[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
21 ธันวาคม 2567 21:29:55 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พุทธพจน์แสดงหลักไตรลักษณ์  (อ่าน 6939 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 3 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 31 กรกฎาคม 2553 07:18:45 »




เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จประพาสอุทยาน ทอดพระเนตรนิมิต 4 ประการ คือ
คนแก่ คนเจ็บป่วย คนตาย และบรรพชิต


พุทธพจน์แสดงหลักไตรลักษณ์ 

ตถาคต (พระพุทธเจ้า) ทั้งหลาย จะอุบัติหรือไม่ก็ตาม ธาตุ (หลัก) นั้นก็ยังคงมีอยู่ เป็นธรรมฐิติ เป็นธรรมนิยามว่า

 ๑. สังขารทั้งปวง ไม่เที่ยง..............
 ๒. สังขารทั้งปวง  เป็นทุกข์.............
 ๓. ธรรมทั้งปวง เป็นอนัตตา..............

 ตถาคตตรัสรู้ เข้าถึงหลักนั้นแล้ว จึงบอก แสดง วางเป็นแบบ ตั้งเป็นหลัก เปิดเผย แจกแจง ทำให้เข้าใจง่ายว่า “สังขารทั้งปวง ไม่เที่ยง...สังขารทั้งปวง เป็นทุกข์...ธรรมทั้งปวง เป็นอนัตตา...”
 ไตรลักษณ์นี้ ในอรรถกถาบางทีเรียกว่า “สามัญลักษณะ” ในฐานะเป็นลักษณะร่วม ที่มีเสมอกันแก่สังขารทั้งปวง (แต่ไม่เสมอกันแก่ธรรมทั้งปวง)
 เพื่อความเข้าใจง่ายๆ ให้ความหมายของไตรลักษณ์ (the Three Characteristics of Existence) โดยย่อดังนี้

๑. อนิจจตา (Impermanence) ความไม่เที่ยง ความไม่คงที่ ความไม่คงตัว ภาวะที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมและสลายไป
 ๒. ทุกขตา (Conflict) ความเป็นทุกข์ ภาวะที่ถูกบีบคั้นด้วยการเกิดขึ้นและสลายไป ภาวะที่กดดันฝืนและขัดแย้งอยู่ในตัว เพราะปัจจัยที่ปรุงแต่งให้มีสภาพเป็นอย่างนั้นเปลี่ยนแปลงไป จะทำให้คงอยู่ในสภาพนั้นไม่ได้ ภาวะที่ไม่สมบูรณ์มีความบกพร่องอยู่ในตัว ไม่ให้ความสมอยากแท้จริง หรือความพึงพอใจเต็มที่ แก่ผู้อยากด้วยตัณหา และก่อให้เกิดทุกข์แก่ผู้เข้าไปอยากไปยึดด้วยตัณหา อุปาทาน
 ๓. อนัตตตา (Soullessness หรือ Non-Self) ความเป็นอนัตตา ความไม่ใช่ตัวตน ความไม่มีตัวตนแท้จริงที่จะสั่งบังคับให้เป็นอย่างไรๆ ได้


สิ่งทั้งหลายหากจะกล่าวว่ามี ก็ต้องว่ามีอยู่ในรูปของกระแส ที่ประกอบด้วยปัจจัยต่างๆ อันสัมพันธ์เนื่องอาศัยกัน เกิดดับสืบต่อกันไปอยู่ตลอดเวลาไม่ขาดสาย จึงเป็นภาวะที่ไม่เที่ยง เมื่อต้องเกิดดับไม่คงที่ และเป็นไปตามเหตุปัจจัยที่อาศัย ก็ย่อมมีความบีบคั้น กดดัน ขัดแย้ง และแสดงถึงความบกพร่องไม่สมบูรณ์อยู่ในตัว และเมื่อทุกส่วนเป็นไปในรูปกระแสที่เกิดดับอยู่ตลอดเวลาขึ้นต่อเหตุปัจจัยเช่นนี้ ก็ย่อมไม่เป็นตัวของตัว มีตัวตนแท้จริงไม่ได้ ไม่อยู่ในอำนาจของใครๆ ที่จะสั่งบังคับให้เป็นไปอย่างไรๆ ตามใจปรารถนา

