[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
22 ธันวาคม 2567 14:21:05 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เมืองนิพพาน โดย อ. ปราโมทย์ ปาโมชโช  (อ่าน 6074 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7866


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 5.0.375.99 Chrome 5.0.375.99


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 22 กรกฎาคม 2553 02:01:13 »


เมืองนิพพาน



ใครอยากรู้ว่าเมืองนิพพานเป็นอย่างไร เชิญอ่าน


ผมได้หนังสือมาเล่มหนึ่ง ด้วยความเมตตาของ ดร.ศักดิ์สมิทธิ์ ปธ.๘ คราวไปพักอาศัยภาวนาที่สำนักกัมมัฏฐาน ภัททันตะ หนองปรือ ชลบุรี ช่วงปลายปี 2549 ที่ผ่านมา เมื่อนำมาอ่านก็ชื่นชอบเป็นอย่างยิ่ง แน่ใจว่าผู้เขียนหนังสือเล่มนี้เข้าถึงธรรม คือบรรลุธรรมจริง ๆ ทุกเรื่องที่ท่านเขียน นอกจากเล่าจากประสบการณ์แล้ว ยังมีพระไตรปิฎกอ้างอิง และมีความเห็นของครูบาอาจารย์พระป่าที่ท่านบรรลุแล้วมาเล่าให้อ่านกันอีกด้วย

หนังสือเล่มนี้ชื่อ “ทางเอก” รจนาโดย พระอาจารย์ปราโมทย์ ปาโมชโช ความจริงท่านอุปสมบทเมื่อปี 2545 นี่เอง แต่ก่อนอุปสมบทท่านก็ปฏิบัติกรรมฐานมาอย่างโชกโชน ผ่านครูบาอาจารย์ใหญ่ฝ่ายอรัญญวาสีมาหลายสำนัก เช่นหลวงปู่ดูลย์ วัดบูรพาราม จ.สุรินทร์ เป็นต้น เมื่ออุปสมบท 5 พรรษาแรก ท่านจำพรรษาอยู่วัดป่าแถวเมืองกาญจนบุรี พอพรรษาที่ ๖ ท่านก็มาสร้างสำนักที่ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี นอกจากสอนการปฏิบัติกรรมฐานแก่ผู้สนใจแล้ว ท่านยังพิมพ์หนังสือแนวปฏิบัติแจกแก่ผู้สนใจที่ไปขออีกด้วย

ทุกบทตอนที่ท่านเขียนน่าสนใจจริง ๆ ไม่ใช่เขียนแบบลอกตำรา ไม่ใช่เขียนแบบนักวิชาการ ผมจะนำมาบางตอนที่ผู้คนสนใจใคร่รู้เกี่ยวกับผู้ปฏิบัติจนหลุดพ้นแล้ว จะมีสภาวะอย่างไร เพราะเรื่องนี้มันเป็นกรณีพิพาททางปฏิบัติก็ว่าได้


มาอ่านบทความที่พระอาจารย์ปราโมทย์ ได้เขียนไว้ ดังนี้



.....อันที่จริงคำสอนโดยตรงเรื่องสุญญตาในฝ่ายเถรวาทมีไม่มากนัก กลับไปมีมากในคำสอนของเซน แต่สุญญตาที่เซนกล่าวถึงก็อาจมีนัยที่แตกต่างไปจากคำสอนที่พระพุทธเจ้าทรงประทานแก่โมฆราช ซึ่งหมายถึงความว่างเปล่าจากความเป็นตัวตนและความไร้แก่นสารของรูปนาม ในขณะที่สุญญตาตามคำสอนของเซนน่าจะมีนัยใกล้เคียงกับคำว่า “นิพพาน” ซึ่งรูปนามกับนิพพานนั้นเป็นสภาวธรรมต่างชนิดกัน

อย่างไรก็ตาม แม้ฝ่ายเถรวาทจะไม่ค่อยได้เอ่ยถึงคำว่าสุญญตาโดยตรง แต่ก็กล่าวถึงสุญญตาไว้ทั้ง ๒ นัย คือนัยแรกสอนว่า รูปนามว่างเปล่าจากความเป็นตัวตน และนัยที่ ๒ สอนว่า นิพพานเป็นความว่างอย่างยิ่ง ซึ่งถ้าจะกล่าวอย่างรวบย่อก็กล่าวได้ว่า ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา คือทั้งรูปนาม และนิพพาน ต่างก็ว่างเปล่าจากความเป็นตัวตนด้วยกันทั้งสิ้น

ไหน ๆ ก็กล่าวถึงสุญญตาไปแล้ว วันนี้จะเล่าให้พวกเราฟังถึงการปฏิบัติธรรมจนเห็นสุญญตาทั้ง ๒ นัย ซึ่งเรื่องเหล่านี้ผู้เขียนเคยได้ยินครูบาอาจารย์วัดป่าบางรูปท่านเล่าให้ฟังมาอีกต่อหนี่ง

