30 พฤศจิกายน 2567 13:39:53
ยินดีต้อนรับคุณ,
บุคคลทั่วไป
กรุณา
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
1 ชั่วโมง
1 วัน
1 สัปดาห์
1 เดือน
ตลอดกาล
เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
หน้าแรก
เวบบอร์ด
ช่วยเหลือ
ห้องเกม
ปฏิทิน
Tags
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
ห้องสนทนา
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!
[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
สุขใจในธรรม
เสียงธรรมเทศนา - เอกสารธรรม - วีดีโอ
เอกสารธรรม
.:::
ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า "พระธรรมทุกข้อตกอยู่ในกลุ่มอริยสัจ ๔"
:::.
หน้า: [
1
]
ลงล่าง
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
พิมพ์
ผู้เขียน
หัวข้อ: ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า "พระธรรมทุกข้อตกอยู่ในกลุ่มอริยสัจ ๔" (อ่าน 2116 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 7493
ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 27.0.1453.116
ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า "พระธรรมทุกข้อตกอยู่ในกลุ่มอริยสัจ ๔"
«
เมื่อ:
23 มิถุนายน 2556 00:20:03 »
Tweet
ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า
ที่มา
: หนังสือ ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า
โดย
ภัทรวรรณ วันทนชัยสุข
"พระธรรมทุกข้อตกอยู่ในกลุ่มอริยสัจ ๔"
พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้อริยสัจ ๔ ประการ (อริยสัจ มีความหมายถึง ความจริงอย่างประเสริฐ, ความจริงของพระอริยะ, ความจริงที่ทำให้คนเป็นพระอริยะ มี ๔ อย่างคือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) ดังนั้น คำสอนในทางพระพุทธศาสนาจึงเป็นเรื่องของอริยสัจทั้ง ๔ แต่ที่ทรงแสดงออกไปพิศดารมากจนถึง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ อย่างที่ท่านว่าไว้ เพราะอัธยาศัยของผู้ฟังแตกต่างกันนั้นเอง การที่ท่านสรุปพระธรรมทั้งมวลลงในอริยสัจนั้น หมายความว่า พระธรรมแต่ละข้อที่ทรงแสดงนั้นจะต้องอยู่ในกลุ่มของอริยสัจ ๔ ไม่ข้อใดก็ข้อหนึ่ง คือ
๑. กลุ่มทุกขสัจ
กลุ่มทุกขสัจ ได้แก่กลุ่มที่เป็นปริญญาตัพพธรรม
คือธรรมที่ต้องศึกษาให้รู้
เพื่อ
กำหนด
ให้รู้ว่า
อะไรเป็นอะไร เป็นธรรมกลุ่มที่
เป็นผล
มาจาก
กิเลส
จำต้องศึกษาให้รู้ไว้
ในด้านประเภท ฐานะ ภาวะ ลักษณะของธรรมเหล่านั้น
แต่ไม่อาจที่จะแก้ไขอะไรได้
ธรรมกลุ่มนี้ เช่น
ผัสสะอันมีอาสวะ เป็นที่ตั้งแห่งอุปทาน นามรูปได้แก่
รูป ๑ นาม ๔
คือ
รูปขันธ์
กองรูปได้แก่รูป ๒๘ มี ดิน น้ำ ลม ไฟ เป็นต้น
ส่วน
นาม ๔
ได้แก่
เวทนาขันธ์ คือกองเวทนา ได้แก่ เวทนาเจตสิก สัญญาขันธ์ คือสัญญาเจตสิก สังขารขันธ์ กองสังขาร ได้แก่ จิต ๘๙ ดวง
อาหาร ๔
คือ กวฬิงการาหาร อาหารที่กลืนกินเข้าไปทางปาก ผัสสาหาร อาหารคือผัสสะ วิญญาณาหาร อาหารคือ วิญญาณ มโนสัญเจตนาหาร อาหารคือ มโนสัญเจตนา
อายตนะภายใน
๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
โลกธรรม ๘
คือ มีลาภ เสื่อมลาภ มียศ เสื่อมยศ นินทา สรรเสริญสุข ทุกข์
อายตนะ ๘
คือ ตากับรูป หูกับเสียง จมูกกับกลิ่น ลิ้นกับรส โผฏฐัพพะกับกาย ใจกับอารมณ์ (โผฎฐัพพะ มีความหมายถึง อารมณ์ที่จะพึงถูกต้องด้วยกาย , สิ่งที่ถูกต้องกายเช่น เย็น ร้อน อ่อน แข็ง เป็นต้น)
วิญญาณฐิติ ๗
คือที่ตั้งแห่ง
วิญญาณ
อันเกิดขึ้นด้วยการถือปฎิสนธิใน
กำเนิด ๔
ได้แก่
๑. สัตว์ที่มีร่างกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน เช่น มนุษย์ เทวดาบางพวก วินิบาตบางพวก (วินิบาต มีความหมายถึงสัตว์ในนรกหรืออสุรกาย)
