมากกว่าสัตว์บก"
อุบาสกอีกคนหนึ่งไม่กล้าค้านเพราะกลัวจะตกนรก
แท้ที่จริง คำว่า "นัตถิ เม สรณัง อัญญัง" นั้น ไม่ได้แปลว่า "สัตว์น้ำมากกว่าสัตว์บก" แต่แปลว่า "ที่พึ่งอย่างอื่นของข้าพเจ้าไม่มี" ผู้อ้างคิดแปล
เอาเองเพื่อให้คำพูดของตนมีหลักฐานการอ้างตำรา อย่างนี้จึงไม่ถูกต้องถ้าใครหลงเชื่อก็อาจถูกหลอกเอาได้
นอกจากนี้ ตำราบางอย่างก็อ้างกันมาผิด พวกที่ไม่รู้ภาษาบาลี เมื่อเห็นเขาอ้างก็คิดว่าจริง เช่น นักหนังสือพิมพ์ บางคนกล่าวว่า "ทุกขโต ทุกขถานัง ให้ทุกข์แก่ท่าน ทุกข์นั้นถึงตน" ซึ่ง คำกล่าวนี้เป็นบาลีที่ไม่ถูกต้อง เป็น ประโยคที่ไม่มีประธาน ไม่มีกริยา เป็นภาลีที่แต่งผิด ซึ่งอาจารย์บางท่านเรียกบาลีเช่นนี้ว่า "เป็นบาลีริมโขง" แต่ คนกลับคิดว่าเป็นคำพูดที่ซึ้งดี เพราะฟังดูเข้าที่ดี นี้ก็เป็นการอ้างตำราที่ผิด ถึงแม้ว่าตำรานั้นจะเขียนถูกแต่ถ้าหาก ว่าไม่มีเหตุผล เราก็ไม่ควรเชื่อ
ปัจจุบันนี้ มีการโฆษณาหนังสือยอดกัณฑ์พระไตรปิฎกว่า ถ้าถ้าใครสวดเป็นประจำก็จะร่ำรวยเป็น เศรษฐี ได้ทรัพย์สมบัติและจะปลอดภัย ปลอดโรคต่าง คนก็พากันสวดและพิมพ์แจกกันมาก ซึ่งข้าพเจ้าเองก็ไม่ ทราบว่าจะทำอย่างไรเมื่อมีผู้นำหนังสือนี้มาถวายให้ จะเผาทิ้งก็ติดที่มีคำบาลีอยู่ด้วย หนังสือนี้ได้พิมพ์ต่อเนื่องกัน มาผิด ๆ และไม่มีพระสงฆ์รูปใดสวดยอดกัณฑ์พระไตรปิฎก นอกจากในหมู่ฆราวาส
บางคนที่ไม่เข้าใจพระพุทธศาสนา
ดังนั้นใครอ้างบาลี เราก็จงอย่าเพิ่งเชื่อต้องพิจารณาดูให้ดีว่ามีอะไรถูกหรือผิดบ้างเสียก่อน
5. อย่าเพิ่งเชื่อโดยคิดเดาเอาเอง ท่านใช้คำว่า ตักกเหตุ คือ การตรึก หรือการคิด ตรรก วิทยาเป็นวิชา แสดงเรื่องความคิดเห็น อ้างหาเหตุผล แต่พระพุทธเจ้าทรงกล้าค้านตรรกวิทยาได้ว่า การอ้างหาเหตุผลโดยการ คาดคะเนนั้นอาจจะผิดก็ได้การอ้างหาเหตุผลนั้นไม่ใช่ว่าจะถูกไปเสียทุกอย่าง
การนึกคาดคะเนหรือการเดาเอาของคนเรานั้นผิดได้ เช่นหลักตรรกวิทยากล่าวว่า "ที่ใดมีควัน ที่นั้นมีไฟ" ซึ่ง ก็ไม่ แน่เสมอไป เดี๋ยวนี้ที่ใดมีควัน ที่นั้นอาจจะไม่มีไฟก็ได้ เช่น เขาฉีดสารเคมี พ่นยาฆ่าแมลง ก็มองดูว่าเป็นควันออกมา แต่หามีไฟไม่
หรือบางคนก็คิดเดาเอาเองว่าคงจะเป็นอย่างนั้น คงจะเป็นอย่างนี้ คำว่า คงจะ นั้น มันไม่แน่ เพราะฉะนั้น เราก็อย่าเพิ่งตัดสินว่าเรื่องนี้ถูกแน่นอนแล้ว คำว่า คงจะ นั้นเป็นการนึกเดาเอา