แท้จริงธรรมชาติทั้งมวลเป็นสิ่งเดียวรวด คือเป็นเป็นเพียงรูปธรรมและนามธรรมที่เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปตามปัจจัยปรุงแต่งเท่านั้น แต่เพราะความหลงผิดคืออวิชชา โดยเฉพาะความไม่รู้ทุกข์ อันได้แก่ความไม่รู้ความจริงเกี่ยวกับรูปนาม ซึ่งประกอบขึ้นเป็นธรรมชาตินั่นเอง จึงทำให้เกิดความรู้สึกแบ่งแยกบางส่วนของธรรมชาตินั้นออกมาเป็นตัวเรา แล้วก็สร้างกำแพงที่มองไม่เห็นขึ้นมาคนละวง เพื่อแบ่งกั้นตัวเองออกจากธรรมชาติภายนอกที่แวดล้อมอยู่ และขังตนเองอยู่ในขอบเขตของกำแพงนั้น จึงเกิดมีเขามีเรา มีสัตว์มีบุคคล มีภายในมีภายนอก ฯลฯ แล้วเกิดควมเป็นปฏิปักษ์กับธรรมชาติที่แวดล้อมอยู่นั้น


เกิดการต่อสู้และการดิ้นรนที่จะพาตนเองหลีกหนีจากความทุกข์ และแสวงหาความสุขมาให้ตนเอง โดยไม่ทราบว่าทางพ้นทุกข์อันแท้จริงอยู่ที่การทำความเข้าใจความเป็นจริงของรูปนามที่เรียกว่าตนเอง จนหมดความหลงผิด สามารถคลายความยึดถือ และสลัดคืนรูปนามให้กับธรรมชาติไปได้ ไม่ใช่พ้นทุกข์ด้วยการช่วงชิงบางสิ่งและผลักไสบางสิ่งในธรรมชาติ

เมื่อสลัดรูปนามที่เรียกว่าตนเองคืนให้ธรรมชาติได้แล้ว ธรรมชาติก็จะเหลืออยู่แต่รูปนามอันเป็นกองทุกข์ แต่ไม่มีผู้เข้าไปแบกรับความทุกข์นั้น ให้เป็นเครื่องกดถ่วงจิตอีกต่อไป

 
การเรียนรู้รูปนาม โดยค่อย ๆ สังเกตความเป็นจริงของรูปนาม เรียกว่าการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน


ส่วนการอ่าน การฟัง และการคิดพิจารณาธรรมะ แม้กระทั่งเรื่องรูปนาม ก็ยังไม่ใช่การเจริญวิปัสสนากรรมฐาน แต่เบื้องต้นก็จำเป็นต้องอ่าน ต้องฟัง และต้องคิด ให้เข้าใจวิธีการเจริญวิปัสสนาได้ตรงตามที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้เสียก่อน เมื่อเข้าใจแล้วจึงค่อย ๆ สังเกตุความเป็นจริงของรูปนามอย่างสบาย ๆ ต่อไป

 
หน้าที่ของผู้เจริญวิปัสสนา ไม่ได้อยู่ที่การพยายามทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เพื่อให้จิตของเราบรรลุถึงมรรคผลนิพพาน หรือเพื่อทำลายอัตตาตัวตน ซึ่งไม่ได้มีอยู่จริง


ตัวอย่างของความพยายามดังกล่าวก็เช่น

 
๑. การน้อมจิตไปหาความว่างและความสงบนิ่ง อันป็นการมุ่งสู่อาเนญชาสมาบัติทั้งหลาย
 

๒. การดับความรู้ อันเป็นการเข้าไปสู่อสัญญสัตตาภูมิ หรือพรหมลูกฟัก เพราะคิดว่าจะสัมผัสนิพพานได้เมื่อไม่มีจิต โดยลืมคิดไปว่า นิพพานเป็นอารมณ์คือสิ่งที่จิตไปรู้เข้า
 

๓. การพยายามสลัดคืนรูปนามให้แก่ธรรมชาติด้วยวิธีต่าง ๆ กัน เช่นการคิดอบรมสั่งสอนจิตด้วยการคิดพิจารณากายใจ และการทรมานกายใจ เพื่อดับตัณหา อันเป็นวิธีการที่เรียกว่า อัตตกิลมถานุโยค
 

๔. การพยายามหาทางเปลี่ยนแปลงรูปนาม จากสิ่งที่ไม่เที่ยงให้เที่ยง จากสิ่งที่เป็นทุกข์ให้เป็นสุข และจากสิ่งที่บังคับไม่ได้ให้บังคับได้เป็นต้น
 

หน้าที่ของผู้เจริญวิปัสสนา ไม่มีสิ่งใดที่ทำมากกว่าการค่อย ๆสังเกตุจนเข้าใจความเป็นจริงของรูปนามที่ประกอบกันขึ้นเป็นตัวเรา ได้ตรงตามที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ หมั่นรู้รูปนามเนือง ๆ จนจิตใจเกิดความเห็นแจ้งว่า ตัวเราไม่มี มีแต่รูปกับนาม เพียงเท่านี้ก็พ้นจากความหลงผิดเบื้องต้นได้แล้ว และเมื่อเจริญวิปัสสนาต่อไป ก็จะเกิดวามเข้าใจแจ่มแจ้งว่า รูปธรรมภายในที่เรียกว่าตัวเรา นี้ไม่เที่ยง หรือเป็นทุกข์ หรือเป็นอนัตตา และเป็นเพียงส่วนประกอบหนึ่งซึ่งไม่มีความสำคัญใด ๆ เป็นพิเศษของธรรมชาติที่แวดล้อมอยู่ ซึ่งก็เป็นรูปนามด้วยกันทั้งสิ้น

