ตลาดแลกเบี้ย ททท.ตรงจุดนี้ไม่ได้ถ่ายรูปมาเท่าไหร่เพราะดูไม่ค่อยน่าสนใจ (ความเห็นส่วนตัว)
ที่ชื่อว่าตลาดแลกเบี้ยเพราะว่า ถ้าใครอยากได้บรรยากาศการค้าขายแบบสมัยก่อน
ก็ให้เอาเงินสดมาแลกเป็นเบี้ย
ซึ่งเบี้ยที่ผมพูดถึงคือเป็นส่วนเปลือกของหอยเบี้ย มีลักษณะประมาณนี้
โดยคนสมัยก่อนจะใช้เบี้ยแทนเงินตรา
ซึ่งถึงจุดนี้ผมจะขออนุญาตแทรกความรู้เกี่ยวกับเรื่องการใช้เบี้ยแทนเงินตราไว้ดังนี้
หลักฐานการใช้เบี้ยในดินแดนไทย มีมานานมากและขุดค้นพบในแหล่งโบราณสถานได้เสมอ ๆ
สมัยสุโชทัยมีหลักฐานการใช้หอยเบี้ย คือจารึกสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท ระบุว่า
พระองค์ทรงผนวชที่วัดป่ามะม่วง “…คิดพระราชทานทรัพย์ คือ ทอง(หมื่นหนึ่ง) เงินหมื่นหนึ่ง เบี้ย 10 ล้าน
หมาก 2 ล้าน จีวร 400 เมตร หมอนนั่ง หมอนนอน เสื่อ... เท่านั้น และเครื่องกระยาทานทั้งหลาย
ยังมีอเนกประการซึ่งคณามิได้...”
** สมัยสุโขทัยมีอัตราแลกเปลี่ยน 800 เบี้ยต่อเฟื้อง (6,400 เบี้ยต่อบาท)สมัยกรุงศรีอยุธยา“โยสเซาเต็น” พ่อค้าชาวฮอลันดาในสมัยของพระเจ้าทรงธรรม และพระเจ้าปราสาททอง
ซึ่งได้เข้ามาตั้งห้างร้านค้าขายอยู่ในกรุงศรีอยุธยา ได้กล่าวถึงเบี้ยว่า
“เงินตราที่ใช้ในการค้าขายในกรุงศรีอยุธยานั้นทำด้วยเงินแท้ มีรูปช้างกลม
และเครื่องหมายของพระเจ้าแผ่นดินประทับ มีอยู่ 3 ชนิด คือ เงินบาท เงินสลึง และเงินเฟื้อ
คือ 4 สลึง เท่ากับ 8 เฟื้อง หรือ 1 บาท แต่เพื่อสะดวกในการชำระเงินสำหรับราษฎรสามัญทั่วๆไป
ยังมีเงินตราอีกชนิดหนึ่งคือ เบี้ย ซึ่งเป็นหอยทะเลที่มาจากมะนิลา หรือเกาะบอร์เนียว
เบี้ยดังกล่าวจำนวน 800 หรือ 900 เบี้ย มีราคาเท่ากับ 1 เฟื้อง
และกล่าวว่าพกเบี้ยไปจ่ายตลาดเพียง 5 เบี้ย 10 เบี้ย หรืออย่างมาก 20 เบี้ยก็เพียงพอแล้ว”
ประมาณช่วงปลายอยุธยา สมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เบี้ยหอยขาดแคลนมาก จึงนิยมใช้ ประกับดินเผา
ที่ทำจากดินเป็นรูปต่างๆ เช่น ดอกบัว, กระต่าย, ไก่ เป็นต้น ใช้แทนเบี้ยหอยในชั่ว ระยะหนึ่ง
แต่เนื่องจากชำรุดง่าย จึงใช้เป็นช่วงสั้นๆเท่านั้น
วกกลับมาเข้าเรื่องเดิม
ตลาดแลกเบี้ยแห่งนี้ก็เหมือนกันให้นำเงินสดไปแลกเป็นเบี้ยเพื่อใช้จ่ายในตลาด
โดยเบี้ยสีขาวมีค่าห้าบาท สีดำมีค่าสิบบาท แต่ถ้าไม่แลกเบี้ยก็สามารถเอาเงินสดซื้อของในตลาดได้เช่นกัน
(อ้าว แล้วจะให้แลกทำสับปะรดอะไรกันครับพี่)
สำหรับบรรยากาศภายในตลาดแลกเบี้ยก็มีผู้ที่ไปเที่ยวแล้วถ่ายภาพมาให้ชมเหมือนกัน
น้าแม๊คพาเที่ยว เก็บตกบรรยากาศประเพณีลอยกระทง สุโขทัย 2555
น้าแม๊คพาเที่ยว เก็บตกบรรยากาศประเพณีลอยกระทง สุโขทัย 2555
น้าแม๊คพาเที่ยว เก็บตกบรรยากาศประเพณีลอยกระทง สุโขทัย 2555
น้าแม๊คพาเที่ยว เก็บตกบรรยากาศประเพณีลอยกระทง สุโขทัย 2555
น้าแม๊คพาเที่ยว เก็บตกบรรยากาศประเพณีลอยกระทง สุโขทัย 2555
น้าแม๊คพาเที่ยว เก็บตกบรรยากาศประเพณีลอยกระทง สุโขทัย 2555
น้าแม๊คพาเที่ยว เก็บตกบรรยากาศประเพณีลอยกระทง สุโขทัย 2555
ซึ่งอย่างที่ผมบอกไว้ข้างต้นว่าผมเฉย ๆ กับจุดนี้
มันดูเฟค ๆ เพราะจะใช้เงินซื้อก็ได้ ใช้เบี้ยซื้อก็ได้ มันดูยุ่งยาก
อาหารการกินสินค้าในซุ้มนี้ทำให้ดูเก่า
แต่แม่ค้านั่งเล่นมือถือเปิดอินเทอร์เน็ต ใส่ชุดไทย ติดขนตาปลอม ปัดมาสคาร่า
มันก็เป็นภาพที่ดูขัด ๆ ตา แบบแปลก ๆ ดีเหมือนกัน