[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
23 พฤศจิกายน 2567 22:02:11 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เรื่องนอกโลก "ปรากฏการณ์เกี่ยวกับระบบสุริยจักรวาล"  (อ่าน 348918 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5767


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 22 สิงหาคม 2556 10:07:23 »

.

ดาราศาสตร์ คือวิชาวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาวัตถุท้องฟ้า อาทิ ดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ ดาวหาง และดาราจักร รวมทั้งปรากฏการณ์ทางธรรมชาติต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากนอกชั้นบรรยากาศของโลก โดยศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการ ลักษณะทางกายภาพ ทางเคมี ทางอุตุนิยมวิทยา และการเคลื่อนไหวของวัตถุท้องฟ้า

"ดาราศาสตร์"  นับเป็นวิชาที่เก่าแก่ที่สุดวิชาหนึ่ง เพราะนับแต่มีมนุษย์อยู่บนโลกย่อมได้เห็นได้สัมผัสกับสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติเสมอมา จากนั้นเริ่มสังเกต จดจำ และเล่าต่อๆ กัน เช่น เมื่อมองออกไปรอบตัวเห็นพื้นดินราบ ดูออกไปไกลๆ ก็ยังเห็นแบน จึงคิดกันว่าโลกแบน มองฟ้าเห็นโค้งคล้ายฝาชีหรือโดม มีดาวให้เห็นเคลื่อนข้ามศีรษะไปทุกคืน กลางวันมีลูกกลมแสงจ้า ให้แสง สี ความร้อน คือดวงอาทิตย์ที่เคลื่อนขึ้นมาแล้วลับขอบฟ้าไป ดวงอาทิตย์จึงมีความสำคัญมาก

ชนเผ่าแรกที่สักการะ สังเวยดวงอาทิตย์ อาจเป็น ชนเผ่าซูเมอเรียน ผู้สร้างความรุ่งเรืองให้ ชาวแบบิโลเนียน เมื่อราว 4,000 ปีก่อนค.ศ. ขณะที่ฝั่งอียิปต์ รัชสมัยฟาโรห์อัคเฮนตัน ราว 1,400 ปีก่อนค.ศ. ทรงถือดวงอาทิตย์เป็น สุริยเทพ การบวงสรวงดวงอาทิตย์ยังแพร่ถึง ชนเผ่าอินคา ในเปรู เผ่าอัซเทก ในเม็กซิโก และเชื่อได้ว่าต้องมีการสังเกตดวงดาวและปรากฏการณ์ที่เกิดจากดวงอาทิตย์และดวงจันทร์มาแต่ดึกดำบรรพ์ จึงมีรูปเขียนตามผนังถ้ำ รอยสลักบนดินเผา แผ่นไม้ แผ่นหิน ให้ได้ใช้เป็นหลักฐานศึกษาค้นคว้า

นักดาราศาสตร์ในวัฒนธรรมโบราณสังเกตการณ์ดวงดาวบนท้องฟ้าในเวลากลางคืน และวัตถุทางดาราศาสตร์หลายอย่างได้ถูกค้นพบเรื่อยมาตามยุคสมัย มีกล้องโทรทรรศน์เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่จำเป็นก่อนจะมีการพัฒนาเป็นวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ตั้งแต่อดีตกาล ดาราศาสตร์ประกอบไปด้วยสาขาที่หลากหลาย รวมถึงการสร้างปฏิทินและโหราศาสตร์

ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา ดาราศาสตร์ได้แบ่งออกเป็น 2 สาขา ได้แก่ ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ และ ดาราศาสตร์เชิงทฤษฎี ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์จะให้ความสำคัญไปที่การเก็บและการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการใช้ความรู้ทางกายภาพเบื้องต้นเป็นหลัก ส่วนดาราศาสตร์เชิงทฤษฎีให้ความสำคัญไปที่การพัฒนาคอมพิวเตอร์หรือแบบจำลองเชิงวิเคราะห์ เพื่ออธิบายวัตถุท้องฟ้าและปรากฏการณ์ต่างๆ ทั้ง 2 สาขาเป็นองค์ประกอบซึ่งกันและกัน กล่าวคือดาราศาสตร์เชิงทฤษฎีใช้อธิบายผลจากการสังเกตการณ์ และดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ใช้ในการรับรองผลจากทางทฤษฎี

นอกเหนือจากงานของนักวิทยาศาสตร์ การค้นพบสิ่งต่างๆ ที่เผยแพร่โดยนักดาราศาสตร์สมัครเล่นนั้นมีความสำคัญมาก และดาราศาสตร์ก็เป็นหนึ่งในวิทยาศาสตร์จำนวนน้อยสาขาที่นักดาราศาสตร์สมัครเล่นยังคงมีบทบาท โดยเฉพาะการค้นพบหรือการสังเกตการณ์ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราว

ไม่ควรสับสนระหว่างดาราศาสตร์โบราณกับโหราศาสตร์ ซึ่งเป็นความเชื่อที่นำเอาเหตุการณ์และพฤติกรรมของมนุษย์ไปเกี่ยวโยงกับตำแหน่งของวัตถุท้องฟ้า แม้ว่าทั้งดาราศาสตร์และโหราศาสตร์เกิดมาจากจุดร่วมเดียวกัน และมีส่วนหนึ่งของวิธีการศึกษาที่เหมือนกัน เช่น การบันทึกตำแหน่งดาว แต่ทั้งสองอย่างก็แตกต่างกัน

นอกจากการแบ่งข้างต้น ยังอาจแบ่งดาราศาสตร์ออกเป็นหมวดหมู่ตามหัวข้อที่สนใจหรือข้อปัญหา อาทิ วิชาวัดตำแหน่งดาว ศึกษาตำแหน่งและการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งของวัตถุท้องฟ้า กำหนดนิยามในการระบุพิกัดและจลนศาสตร์ของวัตถุในดาราจักรของเรา ฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ศึกษาฟิสิกส์ของเอกภพ รวมถึงสมบัติทางกายภาพของวัตถุทางดาราศาสตร์ จักรวาลวิทยา ศึกษาต้นกำเนิดและวิวัฒนาการของเอกภพ เป็นต้น รวมถึงหัวข้อที่อาจนับเป็นส่วนหนึ่งของดาราศาสตร์ ได้แก่ โบราณดาราศาสตร์ และ เคมีดาราศาสตร์



http://2.bp.blogspot.com/-h0S77jS2td8/UgBypRh_uII/AAAAAAAAAvo/0fdm5E7RJdE/s640/gj504b_exoplanet_final_0.jpg
เรื่องนอกโลก "ปรากฏการณ์เกี่ยวกับระบบสุริยจักรวาล"

ดาวเคราะห์่ต่างสุริยจักรวาล

องค์การอวกาศสหรัฐฯ เผยแพร่ภาพของดาวเคราะห์ “GJ 504b”
ดาวเคราะห์ต่างสุริยจักรวาลที่เพิ่งค้นพบด้วย กล้องโทรทรรศน์ซุบารุ ที่เกาะ ฮาไวอี
เป็นดาวเคราะห์ดวงโต สีตากุ้ง
อยู่ไกลจากโลกของเรา ออกไปเป็นระยะทาง 57 ปีแสง
(ระยะทางไกลที่แสง ใช้เวลาเดินทางนาน 1 ปี)
ขนาดดวงโตพอๆกับดาวพฤหัสบดี แต่มีมวลหนาแน่นกว่า 4 เท่า
.




ก้อนหินดาวอังคาร

องค์การอวกาศสหรัฐฯ แสดงภาพถ่ายก้อนหินก้อนโตสูง 10 นิ้ว และโต 16 นิ้ว
ซึ่งเจ้าหน้าที่องค์การประเมินแล้วว่าเหมาะที่จะให้ยานสำรวจ “เคียวริออส ซิตี”
ที่ปฏิบัติงานบนดาวอังคารมาครบ 1 ปีพอดี ใช้เครื่องมือวิเคราะห์ดู.


ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ หน้า 7 ฉบับประจำวันพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01 กรกฎาคม 2557 11:46:33 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5767


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 23 สิงหาคม 2556 12:34:56 »

.



เหตุเกิด ณ ระบบสุริยะ ‘ดวงอาทิตย์’
‘ปัจจัยชีวิต’ โลกผวา

หลายมุมโลกในระยะหลัง ๆ ยังคงมี ’เหตุการณ์ทางธรรม ชาติ“ ที่ ’แรง!!!“ หลายพื้นที่-หลายเหตุการณ์ ไม่ว่าจะเป็น น้ำท่วม หนักสุดในรอบร้อย ๆ ปี เช่นที่จีน รัสเซีย, แผ่นดินไหว ที่น่าหวาดผวาว่าอาจสร้างหายนะร้ายแรงเช่นในอดีตเช่นที่นิวซีแลนด์, ภูเขาไฟปะทุ พ่นเถ้าขึ้นเหนือฟ้าสูงลิบลิ่ว เช่นที่ญี่ปุ่น ฯลฯ  นี่เป็นตัวอย่างธรรมชาติแรง ๆ บนพื้นโลก

 ขณะที่ออกไปนอกโลกก็มีสิ่งที่น่าจับตา!!!

เช่น...จากกรณีที่เกิด อุกกาบาตตก ที่รัสเซียเมื่อเดือน ก.พ. ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นที่ฮือฮากันทั่วโลก เมื่อเร็ว ๆ นี้มีข่าวว่าได้ “เกิดเข็มขัดฝุ่นอุกกาบาตล้อมรอบโลก” เกิดฝุ่นอุกกาบาตบริเวณชั้นบรรยากาศสตราโตสเฟียร์ของโลก โดยฝุ่นนี้เคลื่อนตัวด้วยความเร็วสูงราว 190 ไมล์ต่อชั่วโมง จนล้อมรอบโลกอย่างรวดเร็วในเวลาเพียง 4 วัน ซึ่งนี่ถือเป็นปรากฏการณ์ในเชิงวิวัฒนาการระยะยาวครั้งแรก และก็เป็นเหตุการณ์นอกโลกที่น่าจับตา

อย่างไรก็ตาม ที่น่าจับตายิ่งกว่าคือ เหตุการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดกับ ’ดวงอาทิตย์“ ซึ่งถือว่า ’สำคัญต่อสรรพสิ่งบนโลก รวมถึงต่อชีวิตมนุษย์โลก“ อย่างยิ่งยวด โดยเมื่อเร็ว ๆ นี้นักฟิสิกส์วิทยามหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และทางนาซ่า หรือองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ ของสหรัฐอเมริกา เผยไว้ว่า...

สนามแม่เหล็กดวงอาทิตย์กำลังมีการสลับขั้ว!!!   ’สนามแม่เหล็กสลับขั้ว“ ทั่วโลกเคย ’ผวา?!?!?“

ทั้งนี้ กับกรณี “ดวงอาทิตย์” นั้น เมื่อเกิดปรากฏการณ์ เมื่อมีรายงานข่าวจากต่างประเทศ สำหรับคนไทยที่อาจจะไม่ค่อยได้สนใจเรื่องราวทางดาราศาสตร์-ทางด้านอวกาศ การใช้โอกาสนี้ “ทำความเข้าใจเพื่อมิให้เกิดการตื่นตระหนก” ก็น่าจะเป็นสิ่งที่ดี ซึ่งในประเทศ ไทยเราก็มีองค์กรที่ให้ความรู้ความเข้าใจทางด้านนี้อยู่

ว่ากันถึงดวงอาทิตย์ จากเอกสารเรื่อง “ระบบสุริยะ (Solar System)” โดยสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ระบุไว้ว่า...ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุด เป็นศูนย์กลางระบบสุริยะ มีระยะห่างจากโลกประมาณ 149.60 ล้านกิโลเมตร โดยโครงสร้างดวงอาทิตย์ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก ๆ คือ 1. แกนกลาง (Core) มีอุณหภูมิประมาณ 15 ล้านองศาเซลเซียส เป็นแหล่งกำเนิดปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ฟิวชั่น, 2. เขตการแผ่รังสีความร้อน (Radioactive Zone) พลังงานความร้อนจากแกนกลางถูกถ่ายทอดออกสู่ส่วนนอกโดยการแผ่รังสี ความหนาประมาณ 3.8 แสนกิโลเมตร, 3. เขตการพาความร้อน (Convective Zone) เป็นบริเวณที่ก๊าซร้อนถูกพาขึ้นสู่ผิวดวงอาทิตย์อย่างต่อเนื่อง มีความหนาประมาณ 1.4 แสนกิโลเมตร

นอกจากนั้น บรรยากาศของดวงอาทิตย์ยังแบ่งออกเป็น 3 ชั้นคือ 1. โฟโตสเฟียร์ เป็นบรรยากาศชั้นนอกสุดของดวงอาทิตย์ ประกอบ ด้วยก๊าซร้อนที่เคลื่อนที่ตลอดเวลา สามารถมองเห็นได้ในช่วงคลื่นแสงที่ตามองเห็น, 2. โครโมสเฟียร์ เป็นบรรยากาศที่อยู่ระหว่างชั้นโฟโตสเฟียร์และโคโรนา มีอุณหภูมิประมาณ 10,000 องศาเซลเซียส, 3. โคโรนา เป็นบรรยากาศนอกสุดที่แผ่กว้างไปทั่วระบบสุริยะ ประกอบด้วยอิเล็กตรอนและอนุภาคประจุไฟฟ้า มีอุณหภูมิสูงถึง 2 ล้านองศาเซลเซียส ซึ่งจะมองเห็นส่วนนี้ได้ในช่วงที่เกิดสุริยุปราคาเต็มดวง

เมื่อเทียบกับโลก ดวงอาทิตย์มีมวลมหาศาลมากกว่าโลกถึง 333,400 เท่า ซึ่งจากอิทธิพลแรงโน้มถ่วงที่ดึงฝุ่นเข้าหากัน ผลคือแรงดันและอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นที่บริเวณแกนกลางดวงอาทิตย์ทำให้เกิด ปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่น (Nuclear Fusion) ซึ่งหลอมไฮโดรเจนให้กลายเป็นฮีเลียม จากนั้นจะปลดปล่อยพลังงานมหาศาลออกมา และแผ่พลังความร้อนจากแกนกลาง เข้าสู่กระบวนการพาความร้อนไปสู่บริเวณผิวดวงอาทิตย์

 จนกลายเป็นต้นกำเนิด “แสงอาทิตย์”   ที่ “สำคัญอย่างยิ่งยวดต่อชีวิตบนโลก”

ทว่านอกจากแสงอาทิตย์ ปฏิกิริยาของดวงอาทิตย์ก็ยังทำให้เกิดปรากฏการณ์อื่น ๆ เช่น การพุ่งของเปลวสุริยะ (Prominences) การลุกจ้า (Flare) รวมถึงการเกิดจุดดำบนดวงอาทิตย์ (Sunspots) โดยทั้งหมดนี้สัมพันธ์กับความเปลี่ยนแปลงของสนามแม่เหล็กดวงอาทิตย์ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์-นักดาราศาสตร์ให้ความสำคัญกับการศึกษาดวงอาทิตย์ ปรากฏการณ์ของดวงอาทิตย์ อย่างมาก เพราะ ดวงอาทิตย์มีอิทธิพลตรงต่อโลก

 ทั้งนี้ ดวงอาทิตย์สำคัญต่อโลก และบ่อยครั้งก็เกิดการ ’ลือ-ผวา“ ซึ่งกรณี “สนามแม่เหล็กดวงอาทิตย์สลับขั้ว” นั้นมีกระแสว่า อาจเกิดการแผ่รังสียูวีมากขึ้น อาจเกิดคลื่นความร้อนมากขึ้น อาจส่งผลกระทบต่อระบบสุริยะ-ต่อโลก อาจทำให้โลกยิ่งร้อน หรือ อาจส่งผลร้ายแรงต่อโลกเกินกว่าจะคาดคิด?!?!? ซึ่งหากใครขี้ตกใจ ฟังแบบผิวเผิน ก็อาจนำกระแสนี้ผูกโยงกับความเชื่อต่าง ๆ แม้ว่านี่จะเป็นเรื่องวัฏจักรของดวงอาทิตย์

’สนามแม่เหล็กดวงอาทิตย์สลับขั้ว“ เรื่องใหญ่   แต่ก็เป็นเรื่องใหญ่แบบ ’ไม่ควรผวากระแสลือ“

ยิ่ง ’ผวาแบบที่ลือวันสิ้นโลก“ ยิ่งไม่ควร!?!?!...


ที่มา : ข่าว "สกู๊ปหน้า 1"  หน้า 3 หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับประจำวันพฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2556




เกิดจริงที่ดวงอาทิตย์!
‘สนามแม่เหล็ก’ ‘สลับขั้ว’ ต้องกลัว?

ตามที่นักฟิสิกส์มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และนาซาหรือองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ ของสหรัฐอเมริกา ได้ออกมาระบุเมื่อเร็ว ๆ นี้ว่าขณะนี้ “สนามแม่เหล็กของดวงอาทิตย์กำลังอยู่ในช่วงของการสลับขั้ว” นั้น วันนี้มาดูกันต่อในรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้ เพื่อความรู้ความเข้าใจ...ว่าข้อเท็จจริงเป็นเช่นไร? แล้วจะอย่างไร?

สนามแม่เหล็กดวงอาทิตย์สลับขั้ว นี่ข่าวจริง แต่อย่าได้ผวาจนย้อนคิดไกลไปถึงกรณี ’สิ้นโลก“

ทั้งนี้ กรณีสนามแม่เหล็กดวงอาทิตย์กำลังอยู่ในช่วงการสลับขั้ว จากที่มีรายงานข่าวจากต่างประเทศออกมาก่อนหน้านี้ สรุปได้ว่า... เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริง โดยกระบวนการสลับขั้วสนามแม่เหล็กของดวงอาทิตย์จะเสร็จสิ้นสมบูรณ์ภายในเวลา 3-4 เดือนจากนี้ ซึ่งกับกระแสผวาผลกระทบต่อโลกต่อมนุษย์โลกที่อาจจะเกิดขึ้นนั้น จากข่าวก็ระบุไว้ว่า...สนามแม่เหล็กดวงอาทิตย์สลับขั้ว ถือเป็นปรากฏการณ์ปกติ โดยจะเกิดทุก 11-12 ปี

กับกระแสผวาที่อาจเกิดขึ้นได้ ก็อาจเป็นเพราะกรณี “สนามแม่เหล็กสลับขั้ว” นี่เคยเป็นส่วนหนึ่งในกระแสลือเมื่อปีที่แล้วเกี่ยวกับ “หายนะโลก” กรณีวันสิ้นโลก โดยมีการลือว่า... สนามแม่เหล็กโลกจะเกิดการสลับขั้ว เกิดการพลิกกลับขั้ว แล้วจะเกิดความร้อนสูง เกราะป้องกันดวงอาทิตย์ของโลกจะอ่อนแอต่ำสุดจนป้องกันรังสีจากดวงอาทิตย์ไม่ได้ รังสีจะทำให้มนุษย์ทั่วโลกเป็นมะเร็งกันมาก จะเกิดภัยพิบัติรุนแรง ร้ายแรง...อาจถึงขั้นเกิดการกลายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต?????

อย่างไรก็ตาม กับกระแสลือนี้ ก็ได้สะท้อนคำชี้แจงของผู้เชี่ยวชาญไว้ว่า...สนามแม่เหล็กโลกจะเกิดการสลับขั้วแบบปุบปับไม่ได้ หากโลกไม่ได้ถูกอะไรสักอย่างพุ่งเข้าชนจนทำให้เกิดการเปลี่ยนทิศของลาวาที่หมุนอยู่รอบแกนโลก ซึ่งแกนโลกและลาวาจะคล้ายไดนาโมผลิตกระแสไฟฟ้า ยิ่งลาวาหมุนรอบแกนโลกเร็วเท่าไหร่ คลื่นสนามแม่เหล็กก็จะยิ่งมากเท่านั้น แต่อยู่ ๆ สนามแม่เหล็กจะพลิกสลับขั้ว...

เป็นไปไม่ได้!!!!!

สำหรับ “การสลับขั้วสนามแม่เหล็กของดวงอาทิตย์” เรื่องนี้แม้จะเกิดจริง แต่จริง ๆ นี่ก็มิใช่เรื่องใหม่ ในไทยเองก็มีการเผยแพร่ข้อมูลสร้างความเข้าใจมาตลอดจนปัจจุบัน อาทิ บทความของสมาคมดาราศาสตร์ไทย เรื่อง “ยูลิสซิสตรวจพบการสลับขั้วของดวงอาทิตย์” โดย วรเชษฐ์ บุญปลอด ที่ระบุไว้บางช่วงบางตอนว่า ปี 2544 ยานสำรวจชื่อยูลิสซิสตรวจพบการเปลี่ยนแปลงสนามแม่เหล็กดวงอาทิตย์ เป็นครั้งแรกที่มีการตรวจพบโดยยานอวกาศ หรือบทความเรื่อง “ดวงอาทิตย์สลับขั้วแม่เหล็ก” โดย วิมุติ วสะหลาย ก็ระบุไว้ว่า...นักดาราศาสตร์สังเกตพบว่าสนามแม่เหล็กของขั้วดวงอาทิตย์มีการสลับขั้วเปลี่ยนทิศไปในทางตรงกันข้าม ซึ่งแสดงว่าวัฏจักรปัจจุบันของดวงอาทิตย์มาถึงช่วงสูงสุดแล้ว โดยขั้วเหนือ และขั้วใต้ แม่เหล็กได้เข้าสู่กระบวนการสลับขั้วแล้ว

ปรากฏการณ์นี้ได้เกิดขึ้นแล้ว!!!! แต่เกิดแล้วมีผลอะไร-อย่างไร??

ข้อมูลจากเอกสารเผยแพร่เรื่อง “ระบบสุริยะ (Solar System)” จัดทำโดยสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ระบุไว้ว่า...สนามแม่เหล็กดวงอาทิตย์ (Magnetic Fields of the Sun) นั้นมีลักษณะเป็นเส้นโค้งที่พุ่งออกมาจากพื้นผิว และมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา โดยสนามแม่เหล็กที่เกิดขึ้นนั้นเป็นแนวเสียดสีระหว่างเขตแผ่รังสีและเขตพาความร้อน ด้วยเหตุนี้การหมุนรอบของดวงอาทิตย์ชั้นนอกบริเวณเส้นศูนย์สูตรจึงเร็วกว่าที่บริเวณขั้ว เส้นแรงแม่เหล็กจึงถูกบิดในแนวขวางพลาสมาที่หมุนวนและไหลเวียน จึงทำให้เส้นแรงแม่เหล็กถูกดึงและบิดมากขึ้น จนเกิดพลังงานสะสมและลอยขึ้นจากพื้นผิวตามแนวเส้นแรงแม่เหล็ก  และในขณะที่ดวงอาทิตย์หมุนรอบตัวเอง พลาสมาที่อยู่บริเวณนั้นจะมีความเร็วช้ากว่าบริเวณเส้นศูนย์สูตร ทำให้เกิดการบิดของเส้นแรงแม่เหล็กภายในชั้นการพาความร้อน จนเกิดแนวเส้นแรงแม่เหล็กใหม่ที่มีทิศทางในแนวขวางดวงอาทิตย์ ซึ่งการกลับขั้วของสนามแม่เหล็กบนดวงอาทิตย์นั้น เกิดขึ้นตามวัฏจักรของดวงอาทิตย์ ที่มีระยะเวลาเฉลี่ยประมาณ 11 ปี

กับประเด็นที่ว่าจะมีผลต่อโลกอย่างไร?? ข้อมูลขององค์กรที่สันทัดกรณี ชี้ชัดไว้ว่า...ปรากฏการณ์ต่าง ๆ จากการสลับขั้วสนามแม่เหล็กของดวงอาทิตย์ จะไม่สามารถทำลายสิ่งปลูกสร้างหรือทำให้เกิดอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก เพราะโลกมีระบบป้องกันอนุภาคและรังสีต่างๆ ที่สมบูรณ์แบบอย่างยิ่ง

“สนามแม่เหล็กดวงอาทิตย์สลับขั้ว” เกิดจริง ๆ  แต่บนโลกก็มีแม่เหล็กโลกช่วยปกป้องอยู่

 ชาวโลกควร ต้องสำนึกบุญคุณของโลก เลิกทำร้ายโลก ก่อนโลกเลิกปกป้อง!!!.



ที่มา : ข่าว "สกู๊ปหน้า 1"  หน้า 3 หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับประจำวันศุกร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2556





มนุษย์หมดหวังจะไปกินอยู่บนบริวารโลก ลาก่อนดวงจันทร์

วารสาร "วิทยาศาสตร์" ของสหรัฐฯเปิดเผยว่า มนุษย์หมดหวังจะขึ้นไปอยู่กันบนดวงจันทร์แล้ว เพราะเป็นดินแดนที่แห้งแล้งเกินไป

นักวิจัยสหรัฐฯ ได้ศึกษาวิเคราะห์ไอโซโทปของคลอรีน จากตัวอย่างหินบนดวงจันทร์ ซึ่ง มนุษย์อวกาศในโครงการยานอพอลโลนำกลับลงมา
พบว่า นอกจากจะแห้งแล้งแล้ว ยังพบว่ามีก๊าซไฮโดรเจนอยู่น้อยมาก ในการวิเคราะห์หินหนืดที่เกิดขึ้นเมื่อตอนดวงจันทร์ก่อตัวขึ้น
แสดงว่าธรรมชาติของดวงจันทร์แห้งแล้งมากจนเกินกว่าจะมีชีวิตอยู่ได้

ก่อนหน้านี้ คณะนักธรณีวิทยาที่มีโอกาสศึกษาตัวอย่างหินดวงจันทร์ก่อนเพื่อนก็ได้กล่าวแจ้งว่า ไม่พบหลักฐานของน้ำ และบอกว่าดวงจันทร์แห้งผาก.




ดาวเทียมหลุดลอย เลยพ้นสุริยจักรวาล

องค์การอวกาศสหรัฐฯประกาศว่า ยานอวกาศ “วอยเอเจอร์-1” ได้เดินทางในอวกาศทะยานไปไกลเลย

ออกพ้นนอกสุริยจักรวาลแล้ว เข้าไปในแดนใหม่อันเป็นย่านว่างเปล่าอันกว้างใหญ่ไพศาลที่หนาวเย็นระหว่างดวงดาวดวงต่างๆ สร้างประวัติศาสตร์เป็นสิ่งประดิษฐ์ของมนุษย์สิ่งแรกที่เดินทางไกลเลยพ้นเขตสุริยจักรวาลออกไป

บัดนี้ยานอวกาศอายุเก่าแก่ 36 ปี ซึ่งถูกส่งเดินทางไปสำรวจดาวเคราะห์ต่างๆ ได้เดินทางออกไปเป็นระยะทางไกลห่างจากดวงอาทิตย์ไม่ต่ำกว่า 18.51 พันล้าน กม.

“วอยเอเจอร์ -1” ยังคงสามารถจะศึกษาอนุภาคแปลกๆ และปรากฏการณ์ซึ่งไม่เคยพบเคยเห็นมาก่อน ในส่วนของจักรวาล ที่ดารดาษไปด้วยดาวฤกษ์ที่กำลังระเบิดอยู่ และรายงานด้วยวิทยุกลับมายังโลก ซึ่งจะกินเวลาถึง 17 ชม.

มันยังมีฐานะเป็นทูตของโลกเราด้วย เพราะได้ติดแผ่นดิสก์ฉาบทอง บรรจุข้อความทักทาย เพลงและภาพถ่ายมากมายขึ้นไปกับตัวได้ มันจะเอาไปปล่อยทิ้งไว้ยังดวงดาวที่จะกลายเป็นสุสานของมัน ซึ่งอาจจะนานอีกเป็นร้อยเป็นพันปีก็ได้.


จาก : คอลัมน์ ทันโลก "ดาวเทียมหลุดลอย เลยพ้นสุริยจักรวาล" หน้า 7 หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2556



พบดาวเคราะห์ขนาดเดียวกับโลก

มนุษย์ค้นพบดาวเคราะห์ขนาดเดียวกับโลก อยู่ในระยะห่างอย่างปลอดภัยจากดาวฤกษ์แม่เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์
 
ดาวเคราะห์มีขนาดเดียวกับโลก จนเหมือนกับลูกพี่ลูกน้อง เป็นดาวบริวารของดาวฤกษ์ ชื่อ “เคปเลอร์-186 ” ขนาดเล็กกว่าดวงอาทิตย์ แต่มีสีแดงฉานกว่า ห่างจากโลกเป็นระยะทางไกล 500 ปีแสง
 
นักดาราศาสตร์โทมัส บาร์เคลย์ แห่งศูนย์วิจัยอาเมส ขององค์การอวกาศสหรัฐฯ เปิดเผยรายละเอียดว่า ดาวเคราะห์นี้อยู่ริมนอกสุดของสุริยจักรวาล จึงได้รับแสงเพียง 1 ใน 3 ของที่โลกได้รับแสงแดดจากดวงอาทิตย์ หมายความว่า แดดเวลาเที่ยงบนดาวเคราะห์ที่เป็นหินดวงนั้น จะร้อนแรงแค่กับแดดตอนผีตากผ้าอ้อมบนโลก มันมีขนาดโตกว่าโลกเล็กน้อย มีรัศมียาวกว่าประมาณร้อยละ 10 และปีหนึ่งนาน 130 วันของโลก
 
ที่สำคัญลูกพี่ลูกน้องของโลกใบนี้ อยู่ห่างจากดาวฤกษ์ในระยะที่พอจะมีน้ำในสภาพของเหลวบนพื้นผิวได้ อันเป็นสภาพการณ์ที่จำเป็นกับการมีชีวิตอยู่
 
นักวิทยาศาสตร์ยังไม่รู้อะไรเลยถึงบรรยากาศของมัน แต่เชื่อว่ากล้องโทรทรรศน์วันหน้าจะสามารถค้นเจอริ้วรอย ของสารเคมีที่อาจจะเกี่ยวพันกับชีวิตได้ ขณะนี้นักดาราศาสตร์เพียงแต่ค้นพบดาวเคราะห์นอกสุริยจักรวาลของเรา จำนวนเกือบ 1,800 ดวงแล้ว.
...นสพ.ไทยรัฐ



ดาวอังคาร
ดาวอังคารเป็นดาวเคราห์สีแดง มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 6,792 กิโลเมตร ใหญ่กว่าดวงจันทร์ที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3,475 กิโลเมตร
ชาวโรมันโบราณจึงให้เป็น เทพเจ้าแห่งการสงคราม เพราะมีสีแดงคล้ายเลือด รวมถึงอาวุธในการทำสงครามสมัยก่อน คือ หอก มีโล่เป็นเครื่องป้องกันตัว
ดาวอังคารจึงมีสัญลักษณ์เป็นรูปกลมแทนโล่ พร้อมลูกศรแทนปลายหอก ปัจจุบันกลายเป็นสัญลักษณ์ของเพศชาย  
นขณะที่เพศหญิงเอาสัญลักษณ์มาจากดาวศุกร์หรือวีนัส  เทพธิดาแห่งความรักหรือความสวยงาม ผู้มีกระจกพร้อมมือถือเป็นเครื่องหมาย

การโคจรของดาวอังคารใกล้โลกก็ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับทางโคจรของดาวอังคารที่มีความรีมากกว่าของโลกถึง 5.6 เท่า  
ทำให้ระยะห่างระหว่างวงโคจรของโลกและของดาวอังคารรอบดวงอาทิตย์ไม่เท่ากันตลอด แต่จะเข้าใกล้กันมากที่สุด
เมื่อดาวอังคารอยู่ตรงกันข้ามกับดวงอาทิตย์
...จาก หนังสือพิมพ์เดลินิวส์



ยานอวกาศใหม่
มนุษย์อวกาศ​สหรัฐฯ ​ลอง​ซ้อม​เข้า​ออก​ยาน​อวกาศ “โอเรียน”
ที่​ศูนย์​อวกาศ​จอห์น​สัน เมือง​ฮิวส์​ตัน   ยาน​อวกาศ​ใหม่​นี้​จะ​เป็น​ทั้ง​บ้าน​และ​ยาน
ใน​การ​เดินทาง​รอนแรม​ใน​อวกาศ เพื่อ​ตาม​ล่า​ดาวเคราะห์​น้อย ใน​วัน​หน้า...
นสพ.ไทยรัฐ



ดาวกินดาว
ภาพวาดจากแนวความคิดของ นักดาราศาสตร์มหาวิทยาลัยวอร์วิคและเคมบริดจ์ของอังกฤษ
แสดงให้เห็นดาวเคราะห์น้อยซึ่งอุดมด้วยน้ำและหิน ถูกแรงดึงดูดอันหนักหน่วง
ของดาวแคระขาว ที่มีชื่อรหัส  “GD 61”  ดูดเอาน้ำและหินฉีกหลุดออกไป  
พวกเขาเชื่อว่าปรากฏการณ์แบบเดียวกันนี้ อาจเกิดในสุริยะจักรวาลได้  
โดยที่โลกอาจดูดเอาสิ่งก่อสร้างชีวิตมาจากดาวเคราะห์ดวงอื่นก็เป็นได้
...นสพ.ไทยรัฐ



ดาวเสาร์
องค์การอวกาศสหรัฐฯเปิดเผยภาพถ่ายดาวเสาร์พร้อมกับวงแหวนขวางรอบตัว
มันทำให้เกิดเงาทอดรอบซีกใต้ ภาพนี้ยานอวกาศถ่ายในระยะห่าง 2.9 ล้าน กม.
...นสพ.ไทยรัฐ



ยานอวกาศสำรวจ
องค์การอวกาศสหรัฐฯเผยแพร่ภาพวาดของดาวพฤหัสบดีกับดวงจันทร์
บริวารดวงยักษ์ดวงหนึ่ง เป็นการช่วยโฆษณาโครงการส่งยานอวกาศสำรวจ
ขององค์การอวกาศแห่งยุโรป ไปดูดวงจันทร์เหล่านี้ในปี พ.ศ.2565.
...นสพ.ไทยรัฐ



ดาวพุธ
องค์การอวกาศสหรัฐฯเผยแพร่ภาพถ่ายดาวพุธ โดยยานอวกาศ “เมสเซนเจอร์”
แต่สีของพื้นผิวผิดเพี้ยนไปจากความจริง เนื่องจากปฏิกิริยาทางเคมี ระหว่างการส่งภาพ
...นสพ.ไทยรัฐ



ก้อนหินดาวอังคารก้อนแรก
ยานสำรวจ “เคียวริออส ซิทิ”  ของสหรัฐฯ  เล็งจะจัดการกับก้อนหินก้อนนี้
บนดาวอังคารเป็นก้อนแรก โดยจะฉายแสงด้วยอุปกรณ์ทางเคมี เพื่อวิเคราะห์ก๊าซที่มีประจุ
ไฟฟ้าที่เกิดจากการยิงด้วยลำแสงเลเซอร์ อุปกรณ์อันอื่นจะคอยวิเคราะห์ประกาย
ด้วยกล้องจุลทรรศน์ และแยกธาตุทางเคมี.
...นสพ.ไทยรัฐ



เกิดเป็นดาว
กล้องโทรทรรน์อวกาศ “ฮับเบิล” ขององค์การอวกาศสหรัฐฯ ถ่ายภาพกลุ่มดาว 2 กลุ่ม ฃ
แต่ละกลุ่มเต็มไปด้วยดาวฤกษ์ขนาดมหึมา  ดูเหมือนทำท่าจะเข้ารวมกลุ่มกัน
กลุ่มดาวทั้งคู่ไกลจากโลกเป็นระยะ 170,000 ปีแสง.
...นสพ.ไทยรัฐ



ดาวอังคารเปลี่ยนสี
ภาพทิวทัศน์ดาวอังคาร เบื้องหน้าของยานสำรวจ “เคียวริออส ซิทิ” เป็นลาดเชิงเขา ของ “เชา ชาร์ป”
ภาพได้เปลี่ยนสีไปเมื่อส่งกลับมายังโลกและต้องแสงแดด ขบวนการนี้ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์  
สามารถเทียบเคียงสีก้อนหินออกได้  ยานมีกำหนดจะสำรวจภูมิประเทศ
ที่เป็นเขาเตี้ยๆ เนินเขา ที่ราบบนเขา และหุบเขาในเวลาต่อไป.
...นสพ.ไทยรัฐ



โฉมหน้าดาวพุธ
ภาพโฉมหน้าดาวพุธ เป็นภาพหลุมบ่อยักษ์แห่งหนึ่ง  ซึ่งยานอวกาศสำรวจ “เมสเซนเจอร์”
ถ่ายส่งมา หลังจากเดินทางไปถึง และเข้าประจำอยู่วงโคจรรอบๆ ดาวพุธนาน 1 ปี.
...นสพ.ไทยรัฐ



ปรากฏการณ์สุริยุปราคา
ทําไมบางครั้งเราจึงเรียกปรากฏการณ์สุริยุปราคา ว่า สุริยคราส
และทำไมบางครั้งจึงเรียกปรากฏการณ์จันทรุปราคาว่า กบกินเดือน

คำว่า คราส มีความเป็นตามพจนานุกรม ว่า 'กิน' คนสมัยโบราณเขียนว่า คาธ เช่น สุริยคาธ จันทรคาธ โดยมาจากคำภาษาบาลี

ปัจจุบัน ใช้ว่า สุริยคราส และ จันทรคราส เพื่ออธิบายเหตุการณ์ที่คนโบราณ มองเห็นตามปรากฏการณ์ที่พระอาทิตย์และพระจันทร์ถูกบดบังเหมือนถูกกิน

กรณีจันทรคราส ชาวบ้านเรียกอีกอย่างว่า กบกินเดือน เนื่องจากกบ (รวมถึงพวกเขียด คางคก อึ่งอ่าง) เป็นสัญลักษณ์ของฝน ความอุดมสมบูรณ์ คนโบราณเชื่อว่าสิ่งเหล่านี้เป็นการบอกเหตุดีร้ายหรือทำนายทายทักล่วงหน้าถึงความเป็นไปของธรรมชาติ ลักษณะการคายเข้า-ออกของกบกินเดือน จึงมีผลต่อการเกิดฝนและความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ธัญญาหาร

เรื่องกบกินเดือนนี้มีนิทานหลายเรื่องที่เล่าแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่น เช่น นิทานล้านนา เล่าว่า ในสมัยก่อนพระเจ้าเหา มีครอบครัวหนึ่งตั้งบ้านเรือนอยู่นอกเมือง ครอบครัวนี้ พ่อแม่มีลูกสาว 2 คน พ่อแม่ช่วยกันอบรมลูกในการเป็นแม่บ้านที่ดี เช่น การจัดการบ้านการเรือน ความประพฤติ กิริยามารยาท ตลอดจนการทำอาหาร

อยู่มาวันหนึ่งพ่อแม่บอกให้ลูกสาวทั้งสองคนไปทำอาหารเพื่อจะได้ทดสอบดูฝีมือ ทั้งสองคนก็เข้าไปในครัวแล้วช่วยกันทำอาหารจนเสร็จ แต่ในช่วงชิมรสชาติอาหารเห็นไม่ตรงกัน จึงต่อสู้กันรุนแรงหยิบอุปกรณ์ทำครัวทำร้ายกันถึงขั้นตายทั้งคู่ เมื่อทั้งสองตายไปแล้ว ยมบาลนำเอาวิญญาณของทั้งสองไปพิพากษาและตัดสินว่า ให้คนพี่ไปเกิดเป็นเดือน ส่วนคนน้องไปเกิดเป็นกบ



สุริยคราส

ปรากฏว่าทั้งสองยังอาฆาตกันอยู่อีก เมื่อถึงกลางคืนหากมีโอกาสพบกันเข้าอีก จึงไม่มีใครยอมใคร เกิดปรากฏการณ์ที่น้องกบกินพี่เดือน  นอกจากเรียกปรากฏการณ์จันทรุปราคา ว่า กบกินเดือนแล้ว ยังเรียกว่า ราหูอมจันทร์ ด้วย ส่วนสุริยุปราคา บางครั้งก็เรียกว่า ราหูอมพระอาทิตย์ เป็นต้น  โดยมีเรื่องเล่าว่า พระราหูเดิมเป็นอสูร แต่เมื่อเวลากวนน้ำอมฤต ได้แปลงรูปเป็นเทวดา พระอาทิตย์กับพระจันทร์ ซึ่งนั่งอยู่ด้วยกันทักท้วงพระนารายณ์ว่า มีอสูรอีก 1 ตนได้กินน้ำอมฤตแล้ว พระนารายณ์จึงตัดเศียรอสูรนั้นเพื่อลงอาญา แต่อสูรนั้นดื่มน้ำอมฤตแล้ว จึงไม่ตาย พระนารายณ์เห็นเป็นเช่นนั้น จึงตัดนามภาคเศียรว่า ราหู ให้อยู่ทางที่ลับแห่งจันทรโคจร ตั้งนามกายภาคว่า เกตุ ให้อยู่ทางที่แจ้งแห่งจันทรโคจร พร้อมอนุญาตว่าให้ราหูมีเวลาได้เข้าใกล้พระอาทิตย์ พระจันทร์ และกระทำให้มัวหม่น ร่างกายซูบผอมคลำไปเพื่อแก้แค้น

ในทางข้อมูลวิทยาศาสตร์ สุริยคราส เป็นปรากฏการณ์เมื่อดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลก โคจรมาเรียงอยู่ในแนวเดียวกัน โดยมีดวงจันทร์อยู่ตรงกลาง เกิดขึ้นเฉพาะในวันที่ดวงจันทร์มีดิถีตรงกับจันทร์ดับ เมื่อสังเกตจากพื้นโลกจะเห็นดวงจันทร์เคลื่อนเข้ามาบดบังดวงอาทิตย์ โดยอาจบังมิดหมดทั้งดวงหรือบางส่วนก็ได้  ในแต่ละปีจะเกิดสุริยุปราคาบนโลกได้อย่างน้อย 2 ครั้ง สูงสุดไม่เกิน 5 ครั้ง ในจำนวนนี้อาจไม่มีสุริยุปราคาเต็มดวงเลยก็ได้ หรืออย่างมากไม่เกิน 2 ครั้ง

ส่วนจันทรคราสคือปรากฏการณ์ที่ดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์ เคลื่อนที่มาอยู่ในแนวระดับเดียวกันพอดี จนทำให้ดวงจันทร์ผ่านเงาของโลกซึ่งทอดยาวออกไปในอวกาศ หากดวงจันทร์ทั้งดวงเคลื่อนผ่านเข้าไปในเงามืด เรียกว่าจันทรุปราคาเต็มดวง
...หนังสือพิมพ์ข่าวสด



สอยดาวเคราะห์น้อย จอดเทียบใกล้โลก

องค์การอวกาศสหรัฐฯเตรียมจะส่งยานอวกาศหุ่นยนต์ขึ้นไปคล้องดาวเคราะห์น้อยดวงเล็กๆ เอามาจอดไว้ใกล้ๆ กับดวงจันทร์ เพื่อจะให้มนุษย์อวกาศขึ้นไปสำรวจ ซึ่งจะย่นเวลาของโครงการที่จะส่งมนุษย์ อวกาศไปออกล่าดาวเคราะห์น้อย แล้วลากให้มันเข้ามาอยู่ใกล้โลก ตามที่ตั้งเอาไว้ก่อนได้ถึง 4 ปี

ยานอวกาศหุ่นยนต์จะถูกส่งออกเดินทาง ไปตามล่าดาวเคราะห์น้อย โตขนาด 500 ตัน ยาว 25 ฟุต และกว้าง 7.6 เมตร ใน พ.ศ.2562 นี้ หลังจากนั้น จะส่งยานอวกาศ “โอเรียนต์” พลประจำ 4 นาย ที่กำลังสร้างอยู่ ไปต้อนให้มันมาใกล้โลก ใน พ.ศ.2564 เพื่อจะให้มนุษย์ขึ้นไปสำรวจภายหลัง

วุฒิสมาชิกบิลล์ เนลสัน เปิดเผยว่า มันจะช่วยให้องค์การอวกาศสหรัฐฯ ได้ลองซ้อมกระแทกดาวเคราะห์น้อย ที่เกิดจับพลัดจับผลู อาจเข้ามากระทบกับโลกในอนาคตให้กระเด็นห่างออกไป ทั้งยังจะได้มีโอกาสฝึกซ้อมการส่งมนุษย์อวกาศเดินทางไปยังดาวอังคาร ในราวปี พ.ศ.2573 ด้วย

อย่างไรก็ดี เจ้าหน้าที่ขององค์การอวกาศกล่าวว่า แม้ว่าจะมีดาวเคราะห์น้อยขนาดนี้อยู่เกลื่อนเรือนเป็นพันแต่การไปสอยมันมาก็ไม่ใช่ง่าย เพราะเมื่อหาได้แล้ว จะต้องให้มันคลายแรงหมุนรอบดวงอาทิตย์ลงเสียก่อน จึงจะสามารถต้อนให้มันมาอยู่ตรงที่ต้องการได้.
...นสพ.ไทยรัฐ



ดาวเคราะห์เกลื่อนเหมือนโลกมีเกินสิบ

มนุษย์ค้นพบดาวเคราะห์ที่เป็นบริวารของดาวฤกษ์อยู่ดารดาษกลาดเกลื่อนมากเกินกว่า 1,000 ดวงแล้ว ซ้ำยังมีอยู่ถึง 12 ดวง ซึ่งโคจรทิ้งระยะห่างจากดาวแม่ไม่มากไม่น้อย จนเป็นเหตุให้ร้อนหรือเย็นเกินไป จนจะมีน้ำในสภาพของของเหลวอยู่ไม่ได้

สารานุกรมดาวเคราะห์ต่างสุริยจักรวาลได้ลงทะเบียนแล้วว่า พบโลกใหม่ในปัจจุบันรวม 1,010 ดวงแล้ว

นักดาราศาสตร์มหาวิทยาลัยเปอร์โตริโก  ยังขยายความลับให้ฟังว่า ความจริงน่าจะพบกันมากกว่านี้ด้วยซ้ำ หากแต่ในระยะหลังๆมานี้ งบเรื่องนี้ถูกตัดทอนน้อยลงไป “เรามีเทคนิคและเทคโนโลยีที่ได้รับการพิสูจน์แล้ว ว่าจะหาดาวเคราะห์เจอได้ แต่มาติดอยู่ตรงที่ขาดกล้องโทรทรรศน์ โดยเฉพาะกล้องโทรทรรศน์อวกาศ ยิ่งกล้องโทรทรรศน์อวกาศเคปเลอร์” ที่ช่วยให้พบกันมาแล้วตั้งหลายดวง ก็เกิดมาขัดข้องเสียอีกเมื่อต้นปีนี้

วงการดาราศาสตร์ถึงกับบ่นเสียดายอยู่ไม่ขาดปาก  เพราะกล้องเคปเลอร์ ได้ช่วยให้ข้อมูล ทำให้ประมาณการได้ว่า ในแกแล็กซี่ทางช้างเผือกนั้น มีดาวเคราะห์ต่างสุริยจักรวาลอยู่มากมายเหลือคณานับถึง 17 พันล้านดวงทีเดียว
...นสพ.ไทยรัฐ



เดินในอวกาศ
มนุษย์อวกาศอากิ โอชิเดะ  ชาวญี่ปุ่น  ออกไปเดินในอวกาศ
นอกสถานีอวกาศระหว่างประเทศ ที่อยู่ในวงโคจรนอกโลก เพื่อติดตั้งแผงสวิตช์ใหญ่
และกล้องถ่ายภาพที่แขนกลของสถานี...
...นสพ.ไทยรัฐ


กลุ่มดาว
กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล ขององค์การอวกาศสหรัฐฯ
ถ่ายภาพกลุ่มดาว 2 กลุ่ม ที่กำลังแยกจากกัน  กลุ่มดาวที่มีชื่อว่า  “M60”
ตรงกลาง เป็นกลุ่มดาวที่มีความสว่างมากเป็นอันดับ 3  มีกลุ่มดาวรวมกันไม่ต่ำกว่า 1,300 กลุ่ม
จนมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางโตเป็นระยะทางยาวถึง 120,000 ปีแสง.

