[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
23 พฤศจิกายน 2567 11:05:14 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า:  1 [2]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ความหมายขององค์ประกอบแห่งมัชฌิมาปฏิปทา  (อ่าน 21759 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #20 เมื่อ: 29 กรกฎาคม 2553 22:43:46 »


เมื่อมีญาณทัสสนะ คือการรู้การเห็นประจักษ์แล้ว จึงไม่ต้องมีศรัทธา คือไม่ต้องเชื่อต่อผู้ใดอื่น ดังนั้น พุทธสาวกที่บรรลุคุณวิเศษต่างๆ จึงรู้และกล่าวถึงสิ่งนั้นๆ โดยไม่ต้องเชื่อต่อพระศาสดา เช่น ได้มีคำสนทนาถามตอบระหว่างนิครนถนาฏบุตร กับจิตตคฤหบดี ผู้เป็นพุทธสาวกฝ่ายอุบาสกที่มีชื่อเสียงเชี่ยวชาญในพุทธธรรมมาก ว่า

 นิครนถ์: แน่ะท่านคฤหบดี ท่านเชื่อพระสมณะโคดมไหมว่า สมาธิที่ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีอยู่ ความดับแห่งวิตกวิจารได้ มีอยู่
?
 จิตตคฤหบดี: ในเรื่องนี้ ข้าพเจ้ามิได้ยึดถือด้วยศรัทธา ต่อพระผู้มีพระภาคว่า สมาธิที่ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีอยู่ ความดับแห่งวิตกวิจารได้ มีอยู่ ฯลฯ ข้าพเจ้านี้ ทันทีที่มุ่งหวัง...ก็เข้าปฐมฌานอยู่ได้...เข้าทุติย-ฌานอยู่ได้...เข้าตติยฌานอยู่ได้...เข้าจตุตถฌานอยู่ได้  ข้าพเจ้านั้น รู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ จึงไม่ยึดถือด้วยศรัทธา ต่อสมณะหรือพราหมณ์ผู้ใดๆ ว่า  สมาธิที่ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีอยู่  ความดับแห่งวิตกวิจารได้ มีอยู่

 ด้วยเหตุที่กล่าวมานี้ พระอรหันต์ซึ่งเป็นผู้มีญาณทัสสนะถึงที่สุด จึงมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งว่า “อัสสัทธะ”  ซึ่งแปลว่า ผู้ไม่มีศรัทธา คือ ไม่ต้องเชื่อต่อใครๆ ในเรื่องที่ตนรู้เห็นชัดด้วยตนเองอยู่แล้ว อยู่เหนือศรัทธา หรือไม่ต้องอาศัยศรัทธา เพราะรู้ประจักษ์แล้ว ดังจะเห็นได้จากพุทธดำรัสสนทนากับพระสารีบุตรว่า

 พระพุทธเจ้า: สารีบุตร เธอเชื่อไหมว่า สัทธินทรีย์ที่เจริญแล้ว กระทำได้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่หมาย มีอมตะเป็นที่สิ้นสุด วิริยินทรีย์...สตินทรีย์...สมาธินทรีย์...ปัญญินทรีย์ (ก็เช่นเดียวกัน) ?

พระสารีบุตร: ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในเรื่องนี้ ข้าพระองค์มิได้ยึดถือด้วยศรัทธา ต่อพระผู้มีพระภาค... แท้จริง  คนเหล่าใด ยังไม่รู้ ยังไม่เห็น ยังไม่ทราบ ยังไม่กระทำให้แจ้ง ยังไม่มองเห็นด้วยปัญญา ชนเหล่านั้น จึงจะยึดถือด้วยศรัทธาต่อคนอื่นในเรื่องนี้...ส่วนคนเหล่าใด รู้ เห็น ทราบ กระทำให้แจ้ง มองเห็นสิ่งนี้ด้วยปัญญาแล้ว คนเหล่านั้นย่อมไม่มีความสงสัย ไม่มีความแคลงใจในเรื่องนั้น...

 ก็ข้าพระองค์ได้รู้ เห็น ทราบ กระทำให้แจ้ง มองเห็นสิ่งนี้ด้วยปัญญาแล้ว ข้าพระองค์จึงเป็นผู้ไม่มีความสงสัย ไม่มีความแคลงใจในเรื่องนั้นว่า สัทธินทรีย์...วิริยินทรีย์...สตินทรีย์...สมาธินทรีย์...ปัญญินทรีย์ ที่เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว  ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่หมาย มีอมตะเป็นที่สิ้นสุด

 พระพุทธเจ้า: สาธุ สาธุ สารีบุตร ฯลฯ
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #21 เมื่อ: 29 กรกฎาคม 2553 22:45:13 »


เพื่อสรุปความสำคัญและความดีเด่นของปัญญา ขออ้างพุทธพจน์ว่า

ภิกษุทั้งหลาย เพราะเจริญ เพราะกระทำให้มาก ซึ่งอินทรีย์กี่อย่างหนอ ภิกษุผู้ขีณาสพจึงพยากรณ์อรหัตตผล รู้ชัดว่า

“ชาติสิ้นแล้ว...สิ่งอื่นที่จะต้องทำเพื่อเป็นอย่างนี้ ไม่มีเหลืออยู่อีก” ?

 เพราะเจริญ เพราะกระทำให้มาก ซึ่งอินทรีย์อย่างเดียว ภิกษุผู้ขีณาสพ ย่อมพยากรณ์อรหัตตผลได้...
อินทรีย์อย่างเดียวนั้น ก็คือ ปัญญินทรีย์

 สำหรับอริยสาวกผู้มีปัญญา ศรัทธาอันเป็นของคล้อยตามปัญญานั้น ย่อมทรงตัวอยู่ได้
วิริยะ...สติ...สมาธิ อันเป็นของคล้อยตามปัญญานั้น ย่อมทรงตัวอยู่ได้
 
 อินทรีย์อื่นๆ (คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ) ลำพังแต่ละอย่างๆ ก็ดี หรือหลายอย่างรวมกัน
แต่ขาดปัญญาเสียเพียงอย่างเดียว ก็ดี ไม่อาจให้บรรลุผลสำเร็จนี้ได้ปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฏฐิ

 สัมมาทิฏฐิ เป็นองค์ประกอบสำคัญของมรรค ในฐานะที่เป็นจุดเริ่มต้นในการปฏิบัติธรรม หรือพูดตามแนวไตรสิกขา ว่า เป็นขั้นเริ่มแรกในระบบการศึกษาแบบพุทธ และเป็นธรรมที่ต้องพัฒนาให้บริสุทธิ์ แจ้งชัด เป็นอิสระมากขึ้นตามลำดับ จนกลายเป็นการตรัสรู้ในที่สุด ดังกล่าวมาแล้ว ดังนั้นการสร้างเสริมสัมมาทิฏฐิจึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง

มีพุทธพจน์แสดงหลักการสร้างเสริมสัมมาทิฏฐิไว้ดังนี้

 ภิกษุทั้งหลาย ปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งสัมมาทิฏฐิ มี ๒ อย่างดังนี้ คือ ปรโตโฆสะ และ โยนิโสมนสิการ

๑. ปรโตโฆสะ = “เสียงจากผู้อื่น” คำบอกเล่า ข่าวสาร คำชี้แจงอธิบาย การแนะนำชักจูง การสั่งสอน การถ่ายทอด การได้เรียนรู้จากผู้อื่น (hearing or learning from others)

๒. โยนิโสมนสิการ = “การทำในใจโดยแยบคาย” การพิจารณาสืบค้นถึงต้นเค้า การใช้ความคิดสืบสาวตลอดสาย การคิดอย่างมีระเบียบ การรู้จักคิดพิจารณาด้วยอุบาย การคิดแยกแยะออกดูตามสภาวะของสิ่งนั้นๆ โดยไม่เอาความรู้สึกด้วยตัณหาอุปาทานของตนเข้าจับ (analytical reflection, critical reflection, systematic attention)

 ปัจจัยทั้งสองอย่างนี้ ย่อมสนับสนุนซึ่งกันและกัน

 สำหรับคนสามัญ ซึ่งมีปัญญาไม่แก่กล้า ย่อมอาศัยการแนะนำชักจูงจากผู้อื่น และคล้อยไปตามคำแนะนำชักจูงที่ฉลาดได้ง่าย แต่ก็จะต้องฝึกหัดให้สามารถใช้ความคิดอย่างถูกวิธีด้วยตนเองได้ด้วย จึงจะก้าวหน้าไปถึงที่สุดได้

 ส่วนคนที่มีปัญญาแก่กล้า ย่อมรู้จักใช้โยนิโสมนสิการได้ดีกว่า แต่กระนั้นก็อาจต้องอาศัยคำแนะนำที่ถูกต้องเป็นเครื่องนำทางในเบื้องต้น และเป็นเครื่องช่วยส่งเสริมให้ก้าวหน้าไปได้รวดเร็วยิ่งขึ้นในระหว่างการฝึกอบรม

 การสร้างเสริมสัมมาทิฏฐิ ด้วยปัจจัยอย่างที่ ๑ (ปรโตโฆสะ) ก็คือ วิธีการที่เริ่มต้นด้วยศรัทธา และอาศัยศรัทธาเป็นสำคัญ เมื่อนำมาใช้ปฏิบัติในระบบการศึกษาอบรม จึงต้องพิจารณาที่จะให้ได้รับการแนะนำชักจูงสั่งสอน อบรมที่ได้ผลดีที่สุด คือ ต้องมีผู้สั่งสอนอบรมที่เพียบพร้อมด้วยคุณสมบัติ มีความสามารถ และใช้วิธีการอบรมสั่งสอนที่ได้ผล
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #22 เมื่อ: 29 กรกฎาคม 2553 22:46:31 »


ดังนั้น ในระบบการศึกษาอบรม จึงจำกัดให้ได้ปรโตโฆสะที่มุ่งหมายด้วยหลักที่เรียกว่า
กัลยาณมิตตตา คือความมีกัลยาณมิตร

 ส่วนปัจจัยอย่างที่ ๒ (โยนิโสมนสิการ) เป็นแกนหรือองค์ประกอบหลักของการพัฒนาปัญญา
ซึ่งจะต้องพิจารณาว่าควรใช้ความคิดให้ถูกต้องอย่างไร

เมื่อนำปัจจัยทั้งสองมาประกอบกัน นับว่า

 กัลยาณมิตตตา (=ปรโตโฆสะที่ดี) เป็นองค์ประกอบภายนอก และ
 โยนิโสมนสิการ เป็นองค์ประกอบภายใน


ถ้าตรงข้ามจากนี้ คือ ได้ผู้ไม่เป็นกัลยาณมิตร ทำให้ประสบปรโตโฆสะที่ผิดพลาด
และใช้ความคิดผิดวิธี เป็นอโยนิโสมนสิการ ก็จะได้รับผลตรงข้าม คือ เป็นมิจฉาทิฏฐิไปได้


 มีพุทธพจน์แสดงปัจจัยทั้งสองนี้ ในภาคปฏิบัติของการฝึกอบรม พร้อมทั้งความสำคัญที่ควบคู่กัน ดังนี้

 ๑. สำหรับภิกษุผู้ยังต้องศึกษา (เสขะ) ... เรามองไม่เห็นองค์ประกอบภายนอกอื่นใด
มีประโยชน์มาก เท่าความมีกัลยาณมิตรเลย

 ๒. สำหรับภิกษุผู้ยังต้องศึกษา (เสขะ) ... เรามองไม่เห็นองค์ประกอบภายในอื่นใด
มีประโยชน์มาก เท่าโยนิโสมนสิการเลย
 ควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับปัจจัย ๒ อย่างนี้ โดยย่อ

๑. ความมีกัลยาณมิตร

กัลยาณมิตร มิได้หมายถึงเพียงแค่เพื่อนที่ดีอย่างในความหมายสามัญ แต่หมายถึง บุคคลผู้เพียบพร้อมด้วยคุณสมบัติที่จะสั่งสอน แนะนำ ชี้แจง ชักจูง ช่วยเหลือ บอกช่องทาง ให้ดำเนินไปในมรรคาแห่งการฝึกศึกษาอย่างถูกต้อง ในคัมภีร์วิสุทธิมัคค์ ยกตัวอย่างไว้ เช่น พระพุทธเจ้า พระอรหันตสาวก ครู อาจารย์ และท่านผู้เป็นพหูสูตทรงปัญญา สามารถสั่งสอนแนะนำเป็นที่ปรึกษาได้ แม้จะอ่อนวัยกว่า

 ในกระบวนการพัฒนาปัญญา ความมีกัลยาณมิตรนี้ จัดว่าเป็นระดับความเจริญปัญญาในขั้นศรัทธา
 ส่วนในระบบการศึกษาอบรม ความมีกัลยาณมิตร มีความหมายครอบคลุมถึงตัวบุคคลผู้อบรมสั่งสอน เช่น ครู อาจารย์ เป็นต้น คุณสมบัติของผู้สอนนั้น หลักการ วิธีการ และอุบายต่างๆ ในการสอน ตลอดจนการจัดดำเนินการต่างๆ ทุกอย่าง ที่ผู้มีหน้าที่เอื้ออำนวยการศึกษาจะพึงจัดทำ เพื่อให้การศึกษาได้ผลดี เท่าที่เป็นองค์ประกอบภายนอกในกระบวนการพัฒนาปัญญานั้น ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องใหญ่ ที่อาจนำไปบรรยายได้เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #23 เมื่อ: 29 กรกฎาคม 2553 22:48:13 »


                   


ในที่นี้ จะยกพุทธพจน์แสดงคุณสมบัติของกัลยาณมิตร มาเป็นตัวอย่างเพียงชุดหนึ่ง ได้แก่ กัลยาณมิตรธรรม ๗ ประการ ดังนี้

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ เป็นมิตร ที่ควรเสวนา ควรคบหา แม้จะถูกขับไล่ ก็ควรเข้าไปนั่งอยู่ใกล้ๆ กล่าวคือ เป็นผู้น่ารักน่าพอใจ ๑ เป็นผู้น่าเคารพ ๑ เป็นผู้น่ายกย่อง ๑ เป็นผู้รู้จักพูด ๑ เป็นผู้อดทนต่อถ้อยคำ ๑ เป็นผู้กล่าวแถลงถ้อยที่ลึกซึ้งได้ ๑ ไม่ชักนำในเรื่องที่เหลวไหลไม่สมควร ๑ …

 จากนี้ จะแสดงเพียงความสำคัญ และคุณประโยชน์ ของการมีกัลยาณมิตร (กัลยาณมิตตตา) ไว้ พอให้เห็นฐานะของหลักการข้อนี้ในพุทธธรรม

 ภิกษุทั้งหลาย เมื่อดวงอาทิตย์อุทัยอยู่ ย่อมมีแสงอรุณขึ้นมาก่อนเป็นบุพนิมิต ฉันใด ความมีกัลยาณมิตร ก็เป็นตัวนำ เป็นบุพนิมิต แห่งการเกิดขึ้นของอริยอัษฎางคิกมรรค แก่ภิกษุ ฉันนั้น ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตร พึงหวังสิ่งนี้ได้ คือ จักเจริญ จักทำให้มาก ซึ่งอริยอัษฎางคิกมรรค

 ดูกรอานนท์  ความมีกัลยาณมิตร... เท่ากับเป็นพรหมจรรย์ทั้งหมด ทีเดียว เพราะว่า ผู้มีกัลยาณมิตร...พึงหวังสิ่งนี้ได้ คือ เขาจักเจริญ จักทำให้มาก ซึ่งอริยอัษฎางคิกมรรค

อาศัยเราผู้เป็นกัลยาณมิตร เหล่าสัตว์ผู้มีชาติเป็นธรรมดา ย่อมพ้นจากชาติ ผู้มีชราเป็นธรรมดา ย่อมพ้นจากชรา ผู้มีมรณะเป็นธรรมดา ย่อมพ้นจากมรณะ  ผู้มีโสกะ  ปริเทวะ  ทุกข์  โทมนัส  และอุปายาส เป็นธรรมดา  ย่อมพ้นจาก โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และ อุปายาส

