อาหารที่ใช้เป็นวัตถุดิบที่หาได้ในท้องถิ่นราคาถูกๆ แรงงานก็ราคาถูก ไม่ใช่ 300 บาทเหมือนบ้านเรา
ปลาดอลลี่ ปลาที่ต้มคนไทยจนสุก ที่แท้ก็ปลาสวายธรรมดา
บ่อดินที่ใช้เลี้ยงปลาสวายก็ติดกับแม่น้ำ ทำให้สามารถถ่ายน้ำเข้าออกได้ตลอดเวลา เพราะมีน้ำขึ้นน้ำลงทุกวัน
ภาพนี้ผมถ่ายด้วยตนเอง แสดงให้เห็นว่าบ่อเลี้ยงปลาสวายอยู่ติดแม่น้ำ สามารถระบายน้ำเข้าออกได้ตลอดเวลา
โดยอาศัยน้ำขึ้นน้ำลง (ไม่ต้องใช้พลังงานเครื่องสูบน้ำ) ทำให้บ่อสะอาด
ผมถ่ายภาพขณะนั่งรถยนต์มองเห็นชัดเจนว่าบ่อเลี้ยงปลาที่ "เมืองเกิ่นเถอ" ประเทศเวียดนามอยู่ติดแม่น้ำ
ปลาดอลลี่ ปลาที่ต้มคนไทยจนสุก ที่แท้ก็ปลาสวายธรรมดา
เมือง Can Tho (เกิ่น เถอ) อยู่ใกล้ทะเลจึงหาอาหารปลาได้ในราคาถูก แถมยังมีน้ำขึ้นน้ำลง
ช่วยให้ถ่ายน้ำเข้าออกจากบ่อเลี้ยงปลาได้อย่างสบายๆ
อุตสาหกรรมของเขาครบวงจรตั้งแต่เพาะลูกปลา เลี้ยงให้โต และแปรรูปเป็นเนื้อชิ้นที่สวยงาม และส่งออก
ผมไปร่วมประชุมที่เมือง Can Tho Vietnam
ผู้เชี่ยวชาญด้านประมงน้ำจืดจากกรมประมงที่ทำงานอยู่กับสำนักงานใหญ่คณะกรรมมาธิการแม่น้ำโขง
ดร.สุชาติ อิงธรรมจิตร์ (เสื้อสีน้ำเงิน) และ ดร.นฤพล สุขุมาสวิน (เสื้อขาว) จากสำนักผู้เชี่ยวชาญกรมประมง
แสดงการกิน "ปลาสวายเนื้อขาว" ที่ร้านอาหารในเมืองเกิ่นเถอ ทั้งสองด๊อกเตอร์ยืนยันว่า
นี่คือปลาสวายธรรมดา ไม่ใช่ปลาเผาะอย่างที่หลายท่านเข้าใจ
ดูกันชัดๆว่านี่คือ "ปลาสวายธรรมดา" แต่เวียดนามเขาสามารถเลี้ยงให้มีเนื้อสีขาวอมชมพู
ผมถ่ายภาพนี้กับมือตัวเอง
ทำอาหารต้มยำอร่อยมาก ภาษาเวียดนามพูดว่า "อันก้า งอนหลำ"
ผมได้พบกับ ดร.นฤพล สุขุมาสวิน จากสำนักผู้เชี่ยวชาญกรมประมง อีกครั้งหนึ่งเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2556
ในคราวประชุมเกี่ยวกับตัวชี้วัดเพื่อประเมินโครงการเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ ที่จังหวัดอุดรธานี
ท่านด๊อกเตอร์นฤพลฯ เล่าให้ฟังว่ากรมประมงได้ขอความร่วมมือกับ อย.
เพื่อสั่งให้เอกชนที่นำเข้าปลาสวายเนื้อขาวจากเวียดนาม ภายใต้ชื่อการค้าว่า "ปลาดอร์ลี่"
ให้ระบุในฉลากว่านี่คือ "ปลาสวายธรรมดา" แต่เอกชนเขาหัวการค้าเลยใส่ชื่อวิทยาศาสตร์ในฉลาก
ว่า Pangasius hypopthalmus แล้วพี่ไทยตาดำทั่วไปจะรู้ไม้เนี่ยว่าเจ้าชื่อวิทยาศาสตร์นี่
คือปลาสวายธรรมด๊า....ธรรมดา ผิดกับกฏหมายอเมริกันที่เขาให้ระบุในฉลากว่า
"ปลาเลี้ยงในฟาร์ม นำเข้าจากเวียดนาม" (Farm Raised......Product of Vietnam)