...นสพ.ไทยรัฐ


กลุ่มดาวงวงช้าง
องค์การอวกาศสหรัฐฯเปิดเผยภาพของกลุ่มดาวงวงช้าง  
ซึ่งเป็นกลุ่มดาวหรือกลุ่มแก๊สซึ่งอยู่ห่างไกล มองเห็นเป็นแสงมัวๆ
ในท้องฟ้าตอนกลางคืน.
...นสพ.ไทยรัฐ



เนบูลาศีรษะแม่มด
องค์การอวกาศสหรัฐฯเปิดเผยภาพถ่ายกลุ่มดาวหรือแก๊ส
ที่มีรูปร่างคล้ายแม่มด นักดาราศาสตร์เปิดเผยว่าในกลุ่มดาวหรือแก๊สเหล่านี้
มีดาวเกิดใหม่จำนวนมากมาย  บางดวงก็กลายเป็นดาวฤกษ์ขนาดยักษ์
.
...นสพ.ไทยรัฐ



พี่น้องฝาแฝดโลก
นักดาราศาสตร์ค้นพบดาวเคราะห์ ที่มีลักษณะคล้ายคลึง
กับโลกของเราอย่างมากเป็นดวงแรก เพราะประกอบด้วยหินกับเหล็กเป็นส่วนใหญ่
เหมือนกัน มีขนาดโตกว่า 1.2 เท่า และมีมวลหรือน้ำหนักมากกว่า 1.7 เท่า

เสียแต่ว่าดาวเคราะห์ “เคปเลอร์ -78 b” ดวงนี้ อยู่ใกล้กับดาวฤกษ์ดวงแม่มาก
ห่างแค่เศษ 1 ส่วน 100 ของระยะห่างระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์เท่านั้น ดาวดวงนั้น
โคจรรอบดาวฤกษ์แม่ รอบหนึ่งแค่ 8 ชม. ซึ่งเป็นที่พิศวงของนักดาราศาสตร์มาก
เชื่อว่าคงจะมีอายุสั้น เพราะจะถูกดูดจนแตกลงในอีกไม่กี่พันล้านปี อันเป็นช่วงเวลา
ที่ทางดาราศาสตร์ถือว่าค่อนข้างสั้น ยังโชคดีที่มันอยู่ห่างไกลจากโลกของเราถึง 400 ระยะปีแสง

นักดาราศาสตร์เชื่อว่า โดยทฤษฎีแล้ว มันถูกดาวฤกษ์ดูดให้หันด้านเดียวตายตัวให้
ดังนั้น ข้างด้านในจะมีอุณหภูมิสูง ระหว่าง 2,000-2,800 องศาเซลเซียส
ถึงขนาดวัตถุทุกอย่างหลอมเหลว. ...นสพ.ไทยรัฐ



ดาว​ 3 ​เกลอ
หอ​ดู​ดาว​ยุโรปใต้ แสดง​ภาพ​ที่ศิลปิน​สร้าง​ขึ้น ของ​ดาวเคราะห์โคจร​รอบ​ดาว​อัลฟา เซนทอ​ริ บี.
ซึ่ง​เป็น​หมู่​ดาว​ระบบ​ 3 ​เกลอ ที่​อยู่​ใกล้​โลก​มากกว่าเพื่อน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 สิงหาคม 2558 15:25:13 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5767


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 01 พฤศจิกายน 2556 14:21:30 »

.


แม่น้ำ​น้ำแข็ง​บน​ดาว​อังคาร
ภาพ​จาก​ยาน​อวกาศ​ห้อง​ปฏิบัติการ​วิทยาศาสตร์ “เคียวริ​ออ​ส  ซิที”  บน​ดาว​อังคาร  
แสดง​ให้​เห็น​รอย​เลื่อน​ไหล​ของน้ำแข็ง ที่​ท้อง​แม่น้ำ​ดึกดำบรรพ์ อยู่​ที่​ผนัง​ด้าน​ใต้​ของ​หลุม​บ่อ​เก​รก....นสพ.ไทยรัฐ



ดาวศุกร์ผ่านดวงอาทิตย์
ภาพถ่ายท้องฟ้าเหนือแถบอีสต์ รีเวอร์ ของแมนฮัตตัน กรุงนิวยอร์ก
ขณะที่ดาวศุกร์ (เห็นเป็นจุดดำเล็กทางมุมล่างของดวงอาทิตย์) โคจรผ่านดวงอาทิตย์
นักดาราศาสตร์กล่าวว่าเป็นปรากฏการณ์ที่หาดูได้ยาก ในระบบสุริยจักรวาลอย่างหนึ่ง....นสพ.ไทยรัฐ



หลุมดำกินดาว
องค์การอวกาศสหรัฐฯ เปิดเผยภาพที่ใช้คอมพิวเตอร์ประมวลขึ้น จากภาพที่กล้องโทรทรรศน์
ทั้งบนพื้นโลกและในอวกาศ ช่วยกันจับภาพหลุมดำกำลังดูดกลืนดาวฤกษ์
ที่อุดมด้วยแก๊สฮีเลียมดวงหนึ่ง ที่แกแล็กซี่ ซึ่งอยู่ห่างไกลออกไป 2.7 พันล้านปีแสง.



ศุุกร์ผ่านอาทิตย์
องค์การอวกาศสหรัฐฯแจกภาพถ่ายดาวศุกร์โคจรผ่านหน้าดวงอาทิตย์
ถ่ายด้วยกล้องของหอดูดาว “โซลาร์ ไดนามิก” อันคมชัดสูง
เห็นดาวศุกร์เป็นเพียงจุดดำเล็กๆ ทางบนซ้าย
ผู้ที่จะคอยดูปรากฏการณ์แบบนี้คราวหน้าจะต้องคอยไปอีก 105 ปี....นสพ.ไทยรัฐ



ภาพจากดาวเทียม
ดาวเทียมขององค์การอวกาศสหรัฐฯ ถ่ายภาพไฟป่าขนาดใหญ่
ที่รัฐนิวเม็กซิโก ส่งควันโขมงลอยไปทางตะวันตกเฉียงใต้.  ....นสพ.ไทยรัฐ



ดาวเคราะห์น้ำหนักเบาที่สุด
ภาพวาดของดาวเคราะห์ “KOI–314 c” ดวงที่มีน้ำหนักน้อยที่สุดเท่าที่เคยพบมา
แม้จะมีน้ำหนักพอๆ กับโลก แต่มีเส้นผ่าศูนย์กลางใหญ่กว่า ร้อยละ 60
แสดงว่ามันต้องมีชั้นบรรยากาศที่หุ้มห่ออยู่หนาแน่นกว่า
นักดาราศาสตร์พากันขนานนามดาวเคราะห์นี้ว่า “ซุปเปอร์ โลก”
เพราะแม้จะมีขนาดไล่เลี่ยกับโลก แต่โตใหญ่กว่า 4 เท่า
และกล่าวว่ามันมีอยู่นอกสุริยจักรวาลของเราอยู่มากมาย
จากการค้นพบของยานอวกาศ “เคปเลอร์”.



กาแล็กซีก้นหอย
ยานอวกาศ “ฮับเบิล” ของอเมริกาถ่ายภาพกาแล็กซี “M 83” หรืออีกชื่อหนึ่งว่า
“เซาเธิร์น พินวีล” กาแล็กซีนี้ประกอบด้วยกลุ่มดาวทั้งเล็กใหญ่เรือนแสน
ตลอดจนซาก ดาวฤกษ์ที่ดับแล้ว ที่เรียกว่าเศษซาก ซุปเปอร์โนวาอีกเหลือคณานับ.
...นสพ.ไทยรัฐ



ยานอวกาศขนส่ง
ยานอวกาศขนส่ง “ซิกนัส” ขนเสบียงขึ้นไปส่งให้กับสถานีอวกาศระหว่างประเทศ
ขณะที่โคจรอยู่ในวงโคจร รอบโลก เหนือมหาสมุทรอินเดีย ในระดับความสูง 425 กม.
...นสพ.ไทยรัฐ



ภาพ​ระยะ​ไกล 1,500 ล้านปีแสง
องค์การ​อวกาศ​สหรัฐฯ แสดง​ภาพถ่าย​ของ​ยาน​อวกาศ​กล้องโทรทรรศน์ “สปิตเซอร์ สเปซ”
เป็น​ภาพ​ของ​ทางช้างเผือก​โอเรียน ซึ่ง​มี​ความ​กว้างขวาง​ถึง 40 ล้านปีแสง เป็น​กลุ่ม​ดาว​
ที่​เต็ม​ไป​ด้วย​ลูก​หลาน​ดวง​ดาว​อ่อนๆ อยู่​มากมาย ทางช้างเผือก​นี้​อยู่ไกล​จาก​โลก
เป็น​ระยะ​ทาง 1,500 ล้านปีแสง...นสพ.ไทยรัฐ



พื้นผิวดาวอังคาร
ภาพพื้นผิวดาวอังคารส่วนหนึ่ง ซึ่งยานสำรวจดาวอังคารส่งมา ...นสพ.ไทยรัฐ



ดาวพ่นน้ำ
ภาพวาดแสดงให้เห็นยานอวกาศ “ดอร์น” ขององค์การอวกาศสหรัฐฯ เดินทางไปถึง
ดาวแคระ “ซีเรส” ดาวดวงนี้เป็นดวงสร้างให้เกิดความทึ่งได้ดวงหนึ่ง เพราะมันสามารถพ่นน้ำออกมา
ส่อว่ามันอาจจะมีสิ่งที่มีชีวิตอาศัยอยู่....นสพ.ไทยรัฐ



ทิวทัศน์ดาวอังคาร
องค์การอวกาศสหรัฐฯ แสดงภาพถ่ายทิวทัศน์มุมกว้าง 360 องศา เป็นภาพประกอบขึ้น
จากภาพถ่ายที่ยาน “ออพโพจุนนิตี้” ซึ่งกำลังปฏิบัติงานอยู่บนดาวอังคารถ่าย 800 ภาพ
องค์การฯ ได้แย้มว่า ยานได้พบหลักฐานของน้ำจืดที่เอื้อแก่ชีวิตบนดาวอังคารในยุคดึกดำบรรพ์.
...นสพ.ไทยรัฐ



หมอกฝุ่นบนภูเขาไฟ
ภาพถ่ายจากดาวเทียมขององค์การอวกาศสหรัฐฯ เหนือเมือง “วานูอาตู”
ทางใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก เห็นกลุ่มหมอกปนฝุ่นภูเขาไฟปกคลุมท้องฟ้า  
หมอกปนฝุ่นภูเขาไฟจะมีสีเหมือน สีน้ำเงิน–เทาอ่อน เป็นหมอกที่มีฝุ่นละอองจากภูเขาไฟ
เป็นแกนให้ไอน้ำเกาะ...นสพ.ไทยรัฐ



วงแหวนดาวเสาร์
ภาพถ่ายวงแหวนดาวเสาร์ ด้วยกล้องรังสีอัลตราไวโอเลต ของยานอวกาศ
“แคสซินี่” ของสหรัฐฯเพื่อใช้ในการวิเคราะห์อนุภาคที่อยู่ภายในวงแหวน
ภาพถ่ายจากระยะห่าง 1 ล้าน กม....นสพ.ไทยรัฐ



ดาวเทียมแก้โลกร้อน
องค์การอวกาศสหรัฐฯ เปิดเผยภาพวาดของดาวเทียมสังเกตการณ์คาร์บอน
ซึ่งจะถูกส่งขึ้นวงโคจรรอบโลกในปีนี้ มันจะคอยตรวจวัดปริมาณของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
อันเป็นแก๊สที่ทำให้อากาศโลกร้อน....นสพ.ไทยรัฐ



จันทรคราส
ยานอวกาศสังเกตการณ์ดวงอาทิตย์ขององค์การอวกาศสหรัฐฯ ถ่ายภาพจันทรคราส
ขณะที่ดวงจันทร์เคลื่อนเข้าบังดวงอาทิตย์บางส่วนไว้ได้ ในแต่ละปีจะเกิดปรากฏการณ์แบบนี้ขึ้น 2–3 ครั้ง.
...นสพ.ไทยรัฐ



ทางช้างเผือก “ไตรฟิด”
ยานอวกาศกล้อง ถ่ายภาพด้วยรังสีอินฟราเรด มุมกว้างขององค์การอวกาศสหรัฐฯ
ถ่ายภาพทาง ช้างเผือก  “ไตรฟิด” ซึ่งเป็นกลุ่มดาวใหญ่อยู่ไกลจากโลก เป็นระยะทาง
ไกลถึง 5,400 ปีแสง ...นสพ.ไทยรัฐ



ดาวเสาร์
ยานอวกาศแคสซินี่ ถ่ายภาพดาวเสาร์ด้วยกล้องมุมกว้าง ด้านที่รับแสงแดด
ในขณะที่อยู่ห่างกัน 2.5 ล้าน กม.....นสพ.ไทยรัฐ



พื้นภูมิประเทศดาวอังคาร
ภาพถ่ายจากกล้องนำทางบนยาน “เคียวริออสซิตี้” ที่กำลังทำงานอยู่บนดาวอังคาร
เป็นภาพพื้นภูมิประเทศทางด้านตะวันตกของยาน ถ่ายเมื่อตอนยานเพิ่งเคลื่อนไปถึ
งริมขอบด้านตะวันออก ของตำแหน่งที่เรียกว่า “ดิงโกแก๊ป” เป็นเนินทราย
ที่ขวางช่องกว้าง 1 เมตร ทีมควบคุมยานกำลังตัดสินใจอยู่ว่า จะบังคับให้ยาน
แล่นข้ามช่องนั้นไปดีหรือไม่...นสพ.ไทยรัฐ



หลุมอุกกาบาต
องค์การอวกาศสหรัฐฯ เปิดเผยภาพของหลุมอุกกาบาตบนดาวอังคาร
ถ่ายโดยยานอวกาศตรวจการณ์ดาวอังคาร ตัวหลุมปากกว้าง 30 เมตร รายล้อม
ด้วยร่องรอยของแรงระเบิด ที่ขับพ่นละอองสีแดงที่ทับถมอยู่เดิมออกไป....นสพ.ไทยรัฐ



เดินทางบนดาวอังคาร
ยาน “เคียวริออสซิที” ขององค์การอวกาศสหรัฐฯ ที่กำลังปฏิบัติงานอยู่บนดาวอังคาร
แล่นข้ามเนินทรายที่มีชื่อว่า “ดิงโก แก๊ป” โดยมองเห็นยอดเขาชาร์ปทางขอบฟ้าด้านขวาเป็นสีอ่อนๆ.
7....นสพ.ไทยรัฐ



โลกกับสถานีอวกาศ
มนุษย์อวกาศบนสถานีอวกาศระหว่างประเทศ ถ่ายภาพติดแผงรับแดดของสถานีอวกาศ
โดยมองเห็นส่วนของโลกอยู่เบื้องล่าง ขณะที่คอยรอรับยานอวกาศลำเลียง (ไม่ติดในรูป)
ขนเชื้อเพลิงและสัมภาระจำนวน  2-3 ตันขึ้นไปส่ง....นสพ.ไทยรัฐ



ดวงจันทร์ดวงยักษ์
ดวงจันทร์ “กานีมีด” ดวงจันทร์บริวารของดาวพฤหัสบดี ดวงจันทร์ดวงใหญ่ที่สุด
ในระบบสุริยจักรวาล ถูกแสดงในรูปของแผนที่ทางธรณีวิทยา ให้เห็นบริเวณ
ที่มีลักษณะทางธรณีวิทยาแบบต่างๆบนพื้นผิวดวงจันทร์อันเป็นน้ำแข็งใบนี้...นสพ.ไทยรัฐ



อยู่ไกล 3.5 พันล้านปีแสง
องค์การอวกาศสหรัฐฯ เปิดเผยภาพถ่าย กลุ่มดวงดาวที่ปรากฏให้เห็น
เป็นทางช้างเผือก โดยมีภาพของกลุ่มดาวอ่อนวัยที่สุด “เอเบลล์ 2744”
เห็นเป็นสีจางๆ กระจุกของกลุ่มดาวนี้ ประกอบด้วยกลุ่มดาวเรือนเป็นร้อย
อยู่ไกลจากโลกเป็นระยะทาง 3.5 พันล้านปีแสง.....นสพ.ไทยรัฐ



ยานอวกาศสังเกตการณ์ดวงอาทิตย์ขององค์การอวกาศสหรัฐฯ
ถ่ายภาพวงแหวนรอบดวงอาทิตย์ที่กำลังคึกคะนอง อยู่ในบริเวณที่เกิดจุดดับ
ปรากฏการณ์นี้เกี่ยวพันกับแนวเส้นสนามแม่เหล็ก ซึ่งเชื่อมโยงกับย่านแม่เหล็กต่างๆ
บนพื้นผิวดวงอาทิตย์ วงแหวนจะปรากฏขึ้นอยู่นานหลายวัน หรืออาจเป็นอาทิตย์....นสพ.ไทยรัฐ



ดาวเทียม “เทอรา” ขององค์การอวกาศสหรัฐฯ ใช้เครื่องวัดคุณภาพเฉพาะของแสง
ถ่ายภาพพายุไซโคลนมหึมาปกคลุมทะมึนอยู่เหนือเกาะอังกฤษ....นสพ.ไทยรัฐ



สองเกาหลี
องค์การอวกาศสหรัฐฯ เปิดเผยภาพถ่ายของมนุษย์อวกาศบนสถานีอวกาศระหว่างประเทศ
ถ่ายภาพตอนกลางคืนของคาบสมุทรเกาหลีและดินแดนเกาหลีเหนือ
มองเห็นเขตแดนคอมมิวนิสต์ (กลางภาพ) มืดเกือบสนิท
เมื่อเทียบกับเขตเกาหลีใต้ (ทางล่างขวา) กับจีน (ทางบนซ้าย) .....นสพ.ไทยรัฐ



กลุ่มดาวกลุ่มยักษ์
ยานอวกาศกล้องโทรทรรศน์ “ฮับเบิล” ของสหรัฐฯ ถ่ายภาพติดส่วนหนึ่ง
ของกลุ่มดาวกลุ่มยักษ์ “เมคเกลเลนนิกคลาวด์ ใหญ่” อันเป็นกลุ่มดาว
ที่อยู่ใกล้กับกลุ่มดวงดาวกลุ่มใหญ่ที่โลกของเราอยู่มากที่สุด กลุ่มดาวกลุ่มนี้
เต็มไปด้วยดาวฤกษ์วัยเยาว์มากมาย ส่วนที่เห็นเป็นสีแดงเข้มแถวด้านล่างของภาพ
เป็นกลุ่มควันจางๆ ของม่านหมอกแก๊สและฝุ่นสีดำ ทอดยาวเป็นระยะยาวไกลตั้งหลายปีแสง.
.....นสพ.ไทยรัฐ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 สิงหาคม 2558 19:57:11 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5767


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 24 เมษายน 2557 13:18:50 »

.


ดาวหางเข้าหาอาทิตย์
กล้องโทรทรรศน์จากยานอวกาศ “ฮับเบิล” ขององค์การอวกาศสหรัฐฯ จับภาพดาวหาง
“ไอเอสโอเอ็น” ที่กำลังดิ่งเข้าหาดวงอาทิตย์ มันยังคงมีสภาพสมบูรณ์ดีอยู่
แม้จะคาดกันว่ามันอาจแตกสลายเมื่อถูกความร้อนจากดวงอาทิตย์
กำหนดจะเข้าไปใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด ....นสพ.ไทยรัฐ


ดาวเสาร์กับวงแหวน
ยานอวกาศ “แคสซินี” ขององค์การอวกาศสหรัฐฯ ถ่ายภาพ จากเบื้องบนของดาวเสาร์
แล้วนำภาพหลายๆภาพมาประกอบกันให้เห็นเป็นภาพสมบูรณ์...นสพ.ไทยรัฐ


ยานอวกาสลำเลียง
ยานอวกาสลำเลียง “ซิกนัส” เทียบติดกับสถานีอวกาศระหว่างประเทศ ยานนี้เป็นของ
บริษัทยานอวกาสลำเลียงเอกชน ที่สหรัฐฯ สร้างขึ้น และคาดว่าจะได้รับการว่าจ้าง
จากองค์การอวกาศสหรัฐฯ ที่มีมูลค่าสูงถึงหลายพันล้านบาท รับเหมาการจัดส่ง
ยานลำเลียงอวกาศไปตามที่มั่นขององค์การในอวกาศแห่งต่างๆ....นสพ.ไทยรัฐ


เปลวดวงอาทิตย์
องค์การอวกาศสหรัฐฯเปิดเผยภาพของเปลวไฟลุกไหม้ของดวงอาทิตย์
ตามมาตรฐานขององค์การ ถือเป็นการลุกไหม้ขนาดระดับ X 2.1
ซึ่งเกิดขึ้นถึง 3 ครั้งภายในวันเดียว ....นสพ.ไทยรัฐ


ก้อนอุกกาบาต
ผู้คนมุงดูก้อนอุกกาบาต ซึ่งเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นเล่าว่า งมขึ้นมาจากก้นทะเลสาบเชบาร์กุล
ตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ของเมืองเชลยาบินสก์ ในรัสเซีย มันเป็นก้อนอุกกาบาตที่ตกลงมาระเบิดสนั่นหวั่นไหว
ส่งเศษซากกระจายทั่วบริเวณกว้าง เหนือภาคกลางของรัสเซีย เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2556
คลื่นกระแทกทำให้หน้าต่างและอาคารบ้านเรือนจำนวนมากเสียหาย และยังมีผู้บาดเจ็บอีกไม่ต่ำกว่า 1,000 คน....นสพ.ไทยรัฐ


พายุฝุ่นเหนือแอตแลนติก
องค์การอวกาศสหรัฐฯ  เปิดเผยภาพพายุฝุ่นละอองที่พัดปกคลุมเหนือมหาสมุทรแอตแลนติก
นักอุตุนิยมวิทยาสหรัฐฯ สงสัยว่า ชั้นบรรยากาศแห้งแล้งและเต็มไปด้วยฝุ่นละออง
ของทะเลทรายซาฮารา อาจไปขวางการก่อตัวของพายุเฮอริเคน ทางบริเวณแอตแลนติกเหนือ.
...นสพ.ไทยรัฐ


ดาวพุธใต้แสงแดด
องค์การอวกาศสหรัฐฯเผยแพร่ภาพถ่ายพื้นผิว ดาวพุธส่วนหนึ่งที่โดนแดดส่อง
ถ่ายโดยกล้องของยานอวกาศสำรวจ มองเห็นหลุมบ่อกว้าง 120 กม.แห่งหนึ่ง
อยู่เกือบใจกลางของรูป....นสพ.ไทยรัฐ


ดาวเคราะห์คู่คี่กับโลก
ศูนย์ดาราศาสตร์ฟิสิกส์สมิธโซเนียนแห่งสหรัฐอเมริกา แสดงภาพวาดดาวเคราะห์ 
“เคปเลอร์ 78 B”  ซึ่งมีขนาดไล่เรี่ยกับโลกเรา อยู่ไกลจากโลกระยะ 400 ปีแสง 
มันโคจรอยู่ในระยะประชิดกับดาวฤกษ์ จนซีกหนึ่งมีอุณหภูมิสูงถึง 2-3  พันองศาเซลเซียส
นักดาราศาสตร์คาดว่ามันจะอยู่ได้ไม่นาน และจะต้องแตกดับลงในที่สุด....นสพ.ไทยรัฐ


จันทรคราส
ภาพถ่ายสุริยคราสอันหาดูได้ยาก ถูกเมฆบังบางส่วน มองเห็นที่เกาะแคนารี แห่งเทเนรีฟ 
และดินแดนบางส่วนของทวีปแอฟริกา ยุโรป และอเมริกา เงาของดวงจันทร์ตกทาบพื้นโลก
เป็นระยะทางยาว 58 กม. เกิดเป็นจันทรคราสชนิดเต็มดวงอยู่นาน 1 ชม. กับอีก 40 นาที.
...นสพ.ไทยรัฐ


ต่างกาแล็กซี่
องค์การอวกาศสหรัฐฯ แสดงภาพกลุ่มดวงดาวที่เห็นเป็นทางช้างเผือกกลุ่มหนึ่ง
เป็นกลุ่มดวงดาวที่มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับกลุ่มดวงดาวที่โลกเราอยู่ แต่ตามบริเวณ
ที่เป็นแบบสีขาวใกล้ขอบบน มีหลุมดำยักษ์อยู่มากกว่า ตั้งอยู่ห่างจากโลกระยะไกล
13 ล้านปีแสง....นสพ.ไทยรัฐ


กาแล็กซี่ก้นหอย
กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล ขององค์การอวกาศสหรัฐฯ ถ่ายภาพดาวฤกษ์ดวงหนึ่ง
กำลังระเบิด เกิดเป็นซุปเปอร์โนวา มองเห็นในภาพเป็นเหมือนกับดาวฤกษ์สุกสว่าง
อยู่เหนือตรงกลางของกาแล็กซีขึ้นไปเล็กน้อย....นสพ.ไทยรัฐ


ภาพถ่ายจากยานสำรวจดาวอังคาร เป็นภาพส่วนหนึ่งของส่วนขอบ “เมอร์เรย์”
ของหลุมบ่อ “เอนเดฟเวอร์” บนดาวอังคาร ขอบของหลุมบ่อสูงจากพื้น 40 เมตร...นสพ.ไทยรัฐ


ยานอวกาศ “แคสซินี่” ซึ่งเป็นยานอวกาศช่างภาพของสหรัฐฯ ถ่ายภาพดาวเสาร์
พร้อมกับวงแหวนได้อย่างชัดเจน โดยถ่ายขณะทำมุมกับวงแหวน 18 องศา
ในระยะห่าง 1.6 ล้าน กม....นสพ.ไทยรัฐ


พื้นดาวอังคารหน้าหนาว
องค์การอวกาศสหรัฐฯ เปิดเผยภาพถ่ายพื้นผิวดาวอังคาร ส่งจากยานอวกาศตรวจการณ์ดาวอังคาร 
ในวงโคจรรอบๆ เห็นพื้นน้ำแข็งจับขาวโพลน โดยมียอดเนินทรายโผล่ขึ้นมาเป็นหย่อมๆ
ที่เห็นเป็นน้ำแข็งจับแข็งอยู่นั้น เป็นแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่แข็ง ไม่ใช่น้ำธรรมดา....นสพ.ไทยรัฐ


องค์การอวกาศสหรัฐฯเปิดเผยภาพถ่ายความปั่นป่วนจากการเกิดของดาวฤกษ์ NCC 2174
หรือที่มีชื่อว่า กลุ่มดาว “หัวลิง” ภายในกลุ่มดาวใหญ่ “นายพราน” อีกทีหนึ่ง
อยู่ห่างไกลจากโลกเป็นระยะ 6,400 ปีแสง ภาพถ่ายโดยยานอวกาศกล้องโทรทรรศน์
“ฮับเบิล” ซึ่งปฏิบัติงานมานาน 24 ปีแล้ว...นสพ.ไทยรัฐ


หน้าตาขั้วโลกดวงจันทร์
องค์การอวกาศสหรัฐฯ เปิดเผยภาพขั้วเหนือของดวงจันทร์ ซึ่งประกอบขึ้นจากรูปถ่าย
ขนาดเล็กๆ หลายรูป ถ่ายโดยยานอวกาศตรวจการณ์ในวงโคจรรอบๆ ดวงจันทร์
ภาพครอบคลุมพื้นที่ไม่เกินเศษ 3 ส่วน 4 ของประเทศสหรัฐอเมริกา....นสพ.ไทยรัฐ


โตกว่าอาทิตย์พันๆ ล้านเท่า
ยานอวกาศกล้องโทรทรรศน์ฮับเบิล ถ่ายภาพกลุ่มดาวก้นหอย “NGC 5793”
ซึ่งรวมอยู่ในกลุ่มดาวรูปคันชั่ง อยู่ห่างจากโลกเป็นระยะทางไม่ต่ำกว่า 150 ล้านปีแสง
ตรงใจกลางของกลุ่มดาว เป็นส่วนที่สุกสว่างที่สุด คาดว่าเป็นบริเวณที่เป็นหลุมดำยักษ์
ที่มีขนาดยักษ์ โตยิ่งกว่าดวงอาทิตย์หลายพันล้านดวง ดูดกลืนกลุ่มแก๊ส
และฝุ่นละอองรอบๆ อย่างตะกละตะกลาม....นสพ.ไทยรัฐ


พายุใหญ่ดาวพฤหัสฯ
ภาพถ่ายอันใกล้ชิดบริเวณที่เห็นเหมือนกับเป็นปานแดงตรงซีกด้านใต้ดาวพฤหัสบดี
ถ่ายโดยยานอวกาศวอยเอ-เจอร์ แต่ความจริงเป็นบริเวณที่เกิดความกดอากาศสูง
ครอบคลุมพื้นที่อันกว้างใหญ่ไพศาล โตกว่าโลกถึง 3 เท่าครึ่ง.....นสพ.ไทยรัฐ


ดาวเคราะห์น้องนุช
จิตรกรขององค์การอวกาศสหรัฐฯ วาดภาพของวัตถุในอวกาศ ถูกเรียกว่า “เซดนา”
ที่นักดาราศาสตร์เพิ่งพบสดๆ ร้อนๆ เป็นวัตถุที่เป็นน้ำแข็ง โคจรอยู่เลยวงโคจรดาวพลูโต
กับแถบคูอิเปอร์ออกไป ทำให้เกิดปริศนาขึ้นมาใหม่ว่า ยุคแรกๆ ของระบบสุริยจักรวาลนั้น
มันเป็นอย่างไรกันแน่....นสพ.ไทยรัฐ


ลวดลายโลก
ทีมมนุษย์อวกาศบนสถานีอวกาศระหว่างประเทศ ช่วยกันถ่ายภาพพื้นผิวโลก ตอนสถานีโคจร
อยู่เหนือบริเวณทะเลทรายคาเวอร์ ในภาคกลางของอิหร่าน เพราะพื้นของทะเลทราย
ที่ไม่มีทั้งดินและพืช ทำให้มองเห็นชั้นหินที่ซ้อนกันอยู่เป็นลวดลายแปลกตาอันชัดเจน
บ้างก็เห็นเป็นแนวขนานกัน และเป็นวงโค้งอันกว้างใหญ่ไพศาล.....นสพ.ไทยรัฐ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18 สิงหาคม 2558 12:12:20 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5767


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: 19 ตุลาคม 2557 18:43:51 »

.

ลูกพี่ลูกน้องโลก
ดาวเคราะห์ “เคปเลอร์–186 เอฟ” ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นดาวเคราะห์
ลูกพี่ลูกน้องกับโลก นอกจากจะมีขนาดไล่เลี่ยกับโลกของเราแล้ว
ยังอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ ที่เหมาะกับที่จะมีน้ำในสภาพของเหลวอยู่บนพื้น
เสียแต่ว่าอยู่ห่างไกลจากโลกลิบลับ เป็นระยะทางไกลถึง 500 ปีแสง.


ภาพถ่ายอเมริกา
องค์การอวกาศสหรัฐฯ เปิดเผยภาพถ่ายโลกของดาวเทียมดวงใหม่
มองเห็นประเทศอเมริกาอย่างชัดเจน ตั้งแต่ประเทศแคนาดา
จนไปจดปลายใต้ของทวีปอเมริกาใต้


ยานอวกาศขนส่ง
ภาพจากสถานีทีวีองค์การอวกาศสหรัฐฯถ่ายเห็นยานอวกาศขนส่ง
“สเปซเอ็กซ์ ดรากอน” ขณะเดินทางเข้าเทียบสถานีอวกาศระหว่างประเทศ
ที่อยู่ในวงโคจรรอบโลก ลำเลียงเสบียงและสัมภาระ อันเป็นเครื่องมือ
ทางวิทยาศาสตร์ต่างๆ ขึ้นไปส่ง.


กลุ่มดาวขนาดยักษ์
ยานอวกาศกล้องโทรทรรศน์ “ฮับเบิล” ของอเมริกาถ่ายภาพกลุ่มดาวฤกษ์กลุ่มยักษ์
เฉพาะเส้นผ่าศูนย์กลางของกลุ่มมีความยาวเป็นระยะทางถึง 25,000 ปีแสง
เป็นที่รวมของดาวฤกษ์จำนวนไม่ต่ำกว่า 100,000 ดวง แต่ละดวงมีอายุเก่าแก่เกือบ 13 พันล้านปี.


อาทิตย์ปะทุ
ภาพถ่ายเอกซเรย์ดวงอาทิตย์ จากยานอวกาศสังเกตการณ์ดวงอาทิตย์
ขณะที่กำลังเกิดปะทุขึ้นอย่างดุเดือด


เนินทรายบนดาวอังคาร
องค์การอวกาศของอเมริกาได้นำภาพถ่ายของยานอวกาศตรวจการณ์ในวงโคจร
รอบดาวอังคารออกเปิดเผย เป็นภาพของเนินทรายที่เพิ่งก่อตัวขึ้นใหม่ๆ บนดาวอังคาร
นักวิทยาศาสตร์ขององค์การ ได้อาศัยการติดตามความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้
มาคำนวณหาความเร็วของลมพายุในแต่ละฤดูได้.


ดาวเคราะห์ต่างสุริยจักรวาล
ภาพวาดของดาวเคราะห์ต่างสุริยจักรวาลดวงแรกที่เพิ่งพบ เป็นบริวาร
ของดาวฤกษ์ที่ชื่อว่า “เบตา พิคตอริส” ดาวเคราะห์ดวงนี้มีเวลาของวันหนึ่ง
แค่เพียง 8 ชม. ของโลกเราเท่านั้น และยังหมุนรอบตัวเองด้วยความเร็วสูง
ถึงชั่วโมงละ 100,000 กม.


กลุ่มดาวทรงก้นหอย
ภาพถ่ายของกลุ่มดาวทรงก้นหอย “เอ็ม 81” แม้จะอยู่ห่างไกล
จากโลกถึง 12 ล้านปีแสง แต่ก็เป็นกลุ่มดาวที่มีความใหญ่โตมหึมา
และมีแสงสุกสว่างค่อนข้างมากบนท้องฟ้า.


ดาวมฤตยู
ยานอวกาศ “แคสซินี่” ขององค์การอวกาศสหรัฐฯ ถ่ายภาพวงแหวน
ของดาวเสาร์ติดรูปดาวมฤตยู ที่เห็นเป็นจุดกลมเล็กสีน้ำเงิน
เลยพ้นวงแหวนของดาวเสาร์ออกไปดาวเคราะห์ดวงนี้อยู่ห่าง
จากดวงอาทิตย์เป็นอันดับที่ 7


กลุ่มดวงดาวสีเทคนิค
ภาพผสมของกลุ่มดวงดาวซึ่งอยู่ห่างไกล หรือกลุ่มแก๊ส ซึ่งมองเห็นแสงมัวๆ
ในท้องฟ้าตอนกลางคืน อยู่ห่างจากโลกเป็นระยะทาง 1,400 ปีแสง
ถ่ายโดยกล้องเอกซเรย์บนยานอวกาศ “จันทรา” ผสมกับภาพถ่าย
โดยกล้องโทรทรรศน์ของยานอวกาศ สปิทเซอร์ สเปซ มันเป็นที่เกิด
ของดาวฤกษ์จำนวนมาก ดวงที่อยู่ตามริมขอบจะแก่กว่าดวงที่อยู่แถวตรงกลาง


ปานหด
องค์การอวกาศสหรัฐฯ เปิดเผยภาพถ่ายล่าสุดของดาวพฤหัสบดี
ซึ่งสังเกตพบว่า บริเวณที่เห็นเป็นปานแดง มีขนาดเล็กลงอย่างผิดสังเกต
บริเวณแห่งนี้ แท้จริงเป็นบริเวณที่เกิดพายุรุนแรงขนาดใหญ่ มาชั่วนาตาปี


อภิมหาโลก
ภาพวาดแสดง “โลกยักษ์” เคปเลอร์-10 ซี เห็นดาวเคราะห์หินละลาย
เคปเลอร์ -10 บี อยู่ข้างหลัง ส่วนโลกยักษ์เป็นดาวเคราะห์ที่เป็นหินขนาดยักษ์
โตกว่าโลกของเรา 2.3 เท่า และมวลมากกว่ากัน 17 เท่า.


ภาพนอกโลก
มนุษย์อวกาศไรด์ ไวส์แมน บนสถานีอวกาศระหว่างประเทศ ถ่ายภาพพื้นผิวโลกเบื้องล่าง
ของยามเย็นวันหนึ่ง ขณะที่ท้องฟ้าปลอดโปร่ง ปราศจากเมฆหมอก
มองเห็นทะเลแดงอยู่ติดกับทะเลทรายอียิปต์


ดาวยักษ์เซตา โอฟิอชิ
ยานอวกาศกล้องโทรทรรศน์ ถ่ายภาพดาวยักษ์เซตา โอฟิอชิ อันเป็นดาวที่มีความร้อน
ซึ่งยังหนุ่ม ห่างจากโลก 370 ปีแสง ขนาดใหญ่โตเหมือนกับยักษ์ ทำให้ดวงอาทิตย์
ของเราดูเล็กกะจ้อยร่อย ซ้ำยังร้อนกว่า 6 เท่า กว้างกว่า 8 เท่า และมีมวลมากกว่า 20 เท่า
ดาวยักษ์ดวงนี้ยังโคจรด้วยความเร็วถึงวินาทีละ 24 กม. ความเร็วสูงขนาดฝ่ากำแพงเสียง
ของดวงดาวอื่นๆ ที่อยู่โดยรอบได้


พายุแม่เหล็ก
องค์การอวกาศสหรัฐฯเปิดเผยภาพถ่ายดวงอาทิตย์ ที่กำลังเกิดพายุแม่เหล็กพัดส่งลำพลาสมา
พุ่งยื่นออกไปไกลถึง 256,000 กม. แต่ไม่แรงพอจะหลุดพ้นแรงดึงดูดออกไปได้


ดาราจักรก้นหอย
องค์การอวกาศสหรัฐฯ เปิดเผยภาพถ่ายดาราจักรก้นหอย NGC 6872
จากปลายลายก้นหอยข้างหนึ่งไปถึงปลายอีกข้างหนึ่ง อยู่ห่างกันถึง 522,000 ปีแสง
ขนาดของมันใหญ่กว่ากลุ่มดาวที่เป็นบ้านของเราประมาณ 5 เท่า กลุ่มนักดาราศาสตร์
ได้ยอมยกให้มันเป็นดาราจักรก้นหอยที่ใหญ่โตที่สุด.


หลุมบ่อดาวอังคาร
องค์การอวกาศสหรัฐฯ เผยแพร่รูปถ่ายของยานสำรวจบนดาวอังคาร มองเห็นชั้นหินบนพื้น
ของหลุมบ่อที่มีชื่อว่าหลุมบ่อ “แมคลอลิน” เป็นหินตะกอน ที่มีหลักฐานที่ต้องมอง
ด้วยกล้องจุลทรรศน์ของแร่ธาตุติดอยู่บริเวณที่เห็นกินพื้นที่กว้างประมาณ 550 เมตร.


ภาพจากดาวอังคาร
ยานอวกาศ “เคียวริออส ซิที “ซึ่งปฏิบัติงานอยู่บนดาวอังคาร ส่งภาพถ่ายตอนกลางคืน
เป็นภาพของก้อนหินบนพื้นดาวอังคาร  อยู่ในบริเวณที่มีชื่อว่า “อ่าวเยลโลว์ ไนฟ์”.


เจาะไชผิวพื้นดาวอังคาร
ยานอวกาศสำรวจ “เคียวริออส ซิที” บนดาวอังคาร ใช้สว่านขุดเจาะเพื่อเก็บตัวอย่างดินหิน
ของดาวอังคารเอามาวิเคราะห์ ที่ตรงบริเวณที่เรียกกันว่า “อ่าวเยลโลว์ไนฟ์”.


เนินทรายดาวอังคาร
องค์การอวกาศสหรัฐฯเปิดเผยภาพถ่ายบริเวณที่เป็นเนินทรายใกล้กับขั้วเหนือของดาวอังคาร
เนินทรายแต่ละแนวมีความกว้าง 1.3 กม. เนินทรายจะปรากฏให้เห็นเมื่อแผ่นน้ำแข็งของ
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ค่อยระเหยเป็นไอขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ.


เมฆจักรวาล
องค์การอวกาศสหรัฐฯ เผยแพร่ภาพของเมฆจักรวาล และกระแสลมระหว่างดวงดาวอันสวยงาม
วัตถุเหล่านี้ยังอยู่ในระยะเยาว์วัยเพิ่งจะอยู่ในช่วงแรกเริ่มของการก่อตัวขึ้น.