 ภิกษุทั้งหลาย เมื่อดวงอาทิตย์อุทัยอยู่ ย่อมมีแสงเงินแสงทองเป็นบุพนิมิตมาก่อน ฉันใด ความมีกัลยาณมิตร ก็เป็นตัวนำ เป็นบุพนิมิต แห่งการเกิดขึ้นของโพชฌงค์ ๗ แก่ภิกษุ ฉันนั้น ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตร พึงหวังสิ่งนี้ได้ คือ จักเจริญ จักทำให้มาก ซึ่งโพชฌงค์ ๗

 เราไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้สักอย่างหนึ่ง ที่เป็นเหตุยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น หรือยังอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ให้เสื่อมไป เหมือนความมีกัลยาณมิตรเลย เมื่อบุคคลมีกัลยาณมิตร กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมไป

 เราไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้สักอย่าง ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ยิ่งใหญ่  ...ที่เป็นไปเพื่อความดำรงมั่น ไม่เสื่อมสูญ ไม่อันตรธานแห่งสัทธรรม  เหมือนความมีกัลยาณมิตรเลย

 โดยกำหนดว่าเป็นองค์ประกอบภายนอก เราไม่เล็งเห็นองค์ประกอบอื่นแม้สักข้อหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ยิ่งใหญ่ เหมือนความมีกัลยาณมิตรเลย

 สำหรับภิกษุผู้เป็นเสขะ ยังไม่บรรลุอรหัตตผล ปรารถนาความเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม เราไม่เล็งเห็นองค์ประกอบภายนอกอย่างอื่นแม้สักอย่างหนึ่ง ที่มีประโยชน์มาก เหมือนความมีกัลยาณมิตรเลย ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตร ย่อมกำจัดอกุศลได้ และย่อมบำเพ็ญกุศลให้เกิดขึ้น
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 03 สิงหาคม 2553 16:11:44 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #24 เมื่อ: 29 กรกฎาคม 2553 22:49:36 »


ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตร...พึงหวังสิ่งนี้ได้ คือ

๑. จักเป็นผู้มีศีล สำรวมระวังในปาติโมกข์ สมบูรณ์ด้วยอาจาระและ  โคจร ฯลฯ
 ๒. จักเป็นผู้ (มีโอกาสได้ยินได้ฟัง ได้ร่วมสนทนาอย่างสะดวกสบาย) ตามความปรารถนา ในเรื่องต่างๆ ที่ขัดเกลาอุปนิสัย ชำระจิตใจให้ ปลอดโปร่ง คือ เรื่องความมักน้อย ฯลฯ เรื่องการบำเพ็ญเพียร  เรื่องศีล เรื่องสมาธิ เรื่องปัญญา เรื่องวิมุตติ เรื่องวิมุตติญาณทัสสนะ
 ๓. จักเป็นผู้ตั้งหน้าทำความเพียร เพื่อกำจัดอกุศลธรรม และเพื่อบำเพ็ญกุศลธรรมให้เพียบพร้อม  จักเป็นผู้แข็งขัน  บากบั่นมั่นคงไม่ทอดธุระในกุศลธรรม
 ๔. จักเป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาที่เป็นอริยะ หยั่งรู้ถึงความเกิดความดับ ชำแรกกิเลส นำไปสู่ความสูญสิ้นแห่งทุกข์”


๒. โยนิโสมนสิการ

 โยนิโสมสิการ เป็นการใช้ความคิดอย่างถูกวิธี ตามความหมายที่กล่าวมาแล้ว
 เมื่อเทียบในกระบวนการพัฒนาปัญญา โยนิโสมนสิการ อยู่ในระดับที่เหนือศรัทธา เพราะเป็นขั้นที่เริ่มใช้ความคิดของตนเองเป็นอิสระ

 ส่วนในระบบการศึกษาอบรม โยนิโสมนสิการเป็นการฝึกการใช้ความคิด ให้รู้จักคิดอย่างถูกวิธี คิดอย่างมีระเบียบ รู้จักคิดวิเคราะห์ ไม่มองเห็นสิ่งต่างๆ อย่างตื้นๆ ผิวเผิน เป็นขั้นสำคัญในการสร้างปัญญาที่บริสุทธิ์เป็นอิสระ ทำให้ทุกคนช่วยตนเองได้ และนำไปสู่จุดหมายของพุทธธรรมอย่างแท้จริง

 ความสำคัญ และคุณประโยชน์ ของโยนิโสมนสิการ พึงเห็นได้ตามตัวอย่างพุทธพจน์ต่อไปนี้

 ภิกษุทั้งหลาย เมื่อดวงอาทิตย์อุทัยอยู่ ย่อมมีแสงอรุณขึ้นมาก่อน เป็นบุพนิมิต ฉันใด ความถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการ ก็เป็นตัวนำ เป็นบุพนิมิต แห่งการเกิดขึ้นของอริยอัษฎางคิกมรรค แก่ภิกษุ ฉันนั้น ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการ พึงหวังสิ่งนี้ได้ คือ จักเจริญ จักทำให้มาก ซึ่งอริยอัษฎางคิกมรรค

 ภิกษุทั้งหลาย เมื่อดวงอาทิตย์อุทัยอยู่ ย่อมมีแสงเงินแสงทอง เป็นบุพนิมิตมาก่อน ฉันใด โยนิโสมนสิการก็เป็นตัวนำ เป็นบุพนิมิต แห่งการเกิดขึ้นของโพชฌงค์ ๗ แก่ภิกษุ ฉันนั้น ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการ พึงหวังสิ่งนี้ได้ คือ จักเจริญ จักทำให้มาก ซึ่งโพชฌงค์ ๗

 เราไม่เล็งเห็นธรรมอื่น แม้สักอย่างหนึ่ง ที่เป็นเหตุให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือให้อกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เสื่อมไป เหมือนโยนิโสมนสิการเลย เมื่อมีโยนิโสมนสิการ กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมไป

 เราไม่เล็งเห็นธรรมอื่น แม้สักอย่าง ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ยิ่งใหญ่ ... ที่เป็นไปเพื่อความดำรงมั่น ไม่เสื่อมสูญ ไม่อันตรธานแห่งสัทธรรม  เหมือนโยนิโสมนสิการเลย


 โดยกำหนดว่าเป็นองค์ประกอบภายใน เราไม่เล็งเห็นองค์ประกอบอื่น แม้สักอย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ยิ่งใหญ่ เหมือนโยนิโสมนสิการเลย
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #25 เมื่อ: 29 กรกฎาคม 2553 22:53:47 »


สำหรับภิกษุผู้เสขะ ยังไม่บรรลุอรหัตตผล ปรารถนาความเกษมจากโยคะ อันยอดเยี่ยม เราไม่เล็งเห็นองค์ประกอบภายในอย่างอื่น แม้สักอย่าง ที่มีประโยชน์มาก เหมือนโยนิโสมนสิการเลย ภิกษุผู้ใช้โยนิโส-มนสิการ ย่อมกำจัดอกุศลได้ และบำเพ็ญกุศลให้เกิดขึ้น

 เราไม่เล็งเห็นธรรมอย่างอื่น แม้สักข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุให้สัมมาทิฏฐิ ที่ยังไม่เกิด ได้เกิดขึ้น หรือให้สัมมาทิฏฐิที่เกิดขึ้นแล้ว เจริญยิ่งขึ้น เหมือนโยนิโสมนสิการเลย เมื่อมีโยนิโสมนสิการ สัมมาทิฏฐิที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และสัมมาทิฏฐิที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญยิ่งขึ้น

 เราไม่เล็งเห็นธรรมอื่น แม้สักข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุให้โพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด ได้เกิดขึ้น หรือให้โพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว ถึงความเจริญเต็มบริบูรณ์ เหมือนโยนิโสมนสิการเลย เมื่อมีโยนิโสมนสิการ โพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมมีความเจริญเต็มบริบูรณ์

 เราไม่เล็งเห็นธรรมอื่น แม้สักข้อหนึ่ง ที่จะเป็นเหตุให้ความสงสัยที่ยังไม่เกิด ก็ไม่เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้ว ก็ถูกกำจัดได้ เหมือนโยนิโสมนสิการเลย

เมื่อโยนิโสมนสิการอสุภนิมิต ราคะที่ยังไม่เกิด ก็ไม่เกิดขึ้น ราคะที่เกิดแล้ว ก็ถูกละได้ เมื่อโยนิโสมนสิการเมตตาเจโตวิมุตติ โทสะที่ยังไม่เกิด ก็ไม่เกิดขึ้น โทสะที่เกิดแล้ว ก็ถูกละได้ เมื่อโยนิโสมนสิการ (โดยทั่วไป) โมหะที่ยังไม่เกิด ก็ไม่เกิดขึ้น และโมหะที่เกิดแล้ว ก็ถูกละได้

 เมื่อโยนิโสมนสิการ …(นิวรณ์ ๕)… ที่ยังไม่เกิด ก็ไม่เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ก็ถูกกำจัดได้ …(โพชฌงค์ ๗)… ที่ยังไม่เกิด ก็เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว ก็ถึงความเจริญเต็มบริบูรณ์


ธรรม ๙ อย่างที่มีอุปการะมาก ได้แก่ ธรรม ๙ อย่าง ซึ่งมีโยนิโสมนสิการเป็นมูล กล่าวคือ เมื่อโยนิโสมนสิการ ปราโมทย์ย่อมเกิด เมื่อปราโมทย์ ปีติย่อมเกิด เมื่อมีใจปีติ กายย่อมผ่อนคลายสงบ (ปัสสัทธิ) เมื่อกายผ่อนคลายสงบ ย่อมได้เสวยสุข ผู้มีสุข จิตย่อมเป็นสมาธิ ผู้มีจิตเป็นสมาธิ ย่อมรู้เห็นตามเป็นจริง เมื่อรู้เห็นตามเป็นจริง ย่อมนิพพิทาเอง เมื่อนิพพิทา ก็วิราคะ เพราะวิราคะ ก็วิมุตติ
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #26 เมื่อ: 29 กรกฎาคม 2553 23:01:34 »




ตามนัยพุทธพจน์นี้ เขียนให้ดูง่าย เป็น

 โยนิโสมนสิการ-ปราโมทย์-ปีติ-ปัสสัทธิ-สุข-สมาธิ-ยถาภูตญาณทัสสนะ-นิพพิทา-วิราคะ-วิมุตติ
 กล่าวโดยสรุป สำหรับคนทั่วไป ผู้มีปัญญายังไม่แก่กล้า ยังต้องอาศัยการแนะนำชักจูงจากผู้อื่น การพัฒนาปัญญา นับว่าเริ่มต้นจาก องค์ประกอบภายนอก คือ ความมีกัลยาณมิตร (กัลยาณมิตตตา) สำหรับให้เกิดศรัทธา (ความมั่นใจด้วยเหตุผลที่ได้พิจารณาเห็นจริงแล้ว) ก่อน

 จากนั้น จึงก้าวมาถึงขั้น องค์ประกอบภายใน เริ่มแต่นำความเข้าใจตามแนวศรัทธาไปเป็นพื้นฐาน ในการใช้ความคิดอย่างอิสระ ด้วยโยนิโสมนสิการ ทำให้เกิดสัมมาทิฏฐิ และทำให้ปัญญาเจริญยิ่งขึ้น จนกลายเป็นญาณทัสสนะ คือ การรู้การเห็นประจักษ์ในที่สุด

 เมื่อกระจายลำดับขั้นในการพัฒนาปัญญาตอนนี้ออกไป จึงตรงกับลำดับอาหารของวิชชาและวิมุตติ ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น  คือ
การเสวนาสัตบุรุษ-การสดับเล่าเรียนสัทธรรม-ศรัทธา-โยนิโส-มนสิการ ฯลฯ

 เมื่อสัมมาทิฏฐิเกิดขึ้นแล้ว ก็จะเจริญเข้าสู่จุดหมายด้วยการอุดหนุนขององค์ประกอบต่างๆ อย่างพุทธพจน์ที่ว่า

 ภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฏฐิ อันองค์ประกอบ ๕ อย่างคอยหนุน (อนุเคราะห์) ย่อมมีเจโตวิมุตติ และปัญญาวิมุตติ เป็นผลานิสงส์ องค์ประกอบ ๕ อย่างนั้น คือ

๑. ศีล  (ความประพฤติดีงาม สุจริต)
 ๒. สุตะ (ความรู้จากการสดับ เล่าเรียน อ่านตำรา การแนะนำสั่งสอนเพิ่มเติม
 ๓. สากัจฉา (การสนทนา ถกเถียง อภิปราย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น สอบค้นความรู้)
 ๔. สมถะ (ความสงบ การทำใจให้สงบ การไม่มีความฟุ้งซ่านวุ่นวายใจ การเจริญสมาธิ)
 ๕. วิปัสสนา (การใช้ปัญญาพิจารณาเห็นสิ่งต่างๆ ตามสภาวะของมัน คือตามที่มันเป็นจริง)


 โดยสรุป สัมมาทิฏฐิ ก็คือความเห็นที่ตรงตามสภาวะ คือ เห็นตามที่สิ่งทั้งหลายเป็นจริง หรือตามที่มันเป็น
 การที่สัมมาทิฏฐิจะเจริญขึ้น ย่อมต้องอาศัยโยนิโสมนสิการเรื่อยไป เพราะโยนิโสมนสิการช่วยให้ไม่มองสิ่งต่างๆ อย่างผิวเผิน หรือมองเห็นเฉพาะผลรวมที่ปรากฏ แต่ช่วยให้มองแบบสืบค้นแยกแยะ ทั้งในแง่การวิเคราะห์ส่วนประกอบที่มาประชุมกันเข้า และในแง่การสืบทอดแห่งเหตุปัจจัย ตลอดจนมองให้ครบทุกแง่ด้าน ที่จะให้เห็นความจริง และถือเอาประโยชน์ได้ จากทุกสิ่งทุกอย่างที่ประสบหรือเกี่ยวข้อง

 การมองและคิดพิจารณาด้วยโยนิโสมนสิการ ทำให้ไม่ถูกลวง ไม่กลายเป็นหุ่นที่ถูกยั่วยุ ปลุกปั่น และเชิด ด้วยปรากฏการณ์ทางรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และคตินิยมต่างๆ จนเกิดเป็นปัญหาทั้งแก่ตนและผู้อื่น แต่ทำให้มีสติสัมปชัญญะ เป็นอิสระ เป็นตัวของตัวเอง คิดตัดสินและกระทำการต่างๆ ด้วยปัญญา ซึ่งเป็นขั้นที่สัมมาทิฏฐิส่งผลแก่องค์มรรคข้อต่อๆไป เริ่มทำลายสังโยชน์ อันมีสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส เป็นต้น



จบ ความหมายขององค์ประกอบแห่งมัชฌิมาปฏิปทา
หัวข้อที่ ๑. สัมมาทิฏฐิ






: http://portal.in.th/i-dhamma/pages/8195/
 รัก
http://www.tairomdham.net/index.php/topic,484.0.html
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 21.0.1180.89 Chrome 21.0.1180.89


ดูรายละเอียด
« ตอบ #27 เมื่อ: 12 กันยายน 2555 13:18:21 »




ความหมายขององค์ประกอบแห่งมัชฌิมาปฏิปทา
๒. สัมมาสังกัปปะ
 
คำจำกัดความ และความหมายของสัมมาสังกัปปะ
 องค์มรรคข้อที่ ๒ นี้ มีคำจำกัดความตามคัมภีร์ ซึ่งถือเป็นหลักทั่วไป ดังนี้
 ภิกษุทั้งหลาย  สัมมาสังกัปปะ เป็นไฉน? เนกขัมมสังกัปป์ อพยาบาทสังกัปป์ อวิหิงสาสังกัปป์ นี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ
 นอกจากนี้ ยังมีคำจำกัดความแบบแยกออกเป็น ระดับโลกิยะ และระดับโลกุตตระ ดังนี้
 ภิกษุทั้งหลาย สัมมาสังกัปปะ เป็นไฉน? เรากล่าวว่าสัมมาสังกัปปะมี ๒ อย่าง คือ สัมมาสังกัปปะที่ยังมีอาสวะ ซึ่งจัดเป็นฝ่ายบุญ อำนวยวิบากแก่ขันธ์ อย่างหนึ่ง กับสัมมาสังกัปปะที่เป็นอริยะ ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ และเป็นองค์มรรคอย่างหนึ่ง
 สัมมาสังกัปปะ  ที่ยังมีอาสวะ... คือ  เนกขัมมสังกัปป์  อพยาบาทสังกัปป์ อวิหิงสาสังกัปป์...
 สัมมาสังกัปปะ ที่เป็นอริยะ ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ เป็นองค์มรรค คือ  ความระลึก (ตักกะ)  ความนึกคิด (วิตักกะ)  ความดำริ (สังกัปป์) ความคิดแน่วแน่ (อัปปนา) ความคิดแน่นแฟ้น (พยัปปนา) ความเอาใจจดจ่อลง   วจีสังขาร   ของบุคคลผู้มีจิตเป็นอริยะ   มีจิตไร้ อาสวะ ผู้พร้อมด้วยอริยมรรค ผู้กำลังเจริญอริยมรรคอยู่...