๒.สัตว์ที่มีกายต่างกัน มีสัญญาเหมือนกัน ได้แก่ เทพผู้เกิดในชั้นพรหม ด้วยอำนาจปฐมฌาน และสัตว์ที่เกิดในอบายภูมิ ๔
๓. สัตว์ ที่มีกายเหมือนกัน มีสัญญาต่างกัน ได้แก่พรหมชั้นอาสัสรา (พรหมโลกชั้นที่ ๖ จากที่อยู่ของพรหมซึ่งมีทั้งสิ้น ๑๖ ชั้น)
๔. สัตว์ที่มีกายเหมือนกัน มีสัญญาเหมือนกัน ได้แก่ พรหมชั้น สุภกิณหะ (พรหมโลกชั้นที่ ๙ จากที่อยู่ของรูปพรหม ซึ่งมีทั้งสิ้น ๑๖ ชั้น)
ประเภทที่ ๕ ที่ ๖ และ ๗ ได้แก่ ท่านที่เกิดใน
อรูปภูมิ
ด้วยกำลังแห่ง
อรูปฌาน
และมีชื่อตามฌานข้อนั้น ๆ
แม้ประเภทแห่งทุกข์ที่ทรงแสดงใน
อริยสัจ ๔
คือ ชาติ ชรา มรณะ เป็นต้น ก็อยู่ในกลุ่มของ
รูป
ที่จะต้อง
กำหนด
รู้
กล่าวโดยสรุป ธรรมในกลุ่มนี้คือพวกที่เป็น "
ธรรมชาติอันเป็นไป
ตามอำนาจ
แห่งธรรมดา
" ทั้งหลายนั้นเอง
๒.กลุ่มสมุทัยสัจ
กลุ่มสมุทัยสัจ ที่เรียกว่า ปหานตัพพธรรม คือธรรมที่เรียนให้รู้แล้วควรละ อันได้แก่พวกกิเลสทั้งหลาย ซึ่งมีชื่อเรียก
ตามอาการ
ของกิเสส เหล่านั้น เช่น
อัสสมิมานะ
ความยึดถือขันธ์ ๕ ว่า เป็นตัวตน หรือมีตัวตน เป็นต้น
อวิชชา ๘
คือ ความไม่รู้ทุกข์ ไม่รู้สมุทัย ไม่รู้นิโรธ ไม่รู้มรรค ความไม่รู้อดีต ความไม่รู้อนาคต ไม่รู้ทั้งอดีตและอนาคต และไม่รู้ปฏิจจสมุปบาท (การที่ทุกข์เกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัยต่อเนื่องกันมา)
ตัณหา ๓
คือ "
กามตัณหา
" ความทะเยอทะยานอยากได้ในวัตถุกามด้วยอำนาจของกิเลสกาม "
ภวตัณหา
" ความอยากมีอยากเป็นต่าง ๆ ด้วยอำนาจ
สัสตทิฏฐิ
(ความเห็นว่าเที่ยง คือ ความเห็นว่าอัตตาและโลก เป็นสิ่งเที่ยงแท้ยั่งยืน คงอยู่ตลอดไป) "
วิภวตัณหา
" ความทะเยอทะยานอยากในความไม่มีไม่เป็นจนถึงอยากขาดสูญไปเลยด้วยอำนาจของ
อุจเฉททิฏฐิ
(ความเห็นว่าขาดสูญ เช่น เห็นว่าคนและสัตว์จุติจากอัตภาพนี้แล้วขาดสูญ) และตัณหาใน
อายตนะภายนอก ๖
คือ ตัณหาทั้ง ๓ ประการที่เกิดในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมมารมณ์ (อารมณ์ทางใจ , สิ่งที่ใจนึกคิด)
นิวรณ์
คือสิ่งที่กั้นจิตคนไว้มิให้บรรลุความดี ท่านเรียกว่านิวรณ์มี ๕ ประเภทคือ
๑. กามฉันทะ คือความรักใคร่ชอบใจในวัตถุกามทั้งหลายมีรูปเป็นต้น
๒. พยาบาท คือ ความอาฆาตพยาบาท มุ่งจองล้างจองผลาญต่อคน สัตว์ที่ตนไม่ชอบ
๓. ถีนมิทธะ คือการเคลิบเคลิ้ม ง่วงนอน หงอยเหงา คร้านกายคร้านใจ
๔.อุทธัจจกุกกุจจะ คือความฟุ้งซ่านซัดส่ายของใจจนเกิดความรำคาญ
๕. วิจิกิจฉา คือ ความลังเลสงสัยไม่มั่นใจ ตัดสินใจในเรื่องอะไรไม่ได้
โอฆะ
กิเลสที่เป็นดุจห้วงน้ำ ห้วงน้ำคือกาม ห้วงน้ำคือภพ ห้วงน้ำคือความเห็นผิด และห้วงน้ำคืออวิชชา บางคราวเรียกว่า คันถะเพราะทำหน้าที่ร้อยรัดจิตเรียกว่า อาสวะ เพราะหมักหมมอยู่ภายในจิต
อนุสัย
คือ กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ภายในจิต คือกามราคะ (ความกำหนัดในกาม) ปฏิฆะ (ความกระทบกระทั่งแห่งจิต ได้แก่ ความที่จิตหวุดหวิดด้วยอำนาจโสทะ) ทิฏฐิ (ความเห็นผิด) วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย) มานะ (ความถือตัวถือตน) ภวราคะ (ความกำหนัดในภพ)และอวิชชา (ความไม่รู้ตามความเป็นจริง)
มิจฉัตตะ ๘
คือความเห็นผิด ความดำริผิด การพูดผิด การทำงานงานผิด การเลี้ยงชีวิตผิด ความพยายามผิด การตั้งสติผิด ความตั้งใจมั่นผิด
กิเลสทั้งหลายที่ปรากฏแก่จิต ซึ่งเมื่อกล่าวโดยสรุปแล้ว ได้แก่
อกุศลมูล ๓ ประการ
คือ
โลภ โกรธ หลง
โดยมีรากใหญ่ของกิเลสอยู่ที่
อวิชชากับตัณหา
๓.กลุ่มของนิโรธสัจ
กลุ่มของนิโรธสัจ ที่เรียกว่า
สัจฉิกาตัพพ
ธรรม
คือ ธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ซึ่ง
เป็นผล
ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติตาม
ไตรสิกขา
คือ
สมาธิ
ปัญญา
เช่น
เจโตวิมุติ
คือการหลุดพ้นจากอำนาจของกิเลส ด้วยการบำเพ็ญเพียรทางจิตจน บรรลุฌานแล้วเจริญวิปัสสนาต่อ และ
ปัญญาวิมุตติ
คือ จิตที่หลุดพ้นด้วยการเจริญวิปัสสนาอย่างเดียว จนบรรลุอรหัต
วิมุตติ ๕
คือ ความหลุดพ้นจาก
อำนาจ
ของกิเลส ๕ ระดับ
คือ
๑. ตทังควิมุตติ คือ หลุดพ้นด้วยองค์นั้น ๆ เช่น เกิดโกรธขึ้นมาห้ามความโกรธไว้ได้
๒. วิกขัมภนวิมุตติ คือ หลุดพ้นจากกิเลสด้วยกำลังแห่งฌานที่ได้บรรลุ
๓. สมุจเฉทวิมุตติ คือ หลุดพ้นจากอำนาจกิเลสอย่างเด็ดขาดโดยกิเลสไม่กำเริบอีกต่อไป
๔. ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ คือ ความหลุดพ้นจากกิเลสอย่างสงบราบคาบ
๕. นิสสรณวิมุตติ คือ จิตที่หลุดพ้นจากอำนาจกิเลสด้วยการออกไปคือ นิพพาน
สามัญญผล
คือ ผลแห่งการบวชหรือจากความเป็นสมณะ ๔ ได้แก่โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล และอรหัตตผล
ธรรมขันธ์ ๕
คือ การทำให้แจ้งในกองแห่งศีล สมาธิ ปัญญา และ วิมุตติ ในกรณีที่เป็นผล
อภิญญา ๖
คือว่ารู้ยิ่งหรือความรู้พิเศษ อันเกิดจากเหตุมีความสงบจากกิเลส เป็นต้น ได้แก่
๑. อิทธิวิธี การแสดงฤทธิ์ ได้ คือความสำเร็จที่เกิดจากจิตสงบบ้างกรรมบ้าง วิชาบ้าง
๒.ทิพพโสต หูทิพย์ คือสามารถฟังเสียงเบา หนัก ไกลใกล้ได้ตามความต้องการ
๓.เจโตปริยญาณ รู้ความคิด สภาพจิตของคนอื่นได้ว่า ขณะนั้น เขามีความคิดต้องการอะไรเป็นต้น
๔.ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ความรู้ที่ทำให้ระลึกชาติต่าง ๆ ย้อนหลังไปในอดีตได้
๕. ทิพพจักขุ ตาทิพย์ คือสามารถมองเห็นภาพที่ปรากฏในที่ต่าง ๆ ได้ตามต้องการ
๖. อาสวักขยญาณ ญาณที่ทำอาสวะให้หมดสิ้นไป
อนุบุพพวิหาร ๙
คือ รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ และสัญญาเวทยิตนิโรธ (การดับสัญญาและเวทนา เป็นสมาบัติคือ ภาวะสงบ ประณีตซึ่งพึงเข้าถึง)
อเสกขธรรม
คือ ธรรมที่เป็นของพระอเสขะ ๑๐ ประการ (อเสขะมีความหมายถึง ผู้ไม่ต้องศึกษาเพราะศึกษาเสร็จสิ้นแล้ว ได้แก่บุคคลผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตผล คือ พระอรหันต์) คือ มรรคมีองค์ ๘ ประการ กับสัมมาญาณ (รู้ชอบ ได้แก่ผลญาณ) และสัมมาวิมุตติ (พ้นชอบ ได้แก่อรหัตตผลวิมุตติ) ที่เป็นผลถาวรอยู่ภายในใจของพระอรหันต์ทั้งหลาย
ธรรมกลุ่มที่เป็นสักฉิกาตัพธรรมนี้ เมื่อกล่าวโดยสรุปได้แก่ผลในชั้นต่าง ๆที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ตามหลักธรรมที่ทรงแสดงไว้ แม้องค์ธรรมจะชื่อเหมือนกัน แต่ในกลุ่มนี้ท่านหมายเอาตัวผลเช่นตัวความรู้ที่เกิดจากการเรียน ซึ่งเป็นผลถาวรที่ติดอยู่ในใจคน
๔.กลุ่มทุกขนิดโรธคามินีปฏิปทา
กลุ่มทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความสงบระงับแห่งทุกข์ ท่านเรียกกลุ่มนี้ว่า ภาเวตัพพธรรม คือ ธรรมที่ต้องลงมือกระทำบำเพ็ญให้บังเกิดขึ้น เช่น
วิสุทธิหรือปาริสุทธิ ๙ ประการ
ได้แก่
๑. สีลวิสุทธิ คือความบริสุทธิ์ หมดจดแห่งศีล ตามสมควรแก่ฐานะของบุคคล
๒. จิตตวิสุทธิ คือ ความหมดจดแห่งจิต คือจิตที่สงบจากนิวรณธรรม (สิ่งที่ขัดขวางจิตไม่ให้ก้าวหน้าในคุณธรรม) ทั้ง ๕ ประการเป็นต้น
๓.ทิฏฐิวิสุทธิ คือ ความบริสุทธิ์หมดจดแห่งความเห็นคือ เกิดความรู้เห็นตามความเป็นจริง
๔. กังขาวิตรณวิสุทธิ คือ ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องข้ามพ้นความลังเลสงสัย
๕.มัคคามัคคญาณทัสสวิสุทธิ คือ ความหมดจดแห่งญาณที่ช่วยให้รู้ว่าอะไรเป็นทางหรือไม่ใช่ทาง
๖. ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ คือ ความหมดจดแห่งความรู้ความเห็นซึ่งปฏิทาในการปฏิบัติ