6. อย่าเพิ่งเชื่อโดยการคิดคาดคะเนหรืออนุมานเอา ตัวอย่าง เช่น เราคิดว่าเราจะแซงรถคันหน้าพันถ้าเรา ขับรถเร็วกว่านี้ ซึ่งเป็นการคาดคะเนเอา บางทีเราคาดคะเนความเร็วไม่ถูก ก็อาจจะชนรถคันหน้าที่วิ่งสวนมา โครมเข้าไปเลยก็ได้ การคาดคะเนหรืออนุมานเอาอย่างนี้ ทำให้คนตายมามากแล้ว การอนุมานเอานี้มันไม่แน่
บางคนคิดว่าฝนคงจะตกแน่เพราะเห็น เมฆดำก่อตัวขึ้นมาก็เป็นการอนุมานเอาว่าฝนคงจะตก แต่บางที ลมก็จะพัดเอาเมฆนี้ลอยพ้นไปเลยก็ได้ ซึ่งก็ไม่แน่เพราะอนุมานเอา
ดังนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า แม้อนุมานเอาก็อย่าเพิ่งเชื่อ
7. อย่าเพิ่งเชื่อโดยตรึกเอาตามอาการที่ปรากฏ คือ เห็นอาการที่ปรากฏแล้วก็คิดว่าใช่แน่นอน เช่น เห็นคนท้องโตก็คิดว่าเขาจะมีลูก ซึ่งก็ไม่แน่ บางคนแต่งตัวภูมิฐานก็คิดว่าคนนี้เป็นคนใหญ่โต ร่ำรวย ซึ่งก็ไม่แน่ อีกบางทีก็เป็นขโมย แต่งตัวเรียบร้อยมาหาเรา บางคนทำตัวเหมือนเป็นคนบ้าคนใบ้มานั่งใกล้กุฏิพระ คนก็ไม่สนใจนึกว่าเป็นคนบ้า แต่พอพระเผลอก็ขโมยของของพระไป ดังนั้น เราจะดูอาการที่ปรากฏก็ไม่ได้ บางคนปวดหัว ก็คิดว่าเป็นโรคอะไรที่หัว แต่ก็ไม่แน่ สาเหตุอาจจะเป็นที่อื่นแล้วทำให้เราปวดหัวก็ได้ เช่น ท้องผูก เป็นต้นหรือเราขับรถมาถึงสะพานซึ่งมองดูแล้วคิดว่าสะพานนี้น่าจะมั่นคงพอจะ ขับข้ามไปได้ แต่ก็ไม่แน่ สะพานอาจจะพังลงมาก็ได้
8. อย่าเพิ่งเชื่อว่าต้องกับลัทธิของตน คือ เข้ากับความเชื่อของตน เพราะตนเชื่ออย่างนี้อยู่แล้ว เมื่อใครพูดอย่างนี้ให้ฟัง ก็ยอมรับว่าใช่และถูกต้อง ซึ่งก็ไม่แน่เสมอไป เพราะสิ่งที่เราเชื่อมาก่อนนั้นอาจผิดก็มี บางทีคนอื่นก็มาหลอกเรา เพราะเห็นว่าเราเชื่ออยู่ก่อนแล้ว จึงอาศัยความเชื่อของเรา เป็นเหตุมันจึงไม่แน่เสมอไป
บางคน เมื่อมีใครมาพูดตรงกับความคิดเห็นของตนก็เชื่อแล้ว ตัวอย่างเช่น เราไม่ชอบใครอยู่สักคนหนึ่ง พอใครมาบอกเราว่าคน ๆ นั้นไม่ดี ก็เชื่อว่าเป็นคนชั่วแน่ เพราะตนเองก็ไม่ชอบหน้าเขาอยู่แล้ว เรื่องอย่างนี้ก็ไม่ แน่เสมอไป เพราะคนที่เราไม่ชอบอาจจะเป็นคนดีก็ได้ แต่ว่ามีคนอื่นมาพูดยุยงให้เราเข้าใจไปอย่างนั้น เราจึง มองผิดไปได้
หรือคนที่เชื่อเรื่องพระเจ้าสร้างโลก หรือเรื่องเครื่องลางของขลัง พอมีใครมาพูดเรื่องเช่นนี้ก็เชื่อสนิท เพราะไปตรงกับความเชื่อของตน