 เพื่อรวบรัด ในที่นี้ จะทำความเข้าใจกันแต่เพียงคำจำกัดความแบบทั่วไป ที่เรียกว่าเป็นขั้นโลกิยะ เท่านั้น ตามคำจำกัดความแบบนี้ สัมมา-สังกัปปะ คือ ความดำริชอบ หรือความนึกคิดในทางที่ถูกต้อง ตรงข้ามกับความดำริผิด ที่เรียกว่า มิจฉาสังกัปปะ ซึ่งมี ๓ อย่าง คือ
๑. กามสังกัปป์ หรือ กามวิตก คือ ความดำริที่เกี่ยวข้องกับกาม ความนึกคิดในทางที่จะแสวงหาสิ่งเสพ ความคิดอยากได้ หรือหมกมุ่นพัวพันติดข้องอยู่กับสิ่งสนองความต้องการทางประสาททั้ง ๕ หรือสิ่งสนองตัณหา อุปาทานต่างๆ ความคิดในทางเห็นแก่ตัว เป็นความนึกคิดในฝ่ายราคะ หรือโลภะ
๒. พยาบาทสังกัปป์ หรือ พยาบาทวิตก คือ ความดำริที่ประกอบด้วยความขัดเคือง ไม่พอใจ เคียดแค้น ชิงชัง คิดเห็นในแง่ร้ายต่างๆ ความขาดเมตตา เป็นความนึกคิดในฝ่ายโทสะแง่ถูกกระทบ
๓. วิหิงสาสังกัปป์ หรือ วิหิงสาวิตก คือ ความดำริในทางที่จะเบียดเบียน ทำร้าย การคิดที่จะข่มเหง รังแก ต้องการก่อทุกข์ ทำให้คนและสัตว์ทั้งหลายเดือดร้อน ไม่มีความกรุณา เป็นความนึกคิดในฝ่ายโทสะแง่จะออกไปกระทบ

 ความดำริหรือแนวความคิดแบบนี้ เป็นเรื่องปรกติของคนส่วนมาก เพราะตามธรรมดา เมื่อปุถุชนรับรู้อารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง จะโดยการเห็น ได้ยิน ได้สัมผัส เป็นต้น ก็ตาม จะเกิดความรู้สึกอย่างใดอย่างหนึ่งในสองอย่าง คือ ถ้าถูกใจ ก็ชอบ ติดใจ อยากได้ พัวพัน คล้อยตาม ถ้าไม่ถูกใจ ก็ไม่ชอบ ขัดใจ ขัดเคือง ชัง ผลัก แย้ง เป็นปฏิปักษ์ จากนั้น ความดำริ นึกคิดต่างๆ ก็จะดำเนินไปตามแนวทางหรือตามแรงผลักดันของความชอบและไม่ชอบนั้น

 ด้วยเหตุนี้ ความคิดของปุถุชนโดยปกติ จึงเป็นความคิดเห็นที่เอนเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง มีความพอใจและไม่พอใจของตนเข้าไปเคลือบแฝงชักจูง ทำให้ไม่เห็นสิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็นของมันเองล้วนๆ

 ความนึกคิดที่ดำเนินไปจากความถูกใจ ชอบใจ เกิดความติดใคร่ พัวพัน เอียงเข้าหา ก็กลายเป็นกามวิตก ส่วนที่ดำเนินไปจากความไม่ถูกใจ ไม่ชอบใจ เกิดความขัดเคือง ชิงชัง เป็นปฏิปักษ์ มองในแง่ร้าย ก็กลายเป็นพยาบาทวิตก ที่ถึงขนาดพุ่งออกมาเป็นความคิดรุกราน คิดเบียดเบียน อยากทำร้าย ก็กลายเป็นวิหิงสาวิตก ทำให้เกิดทัศนคติ (หรือเจตคติ) ต่อสิ่งต่างๆ อย่างไม่ถูกต้อง

 ความดำริหรือความนึกคิดที่เอนเอียง ทัศนคติที่บิดเบนและถูกเคลือบแฝงเช่นนี้ เกิดขึ้นก็เพราะการขาดโยนิโสมนสิการแต่ต้น คือ มองสิ่งต่างๆ อย่างผิวเผิน รับรู้อารมณ์เข้ามาทั้งดุ้น โดยขาดสติสัมปชัญญะ แล้วปล่อยความนึกคิดให้แล่นไปตามความรู้สึก หรือตามเหตุผลที่มีความชอบใจ ไม่ชอบใจเป็นตัวนำ ไม่ได้ใช้ความคิดวิเคราะห์แยกแยะส่วนประกอบและความคิดสืบสาวสอบค้นเหตุปัจจัย ตามหลักโยนิโสมนสิการ

 โดยนัยนี้ มิจฉาทิฏฐิ คือ ความเข้าใจผิดพลาด ไม่มองเห็นสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง จึงทำให้เกิด มิจฉาสังกัปปะ คือ ดำริ นึกคิด และมีทัศนคติต่อสิ่งทั้งหลายอย่างผิดพลาดบิดเบือน และมิจฉาสังกัปปะนี้ก็ส่งผลสะท้อนให้เกิดมิจฉาทิฏฐิ เข้าใจและมองเห็นสิ่งทั้งหลายอย่างผิดพลาดบิดเบือนต่อไปหรือยิ่งขึ้นไปอีก องค์ประกอบทั้งสอง คือ มิจฉาทิฏฐิ และมิจฉา-สังกัปปะจึงส่งเสริมสนับสนุนซึ่งกันและกัน

 ในทางตรงข้าม การที่จะมองเห็นสิ่งทั้งหลายถูกต้องตามที่มันเป็นของมันเองได้ ต้องใช้โยนิโสมนสิการ ซึ่งหมายความว่า ขณะนั้นความนึกคิด ความดำริต่างๆ จะต้องปลอดโปร่ง เป็นอิสระ ไม่มีทั้งความชอบใจ ความยึดติด พัวพัน และความไม่ชอบใจ ผลัก แย้ง เป็นปฏิปักษ์ต่างๆ ด้วย ข้อนี้มีความหมายว่า จะต้องมีสัมมาทิฏฐิและสัมมาสังกัปปะ และองค์ประกอบทั้งสองอย่างนี้ส่งเสริมสนับสนุนซึ่งกันและกัน เช่นเดียวกับในฝ่ายมิจฉานั่นเอง

 โดยนัยนี้ ด้วยการมีโยนิโสมนสิการ ผู้นั้นก็มีสัมมาทิฏฐิ คือ มองเห็นและเข้าใจสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง เมื่อมองเห็นสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง จึงมีสัมมาสังกัปปะ คือ ดำริ นึกคิด และตั้งทัศนคติต่อสิ่งเหล่านั้นอย่างถูกต้อง ไม่เอนเอียง ยึดติด ขัด ผลัก หรือเป็นปฏิปักษ์ เมื่อมีความดำรินึกคิดที่เป็นอิสระจากความชอบใจ ไม่ชอบใจ เป็นกลางเช่นนี้  จึงทำให้มองเห็นสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง คือ เสริมสัมมาทิฏฐิให้เพิ่มพูนยิ่งขึ้น จากนั้นองค์ประกอบทั้งสองก็สนับสนุนกันและกันหมุนเวียนต่อไป

http://i115.photobucket.com/albums/n297/kgbwell/my%20pics/smallcandlesflipped.gif
ความหมายขององค์ประกอบแห่งมัชฌิมาปฏิปทา

มีต่อค่ะ...

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 21.0.1180.89 Chrome 21.0.1180.89


ดูรายละเอียด
« ตอบ #28 เมื่อ: 12 กันยายน 2555 14:42:38 »




 ในภาวะจิตที่มีโยนิโสมนสิการ จึงมีความดำริซึ่งปลอดโปร่ง เป็นอิสระ ปราศจากความเอนเอียง ทั้งในทางติดคล้อยเข้าข้าง และในทางเป็นปฏิปักษ์ ผลักเบือนหนี ตรงข้ามกับมิจฉาสังกัปปะ เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ มี ๓ อย่างเช่นเดียวกัน คือ
๑. เนกขัมมสังกัปป์ หรือ เนกขัมมวิตก คือ ความดำริที่ปลอดโลภะ หรือประกอบด้วยอโลภะ ความนึกคิดที่ปลอดโปร่งจากกาม ไม่หมกมุ่นพัวพันติดใคร่ในสิ่งเสพสนองความอยากต่างๆ ความคิดที่ปราศจากความเห็นแก่ตัว ความคิดเสียสละ และความคิดที่เป็นคุณหรือเป็นกุศลทุกอย่าง  จัดเป็นความนึกคิดที่ปลอดราคะหรือโลภะ
 ๒. อพยาบาทสังกัปป์ หรือ อพยาบาทวิตก คือ ความดำริที่ไม่มีความเคียดแค้น ชิงชัง ขัดเคือง หรือการเพ่งมองในแง่ร้ายต่างๆ โดยเฉพาะมุ่งเอาธรรมที่ตรงข้าม คือ เมตตา ซึ่งหมายถึงความปรารถนาดี ความมีไมตรี ต้องการให้ผู้อื่นมีความสุข จัดเป็นความคิดที่ปลอดโทสะ
 ๓. อวิหิงสาสังกัปป์ หรือ อวิหิงสาวิตก คือ ความดำริที่ปลอดจากการเบียดเบียน ปราศจากความคิดที่จะก่อทุกข์แก่ผู้อื่น โดยเฉพาะมุ่งเอาธรรมที่ตรงข้ามคือ กรุณา ซึ่งหมายถึงความคิดช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจากความทุกข์ เป็นความคิดที่ปลอดโทสะเช่นเดียวกัน


ข้อสังเกต และเหตุผลในการใช้คำเชิงปฏิเสธ
 มีข้อสังเกตอย่างหนึ่ง ที่อาจมีผู้ยกขึ้นอ้าง ซึ่งขอชี้แจงไว้ ณ ที่นี้ด้วยครั้งหนึ่งก่อน คือเรื่องธรรมฝ่ายดีหรือกุศล ซึ่งตรงข้ามกับฝ่ายชั่วหรืออกุศล ในพุทธธรรมแทนที่จะใช้ศัพท์ตรงข้าม มักใช้แต่เพียงแค่ศัพท์ปฏิเสธ ทำให้มีผู้คิดเห็นไปว่าพุทธธรรมเป็นคำสอนแบบนิเสธ (negative) และเฉยเฉื่อย (passive) เพียงแต่ไม่ทำความชั่ว อยู่เฉยๆ ก็เป็นความดีเสียแล้ว
 อย่างที่นี้  ตรงข้ามกับพยาบาทสังกัปป์ในฝ่ายมิจฉาสังกัปป์  ฝ่าย สัมมาสังกัปป์แทนที่จะเป็นเมตตา กลับเป็นเพียงอพยาบาทสังกัปป์ คือ ปฏิเสธฝ่ายมิจฉาเท่านั้น
 ความเข้าใจเช่นนี้ผิดพลาดอย่างไร จะได้ชี้แจงต่อๆ ไปตามโอกาส แต่เฉพาะเรื่องนี้ จะชี้แจงเหตุผลแก้ความเข้าใจผิด เพียงสั้นๆ ก่อน

 การที่ธรรมฝ่ายกุศล (ในกรณีอย่างนี้) ใช้ถ้อยคำที่(เหมือน)เป็นเพียงปฏิเสธธรรมฝ่ายอกุศลเท่านั้น เช่น เปลี่ยนจาก “วิหิงสา” เป็น “อวิหิงสา” มีเหตุผลดังนี้
 ๑. โดยธรรมดาแห่งระบบการพัฒนาของชีวิต หรือโดยความเป็นจริงแห่งการพัฒนาของชีวิตที่เป็นระบบของธรรมชาติ
 อย่างที่กล่าวแล้วว่า มรรคเป็นทางสายเดียว แต่มีองค์ประกอบ ๘ การที่ชีวิตเจริญงอกงามก้าวหน้าไปในมรรค ก็หมายถึงการที่องค์ทั้ง ๘ ของมรรคนั้น เป็นปัจจัยหนุนกันและพัฒนาพร้อมไปด้วยกัน ถ้าใช้คำนิยมของยุคสมัยก็ว่า พัฒนาอย่างบูรณาการเป็นองค์รวม

 ไม่เฉพาะมองเป็นช่วงเวลา แม้แต่ในทุกๆ ขณะ องค์ทั้ง ๘ ของมรรค ก็ทำหน้าที่ของตนๆ อย่างประสานซึ่งกันและกัน ความเจริญก้าวไปในมรรค ก็คือ การพัฒนาของชีวิต ที่องค์มรรคทั้ง ๘ ก้าวประสานไปด้วยกันทั้งระบบครบทุกส่วน
 ได้บอกแล้วว่า องค์มรรคทั้ง ๘ นั้น รวมได้เป็น ๓ หมวด คือ ด้านศีล ที่เป็นพฤติกรรมการแสดงออกทางกายวาจาและสื่อสารกับภายนอก ด้านสมาธิหรือด้านจิตใจ ที่เป็นเจตจำนงคุณธรรมความรู้สึก และด้านปัญญา ที่เป็นเรื่องของความรู้-คิด-หยั่งเห็น-เข้าใจ

 ถ้าพูดในแง่จริยธรรม ก็บอกว่า จริยธรรมจะถูกต้อง เป็นพรหมจริยะได้ ต้องให้ความถูกต้องมีอยู่และดำเนินไปในชีวิตทั้ง ๓ ด้านพร้อมกันอย่างประสานสอดคล้อง คือ ทั้งด้านพฤติกรรมที่แสดงออกภายนอกทางกายวาจา ทั้งด้านจิตใจ และทั้งด้านปัญญา
 ดังนั้น ขณะที่พูดดีทำดี ก็ต้องมีเจตนากอปรด้วยคุณธรรมและความรู้สึกที่ดี พร้อมทั้งมีความคิดความเข้าใจที่ดีด้วย
 ในทำนองเดียวกัน ในภาวะจิตใจและความรู้สึกที่ดี ด้านพฤติกรรมกายวาจาตลอดจนการใช้ตาหูดูฟังก็ต้องดีงามสงบสำรวมด้วย ด้านปัญญาก็คิดเห็นชอบและมีความรู้เข้าใจตระหนักชัดสอดคล้องกัน
 ด้านปัญญาก็เช่นนั้นเหมือนกัน ขณะที่คิดพิจารณาทำความรู้เข้าใจต่างๆ ก็ต้องมีสภาพจิตดีมีความรู้สึกที่เป็นกุศล เช่น ไม่ขัดเคือง ไม่ขุ่นมัวเศร้าหมอง และพฤติกรรมกายวาจารวมทั้งการใช้อินทรีย์ทั้งหลาย (เช่น ตา หู) ก็ต้องสงบสำรวมดีงามด้วยเช่นเดียวกัน