แต่เพราะความหลงผิดแท้ ๆ ทำให้เกิดควมรู้สึกแบ่งแยกเป็นเขาเป็นเรา เป็นสัตว์เป็นคน เป็นภายใน และเป็นภายนอก และเป็นธรรมคู่อื่น ๆ ขึ้นมา

 
การเห็นว่ารูปนามว่างเปล่าจากความเป็นตัวตน และหาแก่นสารใด ๆ ไม่ได้เลย เพราะรูปนามทั้งปวงนั้นไม่เที่ยง เป็นทุกข์ หรือเป็นอนัตตา ดังที่กล่าวมานี้เอง คือการเห็นว่ารูปนามทั้งปวงเป็นของสูญ หรือสุญญตา


ในขณะที่เห็นรูปนามเป็นของว่างเปล่านั้น หากปฏิบัติธรรมได้สมควรแก่ธรรม บางท่านจิตจะปล่อยวางรูปนามแล้วตัดกระแสเข้าถึงธรรมเลยทีเดียว แต่บางท่านที่กำลังยังไม่พอจะปล่อยวางรูปนาม ก็จะพบธรรมอย่างหนึ่ง เป็นความว่าง ๆ สงบ สันติ ปรากฎอยู่ท่ามกลางความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงของรูปนาม แต่ความเคลื่อนไหวทั้งหลายกระทบเข้าไม่ถึงธรรมนี้ เหมือนลิ้นอยู่ในปากงูโดยไม่มีอันตราย

 
ต่อมา เมื่อจิตรู้แจ้งในความเป็นของสูญของรูปนามแล้ว จิตซึ่งเคยหยิบฉวยรูปนามบางส่วนไว้เป็นตัวเราจนมีภาระหนักที่จะต้องแบกหามรูปนามไว้เป็นนิจ ก็จะปล่อยวางความถือมั่นในรูปนามนั้น สลัดคืนรูปนามนั้นให้กับธรรมชาติไปตามเดิม

แม้แต่จิตที่ถูกถือมั่นมาเนิ่นนานก็ถูกสลัดทิ้งไปด้วย แล้วประจักษ์หรือเข้าถึงธรรมที่ว่างจากความเป็นตัวตนอีกชนิดหนึ่งนั้นเรียกว่า นิพพาน และเซนเรียกว่า มหาสุญญตา


 
ความพ้นทุกข์ทางใจอย่างสิ้นเชิงอยู๋ตรงนี้เอง คงเหลือแต่ความทุกข์ของธาตุขันธ์ หรือรูปนามที่ยังคงหมุนเวียนสืบต่ออยู่เท่านั้น แต่จิตไม่หยิบฉวยรูปนามขึ้นมาให้เป็นภาระอีก ความทุกข์ทางใจจึงมีขึ้นไม่ได้เลย

ดังนั้น พระอรหันต์จึงไม่ใช่ผู้ทำจิตที่ไม่เที่ยงให้เที่ยงได้ หรือทำจิตที่เป็นทุกข์ให้กลายป็นสุขได้ หรือทำจิตที่บังคับไม่ได้ให้บังคับได้ แต่ท่านคือผู้ปล่อยวางความถือมั่นในจิตใจ และขันธ์ทั้งปวงลงได้อย่างสนิท ความพ้นจากขันธ์นี้เองคือความพ้นจากทุกข์


Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7866


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 5.0.375.99 Chrome 5.0.375.99


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 22 กรกฎาคม 2553 02:01:43 »



ผู้ที่ปล่อยวางความถือมั่นในจิตได้แล้ว จะมีความรู้สึกต่อ

 
๑. บัญญัติ
 

๒. สภาวะของธรรมชาติที่แวดล้อมอยู่
 

๓. สภาวะของจิต
 

๔. สภาวะของธรรม
 

แตกต่างไปจากที่เคยรู้สึกมา คือจะเห็นบัญญัติเป็นเพียงภาพลวงตาอันว่างเปล่า เห็นรูปนามรวมทั้งจิตและธรรมชาติที่แวดล้อมอยู่เป็นความว่างเปล่าจากความเป็นตัวตน และเห็นธรรม หรือนิพพานเป็นความว่างอย่างถึงที่สุดคือมหาสุญญตา คือตัวมันเองก็ว่าง และยังว่างจากรูปนามและบัญญัติอีกด้วย โดยท่านผู้นั้นจะมีความรู้สึกต่อสิ่งต่าง ๆ ดังนี้คือ

 
๑. บัญญัติ
 
 
บุคคลทั่วไป


(๑.) จะรู้สึกว่าบัญญัติเป็นจริงจัง เช่นคนก็เป็นคนจริง ๆ ต้นไม้ก็เป็นต้นไม้จริง ๆ

ผู้ปฏิบัติ

ผู้ที่ปล่อยวางความถือมั่นจิตได้แล้ว

ชัดว่าอารมณ์บัญญัติ (ทั้งสัททบัญญัติคือคำเรียกขานสิ่งต่าง ๆ และอัตถบัญญัติคือความเข้าใจเนื้อหาของสัญลักษณ์ต่าง ๆ เช่นไฟแดงหมายถึงให้หยุด ไฟเขียวหมายถึงให้ไปได้) เป็นเพียงสิ่งที่มนุษย์ตกลงสมมติกันขึ้นเอง แม้แต่เรื่องราวที่คิดนึกขึ้นก็เป็นเพียงภาพลวงตา หรือเป็นมายาที่หลอกลวงให้หลงเป็นจริงเป็นจังไปเท่านั้น