 ในกรณีของสัตว์บุคคล ให้แยกว่า สัตว์บุคคลนั้นประกอบด้วยขันธ์ ๕ เท่านั้น ไม่มีสิ่งใดอื่นอีกนอกเหนือจากขันธ์ ๕ เป็นอันตัดปัญหาเรื่องที่จะมีตัวตนเป็นอิสระอยู่ต่างหาก จากนั้นหันมาแยกขันธ์ ๕ ออกพิจารณาแต่ละอย่างๆ ก็จะเห็นว่า ขันธ์ทุกขันธ์ไม่เที่ยง เมื่อไม่เที่ยงก็เป็นทุกข์ เป็นสภาพบีบคั้นกดดันแก่ผู้เข้าไปยึด เมื่อเป็นทุกข์ ก็ไม่ใช่ตัวตน

 ที่ว่าไม่ใช่ตัวตน ก็เพราะแต่ละอย่างๆ ล้วนเกิดจากเหตุปัจจัย ไม่มีตัวตนของมัน อย่างหนึ่ง เพราะไม่อยู่ในอำนาจ ไม่เป็นของของสัตว์บุคคลนั้นแท้จริง (ถ้าสัตว์บุคคลนั้นเป็นเจ้าของขันธ์ ๕ แท้จริง ก็ย่อมต้องบังคับเอาเองให้เป็นไปตามความต้องการได้ และไม่ให้เปลี่ยนแปลงไปจากสภาพที่ต้องการได้ เช่น ไม่ให้แก่ ไม่ให้เจ็บป่วย เป็นต้นได้) อย่างหนึ่ง


                     

พุทธพจน์แสดงไตรลักษณ์ในกรณีของขันธ์ ๕ มีตัวอย่างที่เด่น ดังนี้
 ภิกษุทั้งหลาย รูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ เป็นอนัตตา  หากรูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ จักเป็นอัตตา (ตัวตน) แล้วไซร้ มันก็จะไม่เป็นไปเพื่ออาพาธ ทั้งยังจะได้ตามปรารถนาในรูป ฯลฯ ในวิญญาณว่า “ขอรูป...ขอเวทนา...ขอสัญญา...ขอสังขาร...ขอวิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย” แต่เพราะเหตุที่รูป ฯลฯ วิญญาณ เป็นอนัตตา ฉะนั้น รูป ฯลฯ วิญญาณจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และใครๆ ไม่อาจได้ตามความปรารถนา ในรูป ฯลฯ วิญญาณว่า “ขอรูป...ขอเวทนา...ขอสัญญา...ขอสังขาร... ขอวิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย”

 ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายมีความเห็นเป็นไฉน?
 รูปเที่ยง หรือไม่เที่ยง ฯ (ตรัสถามทีละอย่าง จนถึง วิญญาณ)
 “ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า”
 ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ หรือเป็นสุข?
 “เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า”
 ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะเฝ้าเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา?
 “ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า”

 ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล รูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ อย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ทั้งภายในและภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ทั้งที่ไกลและที่ใกล้ ทั้งหมดนั้น เธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันถูกต้อง ตามที่มันเป็นว่า “นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่ใช่นั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา

                         

 มีปราชญ์ฝ่ายฮินดูและฝ่ายตะวันตกหลายท่าน พยายามแสดงเหตุผลว่า พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงปฏิเสธอัตตา หรือ อาตมัน ในชั้นสูงสุด ทรงปฏิเสธแต่เพียงธรรมที่เป็นปรากฏการณ์ต่างๆ อย่างเช่นในพระสูตรนี้เป็นต้น ทรงปฏิเสธขันธ์ ๕ ทุกอย่างว่าไม่ใช่อัตตา เป็นการแสดงเพียงว่า ไม่ให้หลงผิดยึดเอาขันธ์ ๕ เป็นอัตตา เพราะอัตตาที่แท้จริงซึ่งมีอยู่นั้น ไม่ใช่ขันธ์ ๕ และยกพุทธพจน์อื่นๆ มาประกอบอีกมากมาย เพื่อแสดงว่าพระพุทธเจ้าทรงปฏิเสธเฉพาะธรรมที่เป็นปรากฏการณ์ต่างๆว่าไม่ใช่อัตตา แต่ทรงยอมรับอัตตาในขั้นสูงสุด และพยายามอธิบายว่า นิพพานมีสภาวะอย่างเดียวกับอาตมัน หรือว่า นิพพานนั่นเอง คือ อัตตา