ยานอวกาศสำรวจ
องค์การอวกาศสหรัฐฯเผย แพร่ภาพวาดของดาวพฤหัสบดี กับดวงจันทร์  บริวารดวงยักษ์ดวงหนึ่ง
เป็นการช่วยโฆษณาโครงการส่งยานอวกาศสำรวจขององค์การอวกาศแห่งยุโรป
ไปดูดวงจันทร์เหล่านี้ในปี พ.ศ.2565.


ดาวจิ๋ว
ภาพวาดของดาวเคราะห์จิ๋ว “เคปเล่อร์-3b” ซึ่งโตกว่าดวงจันทร์ของโลกเพียงเล็กน้อย
ใช้เวลาโคจรรอบดาวแม่ 13 วัน ที่เพิ่งพบกันสดๆ ร้อนๆ คาดว่าอุณหภูมิพื้นผิวสูงถึง
400 องศาเซลเซียส และเป็นดาวที่เป็นหิน.


หลุมดำ
ภาพวาดนำออกเผยแพร่โดยองค์การอวกาศสหรัฐฯ แสดงให้เห็นหลุมดำขนาดมหายักษ์
ตรงกลางมีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์ของเราไม่รู้กี่ล้านต่อกี่พันล้านเท่า ล้อมรอบด้วยวัตถุ
รอคอยเลื่อนไหลลงไปอยู่ในหลุมดำ.


ดาราจักรก้นหอย
องค์การอวกาศสหรัฐฯเปิดเผยภาพถ่ายดาราจักรวังน้ำวน อันเป็นดาราจักรก้นหอยดึกดำบรรพ์อันหนึ่ง
อยู่ห่างไกลจากโลก 30 ล้านปีแสง กลุ่มดาวกลุ่มนี้มีความกว้างใหญ่ถึง 60,000 ปีแสง
เป็นกลุ่มดาวที่สว่างไสวมากที่สุดเห็นอยู่บนท้องฟ้า

ภาพและข้อมูล : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
31-31 : ne.18 oct./col
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18 สิงหาคม 2558 13:39:59 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5767


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: 26 ธันวาคม 2557 15:46:54 »

.


บินระดับสตราโตสเฟียร์
ภาพสร้างด้วยคอมพิวเตอร์ แสดงเครื่องบินพลังงานแสงแดด บินอยู่ในระดับความสูง
ชั้นสตราโตสเฟียร์ ที่เริ่มจากชั้นสตราโตฟอส ขึ้นไปถึงระดับ 55 กม. จากระดับ
ทะเลปานกลาง ไม่มีเมฆเป็นที่อยู่ของชั้นโอโซน



พื้นผิวดาวหาง
ภาพซึ่งประกอบด้วยรูปภาพเล็กๆ หลายรูปประกอบเข้าด้วยกัน เป็นภาพถ่ายจากยานอวกาศ
โรเซตต้า ถ่ายขณะที่หย่อนยาน “ฟิเล” ลงบนพื้นผิวดาวหาง ในช่วงเวลาครึ่งชั่วโมง.



เตรียมออกเดินทาง
ยานอวกาศ “โซยุซ ทีเอ็มเอ-15 เอ็ม ของรัสเซีย ถูกติดตั้งบนฐานส่งจรวด
ที่สนามส่งจรวดไบเคอร์นอร์ เพื่อส่งทีมมนุษย์อวกาศทีมใหม่ ขึ้นไปประจำ
อยู่บนสถานีอวกาศ ตอนปลายเดือนนี้. (พ.ย.57)



มนุษย์อวกาศหญิงอิตาลี
มนุษย์อวกาศหญิง สมันทา คริสโตฟอเรตติ เป็นมนุษย์อวกาศหญิงของอิตาลี
คนแรกในประวัติศาสตร์ เธอจะถูกส่งขึ้นไปประจำอยู่บนสถานีอวกาศระหว่างประเทศ
ซึ่งจะได้หอบเครื่องชงกาแฟเอสเปรสโซ เครื่องแรกในอวกาศ ขึ้นไปชงกาแฟ
เอสเปรสโซมักกะโรนีขนานแท้ ให้เพื่อนมนุษย์อวกาศคนอื่นได้ดื่มด้วย



แผ่นดินเหนือสุด
องค์การอวกาศสหรัฐฯเปิดเผยภาพถ่ายภูมิประเทศของเขตแดนเมืองนูนาวุต
อันเป็นดินแดนอยู่ปลายเหนือสุดของแคนาดา มีหลักฐานแสดงว่าเคยมีผู้คน
อาศัยอยู่ตั้งแต่สมัยก่อนคริสต์ศักราช 2,000 ปี ในปัจจุบันก็ยังมีผู้คนอยู่
ไม่เกิน 200 คน พื้นที่ส่วนใหญ่ของดินแดนอันเป็นเกาะปกคลุมด้วยแม่น้ำน้ำแข็ง.



ดวงจันทร์ยูโรปา
องค์การอวกาศสหรัฐฯแสดงภาพถ่ายอันใกล้ชิดของดวงจันทร์ยูโรปา
ของดาวพฤหัสบดี มันเป็นดวงจันทร์ดวงใหญ่ที่สุด.



เยี่ยมดาวพลูโต
ภาพวาดของจิตรกรองค์การอวกาศสหรัฐฯ เป็นภาพวาดของยานอวกาศ “นิว ฮอไรเซนส์”
ระหว่างการเดินทางมุ่งหน้าไปยังดาวพลูโต หลังการเดินทางไปนาน 9 ปี ได้ระยะทาง
4.8 พันล้าน กม. โดยองค์การได้กำหนดจะส่งสัญญาณ ให้มันตื่นจากการจำศีล
เพื่อทำงาน ตอนจวนจะไปถึง ดาวเคราะห์แคระ ที่เป็นน้ำแข็งดวงนี้.



อเมริกาจากอวกาศ
ภาพถ่ายของบริเวณดินแดนของอเมริกา บริเวณ เกรท เลคและภาคกลาง
ถ่ายจากสถานีอวกาศ ระหว่างประเทศ ขณะนี้ทีมมนุษย์อวกาศบนสถานี
กำลังวุ่นอยู่กับงานทาง การแพทย์และวิทยาศาสตร์ เพื่อเตรียมไว้รับ
ยานอวกาศลำเลียง ซึ่งกำหนดจะเดินทางไป เพื่อเอาของไปส่ง.



หินตะกอนดาวอังคาร
กล้องของยาน “เคียวริออส ซิตี้” บนดาวอังคาร ถ่ายภาพชั้นหินตะกอน
บริเวณซึ่งเชื่อว่าเคยเป็นก้นทะเลสาบ สมัยเมื่อหลายพันล้านปีมาแล้ว
ยิ่งนับเป็นหลักฐานเพิ่มพูนมากขึ้นว่า ดาวอังคารก็เป็นคล้ายกับโลก
ที่เคยมีสภาพเหมาะกับสิ่งมีชีวิต



รูบนดาวอังคาร
องค์การอวกาศสหรัฐฯ เปิดเผยภาพรูปที่ยานสำรวจ “เคียวริออส ซิตี้”
เจาะลึกลงไปบนก้อนหินบนดาวอังคาร เข้าไปภายใน แล้วเก็บรวบรวมตัวอย่าง
ของผงละอองวัตถุภายในขึ้นมา นักวิจัยแจ้งว่า ยานได้วัดปริมาณแก๊สมีเทน
ที่เพิ่มขึ้นสูงกว่าปกติถึง 10 เท่า นักวิทยาศาสตร์ได้ใช้ให้ยานเจาะรูบนพื้น
ดาวอังคาร ชั่วเวลาระหว่างที่ปฏิบัติงานนาน 20 เดือนหลายสิบรูแล้ว.
 


วิวจากสถานีอวกาศ
ภาพของบริเวณอ่าวเม็กซิโกและฝั่งริมอ่าวของสหรัฐฯ ที่มองลงมาจาก
สถานีอวกาศระหว่างประเทศ บนวงโคจรรอบโลกสูง 352 กม. สถานี
จะโคจรรอบโลกรอบหนึ่งด้วยเวลาเพียง 92 นาที ดังนั้น มนุษย์อวกาศ
บนสถานีจะมีโอกาสได้เห็นพระอาทิตย์ขึ้นและตก วันละ 16 ครั้ง.



ดาวเทียมดวงอาทิตย์
ดาวเทียมสังเกตการณ์โซล่าร์ ไดนามิคส์ของอเมริกา ถ่ายภาพของดวงอาทิตย์
ในขณะที่กำลังเกิดการปะทุขึ้นอย่างดุเดือด เมื่อตอนกลางเดือน (ธ.ค. 57)


ข่มขู่ด้วยปรมาณู
หุ่นจำลองของจรวด “สกั๊ด-บี” ของเกาหลีเหนือ (กลาง) และแบบต่าง ๆ ของเกาหลีใต้
ถูกนำมาติดตั้ง ที่หน้าพิพิธภัณฑ์ผ่านศึกสงครามเกาหลี ในกรุงโซล ของเกาหลีใต้
ในพิธีลงนาม ในสนธิสัญญาแลกเปลี่ยนข่าวกรอง 3 ชาติ อันมีเกาหลีใต้
ญี่ปุ่นและสหรัฐฯ เป็นการตอบโต้กลับที่คอมมิวนิสต์เกาหลีเหนือชักข่มขู่
ด้วยอาวุธนิวเคลียร์หนักข้อขึ้นในยามนี้.


ทางช้างเผือก “อีเกิล”
ยานอวกาศกล้องโทรทรรศน์ “ฮับเบิล” ของสหรัฐฯ ถ่ายภาพทางช้างเผือก “อีเกิล”
ที่มีฉายาว่า “เสาหลัก” ของพระเจ้าอันน่าเกรงขาม ตามข่าวขององค์การบริหาร
การบินและอวกาศแห่งชาติ สหรัฐฯกล่าวว่า นักดาราศาสตร์ได้สังเกตพบลำแสง
ยาวเรียว ตัดข้ามอวกาศอันไร้ขอบเขต ซึ่งอาจปล่อยออกมาจากดาวฤกษ์
ที่เพิ่งถือกำเนิดด้วยความเร็ว 450,000 ไมล์ต่อชั่วโมง ในช่วงเวลา 19 ปีที่แล้วมานี้
มีความยาวไกลถึง 60 ล้านล้านไมล์
 

ซากไอพ่นจากท้องทะเล
เจ้าหน้าที่ของบริษัทสร้างเครื่องบินโดยสารไอพ่น แอร์บัส ตรวจสอบซาก
ท่อนหางเครื่องบิน สายการบินแอร์เอเชีย ที่เพิ่งงมขึ้นมาจากก้นทะเลชวา
บริเวณห่างจากเมืองสุราบายา ชั่วเวลาบิน 2 ชม. ขึ้นมาได้ใหม่ๆ
เพื่อหาสาเหตุของ เครื่องบินตกลงในทะเล


ภาพถ่ายจากยานตรวจการณ์
องค์การอวกาศสหรัฐฯเปิดเผยภาพถ่ายจากยานตรวจการณ์ที่อยู่ในวงโคจร
รอบดาวอังคาร เป็นรูปที่ถ่ายติดยานอวกาศ มาร์ บีเกิล 2 ขององค์การ
อวกาศสหภาพยุโรป (เห็นเป็นรอยขีดขาว) มาด้วย ยานอวกาศลำนี้
อังกฤษเป็นตัวตั้งตัวตีในการสร้าง สูญหายไปหลังจากที่ส่งขึ้น และมีกำหนด
ไปลงจอดบนดาวอังคาร ในวันที่ 25 ธ.ค.46 แต่ติดตามไม่พบมานาน
ตั้ง 11 ปีแล้ว และยังมีเรื่องที่น่าเสียใจว่าศาสตราจารย์โคลิน ฟิลลินเกอร์
ของอังกฤษ ซึ่งร่ำลือกันว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์ผู้มีความคิดแผลงๆ
แถมยังชอบไว้เคราซี่โครงแกะอีกด้วย ผู้เป็นหัวเรือใหญ่ในการหาทุนรอน
จนส่งยานไปได้ เพิ่งมีอันต้องมาตายตอนจบ เพราะเสียใจที่หาทุนรอนเพื่อใช้
ในการติดตามหายานไม่ได้ จนอาจารย์โคลินเจ็บป่วยตรอมใจตายในที่สุด.


เครื่องบินพลังแดด
เครื่องบินใช้พลังงานแสงอาทิตย์ จอดอยู่ที่สนามบินอัลบาทีน ที่อาบูดาบี
 มีกำหนดจะขึ้นบินรอบโลกด้วยพลังแสงอาทิตย์ในเดือน ก.พ.58
โดยกำหนดจะแวะพักที่อินเดีย พม่า และจีน ก่อนจะบินข้ามมหาสมุทรแปซิฟิก
ข้ามสหรัฐอเมริกา และภาคใต้ยุโรป เพื่อจะกลับไปยังอาบูดาบีอีก.




ดาวหาง “67 พี เชอร์ยูมอฟ”
กล้องของยานอวกาศ “โรเซตตา” ขององค์กรอวกาศยุโรป
ด้วยความร่วม มือขององค์การอวกาศสหรัฐฯ จับภาพดาวหาง
“67 พี เชอร์ยูมอฟ” ในวงโคจร ในระยะประชิด ชั่วระยะห่าง 30 ก ม.
ทำให้ได้ หลักฐานเพิ่มใหม่ขึ้นอีกว่าดาวหางแอบซุกวัสดุก่อสร้าง
ของชีวิตเอาไว้ และพลอยได้ความรู้ว่าพวกดาวหางวิวัฒนาการไปอย่างไร
ขณะที่โคจรบ่ายหน้าเข้าหาดวงอาทิตย์.


ดาวระเบิด
เศษซากเปลือกดาวฤกษ์ “เอสเอ็นอาร์ 0519-69.0” ที่กำลังบวมโต
ระเบิดครั้งมหาวินาศกระเด็นไปรอบตัว ยังคงเห็นไอแก๊สร้อนแรงหลายล้านองศา
จากภาพเอกซเรย์ของยานอวกาศ “จันทรา” เป็นไอสีน้ำเงิน ส่วนที่เห็นที่ขอบนอก
เป็นสีแดง เป็นภาพถ่ายด้วยกล้องโทรทรรศน์รังสีเอ็กซ์ ของยานอวกาศ “ฮับเบิล”.


ขับไล่ไอพ่นรุ่นใหม่
บริษัทสร้างเครื่องบินโบอิ้งอวดภาพเครื่องบินขับไล่รุ่นใหม่ ซึ่งจะมาแทน
ขับไล่ไอพ่น รุ่นเอฟ-35 ขณะที่รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ
นาย โรเบิร์ต เวิร์ก ได้กล่าวเรียกร้องให้กลุ่มชาติสนธิสัญญานาโต คิดสร้าง
อาวุธแบบใหม่ขึ้นอีก เพราะจำเป็นที่จะต้องพยายามสร้าง เพื่อจะได้ใช้
ข่มชาติมหาอำนาจอย่างเช่น จีน รัสเซีย และชาติอื่นๆ.


ฝูงดวงจันทร์
ภาพถ่ายของยานอวกาศกล้องโทรทรรศน์ฮับเบิล ถ่ายภาพให้เห็น
ดวงจันทร์ดวงใหญ่ที่สุดของดาวพฤหัสบดี 3 ดวง มารวมกันอยู่ใกล้ๆ
ดาวเคราะห์ยักษ์ดวงนี้มีดวงจันทร์ขนาดใหญ่เป็นบริวารอยู่ 4 ดวงด้วยกัน
แต่การที่จะได้เห็นดวงจันทร์เหล่านี้ตั้ง 3 ดวงอยู่รวมกันไม่ใช่เรื่องง่ายนัก
นานถึงแต่ละทศวรรษถึงจะมีสัก 1–2 หนเท่านั้น.


ภาพประวัติศาสตร์
ภาพถ่ายเมื่อตอนยานอวกาศอพอลโล 14 ของสหรัฐอเมริกาลงบนดวงจันทร์
เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2514 เป็นเวลา 44 ปีมาแล้ว มนุษย์อวกาศ
อลัน เชฟเฟิร์ด ผู้เป็นกัปตัน ยืนบนยานที่ใช้บรรทุกเครื่องมือ และสัมภาระ
ไปยังที่ต่างๆ บนดวงจันทร์
 

ลายพระอาทิตย์
องค์การอวกาศสหรัฐฯเผยแพร่ภาพถ่ายดวงอาทิตย์ จากยานอวกาศ
สังเกตการณ์ดวงอาทิตย์ มองเห็นเป็นเส้นสีดำทาบอยู่บนพื้นผิว
ดวงอาทิตย์หลายแห่ง ส่วนที่ดำมากเป็นส่วนที่อุณหภูมิเย็นกว่าที่อื่น
 แนวเส้นสีดำเหล่านี้ มีความยาวรวมกันมากกว่าเอาโลก 67 ดวง
มาวางเรียงต่อกันเสียอีก.

ภาพและข้อมูล : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
31-31 : ne.20 feb./col
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09 เมษายน 2558 13:15:49 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5767


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #6 เมื่อ: 09 เมษายน 2558 13:20:21 »

.



อยู่ในอวกาศ 1 ปี

เมื่อช่วงปลายเดือนมีนาคม 2558 ที่ผ่านมา องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (นาซ่า) สหรัฐอเมริกา เริ่มทดลองการใช้ชีวิตระยะยาวในสภาพไร้น้ำหนักในห้วงอวกาศกับคนจริงๆ โดยการส่งนักบินอวกาศ สก็อตต์ เคลลี่ ขึ้นไปพร้อมกับ มิคาอิล คอร์นิเอนโก ด้วยยานขนส่ง โซยูซ จากสถานียิงจรวดไบโคนูร์ ในคาซัคสถาน โดยใช้เวลาเดินทาง 8 ชั่วโมง ก็สามารถเข้าเทียบท่าสถานีอวกาศนานาชาติไอเอสเอส ที่อยู่ห่างจากพื้นผิวโลก 400 กิโลเมตร

เคลลี่และคอร์นิเอนโก มีกำหนดจะใช้ชีวิตอยู่บนไอเอสเอส รวม 342 วัน หรือเกือบ 1 ปีเต็ม ซึ่งจะกลายเป็นสถิติสูงสุดของสถานีอวกาศแห่งนี้

นักบินอวกาศ คอร์นิเอนโก กล่าวว่า การทดลองใช้ชีวิตอยู่ยาวนานในอวกาศครั้งนี้ มีความหมายสำคัญในการทดสอบขีดความสามารถของมนุษย์ในการท่องอวกาศเป็นเวลายาวนาน ส่วน เคลลี่ แสดงความเห็นว่า การทดลองด้วยตัวเองครั้งนี้จำเป็นอย่างมากถ้าหากมนุษย์ยังต้องการสำรวจอวกาศในระยะไกลออกไป ซึ่งบางทีอาจเป็นดาวอังคาร

ทั้งนี้ เคลลี่และคอร์นิเอนโก ซึ่งอายุ 54 ปีเท่ากัน จะปฏิบัติภารกิจต่างๆ ที่ได้รับมอบหมายตามปกติ อย่างเช่นการเตรียมไอเอสเอสให้พร้อมสำหรับการเทียบท่าของยานขนส่งอวกาศใหม่ของสหรัฐอเมริกาที่จะเริ่มใช้งานในปี 2017

แต่หลังจาก 6 เดือนผ่านพ้นไป พวกเขาจะได้รับการทดสอบทางการแพทย์เพื่อประเมินความเปลี่ยนแปลงในส่วนต่างๆ ของร่างกาย

ส่วนข้อมูลที่รับรู้กันที่ผ่านมาก็คือ กระดูกและกล้ามเนื้อของคนเราจะอ่อนแอลงในสภาพไร้น้ำหนัก นอกจากนั้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายก็อ่อนแอลงด้วย  อย่างไรก็ตาม แพทย์เตรียมทดสอบดูว่า เมื่ออยู่นานถึง 1 ปี สภาวะต่างๆ เหล่านั้นจะเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่และอย่างไร
   ข้อมูล-ภาพ : หนังสือพิมพ์ข่าวสด

1

ดาวฤกษ์เซเรส
องค์การอวกาศสหรัฐฯเปิดเผยภาพของดาวฤกษ์ “เซเรส” 2 ภาพด้วยกัน
ถ่ายจากยานอวกาศ “ดอว์น” จากระยะห่าง 83,000 กม. ยานอวกาศลำนี้
มีกำหนดเดินทางถึงดาวเซเรส ในวันที่ 6 มีนาคม ศกนี้.


ลูกโลกยักษ์
ประติมากรรมรูปลูกโลกยักษ์ หน้างาน “โลกของวิทยาศาสตร์ และนวัตกรรม”
ที่สำนักงานองค์การวิจัยนิวเคลียร์แห่งยุโรป ในเมืองเมย์ริน ใกล้กับนครเจนีวา
สำนักงานแห่งนี้ ยังมีเครื่องบดโปรตอนใหญ่ที่สุดในโลกอยู่ด้วย นักวิทยาศาสตร์
ได้ใช้ในการศึกษาอนุภาคที่อาจพลิกความรู้ความเข้าใจในจักรวาลเสียใหม่ได้


ฝูงบินผาดโผนของออสเตรเลีย แสดงลวดลายพร้อมกับปล่อยควันสี ในงานแสดงการบิน
ที่ท่าอากาศยานอวาลอน เมืองลารา ทางตะวันตกเฉียงใต้ของนครเมลเบิร์น


โคจรรอบโลก
มนุษย์อวกาศอเมริกัน จอห์น เอช. เกล็นน์ จูเนียร์ ถ่ายขณะเดินทางด้วยยานอวกาศ
เมอร์คิวรี-แอตลาส 6 ในวงโคจรรอบโลก 3 รอบสำเร็จ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2505
ใช้เวลาทั้งหมด 4 ชม. 56 นาที 23 วินาที ก่อนจะกลับลงมาในมหาสมุทร.


ทำงานในอวกาศ
มนุษย์อวกาศสหรัฐฯเทอร์รี เวิร์ตส์ ออกไปทำงานนอกสถานีอวกาศนานาชาติ
อยู่ในวงโคจรรอบโลกนานหลาย ชม.และเมื่อกลับเข้ามาได้พบว่ามีน้ำขังอยู่ในหมวก
ส่อว่าชุดอวกาศอาจจะมีการรั่วอันอาจเป็นอันตรายได้ ทางองค์การได้แจ้งว่า
จะต้องมีการสืบสวนหาสาเหตุต่อไป.


ขนดาวเทียมสื่อสาร
จรวด “ฟอลคอน 9” ของบริษัทด้านอวกาศ “สเปซเอ็กซ์” ทะยานขึ้นจากฐานยิง
ของกองทัพอากาศสหรัฐฯ บริเวณแหลมคานาเวอรัล รัฐฟลอริดาของสหรัฐฯ
ขนส่งดาวเทียมสื่อสารเพื่อการพาณิชย์ 1 คู่ขึ้นสู่วงโคจรรอบโลก.


ดาวแคระ
ยานอวกาศ “ดอว์น” ขององค์การอวกาศสหรัฐฯถ่ายรูปดาวแคระ “เซเรส”
จากระยะห่าง 6,080 กม.


ดาวพฤหัสบดี กับดวงจันทร์ “แกนีมีด”
องค์การอวกาศสหรัฐฯเผยแพร่ภาพถ่ายดาวพฤหัสบดี กับดวงจันทร์ “แกนีมีด”
(ดวงกลมเล็กๆข้างใต้) หลังจากได้หลักฐานจากยานอวกาศกล้องโทรทรรศน์ฮับเบิลว่า
มีมหาสมุทรยักษ์อยู่ใต้พื้นที่เป็นน้ำแข็งหนาบนดวงจันทร์ดวงนี้ ทำให้เกิดความหวังว่า
มันอาจจะเป็นแหล่งบ่อเกิดของชีวิตแห่งหนึ่งได้.


จรวด 5 ท่อน
สื่อมวลชนชมเครื่องยนต์จรวดเชื้อเพลิงแข็งชนิด 5 ท่อน แบบ “เอสแอลเอส”
ที่สนามจรวดเมืองโปรมอนโตรี รัฐยูทาห์ มันผ่านการทดลองอยู่กับที่ลุล่วงไปแล้ว
ซึ่งจะถูกใช้เป็นแม่แรงในการเดินทางไกลลึกเข้าไปในอวกาศ ขององค์การ
อวกาศสหรัฐฯใน พ.ศ.2561 ที่จะถึงนี้.


เครื่องบินพลังงานแสงแดด
เครื่องบินใช้พลังงานแสงแดด “โซลาร์ อิมพัลส์ 2” บินรอบโลกช่วงแรก
ไปถึงสนามบินนานาชาติสรดาร วัลลภัย ปาเทล เมืองอาห์เมดาบัดของอินเดีย
ใช้เวลาบินมาจากกรุงมัสกัต ที่โอมาน ประมาณ 15 ชม. ช่วงต่อไปจะบินไปยังพม่า.


กลับจากอวกาศ
ทีมมนุษย์อวกาศประจำสถานีอวกาศนานาชาติชุดเก่า กลับลงถึงบ้านด้วยยานอวกาศ
“โซยูซ ทีเอ็มเอ–14 เอ็ม” ของรัสเซีย ร่อนลงถึงพื้นโดยร่มชูชีพ ที่ทางตะวันออกเฉียงใต้
ของเมืองเช็ซกาซกาน ทางภาคกลางของคาซัคสถาน


ภูเขาไฟระเบิด
องค์การอวกาศสหรัฐฯเปิดเผยภาพถ่ายจากยานอวกาศของภูเขาไฟบียาร์ริกา ที่ชิลี
กำลังระเบิดพ่นช้ัน เถ้าถ่านเทร่วงลงมาทางลาดเขาด้านตะวันออก ถมทับหิมะของอากาศ
ยามหน้าหนาวให้เปลี่ยนเป็นสีดำ ที่เห็นเป็นรอยดำอีกทางด้านหนึ่งเป็นรอยไหลของโคลนและเถ้าถ่าน.


สุริยุปราคาเต็มดวง
ภาพถ่ายสุริยุปราคาชนิดเต็มดวง เมื่อวันที่ 20 เดือนนี้ โดยองค์การอวกาศแห่งยุโรป
ไม่เห็นในเมืองไทย เห็นแต่เฉพาะดินแดนบางส่วนของยุโรปเท่านั้น เช่น ที่หน้าพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติ
ในกรุงเวียนนา และที่ดูน่าปรีดิ์เปรมยิ่งเป็นการชมกันทั้งครอบครัว นอกจากมนุษย์แล้ว
ยังรวมทั้งหมา น้อย โดยสวมใส่แว่นตาเพื่อป้องกันดวงตาไว้พร้อม.


เครื่องบินขององค์การอวกาศสหรัฐฯบินสำรวจอยู่เหนือบริเวณชั้นน้ำแข็งบรันต์ ที่ขั้วโลกใต้
พบว่า ตั้งแต่ พ.ศ.2537 จนถึง พ.ศ. 2558 ชั้นน้ำแข็งพากันลดบางลงอย่างรวดเร็ว
บางแห่ง ลดต่ำลงถึงร้อยละ 18 ซึ่งจะทำให้ระดับน้ำทะเลต่างสูงขึ้นจาก เดิมขึ้นอีก.


ตาพายุ
ภาพถ่ายจากสถานีอวกาศนานาชาติ แสดงให้เห็นตาพายุไต้ฝุ่นลูกใหญ่ชื่อ “ไม้สัก”
ซึ่งแผลงฤทธิ์โหมกระหน่ำดินแดนไมโครนีเซีย จนได้รับความเสียหายอย่างหนัก
เมื่อต้นเดือนนี้. (เม.ย.58)


จันทรุปราคา
ช่างภาพตั้งกล้องถ่ายภาพจันทรุปราคา ที่เห็นอยู่เบื้องหลังศาสนสถานแห่งหนึ่งบนเกาะบาหลี
เฉพาะผู้ที่อยู่ริมมหาสมุทรแปซิฟิกเท่านั้นที่จะมีโอกาสได้ยลจันทรุปราคาชนิดเต็มดวงฉบับย่อครั้งนี้.


พื้นผิวดาวอังคาร
ยานอวกาศของสหรัฐฯ ถ่ายภาพพื้นผิวดาวอังคาร เห็นหย่อมความกดอากาศต่ำ
บนพื้นผิวยานอวกาศตรวจการณ์ดาวอังคารลำนี้ ได้โคจรรอบๆ ดาวอังคารตั้งแต่ต้นมา
รวมแล้ว 40,000 กว่ารอบแล้ว


ยานอวกาศลำเลียง
องค์การอวกาศสหรัฐฯเปิดเผยภาพของยานอวกาศลำเลียง “สเปซ เอ็กซ์ ดรากอน”
เมื่อเดินทางไปถึงสถานีอวกาศนานาชาติบรรทุกเสบียงอาหารและอุปกรณ์การทดลอง
วิทยาศาสตร์หนัก 2 ตันไปส่ง.

ภาพและข้อมูล : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11 มิถุนายน 2558 15:49:13 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5767


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #7 เมื่อ: 11 มิถุนายน 2558 16:29:06 »

1

ดาวแคระ
องค์การอวกาศสหรัฐฯเปิดเผยภาพถ่ายขั้วโลกของดาวเคราะห์แคระเซเรส
มองเห็นเหมือนกับจันทร์ครึ่งเสี้ยว เป็นภาพถ่ายจากยานอวกาศในระยะห่าง 33,000 กม.
และยานอวกาศกำลังขับเคลื่อนเข้าสู่วงโคจรรอบๆ ดาวดวงนี้ ตอนปลายเมษายน 2558


ฝีมือฮับเบิล
ยานอวกาศกล้องโทรทรรศน์ฮับเบิล ถ่ายภาพกลุ่มฝุ่นหรือกลุ่มละอองในอวกาศ “โอเรียน”
และกระบวนการเกิดของดวงดาว เบียดรวมตัวกันอยู่ที่เสาหลักของหมู่แก๊สอันหนาแน่น
ในขณะที่กล้องโทรทรรศน์ฮับเบิลได้ปฏิบัติงานใกล้จะครบรอบ 25 ปีแล้ว


แหล่งอนุบาลดวงดาว
องค์การอวกาศสหรัฐฯเปิดเผยภาพถ่ายจากยานอวกาศกล้องโทรทรรศน์ฮับเบิล
เป็นภาพของกลุ่มดาวที่โคจรคงที่คารินา อยู่ไกลจากโลกออกไปประมาณ 20,000 ปีแสง
ซึ่งเป็นแหล่งฟูมฟักดาวฤกษ์ ต่างๆ.


ทางช้างเผือก
ภาพถ่ายด้วยการเปิดหน้ากล้องค้าง ท้องฟ้าด้านตะวันตก เหนือเมืองพะสิม
ในเขตลุ่มน้ำอิรวดีของพม่า ถ่ายติดมองเห็น ทางช้างเผือกสุกสว่างไสว.


เชื่อมแผ่นดินติดกัน
ภาพถ่ายจากสถานีอวกาศนานาชาติมองเห็นปลายด้านตะวันออกของส่วนที่เป็นแผ่นดิน (ขวาบน)
ของทางใต้เมืองท่า ฟลอเรียนโปลิสของบราซิลกับปลายด้านตะวันตก (ล่างซ้าย)
ด้วยห่างจากกันเพียงเล็กน้อย และบัดนี้มีสะพานยาว 400 เมตร เชื่อมปลายแผ่นดินทั้งคู่ติดกันแล้ว.
 

ศูนย์วิจัยดาวอังคาร
นักวิทยาศาสตร์อเมริกันสาขาต่างๆ เข้าฝึกปฏิบัติงานที่สถานีวิจัยทะเลทรายดาวอังคาร
ที่เมืองแฮงค์ สวิลล์ รัฐยูทาห์ ดินแดนแถบนี้แม้จะไม่ใช่บนดาวอังคารจริงๆ แต่ก็มีลักษณะ
ใกล้เคียงหลายอย่าง เป็นที่โปรดปรานของเหล่านักธรณีวิทยา นักชีววิทยา และวิศวกรทั่วโลก
ต่างก็พากันมาขอฝึกงานด้วยเป็น เวลานานเกือบ 10 ปีมาแล้ว


ภาพชุดดาวพุธ
องค์การอวกาศสหรัฐฯเผยแพร่ภาพชุดของดาวพุธ ดาวเคราะห์ดวงใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด
เป็นภาพที่ถ่ายด้วยเครื่องมือหลายชนิด จากกล้องบนยานอวกาศ “เมสเซนเจอร์”
ยานอวกาศซึ่งสามารถเข้าวงโคจรรอบดาวพุธได้สำเร็จ ก็กำลังหมดเชื้อเพลิง
ประจวบกับถูกแรงดึงดูดของดาวพุธ ก็สิ้นแรงตกลงบนดาวพุธพอดี


กลุ่มดวงดาวไกลสุด
หอดูดาวฮาวาย เปิดเผยภาพกลุ่มดวงดาวใหญ่กลุ่มหนึ่ง ที่อยู่ห่างไกลโลกที่สุด
เป็นภาพถ่ายโดยยานอวกาศกล้องโทรทรรศน์ “ฮับเบิล” ส่วนที่เห็นอยู่ในล้อมกรอบ
เป็นแสงสีน้ำเงิน เป็นดาวฤกษ์อายุยังอ่อนดวงหนึ่ง


บินหมู่โลดโผน
ฝูงบินโลดโผน “เดอะ เบรทลิ่ง วิง วอล์คเกอร์” แสดงเหนือท้องฟ้าญี่ปุ่น
ร่วมกับโยชิฮิเดะ มูโรยา นักบินทีมแข่งการบินเรด บูลล์ของญี่ปุ่น
ซึ่งกำลังวาดลวดลายบินกลับท้องเหนือทะเลเซโตะในใกล้กับนครฮิโรชิมา


เข้าเทียบสถานีอวกาศ
ยานอวกาศลำเลียง “สเปซเอ็กซ์ ดรากอน” เข้าจอดที่ปลายเสาของสถานีอวกาศนานาชาติ
ในวงโคจรรอบโลก เอาสัมภาระประกอบด้วยตัวอย่างและเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ต่างๆ
น้ำหนักรวมกัน 100 กก. เศษ ขึ้นไปส่งเสร็จแล้วจึงเดินทางกลับลงมายังโลก


อาทิตย์ทรงกลด
อาทิตย์ทรงกลดปรากฏขึ้นบนฟ้า เหนือกรุงเม็กซิโกซิตี้ ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้น
จากการสะท้อนแสงของผลึกน้ำแข็งเล็กๆ

.

หลุมบ่อดาวอังคาร
องค์การอวกาศสหรัฐฯ เปิดเผยภาพถ่ายหลุมบ่อบนดาวอังคาร
ที่เพิ่งเกิดขึ้นสดๆ ร้อนๆ หลุมบ่อนี้เพิ่งสังเกตเห็นกันเมื่อเร็วๆ นี้


ดวงจันทร์ดาวเสาร์
องค์การอวกาศสหรัฐฯ เปิดเผยภาพถ่ายโฉมหน้าอันใกล้ชิด
ของดวงจันทร์เททิส  เผยโฉมหน้าอันปรุไปด้วยหลุมบ่อ อันเนื่องจาก
ถูกอุกกาบาตตกใส่  แม้ว่าดวงจันทร์ดวงนี้มีเส้นผ่าศูนย์กลางยาว 1,062 กม.
แต่ก็ยังเต็มไปด้วยหลุมบ่อขนาดใหญ่หลายหลุม.


ไต้ฝุ่น
เครื่องบินต่อสู้ประจัญบาน แบบ ไต้ฝุ่น เอฟจีอาร์ 4 ของกองทัพอากาศอังกฤษ
แสดงการบินผาดโผน เหนือท้องฟ้าเมืองบูคาเรสต์ ของโรมาเนีย


กลุ่มเมฆไฮโดรเจน
องค์การอวกาศแห่งยุโรปเปิดเผยภาพวาด เป็นภาพของกลุ่มเมฆไฮโดรเจน
รูปร่างเหมือนดาวหางยักษ์ อยู่ห่างจากโลก ประมาณ 30 ปีแสง


แสงเหนือ-แสงใต้
ปรากฏการณ์แสงเหนือเริ่มเปิดการแสดงด้วยการเปิดม่านสีเขียว ส้ม และชมพู
ที่ใกล้กับบริเวณรีครีเอชั่น แอเรีย แถบใกล้ขั้วโลกขึ้นอย่างสวยงาม
ปรากฏการณ์แสงเหนือเกิดขึ้นจากการปะทะกันของอนุภาคที่เป็นแก๊สที่มีอยู่
ในบรรยากาศของโลกกับอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าซึ่งพ่นออกมาจากดวงอาทิตย์


ดาวพลูโต
องค์การอวกาศสหรัฐฯเปิดเผยภาพถ่ายดาวพลูโตในระยะใกล้ที่สุดเท่าที่เคยถ่ายมา
ถ่ายจากยานอวกาศ “นิว ฮอไรซัน” ซึ่งกำลังจะโคจรผ่านดาวเคราะห์ดวงนี้.


ชุมนุมพายุ
ดาวเทียมถ่ายภาพพายุหลายลูกต่างพัดมุ่งหน้าเข้าประเทศจีน ตั้งแต่พายุฤดูร้อนหลินฟ้า (ซ้าย)
เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันออก ขนานกับฝั่งจีน และพายุ “จันทร์หอม” ปรากฏขึ้นอยู่เหนือร่องใต้ทะเล
ทางใต้ของเกาะโอกินาวา ญี่ปุ่น เคลื่อนตัวไปทางตะวันตกเฉียงเหนือของริมฝั่งทะเลจีน โดยทางการจีน
ได้ประกาศแจ้งให้บรรดามณฑลตะวันออกเฉียงใต้ต่างๆ เตรียมพร้อมรับมือกับพายุอย่างเต็มที่


ราคา 2 หมื่นกว่าล้าน
ช่างขององค์การอวกาศสหรัฐฯ วาดภาพของยานอวกาศ “นิว ฮอไรซันส์”
เมื่อเดินทางไปถึงดาวพลูโต พร้อมกับดวงจันทร์ “ชารอน” ดวงจันทร์ดวงโตที่สุด
ยานติดกล้องถ่ายภาพ อุปกรณ์วิทยุ เครื่องทดลองวิทยาศาสตร์ เครื่องวัดรังสี
อินฟราเรด และพลาสมาอวกาศไปเพียบ เพื่อทำแผนที่และวัดองค์ประกอบ
ของบรรยากาศ ลักษณะของยานที่เห็นเด่นชัดที่สุด ได้แก่จานเสาอากาศ
โต 2.1 เมตร ทำให้สามารถติดต่อกับโลกได้ แม้จะไกลกัน 7.5 พันล้านกิโลเมตร 
ยานอวกาศลำนี้มีมูลค่าประมาณ 23,100 ล้านบาท.


จรวดอวกาศรัสเซีย
ตำรวจรัสเซียรักษาการณ์ ขณะที่ยานอวกาศ “โซยูซ-17 เอ็ม” ถูกขนไปยังฐานส่งจรวด
ที่คอสโมโดรม ไบโคนูร์ คาซัคสถาน เพื่อใช้ส่งทีมมนุษย์อวกาศชุดใหม่
ขึ้นไปประจำบนสถานีอวกาศ ระหว่างประเทศ ในวันที่ 23 ก.ค.58


บินผาดโผน
ฝูงเครื่องบินผาดโผน กองทัพอากาศฝรั่งเศส บินแปรขบวนปล่อยสีรุ้ง เหนือจัตุรัสประตูชัย
ในกรุงปารีส ระหว่างการแข่งจักรยานปาทรุย เดอ ฟรองซ์ กำลังขับเคี่ยวกันอย่างดุเดือด
ในการแข่งช่วงท้าย ระยะทาง 109.5 กม.


ความลับยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์การบิน
เงาของเครื่องบินแบบ “พี 3 โอเรียน” กองทัพอากาศนิวซีแลนด์ ปรากฏอยู่ในน้ำ
ขณะที่บินผ่านเหนือ มหาสมุทรอินเดีย ใกล้ฝั่ง ภาคตะวันตกออสเตรเลีย
ระหว่างการช่วยค้นหาเครื่องบินโดยสารมาเลเซีย แอร์ไลน์ “เอ็มเอช 370” เมื่อปีกลาย
ซึ่งเพิ่งจะมาได้เบาะแสจากการพบเศษซากส่วนของปีก เครื่องโบอิ้ง 777 แบบเดียวกัน
แถวใกล้เกาะรียูเนียน ดินแดนของฝรั่งเศส ทางภาคตะวันตกของมหาสมุทรอินเดีย.


ดวงจันทร์ของพลูโต
เจ้าหน้าที่ของโครงการยานอวกาศ “นิว ฮอไรซันส์” เปิดเผยภาพถ่ายลักษณะพื้นผิว
ส่วนหนึ่งของดวงจันทร์ “ชารอน” ดวงจันทร์ดวงใหญ่ของพลูโต เป็นที่คาดว่าข้อมูล
ที่ยานอวกาศรวบรวม เอาไว้ กว่าจะส่งถึงโลกได้หมด อาจต้องกินเวลาถึงฤดูใบไม้ร่วงปลายปี 58 นี้.


ห้องทดลองในอวกาศ
องค์การอวกาศดีแอลอาร์ของเยอรมนี ได้รับภาพจากยานอวกาศวัดและวิเคราะห์รังสีอินฟราเรด
เป็นภาพบริเวณบนดาวหาง ที่ยานอวกาศฟิเลได้ไปลง พวกเขากล่าวว่า ข้อมูลที่ยานฟิเล
ได้สนับสนุนทฤษฎีที่ว่า ดาวหางอาจใช้เป็นห้องปฏิบัติการทดลองในอวกาศได้อย่างดี.


ภาพโลกถ่ายจากอวกาศ
องค์การอวกาศเปิดเผยภาพด้านหน้าของทวีปแอฟริกาและแถบจุดศูนย์กลาง ถ่ายจากระยะห่าง 1 ล้านไมล์
มองเห็นทะเลทรายะฮาราอยู่ทางใต้ เห็นแม่น้ำไนล์ไหลลงสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ผ่านทางอียิปต์.


ภาพดาวหาง
องค์การอวกาศยุโรปอีเอสเอ เปิดเผยภาพถ่ายของดาวหาง67 พี/ จุรีมอฟ–เกราสิเมนโก
ซึ่งกล้องในยานอวกาศถ่ายในระยะห่างจากใจกลางดาวหาง 171 กม.