 
อย่างไรก็ตาม บัญญัติก็เป็นความจริงโดยสมมติ ผู้นั้นย่อมเข้าใจ อาศัย และคล้อยตามบัญญัติ ไม่ได้ปฏิเสธบัญญัติแต่อย่างใด แต่หากบัญญัติใดผิดต่อคุณธรรมแล้ว ผู้นั้นจะยึดถือคุณธรรมเป็นใหญ่ เนเมื่อชาวโลกสมมติกันว่า การต้มเหล้าขายป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน ผู้นั้นก็ไม่ต้มเหล้าขาย เพราะเหล้าเป็นเครื่องทำลายสติ ซึ่งเป็นคุณธรรมอันวิเศษสุดอย่างหนึ่งของมนุษย์ และชาวโลกสมมติกันว่า การพนันของรัฐเป็นสิ่งที่ถูกกฎหมาย ผู้นั้นก็ไม่นิยมยินดีด้วย เพราะการพนันเป็นเครื่องส่งเสริมความโลภ และหยามหมิ่นคุณค่าของความพากเพียรที่จะทำมาหากินด้วยน้ำพักน้ำแรงของมนุษย์ เป็นต้น

 
จะรู้สึกว่าธรรมชาติหรือสิ่งที่แวดล้อมอยู่ เช่นคนอื่น สัตว์อื่น ต้นไม้ ภูเขา ย่อมเห็นบัญญัติเป็นเพียงภาพลวงตา คือจะเห็นแจ้งจะรู้สึกว่าบัญญัติเป็นของไม่จริงจัง แต่ก็หลงจริงจังกับบัญญัติเป็นคราว ๆ ไป


(๒.) สภาวะของธรรมชาติ
 

บุคคลทั่วไป

กับตัวเรา เป็นสิ่งสองสิ่งที่แยกต่างหากจากกัน ทั้งธรรมชาติและตัวเรา มีความเป็นตัวตนจริงจังมาก คือธรรมชาติทั้งหลายก็เป็นของจริง ตัวเราก็มีอยู่จริง ๆ เขามักคิดกันว่า คนที่เก่ง ๆ จะสามารถบังคับตนเอง และเอาชนะธรรมชาติได้ เขาจะพยายามแสวงหาความสุขจากการครอบครอง และผลักไสสิ่งแวดล้อมเขาอยู่ตลอดเวลา โดยหวังว่า กรกระทำเช่นนั้นจะนำความสุขมาให้

ผู้ปฏิบัติ

จะรู้สึกว่าธรรมชาติกับตัวเราเป็นสิ่งสองสิ่งที่แยกต่างหากจากกัน ถ้าขาดสติ ธรรมชาติและตัวเราก็มีตัวตนจริง ๆ แต่ถ้ามีสติก็อาจเห็นได้ว่า ธรรมชาติและตัวเราเป็นภาพลวงตา คือไม่มีตัวตนที่แท้จริง แต่ความยึดถือในธรรมชาติและตัวเราก็ยังมีอยู่ เขาจะพายามรักษาใจ ซึ่งก็คือสิ่งที่ถือมั่นว่าเป็นตนเอง ไม่ให้เป็นทุกข์เพราะการกระทบกับธรรมชาติภายนอกที่แวดล้อมอยู่

ผู้ที่ปล่อยวางความถือมั่นในจิตใจได้แล้ว ย่อมเห็นสรรพสิ่งที่แวดล้อมอยู่เป็นเพียงรูปนามซึ่งวางเปล่าจากความเป็นตัวตน ไม่มีการแบ่งแยกธรรมชาติอันเป็นหนึ่งนั้ให้เป็นสองส่วน คือตัวเรากับสิ่งภายนอก ธรรมชาติกับรูปนามที่สัมผัสรู้ได้ จะมีสภาวะราบเรียบเสมอกัน ราวกับว่าหน้ากลอง คือไม่มีสิ่งใดสะดุดตาสะดุดใจ โดดเด่นยกสูงขึ้นมาเป็นตัวตนได้อีก เช่นเมื่อมองดูโลกก็เห็นทุกสิ่งราบเรียบเสมอภาคกันในความรู้สึก เพราะปราศจากความหลงและอคติต่าง ๆ เห็นว่าในธรรมชาติอันเป็นหนึ่งนั้น ไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา มีแต่รูปกับนามที่หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงไปตามปัจจัยปรุงแต่ง รูปนามก็ทำงานไปตามหน้าที่ของมันเท่านั้นเอง และแม้รูปนามจะไม่เที่ยง เป็นทุกข์และเป็นอนัตตา แต่ก็ไม่เป็นภาระเครื่องเสียดแทงเข้าถึงจิตแต่อย่างใด ผู้นั้นจะอยู่กับธรรมชาติที่แวดล้อมอยู่ ในลักษณะเหมือนดอกบัวที่อยู่กับน้ำ แต่ไม่ติดน้ำ เขาย่อมไม่หลงเพลิน หรือผลักไสรูปนามทั้งปวงนั้น

 

บุคคลทั่วไป

ก้อนของกายกับจิตนี่เอง ไม่สามารถจำแนกได้ว่า อันใดเป็นกายอันใดเป็นจิต รู้สึกเพียงแต่ว่าทั้งหมดนี้คือตัวเรา