๗. ญาณทัสสนวิสุทธิ คือ ความหมดจดแห่งความรู้ความเห็นอันเป็นผลแห่งการปฏิบัติ
๘. ปัญญาวิสุทธิคือ ความบริสุทธิ์แห่งปัญญาเครื่องรู้
๙. วิมุตติวิสุทธิคือ ความบริสุทธิ์แห่งความหลุดพ้นจากเพลิงกิเลสและเพลิงทุกข์
อริยมรรคมีองค์ ๘ ประการ คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ คือ ปัญญาอันเห็นชอบ ได้แก่ เห็นอริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
๒. สัมมาสังกัปปะ คือความดำริชอบได้แก่ ดำริในการออกจากกามดำริในการไม่พยาบาท และดำริในการไม่เบียดเบียน ๒ ข้อนี้จัดเป็นปัญญาสิกขา
๓. สัมมาวาจา คือ การเจรจาชอบ คือเว้นจาการพูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบและเพ้อเจ้อ
๔. สัมมากัมมันตะ คือ การทำงานชอบคือการเว้นจาการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม
๕. สัมมาอาชีวะ คือ การเลี้ยงชีพชอบ คือการละมิจฉาชีพดำรงชีวิตอยู่ด้วยสัมมาชีพอันถูกต้องตามกฎหมาย ศีลธรรม หน้าที่ฐานะและภาวะของแต่ละบุคคล ๓ ข้อนี้ จัดเป็นสีลสิกขา
๖. สัมมาวายามะ คือ ความพยายามชอบ ได้แก่ พยามสำรวมระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้นในสันดาน พยายามละบาปที่เกิดขึ้นแล้วพยายามทำกุศลให้เกิดขึ้นในสันดาน พยายามรักษากุศลที่เกิดขั้นแล้วไม่ให้เสื่อมไป
๗. สัมมาสติ คือความระลึกชอบ ได้แก่ การระลึกถึงกาย เวทนา จิต ธรรมอันนำไปสู่ความสงบจิต จนเกิดปัญญาเห็นประจักษ์ชัดว่า กายเวทนา จิต ธรรม นี้ก็สักแต่ว่า กาย เวทนา จิต ธรรม ไม่ใช่ สัตว์ บุคคล ตัว ตน เรา เขา ก็เรียกกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน เวทนานุปัสสนาสติปัฎฐาน จิตตานุปัสสนาสติปัฎฐาน ธัมมานุปัสสนาสติ ปัฎฐาน
๘. สัมมาสมาธิ คือ ความตั้งใจมั่นชอบ ได้แก่ ความสงบจิตอันเกิดจาก ผลแห่งสมถกรรมฐานจนบรรลุฌาน ๔ คือ ปฐมฌาน ทุติฌาน ตติฌาน จตุตถฌาน
เมื่อบุคคลปฏิบัติตาม
อริยมรรคมีองค์ ๘ ประการ
ให้บริบูรณ์แล้วจะเกิดฌานคือความรู้ขึ้น เรียกว่า สัมมาญาณ อันเป็นองค์อริยมรรคที่แท้จริง จิตของท่านผู้นั้นก็เข้าถึงสัมมาวิมุตติ คือ หลุดพ้นจากอำนาจของกิเลสและทุกข์โดยชอบ อันเป็นหลักการสูงสุดในทางพระพุทธศาสนาพระธรรมที่มีชื่ออย่างอื่นอันทรงแสดงไว้โดยพิศดารที่กล่าวกันว่ามีถึง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์นั้น เมื่อจัดเป็นกลุ่มธรรมแล้ว จะสงเคราะห์เข้าใน
กลุ่มธรรมทั้ง ๔ ประเภท
นี้ได้ทั้งหมด ซึ่งผู้ศึกษาจนเข้าใจแล้วสามารถสงเคราะห์ได้ด้วยตนเอง
"
ลักษณะแห่งธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน
"
พระธรรมคือ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านั้น เมื่อกล่าวโดยลักษณะท่านจัดออกเป็น ๔ ลักษณะ คือ
๑. สวากขาตธรรม เป้นพระธรรมอันพระบรมศาสดาทรงแสดงไว้ดีแล้วทั้งที่เป็นกุศล อกุศล และอัพยากฤต (เป็นกลาง ๆ ไม่มีไม่ชั่วไม่ใช่กุศลไม่ใช่อกุศล) เป็นพระธรรมอันมีความงามในเบื้องต้น ท่ามกลางที่สุด สมบูรณ์ด้วยอรรถะและพยัญชนะ
๒. สัลเลขธรรม เป็นพระธรรมที่ทำน้าที่ขัดเกลาจิต หรือบาปอกุศลให้ออกไปจากจิต ตามคุณสมบัติแห่งองค์ธรรมนั้น เช่น ปัญญาขจัดความโง่เขลา เมตตาขจัดความพยาบาทความโกรธ เป็นต้น
๓. นิยยานิกธรรม เป็นธรรมที่นำสัตว์ผู้ปฏิบัติ ให้ออกจากอำนาจของกิเลส ทุกข์ และสังสารวัฎ นำออกจากเวรภัยในปัจจุบัน
๔. สันติธรรม เป็นพระธรรมที่ก่อให้เกิดสันติสุขในชั้นนั้น ๆ ตามสมควรแก่ธรรมที่บุคคลได้เข้าถึงและปฏิบัติตาม จนถึงสันติสุขอย่างยอดเยี่ยมคือนิพพาน ดังที่ทรงแสดงไว้ว่า
นตฺถิ สนติ ปรํ สุขํ (สุขอื่น
ยิ่งกว่าความสงบไม่มี
)
อย่างไรก็ตาม พระธรรมทั้งมวลที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้นั้นทรงแสดงว่า