หินประหลาด
นักวิทยาศาสตร์ขององค์การอวกาศสหรัฐฯ สนใจในภาพแผ่นหินส่งมาจากยานสำรวจดาวอังคาร
มันมีขนาดโตสัก 4 นิ้ว อัดแน่นด้วยซิลิกา  ซิลิกาเป็นสารประกอบของหินที่ประกอบด้วยซิลิคอน
กับออกซิเจน เหมือนกับแร่เขี้ยวหนุมานบนโลก

ที่มา (เรื่อง-ภาพ) : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

ภาพและข้อมูล : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
31-31 : ne.26 jn ./col

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18 สิงหาคม 2558 13:42:55 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5767


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #8 เมื่อ: 08 สิงหาคม 2558 14:21:05 »



เทียบโลก (ซ้าย) กับเคปเลอร์-452บี 

โลก&ดาวคู่เหมือน
ตื่นตาวงการดาราศาสตร์

ภารกิจค้นพบดาวเคราะห์คล้ายโลกขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา หรือนาซ่า ครั้งใหม่ชวนตื่นตาตื่นใจตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา
 
ดาวดวงนี้ไม่เพียงมีลักษณะคล้ายโลกทั้งหน้าตา แต่ยังมีสภาพแวดล้อมหลายๆ อย่างเหมือนกับบนโลกที่มนุษย์อยู่อาศัยในปัจจุบัน
 
เคปเลอร์-452บี (Kepler-452b) เป็นชื่อของดาวเคราะห์คล้ายโลกดังกล่าว ทีมนักวิทยาศาสตร์นาซ่าค้นพบดาวนี้จากการสำรวจด้วยกล้องโทรทรรศน์บนยานเคปเลอร์ที่โคจรอยู่ในห้วงอวกาศ นับจากส่งออกไปตั้งแต่ปี 2552 และพบดาวอื่นๆ มาหลายพันดวงที่มีชื่อนำว่า "เคปเลอร์" เหมือนกัน
 
ดาวเคปเลอร์อื่นๆ ที่พบก่อนหน้านี้เข้าข่ายคล้ายโลก ได้แก่ เคปเลอร์-22 บี เคปเลอร์-69 ซี เคปเลอร์ -62 เอฟ และ เคปเลอร์-186 เอฟ
 
สำหรับเคปเลอร์-452 บี น้องใหม่ล่าสุดนี้ มีชื่อเล่นเป็นฉายาว่า เอิร์ธ 2.0 (Earth 2.0) เพื่อจะเทียบเคียงว่าเป็นโลกหมายเลขสอง
 
ดาวคู่เหมือนอยู่ห่างจากโลกถึง 1,400 ปีแสง อยู่ในกลุ่มดาวซิกนัส (Cygnus) หรือกลุ่มดาวหงส์ เคปเลอร์-452 บี มีขนาดใหญ่กว่าโลกราวร้อยละ 60 แต่ระยะเวลาโคจรรอบดาวฤกษ์ หรือ 1 ปี บนเคปเลอร์-452 บี นั้นใกล้เคียงกับโลกมาก
 
ขณะที่โลกใช้เวลา 365 วันโคจรรอบดวงอาทิตย์ เคปเลอร์-452 บี ใช้ 385 วันโคจรรอบดาวฤกษ์  สำหรับสภาพทางธรณีวิทยา ทีมนาซ่าคาดว่ามีทั้งภูเขาไฟ มหาสมุทร และดาวฤกษ์ทอแสงอาบพื้นผิวดาวในปริมาณเหมือนกับดวงอาทิตย์และโลกของเรา  สาเหตุที่การค้นพบนี้ สร้างความตื่นเต้นให้กับวงการดาราศาสตร์อย่างมาก เนื่องจากสภาพแวด ล้อมของโลกถูกใช้เป็นดัชนีชี้วัดการมีอยู่ของสารไฮโดรเจนไดออกไซด์ หรือก็คือ "น้ำ" นั่นเอง
 
การมีน้ำหมายถึงความเป็นไปได้ที่จะพบสิ่งมีชีวิตต่างดาวมากขึ้นไปด้วย
 
จอห์น กรุนสฟีลด์ ผู้ช่วยหัวหน้าศูนย์อำนวยการภารกิจวิทยาศาสตร์ของนาซ่า ในกรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา กล่าวว่า การประกาศการค้นพบดาวเคราะห์ เคปเลอร์-452 บี นั้นมีความสำคัญเนื่องจากนับเป็นดาวเคราะห์ที่มีลักษณะคล้ายโลกมากที่สุดเท่าที่นาซ่าเคยค้นพบมา
 
เคปเลอร์ 452 บี จัดอยู่ในพื้นที่โกลดิล็อกส์ (Goldilocks Zone) มีความคล้ายกับโลกมากถึงขนาดเรียกได้ว่าเป็นโลกใบที่สอง  สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ หรือนาริต (NARIT) ของไทย อธิบายถึงพื้นที่โกลดิล็อกส์ว่า หมายถึง พื้นที่เอื้อต่อการอยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต ในภาษาอังกฤษเรียกว่า Habitable Zone หรือ Circumstellar Habitable Zone (CHZ) หรือเรียกว่า Goldilocks Zone ในภาษาพูด เป็นบริเวณพื้นที่โดยรอบดาวฤกษ์ ซึ่งหากมีวัตถุที่มีมวลระดับดาวเคราะห์ (Planet-Mass Object) ที่เป็นหินแข็งโคจรอยู่ภายในบริเวณพื้นที่นี้ และความดันบรรยากาศที่พื้นผิววัตถุดังกล่าวเพียงพอ หมายถึง "น้ำ" จะสามารถคงสถานะเป็นของเหลวบนพื้นผิวดาวได้ และนั่นหมายความว่า อาจมีสิ่งมีชีวิตอยู่
 
อย่างไรก็ตาม นายจอน เจนกินส์ หัวหน้าหน่วยวิเคราะห์ข้อมูลของนาซ่า จากศูนย์วิจัยเอมส์ เมือง มอฟเฟตต์ฟีลด์ รัฐแคลิฟอร์เนีย ระบุว่า ถึงแม้การพบดาวเคราะห์เคปเลอร์ 452 บี จะเป็นความพิเศษสุด แต่การที่ดาวดวงนี้อยู่ห่างจากโลกไปถึง 1,400 ปีแสง ทำให้ความหวังที่มนุษยชาติจะเดินทางไปถึงในระยะเวลาอันใกล้นี้เป็นไปได้ยากมาก
 

ภาพจำลองพื้นผิวบรรยากาศเคปเลอร์ 452 บี

จากการศึกษาเบื้องต้น ดาวเคปเลอร์ 452 บี ยังมีอายุเก่าแก่กว่าโลกถึง 1,500 ล้านปี มีมวลดาวเยอะกว่าร้อยละ 4 และพื้นผิวสว่างกว่าโลกร้อยละ 10 พร้อมคาดว่า สภาพพื้นผิวของ ดาวเคปเลอร์ 452 บี นั้นเต็มไปด้วยหินและพื้นดินแห้งแล้งแตกระแหง เนื่องมาจากปรากฏการณ์เรือนกระจกรุนแรงเกินกว่าจะควบคุมได้ ทำให้ความร้อนที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากดาวฤกษ์ที่กำลังหมดอายุขัย
 
สภาวะดังกล่าวจะส่งผลให้แม่น้ำและมหาสมุทรมีอัตราการระเหยที่รวด เร็ว คาดว่าจะใช้เวลาอีกราว 500 ล้านปี ก่อนน้ำทั้งหมดจะแห้งหายไป
 
ดังนั้น ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นบนดาวเคป เลอร์ 452 บี ถือเป็นสิ่งที่บ่งบอกว่าโลกจะต้องเผชิญในช่วงเวลาอีกราว 1,000 ล้านปีข้างหน้า เมื่อดวงอาทิตย์เริ่มหมดอายุขัย ทำให้มีแสงสว่างมากขึ้น และอุณหภูมิสูงขึ้น
 
ด้าน เจฟฟ์ คอฟลิน นักวิจัยประจำยานกล้องโทรทรรศน์อวกาศเคปเลอร์ จากสถาบันค้นหาสิ่งมีชีวิตทรงภูมิปัญญาต่างดาว หรือเซติ (SETI) กล่าวว่า การค้นพบดาวเคปเลอร์ 452 บี เป็นเพียงก้าวแรกของการค้นหาคำตอบว่า สิ่งมีชีวิตบนโลกเป็นเพียงสิ่งมีชีวิตเดียวในจักรวาลหรือไม่
 
"ผมและพวกคุณอาจไม่มีวันได้ไปเหยียบดาวดวงนี้แน่นอน แต่บรรดาเหลนโหลนของพวกเราอาจจะมีโอกาสได้เดินทางไปก็ได้" คอฟลินกล่าว
 
นอกจากนี้ นาซ่ายังเปิดเผยบันทึกรายชื่อดาวเคราะห์ที่อาจมีความคล้ายคลึงกับโลกอีกกว่า 500 ดวง ที่ค้นพบล่าสุดโดยยานกล้องโทรทรรศน์อวกาศเคปเลอร์ รวมทั้งหมด 4,696 ดวงแล้ว ตั้งแต่เริ่มภารกิจดังกล่าว ในจำนวนนี้ ผ่านการคัดกรองและยืนยันแล้วว่าคล้ายโลกจริง 1,030 ดวง
 
ด้านภารกิจของยานอวกาศติดตั้งกล้องโทรทรรศน์อวกาศเคปเลอร์ใช้งบประมาณไปแล้วกว่า 600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 2 หมื่นล้านบาท และเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา นาซ่า พบว่า เฟืองหมุนกล้อง 2 จาก 4 ตัว อยู่ในสภาพใช้การไม่ได้ ทำให้ยานกล้องโทรทรรศน์อวกาศเคป เลอร์ไม่สามารถซ่อมแซมได้อีกต่อไป ส่งผลให้นาซ่าเตรียมปล่อยดาวเทียมสำรวจขึ้นไปเพิ่มอีก 2 ดวง ได้แก่ เทสส์ (TESS) หรือดาวเทียมสำรวจดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ (The Transit Exoplanet Survey Satellite) นำโดยสถาบันเทคโนโลยีแมสซา ชูเซตส์ หรือเอ็มไอที และทุนสนับสนุนจากบริษัท กูเกิ้ล ผู้พัฒนาเสิร์ชเอ็นจิ้น และเทคโนโลยีชั้นนำของโลก
 
ส่วนอีกลำเป็นยานสำรวจองค์ประกอบภายในดาวนิวตรอน (Neutron Star Interior Composition Explorer) หรือไนเซอร์ (NICER) ซึ่งเป็นอีกหนึ่งในปริศนาลี้ลับของวงการดาราศาสตร์ เนื่องมาจาก "ดาวนิวตรอน" ถือเป็นดาวที่มีความหนาแน่นมากที่สุดในจักรวาล เกิดขึ้นจากแรงโน้มถ่วงมหาศาล โดยดวงหนึ่งอาจมีเส้นผ่านศูนย์กลางเพียง 12-13 กิโลเมตร แต่มีมวลหนาแน่นได้มหาศาล
 
บางดวงมีมวลเป็น 2 เท่าของดวงอาทิตย์ในระบบสุริยะ ซึ่งยานสำรวจทั้ง 2 ลำ มีกำหนดจะทะยานสู่ห้วงอวกาศในปี 2560
 
ไม่เพียงการสำรวจดาวดวงอื่นเท่านั้นที่น่าตื่นตาตื่นใจ นาซ่ายังเปิดเผยภาพถ่ายใหม่ล่าสุดของโลกที่ชวนให้ตื่นเต้นด้วย
 
ภาพล่าสุดที่ทำให้เราเห็นโลกในฐานะ "บ้าน" แบบอัพเดตนี้ถ่ายไว้เมื่อ 6 ก.ค.2558 ด้วยกล้อง Earth Polychromatic Imaging Camera หรือ EPIC (เอพิก) บนดาวเทียมสำรวจสภาพชั้นบรรยากาศจากห้วงอวกาศ หรือดิสคัฟเวอร์ (Deep Space Climate Observatory-DSCOVR)
 
ภาพเผยให้เห็นภาพดาวเคราะห์โลกที่ละเอียดที่สุดเท่าที่เคยปรากฏมา และทำให้นักวิทยาศาสตร์มองเห็นอาคาร แม่น้ำ และระบบเมฆ ขณะที่นักวิจัยของนาซ่านำภาพดังกล่าวไปตรวจสอบคราบสีน้ำเงินซึ่งเมื่อนำออกมาแล้วจะให้ภาพที่ชัดเจนกว่านี้ออกมาได้อีก คาดว่าไม่เกินเดือนกันยายนนี้
 
ดาวเทียมสำรวจชั้นบรรยากาศภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงานบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติ หรือโนอา (NOAA) ของสหรัฐ ข้างต้นนี้เพิ่งทะยานสู่อวกาศสดๆ ร้อนๆ จากแหลม เคป คานาเวรอล เมื่อ 11 ก.พ.2558
 
ภายในติดตั้งอุปกรณ์สำรวจด้านวิทยาศาสตร์ 3 ชนิด หนึ่งในนั้น คือ กล้องเอพิกมีความสามารถในการถ่ายภาพชุดละ 10 ภาพ ด้วยเทคนิคการกรองแสงที่คลื่นความถี่ของแสง (สี) ต่างๆ กัน ตั้งแต่ใต้แดง (อินฟราเรด) จนถึงเหนือม่วง (อัลตราไวโอเลต) มีความละเอียด 4 ล้านพิกเซล
 
ยานสำรวจดิสคัฟเวอร์ โคจรอยู่สูงจากพื้นโลกราว 1,500,000 กิโลเมตร เรียกว่า จุดดาวเทียม หรือจุดลากรองจ์ (แอล 1) ริเริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2541 โดย อัล กอร์ ผู้มีบทบาทรณรงค์การลดโลกร้อนคนสำคัญในขณะเป็นรองประธานาธิบดีสหรัฐคู่หูของบิล คลินตัน
 
การส่งยานไปสู่อวกาศมีจุดประสงค์เพื่อใช้เป็นดาวเทียมสำรวจความเปลี่ยนแปลงของลมสุริยะ เพื่อเป็นระบบเตือนภัยเบื้องต้นต่อการเกิดปรากฏการณ์ "พายุสุริยะ" ที่อาจสร้างผลกระทบใหญ่หลวงต่อระบบไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอ นิกส์บนโลกได้
 
รวมทั้งยังใช้เพื่อสำรวจภาวะของชั้นบรรยากาศโอโซน สภาพแวดล้อม และปัญหาหมอกควันจากภูเขาไฟด้วย ใช้งบประมาณในการพัฒนาราว 340 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 11,000 ล้านบาท
 
ประธานาธิบดีบารัก โอบามา ผู้นำสหรัฐคนปัจจุบันกล่าวถึงภาพโลกใหม่ล่าสุดนี้ว่า "เมื่อได้เห็นภาพนี้แล้ว เหมือนเป็นสิ่งย้ำเตือนถึงความสำคัญที่พวกเราทุกคนควรช่วยกันรักษาดาวดวงนี้ที่มีอยู่เพียงดวงเดียวของพวกเราให้คงอยู่เอาไว้"


ภาพวาดกล้องเคปเลอร์


ดาวที่เคปเลอร์ค้นพบและโลก

ที่มา (เรื่อง-ภาพ) : หนังสือพิมพ์ข่าวสด หน้า 21  อังคารที่ 28 ก.ค.58
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5767


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #9 เมื่อ: 18 สิงหาคม 2558 15:00:01 »

.


ภาพที่หาดูได้ยาก
องค์การอวกาศสหรัฐฯ เปิดเผยภาพด้านหลังของดวงจันทร์ ที่คนบนโลก
ไม่มีโอกาสได้เห็นง่ายๆ เนื่องจากดวงจันทร์หันหลังให้อยู่เสมอ แต่ภาพนี้
ถ่ายในขณะดวงอาทิตย์ส่องไปกระทบจากยานอวกาศซึ่งอยู่ห่างออกไป
ในระยะ 1,609,000 กม.


ผิวพื้นดาวหาง
องค์การอวกาศสหรัฐฯ เปิดเผยภาพที่ได้เก็บไว้ อันเป็นภาพพื้นผิวของดาวหาง
“จุรีมอฟเอรัสซิเมนโก” ถ่ายจากยานอวกาศ “ฟิแล แลนเดอร์” (ซ้าย)
ขณะที่ถูกปล่อยลงจอดบนดาวหาง ในระยะห่างจากพื้นเพียง 3 กม.
ส่วนภาพ (ขวา) เป็นภาพของดวงอาทิตย์


อาหารมื้ออวกาศ
องค์การอวกาศสหรัฐฯ เปิดเผยภาพถ่ายบนสถานีอวกาศระหว่างประเทศ
เป็นภาพผักกาดหอมซึ่งปลูกอยู่ในสวนครัวอวกาศบนสถานี ซึ่งเป็นการ
เตรียมหาอาหารไว้สำหรับมนุษย์อวกาศรุ่นต่อไปที่จะต้องเดินทางในอวกาศ
เป็นระยะทางไกลๆ แรมวันแรมเดือน


พ้นสุริยจักรวาล
ภาพวาดขององค์การอวกาศสหรัฐฯ  แสดงให้เห็นยานอวกาศสำรวจ “วอยเอเจอร์”
ซึ่งมีอายุ 36 ปีแล้ว เดินทางทะยานออกไปไกลถึงอาณาบริเวณปั่นป่วนของอวกาศ
ที่เต็มไปด้วยอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าแถบรอบๆ ดวงอาทิตย์ อันเป็นดินแดนใหม่
นอกสุริยจักรวาล  มันยังคงส่งรายงานต่างๆมาให้ได้อย่างไม่ขาดสาย.


มนุษย์อวกาศพันเอกคริส แฮดฟิลด์ ขององค์การอวกาศแคนาดา
ถ่ายภาพอาณาบริเวณตะวันออกกลาง ขณะอยู่บนสถานีอวกาศ
ระหว่างประเทศ ในวงโคจรรอบโลก มองเห็นคาบสมุทรไซนายและแม่น้ำไนล์.


เคียวริออส ซิที่
องค์การอวกาศสหรัฐฯ แจกจ่ายภาพถ่ายตนเองของยานอวกาศ
เคียวริออสซิที่ ที่กำลังปฏิบัติงานทดลองทางวิทยาศาสตร์อยู่บนดาวอังคาร


ค่อยสงบ
องค์การอวกาศสหรัฐฯเปิดเผยภาพถ่ายดวงอาทิตย์ เห็นรังสีที่พวยพุ่งออกมา
ค่อยหดสั้นลง ภาพถ่ายด้วยรังสีอัลตราไวโอเลต สังเกตเห็นเมฆอนุภาค
ลอยอยู่เหนือพื้น ก่อนจะสลายไป.


ฝาแฝดโลก
องค์การอวกาศสหรัฐฯแสดงภาพวาดตามความคิดของดาวเคราะห์ “Kepler–62f”
ดาวบริวารของดาวฤกษ์ดวงหนึ่ง ที่เล็กและเย็นกว่าดวงอาทิตย์ ตัวดาวบริวาร
มีขนาดโตกว่าโลกร้อยละ 40 และมีสภาพพอที่จะพักอาศัยอยู่กันได้ปีหนึ่ง
กินเวลา 267 วัน แต่อยู่ไกลจากโลกในราว 1,200 ปีแสง.


หลุมบ่อดาวพุธ
สมัยนี้มนุษย์สามารถ จะเห็นหลุมบ่อบนพื้นผิวดาวพุธ ดังในภาพขององค์การอวกาศสหรัฐฯ
เปิดเผยหลุมบ่อตรงกลางมีชื่อว่า “โดนาไลติส” มีฝุ่นละอองสีแดงสดอยู่ตรงก้น ตัดกับสีพื้น
สีน้ำเงินของภูมิประเทศโดยรอบ.


ภูเขาไฟบนโลก
มนุษย์อวกาศบนสถานีอวกาศในวงโคจรรอบโลก ถ่ายภาพภูเขาไฟ ทาทา ซาบายา (กลาง)
ภูเขาไฟที่แคว้นอัลติปลาโน ของโบลิเวีย ซึ่งยอดสูงจากระดับน้ำทะเล 5,430 เมตร.


ดาวพฤหัสบดีกับดาวหาง
องค์การอวกาศสหรัฐฯ เผยแพร่ภาพประกอบกันของเศษซาก ที่ถ่ายโดยยานอวกาศ
กล้องโทรทรรศน์ฮับเบิล ภาพดาวพฤหัสบดีกับดาวหางชูเมคเกอร์ ดาวหางดวงนี้
ถูกพบว่าเป็นดาวหางที่มากลายเป็นดาวบริวารของดาวเคราะห์ดวงแรก แทนที่
จะเป็นดวงอาทิตย์อย่างเคย อย่างไรก็ดี ดาวหางโดนแรงดึงดูดอันมหาศาลฉีกทำลาย
ออกเป็นชิ้นๆ และเศษซากของดาวหางกลับตกลงไปบนดาวพฤหัสบดี รวม 21 ชิ้นด้วยกัน
ส่วนที่เห็นเป็นจุดดำๆบนดาวเคราะห์ เป็นเงาของดวงจันทร์ “ไอโอ”.


ดาวหางจรัสแสง
องค์การอวกาศสหรัฐฯ แจกภาพถ่ายดาวหาง “ไอเอสโอเอ็น” ซึ่งยานอวกาศกล้องโทรทรรศน์
ฮับเบิลถ่ายไว้ ขณะที่โคจรเข้าไปใกล้ทางโคจรดาวพฤหัสบดีห่าง 394 ล้าน กม.


เนบูลา โอเรียน
องค์การอวกาศสหรัฐฯเผยแพร่ภาพถ่ายกลุ่มดาวและก๊าซโอเรียน ที่ยานอวกาศสปิตเซอร์ สเปซ เทเลสโคป
ขององค์การอวกาศสหรัฐฯ และยานอวกาศเฮอร์เชล ขององค์การอวกาศยุโรป ถ่ายด้วยแสงอินฟราเรด
มองเห็นดาวที่กำลังเพิ่งเกิดใหม่ 2 ดวงอยู่เบื้องหลัง.


ทะเลดำจากอวกาศ
ภาพถ่ายดาวเทียมของบริเวณทะเลดำ ซึ่งอยู่ทางใต้ตะวันออกของทวีปยุโรป มีขอบเขตติดกับยุโรป
อนาโตเลีย และคอเคซัส เชื่อมต่อกับมหาสมุทรแอตแลนติกได้ทางทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
และทะเลเอเจียน และทางช่องแคบต่างๆ ช่องแคบเหล่านี้ได้กั้นแบ่งยุโรปตะวันออกกับเอเชียตะวันตก.


องค์การอวกาศสหรัฐฯ เปิดเผยภาพดาวมฤตยู พร้อมด้วยดวงจันทร์ “เอเรียล” บริวาร
(เห็นเป็นจุดกลมขาวๆ) ถ่ายโดยยานอวกาศกล้องโทรทรรศน์ฮับเบิล ทีมนักวิทยาศาสตร์
ยังได้พบว่าดาวเคราะห์ดวงนี้ยังมีก้อนหินอวกาศก้อนหนึ่งตามติดอยู่อย่างใกล้ชิด
วารสารวิทยาศาสตร์ก็เคยรายงานว่า ดาวพฤหัสบดีก็มีก้อนหินอวกาศตามติดเป็นฝูง
ประมาณ 6,000 ก้อน จำนวนมากที่สุดในบรรดาดาวเคราะห์ด้วยกัน.


.

ดาวเสาร์
ยานอวกาศ “แคสซินี่” ถ่ายภาพดาวเสาร์ พร้อมด้วยวงแหวนเอฟ.
อยู่ถัดจากวงแหวนวงใหญ่ วงแหวนเหล่านี้ ล้วนเป็นอนุภาคน้ำแข็ง
โดยดวงจันทร์ดวงเล็กๆ 2 ดวง เข้าใจว่า เกิดจากการเบียดชนกันเองติดมาด้วย.



ลูกล้อยานดาวอังคาร
องค์การอวกาศสหรัฐฯ เผยแพร่ภาพถ่ายของยานโรเวอร์ซึ่งตระเวนอยู่บนดาวอังคาร
มาจนทุกวันนี้ เป็นภาพที่กล้องของยานถ่ายรูปลูกล้อของตนเอง



ดวงจันทร์ดาวเสาร์
องค์การอวกาศสหรัฐฯเผยแพร่ภาพถ่ายผิวพื้นของดวงจันทร์ “ไดโอเน”
ของดาวเสาร์มีความน่าดูต่างจากดวงจันทร์อื่นๆ พื้นผิวดูจะเต็มไปด้วย
เส้นสายเต็มไปหมด ผิดจากตำหนิซึ่งเป็นหลุมบ่อ ตามที่พบตามดวงจันทร์
ดวงอื่นๆ ดวงจันทร์ดวงนี้มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางยาว 1,123 กม.
ภาพนี้ยานอวกาศ “แคสซินี” ใช้กล้องถ่ายมุมแคบถ่ายไว้.


ดวงจันทร์ “ไดโอเน่”
องค์การอวกาศสหรัฐฯ เผยแพร่รูปดวงจันทร์ “ไดโอเน่” ของดาวเสาร์
กำลังลอยเด่นอยู่เหนือริมขอบวงแหวน ภาพนี้ถ่ายจากระยะห่าง
จากดวงจันทร์ 73,000 กม.


กาแล็กซี่ก้นหอย
ยานอวกาศกล้องโทรทรรศน์ “ฮับเบิล” ถ่ายภาพกาแล็กซี่ทรงก้นหอย
อยู่ไกลจากโลกเป็นระยะทาง 100 ล้านปีแสง.


สถานีอวกาศกับอาทิตย์
ภาพถ่ายสถานีอวกาศระหว่างประเทศ ขณะที่ดวงอาทิตย์โคจรผ่านไปทางด้านหลัง มองเห็นแค่เป็นจุดดำๆ.


ดาวเทียมวัดความชื้น
องค์การอวกาศสหรัฐฯเผยแพร่ภาพดาวเทียมวัดความชุ่มชื้น ที่เพิ่งถูกส่งขึ้น
เพื่อทำแผนที่ความชุ่มชื้นของแผ่นดิน ให้รู้ว่าตรงไหนยังเป็นน้ำแข็ง และตรงไหนกำลังละลายแล้ว


กาแล็กซี่
ยานอวกาศกล้องโทรทรรศน์ฮับเบิลของสหรัฐฯ ถ่ายภาพ กาแล็กซี่ก้นหอย “เมสเซียร์”
ในกลุ่มดาว “ลิโอ” ไกลจากโลกเป็นระยะทางไม่ต่ำกว่า 35 ล้านปีแสง.


โลกกับดวงจันทร์
องค์การอวกาศสหรัฐฯ เปิดเผยภาพถ่ายโลกกับดวงจันทร์ขณะโคจรผ่านดวงอาทิตย์ด้วยกัน
เห็นขอบของโลกใกล้กับขอบกรอบรูป ดูขมุกขมัว เนื่องจากถูกชั้นบรรยากาศ
ของโลกบดบังแสงอยู่ ผิดกับทางด้านซ้ายของภาพ เห็นขอบของดวงจันทร์ได้คมชัด
เนื่องจากดวงจันทร์ไม่มีชั้นบรรยากาศอย่างโลก


ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์
วารสารวิทยาศาสตร์ “ธรรมชาติ” ของสหรัฐฯ เผยแพร่ภาพการกระจายของกลุ่มแก๊ส
ที่เกิดขึ้นจากการระเบิดของกลุ่มดาวกลุ่มหนึ่ง ทำให้แก๊สกระเด็นกระจายออกไป
เป็นระยะไกลถึง 650,000 ปีแสง กลุ่มดาวกลุ่มที่สุกใสที่สุดในจักรวาลของเรา
ได้ดูดแก๊สด้วยแรงดึงดูดของตัวเอง ไม่ใช่เกิดจากการรวมตัวกันของระบบดาว
อย่างที่เคยเชื่อกันมาแต่ก่อน นักวิจัยได้บอกเอาไว้เมื่อปลายเดือนก่อนว่า
กลุ่มดาวได้ดูดเอาแก๊สไปใช้ ในการก่อกำเนิดดวงอาทิตย์ออกมาปีละไม่ต่ำกว่า 2,000 ดวง.


จันทรคราส
ดวงจันทร์กำลังถูกจับคราสในจันทรคราสชนิดเต็มดวง ไม่เห็นในเมืองไทย
มีดวงโตเป็นพิเศษ ถ่ายที่เมืองทางใต้ของฝรั่งเศส เห็นได้เฉพาะที่อเมริกา
ยุโรป แอฟริกา และเอเชียตะวันตก กับแปซิฟิกซีกตะวันออก.


ดาวอังคารมีน้ำ
ภาพถ่ายของยานอวกาศจากวงโคจรรอบดาวอังคาร บริเวณผิวพื้นที่เป็นหน้าผาสูงชัน
ถือได้ว่าเป็นภาพหลักฐานภาพแรกของน้ำทะเล ซึ่งไหลบ่าท่วมท้นพื้นผิวดาวอังคาร
ในช่วงฤดูร้อน รายงานเผยว่ายังมีภาพที่แสดงให้เห็นวี่แววของเกลือ ที่เกิดขึ้น
เมื่อตอนมีน้ำไหลเข้ามาในร่องน้ำแคบๆ ลงสู่หน้าผา ที่ยาวเกือบตลอดบริเวณ
แถบเส้นศูนย์สูตรของดาวอังคาร


ดาวหางแปลก
องค์กรอวกาศยุโรปเปิดเผยภาพของดาวหาง “จูรียูมอฟ–เกราซิเมนโก”
รูปร่างราวกับ “เป็ดยาง” เกิดจากการที่วัตถุ 2 สิ่ง โคจรด้วยความเร็วต่ำ
มากระแทกติดกันเมื่อหลายพันล้านปีก่อน ทำให้นักวิทยาศาสตร์
ต้องเกาศีรษะด้วยความประหลาดใจมาตั้งแต่พบดาวหางรูปดวงนี้ ตั้งแต่เมื่อปีก่อน


ดาวแคระ “เซเรส”
องค์การอวกาศสหรัฐฯ เปิดเผยภาพดาวแคระ “เซเรส” ถ่ายจากยานอวกาศ “ดอว์น”
ในระยะห่าง 13.600 กม. ยานออกเดินทางมาเป็นเวลา 7 ปีแล้ว เป็นระยะทาง
4.9 พันล้าน กม. กำหนดจะเดินทางไปเข้าวงโคจรรอบๆ ดาวเซเรส ภายในปีหน้านี้



องค์การอวกาศสหรัฐฯ เปิดเผยภาพถ่ายพื้นผิวดาวอังคาร บริเวณที่ภาพยนตร์ฮอลลีวูด
เรื่อง “ดาวอังคาร” ลอกแบบมาสร้างฉาก เป็นบริเวณที่มีชื่อเรียกว่า “อซิดาเลีย แพลนิเตีย”
ทั้งในเรื่องภาพยนตร์ และโครงการขององค์การ ต่างเลือกให้เป็นที่ลงของยานอวกาศ
ที่มนุษย์อวกาศออกเดินทางจากโลก.

ที่มา (เรื่อง-ภาพ) : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
n. oct.15
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01 พฤศจิกายน 2558 18:15:16 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5767


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #10 เมื่อ: 01 พฤศจิกายน 2558 18:36:35 »

.

 
แกนโลกเอียง
จากอรรถาธิบายของ รศ. ดร.วีระชัย สิริพันธ์วราภรณ์ อาจารย์ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ว่า แกนของโลกที่หมุนรอบตัวเองไม่ได้ตั้งตรงในแนวดิ่ง แต่เอียงตัวอยู่แล้ว โดยทำมุม 23.5 องศากับแนวดิ่ง ซึ่งการเอียงตัวของแกนโลกด้วยมุมนี้ทำให้เกิด 4 ฤดูกาล ได้แก่ ฤดูใบไม้ร่วง ฤดูหนาว ฤดูใบไม้ผลิ และฤดูร้อน และยังทำให้ช่วงเวลากลางวัน หรือช่วงเวลาที่มีแสงอาทิตย์ไม่เท่ากันในแต่ละฤดูกาล ปรากฏการณ์เหล่านี้ จะเห็นชัดเมื่อห่างออกไปจากเส้นศูนย์สูตรของโลก

ประเทศไทยตั้งอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร 4 ฤดูกาลจึงไม่ชัดเจนมากเหมือนประเทศที่อยู่เหนือขึ้นไป ความยาวของช่วงเวลาที่มีแสงอาทิตย์ก็แตกต่างกันเพียง 1 ชั่วโมง ยิ่งเหนือขึ้นไปหรือใต้ลงมาจากเส้นศูนย์สูตร สองปรากฏการณ์นี้จะเห็นชัดมากขึ้น

โลกหมุนรอบตัวเองเป็นปกติอยู่แล้ว เมื่อใดที่มีการเปลี่ยนแปลงมวลเกิดขึ้นภายในตัวโลกหรือทำให้การกระจายตัวของมวลภายในโลกเปลี่ยนแปลง ย่อมส่งผลต่อการเอียงตัวของแกนโลกและการหมุนของโลก ได้แก่ การเกิดแผ่นดินไหว ทำให้มวลขนาดใหญ่เคลื่อนตัวหรือภาวะโลกร้อนที่ทำให้น้ำแข็งขั้วโลกเกิดการละลายแล้วไหลไปยังส่วนต่างๆ ของโลก



การเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ทุกๆ ครั้งจะทำให้แกนโลกและการหมุนตัวเองเปลี่ยนแปลง เช่น แผ่นดินไหวที่ชิลี เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2553 ขนาด 8.8 ริกเตอร์ ทำให้แกนโลกเปลี่ยนแปลง 2.7 มิลลิอาร์กวินาที และยังทำให้เวลาสั้นลง 1.26 ไมโครวินาที นั่นคือโลกหมุนเร็วขึ้น ส่วนแผ่นดินไหวที่สุมาตราเมื่อครั้งทำให้เกิดสึนามิถล่มประเทศไทยเมื่อ 26 ธันวาคม 2547 มีขนาดถึง 9.1 ริกเตอร์ ทำให้แกนโลกเปลี่ยนแปลง 2.32 มิลลิอาร์กวินาที และยังทำให้เวลาสั้นลง 6.8 ไมโครวินาที ตามรายงานการศึกษาของ ดร.ริชาร์ด กรอสส์ นักวิจัยองค์การนาซา


 
นอกจากแผ่นดินไหวที่ส่งผลให้แกนโลกเอียงแล้ว ยังมีอีก 2 ปรากฏการณ์ที่เกี่ยวกับแกนโลก คือการควงตัวของแกนโลก การควงตัวจะครบรอบทุก 25,730 ปี ลองนึกภาพการควงตัวของลูกข่างรอบแกนดิ่ง ลูกข่างที่กำลังหมุนรอบตัวเองและแกนหมุนของมันเอียงตัวทำมุมกับแนวดิ่ง มันจะเกิดการควงตัวรอบแกนดิ่ง เนื่องจากน้ำหนักและความหนาของลูกข่างแต่ละส่วนไม่เท่ากัน

การควงตัวของแกนโลกก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล เช่น ในอีก 12,865 ปีข้างหน้า (ครึ่งหนึ่งของรอบการควงตัว) ฤดูกาลจะสลับกันโดยสิ้นเชิง หน้าหนาวปัจจุบันจะกลายเป็นหน้าร้อน และหน้าร้อนจะกลายเป็นหน้าหนาว เนื่องจากการเอียงตัวของโลกจะสลับกัน

ในปัจจุบันแกนโลกทางซีกเหนือหันเข้าหาดวงอาทิตย์ แต่อีก 12,865 ปีข้างหน้าจะหันออกห่างจากดวงอาทิตย์ ปรากฏการณ์นี้จะเปลี่ยนแปลงอย่างช้าๆ ค่อยเป็นค่อยไป มนุษย์จะปรับตัวได้ในที่สุดเพราะกินเวลาหลายชั่วอายุขัย ช่วงชีวิตของมนุษย์หนึ่งคนไม่สามารถรับรู้การเปลี่ยนแปลงนี้ได้เพราะว่าสั้นเกิน

อีกปรากฏการณ์หนึ่งคือ ปรากฏการณ์แกนโลกส่ายเข้าหาหรือส่ายออกห่างจากแกนในแนวดิ่ง จากเดิมที่ห่างอยู่แล้ว 23.5 องศา ซึ่งมีค่าการขยับมากที่สุดคือ 9.21 อาร์กวินาที (ประมาณ 0.0025 องศา) และมีรอบประมาณ 18.6 ปี ซึ่งเป็นผลกระทบมาจากอันตรกิริยาระหว่างโลกกับดวงจันทร์เป็นหลัก แม้ว่าค่าการส่ายนี้จะน้อย แต่ก็ยังมากกว่าค่าการขยับของแกนโลกเนื่องจากแผ่นดินไหวที่ชิลีหรือที่เกาะสุมาตราหลายเท่า แต่การส่ายตัวของแกนโลกส่งผลต่อสภาวะโลกร้อนด้วยหรือไม่นั้น นักวิทยาศาสตร์กำลังศึกษาหาความสัมพันธ์อยู่

ที่มา : หนังสือพิมพ์ข่าวสด


ถ่ายรูปตัวเอง
องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติของสหรัฐฯ หรือนาซา
เผยแพร่ภาพของยานสำรวจพื้นผิวดาวอังคาร “คิวริออสซิตี้”
ที่ถ่ายภาพตัวเองโดยกล้องมาร์ส แฮนด์ เลนส์ อิมเมจเจอร์ (เอ็มเอเอชแอลไอ)
ที่ติดอยู่ปลายแขนกลของตัวยาน ขณะปฏิบัติภารกิจขุดเจาะสำรวจ
พื้นผิวดาวอังคารในบริเวณที่เรียกว่า “บิ๊ก สกาย”.


เขี้ยวเล็บ
สำนักข่าวฟาร์สนิวส์ ได้เปิดเผยภาพฐานจรวด ของกองกำลังพิทักษ์-
ปฏิวัติอิสลามของอิหร่าน ในสถานที่ซึ่งไม่เปิดเผย สถานีโทรทัศน์อิหร่าน
ได้เสนอภาพนี้เช่นกัน โดยให้เห็นภาพอุโมงค์ใต้ดินซึ่งเต็มไปด้วย
อาวุธปล่อยและฐานยิง นับเป็นเครื่องแสดงว่ารัฐบาลอิรักกำลังสะสม
คลังแสงอาวุธปล่อยขนาดใหญ่ขึ้น.


ดวงจันทร์ดาวเสาร์
ยานอวกาศแคสสินี ขององค์การอวกาศอเมริกา ได้ถ่ายภาพขั้วเหนือ
ดวงจันทร์เอนเซลาดัส ของดาวเสาร์ดวงหนึ่ง ได้อย่างชัดเจน
โดยถ่ายจากระยะห่างกันเพียง 6,000 กิโลเมตร.


ไกล 70 ล้านปีแสง
องค์การอวกาศสหรัฐฯ ได้เปิดเผยผลงานชิ้นใหม่ของยานอวกาศฮับเบิล
ถ่ายรูปกาแล็กซี่แบบก้นหอย ซึ่งอยู่ห่างไกลออกไปไม่ต่ำกว่า 70 ล้านปีแสง
กาแล็กซี่อันนี้เป็นส่วนหนึ่งของกาแล็กซี่ต่างๆที่มารวมกันอยู่เป็นกลุ่มดาวเวอร์โก


กาแล็กซี่ปะทุ
ยานอวกาศกล้องโทรทรรศน์เอกซเรย์ จันทรา ถ่ายภาพกาแล็กซี่เอ็มเอส
07356+7421 ที่เกิดการปะทุขึ้นครั้งรุนแรงที่สุด เท่าที่ยานวัดได้.


ดวงจันทร์ใบเก่า
ภาพถ่ายดวงจันทร์ที่มองเห็นจากโลกทั้งดวง ถ่ายด้วยกล้องโทรทรรศน์
ตั้งแต่ พ.ศ. 2549 ผู้อำนวยการองค์การอวกาศของสหภาพยุโรป
ได้ตั้งเป้าหมายว่าจะส่งหุ่นยนต์ไปสร้างหมู่บ้านขึ้นบนด้านหลังของดวงจันทร์
เพื่อจะใช้เป็นฐานทดสอบ สำหรับการเดินทางไปยังดาวอังคารในวันหน้า


องค์การสหรัฐฯเปิดเผยภาพถ่าย
องค์การอวกาศสหรัฐฯเปิดเผยภาพถ่ายของกาแล็กซี เมสซี่ 94 ซึ่งอยู่ห่าง
จากโลกไกลประมาณ 16 ล้านปีแสง ที่เห็นวงขอบสุกสว่างเป็นบริเวณ
ที่เกิดของดาวฤกษ์ใหม่ มีผู้ขนานนามให้ว่าเป็นวงแหวนของการกำเนิดดาว


ดวงจันทร์ดาวเสาร์
องค์การอวกาศสหรัฐฯ เปิดเผยรูปของดวงจันทร์เอนเซลาดัส ของดาวเสาร์
ยานอวกาศแคสสินีได้ถ่ายไว้ขณะที่โคจรข้ามขั้วใต้ของมันไปในระยะห่าง 49 กิโลเมตร


ดาวหางตายแล้ว
องค์การอวกาศสหรัฐฯ ได้เปิดเผยรูปของดาวเคราะห์น้อย 2015 ทีบี 145
ซึ่งเคยเป็นดาวหางมาก่อน แต่บัดนี้ได้ดับแสงสิ้นแล้ว ดาวดวงนี้เป็นดาว
ที่เป็นหิน มีโฉมหน้าคล้ายกับกะโหลกศีรษะมนุษย์ เคยแวะเข้ามาใกล้โลกเมื่อวันฮาโลวีน.


เบื้องหลังดวงจันทร์
องค์การอวกาศสหรัฐฯได้เผยแพร่ภาพเบื้องหลังของดวงจันทร์กำลังรับแสงแดด
ถ่ายจากยานอวกาศ ที่ติดกล้องโทรทรรศน์ ขณะกำลังอยู่ห่างจากโลก
ในระยะประมาณ 625,000 กิโลเมตร.


ดวงจันทร์โฟบอส
องค์การอวกาศสหรัฐฯ ได้เผยแพร่รูปพื้นผิวของดวงจันทร์โฟบอส
ซึ่งเป็นดาวบริวารดาวอังคารในวงโคจรสูงจากพื้นดาวอังคาร
ประมาณ 6 พัน กม. เป็นดวงจันทร์ที่มีวงโคจรอยู่ใกล้กับดวงแม่มากที่สุด
ยิ่งกว่าดวงจันทร์ดวงใดในสุริยจักรวาล ดาวอังคารได้ดึงดูดดวงจันทร์ดวงนี้
ให้เข้ามาใกล้เข้าในอัตรารอบระยะเวลา 100 ปี ต่อ 2 เมตร
จนนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า มันจะต้องประสบชะตากรรมโดย การถูกแรง
ดึงดูดฉีกแตกออกจากกัน ภายในช่วงเวลา 30-50 ล้านปีนี้.


จรวดเอเรียน 5
จรวดเอเรียน 5 ถูกยิงขึ้นจากฐานส่งที่สนามจรวดคูรู ในดินแดนเ
ฟรนซ์เกียนา ส่งดาวเทียมสื่อสาร 2 ดวงขึ้นถึงวงโคจรได้สำเร็จ.


บรรยากาศดาวเสาร์
องค์การอวกาศสหรัฐฯเปิดเผยภาพของบรรยากาศและวงแหวนของดาวเสาร์
สร้างขึ้นจากภาพถ่ายของยานอวกาศ 12 รูปประกอบกันขึ้น.


อารมณ์อวกาศ
ดาวเทียม “เทอร์รา” ขององค์การอวกาศสหรัฐฯ ถ่ายภาพสีของทิวเขา
ซานตาลูเซีย ใกล้เมืองบิกเซอร์ รัฐแคลิฟอร์เนีย ของสหรัฐฯ
ด้วยกล้องประกอบด้วยอุปกรณ์เครื่องวัดพลังรังสี เป็นส่วนหนึ่ง
ของภาพชุดที่มีชื่อว่า “อารมณ์อวกาศ


ดวงจันทร์ดาวเสาร์
ภาพถ่ายดวงจันทร์ “เลปตุส” ของดาวเสาร์ ที่ยานอวกาศ “แคสซินี่”
ถ่ายได้อย่างชัดเจนภาพแรก.


เมืองสวน
องค์การอวกาศสหรัฐฯ เผยแพร่ภาพ ซึ่งถ่ายจากยาน “คิวริออสซิตี้”
ตามริ้วบนดาวอังคาร ถ่ายให้เห็นเครือข่ายของสายแร่ใต้หน้าผาหิน
ด้านใต้ของเขาชาร์ป นักวิทยาศาสตร์ได้บังคับให้ยานสำรวจโครงสร้าง
และองค์ประกอบตามริ้วรอยก้อนหินที่ไขว้กันไปไขว้กันมา ในบริเวณที่
ตั้งชื่อให้ว่าการ์เด้นซิตี้ “เมืองสวน” ที่ตั้งอยู่ใจกลางของบริเวณนี้
นักธรณีวิทยารู้สึกว่าริ้วรอยที่เห็นเป็นริ้วรอยทางธรณีวิทยา


ดวงจันทร์ประชัน
องค์การอวกาศสหรัฐฯ โชว์ภาพถ่ายของยานอวกาศแคสซินี
เป็นดวงจันทร์ของดาวเสาร์ 2 ดวง ดวงจันทร์ “เอนเซลาดุส” (ดวงเล็ก)
และดวงจันทร์ “ไดโอนี” (ดวงใหญ่) แม้ทั้งคู่จะประกอบด้วยวัตถุ
อย่างเดียวกัน แต่สะท้อนแสงได้แรงต่างกัน ดวง “เอนเซลาดุส”
มีขนาดเล็กกว่า เส้นผ่าศูนย์กลาง 504 กม. สะท้อนแสงได้แรงกว่ามาก
จนมองเห็นสุกสว่างกลางท้องฟ้ายามราตรีอันมืดมิด ผิดกับ “ไดโอนี”
มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1,123 กม. รุ่นพี่มีอายุแก่กว่ากันมาก
พื้นผิวเก่าแก่คร่ำคร่าเพราะตากแดดตากลมและฝนมานาน.