 เรื่องนี้ ถ้ามีโอกาสจะได้วิจารณ์ในตอนที่เกี่ยวกับนิพพาน ส่วนในที่นี้ขอกล่าวสั้นๆ เพียงในแง่จริยธรรมว่า ปุถุชน โดยเฉพาะผู้ที่ได้รับการศึกษาอบรมมาในระบบความเชื่อถือเกี่ยวกับเรื่องอาตมัน ย่อมมีความโน้มเอียงในทางที่จะยึดถือหรือไขว่คว้าไว้ให้มีอัตตาในรูปหนึ่งรูปใดให้จงได้ เป็นการสนองความปรารถนาที่แฝงอยู่ในจิตส่วนลึกที่ไม่รู้ตัว เมื่อจะต้องสูญเสียความรู้สึกว่ามีตัวตนในรูปหนึ่ง (ในชั้นขันธ์ ๕) ไป ก็พยายามยึดหรือคิดสร้างเอาที่เกาะเกี่ยวอันใหม่ขึ้นไว้ แต่ตามหลักพุทธธรรมนั้น มิได้มุ่งให้ปล่อยอย่างหนึ่ง เพื่อไปยึดอีกอย่างหนึ่ง หรือพ้นอิสระจากที่หนึ่ง เพื่อตกไปเป็นทาสอีกที่หนึ่ง อีกประการหนึ่งพูดฝากไว้สั้นๆ ให้ไปคิดว่า สิ่งที่มีอัตตา ย่อมมีไม่ได้ และสิ่งที่มีได้ ต้องไม่มีอัตตา

 อาการ
ที่สิ่งทั้งหลายมีอยู่ในรูปกระแส มีความสัมพันธ์เนื่องอาศัยเป็นปัจจัยสืบต่อกัน และมีลักษณะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา อย่างไร ยังจะต้องอธิบายด้วยหลักปฏิจจสมุปบาทต่อไปอีก ความจึงจะชัดยิ่งขึ้น



Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04 มิถุนายน 2555 14:31:50 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: ลงใหม่ค่ะ » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 19.0.1084.52 Chrome 19.0.1084.52


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 04 มิถุนายน 2555 14:38:47 »



กระแสวงจรจิต
หลักปฏิจจสมุปบาท

อ่านรายละเอียดหัวข้อ: ปฏิจจสมุปบาท (dependent origination)
http://www.tairomdham.net/index.php/topic,2101.0.html

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 19.0.1084.52 Chrome 19.0.1084.52


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 04 มิถุนายน 2555 14:41:58 »



         

สังขาร,เหตุปัจจัย,ไตรลักษณ์ มีความหมายว่า

สังขาร สิ่งที่ถูกปรุงแต่งขึ้น ซึ่งหลายคนเข้าใจว่า ปรุงแต่งโดยจิต ไม่ถูกครับ
มันเป็นสภาวะที่ใช่แทนอาการของจิตหรือจิต ตัวที่ทำหน้าที่ปรุงแต่งก็คือ กาย ในส่วนที่เรียกว่า
สมอง ซื่งกระบวนการที่ว่าถูกควบคุมด้วยกิเลสสังโยชน์สิบ พวกเราหลายคนเข้าใจว่า
โทสะ โมหะและโลภะเป็นกิเลส มันไม่ใช่ครับ ทั้งสามอย่างนี้มันเป็นอาการของจิต
มันมีผลมาจาก สัญญาสิ่งที่เราไปรับรู้มาสิ่งไหนเป็นกุศลสิ่งไหนเป็นอกุศล ถ้าเราเอาสัญญา
ส่วนดีอาการของจิตก็จะเป็นกุศล เอาส่วนไม่ดีมันก็เป็นอกุศล
ดังนั้นสังขารก็คือ สิ่งที่เราคิดนึกต่างๆ นั้นเอง

เหตุปัจจัย สิ่งที่ทำให้เกิดอีกสิ่งหนึ่ง หรือเรียกว่า เหตุ
อย่างเช่น ความร้อนเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดไอน้ำ ไอน้ำทำให้เกิดเมฆ
การรู้เหตุปัจจัยทำให้เราสามารถแก้หรือดับปัญหาต่างๆที่เรากำลังเผชิญอยู่ได้
ในทางธรรมก็คือการรู้ทุกข์สมุทัย

ไตรลักษณ์เป็นบัญญัติที่ใช้เรียก "ธรรมนิยาม"ครับ ไตรลักษณ์ตั้งชื่อ
ตามลักษณะอาการของธรรมนิยามสามอย่าง คือ ความไม่เที่ยงของสังขาร
ความทุกข์ของสังขาร และความไม่ใช่ตัวตนบังคับไม่ได้ของสังขาร
ส่วนสังขารที่ว่าก็คือ สังขารในข้อแรกนั้นแหล่ะครับ

ลักษณะของธรรมนิยามหรือมาเรียกภายหลังว่าไตรลักษณ์
มีความสำคัญมาก มันมีมาก่อนที่พระพุทธเจ้าจะประสูติเสียอีก
พระพุทธเจ้าไปค้นพบ และนำมาดับเหตุแห่งทุกข์ได้