 รวมความว่า ในกิจกรรมทุกครั้งทุกขณะของชีวิต ที่คนกำลังกระทำ ถ้าเขาทำถูกทำดี องค์มรรค ทั้ง ๘ ข้อ ทั้ง ๓ ด้าน ก็ดำเนินไป รวมเป็นการดำเนินชีวิตถูกต้อง หรือวิถีชีวิตดีงาม ที่เรียกว่ามรรค (ถ้าทำไม่ถูกไม่ดี ก็เป็นมิจฉา ไม่เป็นมรรค)
 กิจกรรมที่ว่านั้น ไม่เฉพาะกิจกรรมที่เป็นรูปธรรมทางกายวาจา แต่รวมทั้งกิจกรรมนามธรรมในใจและในทางปัญญาด้วย
 สงสัยว่า ในเวลาที่ใจสดชื่นเอิบอิ่มเบิกบานผ่องใส หรือคิดเหตุผลคิดแก้ปัญหาคิดวางแผนอะไรอยู่ หรือแม้แต่นั่งสมาธิอยู่นิ่งๆ หรือเจริญวิปัสสนาในข้อตามดูรู้ทันจิตของตนอยู่ บางทีร่างกายไม่ได้เคลื่อนไหวอะไรเลย จะมีพฤติกรรมที่ถูกที่ดี เป็นพูดชอบ ทำชอบ (สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ) ได้อย่างไร

ตอบว่า นี่ละคือคำตอบที่ว่า ทำไมองค์มรรคบางข้ออย่างสัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา และสัมมากัมมันตะ จึงมีความหมายที่แสดงไว้เป็นคำปฏิเสธ
 ธรรมที่จะเป็นองค์ของมรรค ต้องมีความหมายกว้างขวางครอบคลุมความเป็นจริงของชีวิต ที่ทุกส่วนทำงานหรือทำหน้าที่ประสานกันเป็นระบบหนึ่งเดียว ดำเนินก้าวหน้าไปด้วยกัน ที่เรียกว่ามรรคนั้นได้
 ขณะที่ทำกิจกรรมทางจิตใจ หรือทำกิจกรรมทางปัญญาอยู่นิ่งๆ ถึงแม้ไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกาย ก็พูดชอบ=มีสัมมาวาจา ทำชอบ=มีสัมมากัมมันตะได้ เหมือนอย่างที่พูดด้วยคำง่ายๆ ว่า ไม่ว่าจะอยู่ในภาวะใด แม้แต่เวลาคิด ก็มีศีล ในความหมายที่ว่า ขณะนั้นเว้น ว่าง หรือปราศจากวจีทุจริตและกายทุจริตทั้งหลาย ไม่มีการพูดเท็จและการทำร้ายเบียดเบียนต่างๆ ลึกลงไปก็คือไม่มีเจตนาที่จะทำการร้ายเหล่านั้น หรือไม่มีภาวะทางจิตหรืออาการทางความคิดใดๆ ที่จะโยงไปสู่กรรมชั่วร้ายเหล่านั้นเลย

 ยิ่งในข้อสัมมาสังกัปปะ ที่เป็นด้านปัญญา ก็ยิ่งชัดเจนมาก ท่านให้ความหมายของสัมมาสังกัปปะ ว่าเป็นความดำริหรือคิดนึกที่ปลอดจากความโลภ อยากได้ อยากเสพ ไม่มีความพยาบาทขัดเคือง และเป็นวิหิงสาคือไม่มีการเบียดเบียน
 ความใคร่กามและความโลภ พยาบาท และวิหิงสา ก็ดี ความเผื่อแผ่เสียสละ เมตตา และกรุณา ที่ตรงข้ามกับสามอย่างแรกนั้น ก็ดี เป็นสภาพจิตหรือคุณสมบัติของจิตใจ แต่ในที่นี้มาเป็นเครื่องประกอบของความคิดในหมวดปัญญา

 ต้องเข้าใจว่าสิ่งที่ต้องการในที่นี้คือปัญญา คือจะพัฒนาปัญญาให้แจ่มชัด บริสุทธิ์ ตรงตามจริง เป็นประโยชน์ และเกื้อหนุนชีวิตให้งอกงามไปในมรรคยิ่งขึ้น สภาพจิตหรือคุณสมบัติฝ่ายจิตที่มาประกอบองค์มรรคข้อนี้ จะต้องเอื้อต่อการทำงานและการพัฒนาของปัญญา ให้ได้ผลอย่างที่กล่าวนั้น พระพุทธเจ้าจึงทรงแสดงความหมายขององค์มรรคข้อนี้ไว้ในรูปเป็นคำปฏิเสธ ซึ่งได้ทั้งความกว้างขวาง และความโปร่งโล่งบริสุทธิ์


บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 21.0.1180.89 Chrome 21.0.1180.89


ดูรายละเอียด
« ตอบ #29 เมื่อ: 12 กันยายน 2555 16:12:40 »




 สัมมาสังกัปปะมุ่งให้มีภาวะจิตที่ปลอดโปร่งเป็นอิสระ เพื่อให้ความคิดเดินตามแนวความเป็นจริงได้คล่องตัว ไม่เอนเอียง ยึดติด หรือปัดเหไปข้างใดข้างหนึ่ง เพื่อจะได้ความรู้ที่ถูกต้องตามความเป็นจริงไม่บิดเบือน การใช้คำปฏิเสธจึงเหมาะสมที่สุดแล้ว
 ด้วยเหตุนี้ สัมมาสังกัปปะ ที่ทรงแสดงความหมายโดยแยกเป็น เนกขัมมสังกัปป์ (ความดำริปลอดกาม/โลภะ) อพยาบาทสังกัปป์ (ความดำริปลอดพยาบาท) และ อวิหิงสาสังกัปป์ (ความดำริปลอดวิหิงสา) จึงได้ทั้งความดี ความกว้างครอบคลุม และความบริสุทธิ์ คือ

 ก) ในแง่ความดี (จำเพาะ) คือ ดำริหรือคิดแต่การที่จะเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เสียสละ การที่จะรักใคร่ไมตรีมีเมตตา และการที่จะมีกรุณาช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นความทุกข์ยาก
 ข) ในแง่ความจริง (ไม่มีขอบเขต) คือ จะดำริ คิดการ หรือพิจารณาอะไรอย่างไรก็ได้ แต่ต้องไม่มีความเห็นแก่ตัว ความอยากได้กามอามิส ความขัดเคืองไม่พอใจ หรือการที่จะรังแกกลั่นแกล้งข่มเหงใครๆ เข้ามาปะปน แอบแฝง ชักจูงไป หรือทำให้เอนเอียง

 ธรรมที่เป็นองค์ของมรรค ต้องมีความเป็นจริงของธรรมชาติ ที่จะบูรณาการเข้าไปในระบบการดำเนินชีวิตได้อย่างนี้ พร้อมกันนั้นก็เป็นหลักการใหญ่ ที่ขยายขอบเขตออกไปได้ไม่สิ้นสุด รวมทั้งปฏิบัติได้ทุกสถานการณ์ไม่ใช่ธรรมหรือข้อปฏิบัติจำเพาะเรื่อง ดังเช่นสังคหวัตถุ
 จะเห็นว่า ถ้าเป็นหลักธรรมที่ตรัสทั่วๆ ไป หรือสำหรับใช้ประโยชน์เฉพาะเรื่องเฉพาะกรณี ก็จะมีลักษณะหนุนย้ำ (positive) และกระฉับกระเฉง (active) เช่น สังคหวัตถุ ๔ (หลักการสงเคราะห์ หรือสร้างสามัคคี ๔ อย่าง คือ  ทาน-ให้ปัน   ปิยวาจา-พูดจาน่ารัก   อัตถจริยา-บำเพ็ญประโยชน์  สมานัตตตา-เอาตัวเข้าสมาน ร่วมสุขร่วมทุกข์)

 แม้แต่ สัมมาวาจา ซึ่งเมื่อแสดงความหมายแบบในองค์มรรค ว่าได้แก่ เว้นจากพูดเท็จ เว้นจากพูดคำหยาบ เว้นจากพูดส่อเสียด เว้นจากพูดเพ้อเจ้อแต่เมื่อนำไปตรัสในชื่อว่า วจีสุจริต ๔ ก็ทรงเปลี่ยนเป็นคำฝ่ายดีที่ตรงข้าม ดังพุทธพจน์ว่า
 ภิกษุทั้งหลาย   วจีสุจริต ๔ ประการนี้   ๔ ประการเป็นไฉน   คือ พูดจริง (สจฺจวาจา) ๑ พูดไม่ส่อเสียด (อปิสุณวาจา) ๑ พูดอ่อนหวาน (สณฺหวาจา) ๑  พูดด้วยปัญญา (มนฺตาภาสา=พูดด้วยความรู้คิด) ๑ ภิกษุทั้งหลาย  วจีสุจริต ๔ ประการดังนี้แล
 ที่กล่าวมานี้เป็นเหตุผลหลัก นอกจากนี้เป็นเหตุผลประกอบ

 ๒. โดยความกว้างขวางครอบคลุม ซึ่งเป็นเหตุผลทางหลักภาษาที่มาหนุนเหตุผลในข้อก่อน
 คำบาลีที่มี “อ” ปฏิเสธนำหน้า ในหลายกรณี มิได้หมายความเพียงไม่ใช่สิ่งนั้น แต่หมายถึงสิ่งที่ตรงข้าม เช่น คำว่า อกุศล มิได้หมายถึงมิใช่กุศล (ซึ่งอาจเป็นอัพยากฤต คือ เป็นกลางๆ ไม่ใช่ทั้งฝ่ายดีฝ่ายชั่ว) แต่หมายถึง ความชั่วที่ตรงข้ามกับกุศลทีเดียว คำว่า อมิตร มิได้หมายถึงคนที่เป็นกลางๆ ไม่ใช่มิตร แต่หมายถึงศัตรูทีเดียว ดังนี้เป็นต้น

 ยิ่งกว่านั้น อาจหมายครอบคลุมหมด ทั้งสิ่งที่ตรงข้ามกับสิ่งนั้น และสิ่งใดก็ตามที่มิใช่และไม่มีสิ่งนั้น
 ในสัมมาสังกัปปะนี้ “อ” มีความหมายปฏิเสธแบบครอบคลุม คือทั้งที่ตรงข้ามและที่ไม่มี เช่น อพยาบาทสังกัปป์
 ก) หมายถึงความดำริกอปรด้วยเมตตา ที่ตรงข้ามกับพยาบาทด้วย
 ข) หมายถึงความดำริที่บริสุทธิ์ ปลอดโปร่ง ปราศจากพยาบาท เป็นกลางๆ ด้วย

 ๓. โดยความเด็ดขาดสิ้นเชิง การใช้คำที่มี “อ” ปฏิเสธนี้ นอกจากมีความหมายกว้างแล้ว ยังมีความหมายหนักแน่นเด็ดขาดยิ่งกว่าคำตรงข้ามเสียอีก เพราะการใช้คำปฏิเสธในที่นี้ มุ่งเจาะจงปฏิเสธสิ่งนั้นไม่ให้มีโดยสิ้นเชิง คือ ไม่ให้มีเชื้อหรือร่องรอยเหลืออยู่ เช่น อพยาบาทสังกัปป์ ในที่นี้ หมายถึงความดำริที่ไม่มีพยาบาท หรือความคิดร้ายแง่ใดส่วนใดเหลืออยู่ในใจเลย เป็นเมตตาโดยสมบูรณ์ ไม่มีขอบเขตจำกัด เป็นการเน้นขั้นถึงที่สุด

 ไม่เหมือนคำสอนบางลัทธิที่สอนให้มีเมตตากรุณา แต่เป็นเมตตากรุณาตามคำจำกัดของผู้สั่งสอน มิใช่ตามสภาวะของธรรม จึงมีขอบเขตตามบัญญัติสำหรับใช้แก่กลุ่ม หรือหมู่ชนพวกหนึ่ง หรือสัตวโลกชนิดหรือประเภทใดประเภทหนึ่ง แล้วแต่ตกลงกำหนดเอาศึกษาธรรมคือเข้าใจธรรมชาติ ต้องมองความหมายโดยไม่ประมาท

 มีข้อควรสังเกตเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสัมมาทิฏฐิ กับสัมมาสังกัปปะอีกอย่างหนึ่ง คือ เมื่อเทียบกับกิเลสหลักที่เรียกว่าอกุศลมูล ๓ อย่าง คือ โลภะ โทสะ และโมหะ แล้ว จะเห็นว่า สัมมาทิฏฐิ เป็นตัวกำจัดกิเลสต้นตอที่สุด คือโมหะ   ส่วน สัมมาสังกัปปะ กำจัดกิเลสที่รองหรือต่อเนื่องออกมา คือ เนกขัมมสังกัปป์ กำจัดราคะ หรือโลภะ และอพยาบาทสังกัปป์ กับอวิหิงสาสังกัปป์ กำจัดโทสะ จึงเป็นความต่อเนื่องประสานกลมกลืนกันทุกด้าน

 อย่างไรก็ดี การก้าวหน้ามาในองค์มรรคเพียง ๒ ข้อเท่านั้น ยังนับว่าเป็นขั้นต้นอยู่ การเจริญปัญญายังไม่ถึงขั้นสมบูรณ์เต็มที่ตามจุดหมาย และแม้การปฏิบัติธรรมแต่ละข้อก็มิใช่จะสมบูรณ์ตามขอบเขตความหมายของธรรมข้อนั้นๆ ทันที แต่ต้องคลี่คลายเจริญขึ้นตามลำดับ
 ดังนั้น ในที่นี้จึงควรทำความเข้าใจว่า ในสัมมาสังกัปปะ ๓ ข้อนั้น เนกขัมมสังกัปป์ บางทีก็หมายเอาเพียงขั้นหยาบแบบสัญลักษณ์ คือ การคิดออกบวช หรือปลีกตัวออกไปจากความเป็นอยู่ของผู้ครองเรือน อพยาบาทสังกัปป์ ก็มุ่งเอาการเจริญเมตตาเป็นหลัก และอวิหิงสาสังกัปป์ ก็มุ่งเอาการเจริญกรุณาเป็นสำคัญ

 ปัญญาที่เจริญในขั้นนี้ แม้จะเป็นสัมมาทิฏฐิ มองเห็นตามความเป็นจริง แต่ก็ยังไม่บริสุทธิ์เป็นอิสระรู้แจ้งเห็นจริงเต็มที่ จนกว่าจะถึงขั้นมีอุเบกขา ที่จิตลงตัวได้ที่ มีความเป็นกลางอย่างแท้จริง ซึ่งต้องอาศัยการพัฒนาจิตใจตามหลักสมาธิด้วย
 ธรรมทั้งหลายนั้น เป็นสภาวะของธรรมดา พูดง่ายๆ ว่าเป็นธรรมชาติ การที่จะเข้าใจความหมายของมันได้ถูกต้องชัดเจนและครบถ้วน มิใช่เพียงแค่มาบอกมาจำกันไป แต่จะต้องรู้จักมันตามที่มีอยู่เป็นไป โดยสัมพันธ์กันกับธรรมหรือสภาวะอื่นๆ ทั้งหลายในชีวิตจิตใจที่เป็นอยู่จริงและขยายคลี่คลายไปกับการพัฒนาของชีวิตจิตใจนั้น จึงเป็นเรื่องที่ควรศึกษาโดยไม่ประมาท