จรวดขององค์การอวกาศโลก
ช่างขององค์การอวกาศยุโรป กำลังระดมกันตกแต่งยานอวกาศ
เอ็กโซมารส์ ที่โรงงานจรวดเมืองคานส์ภาคใต้ของฝรั่งเศส
เพื่อเตรียมส่งเดินทางไปยังสนามจรวดไบโคนูร์ ในคาซัคสถาน
ยานอวกาศลำนี้เป็นการร่วมมือระหว่างรัสเซียและสหภาพยุโรป
เพื่อส่งให้เดินทางไป เก็บตัวอย่างพื้นผิวของดาวอังคารในระดับ
ความลึก 1–2 เมตร ในวันหน้า.


เครื่องบินพลังแดด
เครื่องบินพลังงานแสงอาทิตย์บินขึ้นจากท่า อากาศยานสากลนคร
มัณฑะเลย์ของอินเดีย เพื่อออกเดินทางต่อไปในความพยายามบินรอบโลก


ดวงจันทร์โฟบอส
องค์การอวกาศสหรัฐฯ เปิดเผยภาพถ่ายพื้นผิวดวงจันทร์โฟบอส
ของดาวอังคารอันใกล้ชิด มองเห็นร่องตื้นๆ ทาบอยู่บนพื้นผิว
เป็นแนวยาวถึง 6,000 กิโลเมตร ดวงจันทร์ดวงนี้เป็นบริวาร
ที่อยู่ใกล้ดาวเคราะห์มากที่สุดในสุริยจักรวาล ดาวอังคารได้ดึงดูด
ดวงจันทร์ให้เข้าไปใกล้ตัว ในอัตราศตวรรษละ 6.6 ฟุต
นักดาราศาสตร์ได้ประมาณว่า มันจะถูกดาวแม่ดึงดูดเข้าไปใกล้
จนแตกทำลายภายในระยะเวลา 20-40 ล้านปีข้างหน้านี้.


ยานอวกาศซิกนัส
องค์การอวกาศสหรัฐฯ แสดงรูปวาดของยานอวกาศเอทีเค ซิกนัส
ในวงโคจรบริษัทออบิตอล เอทีเค ผู้สร้างได้กำหนดไว้ว่าจะส่งมันเดินทาง
ไปยังสถานีอวกาศสากล โดยจะขนเครื่องมือวิทยาศาสตร์เสบียง
และสัมภาระ รวมทั้งเครื่องอะไหล่ของยานขึ้นไปส่งยังสถานี.


จรวดมือสอง
บริษัทอวกาศบลู ออริจิน ของอเมริกา เปิดเผยจรวดอวกาศที่กลับ
จากการทดลอง ลงมาที่สนาม ในเมืองเวสต์เท็กซัส กลับมาตั้งลำอยู่
พร้อมที่จะใช้ส่งเดินทางขึ้นได้อีก มันได้ทะยานเดินทางในอวกาศ
ไปเป็นระยะ 165 กิโลเมตร แล้วถึงได้กลับลงมา บริษัทผู้สร้าง
ซึ่งเป็นของบริษัทอเมซอนแห่งนี้ สร้างมันขึ้นด้วยความหวังที่จะใช้มัน
เป็นจรวดนำนักทัศนาจรขึ้นไปเที่ยวอวกาศในวันหน้าได้.


เกาะฮาวายจากอวกาศ
องค์การอวกาศสหรัฐฯ เปิดเผยภาพถ่ายเกาะฮาวาย ซึ่งถ่ายโดย
มนุษย์อวกาศบนสถานีอวกาศสากลในขณะเวลาเย็น มองเห็น
ร่องรอยของปล่องภูเขาไฟที่ปล่อยเถ้าถ่านและถ่านหินละลาย
ภูเขาไฟลูกสูงที่สุด มีความสูงถึง 4,205 เมตร เหนือระดับ
น้ำทะเล มันเป็นบริเวณที่น่าสนใจจากการสังเกตการณ์ทางอากาศ.


ภาพถ่ายจากยานอวกาศฮับเบิล
ยานอวกาศฮับเบิลได้ถ่ายภาพกลุ่มดาวใหญ่อีกกลุ่มหนึ่ง กลุ่มดาวนี้
ได้เข้ารวมกับกลุ่มดาวอื่น ทิ้งร่องรอยให้เห็นเพียงเมฆหมอกบางๆ
กลุ่มดาวนี้ประกอบด้วยดาวฤกษ์เรือนเป็นล้านๆดวง ที่กำลังอยู่ในช่วงอลหม่าน.


มองโลกจากอวกาศ
มนุษย์อวกาศบนสถานีอวกาศสากลในวงโคจรรอบโลก ได้ถ่ายภาพโลก
ขณะที่โคจรอยู่เหนือคาซัคสถาน โดยมนุษย์อวกาศทำงาน
ในการทดลองด้านวิทยาศาสตร์ต่างๆ อย่างไม่หยุดมือ.

 n-Dc.12
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 08 มกราคม 2559 18:57:35 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5767


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #11 เมื่อ: 08 มกราคม 2559 19:15:43 »

.

โฉมหน้าดาวพลูโต
องค์การอวกาศสหรัฐฯ ได้เปิดเผยภาพถ่ายพื้นผิวอันใกล้ชิดของดาวพลูโต
โดยยานอวกาศนิวฮอไรซันส์ มองเห็นพื้นผิวที่ขรุขระ และเต็มไปด้วยหลุมบ่อ
ของดาวพลูโต อีกรูปก็แสดงให้เห็นพื้นผิวที่มีน้ำแข็งปกคลุมอยู่ ในบริเวณ
ที่เรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า ทิวเขาอัล อิดริศศรี ทางองค์การได้กล่าวยกย่อง
ว่าเป็นภาพโฉมหน้าอันใกล้ชิดของดาวแคระดวงนี้ เท่าที่ได้เห็นมาในช่วงหลายสิบปีมานี้.


แม่น้ำน้ำแข็ง
องค์การ อวกาศสหรัฐฯ เปิดเผยภาพถ่ายแม่น้ำน้ำแข็ง ทางภาคใต้ของดินแดนกรีนแลนด์
โดยเครื่องบินสำรวจทางอากาศจากระดับสูง 3,300 ฟุต.



ยานสำรวจไส้ใน
ยานสำรวจภายในดาวอังคารลำใหม่ กำหนดจะส่งเดินทางในเดือนมีนาคม ปี 2559
แต่เกิดเหตุรั่วไหลขึ้นเสียก่อน อาจทำให้ต้องเปลี่ยนกำหนดการเดินทางเสียใหม่



ตัวอย่างดินของดาวอังคาร
องค์การอวกาศสหรัฐฯ เผยแพร่ภาพพื้นผิวของดาวอังคาร ถ่ายจาก
ยานคิวริออสซิตีบนพื้นผิวของดาว เป็นผืนทรายตื้นๆ ใกล้กับเนินทราย
ขนาดใหญ่ลูกหนึ่ง ร่องรอยของล้อยานขุดเอาข้างใต้พื้นทรายขึ้นมา
ซึ่งก็เป็นทรายเม็ดละเอียดกว่าชั้นบน มองเห็นแสงอาทิตย์ส่องขึ้นมาจากทางใต้



รูปบนดวงจันทร์
ยานอวกาศตรวจการณ์บนวงโคจรรอบดวงจันทร์ ได้ถ่ายภาพที่หาดูได้ยาก
เป็นภาพของโลกที่โผล่พ้นพื้นของดวงจันทร์ขึ้นมา ภาพสร้างขึ้นจากภาพถ่าย
หลายภาพประกอบกัน ดินแดนแถวตอนกลางของโลกเป็นดินแดนของไลบีเรีย
ส่วนที่เห็นเขตแดนบริเวณกว้างใหญ่ ทางมุมขวาบนสีน้ำตาลเป็นทะเลทราย
ซาฮารา ที่อยู่เกือบจะเลยซาอุดีอาระเบียออกไป ถัดไปทางซ้ายเป็นฝั่ง
ของอเมริกาใต้ ด้านมหาสมุทรแอตแลนติกและแปซิฟิก ส่วนรูปดวงจันทร์
เป็นภาพของหลุมบ่อคอมป์ตัน ที่อยู่เกือบจะปลายสุดทางด้านซ้าย
ยานอวกาศได้ถ่ายภาพเหล่านี้ขณะที่อยู่ห่างจากดวงจันทร์ 134 กิโลเมตร



ลำสายแก๊สร้อน
องค์การอวกาศสหรัฐฯ เผยแพร่ภาพถ่ายจากยานอวกาศสังเกตการณ์
จันทราเอกซเรย์ มองเห็นสายของรังสีเอกซเรย์ ซึ่งเป็นแก๊สที่ขับออก
จากกลุ่มดาว มีความยาวไม่ต่ำกว่า 250,000 ปีแสง นับเป็นลำแก๊สร้อน
ที่มีความยาวที่สุดเท่าที่พบมา หางของมันไปจดกลุ่มดาวสวิคกี ซึ่งอยู่ไกล
จากโลกเกือบ 700,000,000 ล้านปีแสง ความยาวของหางนี้ยาวกว่า
เอาไปพันรอบกลุ่มดาวทางช้างเผือก 2 รอบยังไม่หมด ในสายนี้ประกอบด้วย
แก๊สความร้อนสูงถึง 10 ล้านองศา แต่ก็ยังเย็นกว่าแก๊สที่อยู่ระหว่างกลุ่มดาวต่างๆ.



ดาวหางยักษ์
ราชสมาคมดาราศาสตร์ได้เผยแพร่รูป ซึ่งยานอวกาศแคสสินีถ่ายไว้
ขณะอยู่ในวงโคจรรอบดาวเสาร์ เป็นดวงจันทร์มีเส้นผ่าศูนย์กลางโต 200 กิโลเมตร
ส่อว่าดูเหมือนจะเป็นดาวหางยักษ์มาก่อน หากแต่โดนแรงดึงดูดของดาวเสาร์
ดึงดูดเข้าไปเป็นบริวาร ดาวหางเหล่านี้ นักดาราศาสตร์ได้เตือนว่า
อาจจะเป็นภัยต่อโลกมากกว่าที่คิดกัน และให้ระมัด ระวังคอยดูเอาไว้.



ดาวหางอันตราย
ราชสมาคมดาราศาสตร์ได้แจกจ่ายภาพของระบบนอกสุริยะ ตรงจุดกึ่งกลาง
ของแผนผังเป็นดวงอาทิตย์ และใกล้ๆ เป็นวงโคจรวงเล็กของดาวพุธ ดาวศุกร์
โลก และดาวอังคาร ส่วนที่เห็นหมุนเป็นวงนอกสีน้ำเงินสดใส เป็นวงโคจร
เกือบกลมของดาวพระเคราะห์ยักษ์ ดาวพฤหัส ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และเนปจูน
ส่วนวงโคจรของดาวพลูโตจะเห็นเป็นสีขาว สำหรับที่เห็นเลยดาวเนปจูนออกไป
เป็นร่องรอยของสิ่งซึ่งเป็นบริวารของดาวเนปจูน เป็นดาวหางขนาดใหญ่
ซึ่งได้พบมามากกว่า 150 ดวงแล้ว ส่วนตรงที่เห็นเป็นสีแดง เป็นวงโคจร
ของดาวหางยักษ์ จำนวนประมาณ 400 ดวง เป็นดาวหางที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง
ระหว่าง 50–100 กิโลเมตร บางดวงโตหลายร้อยกิโลเมตร ดาวหางยักษ์เหล่านี้
มีวงโคจรตัดข้ามดาวเคราะห์ใหญ่ๆ ซ้ำยังไม่แน่นอน บางดวงอาจจะหลุดพ้น
สุริยจักรวาลในที่สุด แต่อีกหลายดวงก็จะยังคงมีวิถีโคจรวนเข้าภายใน ซึ่งอาจ
สร้างอันตรายต่ออารยธรรมต่อชีวิตมนุษย์โลกได้ โลกของเรานั้น ก็มีโอกาส
เสี่ยงภัยกับดาวหางพวกนี้สูง นักดาราศาสตร์ได้บอกเตือนไว้ว่า เราควรจะจับตา
ดูดาวหางพวกนี้เอาไว้อย่างใกล้ชิด.



ร่องธารบนดาวอังคาร [/size]

ร่องธารบนดาวอังคาร
องค์การอวกาศสหรัฐฯ เปิดเผยภาพถ่ายของยานอวกาศตรวจการณ์
ในวงโคจรดาวอังคาร แสดงให้เห็นสภาพภูมิประเทศที่เรียกว่าร่องธาร
ซึ่งเป็นธารน้ำไหลที่ลึกขนาดที่ล้อรถข้ามไม่ได้ คาดว่าร่องรอยเหล่านี้
เกิดจากน้ำแข็ง มากกว่าจากสายน้ำที่ไหลผ่าน.



ทะเลร้อน
ภาพถ่ายของดาวเทียมเทอร์รา แสดงให้เห็นบริเวณของมหาสมุทรแปซิฟิก
โดนถูกการแผ่รังสีความร้อน แสดงให้รู้ว่ามหาสมุทรของโลกแถบตอนบน
ยังคงดูดกลืนความร้อนจากอุณหภูมิของที่สูงขึ้น แต่ในระดับลึกๆ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง
ของอุณหภูมิที่วัดได้ ในรอบทศวรรษนี้ ทำให้เป็นที่สงสัยกันว่าเหตุใดอุณหภูมิของโลก
กลับเพิ่มขึ้นช้าลงไปใน 2–3 ปีมานี้ นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่าน้ำทะเลในระดับ
ลึกเกิน 1,995 เมตร ไม่มีการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด พวกเขาจับได้ว่าถึงอุณหภูมิ
จะไม่เปลี่ยนแปลง แต่ระดับน้ำทะเลก็คงสูงขึ้น.


ดาวเคราะห์ดวงที่ 9
ภาพวาดตามที่นักดาราศาสตร์ค้นพบว่า อาจมีดาวเคราะห์ดวงที่ 9
ในสุริยจักรวาลของเราอีกดวงหนึ่ง แม้ว่าจะยังไม่เคยพบตัวจริง
แต่ได้หลักฐาน จากการพบปฏิกิริยาของแรงดึงดูดต่างดาว
ดาวลึกลับดวงนี้เป็นดาวขนาดยักษ์ประกอบด้วยแก๊สเช่นเดียว
กับดาวพลูโตและเนปจูน


กลุ่มดาวกลุ่มยักษ์
องค์การอวกาศสหรัฐฯนำภาพถ่ายของกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล
เป็นภาพของกลุ่มดาวกลุ่มยักษ์ “ธรัมเปลอร์ 14” เป็นกลุ่มดาว
ที่ประกอบด้วยแก๊สร้อน และกลุ่มดาวฤกษ์สุกสว่าง ในทางช้างเผือก
เป็นกลุ่มดาวที่ส่องแสงสว่างที่สุดทั่วทั้งจักรวาลทั้งหมดของเรา


ดวงอาทิตย์ 350 ล้านๆ ดวง
หอดูดาวยุโรปใต้ ได้เผยแพร่ภาพถ่ายกลุ่มดาวยักษ์ “ดับเบิลยู 2246-0526”
ปล่อยรังสีอินฟราเรดแรงจัด ขนาดเท่าจากดวงอาทิตย์รวมกันถึง 350 ล้านๆ ดวง
ภายในเหตุการณ์ปั่นป่วน รุนแรงถึงขนาดที่สามารถพ่นแก๊สที่รวมกันก่อกำเนิด
ดาวฤกษ์ใหม่ ให้หลุดกระเด็นออกมาได้


ดาวเคราะห์ยักษ์
มหาวิทยาลัยเฮิร์ทฟอร์ด ไชร์ แสดงภาพดาวเคราะห์ ที่มีชื่อรหัส
“2 MASS J2126” นักดาราศาสตร์พบดาว เคราะห์ยักษ์ดวงนี้
อยู่ในระบบสุริยจักรวาลที่ประหลาดที่สุด เพราะมีกันอยู่เพียงดาวฤกษ์
และดาวเคราะห์อยู่คู่เดียว กว่าดาวเคราะห์จะโคจรรอบดาวฤกษ์ได้รอบหนึ่ง
ต้องใช้เวลานานถึง 1 ล้านปีโลก.


ภัยของการเดินทางในอวกาศ
ภาพถ่ายต่อเนื่องการส่งยานอวกาศ “ชาเลนเจอร์” พร้อมด้วยมนุษย์อวกาศสหรัฐฯ 7 ราย
เกิดระเบิดขึ้น หลังจากยิงขึ้นจากฐานไปเพียงแค่ 75 วินาที เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2529
เสียชีวิตหมด ทางองค์การอวกาศสหรัฐฯ ได้จัดพิธีรำลึกถึงมนุษย์อวกาศที่จบชีวิตลงคราวนั้น
ในโอกาสที่เวียนมาบรรจบครบรอบปีที่ 30.


ดาวแคระ
หอดูดาวภาคใต้ยุโรปเผยแพร่ภาพถ่ายด้วยกล้องโทรทรรศน์จากหอดูดาวในประเทศชิลี
เป็นภาพกลุ่มดาวขนาดเล็กกลุ่มหนึ่ง มีฝุ่นละอองบดบังอยู่แต่เพียงเบาบาง


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23 เมษายน 2559 18:06:46 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5767


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #12 เมื่อ: 23 เมษายน 2559 18:05:40 »

.


(ภาพ : AFP)
ดาวเกิดใหม่
หอดูดาวแห่งยุโรปใต้ได้เปิดเผยภาพถ่ายของดาวฤกษ์ดวงใหม่ ที่ส่องแสงสุกสกาว
จนทำให้หมู่เมฆล้อมรอบสว่างไสวไปด้วย แม้ว่าอานุภาพฝุ่นละอองในกลุ่มเมฆใหญ่โต
ที่ล้อมอยู่จะทำให้แสงสลัวบ้าง แต่ก็ยังมองเห็นเหมือนกับแสงไฟหน้ารถที่ทะลุออกมา
เป็นที่น่าเสียดายว่า แม้การเกิดใหม่ของดาวจะน่าตื่นเต้น เป็นเพราะเมฆหมอก
อันหนาแน่นที่ล้อมรอบอยู่ ทำให้น่าดูน้อยลงไป.



(ภาพ : AFP)
ดาวควอซาร์
ช่างเขียนวาดภาพให้เห็นดาวควอซาร์ ซึ่งมีหน้าที่คอยป้อนอาหารให้กับหลุมดำ
ซึ่งเป็นตัวปล่อยคลื่นของแรงดึงดูดออกมาเป็นระยะทางไกลข้ามจักรวาล ดาวพวกนี้
อยู่ห่างไกลจากโลกเหลือคณานับ และเป็นแหล่งคลื่นวิทยุ.



(ภาพ : AFP)
ใกล้เข้ามาอีกนิด
กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลได้ถ่ายภาพดาวอังคาร ขณะเข้ามาอยู่ใกล้โลกที่สุด
ในรอบระยะเวลาเกือบ 60,000 ปี



โลกมองจากอวกาศนอกโลก
ดาวเทียมหิมาวาริ 8 ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา ของญี่ปุ่น รุ่นที่ 3 ถ่ายภาพบริเวณภูมิภาค
เอเชียแปซิฟิกบนโลก ด้วยกล้องถ่ายรังสีอินฟราเรด ช่วยให้มองเห็นพื้นเพของโลกแปลกไปอีกแบบหนึ่ง.



จอดบนดาวหาง
ภาพเมื่อครั้งยานอวกาศ โรเซตตาของสำนักอวกาศยุโรป ปล่อยยานลูกฟิเล บนดาวหาง
เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2547 หลังจากนั้นไม่นาน การติดต่อได้ขาดหายไปเหมือนกับว่ามันจำศีลไป
และเพิ่งจะส่อท่าว่าจะกลับมาทำงานได้อีกเมื่อต้นๆ ปีนี้ (พ.ศ.2559) หลังจากเงียบหายไปนานถึง 15 เดือน
แต่ก็ปรากฏว่าคราวนี้เงียบหายไปจริงๆ จนเชื่อว่าคราวนี้มันคงจะเงียบไปตลอดกาลแล้ว.



(ภาพ : AFP)
กำเนิดดาว
หอดูดาวภาคใต้ยุโรป ได้แสดงภาพดาวฤกษ์ที่เพิ่งเกิดในแถบแหล่งกำเนิดของดาว อยู่ไกลจากโลก
ประมาณ 400 ปีแสง ห้อมล้อมไปด้วยวงแหวนของก๊าซและฝุ่นละออง จานวงแหวนนี้เป็นปรากฏการณ์ขั้นต้น
ของระบบการก่อกำเนิดดวงดาว ด้วยลักษณะเหมือนกับจานแบนๆ ทำให้มีฉายาอีกชื่อหนึ่งว่า “จานบิน”



พายุ 300 กม./ชม.
ดาวเทียมสหรัฐฯจับภาพพายุหมุนไซโคลน โหมกระหน่ำหมู่เกาะฟิจิ ด้วยความเร็วลม
ชั่วโมงละ 300 กม. จนบ้านเรือนบางแถบทลายราบเป็นหน้ากลอง.



องค์การโทรทรรศน์
สำนักดาราศาสตร์แห่งยุโรปใต้ ได้เปิดเผยภาพวาด แสดงให้เห็นดาวเคราะห์ ขนาดซุปเปอร์โลก
ชื่อแคนคริ อ. โคจรอยู่หน้าดาวฤกษ์ นักดาราศาสตร์ปัจจุบันมีเครื่องมือที่ช่วยให้วิเคราะห์
องค์ประกอบของบรรยากาศ ตามดาวต่างๆ ได้ และได้ใช้วิเคราะห์ บรรยากาศของซุปเปอร์โลกดวงนี้
เป็นครั้งแรก ทั้งที่อยู่ไกลจากโลกมากถึง 40 ปีแสง พบว่าดาวฤกษ์มีขนาดเล็กกว่า อุณหภูมิน้อยกว่า
และความสว่างสู้ดวงอาทิตย์ของเราไม่ได้ ทั้งดาวเคราะห์บริวารโคจรอยู่ใกล้ชิดเกินไป
จนดาวเคราะห์มีเวลา 1 ปี เท่ากับ 18 ชั่วโมงของโลกเท่านั้น.



ดวงจันทร์ชารอน
องค์การอวกาศสหรัฐฯ อวดโฉมหน้าดวงจันทร์ชารอน ของดาวพลูโต ที่มีสีสวยงามด้วยสีต่างๆ
ยานอวกาศนิวฮอไรซันส์ ได้ถ่ายภาพนี้ และยังพบข้อมูลว่า ครั้งหนึ่งเคยมีน้ำไหลอยู่ใต้ดิน
ทำให้พื้นผิวยืดขยายและแตกระแหง.



ยานสำรวจดาวอังคาร
องค์การอวกาศสหรัฐฯได้เปิดเผยรูปวาดของยานอินไซท์ แลนเดอร์ ที่จะส่งลงบนดาวอังคาร
ทันทีที่ลงถึงพื้นมันจะใช้แขนกลตั้งเครื่องวัดความสั่นสะเทือนของแผ่นดิน และเครื่องวัดอุณหภูมิใต้พื้นผิว
องค์การต้องเลื่อนกำหนดการส่งยาน เนื่องจากอุปกรณ์บางอย่างเกิดขัดข้อง มันถูกออกแบบเพื่อหาความรู้
ว่าดาวเคราะห์ที่เป็นหินในสุริยจักรวาลรวมทั้งโลกเรานั้น ก่อตัวและวิวัฒนาการขึ้นมาอย่างไร.



ภาพอวกาศอันชัดเจน
องค์การอวกาศยุโรปได้เปิดเผยภาพวงแหวนฝุ่นละออง ที่อยู่รอบๆคู่ของดาวฤกษ์ชราคู่หนึ่ง
ซึ่งถ่ายได้อย่างชัดเจนที่สุด ด้วยกล้องโทรทรรศน์ยักษ์ของหอดูดาว ที่ประเทศชิลี.



ดาวแคระ“ซีเรส”
หอดูดาวยุโรปใต้ได้เผยแพร่ภาพวาดของดาวแคระ “ซีเรส” ที่ยานอวกาศ “ดอว์น”
ขององค์การอวกาศสหรัฐอเมริกา สังเกตพบอยู่ในหมู่ดาวที่อยู่ไกลโพ้นออกไปในอวกาศ



ยานสำรวจดาวอังคาร
องค์การอวกาศยุโรปเปิดเผยรูปวาดของยานสำรวจดาวอังคารที่ชื่อว่า
เอ็กโซมาร์ส 2016 ซึ่งมีกำหนดจะส่งออกเดินทางภายในเดือนนี้.



ภูมิประเทศดาวพลูโต
องค์การอวกาศสหรัฐฯได้แสดงภาพภูมิประเทศของดาวพลูโต เห็นภาพยอดเขา
ที่มีหิมะปกคลุม (ภาพซ้าย) ตั้งอยู่มุมตะวันออกเฉียงใต้ของเทือกเขาคธูลู รีจิโอ
นักวิทยาศาสตร์คาดว่าหิมะที่เห็นคงจะเป็นแก๊สมีเทน ที่เย็นจัดจนเป็นน้ำแข็งตกทับอยู่บนยอดเขา
ทิวเขาทิวนี้ทอดตัวเหยียดยาวเกือบครึ่งของเส้นศูนย์สูตร เป็นระยะทางยาวถึง 3,000 กิโลเมตร
และกว้าง 750 กิโลเมตร เป็นเนื้อที่ใหญ่โตกว่ารัฐอลาสกาของสหรัฐอเมริกาเสียอีก.



(ภาพ : AFP)
ดวงจันทร์เอียง
กลุ่มเผยแพร่เรื่องปรากฏการณ์ธรรมชาติเปิดเผยภาพวาดแสดงให้เห็นว่าในช่วงเวลา
4.5 พันล้านปีที่ผ่านมา ดวงจันทร์ได้เปลี่ยนท่าทางที่หันมาทางโลก ทำให้เห็นดวงจันทร์เ
ปลี่ยนไปหลายหน้า เหตุที่แกนของดวงจันทร์เอียงไปนี้ เกิดจากการระเบิดของภูเขาไฟ
ขนาดใหญ่อีกทางด้านหนึ่งของดวงจันทร์ (ภาพขวา) อีกภาพหนึ่งเป็นภาพละเอียด
แผนที่ของขั้วโลก ที่เต็มไปด้วยไฮโดรเจนของดวงจันทร์ ที่อยู่ในโลกของน้ำแข็ง
ชั้นเมฆหมอกของไฮโดรเจนได้บดบังพื้นที่บางส่วนของดวงจันทร์จากขั้วเหนือมายังขั้วใต้ไว้.



(ภาพ : AFP)
เมฆหมอกของดาวพลูโต
องค์การอวกาศสหรัฐฯได้แสดงภาพถ่ายจากยานอวกาศ “นิวฮอไรซันส์” ถ่ายภาพชั้นบรรยากาศ
ของดาวพลูโต ซึ่งซ้อนกันอยู่หนาถึง 20 ชั้น ทอดยาวเหยียดเป็นระยะทางไกลหลายร้อยกิโลเมตร
โดยที่ไม่จำเป็นจะต้องลอยขนานกับพื้นผิวอย่างเช่นนักวิทยาศาสตร์ได้พบชั้นหมอก
ที่ปกคลุมอยู่ มีความหนาถึง 5 กิโลเมตร.



ถึงที่หมายในอวกาศ


องค์การอวกาศสหรัฐฯ เปิดเผยภาพยานอวกาศลำเลียง “ออบิตัล เอทีเคเอส. ซิกนัส (เห็นลำเล็กด้านบน)
ถูกส่งขึ้นจากสนามจรวดแหลมคานาเวอรัล เมื่อวันอังคารที่แล้ว เพื่อขึ้นไปยังสถานีอวกาศสากล
ที่อยู่ในวงโคจรรอบโลก ยานได้เดินทางไปถึงและเข้าเทียบกับมือกลของสถานี เพื่อขนเสบียง
เครื่องมือวิทยาศาสตร์ รวมทั้งเครื่องพิมพ์ 3 มิติ สําหรับสร้างเครื่องมืออื่นๆ สำหรับมนุษย์อวกาศขึ้น.



ดาวเทียมเทอร์รา ขององค์การอวกาศสหรัฐฯ
ภาพถ่ายที่ราบสูงอินโดคงคา มองเห็นภาคเหนือของอินเดีย (ซ้าย) โอบล้อมทิวเขาหิมาลัย
ซึ่งทอดยาวไปจนถึงอ่าวเบงกอล (ขวา) ทุกปีอากาศทางตอนเหนือของอินเดีย เมื่อย่างเข้าหน้าหนาว
จะเลวร้ายลง ปกคลุมไปด้วยกระแสอากาศเย็นและหมอกมลพิษ เนื่องจากการจุดไฟเผาป่า
นักวิเคราะห์ขององค์การได้กล่าวว่า ดูจากภาพถ่ายแล้วอาจจะเป็นกลุ่มเมฆหมอกที่ประกอบด้วยมลพิษ
รวมทั้งจากการหุงต้มและเผาพืชพันธุ์ทางเกษตรประกอบกัน.



ดาวเทียมญี่ปุ่น
ญี่ปุ่นส่งดาวเทียมดวงใหม่ของตน เป็นดาวเทียมถ่ายภาพด้วยรังสีเอกซ์ ขึ้นจากฐานยิงจรวดทาเนกาชิมา
ในเมืองคาโกชิมา ทางใต้ สำนักอวกาศญี่ปุ่นแจ้งว่าดาวเทียมถ่ายเอกซเรย์ดวงใหม่จะใช้เพื่อศึกษา
หลุมดำและพลิกเผยความลับต่างๆ ในอวกาศ.



กำเนิดดวงดาว
หอดูดาวยุโรปใต้ได้เผยภาพ ดวงแว่นกลมของดาวฤกษ์ คล้ายกับดวงอาทิตย์ที่เพิ่งกำเนิด
อย่างที่ (ภาพเล็กมุมบนขวา) ที่ได้ขยายขึ้นให้เห็นดาวที่ใกล้ที่สุด อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์
ขนาดเดียวกับโลกและดวงอาทิตย์ ซึ่งส่อให้รู้ว่าดวงอาทิตย์เมื่อตอนอายุยังน้อย ก็เกิดจาก
กลุ่มฝุ่นละอองและก๊าซเช่นเดียวกัน ส่วนที่เห็นเป็นวงแสงและวงมืดก็เป็นดาวเคราะห์ที่เพิ่งกำเนิดขึ้นเช่นกัน.



ทางช้างเผือก
ยานอวกาศกล้องโทรทรรศน์ฮับเบิลของสหรัฐอเมริกา ได้ถ่ายภาพของกลุ่มทางช้างเผือก
ซึ่งอยุู่ห่างจากโลกเป็นระยะทาง 27,000 ปีแสง ภาพซึ่งถ่ายด้วยรังสีอินฟราเรดทำให้มองทะลุ
กลุ่มฝุ่นละออง ซึ่งมักจะปกคลุมแถวที่น่าสนใจบริเวณต่างๆ และที่เห็นบริเวณตรงใจกลางของภาพ
เป็นหลุมดำยักษ์อยู่กลางทางช้างเผือก



ดวงจันทร์นอกโลก
มนุษย์อวกาศทีมพีกชาวอังกฤษ ทีมมนุษย์อวกาศซึ่งประจำหน้าที่บนสถานีอวกาศสากลปัจจุบันนี้
ถ่ายภาพดวงจันทร์จากมุมที่เลือกคัดแล้ว




ดาวเทียมฝรั่งเศส
ศูนย์ศึกษาอวกาศแห่งชาติของฝรั่งเศส ได้แสดงภาพวาดของดาวเทียม กล้องจุลทรรศน์
ในอวกาศฝรั่งเศส ที่กำหนดจะส่งขึ้นวงโคจรปลายเดือนนี้ ดาวเทียมดวงนี้แม้จะมีขนาด
ไม่ใหญ่โตอะไรมาก แต่มีเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่เพื่อจะพิสูจน์ข้อเท็จจริงในทฤษฎีสัมพัทธภาพ
ที่อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ได้คิดขึ้นเมื่อ 100 ปีมาแล้ว.

ข้อมูล-ภาพ: ไทยรัฐออนไลน์
n-ap.23
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23 เมษายน 2559 18:08:06 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5767


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #13 เมื่อ: 07 มิถุนายน 2559 13:51:08 »




การตั้งชื่อดาวชาละวัน

จากข้อมูลที่รายงานโดย วิมุติ วสะหลาย กรรมการวิชาการสมาคมดาราศาสตร์ไทย เผยแพร่ในเว็บไซต์ของสมาคมดาราศาสตร์ ว่า เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2558 สหพันธ์ดาราศาสตร์สากลได้ประกาศผลการคัดเลือกชื่อสามัญโลกต่างระบบ 20 แห่ง หนึ่งในนั้นคือดาว 47 หมีใหญ่ (47 Ursae Majoris) ได้ชื่อว่า "ชาละวัน" นับเป็นดาวฤกษ์ดวงแรกบนท้องฟ้าที่มีชื่อสามัญสากลเป็นชื่อไทย

สหพันธ์ดาราศาสตร์สากล หรือไอเอยู (IAU-International Astronomical Union) ซึ่งเป็นองค์กรสากลที่มีหน้าที่รับผิดชอบการกำหนดชื่อและนิยามต่างๆ ในทางดาราศาสตร์ ได้ดำเนินโครงการ "เนม เอกโซ เวิลด์ส" (NameExoWorlds) มีเป้าหมายที่จะตั้งชื่อสามัญ ให้แก่ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะอื่นจำนวน 20 ระบบ บางระบบที่ดาวฤกษ์เองยังไม่มีชื่อสามัญก็ให้ตั้งชื่อสามัญให้ดาวฤกษ์นั้นด้วย โดยเปิดโอกาสให้องค์กรทางดาราศาสตร์จากทั่วโลกเสนอชื่อเข้าไป และตัดสินด้วยการลงคะแนนเสียงออนไลน์ผ่านทางอินเตอร์เน็ต โดย มีองค์กรทางดาราศาสตร์ 584 องค์กรทั่วโลกร่วมเสนอชื่อ และสมาคมดาราศาสตร์ไทยก็เป็นหนึ่งในนั้น

ดาวฤกษ์ 20 ดวง ที่สหพันธ์ดาราศาสตร์สากลคัดมาเข้าในโครงการตั้งชื่อในครั้งนี้ได้แก่ ดาวเอปไซลอนวัว (epsilon Tauri), ดาวไอโอตามังกร (iota Draconis), ดาวแกมมาซีฟิอัส หรือ แกมมาเซเฟ (gamma Cephei), ดาวแอลฟาปลาใต้ (alpha Piscis Austrini), ดาวบีตาคนคู่ (beta Geminorum), ดาวเอปไซลอนแม่น้ำ (epsilon Eridani), ดาวมิวแท่นบูชา (mu Arae), ดาวเทาคนเลี้ยงสัตว์ (tau Bootis)

ดาวอิปไซลอนแอนดรอเมดา (upsilon Andromedae), ดาวไซนกอินทรี (xi Aquilae), ดาว 14 แอนดรอเมดา (14 Andromedae), ดาว 18 โลมา (18 Delphini), ดาว 42 มังกร (42 Draconis), ดาว 47 หมีใหญ่ (47 Ursae Majoris), ดาว 51 ม้าบิน (51 Pegasi), ดาว 55 ปู (55 Cancri), ดาวเอชดี 81688 (HD 81688), ดาวเอชดี 104985 (HD 104985), ดาวเอชดี 149026 (HD 149026) และพีเอสอาร์ 1257+12 (PSR 1257+12)


ในการเฟ้นหาชื่อดาวที่จะเสนอไปยังสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล สมาคมดาราศาสตร์ไทยได้จัดการประกวดชื่อผ่านทางเว็บไซต์ของสมาคมฯ เปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปที่สนใจเสนอชื่อเข้ามา ซึ่งก็มีผู้เสนอชื่อน่าสนใจหลายชื่อ เช่น ข้าวสวย ขนมครก สุดสาคร เป็นต้น ที่สุดสมาคมดาราศาสตร์ไทยได้เลือกเอาชื่อ "ตะเภาแก้ว" เสนอโดย ด.ญ.ศกลวรรณ ตระการรังสี ส่วนชื่อ "ชาละวัน" เสนอโดย นายสุภาภัทร อุดมรัตน์นุภาพ คณะทำงานของสมาคมดาราศาสตร์ไทยจึงได้เพิ่มชื่อ "ตะเภาทอง" เข้าไปอีกหนึ่งชื่อเพื่อนำไปตั้งให้แก่ระบบสุริยะของดาว 47 หมีใหญ่ เหตุที่เลือกดาวดวงนี้เนื่องจากอยู่ในกลุ่มดาวที่ตรงกับดาวจระเข้ ของไทย สอดคล้องกับตัวละครในเรื่องไกรทองพอดี โดยให้ ชื่อชาละวันแก่ดาวฤกษ์ ส่วนตะเภาแก้วและตะเภาทองยกให้เป็นชื่อของดาวเคราะห์ทั้งสองของดาวชาละวัน

การลงคะแนนเพื่อคัดเลือกของสหพันธ์ดาราศาสตร์สากลได้เริ่มขึ้นในเดือนสิงหาคม 2558 สิ้นสุดเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม ปีเดียวกัน ผลออกมาว่า ชื่อดาวชาละวัน-ตะเภาแก้ว-ตะเภาทอง มีผู้ลงคะแนนให้สูงสุด ได้เป็นชื่อสามัญของดาว 47 หมีใหญ่และบริวารอย่างเป็นทางการ

การสถาปนาชื่อไทยให้โลกต่างระบบครั้งนี้ถือเป็นก้าวแรกในประวัติศาสตร์ชาติไทยที่ได้เผยแพร่ถึงเอกลักษณ์ของความเป็นไทยที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนานให้ชาวโลกได้รับรู้" นายเชิดพงศ์ วิสารทานนท์ กรรมการบริหารสมาคมดาราศาสตร์ไทย ประธานโครงการสถาปนาชื่อไทยให้โลกต่างระบบ (Thai NameExoWorld) กล่าวและว่า

"เมื่อเปรียบเทียบจำนวนผู้โหวตสนับสนุนกว่าครึ่งล้านคะแนนเสียงจาก 182 ประเทศ ที่เลือกโลกต่างระบบจากทั้งหมด 19 ระบบ พบว่าประเทศไทยมีคะแนนโหวตมากเป็นอันดับที่ 7 และมากกว่าชื่อลำดับที่ 2 ที่โหวตแข่งในระบบเดียวกันถึงเกือบ 3 เท่าตัว"




จันทร์ยิ้ม

พระจันทร์ยิ้มที่เคยเกิดขึ้น เกิดได้อย่างไร?

คำตอบนำมาจากอรรถาธิบายของสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) ว่า ดวงจันทร์ยิ้ม คือปรากฏการณ์ดวงจันทร์ ดาวศุกร์ และดาวพฤหัสบดี อยู่ใกล้กัน ปรากฏให้เห็นในช่วงหัวค่ำของวันจันทร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ.2551 ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ นับเป็นปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่เกิดขึ้นได้ยาก วัตถุท้องฟ้า 3 วัตถุสว่างที่สุดยามค่ำคืน ได้แก่ ดวงจันทร์ ดาวศุกร์ ดาวพฤหัสบดี มาชุมนุมกัน โดยดาวศุกร์และดาวพฤหัสบดีอยู่ห่างกันเพียง 2 องศา ส่วนดวงจันทร์ปรากฏเป็นเสี้ยว (ขึ้น 4 ค่ำ) และหันด้านมืดเข้าหาดาวเคราะห์ทั้งสองพอดี ปรากฏการณ์ในครั้งนี้จึงเป็นภาพที่น่าสนใจและปรากฏให้เห็นไม่บ่อยนัก

ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ดาวพฤหัสฯ ดาวศุกร์ และ ดวงจันทร์ โคจรมาอยู่ในกลุ่มดาวคนยิงธนู

ทั้งนี้ ดาวพฤหัสฯ จะใช้เวลาในการเปลี่ยนราศีปีละ 1 ราศี และใช้เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์ทั้งหมด 12 ปี ทำให้โอกาสของดาว 2 ดวงและดวงจันทร์ที่จะโคจรมาอยู่บนราศีเดียวกันเป็นเรื่องยาก ต้องใช้เวลานับ 10 ปี

ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ใช่เรื่องแปลก เป็นไปตามระบบสุริยะ แต่เป็นเรื่องยากที่จะได้พบเห็น

ยังมีข้อมูลจาก วรเชษฐ์ บุญปลอด กรรมการสมาคมดาราศาสตร์ไทย ว่า ปรากฏการณ์ดาวเคียงเดือนที่ดวงจันทร์เสี้ยวได้เคลื่อนไปอยู่ใกล้ดาวศุกร์กับดาวพฤหัสบดี จนมีลักษณะคล้ายหน้าคนยิ้ม และหลายคนเรียกว่าพระจันทร์ยิ้ม หรือฟ้ายิ้ม นั้น เป็นภาวะประจวบเหมาะที่สำคัญหลายอย่าง คือ ดาวศุกร์กับดาวพฤหัสบดีเข้าใกล้กันมากที่สุด ด้วยระยะห่างพอประมาณ ไม่ใกล้กันมากเกินไป หากใกล้ชิดจนเกือบติดกันก็จะทำให้ดูไม่เหมือนเป็นดวงตา 2 ข้าง ขณะที่จันทร์เสี้ยวอยู่ในตำแหน่ง พอเหมาะพอเจาะสอดรับกันกับดาวสองดวง ประกอบเข้ากันเป็นตำแหน่งของปาก และทั้งดาวศุกร์ ดาวพฤหัสบดี และดวงจันทร์ อยู่สูงจากขอบฟ้ามากพอสมควร ทำให้สังเกตได้ง่าย ทั้งปรากฏการณ์เกิดในเวลาหัวค่ำซึ่งคนส่วนใหญ่ยังไม่นอน หากเกิดตอนเช้ามืดคงไม่เป็นที่สนใจและสร้างความฮือฮามากเท่านี้ โดยเฉพาะเกิดในฤดูหนาวซึ่งท้องฟ้าส่วนใหญ่ปลอดโปร่ง ไม่ค่อยมีเมฆเป็นอุปสรรค ยกเว้นภาคใต้

กล่าวได้ว่าพระจันทร์ยิ้มเป็นส่วนหนึ่งของ ปรากฏการณ์ดาวเคียงเดือน แต่ไม่ได้แปลว่าเป็นสิ่งเดียวกันเสียทีเดียว เพราะดาวเคียงเดือนใช้กับปรากฏการณ์ที่ดวงจันทร์อยู่ใกล้ดาวสว่าง (ซึ่งส่วนใหญ่เป็นดาวเคราะห์) ไม่ว่าจะเรียงกันเป็นรูปอะไร

แต่เหตุการณ์เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2551 ยังมีปัจจัยเพิ่มเกี่ยวกับการเรียงกันของวัตถุท้องฟ้าทั้งสามดวงจนกลายเป็นหน้าคนยิ้ม ซึ่งหากพุ่งเป้าไปที่การเข้าใกล้กันระหว่างดวงจันทร์ ดาวศุกร์และดาวพฤหัสบดี ขอบเขตของการค้นหาก็แคบลง การเข้าใกล้กันระหว่างดาวศุกร์กับดาวพฤหัสบดีเกิดขึ้นได้ปีละ 1-2 ครั้ง แต่ไม่มีครั้งใดในระยะใกล้ๆ นี้ที่จะมีดวงจันทร์มาร่วมอยู่ด้วยจนเกิดเป็นหน้าคนยิ้มได้

อย่างปรากฏการณ์ในเช้ามืดวันที่ 16 กรกฎาคม 2555 เกือบจะดูคล้ายหน้ายิ้มแล้ว แต่ออกจะบิดเบี้ยวไปค่อนข้างมาก ส่วนปรากฏการณ์ในค่ำวันที่ 18 กรกฎาคม 2558 ดูคล้ายหน้าคนเช่นกัน แต่ดวงจันทร์ ดาวศุกร์ กับดาวพฤหัสบดี อยู่ห่างไกลกันพอสมควร

ต้นพุทธศตวรรษหน้า จะมีการเรียงกันของดวงจันทร์ ดาวศุกร์ กับดาวพฤหัสบดี จนดูคล้ายหน้ายิ้มในค่ำวันที่ 3 เมษายน 2603 และ 20 กันยายน 2620

โดยครั้งแรกจะมีดาวเสาร์มาร่วมอยู่ด้วย แต่ระยะห่างระหว่างดวงจันทร์กับดาวเคราะห์ก็ยังไกลกว่าที่เราเห็นเมื่อคืนวันที่ 1 ธันวาคม 2551 (วันถัดไปดวงจันทร์จะเข้าใกล้ดาวเคราะห์มากที่สุด แต่เคลื่อนเลยไปจนดูไม่เหมือนหน้าคน)

ดังนั้น อาจสรุปได้ว่าเหตุการณ์ที่หลายคนกล่าวขานว่าพระจันทร์ยิ้มเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ไม่ยากนักหากไม่เจาะจงว่าเป็นดาวศุกร์กับดาวพฤหัสบดี แต่ยากพอสมควรเมื่อคำนึงถึงแต่เฉพาะดาวศุกร์กับดาวพฤหัสบดีซึ่งเป็นดาวเคราะห์สองดวงที่สว่างที่สุดและเห็นได้ง่ายที่สุดบนท้องฟ้า




อุกกาบาตใหญ่ที่สุด

เคยมีอุกกาบาตตกที่ไหนบ้างที่มีขนาดใหญ่ๆ ของโลก?