ผู้ปฏิบัติ

จะรู้สึกว่า กายก็อันหนึ่ง จิตใจก็อันหนึ่ง ธรรมชาติที่แวดล้อมอยู่ก็เป็นอีกอันหนึ่ง กายและธรรมชาติไม่ใช่ตัวเรา แต่เมื่อปฏิบัติจนบรรลุเป็นพระโสดาบันแล้ว จะเห็นว่าจิตไมใช่ตัวเรา แต่ก็ยังมีการหยิบฉวยครอบครองจิตอยู่ ไม่สามารถปล่อยวางความถือมั่นในจิตได้ ยังมีความพยายามจะรักษาจิต และต้องการพัฒนาจิตไปสู่ความหลุดพ้น และรู้สึกว่าจิตยังมีขอบเขต มีจุด มีดวง และจิตจะเสพอารมณ์กามาวจรอยู่เสมอ ส่วนผู้ทรงฌานก็จะละอารมณ์ในกามาวจร ไปเสพอามณ์ในรูปาวจรและอรูปาวจรเป็นครั้งคราว

ผู้ปล่อยวางความถือมั่นในจิตได้แล้ว ย่อมเห็นจิตเป็นความว่างเปล่าจากความเป็นตัวตน คือเห็นจิตเป็นธรรมชาติอันหนึ่ง ที่ไม่ใช่ตัวตนใด ๆ ทั้งสิ้น จิตมีความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา เหมือนกับสังขารธรรมทั้งหลายนั่นเอง

พวกเราอย่าสำคัญผิดคิดว่า เมื่อปฏิบัติถึงที่สุดแล้วจิตจะเที่ยง เป็นสุข และเป็นอัตตาขึ้นมาได้ เพราะจิตเป็นขันธ์ จิตจึงย่อมจะเป็นตัวทุกข์เสมอไป เพียงแต่ผู้ที่ปล่อยวางจิตได้แล้ว จะไม่มีความรู้สึกกระทบกระเทือน หรือถูกเสียดแทงเพราะขันธ์หรืออารมณ์ใด ๆ อีกต่อไป จิตที่เคยทำหน้าที่เสพอารมณ์ กลับทำหน้าหน้าที่รู้สึกนึกคิดโดยไม่เสพอารมณ์ อยู่ต่างหากจากอารมณ์ มีความรู้สึกที่โปร่ง โล่ง ว่าง ไร้น้ำหนัก ไร้รูปลักษณ์ ไร้ขอบเขต และเป็นอิสระ

ส่วนวิบากจิตที่ทำหน้าที่รับอารมณ์ พิจารณาอารมณ์ และตัดสินอารมณ์ ก็ยังทำหน้าที่เหมือนจิตของปุถุชนคนธรรมดา ๆ นั่นเอง


บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7866


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 5.0.375.99 Chrome 5.0.375.99


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 22 กรกฎาคม 2553 02:02:04 »



ขอขยายความถึงจิตที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับความรู้สึกนึกคิด ที่เรียกว่า ชวนจิต(ชะวะนะจิต) อีกสักเล็กน้อย จิตชนิดนี้จะมีความแตกต่างไปจากจิตเดิม คือชวนจิตของผู้ที่ยังปล่อยวางความถือมั่นในจิตไม่ได้ จะทำหน้าที่นึกคิดและเสวยอารมณ์ คือหลงยินดียินร้ายไปด้วย หรือเป็นกุศล อกุศล ไปด้วย แต่ชวนจิตของผู้ที่ปล่อยวางความถือมั่นในจิตได้แล้ว จะนึกคิด แต่ไม่เสวยอารมณ์ จะมีลักษณะสักว่าคิด นึก ปรุงแต่ง เพื่ออยู่กับดลก และอนุโลมตามดลก เป็นกิริยาไปอย่างนั้นเอง

จิตเหล่านี้ บางดวงมีโสมนัสเวทนา บางดวงมีอุเบกขาเวทนา บางดวงประกอบด้วยปัญญา บางดวงไม่ประกอบด้วยปัญญา แต่ทั้งหมดมีลักษณะเป็นหนึ่ง เป็นปกติ สงบ สันติ แจ่มจ้า อิสระ ไมมีความเคลื่อนไหวใด ๆ ในภายในแม้แน้อย ไม่มีจุด ไม่มีดวง ไร้รูปลักษณ์และขนาด กว้างขวาง ไม่มีขอบเขตเครื่องสกัดกั้น ไม่มีสิ่งห่อหุ้ม เหมือนกับอยู่เหนือขันธ์ ไม่ปนเปื้อนด้วยขันธ์ ไม่มีน้ำหนัก ไม่มีอะไรเลย นอกจากธรรมชาติรู้ อันบริสุทธิ์ล้วน ๆ และไม่ถูกหยิบฉวยหรือกำหนดหมายไว้แต่อย่างใด จิตนี้มีอยู่ก็เหมือนไม่มี และไม่มีกิจที่จะต้องดูแลรักษาอีกต่อไป


ชวนจิตนี้ เมื่อไม่มีกิจจะต้องรู้ขันธ์ หรืออยู่กับดลกอันเป็นสมมติ ก็จะไปรู้ธรรมอันเป็นอมตธาตุหรืออมตะธรรม จัดว่าเป็นจิตที่แปลก และอัศจรรย์ เหมือนกับไม่ใช่จิต ไม่น่าจะเรียกว่าจิต แต่ก็ต้องเรียกว่าจิต เพราะมีสภาวะรู้

