· ฟังเทศน์ถ้ามีสมาธิในการฟังชื่อว่าเคารพแล้ว อย่าเอาใจส่งไปไร่นาไปที่ไหน ให้ใจอยู่กับเนื้อกับตัว ได้ยินอยู่ที่หู รู้อยู่ที่ใจ ใช้วิจารณาณอยู่ในตัว คบคิดเนื้อหาอยู่กับตัวนั่นแล เรียกว่าได้ความเคารพ
· เห็นเงินหน้าดำ เห็นคำหน้าเศร้า เห็นข้าวตาโต พาโลอยากได้ เป็นคำที่หลวงปู่มักนำมาเตือนพระเณร ไม่ให้ตกเป็นทาสของความโลภ
· โกรธเขาเราทุกข์เองนั่นแหละ ถ้าไม่โกรธก็ไม่ทุกข์ สบาย ฆ่าความโกรธได้อยู่เป็นสุข เราจะชนะความโกรธของเขา ด้วยความไม่โกรธของเรา
· ไม่เผลอ ไม่หลง ไม่ส่ง ไม่ส่าย ไม่วุ่น ไม่วายกับเรื่องใดๆ ทั้งนั้น ก็สบายแฮ อยู่อย่างนั้น...สบาย
· กินหลายบ่หายอยาก (รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส) นอนมากบ่รู้ตื่น รักคนอื่นกว่ารักตัว สิ่งควรกลัวกลับกล้า (ราคะ โทสะ โมหะ) ของสั้นสำคัญว่ายาว (ชีวิต)
· ถ้ามีศรัทธาความเชื่อมั่นแล้ว ทำให้ไม่ลำบากในการบำเพ็ญกุศล เพราะไม่มีสิ่งมากีดขวาง
· สัปปายะ ๕ ได้แก่ อาหารเป็นที่สบาย อากาศเป็นที่สบาย เสนาสนะเป็นที่สบาย บุคคลเป็นที่สบาย ธรรมะเป็นที่สบาย ท่านว่าอยู่ได้ มีโอกาสเจริญจิตตภาวนาไปได้สะดวก
· เมื่อใจสงบลงไปแล้ว จะเห็นบาปเป็นบาป เห็นบุญเป็นบุญ
· ถ้าจะสึก ตัวเป็นโยมแต่ใจเป็นพระได้ไหม มักน้อย ไม่แสวงหา ไม่แต่งตัว ไม่ห่วงหล่อ ห่วงสวย ถ้าไม่ได้ก็อยู่อย่างนี้ดีกว่า (อย่าสึกดีกว่า)
· เวลาภาวนา ต้องไม่มีตัวไม่มีตน ไม่มีอะไร เป็นอาการว่างไปหมด แต่ความรู้ไม่ว่างให้ย้อนเข้ามาพิจารณาธรรมะว่า เราตกอยู่ในกองทุกขัง อนิจจัง อนัตตา เราเป็นผู้รู้ผู้เดียว แม้ที่สุดก็ไม่มีเราในรู้นั้น ไม่ยึดมั่นยึดถืออะไรอีก วางหมด มันเบาไม่หนักแล้ว
· ความโมโหพาตัวตกต่ำ อย่าไปโมโหโกรธผู้อื่น มันเป็นไฟ มันจะไหม้หัวใจเจ้าของเอง ถ้าเขาไม่ดีมันเป็นเรื่องของเขา ไม่ใช่เรื่องของเรา
· ทำทานแล้วต้องรักษาศีลด้วย เหมือนเอาถ้วยชามมาใส่ของ ใส่อย่างเดียว ไม่ล้างถ้วยล้างชามก็ไม่น่าใช้
· นัตถิ สันติ ปะรัง สุขัง สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี ทำใจให้เป็นไปอย่างนั้นเด้อ
· ขันธ์ทั้งห้าเป็นภาระอันหนัก ต้องรู้จักวาง รู้จักเฉยซะ หากเราวางได้ จะเบากายเบาใจอย่างยิ่ง
· ถ้าท่านรู้ตัวท่านดีกว่าท่านไม่ได้ผิด ก็ไม่ต้องเกรงกลัวอะไรทั้งนั้น ไม่เห็นจะต้องหวั่นไหวอะไรเลย ต่อให้คนทั้งโลกจะชี้หน้าว่าผิดแม้ตัวผมเอง (หลวงปู่ชี้นิ้วเข้าหาหลวงปู่ก็ไม่ต้องหวั่นไหว)
· ไม่ว่าใครจะพูดอย่างไร ทำอย่างไรกับเรา อย่าหวั่นไหว เฉยไว้ก็ดีเองๆ
· เห็นธรรม คือ เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทำอย่างไรเราจะพ้นจากกองทุกข์ เห็นว่าของทุกอย่างไม่ใช่เรา เป็นอนัตตา แม้ร่างกายที่อยู่ร่วมกันก็ไม่ใช่เราเลย มันอยากเจ็บมันก็เจ็บ มันอยากแก่มันก็แก่ มันอยากตาย มันก็ตาย ห้ามมันไม่ฟัง ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นไม่กลัวตาย ตายเมื่อไรช่างมัน ทำความดี...ดีกว่าคำสอนหลวงปู่ท่อนนี้ได้มาจากหนังสือเล่มเล็กๆ ซึ่งได้รับแจก
ชื่อว่า บันทึกธรรมจากหลวงปู่
-ได้จากบ้านผดุงธรรม แถวแจ้งวัฒนะ
ที่มา
http://www.dhammajak.net/http://variety.thaiza.com/ธรรมโม+33+1.htmlhttp://www.tairomdham.net/index.php/topic,1562.0.html