 แม้แต่เมตตา ซึ่งเป็นคุณธรรมที่เริ่มเจริญได้ตั้งแต่ระยะต้นๆ ของการปฏิบัติธรรม ก็มิใช่ข้อธรรมที่ง่ายนักอย่างที่มักเข้าใจกันอย่างผิวเผิน เพราะเมตตาอย่างที่พูดถึงกันง่ายๆ ทั่วๆ ไปนั้น  หายากนักที่จะเป็นเมตตาแท้จริง ดังนั้น เพื่อช่วยป้องกันความเข้าใจผิดที่เป็นผลเสียหายต่อการปฏิบัติธรรม ในขั้นต้นนี้ ควรทราบหลักเบื้องต้นบางอย่างไว้เล็กน้อยก่อน
 เมตตา หมายถึง ไมตรี ความรัก ความหวังดี ความปรารถนาดี ความเข้าใจดีต่อกัน ความเอาใจใส่ ใฝ่ใจ หรือต้องการ ที่จะสร้างเสริมประโยชน์สุขให้แก่เพื่อนมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย
 ว่าโดยสาระ เมตตา คือ ความอยากให้ผู้อื่นเป็นสุข และอยากทำให้เขาเป็นสุข
 เมตตาเป็นธรรมกลางๆ กลางทั้งในแง่ผู้ควรมีเมตตา และในแง่ผู้ควรได้รับเมตตา ทุกคนจึงควรมีต่อกัน ทั้งผู้น้อยต่อผู้ใหญ่ และผู้ใหญ่ต่อผู้น้อย คนจนต่อคนมี และคนมีต่อคนจน ยาจกต่อเศรษฐี และเศรษฐีต่อยาจก คนฐานะตํ่าต่อคนฐานะสูง และคนฐานะสูงต่อคนฐานะตํ่า คฤหัสถ์ต่อพระสงฆ์ และพระสงฆ์ต่อคฤหัสถ์
 เมตตาเป็นธรรมพื้นฐานของใจขั้นแรก ในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ซึ่งทำให้มองกันในแง่ดีและหวังดีต่อกัน พร้อมที่จะรับฟังและพูดจาเหตุผลของกันและกัน ไม่ยึดเอาความเห็นแก่ตัว หรือความเกลียดชังเป็นที่ตั้ง


บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 21.0.1180.89 Chrome 21.0.1180.89


ดูรายละเอียด
« ตอบ #30 เมื่อ: 12 กันยายน 2555 17:36:44 »




 การที่กล่าวว่า เมตตา (รวมทั้งพรหมวิหารข้ออื่นๆ ด้วย) เป็นธรรมของผู้ใหญ่นั้น อันที่จริงความเดิมเป็น “ธรรมของท่านผู้เป็นใหญ่” คือแปลคำว่า “พรหม” ในพรหมวิหารว่า “ท่านผู้เป็นใหญ่”
 “พรหม” คือ ท่าน(เทพ)ผู้เป็นใหญ่ ของศาสนาพราหมณ์นี้ เมื่อนำมาใช้ในพระพุทธศาสนา หมายถึง “ผู้ประเสริฐ” คือ ผู้มีจิตใจกว้างขวางยิ่งใหญ่ หรือยิ่งใหญ่ด้วยคุณธรรมความดีงาม มิใช่หมายถึงผู้ใหญ่เพียงในความหมายอย่างที่เข้าใจกันสามัญ

 ทุกคนควรมีพรหมวิหาร ทุกคนควรมีจิตใจกว้างขวางยิ่งใหญ่ ไม่เฉพาะผู้ใหญ่เท่านั้น แต่ในเมื่อปัจจุบันเข้าใจกันแพร่หลายทั่วไปเสียแล้วว่า พรหมวิหารมีเมตตาเป็นต้น เป็นธรรมของผู้ใหญ่ ก็ควรทำความเข้าใจในแง่ที่ว่า ความหมายเช่นนั้นมุ่งเอาความรับผิดชอบเป็นสำคัญ คือ เน้นว่า ในเมื่อทุกคนควรบำเพ็ญพรหมวิหาร ผู้ใหญ่ ในฐานะที่เป็นตัวอย่างและเป็นผู้นำ ก็ควรอย่างยิ่งที่จะต้องปฏิบัติให้ได้ก่อน
 ถ้าไม่รีบทำความเข้าใจกันอย่างนี้ ปล่อยให้ยึดถือปักใจกันว่า เมตตา ก็ดี พรหมวิหารข้ออื่นๆ ก็ดี เป็นธรรมของผู้ใหญ่ ก็จะกลายเป็นความเข้าใจที่เคลื่อนคลาดไขว้เขว การตีความและทัศนคติของคนทั่วไปต่อธรรมข้อนี้ก็จะคับแคบและผิดพลาดไปหมด

 ข้อควรสังเกตสำคัญอีกอย่างหนึ่งของเมตตา ก็คือ สมบัติ และวิบัติของเมตตา สมบัติ ได้แก่ ความสมบูรณ์หรือผลสำเร็จที่ต้องการของเมตตา วิบัติ ได้แก่ ความล้มเหลว ความไม่สำเร็จ การปฏิบัติที่คลาดเคลื่อนผิดพลาด
 เมื่อว่าตามหลัก
 สมบัติของเมตตา คือ ระงับพยาบาทได้ (พฺยาปาทุปสโม เอติสฺสา สมฺปตฺติ)  วิบัติของเมตตา คือ การเกิดสิเนหะ (สิเนหสมฺภโว วิปตฺติ)๑

 ในแง่สมบัติไม่มีข้อสังเกตพิเศษ แต่ในแง่วิบัติมีเรื่องที่ต้องสังเกตอย่างสำคัญ สิเนหะ หมายถึง เสน่หา ความรักใคร่เยื่อใยเฉพาะบุคคล ความพอใจโปรดปรานส่วนตัว เช่น ปุตตสิเนหะ ความรักอย่างบุตร ภริยาสิเนหะ ความรักใคร่ฐานภรรยา เป็นต้น
 สิเนหะ เป็นเหตุให้เกิดความลำเอียง ทำให้ช่วยเหลือกันในทางที่ผิดได้ อย่างที่เรียกว่าเกิดฉันทาคติ (ลำเอียงเพราะรัก หรือเพราะชอบกัน) ที่ได้ยินพูดกันว่า “ท่านเมตตาฉันเป็นพิเศษ” “นายเมตตาเขามาก” เป็นต้นนั้น เป็นเรื่องของสิเนหะ ซึ่งเป็นความวิบัติของเมตตามากกว่า หาใช่เมตตาไม่

ส่วนเมตตาที่แท้จริงนั้น เป็นคุณสมบัติที่ช่วยรักษาความเที่ยงธรรม เพราะเป็นธรรมกลางๆ ปรารถนาดีต่อทุกคนสมํ่าเสมอกัน มิใช่เป็นความรักใคร่ผูกพันส่วนตัว แต่ทำให้มีภาวะจิตที่ปราศจากความเห็นแก่ตัว ที่จะเอนเอียงเข้าข้าง และไม่มีความเกลียดชังคิดร้ายมุ่งทำลาย มีไมตรี จึงพิจารณาตัดสินและกระทำสิ่งต่างๆ ไปตามเหตุผล มุ่งประโยชน์สุขที่แท้จริงแก่คนทั้งหลายทั่วไป มิใช่มุ่งสิ่งที่เขาหรือตนชอบหรืออยากได้อยากเป็น เมตตาที่แท้จริงจะเป็นไปในแบบที่ว่า

 พระผู้มีพระภาคนั้น ทรงมีพระทัยเสมอกัน ทั้งต่อนายขมังธนู (ที่รับจ้างมาลอบสังหารพระองค์) ต่อพระเทวทัต ต่อโจรองคุลิมาล ต่อช้างธนบาล (ที่พระเทวทัตปล่อยมาเพื่อฆ่าพระองค์) และต่อพระราหุล ทั่วทุกคน
 ประโยชน์ของเมตตาจะเห็นได้ เช่นในกรณีของการถกเถียง ขัดแย้งในทางเหตุผล และการโต้วาทะ ทำให้ต่างฝ่ายยอมพิจารณาเหตุผลของกันและกัน ช่วยให้คู่โต้บรรลุถึงเหตุผลที่ถูกต้องได้ เช่น เมื่อนิครนถ์ผู้หนึ่งมาเฝ้าสนทนาใช้คำพูดรุนแรงตำหนิพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงสนทนาโต้ตอบตามเหตุผล จนในที่สุดนิครนถ์นั้นกล่าวว่า
 เมื่อเป็นเช่นนี้ ข้าพเจ้าก็เลื่อมใสต่อท่านพระโคดมผู้เจริญ เป็นความจริง ท่านพระโคดมเป็นผู้อบรมแล้วทั้งกาย อบรมแล้วทั้งจิต
 “น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีเลย ท่านพระโคดมถูกข้าพเจ้าพูดกระทบกระแทก  แต่งคำมาไล่เรียงต้อนเอาถึงอย่างนี้   ก็ยังมีผิวพรรณสดใส  มีสีหน้าเปล่งปลั่งอยู่ได้ สมเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า แก้ไขความคิดที่ไม่ดี ด้วยวิธีแห่งปัญญา

 ในกรณีที่มีมิจฉาสังกัปปะเกิดขึ้น เมื่อจะแก้ไข ก็ไม่ควรใช้วิธีดึงดัน กลัดกลุ้ม หรือฟุ้งซ่านต่อไปอย่างไร้จุดหมาย แต่ควรใช้วิธีการแห่งปัญญา โดยใช้โยนิโสมนสิการ คือ มองดูมัน เรียนรู้จากมัน คิดสืบสาวหาเหตุ และพิจารณาให้เห็นคุณโทษของมัน เช่นพุทธพจน์ที่ว่า
 ภิกษุทั้งหลาย  ก่อนสัมโพธิกาล  เมื่อเราเป็นโพธิสัตว์  ยังมิได้ตรัสรู้ ได้มีความคิดเกิดขึ้นว่า: ถ้ากระไร เราพึงแยกความดำริออกเป็น ๒ ฝ่าย ดังนี้แล้ว จึงได้แยกกามวิตก พยาบาทวิตก และวิหิงสาวิตก ออกเป็นฝ่ายหนึ่ง และแยกเนกขัมมวิตก อพยาบาทวิตก และอวิหิงสาวิตก ออกเป็นอีกฝ่ายหนึ่ง

 เมื่อเราไม่ประมาท มีความเพียร มุ่งมั่นอยู่นั่นเอง เกิดมีกามวิตกขึ้น เราก็รู้ชัดว่ากามวิตกขึ้นแล้วแก่เรา ก็แหละ กามวิตกนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่นสองฝ่ายบ้าง ทำให้ปัญญาดับ จัดเป็นพวกสิ่งบีบคั้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน
 เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า มันเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตน ก็ดี กามวิตกนั้น ก็สลายหายไป เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า มันเป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นก็ดี....ว่ามันเป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้งตนเอง และผู้อื่น ทั้งสองฝ่ายก็ดี ว่ามันทำให้ปัญญาดับ จัดเป็นพวกสิ่งบีบคั้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพานก็ดี กามวิตกนั้นก็สลายหายไป เราจึงละ จึงบรรเทากามวิตก ที่เกิดขึ้นมาๆ ทำให้หมดสิ้นไปได้ทั้งนั้น

 เมื่อเราไม่ประมาท...เกิดมีพยาบาทวิตกขึ้น...เกิดมีวิหิงสาวิตกขึ้น เราก็รู้ชัด (ดังกล่าวมาแล้ว) จึงละ...จึงบรรเทาพยาบาทวิตก...วิหิงสาวิตกที่เกิดขึ้นมาๆ ทำให้หมดสิ้นไปได้ทั้งนั้น
 ภิกษุยิ่งตรึก ยิ่งคิดคำนึงถึงความดำริใดๆ มาก ใจของเธอก็ยิ่งน้อมไปทางความดำรินั้นๆ ถ้าภิกษุยิ่งตรึก ยิ่งคิดคำนึงถึงกามวิตกมาก เธอก็ละทิ้งเนกขัมมวิตกเสีย ทำแต่กามวิตกให้มาก จิตของเธอนั้นก็น้อมไปทางกามวิตก...ฯลฯ...ถ้าภิกษุยิ่งตรึก ยิ่งคิดคำนึงถึงเนกขัมมวิตกมาก เธอก็ละทิ้งกามวิตกเสีย ทำแต่เนกขัมมวิตกให้มาก จิตของเธอนั้น ก็น้อมไปทางเนกขัมมวิตก...


 พึงระลึกทบทวนว่า สัมมาทิฏฐิ และสัมมาสังกัปปะ ที่ได้บรรยายมานี้เป็นองค์มรรคทั้ง ๒ ในหมวดปัญญา
 การปฏิบัติธรรมในช่วงขององค์มรรค ๒ ข้อต้นนี้ สรุปได้ด้วยพุทธพจน์ว่า
 ภิกษุทั้งหลาย  ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ อย่าง ชื่อว่าเป็นผู้ดำเนินปฏิปทาอันไม่ผิดพลาด และเป็นอันได้เริ่ม ก่อต้นกำเนิด ของความสิ้นอาสวะแล้ว ธรรม ๔ อย่างนั้น คือ เนกขัมมวิตก อพยาบาทวิตก อวิหิงสาวิตก สัมมาทิฏฐิ


บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 22.0.1229.79 Chrome 22.0.1229.79


ดูรายละเอียด
« ตอบ #31 เมื่อ: 29 กันยายน 2555 15:17:40 »



                 

ความหมายขององค์ประกอบแห่งมัชฌิมาปฏิปทา
๓.สัมมาวาจา ๔.สัมมากัมมันตะ ๕.สัมมาอาชีวะ

 
คำจำกัดความ และความหมายพื้นฐาน
 องค์มรรค ๓ ข้อนี้ เป็นขั้นศีลด้วยกัน จึงรวมมากล่าวไว้พร้อมกัน เมื่อพิจารณาความหมายตามหลักฐานในคัมภีร์ ปรากฏคำจำกัดความดังนี้

๑.  ภิกษุทั้งหลาย สัมมาวาจา เป็นไฉน? นี้เรียกว่าสัมมาวาจา คือ
 ๑) มุสาวาทา เวรมณี   เจตนางดเว้นจากการพูดเท็จ
 ๒) ปิสุณาย วาจาย เวรมณี ” วาจาส่อเสียด
 ๓) ผรุสาย วาจาย เวรมณี ” วาจาหยาบคาย
 ๔) สมฺผปฺปลาปา เวรมณี ” การพูดเพ้อเจ้อ

๒. ภิกษุทั้งหลาย สัมมากัมมันตะ เป็นไฉน? นี้เรียกว่าสัมมากัมมันตะ คือ
 ๑) ปาณาติปาตา เวรมณี เจตนางดเว้นจากการตัดรอนชีวิต
 ๒) อทินฺนาทานา เวรมณี      ” การถือเอาของที่เขามิได้ให้
 ๓) กาเมสุมิจฺฉาจารา เวรมณี   ” การประพฤติผิดในกามทั้งหลาย”

๓.  ภิกษุทั้งหลาย สัมมาอาชีวะ เป็นไฉน? นี้เรียกว่าสัมมาอาชีวะ คือ อริยสาวกละมิจฉาอาชีวะ  เสีย หาเลี้ยงชีพด้วยสัมมาอาชีวะ

 นอกจากนี้ ยังมีคำจำกัดความแบบแยกเป็น ระดับโลกิยะ และ ระดับโลกุตตระ อีกด้วย เฉพาะระดับโลกิยะ มีคำจำกัดความอย่างเดียวกับข้างต้น ส่วนระดับโลกุตตระ มีความหมายดังนี้
 ๑. สัมมาวาจา ที่เป็นโลกุตตระ ได้แก่
 ความงด ความเว้น ความเว้นขาด เจตนางดเว้นจากวจีทุจริตทั้ง ๔ ของท่านผู้มีจิตเป็นอริยะ มีจิตไร้อาสวะ ผู้พร้อมด้วยอริยมรรค กำลังเจริญอริยมรรคอยู่
 ๒. สัมมากัมมันตะ ที่เป็นโลกุตตระ ได้แก่ ความงด ความเว้น ความเว้นขาด เจตนางดเว้นจากกายทุจริตทั้ง ๓ ของท่านผู้มีจิตเป็นอริยะ...
 ๓. สัมมาอาชีวะ ที่เป็นโลกุตตระ ได้แก่ ความงด ความเว้น ความเว้นขาด เจตนางดเว้นจากมิจฉาอาชีวะของท่านผู้มีจิตเป็นอริยะ...