เพราะฉะนั้น จงอย่าเพิ่งเชื่อ แม้ในกรณีดังกล่าวมานี้
9. อย่าเพิ่งเชื่อว่าผู้พูดควรเชื่อได้ คือ เห็นว่าคนที่เป็นคนใหญ่คนโตนั้น พูดจาควรเชื่อถือได้ เช่น เป็น ถึงชั้นเจ้า หรือตำแหน่งสูง เราก็ควรจะเชื่อคำพูดของเขา แต่มันก็ไม่แน่ แม้แต่พระสงฆ์ก็ไม่แน่ เราจึงต้องฟังดูให้ ดีเสียก่อน แม้แต่คณะรัฐมนตรีเองก็ไม่แน่ อย่าเพิ่งไปเชื่อคำพูดของท่านเหล่านั้นทั้งร้อยเปอร์เซ็นต์ ไม่ได้ว่าผู้พูด มียศมีตำแหน่งอย่างนี้แล้ว จะพูดเรื่องน่าเชื่อถือได้เสมอไป เราควรจะฟังหูไว้หู ฟังให้ดีเสียก่อน มิฉะนั้นแล้วจะ ถูกหลอกได้ง่าย
อย่าเพิ่งเชื่อในที่นี้ มิได้หมายความว่าไม่ให้เชื่อ แต่ควรจะพิจารณาดูก่อนแล้วถึงจะเชื่อ
10. อย่าเพิ่งเชื่อเพราะเห็นว่าผู้พูดเป็นครูของเรา ข้อนี้แรงมาก คือ แม้แต่ครูของตนก็ไม่ให้เชื่อ ทั้งนี้ เพราะครูของเราก็อาจจะพูดผิดหรือทำผิดได้ เพราะฉะนั้น เราจึงต้องฟังให้ดี
ไม่มีศาสนาใดสอนเราไม่ให้เชื่อครู ของตน แท้จริงแล้วพระพุทธเจ้ามิได้ทรงสอนว่าไม่ให้เชื่อ แต่ ทรงสอนว่าอย่าเพิ่งเชื่อต้องพิจารณาดูเสียก่อนแล้วจึงค่อยเชื่อ


ดัง นั้น กาลามสูตรจึงเป็นพระสูตรที่ให้อิสระในด้านความคิด แต่ไม่ได้หมายความว่าไม่ให้เราเชื่อ แต่ให้พิจารณาให้ดีเสียก่อน แล้วจึงค่อยเชื่อ อย่าเชื่อโดยฟังตามกันมา แม้แต่พระคัมภีร์ก็อย่าเพิ่งเชื่อ ให้พิจารณา ดูเสียก่อน ถ้าทำได้อย่างนี้ ถือว่าสมกับการเป็นชาวพุทธ ไม่เชื่ออะไรอย่างไร้เหตุผล โดยไม่พิจารณาว่าควรเชื่อ หรือไม่เพียงไร
เราจึง ควรภูมิใจที่เราได้นับถือพระพุทธศาสนา อันเป็นศาสนาที่มีเหตุผล สอดคล้องกับวิทยาศาสตร์ ในโลกปัจจุบันไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนและผู้อื่น แต่เป็นไปเพื่อประโยชน์ตนและผู้อื่น และเป็นไปเพื่อความ สิ้นทุกข์ในที่สุด แม้ทุกข์ยังไม่หมด แต่ก็มีความสงบสุขในชีวิตเพิ่มขึ้น เมื่อเราได้ปฏิบัติได้ถูกต้องตามพุทธธรรม ไม่เสียทีที่เกิดมาเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนา



Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
คำค้น: การเชื่อ ปัญญา หลัก กาลามสูตร สิ่งที่ไม่ควรเชื่อ 10 ประการ 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.435 วินาที กับ 30 คำสั่ง

Google visited last this page 02 ธันวาคม 2567 06:44:18