ตอบ เข้าเว็บไซต์ฟิสิกส์ราชมงคล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จัด 7 อันดับอุกกาบาตขนาดใหญ่โตที่สุดที่เคยพบบนโลกไว้ดังนี้

ลำดับ 7 "วิลลาเมต-Willamette" น้ำหนักโดยประมาณ 15.5 ตัน ด้วยขนาด 7.8 ตารางเมตร ส่งให้วิลลาเมตเป็นสะเก็ดดาวที่ใหญ่ที่สุดที่พบในสหรัฐอเมริกา องค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นแร่เหล็กถึง 91 เปอร์เซ็นต์ และนิกเกิล 7.62 เปอร์เซ็นต์ ตกในรัฐโอเรกอน แต่ร่องรอยการกระแทกไม่หลงเหลือแล้ว

ทั้งนี้ หากไม่นับรวมชนอเมริกันพื้นเมืองในอดีต ผู้ค้นพบวิลลาเมตคือ เอลลิส ฮิวจ์ ในปี ค.ศ. 1902 เขาใช้เวลากว่า 3 เดือนในการขนย้ายสะเก็ดดาวก้อนนี้ไปไกล 3 ส่วน 4 ก.ม. จากจุดตก ซึ่งเป็นที่ดินของบริษัทโอเรกอน ไอร์ออน แอนด์ สตีล และพยายามอ้างความเป็นเจ้าของ แต่สุดท้ายก็ถูกจับ และสะเก็ดดาวถูกขายไปในราคา 26,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 7.6 แสนบาทขณะนั้น) ก่อนที่ภายหลังจะนำมาจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติอเมริกัน

ลำดับ 6 "เอ็มโบซี-Mbozi" น้ำหนักโดยประมาณ 16 ตัน สะเก็ดดาวเอ็มโบซีถูกค้นพบอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ.1930 ในประเทศแทนซาเนีย และเช่นเดียวกับอุกกาบาตจำนวนมากที่เคยพบ คือแทบไม่หลงเหลือร่องรอยการตกกระทบพื้นผิวโลกเลย ซึ่งเป็นไปได้ว่ามันกลิ้งหลังจากตกสู่พื้นโลก หรือตั้งอยู่ที่เดิมเป็นเวลานานหลายพันปี

เมื่อเอ็มโบซีถูกพบครั้งแรก ครึ่งหนึ่งของมันฝังอยู่ใต้ดิน ปัจจุบันถูกขุดขึ้นมาวางบนฐานที่ก่อสร้างขึ้น ส่วนหลุมที่เกิดจากการขุด กล่าวกันว่าคงสภาพไว้ตามเดิม

ลำดับ 5 "อักปาลิลิก-Agpalilik" น้ำหนักโดยประมาณ 20 ตัน หนึ่งในชิ้นส่วนของอุกกาบาต เคป ยอร์ก ค้นพบโดย วาน เอฟ. บุชวาลด์ ที่คาบสมุทร อักปาลิลิก ทวีปกรีนแลนด์ รู้จักกันในชื่อ เดอะ แมน ตกสู่พื้นโลกเมื่อราว 10,000 ปีก่อน เป็นหนึ่งในสะเก็ดดาวเหล็กที่ใหญ่ที่สุดในโลก

ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยาโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก ในช่วงหลายร้อยปีที่ผ่านมา เดอะ แมน ถูกใช้เป็นแหล่งแร่โลหะเพื่อสร้างเครื่องใช้และอาวุธ ก่อนที่ข่าวการคงอยู่ของมันจะไปถึงหูของนักวิทยาศาสตร์ในปี 1818 แต่คณะเดินทาง 5 ชุดที่ออกไปตามหาหินก้อนนี้ในช่วงปี 1818-1883 ล้มเหลวทั้งหมด

ลำดับ 4 "บาคุบิริโต-Bacubirito" น้ำหนักโดยประมาณ 22 ตัน วัตถุจากนอกโลกความยาว 4 เมตร เป็นสะเก็ดดาวเต็มก้อนที่สมบูรณ์ที่สุดที่เคยค้นพบในเม็กซิโกอย่างไม่มีข้อโต้แย้ง พบเมื่อปี 1892 โดย กิลเบิร์ต เอลลิส ไบเลย์ นักธรณีวิทยาชาวอเมริกันซึ่งมาจากสำนักวารสารในเมืองชิคาโก ต่อมาทีมสำรวจได้ขุดค้นโดยได้รับความช่วยเหลือจากชนพื้นเมืองและตั้งชื่อตามชุมชนที่ค้นพบ ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่เมืองคัลญาคาน ประเทศเม็กซิโก

ลำดับ 3 "อาห์นิกิโต - Ahnighito" น้ำหนักโดยประมาณ 31 ตัน เป็นเศษชิ้นส่วนที่ใหญ่ที่สุดของอุกกาบาต เคป ยอร์ก รู้จักกันในชื่อ เดอะ เตนต์ นับเป็นสะเก็ดดาวก้อนใหญ่ที่สุดที่เคยถูกเคลื่อนย้ายโดยกำลังของมนุษย์

นักวิทยาศาสตร์พยายามตามหามันมาตั้งแต่ปี 1818 จนกระทั่ง โรเบิร์ต อี เพียรี่ นักสำรวจมหาสมุทรอาร์กติก ชาวอเมริกัน สามารถระบุที่ตั้งที่ชัดเจนของมันได้ในปี 1894 โดยความช่วยเหลือจากชนพื้นเมืองนิรนาม ทีมของเพียรี่ใช้ความพยายามถึง 3 ปี กว่าจะขนก้อนโลหะหนักอึ้งขนาด 12.1 ตารางเมตรลงเรือได้

เพียรี่ขายให้พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติอเมริกัน ได้ราคาสูงถึง 40,000 ดอลลาร์สหรัฐ ในขณะนั้น หรือประมาณ 800,000 ดอลลาร์สหรัฐ ในปัจจุบัน

ลำดับ 2 "เอล คาโก - El Chaco" น้ำหนักโดยประมาณ 37 ตัน ชิ้นส่วนที่ใหญ่ที่สุดจากกลุ่มสะเก็ดดาว คัมโป เดล เชโล ซึ่งตกกระแทกกับพื้นโลกสร้างหลุมยุบขนาด 60 ตารางกิโลเมตร ในประเทศอาร์เจนตินา เอล คาโก เป็นวัตถุจากนอกโลกที่หนักที่สุดเป็นลำดับที่ 2 เท่าที่เคยพบบนพื้นโลก

ค้นพบในปี 1969 ในหลุมลึก 5 เมตร ด้วยการใช้เครื่องตรวจจับโลหะ และจากการตรวจสอบจุดตกพบว่ามีอายุประมาณ 4,000-5,000 ปี เมื่อปี 1990 เกิดคดีใหญ่โต เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจอาร์เจนตินาสามารถหยุดแผนขโมยสะเก็ดดาวเอล คาโก ของนักล่าอุกกาบาต โรเบิร์ต ฮัก ได้สำเร็จ ทั้งที่หินดังกล่าวถูกเคลื่อนย้ายออกนอกประเทศไปแล้ว

ลำดับ 1 "โฮบา - Hoba" น้ำหนักโดยประมาณ 60 ตัน ขนาด 6.5 ตารางเมตร เป็นเจ้าของตำแหน่งสะเก็ดดาวที่ใหญ่ที่สุดที่เคยพบบนโลกใบนี้ ด้วยน้ำหนักที่มากกว่าลำดับ 2 เกือบเท่าตัว

อยู่ที่เมืองกรูตฟอนไตน์ แคว้นโอตโจซอนด์จูปา ประเทศนามิเบีย

คาดกันว่ามันถูกชะลอโดยชั้นบรรยากาศโลกก่อนที่จะตกสู่พื้น ด้วยความเร็วที่ทำให้มันไม่บุบสลายและจมลงเนื้อดินเกือบมิด นอกจากนี้มันยังมีรูปทรงราบแปลกตา ซึ่งมีคำอธิบายว่าอาจตกกระดอนไปกับพื้นในลักษณะการโยนหินให้กระดอนบนผิวน้ำ

จากการตรวจสอบพบว่า สะเก็ดดาว โฮบา ตกสู่พื้นโลกเมื่อประมาณ 80,000 ปีก่อน มีส่วนประกอบของแร่เหล็ก 84 เปอร์เซ็นต์ นิกเกิล 16 เปอร์เซ็นต์ และเนื่องจากมวลมหาศาลทำให้มันไม่เคยถูกเคลื่อนย้ายไปจากจุดที่ตั้งอยู่เลยตั้งแต่มีการค้นพบเมื่อปี 1920 โดยชาวนาคนหนึ่ง

ปัจจุบันทุกปีจะมีนักท่องเที่ยวจำนวนมากเดินทางไปชมหินอุกกาบาตก้อนนี้

นสพ.ข่าวสด

  นสพ.ข่าวสด
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11 พฤศจิกายน 2559 16:03:44 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5767


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #14 เมื่อ: 16 เมษายน 2560 12:39:24 »


(ภาพ : AFP)
ภาพถ่ายโลกจากดาวเทียมซูโอมิ สลับสีต่างๆ มองดูแปลกออกไป ถ่ายด้วยรังสีอินฟราเรด
และคลื่น แทนที่ด้วยสีแดงเขียวและน้ำเงินธรรมดา การใช้สีถ่ายด้วยรังสีอินฟราเรด ทำให้มัน
สะท้อนให้เห็นสีที่แตกต่างกันออกไปเนื่องจากอุณหภูมิต่างกัน.



(ภาพ : AP)
อากาศร้อนเมืองไทย
ภาพของดาวเทียมสังเกตการณ์โลก ขององค์การอวกาศสหรัฐฯได้ถ่ายภาพความร้อน
ของเมืองไทยด้วยกล้องพิเศษเห็นเมืองไทยอยู่ตรงกลางแวดล้อมไปด้วยชาติเพื่อนบ้าน
เรือนเคียง บริเวณที่เห็นเป็นสีเหลือง แสดงว่ามีอุณหภูมิสูงกว่าเพื่อน ตามปกติเดือนเมษายน
ก็เป็นเดือนที่ร้อนที่สุดของไทยอยู่แล้ว แต่เพราะปรากฏการณ์ดินฟ้าอากาศที่อุ่นขึ้น
ได้ทำให้ร้อนเป็นสถิติอยู่นานที่สุด ในรอบระยะเวลา 65 ปีมานี้.







(ภาพ : AFP)
จิตรกรของหอดูดาวยุโรปใต้ ได้เผยแพร่ภาพวาดดาวเคราะห์แบบเดียวกับโลก
นอกสุริยจักรวาล 3 ดวง โคจรอยู่รอบดาวฤกษ์ ที่เป็นดาวแคระ ห่างจากโลก
เป็นระยะทางไกล 40 ปีแสง


ภาพถ่ายดวงอาทิตย์เมื่อตอนดาวพุธโคจรผ่านหน้าไป เห็นเป็นเงามัวๆ อยู่ทาง
(ซ้าย) เป็นปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ ในรอบ 100 ปีจะเกิดสัก 13 ครั้ง
ครั้งก่อนเกิดในปี พ.ศ. 2549 นักดาราศาสตร์ของหลายชาติต่างให้ความสนใจ
ในปรากฏการณ์นี้ดังเช่นนักวิทยาศาสตร์ของศูนย์วิทยาศาสตร์โคเพอมิคัส
ที่กรุงวอร์ซอ ประเทศโปแลนด์ ก็ตั้งกล้องคอยติดตามศึกษาด้วย.


ไอพ่นข้ามดวงจันทร์
ช่างภาพรายหนึ่งตั้งกล้องถ่ายได้ภาพเหมาะๆของเครื่องบินโดยสารไอพ่น
โดยมีภาพดวงจันทร์เต็มดวงอยู่เบื้องหลัง ที่เมืองคาลิ ของโคลอมเบีย.


องค์การอวกาศยุโรปแสดงภาพวาดภาพถ่ายการก่อตัวของเชื้อพันธุ์หลุมดำขนาดยักษ์
ซึ่งนักดาราศาสตร์อิตาลี ตรวจพบด้วย กล้องโทรรรศน์.


องค์การอวกาศยุโรป ได้เผยแพร่ภาพของกลุ่มดาวที่สุกสว่างที่สุด นักดาราศาสตร์
ได้อ้างว่าได้เห็นหลุมดำกำลังกลืนกินกลุ่มเมฆยักษ์ โดยการสังเกตจากเงาที่มีความ
ยาวทอดมาทางโลก ยาวถึงพันล้านปีแสง.


องค์การอวกาศสหรัฐฯ เปิดเผยรูปของดาวเคราะห์ เค 2–33 ซึ่งเป็นดาวเคราะห์
นอกจักรวาลที่อายุน้อยที่สุด โคจรรอบดาวฤกษ์ ที่อยู่ด้วยกันรอบหนึ่งในเวลา 5 วันเท่านั้น
นักดาราศาสตร์ได้กล่าวว่า การค้นพบดาวเคราะห์ อายุน้อยที่สุด ทำให้ได้รู้เค้าลาง
ของการก่อตั้งระบบจักรวาล ดาวเคราะห์ดวงนี้ มีอายุประมาณ 11 ล้านปี เป็นบริวารของดาวฤกษ์
เค 2–33 บี มันทำให้รู้ว่าดาวเคราะห์อาจจะเกิดได้เต็มตัว หลังจากที่แยกตัวออกมาในเวลาไม่นาน.

ไทยรัฐออนไลน์2 -7-59
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 16 เมษายน 2560 12:41:00 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5767


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #15 เมื่อ: 13 พฤษภาคม 2560 18:13:18 »

ดวงอาทิตย์มีอะไรน่าสนใจบ้าง


โครงสร้างภายในของดวงอาทิตย์

โครงสร้างของดวงอาทิตย์สามารถแบ่งได้สามชั้นตามลักษณะการเกิดและถ่ายเทพลังงาน อย่างไรก็ตาม แต่ละชั้นไม่ได้มีรอยต่อที่ชัดเจนอย่างในภาพ
1.แก่น (Core) เป็นบริเวณใจกลางดวงอาทิตย์ที่เกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันซึ่งจะหลอมนิวเคลียสของไฮโดรเจนให้กลายเป็นฮีเลียม แล้วปลดปล่อยพลังงานออกมาในรูปคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งจะแผ่ออกมายังผิวของดวงอาทิตย์

2.บริเวณการแผ่รังสี (Radiative Zone) เป็นบริเวณถัดออกมาจากแก่นซึ่งจะรับพลังงานจากแก่นแล้วถ่ายเทพลังงานสู่ด้านนอกด้วยการแผ่รังสี แม้จะเป็นการถ่ายเทพลังงานด้วยกระบวนการแผ่รังสี แต่พลังงานดังกล่าวไม่ได้พุ่งออกมาเป็นเส้นตรงเพราะระหว่างทางมันจะถูกดูดกลืนและสะท้อนโดยอนุภาคต่างๆในดวงอาทิตย์ทำให้กว่ามันจะเคลื่อนออกจากบริเวณนี้ได้ก็กินเวลานับแสนปี

3.บริเวณการพาความร้อน (Convective Zone) เป็นชั้นนอกสุดของดวงอาทิตย์ซึ่งจะถ่ายเทพลังงานออกสู่พื้นผิวดวงอาทิตย์ด้วยการเคลื่อนไหวของแก๊ส

ชั้นบรรยากาศของดวงอาทิตย์
ชั้นบรรยากาศของดวงอาทิตย์มีทั้งหมดสามชั้นได้แก่

1. ผิวชั้นนอกสุดของดวงอาทิตย์ที่เราสังเกตเห็นว่ามีการเปล่งแสงออกมานั้นเป็นส่วนหนึ่งของบรรยากาศชั้น โฟโตสเฟียร์ (Photosphere) ซึ่งกินอาณาบริเวณจากผิวของดวงอาทิตย์ลึกลงไปน้อยกว่า 500กิโลเมตร บรรยากาศชั้นนี้มีอุณหภูมิราว 5,800 K

เราต้องใช้กล้องโทรทรรศน์ที่ติดตั้งแผ่นกรองแสงแบบไมราหรือแบล็กโพลีเมอร์ (blackpolymer) ที่มีคุณภาพดีจึงจะสามารถสังเกตพื้นผิวของดวงอาทิตย์ได้อย่างปลอดภัยต่อสายตา ซึ่งผิวมีโครงสร้างให้สังเกตได้ดังนี้

จุดบนดวงอาทิตย์ (Sun spot) เป็นผิวดวงอาทิตย์ส่วนที่ที่มีอุณหภูมิราว 4,000 K ซึ่งต่ำกว่าส่วนอื่นๆของผิวดวงอาทิตย์ ส่งผลให้เมื่อมองผ่านแผ่นกรองแสงแล้วมันจะปรากฏมืดกว่าบริเวณอื่นๆ




– หากทำการสังเกตตำแหน่งจุดบนดวงอาทิตย์ติดต่อกันหลายวัน เราจะสามารถหานำการเปลี่ยนตำแหน่งมาคำนวณหาอัตราการหมุนของดวงอาทิตย์ที่ละติจูดต่างๆได้
– จำนวนจุดบนดวงอาทิตย์มีการเปลี่ยนแปลงเป็นคาบทุกๆ 11 ปี บางช่วงเวลาจุดบนดวงอาทิตย์อาจปรากฏมากกว่า 100จุด ในขณะที่บางช่วงอาจปรากฏให้สังเกตเห็นได้น้อยมากหรือไม่มีเลย การนับจุดบนดวงอาทิตย์ว่ามีมากน้อยแค่ไหนเป็นวิธีง่ายๆที่ใช้ในการอธิบายว่าดวงอาทิตย์ในขณะนั้นมีความ active แค่ไหน
– จุดบนดวงอาทิตย์มีขนาดแตกต่างกันไป ตั้งแต่ขนาดเล็กที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางราวๆ 16 กิโลเมตร จนถึงขนาดมหึมาที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 160,000 กิโลเมตร(ใหญ่กว่าโลกของเราเสียอีก)

แต่โดยทั่วไปจุดบนดวงอาทิตย์มักจะมีขนาดใหญ่พอๆกับโลก การสังเกตจุดบนดวงอาทิตย์ด้วยการฉายภาพของดวงอาทิตย์ลงบนฉากจะทำให้เราสามารถนำมาคำนวณหาขนาดของจุดบนดวงอาทิตย์ได้

ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ศูนย์กลางของระบบสุริยะ นักดาราศาสตร์พบว่าดวงอาทิตย์มีอายุประมาณ 4,600 ล้านปี มวลแทบทั้งหมดของดวงอาทิตย์เป็นแก๊สไฮโดรเจนที่เกาะกลุ่มกันด้วยแรงโน้มถ่วงมหาศาล จนกระทั่งแก๊สเหล่านั้นมีความดันและอุณหภูมิสูงพอจะเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันที่ใจกลางซึ่งปลดปล่อยพลังงานออกมาโดยรอบอย่างต่อเนื่องยาวนาน

การสังเกตผิวดวงอาทิตย์ด้วยกล้องโทรทรรศน์ที่ติดตั้งแผ่นกรองแสงแบบไฮโดรเจนแอลฟา

เราจะสามารถสังเกตเห็นพื้นผิวดวงอาทิตย์มีลักษณะเป็นเม็ดเล็กๆ ซึ่งเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา โครงสร้างดังกล่าวเรียกว่า กรานูล (Granule) ซึ่งเกิดจากการพาความร้อนในชั้นที่ลึกลงไปจากผิวดวงอาทิตย์ ทำให้ผิวของดวงอาทิตย์มีลักษณะคล้ายกับกาแฟร้อนๆ ที่มีการไหลวนขึ้นลงของกาแฟอยู่ตลอดเวลา

เหนือชั้นโฟสโตสเฟียร์ขึ้นมาเล็กน้อย มีชั้นบรรยากาศเรียกว่า โครโมสเฟียร์ (chromosphere) สามารถสังเกตเห็นได้เมื่อเกิดสุริยุปราคาเต็มดวง เมื่อดวงจันทร์เคลื่อนที่มาบังแสงสว่างของดวงอาทิตย์จะทำให้เราจะเห็นสีชมพูของชั้นโครโมสเฟียร์ปรากฏอยู่เหนือชั้นโฟโตสเฟียร์

การสังเกตโครโมสเฟียร์ด้วยกล้องโทรทรรศน์ที่ติดตั้งแผ่นกรองแสงแบบไฮโดรเจนแอลฟา

เราสามารถสังเกตเห็นโครงสร้างที่เรียกว่า ฟิลาเมนต์ (filament) ซึ่งมีลักษณะเป็นเส้นทึบพาดผ่านดวงอาทิตย์ และ สปิคุล (spicule) ซึ่งมีลักษณะเหมือนเปลวไฟเล็กๆ ปรากฏขึ้นที่ขอบดวงอาทิตย์ราว 5-15 นาที ก็หายไป บางครั้งเราอาจสังเกตเห็น โพรมิเนนซ์ (prominence) ซึ่งเป็นโครงสร้างขนาดใหญ่ที่พุ่งออกมาจากจากผิวดวงอาทิตย์ ขึ้นไปถึงบรรยากาศชั้นบนสุดของดวงอาทิตย์มักมีลักษณะเป็นวงปิด (Loop) (จริงๆ แล้วฟิลาเมนต์ก็คือโพรมิเนนซ์ที่ถูกมองจากมุมด้านบนนั่นเอง)


บรรยากาศชั้นนอกสุดของดวงอาทิตย์เรียกว่าโคโรนา (Corona)

เราสามารถสังเกตเห็นโคโรนาได้ขณะเกิดสุริยุปราคาเต็มดวง โดยจะบรรยากาศชั้นนี้จะมีลักษณะเป็นเส้นเหยียดยาวออกจากดวงอาทิตย์โดยรอบมากกว่า 20 เท่าของรัศมีดวงอาทิตย์ แม้บรรยากาศชั้นโคโรนาจะสว่างน้อยกว่าโฟโตสเฟียร์ แต่มันมีอุณหภูมิสูงนับล้านเคลวินด้วยกลไกที่นักวิทยาศาสตร์ยังไม่ทราบแน่ชัด

ธรรมชาติของบรรยากาศชั้นโคโรนานั้นน่าสนใจมาก เพราะมันเกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์ที่เรียกว่า ลมสุริยะ (Solar Wind) ซึ่งเป็นกระแสอนุภาคมีประจุไฟฟ้าที่พุ่งออกมาจากดวงอาทิตย์ปริมาณมหาศาล เมื่อลมสุริยะมีความรุนแรงในระดับพายุสุริยะ อาจส่งผลต่อระบบดาวเทียมที่โคจรอยู่รอบโลกได้

องค์การนาซาจึงมีกำหนดการส่งยานอวกาศชื่อ โซลาร์โพรบพลัส (Solar Probe Plus) ไปศึกษาบรรยากาศชั้นโคโรนาในปี 2018









ฟิลาเมนต์พาดผ่านบริเวณซีกใต้ของดวงอาทิตย์


สปิคุลปรากฏที่ขอบดวงอาทิตย์


โพรมิเนนซ์ขนาดใหญ่ปรากฏขึ้นมุมบนซ้ายของดวงอาทิตย์

ที่มา : มติชนออนไลน์
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5767


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #16 เมื่อ: 22 พฤษภาคม 2561 14:05:23 »



องค์การอวกาศสหรัฐฯ ได้เปิดเผยภาพพายุไฟของดาวฤกษ์ที่กำลังเกิดในกลุ่มดาว “คิโซ 5649”
กลุ่มดาวดวงนี้เป็นลูกหลานของกลุ่มดาวยักษ์ที่เรียกว่า “ลูกกบ” เพราะส่วนหัวของมันสว่างสุกใส
และหางทรงยาวรี กลุ่มดาวอย่างลูกกบกลุ่มนี้หายากในจักรวาล แต่กลับมีอยู่ทั่วไปตามจักรวาลอื่น
ที่อยู่ห่างไกล




องค์การอวกาศแห่งยุโรป ได้เปิดเผยภาพถ่ายในดาวพฤหัสบดี ในระยะใกล้ ของดาวเทียมโทรทรรศน์ฮับเบิล
ขณะเกิดปรากฏการณ์แสงเหนือ ที่เกิดจากแสงอัลตราไวโอเลตปรากฏขึ้นด้วย




A view of a nebula called NGC 3699. One day our own solar system will look like this
มนุษย์อาจจะต้องเวียนว่ายตายเกิดอีกหลายภพชาติกว่าที่ดวงอาทิตย์ซึ่งเป็นดาวฤกษ์ในระบบสุริยะ
ของเราจะดับสูญ นักดาราศาสตร์เผยว่าดวงอาทิตย์มีอายุผ่านมาแล้ว 4,600 ล้านปี เรียกว่า
เดินทางมาครึ่งชีวิตแล้วและจะถึงกาลสิ้นสุดในอีก 5,000 ล้านปีข้างหน้า ทว่าถึงจะนานชั่วกัปชั่วกัลป์
หลายคนก็คงอยากรู้ว่าวาระสุดท้ายของดาวฤกษ์อันร้อนแรงดวงนี้จะเป็นเช่นไร

ทีมนักดาราศาสตร์นานาชาตินำโดยนักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ ในอังกฤษ ได้พัฒนา
รูปแบบการจำลองข้อมูลใหม่เพื่อทำนายวงจรชีวิตของดาวฤกษ์ พบว่าเมื่อดาวฤกษ์อย่างดวงอาทิตย์
ตายไปก็จะปล่อยมวลของก๊าซและฝุ่นขนาดมหึมาออกสู่ห้วงอวกาศ กลายเป็น “เนบิวลาดาวเคราะห์”
(planetary nebula) และดวงอาทิตย์จะเหลือมวลอยู่เพียงครึ่งเดียว แต่บริเวณแกนของดาวที่ยัง
มีความร้อนนั้นจะทำให้ก๊าซและฝุ่นที่ปล่อยออกมามีแสงสว่างเจิดจ้าสวยงามไปนานถึง 10,000 ปี



Our parent star nourishes life on Earth-but it will also end it at some point in the future (Picture : Nasa)

ความงามส่องสว่างของเนบิวลาดาวเคราะห์ ดังกล่าวจะสามารถมองได้ด้วยตาเปล่าได้ แต่มนุษย์ในยุคนั้น
จะมีโอกาสเห็นหรือไม่ก็ไม่อาจล่วงรู้ได้ นักดาราศาสตร์เผยว่าเมื่อถึงเวลานั้น วิวัฒนาการของดวงอาทิตย์
ที่กำลังสิ้นอายุขัย จะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อดวงดาวใกล้เคียง และจะทำให้น้ำในมหาสมุทรบนโลก
ร้อนเดือดจนทำลายล้างสิ่งมีชีวิตบนโลกไปทั้งหมด.



กล้องโทรทรรศน์อวกาศเอสดีโอ (Solar Dynamic Observatory- SDO) ขององค์การนาซา
ซึ่งมีภารกิจหลักคือการสังเกตการณ์ดวงอาทิตย์โดยตรง ได้เผยภาพความรุนแรงของสนามแม่เหล็ก
ที่มีความซับซ้อนของดวงอาทิตย์ ภาพนี้แสดงให้เห็นการผสมผสานของแสงอัลตราไวโอเลต เผยให้
เห็นถึงเปลวสุริยะที่สว่างจ้าขึ้นหลายครั้งจากการปลดปล่อยก้อนมวลจากโคโรนาซึ่งคือพลาสมา
ชนิดหนึ่งในชั้นบรรยากาศของดวงอาทิตย์ รวมทั้งแสดงถึงอนุภาคพลังสูงจากดวงอาทิตย์
.




องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกาหรือองค์การนาซา เผยภาพจำลอง
การเดินทางของยานอวกาศ Parker Solar Probe กำลังมุ่งหน้าเข้าหาดวงอาทิตย์
ซึ่งนาซาได้ตั้งโครงการให้คนทั่วโลกส่งชื่อผ่านออนไลน์ เพื่อจะนำชื่อเหล่านั้นขึ้นไปบน
ยานอวกาศดังกล่าวก่อนที่จะเดินทางไปยังดวงอาทิตย์




ดาวหางเค ทู (C/2017 K2 PANSTARRS) ถูกค้นพบในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา
จากกล้องโทรทรรศน์สำรวจพาโนรามิกในรัฐฮาวายของสหรัฐอเมริกา ซึ่งอยู่ภายใต้โครงการสำรวจ
ท้องฟ้าเพื่อค้นหาดาวเคราะห์น้อยและดาวหางที่อาจเป็นภัยคุกคามโลก ชื่อว่า Pan–STARRS
และต่อมาในเดือนมิถุนายน กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลก็จับภาพดาวหางดวงนี้ได้อีกครั้ง
นักดาราศาสตร์เผยว่า  การค้นพบนี้ช่วยนักดาราศาสตร์วัดความกว้างของความเรืองแสง
รวมทั้งประเมินขนาดของนิวเคลียสและติดตามการเคลื่อนไหวและวิวัฒนาการของดาวหางได้



View of a stellar nursery taken by Nasa’s Hubble Telescope

ทฤษฎีใหม่การก่อตัวดวงดาวในกาแล็กซี
นานมาแล้วมีข้อสันนิษฐานถึงความสัมพันธ์ระหว่างมวลของดวงดาวกับการก่อตัวของเมฆฝุ่นและก๊าซ
ซึ่งมีข้ออธิบายว่ามวลของดวงดาวส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับโครงสร้างเดิมๆที่เรียกว่า ไส้แกนก่อตัวดวงดาว
(starforming core) ซึ่งไส้แกนนี้ประกอบขึ้นจากฝุ่นและก๊าซที่อยู่กันอย่างหนาแน่น จนกระทั่ง
เริ่มยุบตัวและกระจุกรวมกันภายใต้อิทธิพลของแรงโน้มถ่วงเพื่อสร้างไส้แกนของดวงดาว นอกจากนี้
ยังมีอุณหภูมิสูงพอที่จะทำให้เกิดการหลอมนิวเคลียส ทำให้ดวงดาวเริ่มโตขึ้น ถือกำเนิดดวงดาวใหม่ๆ

แต่เมื่อเร็วๆนี้ ทีมนักวิจัยนานาชาตินำโดยนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยคาร์ดิฟฟ์ ประเทศอังกฤษ
ได้เผยถึงการค้นพบใหม่ว่าการก่อตัวของดวงดาวอาจเกิดขึ้นอย่างไม่คาดคิดทั้งในกาแล็กซีของเราเอ
งและที่อื่นๆ จากการใช้กล้องโทรทรรศน์วิทยุอัลมา (Atacama Large Millimeter/submillimeter
Array-ALMA
) ในประเทศชิลี  แสดงข้อมูลเชิงลึกที่ไม่เคยมีมาก่อนในพื้นที่ที่มีการก่อตัวของดวงดาว
ที่ชื่อว่า W43-MM1 ซึ่งอยู่ไกลจากโลก 18,000 ปีแสง มีการสังเกตถึงไส้แกนการก่อตัวของดวงดาว
ที่ผิดไปจากปกติธรรมดา ซึ่งคล้ายคลึงกับมวลดวงอาทิตย์ของเราที่มีขนาดใหญ่กว่า 100 เท่า

ที่น่าประหลาดใจคือการกระจายตัวของไส้แกนก่อตัวดวงดาวที่เกิดขึ้นนั้น แตกต่างจากที่เคยพบในบริเวณ
ใกล้เคียงกันภายในกาแล็กซีทางช้างเผือก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสังเกตเห็นดวงดาวจำนวนมากที่มีมวล
มหาศาล แต่ก็พบดวงดาวขนาดเล็กกว่ามีอยู่ทั่วไปภายในกาแล็กซีของเรา นักวิทยาศาสตร์จึงเกิดคำถาม
ที่ว่าเราจะเห็นการกระจายตัวของดวงดาวแบบเดียวกันในกระจุกดาวฤกษ์อื่นๆในจักรวาลหรือไม่.





ระบบสุริยะอาจก่อตัวในฟองอากาศยักษ์ที่ร้อนมากๆ
ในระบบสุริยะจักรวาลของเรายังมีความลึกลับมากมายที่ทำให้นักดาราศาสตร์พยายามไขคำตอบ เช่น
ข้อสันนิษฐานในปัจจุบันเผยว่าดวงอาทิตย์ก่อตัวขึ้นจากเหตุการณ์ซุปเปอฺร์โนวา (Supernova)
หรือมหานวดารา คือการระเบิดของดาวฤกษ์ที่มีความรุนแรงมาก ทำให้เกิด แสงสว่างฉับพลันจนอาจ
มองเห็นจากพื้นโลกแม้จะเป็นเวลากลางวันก็ตาม มวลสารของดาวจะกระจายไปในอวกาศด้วยความ
เร็วสูง จากนั้นแสงก็จะค่อยๆลดจางลงไปเหลือเป็นฝุ่นก๊าซที่ทำให้สงสัยว่าอนุภาคที่เต็มไปด้วยธาตุ
หลายชนิด มีส่วนทำให้ระบบสุริยะเกิดขึ้นได้อย่างไร

ล่าสุดนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยชิคาโก สหรัฐอเมริกา ได้วิจัยและเสนอแนวคิดใหม่ว่าระบบ
สุริยะของเราอาจเกิดขึ้นในรูปแบบอื่น โดยก่อตัวขึ้นในฟองอากาศขนาดยักษ์ที่ร้อนมากๆ โดยอ้างอิง
ถึงดาววูล์ฟ-ราเยท์ (Wolf-Rayet) ดาวฤกษ์ความร้อนสูงและใหญ่ที่สุดในกาแลกซี ใหญ่กว่า
ดวงอาทิตย์ถึง 40-50 เท่า เรียกว่าดาวฤกษ์มวลมาก นักวิทยาศาสตร์อธิบายว่าปกติแล้วซุปเปอร์-
โนวาจะผลิตไอโซโทป (iso–tope) คือความแตกต่างขององค์ประกอบทางเคมีของธาตุ 2 ชนิดคือ
อลูมินัม-26 (aluminum-26) และไอร์ออน-60 (iron-60) พบว่าดาววูล์ฟ-ราเยท์ ปล่อย
อลูมิเนียม-26 จำนวนมาก แต่กลับไม่มีไอร์ออน-60 ออกมา ซึ่งแตกต่างไปจากซุปเปอร์โนวาอื่นๆ

ที่สำคัญคือดาววูล์ฟ-ราเยท์ ได้ปล่อยมวลของดาวออกมารวมกับลมดาวฤกษ์ที่เกิดขึ้นบนดาวตนเอง
เพื่อสร้างโครงสร้างฟองอากาศที่มีความหนาแน่นรอบตัว ฟองอากาศเหล่านี้จะทำหน้าที่เป็นเสมือน
ห้องบ่มเพาะดาวฤกษ์ที่มีขนาดเล็ก ทำให้นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าธาตุที่กระจายออกมาจากดาววูล์ฟ-ราเยท์
จะเป็นธาตุเริ่มต้นของการก่อเกิสุริยะจักรวาลของเรา.



Credit : ESA/Hubble/ESO/M. Kornmesser

ค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะเกือบ 100 ดวง
ทีมนักวิทยาศาสตร์นานาชาติจากองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา
หรือองค์การนาซา, สถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย, มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียเบิร์กลีย์,
มหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน และมหาวิทยาลัยโตเกียว เปิดเผยข้อมูลที่ได้จากภารกิจเค–ทู
(K2 mission) ซึ่งเป็นภารกิจส่วนขยายของกล้องโทรทรรศน์เคปเลอร์ (Kepler)
ในการสำรวจดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ พวกเขายืนยันการค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบ
สุริยะดวงใหม่ๆ จากการวิเคราะห์ดาวที่อาจจะมีคุณสมบัติเป็นดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ
จำนวน 275 ดวง เมื่อตรวจสอบอย่างถี่ถ้วนแล้วพบว่ามี 149 ดวงที่ตรงคุณสมบัติของ
การเป็นดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะอย่างแท้จริง โดยในจำนวนนี้มี 95 ดวงถูกค้นพบใหม่ล่าสุด

ทีมนักวิทยาศาสตร์อธิบายว่า เป็นเรื่องยากที่จะแยกแยะว่าสัญญาณใดมาจากดาวเคราะห์นอก
ระบบสุริยะจริงๆ เนื่องจากบางครั้งสัญญาณก็เกิดจากเสียงรบกวนของยานอวกาศ หรือจาก
ระบบดาวพหุ (Multiple Star System) ที่ประกอบด้วยดาวแอลฟา เซนทอรี เอ
(Alpha Centauri A) แอลฟา เซนทอรี บี (Alpha Centauri B) และพร็อกซิมา
เซนทอรี (Proxima Centauri) ปัจจุบันนี้มีการค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะไปแล้ว
จำนวน 3,600 ดวง ซึ่งมีขนาดแตกต่างกันไป เช่น ขนาดใกล้เคียงโลกหรือขนาดเทียบเท่า
ดาวพฤหัสบดี

ทั้งนี้ การค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะจะช่วยให้นักดาราศาสตร์พัฒนาภาพถ่ายได้ดีขึ้น
เกี่ยวกับลักษณะของดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ ซึ่งอาจทำให้นักดาราศาสตร์เข้าใจสภาพ
แวดล้อมภายในกาแล็กซีได้ อีกทั้งยังเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับการใช้งานกล้องโทรทรรศน์
อวกาศเจมส์เวบบ์ เพื่อค้นหาดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะดวงอื่นๆ ที่เอื้อต่อการอาศัยอยู่ของ
สิ่งมีชีวิต และอาจเป็นบ้านใหม่ของมนุษย์ในกาลข้างหน้า




ค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ 10 ดวงที่คล้ายโลก
องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา หรือองค์การนาซา ประกาศล่าสุด
ถึงการค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศเคปเลอร์ ซึ่งเป็นยาน
อวกาศที่องค์การนาซาส่งไปทำภารกิจตรวจจับดาวเคราะห์ที่มีขนาดใกล้เคียงกับโลกเมื่อปี
พ.ศ.2552 โดยยานอวกาศดังกล่าวจะมองหาดาวฤกษ์และดวงดาวที่อยู่ใกล้ๆโดยรอบ
กาแล็กซีทางช้างเผือกของเรา

การค้นพบครั้งใหม่นี้นักดาราศาสตร์เผยว่า กล้องโทรทรรศน์อวกาศเคปเลอร์ได้ตรวจพบ
ดวงดาวประมาณ 200,000 ดวงในกลุ่มดาวหงส์ และมีดวงดาวจำนวน 219 ดวงได้รับ
การยืนยันสถานะว่าเป็นดาวเคราะห์ แต่ที่น่าตื่นเต้นคือพบว่าในจำนวนนั้นมีดวงดาว 10 ดวง
ที่โคจรอยู่รอบดวงอาทิตย์ของพวกมัน ด้วยระยะห่างเทียบเท่ากับโลกของเราที่กำลังโคจร
รอบดวงอาทิตย์ ซึ่งเรียกว่าอยู่ในพื้นที่เอื้อต่อการอยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต (Habitable zone)
สันนิษฐานว่ามีน้ำที่คงสถานะเป็นของเหลวและสิ่งมีชีวิตที่อยู่ได้อย่างยั่งยืน

ดาวทั้ง 10 ดวงนี้คาดว่าจะมีขนาดและอุณหภูมิใกล้เคียงกับโลกด้วย โดยข้อมูลจากยานเคปเลอร์
เผยว่า ดาวเคราะห์หลายดวงมีขนาดใหญ่กว่าโลกราวๆ 1.75 เท่า และดวงที่เล็กกว่าก็มีแนวโน้ม
ที่จะเป็นมวลของ แข็งอย่างหิน ขณะที่หลายๆดวงมีขนาด 2-3.5 เท่าของโลกถูกปกคลุมด้วย
ก๊าซเหมือนกับดาวเนปจูน การพบดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะครั้งนี้จึงจุดคำถามจากนักวิทยาศาสตร์
ขึ้นมาอีกครั้งว่า “เราอยู่เพียงลำพังจริงหรือ?”.




ดาวเคราะห์ประหลาดโคจรรอบดาวฤกษ์
มีการค้นพบดาวเคราะห์แปลกประหลาด คล้ายดาวพฤหัสบดี โดยการตรวจพบของกล้องโทรทรรศน์
Next Generation Transit Survey (NGTS) ตั้งอยู่ในทะเลทรายอาตากามา ประเทศชิลี
เป็นกล้องที่ออกแบบมาเพื่อค้นหาดาวเคราะห์นอกระบบที่เดินผ่านหน้าดาวฤกษ์ในระบบสุริยะของมัน

ดาวเคราะห์ที่ค้นพบมีชื่อว่า NGTS-1b นักวิจัยด้านดวงดาวจากมหาวิทยาลัยวอร์วิค ในประเทศ
อังกฤษระบุว่ามันอยู่ห่างจากโลกประมาณ 600 ปีแสง นับเป็นดาวเคราะห์ที่ใหญ่ที่สุดที่เคยค้นพบ
เมื่อเทียบกับดาวฤกษ์ที่มันโคจรรอบ ซึ่งดาวเคราะห์ NGTS-1b จะโคจรรอบดาวฤกษ์ของมันทุกๆ
2.6 วัน นั่นหมายความว่า 1 ปีบนดาวเคราะห์ดวงนี้มีระยะเวลาประมาณ 2 วันครึ่งเท่านั้น
นักวิทยาศาสตร์เผยว่าการดำรงอยู่ของดาวเคราะห์ NGTS-1b ถือเป็นเรื่องมหัศจรรย์มาก
เพราะแสดงให้เห็นว่ากฎที่นักวิทยาศาสตร์เคยคิดเกี่ยวกับการก่อตัวของดาวเคราะห์นั้นถูกหักล้างไป
เนื่องจากเคยเชื่อว่าดาวฤกษ์ขนาดเล็กจะสามารถก่อกำเนิดดาวเคราะห์หินขนาดเล็กเท่านั้น ไม่ใช่
ดาวเคราะห์ก๊าซขนาดใหญ่ยักษ์แบบนี้

อย่างไรก็ตาม ดาวฤกษ์ที่ดาวเคราะห์ NGTS-1b กำลังโคจรรอบอยู่นั้น เป็นดาวฤกษ์ที่เรียกว่า
ดาวแคระแดง มีขนาดเล็กและพบมากที่สุดในจักรวาล ดังนั้น จึงเป็นไปได้ว่าในห้วงอวกาศอันกว้างใหญ่
เราจะมีโอกาสพบดาวเคราะห์ก๊าซยักษ์แบบเดียวกันอีกมากมาย.