ความหมายแบบขยาย ในคำสอนทั่วไป
 จากความหมายหลักอันเป็นประดุจแกนกลาง ของระบบการฝึกอบรมขั้นศีลธรรมที่เรียกว่าอธิศีลสิกขานี้ พุทธธรรมก็กระจายคำสอนออกไป เป็นข้อปฏิบัติและหลักความประพฤติต่างๆ ในส่วนรายละเอียด หรือในรูปประยุกต์อย่างกว้างขวางพิสดาร เพื่อให้บังเกิดผลในทางปฏิบัติทั้งแก่บุคคลและสังคม เริ่มแต่หลักแสดงแนวทางความประพฤติที่ตรงกันกับในองค์มรรคนี้เอง ซึ่งเรียกว่า กรรมบถ และหลักความประพฤติอันเป็นมนุษยธรรม ที่เรียกว่า เบญจศีล เป็นต้น

 อย่างไรก็ดี คำสอนในรูปประยุกต์ ย่อมกระจายออกไปเป็นรายละเอียดอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เพื่อให้เหมาะสมกับบุคคล กาละ เทศะ และสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ในการสอนครั้งนั้นๆ ในที่นี้ มิใช่โอกาสที่มุ่งเพื่ออธิบายคำสอนเหล่านั้น จึงไม่อยู่ในฐานะที่จะรวบรวมรายละเอียดมาแสดง ยิ่งพุทธธรรมเป็นคำสอนที่มีระบบแน่นอนอยู่แล้ว การแสดงแต่เพียงหลักศูนย์กลางให้เกิดความเข้าใจแบบรวบยอด ก็เป็นการเพียงพอ ส่วนคำสอนในรูปประยุกต์ต่างๆ ก็ปล่อยให้เป็นสิ่งสำหรับผู้ต้องการข้อธรรมที่เหมาะสมกับอัธยาศัย ระดับการครองชีพ และความประสงค์ของตน จะพึงแสวงต่อไป

 เมื่อกล่าวโดยสรุป สำหรับคำสอนในรูปประยุกต์ ถ้ามิใช่ประยุกต์ในส่วนรายละเอียดให้เหมาะกับบุคคล กาลเวลา สถานที่ และโอกาสจำเพาะกรณีแล้ว หลักใหญ่สำหรับการประยุกต์ก็คือ สภาพหรือระดับการครองชีวิต โดยนัยนี้ จึงมีศีลหรือข้อบัญญัติ ระบบความประพฤติต่างๆ ที่แยกกันออกไปเป็นศีลสำหรับคฤหัสถ์ และศีลสำหรับบรรพชิต เป็นต้น

 ผู้ศึกษาเรื่องศีล จะต้องเข้าใจหลักการ สาระสำคัญ และที่สำคัญยิ่งคือ วัตถุประสงค์ของศีลเหล่านั้น ทั้งในส่วนรายละเอียดที่ต่างกัน และส่วนรวมสูงสุดที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน จึงจะชื่อว่ามีความเข้าใจถูกต้อง ไม่งมงาย ปฏิบัติธรรมไม่ผิดพลาด และได้ผลจริง

   ในที่นี้ จะแสดงตัวอย่างการกระจายความหมายขององค์มรรคขั้นศีลเหล่านี้ ออกไปเป็นหลักความประพฤติที่บังเกิดผลในทางปฏิบัติ
   หลักความประพฤติที่นำมาแสดงเป็นตัวอย่างนี้ เป็นหลักที่กระจายความหมายออกไปโดยตรง มีหัวข้อตรงกับในองค์มรรคทุกข้อ เป็นแต่เรียงลำดับฝ่ายกายกรรม (ตรงกับสัมมากัมมันตะ) ก่อนฝ่ายวจีกรรม (ตรงกับสัมมาวาจา) และเรียกชื่อว่ากุศลกรรมบถบ้าง สุจริตบ้าง ความสะอาดทางกาย วาจา (และใจ) บ้าง สมบัติแห่งกัมมันตะบ้าง ฯลฯ มีเรื่องตัวอย่างดังนี้

   เมื่อพระพุทธเจ้าประทับ ณ เมืองปาวา ในป่ามะม่วงของนายจุนทะกัมมารบุตร นายจุนทะมาเฝ้า ได้สนทนาเรื่องโสไจยกรรม (พิธีชำระตนให้บริสุทธิ์) นายจุนทะทูลว่า เขานับถือบัญญัติพิธีชำระตัวตามแบบของพราหมณ์ชาวปัจฉาภูมิ ผู้ถือเต้านํ้า สวมพวงมาลัยสาหร่าย บูชาไฟ ถือการลงนํ้าเป็นวัตร
   บัญญัติของพราหมณ์พวกนี้มีว่า แต่เช้าตรู่ทุกวัน เมื่อลุกขึ้นจากที่นอนจะต้องเอามือลูบแผ่นดิน ถ้าไม่ลูบแผ่นดิน ต้องลูบมูลโคสด หรือลูบหญ้าเขียว หรือบำเรอไฟ หรือยกมือไหว้พระอาทิตย์ หรือมิฉะนั้นก็ต้องลงนํ้าให้ครบ ๓ ครั้ง ในตอนเย็น อย่างใดอย่างหนึ่ง

   พระพุทธเจ้าตรัสว่า บัญญัติเรื่องการชำระตัวให้สะอาดของพวกพราหมณ์นี้ เป็นอย่างหนึ่ง ส่วนการชำระตัวให้สะอาดในอริยวินัยเป็นอีกอย่างหนึ่ง หาเหมือนกันไม่ แล้วตรัสว่า คนที่ประกอบ อกุศลกรรมบถ ๑๐ (ปาณาติบาต อทินนาทาน ฯลฯ ที่ตรงข้ามกับ กุศลกรรมบถ ๑๐) ชื่อว่ามีความไม่สะอาด ทั้งทางกาย ทางวาจา ทางใจ คนเช่นนี้ ลุกขึ้นเช้า จะลูบแผ่นดิน หรือจะไม่ลูบ จะลูบโคมัย หรือจะไม่ลูบ จะบูชาไฟ จะไหว้พระอาทิตย์ หรือไม่ทำ ก็ไม่สะอาดอยู่นั่นเอง เพราะอกุศลกรรมบถเป็นสิ่งที่ ทั้งไม่สะอาด ทั้งเป็นตัวการทำให้ไม่สะอาด แล้วตรัส กุศลกรรมบถ ๑๐ ที่เป็นเครื่องชำระตัวให้สะอาด คือ

ก. เครื่องชำระตัวทางกาย ๓ ได้แก่ การที่บุคคลบางคน
 ๑. ละปาณาติบาต เว้นขาดจากการตัดรอนชีวิต วางทัณฑะ วางศัสตรา มีความละอายใจ กอปรด้วยเมตตา ใฝ่ใจช่วยเหลือเกื้อกูลแก่ปวงสัตว์โลก
 ๒. ละอทินนาทาน เว้นขาดจากการถือเอาสิ่งที่เขามิได้ให้ ไม่ยึดถือทรัพย์สินอุปกรณ์อย่างใดๆ ของผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นของที่อยู่ในบ้าน หรือในป่า ซึ่งเขามิได้ให้ อย่างเป็นขโมย
 ๓. ละกาเมสุมิจฉาจาร เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย ไม่ล่วงละเมิดในสตรี เช่นอย่างผู้ที่มารดารักษา ผู้ที่บิดารักษา ผู้ที่พี่น้องชายรักษา ผู้ที่พี่น้องหญิงรักษา ผู้ที่ญาติรักษา ผู้ที่ธรรมรักษา (เช่นกฎหมายคุ้มครอง) หญิงมีสามี หญิงหวงห้าม โดยที่สุดแม้หญิงที่หมั้นแล้ว



มีต่อค่ะ...

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 22.0.1229.79 Chrome 22.0.1229.79


ดูรายละเอียด
« ตอบ #32 เมื่อ: 29 กันยายน 2555 15:40:27 »



                 

องค์ประกอบแห่งมัชฌิมาปฏิปทา(๓.สัมมาวาจา ๔.สัมมากัมมันตะ ๕.สัมมาอาชีวะ)
ข. เครื่องชำระตัวทางวาจา ๔ ได้แก่ การที่บุคคลบางคน
๑. ละมุสาวาท เว้นขาดจากการพูดเท็จ เมื่ออยู่ในสภาก็ดี อยู่ในที่ประชุมก็ดี อยู่ท่ามกลางญาติก็ดี อยู่ท่ามกลางชุมนุมก็ดี อยู่ท่ามกลางราชสกุลก็ดี ถูกเขาอ้างตัวซักถามเป็นพยานว่า เชิญเถิดท่าน ท่านรู้สิ่งใดจงพูดสิ่งนั้น เมื่อไม่รู้ เขาก็กล่าวว่า ไม่รู้ เมื่อไม่เห็น ก็กล่าวว่า ไม่เห็น เมื่อรู้ ก็กล่าวว่า รู้ เมื่อเห็นก็กล่าวว่า เห็น ไม่เป็นผู้กล่าวเท็จทั้งที่รู้ ไม่ว่าเพราะเหตุแห่งตนเอง หรือเพราะเหตุแห่งคนอื่น หรือเพราะเหตุเห็นแก่อามิสใดๆ
 ๒. ละปิสุณาวาจา เว้นขาดจากวาจาส่อเสียด ไม่เป็นคนที่ฟังความข้างนี้ แล้วเอาไปบอกข้างโน้น เพื่อทำลายคนฝ่ายนี้ หรือฟังความข้างโน้น แล้วเอามาบอกข้างนี้ เพื่อทำลายคนฝ่ายโน้น เป็นผู้สมานคนที่แตกร้าวกัน ส่งเสริมคนที่สมัครสมานกัน ชอบสามัคคี ยินดีในสามัคคี พอใจในความสามัคคี ชอบกล่าวถ้อยคำที่ทำให้คนสามัคคีกัน
 ๓. ละผรุสวาจา เว้นขาดจากวาจาหยาบ กล่าวแต่ถ้อยคำชนิดที่ไม่มีโทษ รื่นหู น่ารัก จับใจ สุภาพ เป็นที่พอใจของพหูชน เป็นที่ชื่นชมของพหูชน
 ๔. ละสัมผัปปลาปะ  เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ  พูดถูกกาล พูดคำจริง พูดเป็นอรรถ พูดเป็นธรรม พูดเป็นวินัย กล่าววาจาเป็นหลักฐาน มีที่อ้างอิง มีกำหนดขอบเขต ประกอบด้วยประโยชน์ โดยกาลอันควร


 ค. เครื่องชำระตัวทางใจ ๓ ได้แก่ อนภิชฌา (ไม่คิดจ้องเอาของคนอื่น) อพยาบาท และสัมมาทิฏฐิ เฉพาะ ๓ ข้อนี้ เป็นความหมายที่ขยายจากองค์มรรค ๒ ข้อแรก คือ สัมมาทิฏฐิ และสัมมาสังกัปปะ จึงไม่คัดมาไว้ในที่นี้

   บุคคลผู้ประกอบด้วยกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการนี้ ถึงตอนเช้าตรู่ ลุกขึ้นจากที่นอน จะมาลูบแผ่นดิน ก็เป็นผู้สะอาดอยู่นั่นเอง ถึงจะไม่ลูบแผ่นดิน ก็เป็นผู้สะอาดอยู่นั่นเอง ฯลฯ ถึงจะยกมือไหว้พระอาทิตย์ ก็เป็นผู้สะอาดอยู่นั่นเอง ถึงจะไม่ยกมือไหว้พระอาทิตย์ ก็เป็นผู้สะอาดอยู่นั่นเอง... เพราะว่า กุศลกรรมบถ ๑๐ ประการนี้ เป็นของสะอาดเองด้วย เป็นตัวการที่ทำให้สะอาดด้วย...”
   ที่ว่าความหมายซึ่งขยายออกไปในรูปประยุกต์ อาจแตกต่างกันตามความเหมาะสมกับกรณีนั้น ขอยกตัวอย่าง เช่น
   เมื่อกล่าวถึง บุคคลที่ออกบวชแล้ว นอกจากศีลบางข้อจะเปลี่ยนไป และมีศีลเพิ่มใหม่อีกแล้ว แม้ศีลข้อที่คงเดิมบางข้อ ก็มีความหมายส่วนที่ขยายออกไป ต่างจากเดิม ขอให้สังเกตข้อเว้นอทินนาทาน และเว้นมุสาวาทต่อไปนี้ เทียบกับความหมายในกุศลกรรมบถข้างต้น
   ละอทินนาทาน เว้นขาดจากการถือเอาสิ่งของที่เขามิได้ให้ ถือเอาแต่ของที่เขาให้ หวังแต่ของที่เขาให้ มีตนไม่เป็นขโมย เป็นผู้สะอาดอยู่
   ละมุสาวาท เว้นขาดจากการพูดเท็จ กล่าวแต่คำสัตย์ ธำรงสัจจะ ซื่อตรง เชื่อถือได้ ไม่ลวงโลก


   มีข้อสังเกตสำคัญในตอนนี้อย่างหนึ่ง คือ ความหมายท่อนขยายขององค์มรรคขั้นศีลเหล่านี้แต่ละข้อ ตามปรกติจะแยกได้เป็นข้อละ ๒ ตอน ตอนต้นกล่าวถึงการละเว้นไม่ทำความชั่ว ตอนหลังกล่าวถึงการทำความดีที่ตรงข้ามกับความชั่วที่งดเว้นแล้วนั้น พูดสั้นๆ ว่า ตอนต้นใช้คำนิเสธ ตอนหลังใช้คำแนะหนุน เรื่องนี้ เป็นลักษณะทั่วไปอย่างหนึ่ง ของคำสอนในพระพุทธศาสนา ที่มักใช้คำสอนควบคู่ ทั้งคำนิเสธ (negative) และคำแนะหนุน (positive) ไปพร้อมๆกัน ตามหลัก “เว้นชั่ว บำเพ็ญดี

 เมื่อถือการเว้นชั่วเป็นจุดเริ่มต้นแล้ว ก็ขยายความในภาคบำเพ็ญดีออกได้เรื่อยไป ซึ่งไม่จำกัดเฉพาะเท่าที่ขยายเป็นตัวอย่างในองค์มรรคเหล่านี้เท่านั้น
 ตัวอย่างเช่นข้อเว้นอทินนาทาน ในที่นี้ยังไม่ได้ขยายความในภาคบำเพ็ญดีออกเป็นรายละเอียดการปฏิบัติที่เด่นชัด แต่ก็ได้มีคำสอนเรื่องทาน เป็นหลักธรรมใหญ่ที่สุดเรื่องหนึ่งในพระพุทธศาสนา ไว้อีกส่วนหนึ่งต่างหากแล้ว ดังนี้เป็นต้น

ตะวันตกไม่รู้จักจริยธรรมแบบธรรมชาติและเป็นระบบ
 เคยมีปราชญ์ฝ่ายตะวันตกบางท่าน เขียนข้อความทำนองตำหนิพระพุทธศาสนาไว้ว่ามีคำสอนมุ่งแต่ในทางปฏิเสธ (negative) คือ สอนให้ละเว้นความชั่วอย่างนั้นอย่างนี้ฝ่ายเดียว ไม่ได้สอนย้ำชักจูงเร่งรัดพุทธศาสนิกชนให้ขวนขวายทำความดี (positive) ไม่ได้แนะนำว่าเมื่อเว้นชั่วนั้นๆแล้ว จะพึงทำความดีอย่างไรต่อไป มีคำสอนเป็นสกวิสัย (subjective) เป็นได้เพียง จริยธรรมแห่งความคิด (an ethic of thoughts) เป็นคำสอนแบบถอนตัวและเฉยเฉื่อย (passive) ทำให้พุทธศาสนิกชนพอใจแต่เพียงแค่งดเว้นทำความชั่ว คอยระวังเพียงไม่ให้ตนต้องเข้าไปเกี่ยวข้องพัวพันกับบาป ไม่เอาใจใส่ขวนขวายช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ ด้วยการลงมือทำการปลดเปลื้องความทุกข์และสร้างเสริมประโยชน์สุขจริงจัง แม้ให้เมตตากรุณา ก็เพียงโดยตั้งความหวังความปรารถนาดีแผ่ออกด้วยใจอย่างเดียว