บัญญัติทั้งสามนี้เราศึกษาและปฏิบัติ เพื่อเอามาแทงตลอดปฏิจสมุบาทได้ครับ
ความหมายก็คือเอามาดับเหตุแห่งทุกข์ ทุกข์ในที่นี้คือ การเกิดใหม่ครับ

**********



ธรรมมี ๒ อย่าง คือ บัญญัติธรรม และ ปรมัตถธรรม

รูป จิต เจตสิก เป็น สังตธรรม ตกอยู่ในกฏของไตรลักษณ์
อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

นิพพาน บัญญัติ เป็นอสังขตธรรม พ้นจากไตรลักษณ์
นิจฺจํ สุขํ อนตฺตา เที่ยง เป็นสุข เป็นอนัตตา

อนิจฺจํ.... องค์ธรรมได้แก่ ......รูปนาม ขันธ์ ๕
ทุกฺขํ...... องค์ธรรมได้แก่..... รูปนามขันธ์ ๕
อนตฺตา.. องค์ธรรมได้แก่.......รูปนาม ขันธ์ ๕ นิพพาน บัญญัติ

ธรรมมี ๒ อย่างคือ สังขตธรรม กับ อสังขตธรรม
*สังขตธรรม*
คือธรรมทั้งหลายที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งด้วยปัจจัย ๔ คือ กรรม จิต อุตุ อาหาร
สังขตธรรมได้แก่ จิต เจตสิก รูป จิต เจตสิก รูป นี้เท่านั้นที่มีลักขณรูป
คือมีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป

*อสังขตธรรม*
คือธรรมทั้งหลายที่ไม่ถูกปรุงแต่งด้วยปัจจัย ๔ อสังขตธรรม ได้แก่นิพพาน บัญญัติ
นิพพานและบัญญัติ ๒ อย่างนี้ ไม่มีลักขณรูปคือไม่การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
สังขตธรรมนี้หมายรวมหมด คือ จิต ๘๙ เจตสิก ๕๒ รูป ๒๘
สังขตธรรมมีทั้งโลกียะ และโลกุตตระ มรรคจิต ๔ ผลจิต ๔
และเจตสิกที่ประกอบนั้นเป็นสังขตธรรม แต่ทำไมเป็นโลกุตตระได้
ที่เป็นโลกุตตระได้เพราะมีนิพพานเป็นอารมณ์
ขณะที่มรรคจิตผลจิตกำลังเกิดอยู่นั้นก็มีจิตตชรูปเกิดด้วย ๒ อย่าง

จิตตชรูปเหล่านี้เป็นสังขตธรรมแต่ไม่เป็นโลกุตตรทั้งๆที่เกิดพร้อมกับโลกุตตรจิต
ทั้งนี้ก็เพราะจิตตชรูปไม่มีพพานเป็นอารมณ์
แต่มรรคจิตผลจิตมีนิพพานเป็นอารมณ์จึงเป็นโลกุตตระได้ สิ่งที่พ้นจากไตรลักษณ์มี ๓ อย่างคือ นิพพาน. บัญญัติ. อากาศ.
สังขตธรรม เรียกอีกอย่างว่า สังขารธรรม สังขารธรรมองค์ธรรมได้แก่ จิต ๘๙ เจตสิก ๕๒
รูป ๒๘ แบ่งออกเป็น ๒ พวกคือ ๑. โลกียสังขารธรรม ๒. โลกุตตรสังขารธรรม

๑.โลกียสังขารธรรม ธรรมที่เป็นสังขารธรรมและเป็นสังขารทุกข์
(หรือสังขารโลก)ด้วย ได้แก่ โลกียจิต ๘๑ เจตสิก ๕๒ รูป ๒๘
๒. โลกุตตรสังขารธรรม ธรรมที่เป็นสังขารธรรม แต่ไม่ใช่สังขารทุกข์
(หรือสังขารโลก) ได้แก่ โลกุตตรจิต ๘ เจตสิก ๓๖
ที่ว่าเป็นสังขารธรรมเพราะมีความเกิดดับ แต่ที่ว่าไม่ใช่สังขารทุกข์หรือ
สังขารโลกนั้นเพราะไม่ใช่ธรรมที่เป็นเหตุให้หมุนเวียนอยู่ในโลกอันเป็นวัฏฏทุกข์