(ภาพจาก NASA)

นาซาใช้ระบบเทคโน AI ของกูเกิล จนพบดาวเคราะห์ดวงที่ 8 โคจรรอบดาวฤกษ์ในระบบ
สุริยะเคปเลอร์-90 ห่างจากโลกเรา 2,545 ปีแสง จนนับเป็นครั้งแรกที่มีการค้นพบระบบสุริยะที่สอง
นอกเหนือจากระบบสุริยะของเรา

องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐฯ (นาซา) และบริษัทกูเกิลประกาศการค้นพบ
ดาวเคราะห์ดวงที่ 8 ซึ่งตั้งชื่อให้ว่า Keplor 90i (เคปเลอร์ -90ไอ) กำลังโคจรรอบดาวฤกษ์
เคปเลอร์ -90 (Kepler-90) ในหมู่ดาว Draco (ดราโก) ซึ่งอยู่ห่างจากโลกของเราเพียง
2,545 ปีแสง จนถือเป็นดาวเคราะห์ดวงแรกที่ทำให้รู้ว่ากำลังมีดาวเคราะห์ 8 ดวงโคจรรอบดาวฤกษ์
ที่มีลักษณะคล้ายคลึงระบบสุริยะของเราเป็นครั้งแรก

นอกจากนั้น การค้นพบดาวเคราะห์ดวงที่ 8 นี้ นาซาได้ใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่ถูกพัฒนา
โดยกูเกิล (Google Arificial Intelligence) มาใช้ในการคำนวณข้อมูลที่ได้จากกล้อง
โทรทรรศน์ Kepler (เคปเลอร์) ของนาซาที่ถูกส่งขึ้นไปในห้วงอวกาศตั้งแต่ 2552 จนได้พบว่า
มีดาวเคราะห์ดวงที่ 8 เคปเลอร์-90ไอ กำลังโคจรรอบดาวฤกษ์ที่เหมือนกับดวงอาทิตย์ของเรา
หลังจากก่อนหน้านี้ กล้องโทรทรรศน์เคปเลอร์ของ นาซา ได้ค้นพบดาวเคราะห์ 7 ดวงขนาด
ใกล้เคียงกับโลก

ดาวเคราะห์ดวงที่ 8 เคปเลอร์ -90ไอ ที่นาซาค้นพบนี้ ยังเป็นดาวเคราะห์ที่ร้อนระอุอยู่ และโคจร
อยู่ใกล้กับดาวฤกษ์มาก โดยใช้เวลาโคจรรอบดาวฤกษ์ 1 รอบ เป็นเวลา 14 วัน โดยดาวเคราะห์
เคปเลอร์-90ไอนี้ มีขนาดใหญ่กว่าโลกเราประมาณ 30% โดยนายแอนดรูว์ แวนเดอร์เบิร์ก
นักดาราศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยเทกซัส กล่าวว่า นับเป็นครั้งแรกที่มีการค้นพบระบบสุริยะอื่น ซึ่งทำให้
พวกเรารู้ว่าระบบสุริยะของเราไม่ได้มีแค่ระบบสุริยะเดียว อีกทั้งระบบสุริยะเคปเลอร์-90 อาจมี
ดาวเคราะห์เป็นจำนวนมากกว่าระบบสุริยะของเรา เนื่องจากดาวเคราะห์ทั้ง 8 ดวงที่ค้นพบแล้วนั้น
โคจรใกล้ชิดกับดาวฤกษ์มากกว่าระยะห่างระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ และขณะนี้ พวกเรากำลังมีแผน
ร่วมมือกันทำงานต่อไปในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกล้องโทรทรรศน์เคปเลอร์ ที่พบดาวแล้วมากกว่า
150,000 ดวง




ดาวเคราะห์ดวงใหม่ ที่สิ่งมีชีวิตอาจอาศัยอยู่ได้
การประกาศเกี่ยวกับการพบดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะของเราดูเหมือนจะเป็นเรื่องธรรมดา
ในยุคนี้ไปเสียแล้ว แต่การค้นพบดาวเคราะห์ดวงล่าสุดที่นักดาราศาสตร์จากหอดูดาวท้องฟ้า
ซีกใต้แห่งยุโรปตั้งชื่อว่า Ross 128 b กลับสร้างความน่าสนใจอย่างมาก เพราะเป็นดาวเคราะห์
ที่อยู่ห่างจากโลกแค่ 11 ปีแสง มีขนาดใหญ่กว่าโลกประมาณ 1.38 เท่า ซึ่งนับว่ามีขนาด
ใกล้เคียงกัน และเชื่อว่าอาจมีอุณหภูมิบนพื้นผิวดาวคล้ายโลก

นักดาราศาสตร์เผยว่า Ross 128 b น่าจะเป็นดาวที่เงียบสงบ เนื่องจากมีแนวโน้มที่จะได้รับ
รังสีอัลตราไวโอเลตและรังสีเอ็กซ์ในระดับที่ไม่ร้ายแรง เป็นไปได้ว่าดาวเคราะห์ดังกล่าวมีความ
เหมาะสมและเอื้อต่อการอยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต โดยทุก 9.9 วัน Ross 128 b จะโคจร
รอบดาวฤกษ์ที่ชื่อ Ross 128 ซึ่งดาวฤกษ์นี้เป็นดาวแคระแดงที่พบมากที่สุดในจักรวาล
นอกจากนี้ เมื่อเทียบกับระยะห่างของโลกกับดวงอาทิตย์ ก็พบว่า Ross 128 b นั้น
อยู่ใกล้ดาวฤกษ์ของตนถึง 20 เท่าของโลก

ก่อนนี้มีการค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบที่ใกล้เคียงระบบสุริยะของเราที่สุด ชื่อพร็อกซิมา บี
(Proxima b) ห่างไป 4.2 ปีแสง แต่ก็ยังมีข้อจำกัดของการอยู่อาศัยได้ของสิ่งมีชีวิต
ต่างไปจาก Ross 128 b ที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับโลก นักวิทยาศาสตร์เผยว่า ยังต้อ
งศึกษาบรรยากาศและสำรวจร่องรอยของน้ำ ก๊าซออกซิเจน หรือก๊าซมีเทนต่อไป ทั้งนี้
ปัจจุบันมีการค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบหลายพันดวง ทว่ามีเพียงประมาณ 50 ดวงเท่านั้น
ที่ถูกพิจารณาว่าอาจเอื้อต่อสิ่งมีชีวิตอยู่อาศัยได้.




ระบบดาวอัลฟา เซนทอรี (Alpha Centauri) เป็นลักษณะของการที่ดาว 3 ดวงคือ อัลฟา
เซนทอรี เอ (Alpha Centauri A), อัลฟา เซนทอรี บี (Alpha Centauri B) และ
อัลฟา เซนทอรี ซี (Alpha Centauri C) ยึดโยงกันอยู่ด้วยแรงโน้มถ่วง โดยอัลฟา เซนทอรี ซี
หรือ อีกชื่อหนึ่งคือ พร็อกซิมา เซนทอรี (Proxima Centauri) คือดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้กับ
ระบบสุริยะของเรามากที่สุด เรียกง่ายๆ ว่าเป็นเพื่อนบ้านใกล้เคียงสุริยจักรวาลของเรานั่นเอง
และนักดาราศาสตร์ให้ความสนใจพยายามสืบหาดาวเคราะห์ในระบบดาวอัลฟา เซนทอรีตลอดมา

ล่าสุด นักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเยล ในสหรัฐอเมริกาเผยว่า พบวิธีใหม่ในการค้นหา
ดาวเคราะห์ที่อาศัยอยู่ในบริเวณระบบดาวอัลฟา เซนทอรี โดยพวกเขาเชื่อว่าอาจมีดาวเคราะห์เล็กๆ
ที่มีลักษณะคล้ายโลกของเราอาศัยอยู่ แต่อาจถูกมองข้ามไป มีความเป็นไปได้ว่าอาจมีดาวเคราะห์หิน
โคจรอยู่รอบอัลฟา เซนทอรี เอ และบี ซึ่งนักดาราศาสตร์ได้ตั้งระบบกริดเพื่อแบ่งพื้นที่ของระบบ
ดาวอัลฟา เซนทอรี จากนั้นก็ใช้การวิเคราะห์จากสเปกโตแกรมหาดาวเคราะห์หินขนาดเล็ก

อย่างไรก็ตาม แม้คำตอบจากการวิเคราะห์มักจะออกมาว่ายังไม่ค้นเจอดาวเคราะห์ที่นักดาราศาสตร์
อยากพบเจอ ซึ่งพวกเขาเผยว่า ยังต้องปรับปรุงเทคโนโลยีสเปกตรัมเพิ่มมากขึ้น เพื่อจะช่วยในการระบุ
และทำความเข้าใจองค์ประกอบของดาวเคราะห์นอก ระบบได้อย่างแม่นยำและมีประสิทธิภาพในอนาคต.

ที่มา : ข้อมูล-ภาพ ไทยรัฐออนไลน์
500-500
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22 พฤษภาคม 2561 14:14:07 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5767


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #17 เมื่อ: 14 พฤศจิกายน 2562 14:43:54 »


ดาราจักรชนิดก้นหอย
ในจักรวาลอันกว้างใหญ่ไพศาลมีดาราจักรหรือกาแล็กซี (galaxy) ที่มีรูปร่างและขนาดแตกต่างกันอยู่มากมาย โดยหนึ่งในกาแล็กซีชนิดสำคัญที่เรามักจะเห็นในจักรวาลก็คือดาราจักรชนิดก้นหอยหรือกาแล็กซีทรงกังหัน (Spiral galaxy) เป็นกาแล็กซีที่มีดาวฤกษ์ ฝุ่น และก๊าซ กระจุกตัวเป็นจานรวมมวลหรือจานฝุ่นก๊าซ ซึ่งจะหมุนรอบส่วนโป่ง (Bulge) ที่อยู่ใจกลางกาแล็กซี และตรงนั้นเป็นที่อยู่ของดาวฤกษ์เก่าแก่มากมาย

นอกจากนี้ กาแล็กซีทรงกังหันยังมีกระจุกดาวทรงกลมอาศัยอยู่บริเวณเฮโล (Halo) หรือรัศมีของกาแล็กซีที่ล้อมรอบจานฝุ่นก๊าซและส่วนโป่ง ซึ่งกาแล็กซีทางช้างเผือกของเราก็เป็นทรงกังหันเช่นกัน ล่าสุด นักดาราศาสตร์จากศูนย์การบินอวกาศก็อดเดิร์ด (Goddard Space Flight Center) หน่วยงานขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกาหรือองค์การนาซา เผยการค้นพบกาแล็กซีทรงกังหันที่สวยงามด้วยพลังของกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล

กาแล็กซีกังหันที่พบนี้มีชื่อว่า NGC 2985 ห่างออกไปมากกว่า 70 ล้านปีแสงจากระบบสุริยะชั้นใน ตั้งอยู่ในกลุ่มดาวหมีใหญ่ ภาพที่ชวนทึ่งก็คือความสมมาตรที่แทบจะสมบูรณ์ของกาแล็กซี ซึ่งชี้ให้เห็นถึงความซับซ้อนของแขนเกลียวที่พบว่ามีความเสียหายหลายแห่งโดยขยายตัวกว้างขึ้นขณะที่พวกมันหมุนออกจากแกนกลางอันสว่างของกาแล็กซีและค่อยๆจางหายไป.
ทันโลก ไทยรัฐออนไลน์



กล้องฮับเบิลพบร่องรอยด้านนอกกาแล็กซี
ศูนย์การบินอวกาศก็อดเดิร์ดหน่วยงานขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา เผยภาพที่ได้จากกล้อง โทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล ซึ่งแสดงให้เห็นศักยภาพในการส่องสำรวจที่ทำให้เห็นร่องรอยสิ่งต่างๆ ที่อยู่ด้านนอกดาราจักรหรือกาแล็กซีทางช้างเผือก (milky way galaxy)

สิ่งที่บันทึกได้นั้นมีลักษณะคล้ายลายเส้นที่ยาวและส่องแสง โดยมีจุดสว่างและมีกาแล็กซีที่ดูน่าตื่นตะลึง ระบุว่าเป็นกาแล็กซีชนิดก้นหอยเหมือนกับทางช้างเผือกของเรา กาแล็กซีแห่งนี้ชื่อ NGC 3432 ซึ่งแขนกังหันและแกนกลางอันสว่างไสวของกาแล็กซีถูกซ่อนไว้ ทว่ากลับเห็นเป็นแถบริ้วบางๆที่ด้านนอก ซึ่งแถบมืดของฝุ่นจักรวาล ความปรวนแปร ความสว่างที่แตกต่างกัน รวมถึงบริเวณการก่อตัวของดาวฤกษ์ที่เป็นสีชมพู สิ่งเหล่านี้ช่วยให้เห็นถึงการสร้างรูปร่างที่แท้จริงของกาแล็กซี NGC 3432

กาแล็กซี NGC 3432 ตั้งอยู่ในกลุ่มดาวสิงโตเล็ก ไม่ใช่กาแล็กซีแปลกหน้าของนักดาราศาสตร์ เพราะกล้องโทรทรรศน์อื่นๆ ก็เคยส่องพบในแบบที่แตกต่างกัน เช่น โครงการสโลน ดิจิตอล สกาย- เซอร์เวย์ (Sloan Digital Sky Survey-SDSS) ที่ทำแผนที่ท้องฟ้า กล้องโทรทรรศน์อวกาศกาเล็กซ์ (Galaxy Evolution Explorer-GALEX) ที่เป็นโครงการสำรวจวิวัฒนาการของกาแล็กซี และดาวเทียมอิราส (Infrared Astronomical Satellite-IRAS) ที่ใช้บันทึกข้อมูลในย่านอินฟราเรด.
  ทันโลก ไทยรัฐออนไลน์



นาซาพบการสั่นสะเทือนระหว่างดาวเคราะห์  
แรงสั่นสะเทือนของดาวเคราะห์เป็นหนึ่งในชนิดของการปะทะที่ดูเหมือนมองไม่เห็น แต่เป็นอนุภาคที่ถ่ายโอนพลังงานผ่านสนามแม่เหล็กไฟฟ้าแทนที่จะกระดอนเข้าหากันโดยตรง แรงสั่นสะเทือนจากการปะทะกันเป็นปรากฏการณ์ที่พบได้ทั่วจักรวาล ทั้งในซุปเปอร์โนวา หลุมดำ และดาวฤกษ์อันแสนไกล นักวิทยาศาสตร์จำนวนไม่น้อยสนใจในเรื่องแรงสั่นสะเทือนเพราะสิ่งนี้ส่งผลต่อโลก อาจก่อความเสียหายต่อระบบการสื่อสารและทำให้ขาดพลังงาน

องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกาหรือองค์การนาซา จึงสร้างเครื่องมือสำหรับตรวจหาแรงสั่นสะเทือนที่มองไม่เห็น นั่นคือยานอวกาศเอ็มเอ็มเอส หรือเดอะ แม็กนีโต สเฟียริก มัลติสเกล มิชชัน (Magnetospheric Multiscale mission-MMS) และจากการใช้เวลา 4 ปีที่ผ่านมายานเอ็มเอ็มเอสก็สามารถวัดแรงสั่นสะเทือนระหว่างดาวเคราะห์ได้เป็นครั้งแรก ซึ่งแรงสั่นสะเทือนเหล่านี้เกิดจากอนุภาคและคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ถูกปล่อยออกมาจากดวงอาทิตย์

ทีมนักวิทยาศาสตร์จากศูนย์การบินอวกาศก็อดเดิร์ด เผยว่าเอ็มเอ็มเอสวัดค่าความสั่นสะเทือนได้รวดเร็วและมีความละเอียดสูงอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ตรวจสอบพลาสมาได้ฉับไว วัดไอออนและอิเล็กตรอนรอบยานอวกาศได้สูงสุด 6 ครั้งต่อวินาที เพราะความเร่งของคลื่น

การสั่นสะเทือนสามารถผ่านยานอวกาศได้ในเวลาเพียงครึ่งวินาทีเท่านั้น.
  ทันโลก ไทยรัฐออนไลน์



นักวิทยาศาสตร์ไขความกระจ่างของหลุมดำ
“หลุมดำ”เป็นวัตถุในจักรวาลที่นักวิทยาศาสตร์ให้ความสนใจศึกษาอย่างมาก เชื่อกันว่าหลุมดำมีแรงโน้มถ่วงที่แข็งแกร่งมากจนไม่มีอะไรหลบหนีไปได้ เหล่านักวิทยาศาสตร์จากองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา หรือองค์การนาซา จึงได้รวบรวมความคิดความเชื่อเกี่ยวกับตำนานหลุมดำมาบอกเล่าและหักล้างให้รู้กัน

ตำนานแรกคือเชื่อว่าหลุมดำเป็นสีดำทั้งหมด แต่จากการตรวจจับด้วยกล้องโทรทรรศน์อีเวนต์ ฮอไรซอน (Event Horizon Telescope) พบว่าแสงทำให้ตรวจพบเหตุการณ์ที่จานขอบของหลุมดำ ตำนานที่ 2 บอกว่าบรรดาหลุมดำมีขนาดใกล้เคียงกัน แต่จริงๆแล้วหลุมดำมีขนาดแตกต่างกัน ซึ่งถูกกำหนดโดยมวลของพวกมัน หลุมดำขนาดเล็กมักเป็นผลมาจากการตายของดาวฤกษ์ในเวลาสั้นๆ แต่รุนแรง ตำนานที่ 3 บอกว่า หากเราอยู่ใกล้หลุมดำไม่กี่พันกิโลเมตร แรงโน้มถ่วงสูงสุดจะดึงเราเข้าสู่ศูนย์กลาง หากเราเข้าใกล้หลุมดำที่มีมวลเท่ากับดวงอาทิตย์ ก็จะเข้าใกล้ได้หลายสิบกิโลเมตร แต่ถ้าแทนที่ดวงอาทิตย์ด้วยหลุมดำที่มีมวลเท่ากัน ดาวเคราะห์ทุกดวงจะหมุนรอบหลุมดำต่อไปด้วยความ เร็วและระยะทางเท่าที่พวกดาวเคราะห์ทำอยู่ ส่วนตำนานที่ 4 คือเมื่อเข้าไปในหลุมดำแล้วจะไม่มีอะไรหนีออกมาได้ นั่นไม่ใช่เลยเพราะสิ่งหนึ่งที่เล็ดลอดออกจากหลุมดำได้ก็คือรังสี

ทั้งนี้ ภาพจากกล้องโทรทรรศน์อีเวนต์ ฮอไรซอนยืนยันว่าทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ที่ทำนายไว้เมื่อกว่า 100 ปีมาแล้ว ว่ารูปแบบและลักษณะของหลุมดำนั้นเป็นวงกลมที่สมบูรณ์แบบ ซึ่งจากนี้คือการเจาะความลับให้ได้ของนักวิทยาศาสตร์รุ่นต่อมา.
  ทันโลก ไทยรัฐออนไลน์



แสงสว่างจากก๊าซของดาว
ดาวฤกษ์อย่างดวงอาทิตย์นั้นเติบโตขึ้นตามอายุ ดาวฤกษ์ ยักษ์แดงเหล่านี้จะเริ่มสูญเสียวัตถุชั้นนอกไปกับอวกาศ นักวิทยาศาสตร์ให้ข้อมูลว่ามากกว่าครึ่งหนึ่งของมวลดาวฤกษ์จะปล่อยให้เกิดการก่อตัวเป็นเปลือกก๊าซอยู่รอบๆ ดาว ในเวลาเดียวกันนั้นแกนกลางของดาวฤกษ์ก็จะหดตัวและขยายตัวร้อนขึ้นจนเปล่งแสงอัลตราไวโอเลตออกมา ก๊าซที่ถูกขับออกมาก็จะส่องแสงสว่าง

วัตถุประเภทนี้ถูกเรียกว่าเนบิวลาดาวเคราะห์ อาจเป็นเรื่องที่ค่อนข้างสับสนเพราะมันไม่เกี่ยวข้องอะไรกับดาวเคราะห์ก็ตาม ทว่าชื่อนี้ได้มาจากการปรากฏตัวของวัตถุในลักษณะกลมมนคล้ายดาวเคราะห์ ล่าสุดกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล (Hubble Space Telescope) ได้ถ่ายภาพวัตถุมีความโค้งมนในอวกาศชื่อ NGC 2022 รูปร่างของมันอาจดูคล้ายสาหร่าย หรือแมงกะพรุน แต่ NGC 2022 จัดเป็นวัตถุทรงกลมที่ห่อหุ้มด้วยก๊าซจำนวนมหาศาลในอวกาศ

ซึ่งสามารถมองเห็นดาวฤกษ์ตั้งอยู่บริเวณใจกลางของรูปทรงกลมก๊าซที่เปล่งแสงส่องสว่างนี้ เนื่องจากก๊าซเหล่านี้จะยึดเกาะกับดาวฤกษ์ส่วนใหญ่ยังมีชีวิต ทั้งนี้ วัตถุทรงโค้งมน NGC 2022 นี้ตั้งอยู่ในกลุ่มดาวนายพราน constellation of Orion)
  ทันโลก ไทยรัฐออนไลน์



แสงริบหรี่ของดาวเคราะห์นอกระบบขนาดเท่าโลก
เมื่อปีที่ผ่านมาดาวเทียมสำรวจดาวเคราะห์นอกระบบที่ชื่อเทสส์ (Transiting Exoplanet Survey Satellite–TESS) ขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา หรือองค์การนาซา ได้ระบุตำแหน่งของดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างไกลออกไป โดยการตรวจจับดาวฤกษ์แม่ของดาวเคราะห์ดวงนั้นเมื่อวัตถุเคลื่อนผ่านหน้าดวงดาว

เมื่อเร็วๆนี้มีการวิจัยรายงานในวารสารวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ชี้ให้เห็นว่าพื้นผิวของดาวเคราะห์ดวงนั้น มีแนวโน้มที่จะมีลักษณะคล้ายกับพื้นผิวที่แห้งแล้งของดวงจันทร์บริวารของโลกหรือคล้ายกับดาวพุธ ซึ่งอาจปกคลุมด้วยหินภูเขาไฟสีเข้ม ดาวเคราะห์นอกระบบดังกล่าวอยู่ห่างจากโลกประมาณ 48.6 ปีแสง โคจรรอบดาวฤกษ์ที่อยู่ไกลออกไปในกาแล็กซีทางช้างเผือกของเรา เป็นที่รู้จักกันในหมู่นักดาราศาสตร์ในชื่อ LHS 3844b มีขนาดประมาณ 1.3 เท่าของโลก หมุนรอบดาวฤกษ์ขนาดเล็กค่อนข้างเย็นที่เรียกว่าดาวแคระแดง 1 รอบเป็นเวลา 11 ชั่วโมง
 
นักวิจัยจากศูนย์ฟิสิกส์ดาราศาสตร์ฮาร์วาร์ด สมิธโซเนียนในเมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเสตต์ ในอเมริกา เผยว่า การขาดชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์นอกระบบ LHS 3844b น่าจะเกิดจากการแผ่รังสีที่รุนแรงจากดาวแคระแดงของมัน ซึ่งแม้ว่าจะมืดสลัวตามมาตรฐานปกติของดาวฤกษ์ แต่ดาวแคระแดงดวงนี้ก็สามารถปล่อยแสงอัลตราไวโอเลตออกมาในระดับสูง ซึ่งเป็นสิ่งที่พบได้ค่อนข้างยาก
  ทันโลก ไทยรัฐออนไลน์



วงแหวนล้อมรอบดาวเสาร์
หนึ่งในความทะเยอทะยานอยากรู้ของนักดาราศาสตร์ก็คือวงแหวนของดาวเสาร์ ดาวเคราะห์ที่มีรูปร่างมหัศจรรย์ของโลกในระบบสุริยะ หลายคนได้แต่สงสัยว่าวงแหวนมีรูปร่างเป็นวงรอบดาวเสาร์อย่างนั้นมาตั้งแต่เริ่มแรก หรือมีรูปร่างเป็นวงแค่บางส่วนมา นับจากจุดเริ่มต้นของระบบสุริยะเมื่อ 4,600 ล้านปีก่อน

กาลิเลโอค้นพบดาวเสาร์ผ่านกล้องดูดาวครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2153 และงุนงงกับรูปร่างของมัน แต่อีก 40 ปีต่อมา จิโอวานนี แคสสินี นักดาราศาสตร์ชาวอิตาลี ได้นำเสนอว่าดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์ที่ถูกล้อมรอบด้วยวงแหวน สิ่งที่กาลิเลโอเคยเห็นคือมุมมองที่แตกต่างกันของวงแหวนของดาวเสาร์ ทว่าวงแหวนเกิดขึ้นจากอะไร เป็นจานกลมแข็งหรือไม่ มีอนุภาคเล็กๆ หรืออะไรอยู่ในวงแหวน เมื่อเวลาผ่านไปมาพร้อมกับเทคโนโลยีทันสมัย นักดาราศาสตร์ก็พบว่าวงแหวนนั้นไม่แข็งและบางทีอาจมีดวงจันทร์บริวารอาศัยอยู่หลายดวง แต่แล้วความเข้าใจถึงวงแหวนก็เปลี่ยนไปอย่างมากจากภารกิจยานอวกาศไพโอเนียร์ 11 (Pioneer 11) และยานวอยเอเจอร์แฝด (Voyager)

ล่าสุดก็คือยานอวกาศแคสสินีที่ใช้เวลามากกว่า 10 ปีโคจรรอบดาวเสาร์ และมอบข้อมูลอันมีค่าให้กับวงการดาราศาสตร์ โดยพบว่าระบบวงแหวนของดาวเสาร์อยู่ระหว่างความหนา 10 เมตรถึง 1 กิโลเมตร มวลรวมของอนุภาคเป็นน้ำแข็ง 99.8% มวลดวงจันทร์บริวารของโลกน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของมวลดวงจันทร์ไมมาสของดาวเสาร์ นักวิทยาศาสตร์บางรายคาดว่าวงแหวนเป็นผลมาจากการล่มสลายของหนึ่งในดวงจันทร์ของดาวเสาร์ หรือเกิดจากการดักจับการสลายตัวของดาวหางพเนจร และวงแหวนของดาวเสาร์นั้นสว่างมาก แถมยังปราศจากฝุ่น บ่งบอกว่ามันน่าจะก่อตัวขึ้นทุก 10-100 ล้านปีก่อน อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์ก็ยังต้องไขปริศนาอีกมากมายของดาวเสาร์ต่อไป.
  ทันโลก ไทยรัฐออนไลน์



ดาวอังคารโบราณอบอุ่นด้วยฝนเป็นครั้งคราวและเย็น
น้ำมีอยู่มากมายบนดาวอังคารยุคโบราณเป็นสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ล่วงรู้มานานแล้ว ทว่าก็ยังไม่มีความเห็นเป็นเอกฉันท์ว่าน้ำที่อยู่ในสถานะของเหลวนั้นเป็นเรื่องปกติ หรือส่วนใหญ่ถูกแช่เป็นน้ำแข็ง และยังมีคำถามอื่นตามมา เช่น อุณหภูมิสูงพอที่จะให้น้ำไหลได้หรือไม่ และสิ่งนี้เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาหนึ่งหรือนานๆจะเกิดขึ้น

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเพอร์ดูในสหรัฐอเมริกา นำเสนอว่ามีช่วงเวลาที่พื้นผิวดาวอังคารเป็นน้ำแข็ง และรู้ว่ามีช่วงเวลาที่น้ำไหลได้อิสระ แต่ก็จำเป็นต้องใช้วิทยาศาสตร์ตามขอบเขตของโลกเพื่อทำความเข้าใจธรณีเคมีของสิ่งที่อาจเกิดขึ้นบนดาวอังคาร นั่นคือการศึกษาสภาพดินฟ้าอากาศที่แตกต่างกันอย่างรุนแรงบนโลก เช่น เทือกเขาแคสเคดส์ในรัฐโอเรกอน, รัฐฮาวาย ในสหรัฐอเมริกา ในไอซ์แลนด์ ฯลฯ ที่ชี้ให้เห็นว่าภูมิอากาศมีผลต่อรูปแบบของการสะสมแร่ เช่น การสะสมแร่ซิลิกาในธารน้ำแข็งที่เป็นลักษณะของการละลายน้ำ ทำให้เชื่อได้ว่าเมื่อ 3,000-4,000 ล้านปีก่อน โลกมีแนวโน้มชะลอตัวตั้งแต่อากาศอบอุ่นจนถึงเย็น และมีช่วงเวลาของการละลายและการเป็นน้ำแข็ง

ถ้าเป็นเช่นนั้นก็จะสำคัญต่อการค้นหาสิ่งมีชีวิตบนดาวอังคาร เพราะเมื่อรากฐานของชีวิตบนโลกพัฒนาขึ้นไม่นานหลังจากการก่อตัวของโลกและน้ำที่ไหลบนโลกก็จำเป็นต่อการพัฒนาเติบโตของสิ่งชีวิต ดังนั้น หลักฐานที่ชี้ว่ามีน้ำไหลบนดาวอังคารเร็วขึ้น ก็อาจเพิ่มโอกาสที่สิ่งมีชีวิตธรรมดาๆ พัฒนาเติบโตได้ในเวลาเดียวกับที่เกิดบนโลก ซึ่งภารกิจของ (Mars 2020 ในปี 2563 จะช่วยค้นหาแร่ธาตุหลายอย่างได้เพื่อเฉลยว่าดาวอังคารในวัยเยาว์เป็นอย่างไร
  ทันโลก ไทยรัฐออนไลน์



นาซา จับมือยุโรป ตั้งทีมภารกิจ หยุดยั้งดาวเคราะห์น้อยพุ่งชนโลก
นาซา ร่วมมือกับสำนักงานอวกาศยุโรป จัดตั้งทีมหยุดยั้งดาวเคราะห์น้อย ‘เพชฌฆาต’ ที่จะพุ่งชนโลก เตรียมหารือกันที่โรมสัปดาห์หน้า หารือภารกิจส่งยานอวกาศพุ่งชนดาวเคราะห์น้อย Didymos

เมื่อ 4 ก.ย.62 เว็บไซต์ มิร์เรอร์ และสกายนิวส์ รายงานว่า องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐฯ (NASA, นาซา) และสำนักงานอวกาศยุโรป (ESA, อีซา) ร่วมมือทำงานจัดตั้งทีมวิศวกรปฏิบัติภารกิจเบี่ยงเบนเส้นทางโคจรของดาวเคราะห์น้อย เพื่อป้องกันไม่ให้พุ่งชนโลก และภารกิจนี้ถูกตั้งชื่อว่า ‘Asteroid Impact Deflection Assesment’ (การประเมินผลการเบี่ยงเบนดาวเคราะห์น้อยพุ่งชน) หรือ AIDA

ความร่วมมือในภารกิจด้านอวกาศครั้งนี้ของนาซาและอีซา มีเป้าหมายเพื่อเบี่ยงเส้นทางโคจรของดาวเคราะห์น้อยต่างๆ ที่อาจพุ่งชนโลก และภารกิจแรกคือการเปลี่ยนแปลงเส้นทางโคจรของดาวเคราะห์น้อยคู่ Didymos ซึ่งอยู่คู่กัน 2 ดวง โดยดวงใหญ่ ชื่อ Didymos A มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 780 เมตร และดาวเคราะห์น้อยขนาดเล็กกว่า Didymos B หรือ ‘Moonlet’ (มูนเล็ต) เส้นผ่าศูนย์กลางราว 160 เมตรที่โคจรรอบดาวเคราะห์น้อย Didymos A ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า

สำหรับภารกิจของ AIDA จะเป็นการใช้ยานอวกาศ Double Asteroid Redirection (DART) ลำแรก พุ่งชนดาวเคราะห์น้อยดวงเล็กกว่า Didymos B ให้เบี่ยงเส้นทางโคจร จากนั้นดาวเทียมขนาดเล็กจะสำรวจบริเวณที่ชนและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบจากการใช้ยานอวกาศ DART พุ่งชนดาวเคราะห์น้อย Didymos B

ทีมวิศวกรจากนาซาในสหรัฐฯ และอีซาในยุโรป จะไปประชุมกันที่กรุงโรม เมืองหลวงอิตาลี สัปดาห์หน้า เพื่อทดสอบปฏิบัติการนี้ว่าสามารถเป็นวิธีที่นำมาใช้ในการปกป้องโลกมนุษย์ได้หรือไม่ โดยขณะนี้นาซาได้เริ่มสร้างยานอวกาศ Double Asteroid Redirection (DART) และมีกำหนดส่งขึ้นสู่ห้วงอวกาศในปี 2564 โดยยาน DART จะเดินทางถึงเป้าหมายในเดือนกันยายน 2565

ส่วนดาวเทียมที่จะเดินทางไปกับ DART คือดาวเทียมขนาดเล็ก CubeSat ที่สร้างโดยอิตาลี และเรียกว่า LiCIACube (Light Italian CubeSat for Imaging of Asteroid) เพื่อบันทึกช่วงเวลาที่ยาน Dart พุ่งชนดาวเคราะห์น้อย จากนั้นอีซาจะตรวจสอบผลภายหลังการชนยานดาวเคราะห์น้อย Didymos B เพื่อประเมินผลต่างๆ อย่างเช่น มวลของดาวเคราะห์น้อย และลักษณะรูปร่างของหลุมบนดาวเคราะห์น้อยหลังถูกชน ซึ่งภารกิจนี้เรียกว่า Hera (ฮีรา).
  ทันโลก ไทยรัฐออนไลน์



หลุมดำมีการกลืนกินดาวนิวตรอน
ดาวนิวตรอนและหลุมดำถือเป็นซากดาวฤกษ์ที่มีความทึบมัวหนาแน่นที่สุด เป็นวัตถุในจักรวาลที่นักวิทยาศาสตร์และนักดาราศาสตร์ให้ความสนใจศึกษาอย่างมาก เมื่อเร็วๆนี้ นักวิทยาศาสตร์จากวิทยาลัยฟิสิกส์แห่งมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย ได้รายงานการค้นพบที่น่าทึ่ง นั่นคือการตรวจพบหลุมดำกลืนกินดาวนิวตรอนได้เป็นครั้งแรก

หลังจากเครื่องมือตรวจจับคลื่นความโน้มถ่วงในสหรัฐอเมริกาและอิตาลี ได้ตรวจพบระลอกคลื่นในอวกาศ ซึ่งมาจากพื้นที่ที่หลุมดำมีการเขมือบกินดาวนิวตรอน เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นห่างจากโลกของเราไปสุดแสนไกล ประมาณ 8,550,000,000 ล้านล้านกิโลเมตร นักวิทยาศาสตร์อธิบายว่าหลุมดำแห่งนั้นได้กลืนกินดาวนิวตรอนเมื่อประมาณ 900 ล้านปีที่แล้ว แต่ยังไม่แน่ชัดเกี่ยวกับขนาดของวัตถุทั้งคู่ และยังคงต้องวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อยืนยันขนาดที่แน่นอนของวัตถุทั้งสองต่อไป

นักวิทยาศาสตร์เผยว่า ไม่เคยตรวจพบหลุมดำที่เล็กกว่ามวลของดวงอาทิตย์ถึง 5 เท่าหรือดาวนิวตรอนที่มีขนาดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ราว 2.5 เท่ามาก่อน แต่จากการตรวจพบนี้ก็มั่นใจมากว่าเป็นการพบหลุมดำกลืนกินดาวนิวตรอน อย่างไร ก็ตาม ก็มีข้อสันนิษฐานอื่นๆที่อาจมีความเป็นไป ได้เล็กน้อยทว่าก็น่าสนใจ นั่นคือวัตถุที่ถูกกลืนหายไปนั้นอาจเป็นหลุมดำที่เบามากนั่นเอง.
  ทันโลก ไทยรัฐออนไลน์



กล้องนาซาพบความลึกลับที่หายไปในพริบตา
วัตถุประสงค์หลักของกล้องโทรทรรศน์อวกาศนิวสตาร์ (Nuclear Spectroscopic Telescope Array–NuSTAR) ก็เพื่อศึกษาซุปเปอร์โนวาที่เป็นการระเบิดของดาวฤกษ์ขนาดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ของเรา ซึ่งเมื่อเร็วๆนี้องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา หรือองค์การนาซา เผยการค้นพบสีฟ้าและสีเขียวสดใสในรูปของกาแล็กซีที่เหมือนดอกไม้ไฟชื่อ NGC 6946 เป็นกาแล็กซีก้นหอยระดับกลาง

กาแล็กซีแห่งนี้แสดงตำแหน่งของแหล่งกำเนิดรังสีเอกซ์ที่สว่างมาก เกิดขึ้นโดยกระบวนการที่มีพลังมากที่สุดในจักรวาล แหล่งกำเนิดรังสีเอกซ์เหล่านี้หาได้ยากเมื่อเปรียบเทียบกับแหล่งกำเนิดแสงที่มองเห็นได้ นี่คือการปรากฏตัวที่น่าประหลาดใจของแหล่งกำเนิดแสงสีเขียวใกล้กับใจกลางกาแล็กซีและก็หายไปภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์ นักวิจัยระบุว่าจุดสีเขียวและสีฟ้าสว่างที่มุมขวาบน ชี้ถึงเหตุการณ์รุนแรงที่สร้างแสงที่มองเห็นได้ และเพียงพอที่จะส่องแสงให้กับกาแล็กซีทั้งหมด ประกอบด้วยดาวหลายพันล้านดวง และยังสร้างองค์ประกอบทางเคมีมากมาย

ทั้งนี้ สีเขียวที่อยู่ด้านล่างของกาแล็กซีมองไม่เห็นในช่วงการสังเกตการณ์ครั้งแรกของกล้องโทรทรรศน์อวกาศนิวสตาร์ แต่เมื่อสังเกตการณ์ครั้งที่ 2 ในอีก 10 วันต่อมาก็พบความสว่างจ้า หอสังเกตการณ์รังสีเอกซ์จันทราของนาซาสังเกตภายหลังว่าแหล่งของรังสีเอกซ์นั้น มาจาก ultraluminous X-ray source (ULX) คือแหล่งรังสีเอกซ์ที่สว่างจ้ามากและหายไปอย่างรวดเร็ว.
  ทันโลก ไทยรัฐออนไลน์



นักวิทย์พบน้ำในชั้นบรรยากาศ ดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะครั้งแรก
นักวิทยาศาสตร์ค้นพบน้ำในชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์ที่อยู่นอกระบบสุริยะของเราเป็นครั้งแรก โดยเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างออกไปถึง 111 ปีแสง

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อ 11 ก.ย. 2562 ว่า ทีมนักดาราศาสตร์ค้นพบน้ำในชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์ที่โคจรอยู่ในเขตอาศัยได้ของดาวฤกษ์ที่อยู่ห่างไกลเป็นครั้งแรก ซึ่งการค้นพบครั้งนี้ทำให้ดาวเคราะห์ดวงนี้ที่มีชื่อว่า “K2-18b” อาจเป็นดาวที่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่

ข้อมูลการค้นพบดังกล่าวถูกเผยแพร่ลงในวารสารวิทยาศาสตร์ (Nature Astronomy) โดยทีมนักวิทยาศาสตร์กลุ่มนี้ตรวจสอบดาวเคราะห์ต่างๆ ที่พบโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศ “ฮับเบิล” ในวงโคจรโลก ระหว่างปี 2016-2017 และระบุสารเคมีบางอย่างในชั้นบรรยากาศของดาวเหล่านี้ด้วยการศึกษาความเปลี่ยนแปลงของแสงดาว ในขณะที่ดาวเคราะห์เหล่านั้นโคจรรอบดาวฤกษ์ของตัวเอง และมีเพียงดาว K2-18b เท่านั้นที่แสดงให้เห็นหลักฐานโมเลกุลของน้ำ โดยคอมพิวเตอร์วิเคาะห์ว่า ราว 50% ของชั้นบรรยากาศอาจประกอบด้วยน้ำ

ศาสตราจารย์ โจวานนา ติเนตติ จากมหาวิทยาลัยลอนดอน (UCL) ผู้นักทีมนักดาราศาสตร์กลุ่มนี้ ระบุว่า นี่เป็นการค้นพบที่น่าตื่นตาตื่นใจ “นี่เป็นครั้งแรกที่เราตรวจพบน้ำบนดาวเคราะห์ที่ดาวเคราะห์ในเขตอาศัยได้รอบดาวฤกษ์ ที่อุณหภูมิอาจเหมาะต่อการมีอยู่ของสิ่งมีชีวิต”

อนึ่ง เขตอาศัยได้คือ เขตพื้นที่รอบดาวฤกษ์ เช่น ดวงอาทิตย์ ที่มีอุณหภูมิพอเหมาะให้นำคงสภาพเป็นของเหลวบนพื้นผิวของดาว ซึ่งโลกของเราก็เป็นหนึ่งในดาวเคราะห์ที่อยู่ในเขตอาศัยได้เช่นกัน

ขณะที่ดาว K2-18b มีขนาดประมาณ 2 เท่าของโลก อุณหภูมิระหว่าง 0-40 องศาเซลเซียส ซึ่งเย็นพอให้น้ำคงสภาพเป็นของเหลว แต่มันอยู่ห่างจากโลก 111 ปีแสง หรือประมาณ 650 ล้านล้านไมล์ ซึ่งไกลเกินกว่าที่จะส่งยานใดๆ ไปสำรวจ ทางเลือกเดียวตอนนี้คือต้องรอกล้องโทรทรรศน์รุ่นใหม่ที่จะถูกส่งออกสู่อวกาศในช่วงทศวรรษที่ 2020 เพื่อตรวจสอบแก๊สที่มีเพียงสิ่งมีชีวิตเท่านั้นที่สร้างได้ ในชั้นบรรยากาศของดาวดวงนี้

“นี่เป็นหนึ่งในคำถามใหญ่ที่สุดในวงการวิทยาศาสตร์ และเราก็สงสัยมาตลอดว่า เราอยู่อย่างโดดเดี่ยวในจักรวาลหรือไม่” ดร.อินโก วาลด์มันน์ จาก UCL กล่าว “ภายใน 10 ปีข้างหน้า เราจะได้รู้ว่ามีสารเคมีที่เกิดจากสิ่งมีชีวิตในชั้นบรรยากาศของดาวดวงนั้นหรือไม่”
  ทันโลก ไทยรัฐออนไลน์



ดาวเคราะห์น้อยขนาดมหึมาอีก 2 พุ่งผ่านโลก วันเดียวกัน
นักวิทย์นาซา เผย มีดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่ถึง 2 ดวง พุ่งผ่านโลกในวันที่ 14ก.ย. ดาวเคราะห์น้อยดวงหนึ่งมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่าตึกที่สูงที่สุดในโลกขณะนี้

เว็บไซต์ มิร์เรอร์ รายงานว่า องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐฯ (นาซา) เผยว่าในวันเสาร์ที่ 14 ก.ย.62 นี้ มีดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่ 2 ดวง พุ่งผ่านโลกอีกแล้ว โดยดาวเคราะห์น้อยดวงแรก ถูกเรียกว่า ‘2010 C01’ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ประเมินว่ามีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 120-260 เมตร
ส่วนดาวเคราะห์น้อยดวงที่ 2 ถูกเรียกว่า 2000 QW7 มีเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 650 เมตร หรือมีขนาดพอๆ กับตึกที่สูงที่สุดในโลก ‘เบิร์จ คาลิฟา’ (Burj Khalifa)ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

อย่างไรก็ตาม ชาวโลกโล่งอกได้ เมื่อนาซาได้ตัดความเป็นไปได้ที่ดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่ทั้ง 2 ดวงนี้อาจจะชนโลกของเรา เพราะขณะที่ดาวเคราะห์น้อยพุ่งผ่านโลกในระยะใกล้ที่สุดนั้น ห่างถึง 14 เท่าของระยะทางระหว่างโลกกับดวงจันทร์ หรือประมาณ 3.5 ล้านไมล์ โดยตามคาดการณ์ของนักวิทยาศาสตร์นาซา ระบุว่า ดาวเคราะห์น้อย 2010 C01 จะผ่านโลกตอนเวลา 04.42 น. ของวันเสาร์ที่ 13 ก.ย. ส่วนดาวเคราะห์น้อย 2000 QW7 จะพุ่งผ่านโลกในเวลา 12.54 น.