 เรื่องนี้ โดยเฉพาะเหตุผลในการแสดงความหมายของหลักธรรมสำคัญด้วยคำหรือข้อความเชิงปฏิเสธ ได้อธิบายแล้วในตอนก่อน ที่ว่าด้วยสัมมาสังกัปปะ (ดู หน้า ๒๗๖–๒๘๑) แต่ยังมีข้อปลีกย่อยบางอย่างที่ควรทราบเพิ่มเติมอีก ในแง่ที่ฝรั่งเรียกว่าจริยธรรม (ethic) ซึ่งเป็นเรื่องระดับศีล จึงพูดไว้ ณ ที่นี้

 นักปรัชญาและเทววิทยาผู้มีชื่อเสียงคนหนึ่ง ที่ชาวตะวันตกรู้จักกันมาก ได้อ้างข้อความจากพระไตรปิฎก มาสนับสนุนทัศนะของตนที่ว่า คำสอนในพระพุทธศาสนาเป็นเพียงขั้นปฏิเสธ (negative) โดยยกคำจำกัดความองค์มรรคข้อสัมมากัมมันตะข้างต้นกำกับไว้ในข้อเขียนของตน (วจนะที่อ้างเป็นของพระสารีบุตร) ว่า

   ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย สัมมากัมมันตะเป็นไฉน? การเว้นปาณาติบาต การเว้นอทินนาทาน การเว้นกาเมสุมิจฉาจาร นี้แล ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ชื่อว่าสัมมากัมมันตะ


   สำหรับผู้ศึกษาที่เข้าใจความหมายเชิงระบบของมรรค และทราบแนวทางที่จะขยายความหมายในทางปฏิบัติขององค์มรรคทั้งหลาย ออกไปสู่ธรรมปลีกย่อยต่างๆ ที่เป็นข้อปฏิบัติเฉพาะเรื่องเฉพาะกรณีได้มากมาย ตามที่ชี้แจงมาแล้ว ย่อมเห็นได้ทันทีว่า หากท่านผู้เขียนคำตินี้วิจารณ์ไว้ด้วยเจตนาดี ข้อเขียนของท่านน่าจะต้องเกิดจากการได้อ่าน หรือรับทราบพุทธธรรมมาแต่เพียงข้อปลีกย่อยต่างส่วนต่างตอนไม่ต่อเนื่องเป็นสาย และเกิดจากการไม่เข้าใจระบบแห่งพุทธธรรมโดยส่วนรวม

   จากความเป็นระบบและการกระจายหมายในทางปฏิบัตินั้น เห็นได้ชัดอยู่แล้วว่า ระบบศีลธรรมของมรรคไม่มีลักษณะจำกัดด้วยความเป็น negative หรือ passive หรือ subjective หรือเป็นเพียง an ethic of thoughts
   การที่คำจำกัดความขององค์มรรคขั้นศีล ต้องมีรูปลักษณะเป็นคำปฏิเสธเช่นนั้น ขอกล่าวถึงข้อสังเกตและเหตุผลปลีกย่อย เพิ่มเติมจากหลักใหญ่ที่พูดไปแล้วในตอนก่อน คือ

 ๑. ศีลในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของพุทธธรรม ย่อมมิใช่เทวโองการ ที่กำหนดให้ศาสนิกประพฤติปฏิบัติอย่างนั้นบ้างอย่างนี้บ้าง สุดแต่เทวประสงค์ ด้วยอาศัยศรัทธาลอยๆ แบบภักดี ซึ่งไม่จำเป็นต้องทราบเหตุผลเชื่อมโยงต่อเนื่องกัน แต่ศีล เป็นสิ่งที่กำหนดขึ้นตามหลักเหตุผลของกฎธรรมชาติ ซึ่งผู้ปฏิบัติตามจะต้องมองเห็นความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันเป็นระบบ แม้จะยังไม่มีปัญญารู้แจ่มแจ้งชัดเจน มีเพียงศรัทธา ศรัทธานั้นก็จะต้องเป็นอาการวตีศรัทธา ซึ่งอย่างน้อยจะต้องมีพื้นความเข้าใจในเหตุผลเบื้องต้น พอเป็นฐานสำหรับเกิดปัญญารู้แจ่มชัดต่อไป

 ๒. ในกระบวนการปฏิบัติธรรมหรือการฝึกอบรมตนนั้น เมื่อมองในแง่ลำดับสิ่งที่จะต้องทำให้ประณีตยิ่งขึ้นไปตามขั้น ก็จะเริ่มด้วย ละเว้นหรือกำจัดความชั่วก่อน แล้วจึงเสริมสร้างความดีให้บริบูรณ์ จนถึงความบริสุทธิ์หลุดพ้นในที่สุด เหมือนจะปลูกพืชต้องชำระที่ดิน กำจัดสิ่งเป็นโทษก่อน แล้วจึงหว่านพืชและบำรุงรักษาไปจนได้ผลที่หมาย

   ในระบบแห่งพุทธธรรมนั้น เมื่อมองในแง่ที่ว่านี้ ศีลเป็นข้อปฏิบัติขั้นเริ่มแรกที่สุด มุ่งไปที่ความประพฤติพื้นฐาน จึงเน้นที่การละเว้นความชั่วต่างๆ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้น พูดย้ำให้เห็นสิ่งที่ต้องการกำจัดอย่างชัดเจนเสียก่อน แล้วจึงขยายขอบเขตยกระดับความประพฤติให้สูงขึ้นไปในด้านความดี ด้วยอาศัยการปฏิบัติในขั้นสมาธิและปัญญาเข้ามาช่วยมากขึ้นๆ โดยลำดับ
   อย่างไรก็ดี ที่ว่านี้เป็นการพูดตามหลักทั่วไป แต่ในทางปฏิบัติ บางทีกลับเริ่มโดยเน้นฝ่ายดีก่อน เช่น วางทานก่อนศีล หรือควบคู่ผสมผสานกันไป ซึ่งเป็นเรื่องของเทคนิค หรือกลวิธีด้วย

 ๓. ในระบบการฝึกอบรมของไตรสิกขา ศีลยังมิใช่ข้อปฏิบัติให้ถึงจุดหมายสูงสุดโดยตัวของมันเอง แต่เป็นวิธีการเพื่อก้าวหน้าไปสู่ความเจริญขั้นต่อไป คือสมาธิ สมาธิจึงเป็นจุดหมายจำเพาะของศีล โดยนัยนี้คุณค่าในด้านจิตใจของศีล จึงมีความสำคัญมาก
   คุณค่าทางจิตใจในขั้นศีล ก็คือ เจตนาที่จะงดเว้น หรือการไม่มีความดำริในการที่จะทำความชั่วใดๆ อยู่ในใจ ซึ่งทำให้จิตใจบริสุทธิ์ปลอดโปร่ง ไม่มีความคิดวุ่นวายขุ่นมัวหรือกังวลใดๆ มารบกวน จิตใจจึงสงบ ทำให้เกิดสมาธิได้ง่าย เมื่อมีจิตใจสงบเป็นสมาธิแล้ว ก็เกิดความคล่องตัวในการที่จะใช้ปัญญา คิดหาเหตุผล และหาทางดำเนินการสร้างสรรค์ความดีต่างๆ ให้ได้ผลในขั้นต่อไป

 ๔. พุทธธรรมถือว่า จิตใจเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง ระบบจริยธรรมจึงต้องประสานต่อเนื่องกันโดยตลอด ทั้งด้านจิตใจ และความประพฤติทางกายวาจาภายนอก ในการกระทำต่างๆ นั้น จิตใจเป็นจุดเริ่มต้น จึงกำหนดที่ตัวเจตนาในใจเป็นหลัก เพื่อให้การกระทำความดีต่างๆ เป็นไปด้วยความจริงใจอย่างแน่นอน มิใช่แต่เพียงไม่หลอกลวงคนอื่นเท่านั้น แต่หมายถึงการไม่หลอกลวงตนเองด้วย เป็นการกำจัดหนทางไม่ให้เกิดปัญหาทางจิตในด้านความขัดแย้งของความประพฤติ



มีต่อค่ะ...

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 22.0.1229.79 Chrome 22.0.1229.79


ดูรายละเอียด
« ตอบ #33 เมื่อ: 29 กันยายน 2555 16:38:40 »



                 

ความหมายขององค์ประกอบแห่งมัชฌิมาปฏิปทา (๓.สัมมาวาจา ๔.สัมมากัมมันตะ ๕.สัมมาอาชีวะ)
 ๕. องค์มรรคขั้นศีลสอนว่า ความรับผิดชอบขั้นพื้นฐานที่สุดของบุคคลแต่ละคน ก็คือ ความรับผิดชอบต่อตนเอง ในการที่จะไม่ให้มีความคิดที่จะทำความชั่วด้วยการเบียดเบียนหรือล่วงละเมิดต่อผู้อื่น อยู่ในจิตใจของตนเลย เมื่อมีความบริสุทธิ์นี้รองรับอยู่เป็นเบื้องต้นแล้ว ความรับผิดชอบนั้น จึงขยายกว้างออกไปถึงขั้นเป็นการธำรงรักษาและเสริมสร้างความเจริญก้าวหน้า แห่งคุณธรรมของตน ด้วยการขวนขวายทำความดี บำเพ็ญประโยชน์สุขแก่คนอื่นๆ พูดสั้นๆ ว่า มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ในการที่จะละเว้นความชั่ว และรับผิดชอบต่อผู้อื่น ในการที่จะทำความดีแก่เขา

 ๖. การกำหนดความหมายของศีลในแง่ละเว้นความชั่ว เป็นการกำหนดข้อปฏิบัติอย่างกว้างขวางที่สุด คือเพ่งเล็งไปที่ความชั่ว ย้ำถึงเจตจำนงที่ไม่มีเชื้อแห่งความชั่วเหลืออยู่เลย ส่วนในฝ่ายความดี เป็นเรื่องที่จะพึงขยายออกไปได้อย่างไม่มีเขตจำกัด จึงไม่ระบุไว้

   ตามความเป็นจริง ความดีเป็นเรื่องกว้างขวางไม่มีที่สิ้นสุด มีรายละเอียด แนวทาง และวิธีการ ยักเยื้องไปได้มากมายตามฐานะและโอกาสต่างๆ ส่วนความชั่วที่จะต้องเว้น เป็นเรื่องแน่นอนตายตัว เช่น ทั้งพระสงฆ์และคฤหัสถ์ ควรละเว้นการพูดเท็จด้วยกันทั้งสองฝ่าย แต่โอกาสและวิธีการที่จะทำความดีที่ตรงข้ามกับการพูดเท็จนั้นต่างกัน การวางหลักกลาง จึงระบุแต่ฝ่ายเว้นชั่วไว้เป็นเกณฑ์ ส่วนรายละเอียด และวิธีการกระทำในขั้นบำเพ็ญความดี เป็นเรื่องในขั้นประยุกต์ให้เหมาะสมกับฐานะ โอกาส และสภาพชีวิตของบุคคลต่อไป

 ๗. การปฏิบัติตามองค์มรรคทุกข้อ ถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกคนในการที่จะเข้าถึงจุดหมายของพระพุทธศาสนา ดังนั้น องค์มรรคแต่ละข้อจะต้องเป็นหลักกลางๆ ที่ทุกคนปฏิบัติตามได้ ไม่จำกัดด้วยฐานะ กาลสมัย ท้องถิ่น และสิ่งแวดล้อมจำเพาะอย่าง เช่น การเว้นอทินนาทาน เป็นสิ่งที่ทุกคนทำได้ แต่การให้ทานต้องอาศัยปัจจัยอื่นประกอบ เช่น ตนมีสิ่งที่จะให้ มีผู้ที่จะรับ และเขาควรได้รับ เป็นต้น

   ในกรณีที่ไม่อยู่ในฐานะและโอกาส เป็นต้น ที่จะให้ เจตนาที่ปราศจากอทินนาทาน ก็เป็นสิ่งที่ทำให้จิตใจบริสุทธิ์ เป็นพื้นฐานแก่สมาธิได้แล้ว แต่ในกรณีที่อยู่ในฐานะและโอกาส เป็นต้น ที่จะให้ การไม่ใส่ใจหรือหวงแหน จึงจะเกิดเป็นความเศร้าหมองขุ่นมัวแก่จิตใจ และการให้จึงจะเป็นเครื่องส่งเสริมคุณธรรมของตนให้มากยิ่งขึ้น
   โดยนัยนี้ ความหมายหลัก จึงอยู่ในรูปเป็นคำปฏิเสธ คือ การละเว้นหรือปราศจากความชั่ว ส่วนความหมายที่ขยายออกไปในฝ่ายทำความดีจึงเป็นเรื่องของการประยุกต์ดังกล่าวแล้ว

 ๘. ในทางปฏิบัติ เมื่อพิจารณาในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ผู้ปฏิบัติธรรมย่อมกำลังบำเพ็ญคุณธรรมความดีอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือประเภทใดประเภทหนึ่งอยู่เป็นพิเศษ ในเวลาเช่นนั้นเขาย่อมจะต้องพุ่งความคิดความสนใจจำเพาะเจาะจงลงในสิ่งที่ปฏิบัตินั้น ในกรณีเช่นนี้ ความรับผิดชอบของเขาต่อความประพฤติด้านอื่นๆ ย่อมมีเพียงเป็นส่วนประกอบ คือเพียงไม่ให้เกิดความชั่วอย่างใดอย่างหนึ่งหรือความเสียหายด้านอื่นขึ้นมา เป็นสำคัญ

   ประโยชน์ที่ต้องการจากศีล ในกรณีเช่นนี้ จึงได้แก่การช่วยควบคุมรักษาความประพฤติในด้านอื่นๆ ของเขาไว้ ป้องกันไม่ให้เสียหลักพลาดลงไปในความชั่วอย่างใดอย่างหนึ่ง ทำให้มีพื้นฐานที่มั่นคง สามารถบำเพ็ญความดีที่เป็นเรื่องจำเพาะในขณะนั้นๆ ได้โดยสมบูรณ์

ความแตกต่างระหว่างศีล ในพระพุทธศาสนา กับศาสนาเทวนิยม
 อนึ่ง มีข้อสังเกตบางอย่างที่ควรทราบ เกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างศีลในพระพุทธศาสนา กับศีลในศาสนาเทวนิยม (รวมถึงเรื่องกรรม  ความดี ความชั่ว) ดังนี้

 ๑. ในพุทธธรรม ศีลเป็นหลักความประพฤติที่กำหนดขึ้นตามหลักเหตุผลของกฎธรรมชาติ ส่วนในศาสนาเทวนิยม ศีลเป็นเทวโองการ ที่กำหนดขึ้นโดยเทวประสงค์

 ๒. ในแง่ปฏิเสธ ศีลในความหมายของพุทธธรรม เป็นหลักการฝึกตนในการเว้นจากความชั่ว จึงเรียกศีลที่กำหนดเป็นข้อๆ ว่า สิกขาบท (ข้อฝึก-training rule) ส่วนศีลในศาสนาเทวนิยม เป็นข้อห้าม หรือคำสั่งห้ามจากเบื้องบน(divine commandment)