เป็นธรรมที่มีอยู่เป็นอยู่อย่างนั้น
คือจะเป็นกุศล อกุศลและอัพยากฤต และแม้แต่มรรคผลนิพพาน เป็น
ธรรมฐิติ ธรรมนิยาม
คือพระพุทธเจ้าจะเกิดขึ้นหรือไม่ก็ตาม
พระธรรม
คงมีสภาพ
เป็นอย่างนั้น พระองค์ได้ทรง
ค้นพบ
ธรรมเหล่านี้ นำมาเปิดเผย
ชี้แจงแสดงแก่โลก
ตามความเป็นจริงแห่งธรรมเหล่านั้น
หน้าที่ ของพระองค์
ในฐานะผู้ค้นพบคือ
ทรงแสดง
ธรรมเหล่านั้นให้ฟัง
อันเป็นการ
ชี้บอกทางที่ควรเดินและควรเว้น
ให้เท่านั้น ส่วนการประพฤติปฏิบัติเป็น
หน้าที่ของผู้ฟัง
จะต้องลงมือทำด้วยตนเอง อำนาจในการดลบันดาล การสร้างโลก เป็นต้น จึงไม่มีในพระพุทธศาสนา
อันที่จริงการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้านั้น ทำให้พระองค์ทรงเป็นสัพพัญญู คือ ทรงรู้สรรพสิ่งตามความเป็นจริง แต่ในการสอนนั้นทรงมีหลักการสอนดังกล่าวแล้วคือ ทรงมุ่งไปที่คนนั้น ๆ จะได้รับประโยชน์สามารถเกื้อกูลและอำนวยความสุขให้แก่ผู้ฟัง ธรรมที่พระองค์นำมาสอนจึงมีน้อย อุปมาเหมือนใบไม้ในป่ากับใบไม้ในฝ่ามือ คือที่ทรงรู้นั้นมากเหมือนใบไม้ในป่า แต่ที่ทรงนำมาสั่งสอนนั้นเหมือนใบไม้ในกำมือเท่านั้น
"
หลักธรรม ๓ เรื่อง
ที่มีประโยชน์ต่อชีวิตประจำวันมาก"
พระพุทธเจ้าได้เทศนาสั่งสอนประชาชนหลังจากตรัสรู้แล้วเป็นเวลาถึง ๔๕ ปี พระธรรมคำสั่งสอนของพระองค์จึงมีมากมายรวมเรียกว่า
พระไตรปิฎก
มีเนื้อความทั้งหมด ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์
อันประกอบด้วย พระวินัยปิฎก (๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์) พระสูตร หรือ พระสุตตันตปิฎก(๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์) พระอภิธรรมปิฎก (๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์) เป็นหนังสือภาษาบาหลีจำนวน ๔๕ เล่ม และแปลเป็นภาษาไทยออกมาได้ ๘๐ เล่มขนาดใหญ่
หลักธรรม ๓ เรื่อง
ที่มีประโยชน์ต่อชีวิตประจำวันมากคือ
๑. ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร หรือปฐมเทศนา ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงแสดงโปรดพระปัญจวัคคีย์ (มี ๕ องค์ คือ อัญญาโกณฑัญญะ, วัปปะ, ภัททิยะ, มหานานะ,อัสสชิ) เป็นครั้งแรกจนทำให้ท่านอัญญาโกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรม อันแสดงว่าการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าอาจ อาจมีผู้สามารถรู้ตามได้ ในสูตรนี้พระองค์ทรงแสดงอริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ ๑ เหตุให้เกิดทุกข์ ๑ การดับทุกข์ ๑ และทางที่จะดำเนินไปสู่ความดับทุกข์ ๑ ซึ่งทางที่จะดำเนินไปสู่ความดับทุกข์นี้ เรียกกันว่า มัชฌิมาปฏิปทา หรือทางสายกลาง
๑. ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
คือ พระสูตรว่าด้วยการยังธรรมจักรให้เป็นไป หรือพระสูตรว่าด้วยการหมุนวงล้อธรรม พระพุทธเจ้าทรงแสดงที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี แคว้นกาสี ในวันขึ้น ๑๕ คำ เดือน ๘ หลักจากวันซึ่งพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้สองเดือน
๒. อนัตตลักขณสูตร
ในสูตรนี้พระพุทธเจ้าทรงแสดงให้เห็นความไม่เที่ยงของสิ่งต่าง ๆ คือ สิ่งทั้งหลายทั้งปวงจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ไม่สามารถทนอยู่ในสภาพเดิมตลอดไปได้ทั้งเป็นสิ่งที่ไม่มีตัวตนจริง ๆ เลย เป็นการสมมุติขึ้นมาเท่านั้นเอง เพราะฉะนั้นเราจึงไม่สามารถบังคับให้มันอยู่ในอำนาจของเราได้
อนัตตลักณสูตร เป็นพระสูตรที่แสดงลักษณะแห่งเบญจขันธ์ว่าเป็นอนัตตา พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ภิกษุปัญจวัคคีย์ ภายหลังจากแสดงปฐมเทศนาแล้ว ภิกษุปัญจวัคคีย์ ทั้ง ๕ ได้สำเร็จพระอรหัตด้วยได้ฟังอนัตตลักขณสูตรนี้