อธิบายสังขารธรรม
สังขารธรรม คือ ธรรมที่มีประจำโลกอยู่แล้ว (คือธรรมชาติ)
จะเป็นมนุษย์ เทวดา รูปพรหม อรูปพรหมก็ตามก็มีสังขารธรรม ตลอดจนถึงโลกุตตรจิตก็เป็นสังขารธรรม จึงกล่าวได้ว่าจิตทั้งหมด เจตสิกทั้งหมด รูปทั้งหมดก็เป็นสังขารธรรม องค์ธรรมทั้งหมดของสังขารธรรมได้แก่จิต ๘๙ เจตสิก ๕๒ รูป ๒๘ ซึ่งแยกเป็นโลกียสังขารธรรม และ โลกุตตรธรรม

โลกียสังขารธรรม องค์ธรรมได้แก่ โลกียจิต ๘๑ เจตสิก ๕๒ รูป ๒๘ หรือมองกว้างๆ คืออบายสัตว์ มนุษย์ เทวดา พรหม อรูปพรหมเป็นสังขารธรรมด้วยเป็นสังขารโลกด้วย(หรือสังขารทุกข์)ด้วยที่เรียกว่าสังขารโลก เพราะจิตเจตสิกพวกนี้เข้าไปรู้สังขารโลกคือสิ่งที่ปรุงแต่ง โลกในที่นี้หมายถึงต้องสลายไป หรือฉิบหายไป รวมความว่า ทั้งตัวอารมณ์ ทั้งผู้รู้อารมณ์ก็ถูกปรุงแต่ง จึงกล่าวว่า โลกียจิต ๘๑ เจตสิก ๕๒ รูป ๒๘ เป็นสังขารธรรมด้วย เป็นสังขารโลก(สังขารทุกข์)ด้วย ทำให้ต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารวัฏฏสงสาร

โลกุตตรจิต ๘ เจตสิก ๓๖ เป็นสังขารเพราะถูกปรุงแต่งก็จริง แต่สิ่งที่ถูกรู้ (หมายถึงตัวอารมณ์)ไม่ใช่สังขารโลก อารมณ์เป็นพระนิพพานซึ่งเป็นวิสังขาร(ที่นอกไปจากสังขาร) ทำให้โลกุตตรจิต ๘ เจตสิก ๓๖ เป็นสังขารธรรมแต่ไม่ใช่สังขารโลกหรือสังขารทุกข์ เพราะอารมณ์ไม่เป็นทุกข์ อารมณ์เป็นพระนิพพาน ทั้งๆที่จิตเจตสิกเองถูกปรุงแต่ง แต่เมื่อมีอารมณ์เป็นพระนิพพาน ตัวสังขารอันนี้ก็เลยไม่เป็ทุกข์ โลกุตตรจิต ๘ เจตสิก ๓๖ จึงเป็นโลกุตตรสังขารธรรม

มีข้อสงสัยว่า พระอรหันต์ก็อยู่ในโลกุตตรจิต รูปของพระอรหันต์ก็อยู่ในโลกียะธรรมเหมือนกันเป็นตัวทุกข์ด้วยหรือ ตอบว่าเป็นตัวทุกข์ด้วย เพราะจิตของพระรหันต์ก็เกิดดับด้วย อารมณ์ก็เกิดดับ จนกว่าจะปรินิพพาน จึงพ้นจากวัฏฏสังสาร แต่กิเลสที่เป็นเหตุให้เกิดต่อไปไม่มีอีกแล้ว


**************

[๗๐๑] ธรรมมีปัจจัย เป็นไฉน?
ขันธ์ ๕ คือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
ธรรมมีปัจจัย.
ธรรมไม่มีปัจจัย เป็นไฉน?
อสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีปัจจัย.
[๗๐๒] ธรรมเป็นสังขตะ เป็นไฉน?
ธรรมที่มีปัจจัยเหล่านั้นอันใดเล่า ธรรมเหล่านั้นนั่นแหละชื่อว่า ธรรมเป็นสังขตะ.
ธรรมเป็นอสังขตะ นั้น เป็นไฉน?
ธรรมที่ไม่มีปัจจัยนั้นอันใดเล่า ธรรมนั้นนั่นแหละชื่อว่า ธรรมเป็นอสังขตะ.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=0

[๔๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขตลักษณะของสังขตธรรม ๓
ประการ ๓ ประการเป็นไฉน คือ ความเกิดขึ้นปรากฏ ๑ ความเสื่อมปรากฏ ๑
เมื่อตั้งอยู่ความแปรปรวนปรากฏ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขตลักษณะของสังขต-
*ธรรม ๓ ประการนี้แล ฯ
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... 8%C3%C3%C1

[๔๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสังขตลักษณะของอสังขตธรรม ๓
ประการนี้ ๓ ประการเป็นไฉน คือ ไม่ปรากฏความเกิด ๑ ไม่ปรากฏความ
เสื่อม ๑ เมื่อตั้งอยู่ไม่ปรากฏความแปรปรวน ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสังขตลักษณะ
ของอสังขตธรรม ๓ ประการนี้แล ฯ
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... 8%C3%C3%C1