 ๓. แรงจูงใจที่ต้องการในการปฏิบัติตามศีลแบบพุทธธรรม ได้แก่อาการวตีศรัทธา คือ ความมั่นใจ (confidence) ในกฎแห่งกรรม โดยมีความเข้าใจพื้นฐาน มองเห็นเหตุผลว่าพฤติกรรมและผลของมันจะต้องเป็นไปตามแนวทางแห่งเหตุปัจจัย
   ส่วนแรงจูงใจที่ต้องการในการปฏิบัติตามศีลของศาสนาเทวนิยม ได้แก่ศรัทธาแบบภักดี (faith) คือ เชื่อ ยอมรับ และทำตามสิ่งใดๆ ก็ตามที่กำหนดว่าเป็นเทวประสงค์ มอบความไว้วางใจให้โดยสิ้นเชิง ไม่ต้องถามหาเหตุผล

 ๔. ในพุทธธรรม การรักษาศีลตามความหมายที่ถูกต้อง ก็คือ การฝึกตน ในทางความประพฤติ เริ่มแต่เจตนาที่จะละเว้นความชั่วอย่างนั้นๆ จนถึงประพฤติความดีงามต่างๆ ที่ตรงข้ามกับความชั่วนั้นๆ
 ส่วนในศาสนาเทวนิยม การรักษาศีล ก็คือ การเชื่อฟัง และปฏิบัติตามเทวโองการโดยเคร่งครัด

 ๕. ในพุทธธรรม การประพฤติปฏิบัติในขั้นศีล นอกจากให้เกิดการอยู่ร่วมสังคมที่เกื้อกูลไม่เบียดเบียนกันแล้ว มีวัตถุประสงค์เฉพาะ คือ เพื่อเป็น บาทฐานของสมาธิ กล่าวคือ เป็นระบบการฝึกอบรมบุคคลให้มีความพร้อมและความสามารถที่จะใช้กำลังงานของจิตให้เป็นประโยชน์มากที่สุด ในทางที่จะก่อให้เกิดปัญญาและนำไปสู่ความหลุดพ้น หรืออิสรภาพสมบูรณ์ในที่สุด ส่วนการไปสวรรค์เป็นต้น เป็นเพียงผลพลอยได้ของวิถีแห่งความประพฤติโดยทั่วไป
   แต่ในศาสนาเทวนิยม การประพฤติศีลตามเทวโองการ เป็นเหตุให้ได้รับความโปรดปรานจากเบื้องบน เป็นการประพฤติถูกต้องตามเทวประสงค์ และเป็นเหตุให้พระองค์ทรงประทานรางวัลด้วยการส่งไปเกิดในสวรรค์

 ๖. ในพุทธธรรม ผลดีหรือผลร้ายของการประพฤติหรือไม่ประพฤติศีล เป็นสิ่งที่เป็นไปเองโดยธรรมชาติ คือ เป็นเรื่องการทำงานอย่างเที่ยงธรรมเป็นกลางของกฎธรรมชาติ ที่เรียกว่า กฎแห่งกรรม  การให้ผลนี้ แสดงออกตั้งต้น ตั้งแต่จิตใจ กว้างออกไปจนถึงบุคลิกภาพ และวิถีชีวิตทั่วไปของบุคคลผู้นั้น ไม่ว่าในชาตินี้หรือชาติหน้า
 ส่วนในศาสนาเทวนิยม ผลดีผลร้ายของการประพฤติตามหรือการละเมิดศีล (เทวโองการ) เป็นเรื่องของการให้ผลตอบแทน (retribution) ผลดีคือการได้ไปเกิดในสวรรค์ เป็นฝ่ายรางวัล (reward) ส่วนผลร้ายคือไปเกิดในนรก เป็นฝ่ายการลงโทษ (punishment) การจะได้ผลดีหรือผลร้ายนั้นย่อมสุดแต่การพิพากษา หรือวินิจฉัยโทษ (judgment) ของเบื้องบน


 ๗. ในแง่ความเข้าใจเกี่ยวกับความดีความชั่ว ทางฝ่ายพุทธธรรมสอนว่า ความดี เป็นคุณค่าที่รักษาและส่งเสริมคุณภาพของจิต ทำให้จิตใจสะอาดผ่องใสบริสุทธิ์ หรือยกระดับให้สูงขึ้น จึงเรียกว่าบุญ (good, moral หรือ meritorious) เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความเจริญงอกงามแก่จิตใจ เป็นไปเพื่อความหลุดพ้นหรืออิสรภาพทั้งทางจิตใจและทางปัญญา เป็นการกระทำที่ฉลาด ดำเนินตามวิถีแห่งปัญญา เอื้อแก่สุขภาพจิต จึงเรียกว่า กุศล (skilful หรือ wholesome)
    ส่วนความชั่ว เป็นสภาพที่ทำให้คุณภาพของจิตเสื่อมเสีย หรือทำให้ตกต่ำลง จึงเรียกว่าบาป (evil) เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความเสื่อมโทรมแก่ชีวิตจิตใจ ไม่เป็นไปเพื่อความหลุดพ้น เป็นการกระทำที่ไม่ฉลาด ไม่เอื้อแก่สุขภาพจิต จึงเรียกว่า อกุศล (unskilful หรือ unwholesome)
    ส่วนในศาสนาเทวนิยม ความดีความชั่ว กำหนดด้วยศรัทธาแบบภักดีต่อองค์เทวะเป็นมูลฐาน คือเอาการเชื่อฟังยอมรับและปฏิบัติตามเทวประสงค์และเทวบัญชาหรือไม่ เป็นหลัก โดยเฉพาะความชั่ว/บาป หมายถึงการผิดหรือล่วงละเมิดต่อองค์เทวะ (sin) ในรูปใดรูปหนึ่ง

 ๘. จากพื้นฐานที่แตกต่างกันนี้ ทำให้เกิดความแตกต่างกันต่อไปอีกอย่างน้อย ๒ ประการ คือ
 ก) ศีลในพุทธธรรม จึงต้องเป็นคำสอนที่ต่อเนื่องกันตามเหตุผลเป็นระบบจริยธรรม เพราะผู้ปฏิบัติจะประพฤติได้ถูกต้องต่อเมื่อมีความเข้าใจในระบบและเหตุผลที่เกี่ยวข้องเป็นพื้นฐานอยู่ด้วย
      ส่วนศีลหรือจริยธรรมทั่วไปในศาสนาเทวนิยม ย่อมเป็นประกาศเทวโองการ หรือคำแถลงเทวประสงค์เป็นเรื่องๆ ข้อๆ ต่างๆ กันไป แม้นำมารวบรวมไว้ก็ย่อมเรียกว่า “ประมวล” ไม่ใช่ ระบบ เพราะผู้ปฏิบัติต้องการความเข้าใจอย่างมากก็เฉพาะในความหมายของสิ่งที่จะต้องปฏิบัติเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องเข้าใจในระบบและเหตุผลที่เกี่ยวข้อง เพราะถือว่าระบบและเหตุผลต่างๆ ทั้งปวงอยู่ในพระปรีชาขององค์เทวะหมดสิ้นแล้ว อันผู้ปฏิบัติไม่พึงสงสัย เพียงแต่เชื่อฟัง มอบความไว้วางใจ และปฏิบัติตามเทวโองการเท่านั้นเป็นพอ

   ข) ศีลหรือระบบจริยธรรมแบบพุทธ เป็นหลักกลางๆ และเป็นสากล กำหนดโดยข้อเท็จจริงตามกฎธรรมชาติ (หมายถึงสารัตถะของศีลในฝ่ายธรรมอันเกี่ยวด้วยบุญบาป ไม่ใช่ในความหมายฝ่ายวินัย อันเกี่ยวด้วยการลงโทษ) เช่น พิจารณาผลหรือปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นในกระบวนการทำงานของจิต ผลต่อพฤติกรรม นิสัย และบุคลิกภาพ เป็นต้น จึงไม่อาจวางข้อจำกัดที่เป็นการแบ่งแยกเพื่อผลประโยชน์เฉพาะพวก เฉพาะกลุ่ม หรือเอาความพอใจของตนเป็นเครื่องวัดได้
  ไม่จำกัดว่า คนศาสนานี้เท่านั้นมีกรุณาจึงเป็นคนดี คนศาสนาอื่นมีกรุณาก็เป็นคนดีไม่ได้ ฆ่าคนศาสนานี้เท่านั้นเป็นบาป ฆ่าคนศาสนาอื่นไม่บาป คนศาสนานี้เท่านั้นให้ทานไปสวรรค์ได้ คนศาสนาอื่นประพฤติอย่างไรไม่เชื่อฉันเสียอย่างเดียวตกนรกหมด ฆ่าสัตว์ไม่บาปเพราะสัตว์ (รวมทั้งที่ไม่เป็นอาหาร-) เป็นอาหารของคน (เพราะคนไม่เป็นอาหารของเสือและสิงโต-) ดังนี้เป็นต้น
  จะมีการจำกัดแบ่งแยกได้ เช่นว่าบาปมากบาปน้อยเป็นต้นอย่างไร ก็เป็นไปโดยข้อเท็จจริงตามกฎธรรมชาติ เช่น พิจารณาผลและปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นในกระบวนการทำงานของจิต เป็นต้น ดังกล่าวแล้ว
  ส่วนในศาสนาเทวนิยม หลักเหล่านี้ย่อมกำหนดให้จำกัดหรือขยายตามเทวประสงค์อย่างไรก็ได้ ดุจเป็นวินัยบัญญัติ หรือนิติบัญญัติ เพราะองค์เทวะทรงเป็นทั้งผู้ตรากฎหมายและผู้พิพากษาเอง

 ๙. เนื่องจากศีลเป็นหลักกลางๆ กำหนดด้วยข้อเท็จจริงตามกฎธรรมชาติเช่นนี้ ผู้ปฏิบัติตามแนวพุทธธรรม จึงต้องเป็นผู้กล้ายอมรับและกล้าเผชิญหน้าความจริง ความดี ชั่ว ถูก ผิด มีอยู่ เป็นข้อเท็จจริงอย่างไร ก็ต้องกล้ายอมรับความจริงตามที่เป็นเช่นนั้น ส่วนตนจะปฏิบัติหรือไม่แค่ไหนเพียงไร ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง และต้องกล้ายอมรับการที่ตนปฏิบัติดีไม่ดีตามข้อเท็จจริงนั้น มิใช่ถือว่าไม่ชั่ว เพราะตัวอยากทำสิ่งนั้น ข้อเท็จจริงตามธรรมชาติ มิได้ขึ้นต่อการวัดด้วยการอยากทำหรือไม่ของตน ถ้ามีอันถึงกับจะทำกรรมที่ให้ตกนรกสักอย่างหนึ่ง การที่ยอมรับพูดกับตนเองว่า กรรมนั้นไม่ดี แต่ตนยอมเสียสละตกนรก ยังดีกว่าหลอกตัวเองว่ากรรมนั้นไม่เป็นกรรมชั่ว

   มีสิ่งที่อาจถือว่าเป็นข้อได้เปรียบ ของศีลแบบเทวโองการ คือ
   ๑. ตัดการพิจารณาเรื่องถูก-ผิด จริง-ไม่จริง ออกเสีย กล่าวได้ว่า เมื่อเชื่อเสียแล้ว ศรัทธาล้วนแบบภักดี ย่อมได้ผลในทางปฏิบัติที่รวดเร็วเร่งเร้าและเข้มแข็งหรือรุนแรงกว่า แต่จะเกิดปัญหาขึ้นต่อไป โดยเฉพาะในยุคแห่งเหตุผลว่า ทำอย่างไรจึงจะให้เชื่อได้ และปัญหาในระยะยาวเกี่ยวกับความปลอดภัยในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นที่ไม่ศรัทธาเหมือนตน ปัญหาเรื่องความมั่นคงของศรัทธานั้น และการไม่มีโอกาสเข้าถึงอิสรภาพทางปัญญา (บางข้ออาจไม่ต้องพิจารณา ถ้ามนุษย์ต้องการมีชีวิตอยู่เพียงเป็นสัตว์สังคมที่แยกกันอยู่เป็นกลุ่มๆ)

 ๒. สำหรับสามัญชนทั่วไป ย่อมเข้าถึงความหมายของศีลตามแบบศรัทธาล้วนได้ง่ายกว่า และศีลแบบนี้ก็ควบคุมความประพฤติของคนสามัญได้เป็นอย่างดี ดังนั้น แม้ในหมู่ชาวพุทธจำนวนไม่น้อย ความเข้าใจในเรื่องบุญบาปจึงยังคงมีส่วนที่คล้ายกับศาสนาเทวนิยมแฝงอยู่ด้วย เช่น เห็นศีล เป็นข้อห้าม (แต่ลางเลือนว่าใครเป็นผู้ห้าม) เห็นผลของบุญบาปเป็นอย่างผลตอบแทน เป็นรางวัลหรือการลงโทษ เป็นต้น แต่ปัญหาก็คงเป็นอย่างเดียวกับข้อ ๑ คือ ทำอย่างไรจะให้เชื่อกันอยู่ได้ตลอดไป

 ๓. การบัญญัติกรรมไม่ดีบางอย่าง ที่เห็นว่ายังจำเป็นต้องทำ เพื่อผลประโยชน์บางอย่างของตน ให้เป็นกรรมที่ไม่ผิดไปเสีย จัดเป็นวิธีจูงใจตัวเองได้อย่างหนึ่ง พุทธธรรมยอมรับว่า วิธีจูงใจตนเองนั้น เป็นสิ่งที่ได้ผลมากอย่างหนึ่ง เพราะเป็นเหตุปัจจัยอีกอย่างหนึ่งที่เข้ามาเกี่ยวข้องเพิ่มขึ้นในเรื่องนั้นๆ เช่น บัญญัติว่าฆ่าสัตว์ไม่บาป ก็ทำให้เบาใจและไม่รู้สึกสะกิดใจในการฆ่าสัตว์ แต่การจูงใจแบบนี้ทำให้เกิดผลร้ายในด้านอื่น และไม่เป็นวิถีทางแห่งปัญญา

 พุทธธรรมนิยมให้เป็นอยู่ด้วยการรับรู้ความเป็นจริงจะแจ้งในทุกขั้นทุกตอน ให้รู้จักเลือกตัดสินใจด้วยตนเอง พุทธธรรมสอนให้ใช้วิธีจูงใจตนเองบ้างเหมือนกัน แต่สอนโดยให้ผู้นั้นรู้เข้าใจในเรื่องที่จะใช้จูงใจนั้นตามข้อเท็จจริงแล้วให้นำไปใช้ด้วยตนเอง เรื่องที่ใช้จูงใจนั้นต้องไม่มีแง่ที่เสียหาย และให้ใช้เฉพาะในกรณีที่ช่วยเป็นพลังในการทำความดีอย่างอื่นให้ได้ผลยิ่งขึ้น


บันทึกการเข้า
คำค้น: มัชฌิมาปฏิปทา ว่าด้วย สัมมาทิฏฐิ 
หน้า:  1 [2]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
เท่าทันอารมณ์...เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
เงาฝัน 2 7422 กระทู้ล่าสุด 15 เมษายน 2553 00:20:15
โดย เงาฝัน
เทพีคู่หาบเงิน–หาบทอง ดอกไม้งามในวันพ&#
สุขใจ ห้องสมุด
sithiphong 1 4981 กระทู้ล่าสุด 10 พฤษภาคม 2553 09:51:55
โดย เงาฝัน
ชี้แจงเรื่องการย้ายข้อมูลจากเวบเก่ามาเข้าสุขใจ ไม่ทันการแน่
สุขใจ ป่าวประกาศ (ข้อความจากทีมงาน)
หมีงงในพงหญ้า 4 6906 กระทู้ล่าสุด 30 มิถุนายน 2553 10:15:11
โดย หมีงงในพงหญ้า
พุทธศาสนาในมุมมองของแม่ชีฝรั่ง
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
sometime 3 4348 กระทู้ล่าสุด 15 กรกฎาคม 2553 15:06:38
โดย เงาฝัน
หลักปฏิบัติของลูกที่พึงกระทำต่อพ่อแม่(มาตา)
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
時々๛कभी कभी๛ 1 3114 กระทู้ล่าสุด 26 มีนาคม 2554 11:41:59
โดย เงาฝัน
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.951 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 17 ตุลาคม 2567 11:02:50