๓. กาลามสูตร
พระสูตรนี้ได้แสดงให้เห็นความเป็นนักเสรีประชาธิปไตยของพระพุทธเจ้า เพราะพระองค์ทรงสอนให้คนใช้ความคิดด้วยเหตุผลโดยรอบคอบเสียก่อนแล้วจึงค่อยเชื่อ พระพุทธเจ้าทรงสอนว่าจงอย่าได้เชื่อโดยการอ้างตำรา หรือเพราะครูอาจารย์สอนไว้อย่างนั้น หรือเพราะคำพูดนั้นตรงกับความเห็นของเรา หรือเพราะผู้นั้นเป็นบุคคลที่ควรเชื่อ หรือโดยการคาดคะเนหรือ นึกเดาเอาหรือโดยการใช้เหตุผลตามหลักตรรกศาสตร์ พระองค์ทรงสอนว่าการกระทำใด ๆ ถ้าจะไม่ก่อให้เกิดความทุกข์ในภายหลัง นักปราชญ์ไม่ติเตียน ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนและผู้อื่นแล้ว พึงทำเถิดแต่ถ้าตรงกันข้ามกันก็อย่าทำเลย
กาลามสูตร
เป็นสูตรหนึ่ง
ในคัมภีร์ติกนิบาต อังคุตตรนิกาย
พระพุทธเจ้าตรัสสอนชนชาวกาลามะแห่งเกสปุตตนิคมในแคว้นโกศล
ไม่ให้เชื่อถืองมงายไร้เหตุผล ตามหลัก ๑๐ ข้อ
คือ อย่าปลงใจเชื่อเพราะ
๑. ด้วยการฟังตามกันมา
๒. ด้วยการถือสืบ ๆ กันมา
๓. ด้วยการเล่าลือ
๔.ด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์
๕. ด้วยตรรก
๖. ด้วยการอนุมาน
๗. ด้วยการคิดตรึกตรองตามแนวเหตุผล
๘. ด้วยเพราะเข้ากันได้กับทฤษฎีของตน
๙. ด้วยเพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าเชื่อ
๑๐. ด้วยเพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา
ต่อเมื่อใด
พิจารณาเห็นด้วยปัญญา
ว่า ธรรมเหล่านั้น
เป็นอกุศลเป็นกุศล มีโทษ ไม่มีโทษ
เป็นต้นแล้ว จึง
ควรละหรือปฏิบัติ
ตามนั้น
"
ทรงปาฏิหาริย์ ๓ คำรบ
ปรากฏแก่พระพุทธบิดา"
ในกาลที่พระพุทธเจ้าทรงเสด็จพระนครกบิลพัสดุ์เป็นครั้งแรกภายหลังจากตรัสรู้พระองค์ทรงสำแดงปาฏิหาริย์เป็นมหัศจรรย์ ซึ่งพระเจ้าสุทโธทนะพระพุทธบิดาทรงประนมหัตถ์ถวายนมัสการ แล้วกราบทูลว่าเป็นปาฏิหาริย์ที่มหัศจรรย์ได้ปรากฏแก่พระองค์ ในครั้งนี้นับเป็นคำรบสามแล้ว อันมีความดังต่อไปนี้
ปาฏิหาริย์คำรบแรก
เมื่อพระสิทธัตถะกุมารทรงประสูติได้ ๑ วัน ครั้งนั้นมีดาบสองค์หนี่งมีนามว่า กาฬเทวิล แต่มหาชนเรียกว่า อสิตะเป็นกุลุปกาจารย์ (อาจารย์ประจำตระกูล) ของพระเจ้าสุทโธทนะ ได้ทราบข่าวจากเทพยดาว่า พระเจ้าสุทโธทนะ ได้พระเจ้าสุทโธทนะ ได้พระราชโอสร จึงได้เดินทางไปยังกบิลพัสดุ์นคร เข้าเฝ้าพระเจ้าสุทโธทนะถวายพระพรถามข่าวถึงการประสูติของพระราชโอรส
พระเจ้าสุทโธทนะทรงปีติปราโมทย์ รับสั่งให้เชิญพระโอรสมาถวายเพื่อนนมัสการท่านอสิตดาบส แต่พระบาททั้งสองของพระโอรสกลับขึ้น ปรากฏบนเศียรเกล้าของอสิตดาบส เป็นอัศจรรย์ พระดาบสเห็นดังนั้นก็สะดุ้งตกใจ ครั้นพิจารณาดูลักษณะของพระกุมารก็ทราบชัดด้วยปัญญาญานมีน้ำใจเบิกบาน ยิ้มแย้มแจ่มใส หัวเราะออกมาด้วยความปีติโสมนัส ประณมหัตถ์ถวายอภิวาทแทบพระยุคลบาทของพระกุมาร และแล้วอสิตดาบสกลับได้คิด เกิดโทมนัสจิตร้องไห้เสียใจในวาสนาอาภัพของตน
พระเจ้าสุทโธทนะได้ทอดพระเนตรเห็นอาการของท่านอาจารย์พิกลก็แปลกพระทัย เดิมก็ทรงปีติเลื่อมใสในการอภิวาทของท่านอสิตดาบส ว่าอภินิหารของพระปิโยรสนั้นยิ่งใหญ่ประดุจดังท้าวมหาพรหมจึงทำให้ท่านอาจารย์มีจิตนิยมชื่นชมอัญชลี ครั้นเห็นท่านอสิตดาบสคลายความยินดีเป็นโสกาอาดูร ก็ประหลาดพระทัยเกิดสงสัย รับสั่งถามถึงเหตุแห่งการร้องไห้ และการหัวเราะเฉพาะหน้า
อสิตดาบสก็ถวายพระพรพรรณนา ถึงมูลเหตุว่า เพราะอาตมาพิจารณาเห็นเห็นมหัศจรรย์ พระกุมารนี้มีพระลักษณะพระโพธิสัตว์เจ้าบริบูรณ์จะได้ตรัสรู้เป็นพระสัพพัญญูพุทธเจ้าโดยแท้ และจะเปิดโลกนี้ให้กระจ่างสว่างไสวด้วยกระแสแห่งพระธรรมเทศนาเป็นคุณที่น่าโสมนัสปรีดายิ่งนัก แต่เมื่ออาตมานึกถึงอายุสังขารของอาตมาซึ่งชราเช่นนี้แล้วคงจะอยู่ไปไม่ทันเวลาของพระกุมาร ที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระบรมครูสั่งสอน จึงได้วิปฏิสารโศกเศร้า เสียใจที่มีอายุไม่ทันได้สดับรับพระธรรมเทศนา อาตมาจึงได้ร้องไห้