[๙๐๗] สังขตธรรม เป็นไฉน?
กุศลในภูมิ ๔ อกุศล วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด
สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า สังขตธรรม.
อสังขตธรรม เป็นไฉน?
นิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า อสังขตธรรม.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... 8%C3%C3%C1


[42189.สังขตธรรม และ อสังขตธรรม]
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=42189&p=295620#p295620

๓. อนิจจสูตรที่ ๑ ว่าด้วยความเป็นไตรลักษณ์แห่งขันธ์ ๕

[๙๑] พระนครสาวัตถี ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์
สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลาย พึงเห็นสิ่งนั้น
ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา. นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา.

เมื่อเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ จิตย่อมคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น
จากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น.
เวทนาไม่เที่ยง ... สัญญาไม่เที่ยง ... สังขารไม่เที่ยง ... วิญญาณไม่เที่ยง
สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา
สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลาย พึงเห็นสิ่งนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา เมื่อเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความจริงอย่างนี้
จิตย่อมคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น.

http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v

ธรรมที่เป็นแม่บทก็คืออริยสัจสี่ ไตรลักษณ์หรือธรรมนิยาม
เป็นส่วนหนึ่งในอริยสัจสี่
เราใช้อริยสัจจ์สี่ไปแทงตลอดปฎิจสมุบาท


*****

สมาทาน ความหมายมันก็ตรงตัวอยู่แล้ว "การรับเอามา"

สมาทานสัมมาทิฐิ ก็คือการเอาสัมมาทิฐิเป็นที่ตั้ง
และความหมายเป็นที่ตั้ง ถ้าเป็นสภาวะก็คืออารมณ์สัมมาทิฐิ

การให้สัมมาทิฐิเป็นอารมณ์ก็เพื่อ เอาอารมณ์นี้ไปพิจารณาธรรมต่างๆ
ตามความเป็นจริง ผลที่ได้จึงจะเป็นอุเบกขา ซึ่งเป็นเหตุปัจจัยของอริยมรรคอีกเจ็ดตัว

การจะเกิดอารมณ์นิพพานได้นั้น อริยมรรคทั้งแปด
ต้องมาประชุมพร้อมกันหรือที่เรียกว่ามรรคสมังคี จนเกิดสัมมาญาณ
จนเป็นปัญญาวิมุติ นี่แหละอารมณ์นิพพาน

สภาวะอันเป็นมรรคสมังคี จึงจะมีนิพพานเป็นอารมณ์


http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=41665&start=45

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 19.0.1084.52 Chrome 19.0.1084.52


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 04 มิถุนายน 2555 14:44:28 »



คู่มือมนุษย์ 8/34
เรื่องไตรลักษณ์ จาก คู่มือมนุษย์ 8/34 (พุทธทาสภิกขุ)



คู่มือมนุษย์ 10/34
ลักษณะของสิ่งทั้งปวง (ไตรลักษณ์) คู่มือมนุษย์ 10/34


บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 19.0.1084.52 Chrome 19.0.1084.52


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: 04 มิถุนายน 2555 14:47:23 »





ลำดับการหลุดพ้น เมื่อเห็นไตรลักษณ์

รูปเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง
สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา,
สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นนั่นไม่ใช่ของเรา
นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา

เธอทั้งหลายพึงเห็นข้อนั้นด้วยปัญญาโดยชอบ
ตรงตามที่เป็นจริงอย่างนี้ ด้วยประการดังนี้
(ในกรณีแห่ง เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ
ก็ตรัสอย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งรูป ทุกประการ)

เมื่อบุคคลเห็นข้อนั้น ด้วยปัญญาโดยชอบ
ตรงตามที่เป็นจริงอย่างนี้,

ปุพพันตานุทิฎฐิ(ความเห็นที่ปรารภขันธ์ในเบื้องต้น
หรือความเห็นที่เป็นไปในส่วนของอดีต
)ทั้งหลาย ย่อมไม่มี

เมื่อปุพพันตานุทิฎฐิไม่มี, 
อปรันตานุทิฎฐิ(ความเห็นที่ปรารภขันธ์ในเบื้องปลาย
หรือความเห็นที่เป็นไปในส่วนของอนาคต)ทั้งหลาย ย่อมไม่มี

เมื่ออปรันตานุทิฎฐิไม่มี,
ความยึดมั่นลูบคลำอย่างแรงกล้าย่อมไม่มี

เมื่อความยึดมั่นลูบคลำอย่างแรงกล้าไม่มี,
จิตย่อมจางคลายกำหนัดในรูป ในเวทนา
ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ

ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย
เพราะไม่มีความยึดมั่นถือมั่น

เพราะจิตหลุดพ้นแล้ว จิตจึงดำรงอยู่
เพราะเป็นจิตที่ดำรงอยู่ จิตจึงยินดีร่าเริงด้วยดี
เพราะเป็นจิตที่ยินดีร่าเริงด้วยดี จิตจึงไม่หวาดสะดุ้ง
เมื่อไม่หวาดสะดุ้ง ย่อมปรินิพพานเฉพาะตน นั่นเทียว

เธอนั้นย่อมรู้ชัดว่า "ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำได้สำเร็จแล้ว
กิจอื่นที่จะต้องปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก




พุทธวัจน์ (คำสอนจากพระโอษฐ์)
- http://www.tairomdham.net/index.php/topic,4941.0/topicseen.html

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 19.0.1084.52 Chrome 19.0.1084.52


ดูรายละเอียด
« ตอบ #5 เมื่อ: 04 มิถุนายน 2555 14:51:32 »





ความสำคัญของปฏิจจสมุปบาท และพระไตรลักษณ์

คติธรรม
จิตมีตัณหาปรุงแต่งเวทนาเป็นเหตุ  เป็นสมุทัย เหตุแห่งทุกข์
ผลของจิตมีตัณหาปรุงแต่งเวทนา   เป็นทุกข์อุปาทาน   
สติเห็นกาย,เวทนา,จิตสังขารหรือธรรม   เป็นมรรคปฏิบัติ 
ผลของสติเห็นกาย,เวทนา,จิต,ธรรม   เป็นนิโรธอันพ้นทุกข์ [พนมพร คูภิรมย์]

กล่าวคือ จิต,อีกทั้งทวารทั้ง๕ ที่ส่งออกไปฟุ้งซ่านปรุงแต่ง
ย่อมเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดการผัสสะ ย่อมยังให้เกิดเวทนาต่างๆขึ้น เป็นธรรมดา
อันเวทนาที่ย่อมเกิดขึ้นเหล่านี้นั่นแล  อาจเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหาขึ้น

อันเป็นปัจจัยให้เกิดทุกข์อุปปาทานอันแสนเร่าร้อนเผาลนกระวนกระวายยิ่งกว่า
ทุกข์โดยธรรมชาติ
อีกทั้งยังประกอบด้วย
การวนเวียนปรุงแต่งเป็นระยะโดยที่ไม่สามารถหยุดได้อีกเสียด้วย

คติธรรมนี้รวบรวมแก่นธรรมอันสําคัญยิ่งทางพุทธศาสนา
อันเมื่อบริกรรม ท่องบ่น  เพื่อเป็นเครื่องรู้  เครื่องระลึก  เครื่องเตือนสติ 
เครื่องพิจารณา อันพึงมีความเข้าใจในความหมายของธรรมเหล่านี้ด้วย 
จึงจักยังผลอันยิ่งใหญ่ อันมี อิทัปปัจจยตา แสดงหลักธรรม

อิทัปปัจจยตาที่มีใจความอันสำคัญยิ่ง อีกทั้งเป็นจริงทุกกาลสมัยว่า
เพราะเหตุนี้มี   ผลเหล่านี้จึงเกิดขึ้น
เพราะเหตุนี้ดับ              ผลนี้จึงดับ

ปฏิจจสมุปบาท : เวทนาเป็นปัจจัยจึงมีตัณหา
หมายถึงเมื่อเกิดเวทนาขึ้นแล้ว อาจเกิดตัณหาชนิดความทะยานอยาก(ภวตัณหา)
หรือความไม่อยาก(วิภวตัณหา)ต่อเวทนาต่างๆที่เกิดขึ้นเหล่านั้น 
เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดความทุกข์ชนิดประกอบด้วยอุปาทานอันแสนเร่าร้อน
เผาลน กระวนกระวายขึ้น สังขาร อันเกิดจาก อาสวะกิเลส
เป็นเหตุปัจจัยร่วมกับ อวิชชา เป็นปัจจัยให้เกิด ทุกข์อุปาทาน
(รายละเอียดใน ปฏิจจสมุปบาท)

อริยสัจ ๔                ทุกข์.. อันมี..
ทุกขอริยสัจ และทุกข์อุปาทาน อันเป็น ทุกข์.. 
สมุทัย.. คือเหตุแห่งทุกข์   นิโรธ.. คือการพ้นทุกข์   
มรรค.. คือทางปฏิบัติ ให้พ้นไปจากทุกข์