ครูบาอาจารย์วัดป่า ท่านมักจะสมมติเรียกจิตชนิดนี้ว่า ใจ ฐีติจิต จิตดิม จิตหนึ่ง เป็นต้น เพราะเป็นเครื่องรู้ธรรมอันเป็นธัมมารมณ์ชนิดที่ท่านสมมติกันเรียกว่า ธรรม ฐีติธรรม มหาสุญญตา เป็นต้น ใจนี้เงียบสนิท และบริสุทธิ์ผุดผ่องจริง ๆ ไม่มีอยู่ในนั้นสักจุด สักแต้มเดียว กว้างขวาง ไร้ขอบเขต และไม่มีการทำงานแม้แต่การหมายรู้ใจ หรือหมายรู้ธรรม ใจนี้แหละรู้ธรรม ใจนี้แหละทรงไว้ซึ่งธรรม แต่แท้ที่จริงแล้วธรรมนั่นแหละทรงธรรมไว้ คือทรงสภาพไว้ได้เองโดยไม่อิงอาศัยสิ่งใด

และเมื่อมีกิจ เช่นมีความจำเป็นต้องสัมผัสหรือสัมพันธ์กับโลก จิตก็ทำหน้าที่รู้อารมณ์ รูปนาม และบัญญัติอย่างเป็นกิริยาไปอย่างนั้นเอง เป็นการอนุโลมตามดลก และเมื่อหมดกิจการงานแล้ว ใจก็รู้ธรรมไป และมีความสุขมหาศาลอยู่กับธรรมนั้น

 
รูปนามก็ไม่เห็น หรือเห็นก็ไม่เข้าใจ เพราะจิตใจถูกสมมติบัญญัติปิดกั้นไว้ทั้งหมด

ผู้ปฏิบัติ พระเสขบุคคลคือพระโสดาบัน พระสกิทาคามี และพระอนาคามี จะรู้สึกได้ถึงธรรมนี้เป็นครั้งคราว เพียงแต่ไม่เข้าใจแจ่มแจ้งถึงธรรมนี้ และไม่ทราบว่าจะใช้ประโยชน์ใด ๆ ได้ เพราะจิตยังไม่เลิกแสวงหาความหลุดพ้น สภาวธรรมนี้จึงถูกมองข้ามไปอย่างรวดเร็ว ส่วนปุถุชนที่อยากจะทราบร่องรอยของความรู้สึกของสภาวะนี้ก็มีสภาวะอยู่อย่างหนึ่งที่ใกล้เคียงกับสภาวะนี้ คือความรู้สึกแปลก ๆ ที่เกิดขึ้นเมื่ออ่านหนังสือเซน เช่นหนังสือของท่านเว่ยหล่าง และท่านฮวงโป เป็นต้น เป็นความรู้สึกที่เห็นโลกว่างจากความเป็นตัวตนเพราะหยุดความคิดนึกดิ้นรนทางใจ แต่แม้จะพอรู้สึกได้บ้าง ก็ไม่สามารถกำหนด แตะต้อง หรือทำความเข้าใจได้ เพราะมันเป็นสภาวะแห่งการหยุดและรู้ หากพยายามทำความเข้าใจ สภาวะนี้จะดับไปทันที ผู้ที่สัมผัสสภาวะนี้จึงไม่ทราบประโยชน์ใด ๆ ของความรู้สึกนี้เลย นอกจากทราบว่ามีความรู้สึกแปลก ๆ เกิดขึ้นเท่านั้น

ผู้ปล่อยวางความถือมั่นในจิตได้แล้ว ย่อมเห็นธรรมที่เคยเห็นก่อนหน้านี้มาแล้ว ปรากฎแจ่มจ้า บริสุทธิ์ บริบูรณ์ อยู่ต่อหน้าต่อตา และเข้าใจถ่องแท้ถึงที่สุดแห่งทุกข์และการเดินทาง โดยเมื่อเห็นรูปนามเป็นสิ่งราบเรียบเสมอกัน และปล่อยวางจิต คือไม่มั่นหมาย และไม่หยิบฉวยจิตขึ้นมาอีกแล้ว ก็จะเห็นแจ้งสภาวธรรมอีกอยางหนึ่ง


*สภาวะนี้ไม่เกิดไม่ดับ ไม่เหมือนสภาวะของธรรมชาติคือรูปนามที่มีความเกิดดับ


*สภาวะนี้ทนอยู่ได้ ไม่มีความเสื่อม ไม่เก่าคร่ำคร่า ไม่ดับสลาย เพราะไม่มีสิ่งกระทบกระเทือนเข้าถึงได้ ไม่ว่าจะเป็นดิน น้ำ ลม ไฟ ช่องว่าง วิญญาณ และไม่มีอะไรปรุงแต่งได้ อยู่ได้เองโดยไม่ต้องอิงอาศัยจิต กรรม อุตุ หรืออาหาร


*สภาวะนี้ว่างจากความเป็นตัวตน ไม่ใช่อัตตา เพราะเป็นอนัตตา คือไม่เป็นไปในอำนาจของใคร และไม่มีใครเป็นเจ้าของครอบครองได้ แต่ผู้ที่เห็นสภาวะนี้ก็ไม่กำหนดหมายว่าสภาวะนี้เป็นอัตตาหรือนัตตา เพราะปราศจากตัณหาที่จะกำหนดหมาย สภาวะนี้ก็เป็นสภาวะนี้อยู่อย่างนี้เอง