ครั้นอสิตดาบสถวายพระพรแล้ว ก็ทูลลากลับไปบ้านน้องสาว นำข่าวอันนี้ไปบอกนาลกมาณพผู้หลานชาย และกำชับให้พยายามออกบวชตามพระกุมารในกาลเมื่อหน้าโน้นเถิด
ปาฏิหาริย์คำรบสอง
ต่อมาวันหนึ่ง เป็นวันพระราชพิธีวัปปมงคล (พิธีมงคลแรกนาขวัญ) พระเจ้าสุทโธทนะเสด็จไปทรงแรกนาขวัญในงานราชพิธีนั้นก็โปรดเกล้าให้เชิญพระกุมารไปในงานพระราชพิธีนั้นด้วย ครั้นเสด็จไปถึงภูมิสถานที่แรกนาขวัญ ก็โปรดให้จัดร่มไม้หว้าซึ่งหนาแน่นด้วยกิ่งใบ อันอยู่ใกล้สถานที่นั้นเป็นที่ประทับของพระกุมารโดยแวดวงด้วยม่านอันงามวิจิตร ครั้นถึงเวลาพระเจ้าสุทโธทนะทรงไถแรกนาขวัญ บรรดาพระพี่เลี้ยงนางนมที่เฝ้าถวายบำรุงพระกุมารพากันหลีกออกมาดูพิธีนั้นเสียหมด คงปล่อยให้พระกุมารประทับ ณ ภายใต้ร่มไม้หว้าแต่พระองค์เดียว
เมื่อพระกุมารเสด็จอยู่พระองค์เดียว ได้ความสงัดเป็นสุขก็ทรงนั่งขัดสมาธิเจริญอานาปานสติกัมมัฏฐาน ยังปฐมฌานให้บังเกิดในเวลานั้นเป็นเวลาบ่าย เงาแห่งต้นไม้ทั้งหลายย่อมชายไปตามแสงตะวันทั้งสิ้น แต่เงาไม้หว้านั้นทรงรูปปรากฏเป็นปริมณฑลตรงอยู่ดุจเวลาตะวันเที่ยงเป็นมหัศจรรย์
ครั้งนางนมพี่เลี้ยทังหลายกลับมาเห็นปาฏิหาริย์ดังนั้นก็พลันพิศวงจึงรีบไปกราบทูลพระเจ้าสุทโธทนะ พระเจ้าสุทโธทนะได้ทรงสดับก็รีบเสด็จมาโดยเร็ว ครั้นได้ทอดพระเนตรเห็นปาฏิหารย์เป็นมหัศจรรย์เช่นนั้น ก็ทรงยกพระหัตถ์ถวายอภิวันทนาการ ออกพระโอษฐ์ดำรัสว่าเมื่อวันเชิญมาให้ถวายนมัสการพระกาฬเทวิลดาบสก็ทรงทำปาฏิหาริย์ขึ้นไปยืนชฎาพระดาบส อาตมะก็ประณตครั้งหนึ่งแล้ว และครั้งนี้อาตมะก็ถวายอัญชลีเป็นวาระที่สอง ตรัสแล้วก็ให้เชิญพระกุมารเสด็จคืนเข้าพระนคร ด้วยความเบิกบานพระทัย
ปาฏิหาริย์คำรบสาม
เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จยังนครกบิลพัสดุ์เป็นครั้งแรกภายหลังจากตรัสรู้ ตามคำทูลเชิญของพระเจ้าสุทโธทนะพระพุทธบิดา ครั้นพระบรมศาสดาพร้อมด้วยพระสงฆ์สาวกเสด็จถึงกบิลพัสดุ์นคร บรรดาพระประยูรญาติที่มาสโมสรต้อนรับอยู่หน้า มีพระเจ้าสุทโธทนะพระพุทธบิดาเป็นประธาน ต่างแสดงออกซึ่งความเบิกบานตามควรแก่วิสัยแล้วทูลเชิญให้เสด็จขึ้นประทับยังพระนิโครธารามพระมหาวิหาร พระบรมศาสดาก็เสด็จขึ้นประทับบนพระบวรพุทธาอาสน์ บรรดาพระสงฆ์ ๒ หมื่นต่างก็ขึ้นนั่งบนอาสนะ อันมโหฬาร ดูงามตระการปรากฏสมพระเกียรติศากยบุตรพุทธชิโนรสบรรดามี
ครั้นนั้นบรรดาพระประยูรญาติทั้งหลายมีมานะทิฏฐิอันกล้า นึกละอายใจใม่อาจน้อมประนมหัตถ์ถวายนมัสการพระบรมศาสดาได้ด้วยดำริว่า "พระสิทธัตถะมีอายุยังอ่อน
ไม่ควรแก่ชุลีกรนมัสการ
จึงจัดให้พระประยูรญาติราชกุมารที่พระชนมายุยังน้อย คราวน้องคราวบุตรหลานออกไปนั่งอยู่ข้างหน้าเพื่อจะได้ถวายบังคมพระบรมศาสดา ซึ่งเห็นว่าควรแก่วิสัย ส่วนพระประยูรญาติผู้ใหญ่พากันประทับนั่งอยู่เบื้องหลังเหล่าพระราชกุมารไม่ประนมหัตถ์ ไม่นมัสการ หรือคาระแต่ประการใด
ด้วยมานะ
จิตคิดในใจว่าตนแก่กว่า ไม่ควรจะวันทาพระสิทธัตถะ"
เมื่อพระบรมศาสดาประสบเหตุ ทรงพระประสงค์จะให้เกิดสลดจิตคิดสังเวชแก่พระประยูรญาติที่มี
มานะจิตคิดมมังการ
จึงทรงสำแดงปาฏิหารย์ เหาะขึ้นลอยอยู่ในอากาศ ให้ปรากฏประหนึ่งว่าละอองธุลีพระบาทได้หล่นลงตรงเศียรเกล้าแห่งพระประยูรญาติทั้งหลายด้วยพุทธานุภาพเป็นอัศจรรย์
ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า
Credit by
http://www.dhammathai.org/buddha/buddha.php-
ที่มา :
หนังสือ ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า
โดย
ภัทรวรรณ วันทนชัยสุข