สติปัฏฐาน๔ : ทางสายเอก.. ในการปฏิบัติ.. 
อันควรปฏิบัติในการดำเนินชีวิตประจำวัน กล่าวคือ เห็นธรรมใด
คือสติระลึกรู้เท่าทันในธรรมคือในกาย หรือเวทนา หรือจิต หรือธรรม
ใดก่อน ก็ปฏิบัติไปตามธรรมนั้นๆ อันมี..
สติเห็นเวทนา หรือ เวทนานุปัสสนา(สติระลึกรู้เท่าทันในเวทนา) ในสติปัฏฐาน ๔,
อันคือมีสติรู้เท่าทันอย่างเข้าใจในเวทนา

สติเห็นจิต คือจิตตสังขาร(คิด,โทสะ ฯ.) หรือ จิตตานุปัสสนา (สติระลึกรู้
เท่าทันในจิตตสังขาร) ในสติปัฏฐาน๔ อันคือสติรู้เท่าทันอย่างเข้าใจในจิต
ที่หมายถึงจิตตสังขาร(ราคะ, โทสะ, ฟุ้งซ่าน, หดหู่ ฯลฯ หรือความคิด, ความนึก)

สติเห็นกาย หรือ กายานุปัสสนา (สติระลึกรู้เท่าทันในกาย) ในสติปัฏาน๔ อันคือ
ฝึกสติและมีสติรู้เท่าทันอย่างเข้าใจใน กายหรือกายสังขาร เช่น สักว่าธาตุ๔ ฯลฯ.

สติเห็นธรรม ดังเช่น ธรรมานุปัสสนา(สติระลึกรู้เท่าทันในธรรม) ในสติปัฏฐาน๔
หรือสติเห็นปฏิจจสมุปบาท  สติเห็นคือรู้เท่าทันและเข้าใจในธรรมดังกล่าว
เพื่อเป็นเครื่องรู้  เครื่องระลึก  เครื่องเตือนสติ  อีกเพื่อให้เกิดปัญญาญาณ(สัมมาญาณ)
อันสําคัญยิ่งในการปฏิบัติเพื่อการดับไปแห่งทุกข์

เมื่อมีสติรู้เท่าทันในธรรมทั้ง๔ คือกาย หรือเวทนา หรือจิต หรือธรรม
กล่าวคือสิ่งใดสิ่งหนึ่งในธรรมทั้ง๔ นี้ที่บังเกิดขึ้นนั้นๆแล้ว ก็ให้ไม่ยึดมั่น หมายมั่น
ในสิ่งนั้นๆ ดังปรากฏใน สติปัฏฐาน๔ ด้วยอาการของการเป็นกลาง
วางทีเฉย(อุเบกขา) โดยการปฏิบัติก็คือ การไม่เอนเอียงไปแทรกแซงคิดนึกปรุงแต่ง
ในเรื่องหรือกิจที่สติเท่าทันนั้นๆ  แม้ทั้งทางดีหรือชั่ว อันหมายถึงไม่ยึดมั่นถือมั่นใดๆ 

กล่าวคือ
ไม่ไปยึดแม้ทั้งในด้านดี(กุศล)หรือด้านร้าย(อกุศล)ในเรื่องนั้นๆ 
เพราะต่างล้วนเป็นเหตุเป็นปัจจัยกันให้เกิดการปรุงแต่งจนๆเกิดเวทนาต่างๆขึ้น
อันอาจเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา อันยังให้เกิดทุกข์อุปาทาน..
.............. อันเร่าร้อนเผาลนขึ้นในที่สุดโดยไม่รู้ตัว
.........อันดำเนินเป็นไปตามหลักปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง........

หลักปฏิบัติอันสำคัญยิ่งอย่างหนึ่ง และมักเป็นไปกันโดยไม่รู้ตัว คือ
อย่าจิตส่งใน ไปแช่นิ่งหรือเสพรส
และอย่าส่งจิตออกนอก ไปฟุ้งซ่านปรุงแต่ง (เพราะย่อมเกิดการผัสสะ
ให้เกิดเวทนาต่างๆนาๆ  อันเวทนาเหล่านั้นอาจเป็นปัจจัย
ให้เกิดทุกข์อุปาทานขึ้น อันย่อมต้องเป็นไปตามปฏิจจสมุปบันธรรม)


[พนมพร คูภิรมย์] :   http://nkgen.com/1mainpage1024.htm#title

บันทึกการเข้า
คำค้น: พุทธพจน์ แสดงหลัก ไตรลักษณ์ 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 1.168 วินาที กับ 30 คำสั่ง

Google visited last this page 19 ธันวาคม 2567 16:43:45