*สภาวะนี้ครอบงำรูปนามทั้งปวงอยู่นั่นเอง แต่รูปนามทั้งปวงไม่อาจปนเปื้อนเข้าถึงสภาวะนี้ได้เลย เหมือนดอกบัวอยู่กับน้ำ แต่ไม่เปียกน้ำ


*สภาวะนี้ไม่ใช่ภพอีกชนิดหนึ่งที่เที่ยงแท้ถาวร เพราะพ้นจากรูปนามจึงไม่ใช่ภพ และภพที่เที่ยงแท้ถาวรก็ไม่เคยมีอยู่จริง


*สภาวะนี้ว่างอย่างยิ่ง เป็นมหาสุญญตา คือตัวมันเองก็ว่าง และยังว่างจากรูปนามและบัญญัติอีกด้วย จึงไม่มีสิ่งปรุงแต่งใด ๆ ที่จะปนเปื้อนเข้ามาถึงได้


*สภาวะนี้เต็มเปี่ยมบริบูรณ์ด้วยความสันติ ว่าง สว่าง และบริสุทธิ์อยู่เป็นนิจ

 
*สภาวะนี้คือสิ่งที่ควรทำให้แจ้ง (สัจฉิกิริยากิจ) เมื่อแจ้งแล้วจะพบว่านี้เป็นที่สิ้นทุกข์ เพราะพ้นจากความเสียดแทงของขันธ์จริง ๆ เหมือนคำโบราณว่า ต้นมะพร้าวนาฬิเก ต้นเดียวโนเน นอกทะเลขี้ผึ้ง ฝนตกไม่ต้อง ฟ้าร้องไม่ถึง นอกทะเลขี้ผึ้ง ถึงแต่ผู้พ้นกรรม


*สภาวะนี้เองคือธรรม คือที่พึ่งอันเกษม ที่แม้แต่พระพุทธเจ้าก็ทรงมีธรรมนี้เป็นสรณะ ผู้ใดเห็นธรรมนี้ก็จะรู้ทันทีว่า ไม่มีที่พึ่งอื่นใดยิ่งกว่านี้ ไม่มีอีกแล้ว เพราะมีแต่ธรรมนี้เท่านั้น ที่พ้นจากทุกข์ได้อย่างแท้จริง


จิตที่ได้ประจักษ์รู้สภาวะธรรมนี้จะรู้สึกเต็มอิ่ม และรู้ว่าที่สุดแห่งทุกข์อยู่ที่ตรงนี้เอง คืออยู่ตรงที่สิ้นตัณหา (วิราคะ) สิ้นความปรุงแต่ง (วิสังขาร) และหลุดพ้นจากอาสวะกิเลส เพราะไม่ถือมั่นในขันธ์ (วิมุตติ) กิจเพื่อการแสวงหาที่สุดแห่งทุกข์ที่ยิ่งไปกว่านี้ไม่มีอีกแล้ว สภาวะนี้ปรากฎอยู่ต่อหน้าต่อตาแท้ ๆ ไม่เคยหายไปไหน แต่ก่อนหน้านี้ไม่เคยเห็น หรือเคยเห็นก็ไม่รู้จัก ไม่เข้าใจ จึงต้องเที่ยวแสวงหาทางพ้นทุกข์อย่างไมมีที่สิ้นสุด ต่อเมื่อปล่อยวางความยึดถือจิตได้แล้ว จึงหมดการแสวงหา และเข้าใจถึงสภาวะนี้ได้ แต่ก็ไม่มีการหยิบฉวยสภาวะนี้ไว้ เหมือนคนที่เที่ยวแสวงหาเหมืองเพชร แม้เคยเดินผ่านแต่ไม่รู้ ต่อมาจึงรู้ว่าที่นี่คือเหมืองเพชร แต่เมื่อพบเข้าจริง ๆ กลับยืนดูอยู่เฉย ๆ อย่างมีความอิ่มเต็ม ไม่คิดจะครอบครองเหมืองเพชรไว้ เพราะไม่มีตัวเราที่ไหนจะให้ไปเป็นเจ้าของเหมืองเพชรนั้น



ผู้เข้าถึงธรรมนี้แล้ว จะเข้าใจเส้นทางธรรมได้ตลอดสาย และอาจอุทานด้วยความร่าเริงว่า


เมื่อจิตหลุดออกจากโลกของความคิด

จิตก็รู้รูปนามอันว่างเปล่าจากความเป็นตัวตน

เมื่อจิตรู้รูปนามโดยไม่เติมแต่งสิ่งใดลงในการรู้

จิตก็เห็นเงาของธรรมอันสงบสันติที่แทรกซ้อนอยู่อย่างเร้นลับ

อันเป็นความสงบท่ามกลางความเคลื่อนไหว อันเป็นความร่มเย็นในท่ามกลางความเร่าร้อน

และเมื่อกำลังของปัญญาแก่กล้าพอ จิตจะปล่อยวางรูปนาม

แล้วเข้าถึงธรรมอันสงบสันตินั้นเองโดยอัตโนมัติ

เมื่อจะเข้าถึงธรรมอันสงบสันติ จิตก็เข้าถึงของเขาเอง

เมื่อจะทรงอยู่กับธรรมอันสงบสันติ จิตก็ทรงอยู่ของเขาเอง

ไม่ต้องพยายามหรือบังคับจิตให้เข้าถึง และทรงอยู่กับธรรมนี้

หากยังบังคับ หรือเพียงจงใจหมายรู้สิ่งใดสิ่งหนึ่งแม้กระทั่งจิต

จิตจะเกิดภพคือการทำงานทางใจ และห่างไกลจากธรรมนี้ออกไปอีก

ต่อเมื่อรู้แจ้งในความจริงของรูปนาม จนปล่อยวางรูปนามได้นั่นแหละ

ไม่ต้องทำอะไรเลย ก็เข้าถึงธรรมนี้ได้แล้ว

เมื่อเข้าถึงธรรมอันสงบสันตินี้แล้ว หากมีกิจที่จะต้องสัมพันธ์กับโลก จิตก็รู้บัญญัติและรูปนาม