นำมาแบ่งปันโดย
:
sithiphong
:
http://www.tairomdham.net/index.php/topic,3985.msg34312/topicseen.html#msg34312
คลิ๊ก
เพื่ออ่านต่อค่ะ
บันทึกการเข้า
คำค้น:
พระธรรม
อริยสัจ ๔
ภัทรวรรณ วันทนชัยสุข
หน้า: [
1
]
ขึ้นบน
พิมพ์
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
กระโดดไป:
เลือกหัวข้อ:
-----------------------------
จากใจถึงใจ
-----------------------------
=> หน้าบ้าน สุขใจ
===> สุขใจ ป่าวประกาศ (ข้อความจากทีมงาน)
===> สุขใจ เสนอแนะ (ข้อความจากสมาชิก)
===> สุขใจ ให้ละเลง (มุมทดสอบบอร์ด)
-----------------------------
สุขใจในธรรม
-----------------------------
=> พุทธประวัติ - ประวัติพระสาวก
===> พุทธประวัติ แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
===> ประวิติพระอรหันต์ พระสาวก ในสมัยพุทธกาล
===> ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
===> นิทาน - ชาดก
=====> ชาดก พระเจ้า 500 ชาติ
=> ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน
===> ธรรมะจากพระอาจารย์
===> เกร็ดครูบาอาจารย์
=> ห้องวิปัสสนา - มหาสติปัฏฐาน 4
=> สมถภาวนา - อภิญญาจิต
=> จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
=> เสียงธรรมเทศนา - เอกสารธรรม - วีดีโอ
===> เอกสารธรรม
===> เสียงธรรมเทศนา
=====> ธรรมะจาก สมเด็จโต
=====> ธรรมะจาก หลวงปู่มั่น
=====> เสียงบทสวดมนต์
=====> เพลงสวดมนต์
=====> เพลงเพื่อจิตสำนึก แด่บุพการี
=====> ธรรมะ มิวสิค (เพลงธรรมทั่วไป)
===> ห้อง วีดีโอ
=> เกร็ดศาสนา
=> กฏแห่งกรรม - ท่องไตรภูมิ
=> ไขปัญหาโลก ธรรม และความรัก
=> บทสวด - คัมภีร์ คาถา - วิชา อาคม
=> พุทธวัจนะ - ภาษิตธรรม
===> พุทธวัจนะ ในธรรมบท
===> พุทธศาสนสุภาษิต
===> คำทำนายภัยพิบัติที่จะเกิด
===> รวมข่าวภัยพิบัติ ทั้งในอดีต และปัจจุบัน
===> รู้ เพื่อ รอด (การเตรียมการ)
=> ห้องประชาสัมพันธ์ ทั้งทางโลก และทางธรรม
===> ฐานข้อมูล มูลนิธิต่าง ๆ ในประเทศไทย (Donation Exchange Center)
-----------------------------
วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ
-----------------------------
=> วิทยาศาสตร์ - จักรวาล - การค้นพบ
===> เรื่องราว จากนอกโลก
=====> ประสบการณ์เกี่ยวกับ UFO
=====> หลักฐาน และ การพิสูจน์ยูเอฟโอ
=====> คลิปวีดีโอ ยูเอฟโอ
=> ไขตำนาน - ประวัติศาสตร์ - การค้นพบ อารยธรรม
=> เรื่องแปลก - ประสบการณ์ทางจิต - เรื่องลึกลับ
===> ร้อยภูติ พันวิญญาณ
=====> ประสบการณ์ ผี ๆ
=======> เรื่องเล่าในรั้วมหาลัย
=====> ประวัติ ต้นกำเนิด ตำนานผี
===> ดูดวง ทำนายทายทัก
===> ไดอะล็อก คือ ดอกอะไร - พลังไดอะล็อก (Dialogue)
===> กระบวนการ NEW AGE
=> เครื่องราง ของขลัง พุทธคุณ
-----------------------------
นั่งเล่นหลังสวน
-----------------------------
=> สุขใจ จิบกาแฟ
=> สุขใจ ร้านน้ำชา
=> สุขใจ ห้องสมุด
===> สุขใจ หนังสือแนะนำ
===> สุขใจ คลังความรู้ลวงโลก
===> สยาม ในอดีต
=> สุขใจ ใต้เงาไม้
=> สุขใจ ตลาดสด
=> สุขใจ อนามัย
=> สุขใจ ไปเที่ยว
=> สุขใจ ในครัว
===> เกร็ดความรู้ งานบ้าน งานครัว
=> สุขใจ ไปรษณีย์
=> สุขใจ สวนสนุก
===> ลานกว้าง (มุมดูคลิป)
===> เวที จำอวด (จำอวดหน้าม่าน)
===> หนังกลางแปลง (ดูหนัง รีวิวหนัง)
===> หน้าเวที (มุมฟังเพลง)
=====> เพลงไทยเดิม
===> แผงลอยริมทาง (รวมคลิปโฆษณาโดน ๆ)
คุณ
ไม่สามารถ
ตั้งกระทู้ได้
คุณ
ไม่สามารถ
ตอบกระทู้ได้
คุณ
ไม่สามารถ
แนบไฟล์ได้
คุณ
ไม่สามารถ
แก้ไขข้อความได้
BBCode
เปิดใช้งาน
Smilies
เปิดใช้งาน
[img]
เปิดใช้งาน
HTML
เปิดใช้งาน
กำลังโหลด...