จิตอนุโลมตามโลก หรือคล้อยตามสมมติบัญญัติของโลก

เช่นโลกเขาเรียกผู้หญิงก็ผู้หญิงกับเขา และปฏิบัติต่อผู้หญิงและผู้ชายไปตามสมมติ

หรือตามมารยาทของโลก ด้วยความรู้เท่าทันว่า ผู้หญิงไม่มี ผู้ชายไม่มี มีแต่รูปกับนาม



ในการดำรงชีวิตอยู่นั้น เมื่อหิวก็กิน เมื่อง่วงก็นอน เมื่อปวดอึก็ขับถ่าย เมื่อขบขันก็ยิ้ม

เมื่อมีเรื่องควรสลดสังเวชก็มีธรรมสังเวช ไม่เสแสร้งสงบสำรวม

แต่มีอาการทางกายและวาจาไปตามวาสนาที่เคยชิน

ทั้งหมดทั้งสิ้นเป็นเพียงกิริยาอาการในความว่างเปล่า ไม่กระเทือนเข้าถึงธรรมอันสงบสันติ

เมื่อหมดกิจที่จะต้องสัมผัส/สัมพันธ์กับโลก จิตก็อยู่กับธรรมอันสงบสันติ ซึ่งเป็นอมตธาตุ

และเมื่อคราวจะตาย จิตก็ทิ้งความรับรู้รูปนาม หดตัวเข้ามารู้เฉพาะความสงบสันติ

แล้วรูปนามก็ดับไป


 
ท่านที่กล่าวถึงนี้ก็เช่น หลวงปู่ดุลย์ อตุโล วัดบูรพาราม จังหวัดสุรินทร์ และอีกองค์หนึ่งคือหลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ วัดป่าเขาน้อย จังหวัดบุรีรัมย์

โดยเฉพาะหลวงปู่สุวัจน์ ทานเล่าประสบการณ์ของท่านให้ฟังว่า “ธรรมนี้เป็นของง่าย เมื่อเข้าใจแล้วท่านถึงกับด่าตนเองว่าโง่แท้ ของเหล่านี้เห็นก็เห็นอยู่แต่ไม่เข้าใจ แต่เมื่อเข้าใจแล้ว ท่านบอกว่าจิตใจของท่านมีสุขมาก ไม่นึกไม่ฝันเลยว่า บวชมาแล้วจะมีความสุขได้มากมายถึงขนาดนี้

เวลานี้ ท่านเหล่านี้มรณภาพไปแล้ว หากท่านหมดกิเลส ท่านก็คงสบายไปแล้ว ยังเหลือก็แต่พวกเรา จะต้องพากเพียรเจริญสติรู้รูปนาม เพื่อเอาตัวรอดกันต่อไป.


 

พระอาจารย์ปราโมทย์ ปาโมชโช

6 กรกฎาคม 2548

 

เป็นไงครับ อ่านแล้วอยากไปเมืองนิพพานกันมั้ย ถ้ายังไม่เข้าใจก็อ่านกันหลาย ๆ รอบ หลายรอบยังไม่เข้าใจ ก็ต้องเริ่มหัดอ่านจิตอ่านใจตัวเองทุกวี่วัน จึงจะเข้าใจว่าท่านพูดเรื่องอะไร

ธรรมเหล่านี้ ผู้เขียนเคยได้รับฟังมาจากครูบาอาจารย์พระป่าหลายรูป เห็นว่าแปลกดี จึงจำมาเล่าสู่กันฟังในหมู่เพื่อนนักปฏิบัติจะรู้สึกตัวเรามีอยู่อย่างแน่นอน และสิ่งที่เรียกว่าตัวเราก็คือกลุ่มก้อนทั้ง

(๓.) สภาวะของจิต

(๔.) สภาวะของธรรม
 

บุคคลทั่วไป

จะเห็นธรรมที่เหนือกว่าธรรมชาติ คือเหนือความกิดดับไม่ได้เลย กระทั่ง




ภาพจาก: www.bloggang.com/viewblog.php?id=geiler&group...

 :)  http://www.sanyasi.org/index.php?lay=show&ac=article&Id=538394&Ntype=5

อนุโมทนาสาธุ ที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7866


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 5.0.375.99 Chrome 5.0.375.99


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 22 กรกฎาคม 2553 02:02:38 »

ข้อมูลข้างต้นทั้งหมดถูกโพสท์ในบอร์ดเก่าของเราโดย อ.ฐิตา
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
คำค้น: เมืองนิพพาน พระอาจารย์ อาจารย์ นิพพาน หนังสือ ปราโมช ปราโมทย์ ปาโมชโช 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.597 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 19 ธันวาคม 2567 13:22:04