ลินด์ลีย์ จอห์นสัน ผู้บริหารโครงการด้านการประสานงานคุ้มครองโลก ของนาซา เผยว่า ดาวเคราะห์น้อยทั้งสองดวงนี้ ถูกนักวิทยาศาสตร์จับตาสังเกตการณ์อย่างเต็มที่ เนื่องจากเคยผ่านโลกมาแล้วในปี ค.ศ.2000 และ 2010 จึงทำให้นักวิทยาศาสตร์รู้จักเส้นทางโคจรของดาวเคราะห์น้อยทั้งสองดวงเป็นอย่างดี

มิร์เรอร์ยังเผยว่า ศูนย์ศึกษาเกี่ยวกับ Near-Earth Objects หรือ วัตถุใกล้โลก ของนาซา ได้เฝ้าติดตามวัตถุใกล้โลก รวมทั้งดาวเคราะห์น้อยและดาวหาง ซึ่งจนถึงขณะนี้ได้พบวัตถุใกล้โลกแล้วจำนวนกว่า 20,000 ดวง หรือเฉลี่ยแล้วจะพบวัตถุใกล้โลกดวงใหม่ถึง 30 ดวงในทุกๆ สัปดาห์.
  ทันโลก ไทยรัฐออนไลน์




กระจุกดาวในเมฆแมกเจลแลนใหญ่
กระจุกดาว (Star clusters) เป็นกลุ่มดาวมากถึง 1 ล้านดวงที่มีระบบปฏิสัมพันธ์และมีแรงโน้มถ่วงร่วมกันระหว่างดวงดาว โดยจะเปลี่ยนโครงสร้างเมื่อเวลาผ่านไป ซึ่งนักดาราศาสตร์เรียกว่าวิวัฒนาการเคลื่อนที่ ปฏิกิริยาดังกล่าวจะทำให้ดาวมวลมากมักจะจมลงบริเวณใจกลางของกระจุกดาว ขณะที่ดาวมวลต่ำสามารถหนีออกจากระบบได้

ล่าสุด การสำรวจใหม่จากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล ขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา หรือองค์การนาซา และองค์การอวกาศยุโรป หรืออีเอสเอ ได้สำรวจกาแล็กซีแมกเจลแลนใหญ่หรือแอลเอ็มซี (Large Magellanic Cloud-LMC) กาแล็กซีบริวารของทางช้างเผือก ตั้งอยู่ห่างโลกเกือบ 160,000 ปีแสง ได้เพิ่มความเข้าใจแก่นักดาราศาสตร์ว่าขนาดของกระจุกดาวในแอลเอ็มซีนั้นเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาอย่างไร เพราะมีงานวิจัยก่อนหน้านี้เสนอว่าระบบในกระจุกดาวนั้นมีแนวโน้มจะมีขนาดกะทัดรัดและหนาแน่นเมื่อมีการก่อตัว ก่อนที่จะขยายออกไปตามเวลาเพื่อให้กลายเป็นกระจุกดาวขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ทว่าอายุตามลำดับเหตุการณ์เพียงอย่างเดียวก็ไม่ได้อธิบายเรื่องราวการก่อตัวและวิวัฒนาการของกระจุกดาวได้สมบูรณ์พอ
 
กระจุกดาวทั้งหมดในแอลเอ็มซีถูกพบว่าเป็นที่อาศัยของดาวฤกษ์ชนิดพิเศษที่เรียกว่า “ดาวแปลกพวกสีน้ำเงิน” (blue straggler) ซึ่งดาวฤกษ์ชนิดนี้จะได้รับเชื้อเพลิงพิเศษที่ทำให้มีพลังและสว่างขึ้น สิ่งนี้เกิดขึ้นได้หากดาวดวงหนึ่งดึงสสารออกจากดาวใกล้เคียงหรือเกิดชนกันเอง การค้นพบนี้น่าจะช่วยในการอ่านกลุ่มดาวที่สังเกตเห็นได้ รวมถึงอาจเฉลยความเป็นมาในการก่อตัวและวิวัฒนาการของกระจุกดาวในกาแล็กซีแมกเจลแลนใหญ่ได้
  ทันโลก ไทยรัฐออนไลน์



พบดวงจันทร์บริวารดาวเสาร์ เพิ่มอีก 20 ดวง
ทีมนักดาราศาสตร์ในสหรัฐฯ พบดวงจันทร์บริวารดาวเสาร์ ที่ไม่เคยพบมาก่อน เพิ่มอีก 20 ดวง ทำให้ดาวเสาร์ แซงหน้า ดาวพฤหัสฯ เป็นดาวเคราะห์ในระบบสุริยะของเราที่มีดวงจันทร์บริวารมากที่สุดถึง 82 ดวง

เมื่อ 9 ต.ค.62 สำนักข่าวต่างประเทศและซีเอ็นเอ็น รายงาน ทีมนักดาราศาสตร์นำโดยสกอตต์ เชพพาร์ด นักดาราศาสตร์ประจำสถาบันวิทยาศาสตร์คาเนกี ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ประเทศสหรัฐฯ ออกแถลงการณ์เมื่อวันที่ 7 ต.ค.ที่ผ่านมา พบดวงจันทร์ บริวารของดาวเสาร์ ซึ่งไม่เคยพบมาก่อน จำนวนถึง 20 ดวง จึงทำให้ดาวเสาร์กลายเป็นดาวเคราะห์ในระบบสุริยจักรวาลของเรา ที่มีดวงจันทร์บริวารมากที่สุด จาก 62 ดวง เพิ่มเป็น 82 ดวง มากกว่าดาวพฤหัสบดีที่มีดวงจันทร์เป็นบริวาร 79 ดวง

ทีมนักดาราศาสตร์ พบว่า ดวงจันทร์บริวารดาวเสาร์ ที่พบใหม่จำนวน 20 ดวงนี้ มีขนาดเล็กๆ โดยมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3 ไมล์ (5 กิโลเมตร) ซึ่งในจำนวนนี้ ดวงจันทร์ 17 ดวง โคจรสวนทางกับการเคลื่อนตัวของดาวเสาร์ และมีดวงจันทร์เพียง 3 ดวงเท่านั้น ที่โคจรในทิศทางเดียวกับดาวเสาร์

นายเชพพาร์ด ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะการค้นหาดวงจันทร์บริวารดาวเสาร์ครั้งนี้ กล่าวว่า เขาและทีมนักดาราศาสตร์ เพื่อนร่วมงาน ได้ใช้กล้องโทรทรรศน์ Subaru ที่รัฐฮาวาย ซึ่งถือเป็นหนึ่งในกล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ในการค้นหาดวงจันทร์บริวารดาวเสาร์ จนประสบความสำเร็จ พบดวงจันทร์บริวารของดาวเสาร์ที่ไม่เคยพบมาก่อนเพิ่มอีกถึง 20 ดวง ซึ่งภารกิจสำคัญครั้งนี้สามารถช่วยให้เราได้รู้การก่อกำเนิดและการพัฒนาการของดาวเคราะห์ต่างๆ ในระบบสุริยจักรวาลของเรา
  ทันโลก ไทยรัฐออนไลน์

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5767


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #18 เมื่อ: 09 กรกฎาคม 2563 16:20:05 »


Planet AU Mic b Credit : NASA's Goddard Space Flight Center/Chris Smith (USRA)

ดาวเคราะห์ขนาดเนปจูนโคจรรอบดาวฤกษ์
เป็นเวลากว่า 10 ปีที่นักดาราศาสตร์พยายามค้นหาดาวเคราะห์ที่กำลังโคจรอยู่รอบดาว AU Microscopii (AU Mic) เป็นดาวขนาดเล็กที่อยู่ห่างออกไป 31.9 ปีแสง ล่าสุด นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยจอร์จ เมสัน ในเมืองแฟร์แฟกซ์ สหรัฐอเมริกา เผยว่า จากการใช้ข้อมูลจากดาวเทียมเทสส์ ซึ่งเป็นดาวเทียมสำรวจดาวเคราะห์นอกระบบ (TESS) ขององค์การนาซา และกล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์ที่ปลดระวางไปแล้ว ได้ค้นพบดาวเคราะห์ขนาดเทียบเท่ากับดาวเนปจูนกำลังโคจรรอบดาวฤกษ์อายุน้อย



Au Mic Credit : NASA's Goddard Space Flight Center/Chris Smith (USRA)

นักวิทยาศาสตร์อธิบายว่าระบบดาว AU Mic เป็นดาวแคระแดงอายุน้อยประมาณ 20-30 ล้านปี ตั้งอยู่ในกลุ่มดาวกล้องจุลทรรศน์ (Microscopium) ถูกล้อมรอบด้วยจานฝุ่นก๊าซขนาดใหญ่ และพบดาวเคราะห์ดวงใหม่ชื่อ AU Mic b ที่โคจรรอบดาวฤกษ์ AU Mic ทุกๆ 8.5 วัน ขนาดของ AU Mic b นั้นเท่ากับดาวเนปจูน นักวิทยาศาสตร์คิดว่า AU Mic b ก่อตัวไกลออกไปจากดาวฤกษ์และค่อยๆ อพยพเข้าสู่วงโคจรที่มันอาศัยอยู่ในปัจจุบัน

เหตุที่การตรวจจับดาวเคราะห์ที่โคจรรอบดาวอย่าง AU Mic เป็นสิ่งท้าทายสำหรับนักวิทยาศาสตร์ ก็เพราะช่วงกลางปี พ.ศ.2561 ดาวเทียมเทสส์ได้เฝ้าดูระบบดาว AU Mic และพบว่าดาวฤกษ์ก่อให้เกิดเปลวไฟจำนวนมาก ซึ่งบางเปลวไฟก็มีพลังมากกว่าเปลวที่แข็งแกร่งที่สุดเท่าที่เคยตรวจพบในดวงอาทิตย์.
ทันโลก ไทยรัฐออนไลน์



Credit : X-ray: NASA/CXC/SAO; Optical: Detlef Hartmann; Infrared: Courtesy NASA/JPL-Caltech

การพัฒนาเปลือกดาวกับผลกระทบที่สำคัญ
ดาวเคราะห์นอกระบบหรือดาวเคราะห์ที่อยู่ในวงโคจรรอบดาวฤกษ์อันห่างไกล มักเป็นที่สนใจของนักดาราศาสตร์ เพราะดาวเคราะห์บางดวงอาจมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ก็เป็นได้ ล่าสุด ศ.เครก โอ’นีล ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยดาวเคราะห์แมคควอรี มหาวิทยาลัยแมคควอรี ในออสเตรเลีย นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับดาวเคราะห์นอกระบบ และปัจจัยอย่างตำแหน่ง อุณหภูมิ ธรณีเคมี ที่จะช่วยในการจำลองแบบว่าดาวเคราะห์มีการพัฒนาอย่างไร

การจำลองขนาดใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับตัวประมวลผลหรือโปรเซสเซอร์หลายร้อยตัว โดยใช้พารามิเตอร์ผ่านรหัสธรณีวิทยา ASPECT เพื่อจำลองการพัฒนาการภายในดาวเคราะห์ ผลลัพธ์บ่งชี้ว่าดาวเคราะห์ยุคแรกๆหลายดวงน่าจะพัฒนาแผ่นเปลือกดาวที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาสิ่งมีชีวิต การที่มีธาตุเหล็กจำนวนมากอยู่ในแกนกลางทำให้สันนิษฐานได้ว่าสิ่งนี้จำเป็นต่อการพัฒนาเปลือกโลก และแม้แต่ดาวเคราะห์ที่มีธาตุเหล็กน้อยก็อาจก่อให้เกิดการแปรสัณฐานของแผ่นเปลือกดาวได้หากมันอยู่ในเวลาที่ถูกต้อง

นักวิทยาศาสตร์เผยว่าดาวเคราะห์ที่ก่อตัวขึ้น ในภายหลังอาจไม่ได้พัฒนาแผ่นเปลือกดาว ซึ่งหมายความว่าพวกมันไม่ได้มีตัวควบคุมอุณหภูมิในตัว สิ่งนี้ไม่เพียงส่งผลกระทบต่ออุณหภูมิพื้นผิว หมายความว่าแกนยังคงร้อนอยู่ ซึ่งขัดขวางการพัฒนาของสนามแม่เหล็ก ถ้าไม่มีสนามแม่เหล็ก ดาวเคราะห์จะไม่ได้รับการปกป้องจากรังสีของดวงอาทิตย์ และมีแนวโน้มที่จะสูญเสียชั้นบรรยากาศ
ทันโลก ไทยรัฐออนไลน์



Credit : NASA/CXC/U.Texas

เกิดอะไรขึ้นก่อนดาวจะระเบิดและตาย
ในจักรวาลมีอนุภาคชนิดหนึ่งขนาดเล็กมากจนตรวจจับได้ยากยิ่ง เปรียบได้กับ “อนุภาคผี” หรือเรียกว่านิวตริโน เป็นอนุภาคที่ไม่มีประจุมวลน้อยมาก เคลื่อนที่ด้วยความเร็วใกล้แสง มีคำอธิบายว่าเมื่อดาวดวงหนึ่งตายลง มันจะปล่อยนิวตริโนจำนวนมากออกมา ซึ่งเชื่อว่าเป็นตัวขับเคลื่อนการระเบิดของซุปเปอร์โนวา นิวตริโนจะไหลผ่านดาวฤกษ์อย่างอิสระก่อนที่การระเบิดจะไปถึงพื้นผิวดาวฤกษ์

แม้จะเข้าใจโดยทั่วไปว่าดาวมวลสูงวิวัฒนาการและระเบิดอย่างไร แต่นักวิทยาศาสตร์ยังคงไม่แน่ใจเกี่ยวกับการระเบิดของซุปเปอร์โนวา เมื่อเร็วๆ นี้ นักวิจัยจากศูนย์ความเป็นเลิศเออาร์ซีเพื่อการค้นพบคลื่นความโน้มถ่วง (ARC Centre of Excellence in Gravitational Wave Discovery-OzGrav) ที่มหาวิทยาลัยโมนาชในออสเตรเลีย เผยการวิจัยเกี่ยวกับนิวตริโนก่อนการเกิดซุปเปอร์โนวา จากการตรวจสอบแบบจำลองวิวัฒนาการของดาวฤกษ์เพื่อทดสอบการคาดการณ์ที่ไม่แน่นอน สามารถตรวจพบนิวตริโนก่อนที่ซุปเปอร์โนวาจะเกิดขึ้น

การวิจัยพบว่ามีความไม่แน่นอนอย่างมีนัยสำคัญของการทำนายนิวตริโนก่อนเกิดซุปเปอร์โนวา รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างคุณสมบัตินิวตริโนกับคุณสมบัติของดาว นักวิจัยทำนายว่าซุปเปอร์โนวาครั้งถัดไปในกาแล็กซีทางช้างเผือกของเราสามารถเกิดขึ้นได้ทุกวัน ซึ่งนิวตริโนที่ถูกปล่อยออกมาก่อนการเกิดซุปเปอร์โนวานั้น จะช่วยให้เข้าใจส่วนสำคัญของการวิวัฒนาการดวงดาวขนาดใหญ่และกลไกการระเบิดซุปเปอร์โนวานั่นเอง.
ทันโลก ไทยรัฐออนไลน์



ดาวเคราะห์นอกระบบ ” Gliese 887” ที่อาจมีสิ่งมีชีวิต

หลายคนอาจสงสัยว่าทำไมการค้นหาดาวเคราะห์นอกระบบถึงเป็นสิ่งที่หน่วยงานด้านอวกาศหลายๆแห่งให้ความสนใจ และสร้างเครื่องมือทรงประสิทธิภาพเพื่อสอดส่องหาดาวเคราะห์ที่โคจรรอบดาวฤกษ์ในระบบดาวที่คล้ายกับระบบสุริยะของเรา นั่นก็เพราะเชื่อว่าบนดาวเคราะห์ใดสักดวงอาจมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ และหากรู้อย่างแน่ชัดวันใด นั่นหมายถึงว่าเราก็ไม่ได้อยู่เพียงลำพังในจักรวาลนั่นเอง

ล่าสุด มีการรายงานการศึกษาดาวแคระแดงดวงหนึ่งชื่อ Gliese 887 มีมวลเพียงครึ่งมวลของดวงอาทิตย์ ดาวแคระแดงจัดเป็นดาวฤกษ์ที่มีขนาดเล็กและมีอุณหภูมิที่ค่อนข้างต่ำมาก ซึ่ง Gliese 887 อยู่ห่างจากโลก 11 ปีแสง ความน่าสนใจของระบบดาวแห่งนี้ก็คือนักดาราศาสตร์พบว่ามีดาวเคราะห์โคจรรอบดาวฤกษ์ จึงเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับการค้นหาสัญญาณของสิ่งมีชีวิตนอกโลก

นักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเกิททิงเงิน ในเยอรมนี เผยว่ามีดาวเคราะห์ 3 ดวงเข้าข่ายเป็นซุปเปอร์เอิร์ธ (SuperEarth) คือดาวเคราะห์คล้ายโลกที่มีมวลมากกว่าโลกโคจรรอบดาวแคระแดง Gliese887 โดยดวงแรกโคจรรอบทุกๆ 9 วัน ดวงที่ 2 โคจรรอบทุกๆ 21 วัน ส่วนดวงที่ 3 โคจรรอบทุกๆ 50 วัน อยู่ในเขตเอื้ออาศัยได้ ซึ่งระบบดาวเคราะห์นี้จะเป็นเป้าหมายสำคัญของการศึกษาของกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์เวบบ์ขององค์การนาซาที่จะเปิดใช้งานในปีหน้า.
ทันโลก ไทยรัฐออนไลน์



ส่องอดีตการก่อตัวดาวเคราะห์แคระพลูโต

ดาวพลูโตเคยอยู่ในสถานะดาวเคราะห์ แต่ถูกปรับลดสถานะให้เป็นดาวเคราะห์แคระเมื่อปี พ.ศ.2549 มันโคจรรอบดวงอาทิตย์ไกลออกไประยะ 40 เท่าของโลก อาศัยอยู่ในแถบไคเปอร์ (Kuiper Belt) ดินแดนสุดเยือกเย็นด้านนอกระบบสุริยะ นักดาราศาสตร์คาดว่าพลูโตอาจมีเปลือกนอกเป็นชั้นน้ำแข็งหลายพันกิโลเมตร

แต่เมื่อเร็วๆ นี้ นักวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์แห่งมหาวิทยาลัยซานตาครูซ ในสหรัฐอเมริกา เผยว่า ดาวพลูโตอาจไม่ใช่ดาวที่หนาวยะเยือกมาตั้งแต่ต้น แต่อาจกำเนิดขึ้นพร้อมกับอุณหภูมิอบอุ่น เพื่อปกป้องมหาสมุทรใต้ผิวดินที่ยังคงมีอยู่ในทุกวันนี้ จากการวิเคราะห์ภาพพื้นผิวดาวที่ถ่ายได้โดยยานอวกาศนิว ฮอไรซันส์ในปี พ.ศ.2558 และการจำลองด้วยคอมพิวเตอร์ ทำให้มีการเสนอทฤษฎีใหม่ว่าดาวพลูโตเริ่มก่อตัวโดยอาศัยความร้อนเมื่อ 4,500 ล้านปีก่อน และตอนที่ก่อตัวขึ้นก็มีวัสดุใหม่ๆ จะเข้ามาส่งผลกระทบต่อพื้นผิวของดาว ผลกระทบแต่ละอย่างก็เหมือนระเบิดที่ทำให้บริเวณใกล้เคียงอุ่นขึ้น

ถ้าดาวพลูโตก่อตัวขึ้นอย่างช้าๆ พื้นผิวจะเย็นลงระหว่างการกระทบในแต่ละครั้ง แต่หากดาวก่อตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว นั่นแสดงว่ามีแรงกระแทกจากด้านบนจนพื้นผิวไม่มีเวลาที่จะเย็นลง นักวิทยาศาสตร์คำนวณว่าถ้าดาวพลูโตก่อตัวในเวลาน้อยกว่า 30,000 ปีความร้อนจากแรงกระทบเหล่านี้น่าจะเพียงพอต่อการเกิดมหาสมุทร ซึ่งน้ำถือเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของสิ่งมีชีวิต ดังนั้น มหาสมุทรใต้ผิวดาวพลูโตอาจเก็บกักสิ่งมีชีวิตมาอย่างยาวนานก็เป็นได้.
ทันโลก ไทยรัฐออนไลน์


Credit : ESO/M. Kornmesser
ดาวเคราะห์ขนาดเท่าโลกที่อยู่ใกล้ที่สุด
 
พร็อกซิมา เซนทอรี (Proxima Centauri) คือดาวแคระแดงในกลุ่มดาวคนครึ่งม้า ตั้งอยู่ห่างจากระบบสุริยะของเราราวๆ 4.2 ปีแสง พร็อกซิมา เซนทอรี มีลักษณะเหมือนดวงอาทิตย์ของเราแต่อุณหภูมิต่ำกว่า ดาวแคระแดงดวงนี้เป็นส่วนหนึ่งของระบบดาว 3 ดวง ที่เรียกว่าอัลฟา เซนทอรี (Alpha Centauri) ประกอบด้วย อัลฟา เซนทอรี เอ (Alpha Centauri A) อัลฟา เซนทอรี บี (Alpha Centauri B) และพร็อกซิมา เซนทอรี

ล่าสุดทีมนักดาราศาสตร์นานาชาตินำโดยมหาวิทยาลัยเจนีวา ในสวิตเซอร์แลนด์ เผยว่า จากการใช้เครื่องมือเอสเพรสโซ สเปกโตรกราฟ (ESPRESSO spectrograph) ที่ติดตั้งบนกล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่ในชิลี ตรวจวัดความเร็วแนวรัศมีบนพร็อกซิมา เซนทอรี สามารถยืนยันการมีอยู่ของดาวเคราะห์ขนาดเท่าโลก นั่นคือพร็อกซิมา บี (Proxima b) ที่โคจรรอบดาวฤกษ์พร็อกซิมา เซนทอรี ทีมระบุว่าพร็อกซิมา บี มีมวล 1.17 เท่าของมวลโลก ตั้งอยู่ในเขตเอื้ออาศัยอยู่ได้ และใช้เวลาโคจรรอบดาวฤกษ์ของตนเป็นเวลา 11.2 วัน

นักดาราศาสตร์เผย แม้ว่าพร็อกซิมา บีจะอยู่ใกล้กับดาวฤกษ์ของตน มากกว่าระยะทางระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ถึง 20 เท่า แต่พร็อกซิมา บี ก็รับพลังงานได้เทียบเท่า ดังนั้น อุณหภูมิพื้นผิวดาวอาจมีน้ำอยู่ก็เป็นได้ และถ้ามีจริง น้ำน่าจะอยู่ในสถานะของเหลว ซึ่งเป็นไปได้ที่จะมีสิ่งมีชีวิตซ่อนอยู่.
ทันโลก ไทยรัฐออนไลน์



ภาพ : Michel et al./Nature Communications
ที่มาของดาวเคราะห์น้อยริวกุและเบนนู

มีดาวเคราะห์น้อย 2 ดวงที่เป็นข่าวคราวบ่อยครั้ง ถึงขนาดที่มีการส่งยานอวกาศแบบไร้มนุษย์ขับเคลื่อนไปลงจอดบนดาวเคราะห์น้อยทั้งคู่นี้ เพื่อเก็บตัวอย่างหินและดินที่นั่นกลับมาศึกษายังโลกของเรา คือดาวเคราะห์น้อยริวกุ (Ryugu) และเบนนู (Bennu)

ดาวเคราะห์น้อยริวกุ เป็นงานที่องค์การสำรวจการบินอวกาศญี่ปุ่น หรือแจกซา (JAXA) จับจองศึกษาและส่งยานอวกาศฮายาบูสะ ทู (Hayabusa 2) ไปสำรวจเพื่อหาหลักฐานว่าสิ่งมีชีวิตและระบบสุริยะของเราเกิดมาได้อย่างไร ส่วนดาวเคราะห์น้อยเบนนูนั้น องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา หรือนาซา (NASA) ได้ส่งยานอวกาศโอซิริส-เร็กซ์ (OSIRIS-REx) ไปสำรวจเพื่อหาข้อมูลการก่อเกิดระบบสุริยะเช่นกัน และเพื่อวิจัยว่าดาวเคราะห์น้อยที่โคจรใกล้โลกจะส่งผลกระทบต่อโลกหรือไม่ แต่สิ่งที่นักวิทยาศาสตร์อยากไขคำตอบก็คือทั้งริวกุและเบนนูมีที่มาจากไหนกันแน่

ล่าสุด ทีมวิจัยนานาชาตินำโดยศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ในฝรั่งเศส (CNRS) ได้จำลองการแตกกระเจิงของดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่ในแถบดาวเคราะห์น้อยระหว่างดาวอังคารและดาวพฤหัสบดี ชี้ว่าในช่วงการแตกกระเจิงนั้นจะขับเศษชิ้นส่วนดาวเคราะห์ออกมา ซากเศษเหล่านั้นจะสะสมก่อตัวเป็นมวลรวม บางวัตถุอาจมีรูปร่างคล้ายลูกข่าง ทั้งริวกุและเบนนูน่าจะเกิดจากวิธีการเช่นนี้.
ทันโลก ไทยรัฐออนไลน์



Credit : Keio University
สัญญาณจากหลุมดำที่ใจกลางทางช้างเผือก

นักดาราศาสตร์สันนิษฐานว่า มีหลุมดำมวลยวดยิ่งอาศัยอยู่ตรงใจกลางดาราจักรหรือกาแล็กซีทางช้างเผือกของเรา หลุมดำมวลยวดยิ่งนี้มีชื่อว่า “ซาจิทาเรียส เอ สตาร์” (Sagittarius A*) หรือเรียกสั้นๆว่า Sgr A* ซึ่งบางครั้งก็เปล่งแสงในช่วงความยาวคลื่นมิลลิเมตร

ล่าสุดทีมนักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเคโอ ในญี่ปุ่น เผยว่า จากการใช้กล้องโทรทรรศน์วิทยุช่วงคลื่นเป็นมิลลิเมตรขนาดใหญ่ที่สุดในโลก Atacama Large Millimeter / submillimeter Array (ALMA) เฝ้าสังเกตซาจิทาเรียส เอ สตาร์ ก็พบการกะพริบเป็นระยะในคลื่นมิลลิเมตรจากหลุมดำแห่งนี้ ตีความได้ว่าการกะพริบนั้นเกิดจากการหมุนของคลื่นวิทยุรอบหลุมดำมวลยวดยิ่ง โดยมี รัศมีวงโคจรน้อยกว่าของดาวพุธ ถือเป็นเบาะแสที่น่าสนใจในการตรวจสอบปริภูมิเวลา หรือกาล-อวกาศ (space-time) ด้วยแรงโน้มถ่วงที่รุนแรง

นักดาราศาสตร์เผยว่า จุดร้อนที่มีรังสีหรืออุณหภูมิสูงกว่าที่อื่นๆจะเกิดขึ้นเป็นระยะในแผ่นจานรอบหลุมดำ และเปล่งคลื่นมิลลิเมตรออกมา ตามทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ และการปล่อยก๊าซจะขยายออกไปอย่างมากเมื่อแหล่งกำเนิดกำลังเคลื่อนที่ไปด้วยความเร็วที่เทียบได้กับแสง นักดาราศาสตร์เชื่อว่านี่เป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงระยะสั้นของการปล่อยคลื่นมิลลิเมตรจาก Sgr A* นั่นเอง.
ทันโลก ไทยรัฐออนไลน์



ภาพ : NRAO / AUI / NSF, S. Dagnello
จานฝุ่นก๊าซหมุนรอบตัวในเอกภพยุคแรก

จักรวาลหรือเอกภพมีอายุ 13,800 ล้านปี สิ่งที่อาศัยอยู่ส่วนใหญ่คือดาราจักรหรือกาแล็กซี เช่น กาแล็กซีทางช้างเผือกของเรา ที่ก่อตัวขึ้นทีละน้อยจนกลายเป็นมวลขนาดใหญ่ แต่เมื่อเร็วๆนี้กล้องโทรทรรศน์วิทยุช่วงคลื่นเป็นมิลลิเมตรขนาดใหญ่ที่สุดในโลก Atacama Large Millimeter / submillimeter Array (ALMA) ได้ค้นพบจานฝุ่นก๊าซหมุนรอบตัวขนาดใหญ่ ที่เกิดขึ้นเมื่อจักรวาลมีอายุเพียง 10% ของอายุปัจจุบัน ซึ่งเป็นช่วงที่น่าสนใจว่ารูปแบบดั้งเดิมของการก่อตัวกาแล็กซีเป็นอย่างไร

กาแล็กซีที่มีแผ่นจานนั้นมีชื่อว่า DLA0817g ชื่อเล่นคือ Wolfe Disk เป็นแผ่นจานกาแล็กซีที่หมุนอยู่ไกลที่สุดเท่าที่เคยพบมา ด้วยพลังของกล้อง ALMA อาจช่วยให้เห็นว่ากาแล็กซีนี้หมุนรอบตัว 272 กิโลเมตรต่อวินาทีคล้ายกับกาแล็กซีทางช้างเผือกของเรา การค้นพบ Wolfe Disk เป็นสิ่งที่ท้าทายต่อการจำลองกาแล็กซีหลายแห่ง ที่อาจทำนายกาแล็กซีขนาดใหญ่ไปจนถึงวิวัฒนาการของจักรวาล นักวิทยาศาสตร์คิดว่า Wolfe Disk เติบโตขึ้นนั้น ส่วนใหญ่ก็คือผ่านการสะสมก๊าซเย็นอย่างต่อเนื่อง แม้จะยังสงสัยเกี่ยวกับวิธีการรวมมวลก๊าซขนาดใหญ่ในขณะที่รักษาแผ่นจานให้หมุนได้ค่อนข้างมั่นคงก็ตาม

นอกจากนี้ ทีมยังใช้กล้องโทรทรรศน์วิทยุ Karl G. Jansky Very Large Array (VLA) ของ มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติสหรัฐอเมริกาและกล้อง โทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล เรียนรู้เพิ่มเกี่ยวกับการก่อตัวดาวใน Wolfe Disk จนพบว่าอัตราการก่อตัวดาวฤกษ์ใน Wolfe Disk สูงกว่ากาแล็กซีทาง ช้างเผือกอย่างน้อย 10 เท่า ดังนั้น มันน่าจะเป็นหนึ่งในกาแล็กซีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในเอกภพยุคแรกๆ.
ทันโลก ไทยรัฐออนไลน์



ค้นพบการก่อตัวของดาวเคราะห์นอกระบบ

มีดาวเคราะห์มากกว่า 4,000 ดวง ถูกค้นพบว่าโคจรรอบดาวฤกษ์นอกระบบสุริยะของเรา แม้นักดาราศาสตร์รู้ว่าดาวเคราะห์ เกิดมาในจานฝุ่นที่ล้อมรอบดาวฤกษ์อายุน้อยๆ แต่ไม่ค่อยมีใครรู้เกี่ยวกับวิธีการก่อตัวของดาวเคราะห์เหล่านั้นได้อย่างแน่ชัด

เมื่อเร็วๆนี้ ทีมนักดาราศาสตร์นำโดยหอดูดาวปารีส ในฝรั่งเศส เผยว่า จากการศึกษาและสำรวจในระบบดาวชื่อ AB Aurigae ที่ประกอบด้วยก๊าซเย็นและฝุ่น การสำรวจครั้งใหม่ด้วยระบบการถ่ายภาพทรงพลังของเครื่องมือสเฟียร์ (Spectro-Polarimetric High-Contrast Exoplanet Research-SPHERE) ที่ติดตั้งบนกล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่วีแอลที (Very Large Telescope-VLT) ของหอดูดาวท้องฟ้าซีกใต้แห่งยุโรป ในชิลี ได้ให้เบาะแสสำคัญ ที่ช่วยให้เข้าใจกระบวนการก่อตัวของดาวเคราะห์ได้ดีขึ้น หลังจากสังเกตกระบวนการเกิดของดาวเคราะห์ผ่านจานฝุ่นก๊าซหนาแน่นที่ล้อมรอบดาวฤกษ์เพิ่งเกิดใหม่

นักดาราศาสตร์พบว่าดาวเคราะห์ขนาดเล็กก่อตัวขึ้นรอบดาวฤกษ์ AB Aurigae ซึ่งมีมวลประมาณ 2.4 เท่าของมวลดวงอาทิตย์ ตั้งอยู่ในกาแล็กซีทางช้างเผือกเช่นกัน ห่างจากโลก 520 ปีแสง ในกลุ่มดาวสารถี ทีมยืนยันการมีอยู่ของแขนกังหันที่ตรวจพบครั้งแรกโดยกล้อง โทรทรรศน์วิทยุขนาดยักษ์ (Atacama Large Millimeter/sub-millimeter Array หรือ ALMA) และยังเห็นคุณสมบัติที่น่าทึ่งอีกอย่างคือโครงสร้างเกลียวที่เกิดการบิด ซึ่งเป็นจุดที่ดาวฤกษ์อาจก่อตัวขึ้นนั่นเอง.
ทันโลก ไทยรัฐออนไลน์



ไขปริศนาระบบดาวขนาดใหญ่ที่ไม่เคยพบ

เมื่อต้นปีนี้ทีมนักวิทยาศาสตร์นานาชาติตรวจจับสัญญาณคลื่นความโน้มถ่วงครั้งที่ 2 จากการชนกันของดาวนิวตรอน 2 ดวง เหตุการณ์นี้ถูกเรียกว่า GW190425 มีสิ่งที่น่าพิศวงก็คือมวลรวมของดาวนิวตรอนทั้งคู่ มากกว่าระบบดาวคู่แบบนิวตรอนอื่นๆ ที่เคยพบโดยมากกว่า 3.4 เท่าของมวลดวงอาทิตย์ในระบบสุริยะของเรา  GW190425 นับเป็นระบบดาวขนาดใหญ่ที่ไม่เคยเห็นมาก่อนในกาแล็กซีทางช้างเผือก

นักวิทยาศาสตร์สงสัยว่ามันก่อตัวได้อย่างไร แต่ปริศนาที่ค้างคาใจมานานอาจได้รับการเฉลย จากทีมนักฟิสิกส์ดาราศาสตร์แห่งศูนย์ความเป็นเลิศเออาร์ซีเพื่อการค้นพบคลื่นความโน้มถ่วง (ARC Centre of Excellence in Gravitational Wave Discovery-OzGrav) ทีมอธิบายว่าดาวนิวตรอนคู่ได้ปล่อยคลื่นความโน้มถ่วงเป็นระลอกในอวกาศ ขณะที่พวกมันโคจรรอบกันและกันและนักวิทยาศาสตร์ก็ตรวจจับคลื่นเหล่านี้เมื่อดาวนิวตรอนควบรวมกัน คลื่นความโน้มถ่วงจึงให้ข้อมูลเกี่ยวกับดาวนิวตรอนคู่รวมถึงมวลของพวกมันด้วย

คลื่นความโน้มถ่วงจาก GW190425 บ่งชี้ว่านี่คือดาวนิวตรอนคู่ขนาดใหญ่กว่าดาวนิวตรอนคู่ใดๆที่เคยเห็นก่อนหน้านี้ อย่างไรก็ตาม เครื่องตรวจจับคลื่นความโน้มถ่วงบนพื้นดินในปัจจุบันไม่ไวพอที่จะวัดความผิดปกติได้อย่างแน่ชัด แต่เชื่อว่าเครื่องตรวจจับในอนาคตอย่าง ไลซา (Laser Interferometer Space Antenna-LISA) หรือเสาอากาศอวกาศเลเซอร์อินเตอร์เฟอร์โรมิเตอร์ที่จะเปิดใช้ในปี 2577 จะช่วยให้ได้ข้อสรุปที่แม่นยำยิ่งขึ้น.
Milky Way Credit : ESA/Hubble & NASA, A. Riess et al. ทันโลก ไทยรัฐออนไลน์



Credit : ESA/Hubble & NASA, G. Piotto
กล้องฮับเบิลเผยภาพกระจุกดาวทรงกลม

เมื่อเร็วๆนี้กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล ขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา หรือองค์การนาซา และองค์การอวกาศยุโรป หรืออีเอสเอ รายงานการตรวจจับดวงดาวในดาราจักรหรือกาแล็กซี โดยจับจ้องไปที่กระจุกดาวทรงกลมที่ชื่อ NGC 6441 ซึ่งส่องแสงบนท้องฟ้ายามค่ำคืน

NGC 6441 เป็นกระจุกดาวทรงกลมอายุ 13,000 ล้านปี ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของกลุ่มดาวแมงป่อง (Scorpius) อยู่ห่างจากโลกประมาณ 44,000 ปีแสง และห่างจากใจกลางทางช้างเผือก 13,000 ปีแสง กระจุกดาวดังกล่าวมีลักษณะเหมือนเกล็ดหิมะของจักรวาล นักวิทยาศาสตร์เผยว่าการคำนวณจำนวนดวงดาวที่แน่นอนใน NGC 6441 เป็นเรื่องยากพอสมควร แต่คาดว่าดาวฤกษ์ที่อยู่รวมกันในนั้นมีมวลถึง 1,600,000 เท่าของดวงอาทิตย์ ทำให้ NGC 6441 เป็นหนึ่งในกระจุกดาวทรงกลมที่มีมวลมากที่สุดและส่องสว่างที่สุดในทางช้างเผือก ภาพที่ได้นั้นประกอบขึ้นจากหลายส่วน ถ่ายด้วยกล้องถ่ายภาพสนามกว้าง 3 (Wide Field Camera 3-WFC3) และกล้องสำรวจขั้นสูง (Advanced Camera for Surveys-ACS) ที่ติดตั้งบนกล้องฮับเบิล

ทั้งนี้ ในกาแล็กซีทางช้างเผือกของเรานั้น มีกระจุกดาวทรงกลมที่พบอยู่ราวๆ 150 แห่ง แต่รายละเอียดของต้นกำเนิดรวมถึงวิวัฒนาการของกระจุกดาวทรงกลมยังเป็นปริศนาที่นักดาราศาสตร์ไขความกระจ่างตลอดมา.
ทันโลก ไทยรัฐออนไลน์



Credit : National Institutes of Natural Sciences
วงโคจรของดาวเคราะห์ในแทร็พพิสต์-วัน

ระบบดาวแทร็พพิสต์-วัน (Trappist-1) ถูกค้นพบเมื่อปี พ.ศ.2560 นับเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นอย่างมาก เนื่องจากระบุว่ามีดาวเคราะห์ 7 ดวงโคจรรอบดาวฤกษ์ของตน คล้ายกับดาว เคราะห์ในระบบสุริยะของเราที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ ที่สำคัญคือมีดาวเคราะห์ 3 ใน 7 ดวงโคจรอยู่ในเขต Habitable Zone หรือเขตที่เอื้อต่อการอาศัยอยู่ได้ของสิ่งมีชีวิต

นักดาราศาสตร์ยังคงศึกษาระบบดาวแทร็พพิสต์-วัน อย่างต่อเนื่อง ล่าสุดทีมนักวิจัยจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งโตเกียวและศูนย์ชีวดาราศาสตร์ในญี่ปุ่นได้สังเกตระบบแทร็พพิสต์-วัน จากกล้องโทรทรรศน์ซูบารุ ที่รวบรวมแสงและความละเอียดสเปกตรัมสูงของอินฟราเรดแบบใหม่ ทีมพบว่าวงโคจรของดาวเคราะห์ในระบบดาวแทร็พพิสต์-วัน มีความเอียงอยู่ในระดับต่ำใกล้กับศูนย์ ซึ่งเป็นการตรวจวัดความเอียงของดาวฤกษ์ที่มีมวลต่ำมากเป็นครั้งแรก อย่างระบบดาวแทร็พพิสต์-วัน และยังเป็นครั้งแรกที่วัดดาวเคราะห์ในเขตที่เอื้ออาศัยอยู่ได้

เรียกง่ายๆว่าดาวเคราะห์คล้ายโลกของระบบดาวแทร็พพิสต์-วัน ไม่ได้อยู่ในแนวที่ไม่ตรงกับการหมุนของดาวฤกษ์ และนี่คือผลลัพธ์ที่สำคัญสำหรับการทำความเข้าใจวิวัฒนาการของระบบดาวเคราะห์รอบดาวฤกษ์ที่มีมวลน้อยมาก.
ทันโลก ไทยรัฐออนไลน์



Credit : NASA/Goddard Space Flight
Centre Scientific Visualization Studio

หลักฐานใหม่เกี่ยวกับหินบนดวงจันทร์

เมื่อ 50 ปีก่อน นักบินอวกาศจากองค์การนาซาที่เดินทางไปดวงจันทร์กับยานอวกาศอพอลโล ได้นำตัวอย่างหินดวงจันทร์กลับมายังโลก จากนั้นมีการตั้งคำถามถึงวิธีการก่อตัวของหินที่เปลือกดวงจันทร์ จนถึงทุกวันนี้คำถามดังกล่าวก็ยังไม่มีคำตอบว่าชั้นนอกและชั้นในของดวงจันทร์ผสมกันอย่างไรหลังจากที่ดวงจันทร์ ก่อตัว

ล่าสุด มีการวิจัยใหม่จากทีมนักวิทยาศาสตร์นานาชาตินำโดยพิพิธภัณฑ์รอยัล ออนทาริโอ ในแคนาดา เผยว่าการก่อตัวของหินโบราณบนดวงจันทร์อาจเชื่อมโยงโดยตรงกับการตกกระทบของอุกกาบาตยักษ์เมื่อกว่า 4,000 ล้านปีก่อน การปะทะขนาดมหึมานี้น่าจะเป็นแรงผลักดันให้มีการผสมชั้นนอกและชั้นในของดวงจันทร์ ทำให้เกิดความผันแปรของหินที่ซับซ้อนซึ่งมองเห็นบนพื้นผิวดวงจันทร์ หลักฐานทางแร่วิทยาก็คือหินก่อตัวขึ้นที่อุณหภูมิสูงเกิน 2,300 องศาเซลเซียส ที่เกิดจากการละลายของชั้นนอกดาวเคราะห์ ในเหตุการณ์การพุ่งกระทบขนาดใหญ่เท่านั้น

นักวิจัยค้นพบการปรากฏครั้งแรกของคิวบิกเซอร์โคเนีย หรือเพชรสังเคราะห์ ขั้นตอนนี้จะเกิดขึ้นในหินที่ร้อนถึง 2,300 องศาเซลเซียสเท่านั้น ขณะที่มองดูโครงสร้างของผลึกนักวิจัยก็วัดอายุของเม็ดแร่ เผยให้เห็นแร่แบดเดเลย์ไอต์ (Baddeleyite) ระบุได้ว่าก่อตัวขึ้นเมื่อ 4,300 ล้านปีก่อน ทำให้สรุปได้ว่าช่วงอุณหภูมิสูงของคิวบิกเซอร์โคเนียต้องก่อตัวขึ้นก่อนหน้านั้น.
ทันโลก ไทยรัฐออนไลน์



พบหลุมดำห่างจากโลกเพียง 1,000 ปีแสง
 
นับจนถึงปัจจุบัน นักดาราศาสตร์พบว่าหลุมดำเพียงไม่กี่สิบแห่งในกาแล็กซีทางช้างเผือกของเรานั้น เกือบทั้งหมดมีปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมของพวกมันอย่างมาก แต่นักวิทยาศาสตร์ประเมินว่าตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมาของกาแล็กซีทางช้างเผือก มีดาวฤกษ์อีกหลายดวงจะยุบตัวเข้าไปในหลุมดำเมื่อดวงดาว ตายไป

ล่าสุด โดยทีมนักดาราศาสตร์จากหอดูดาวท้องฟ้าซีกใต้แห่งยุโรป และสถาบันอื่นๆ รายงานการค้นพบหลุมดำที่ซ่อนอยู่ในระบบดาวคู่ HR  6819 จากการใช้กล้องโทรทรรศน์ MPG/ESO  ขนาด 2.2 เมตรของหอดูดาวลา ซิลลา ในชิลี หลุมดำดังกล่าวถูกเรียกว่า “หลุมดำเงียบ” มีมวลอย่างน้อย 4.2 เท่าของมวลดวงอาทิตย์ อยู่ห่างจากโลกเพียง 1,000 ปีแสง นักวิทยาศาสตร์จากสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งสาธารณรัฐเช็กในกรุงปราก เผยว่า ระบบดาวคู่ HR  6819 ตั้งอยู่ในกลุ่มดาวกล้องโทรทรรศน์ (Telescopium) ระบบดาวแห่งนี้อยู่ใกล้โลกมากจนมองเห็นดาวฤกษ์จากซีกโลกใต้ในคืนที่มืดมิดและปลอดโปร่ง โดยไม่ต้องใช้กล้องส่องทางไกลหรือกล้องโทรทรรศน์

และจากการสำรวจด้วยเครื่องมือ FEROS spectrograph  บนกล้องโทรทรรศน์ MPG/ESO  แสดงให้เห็นว่า 1 ใน 2 ของระบบดาวคู่ HR  6819 ที่มองเห็นได้นั้นโคจรรอบหลุมดำเงียบทุกๆ 40 วัน ในขณะที่ดาวดวงที่ 2 โคจรอยู่ห่างออกไป.
ทันโลก ไทยรัฐออนไลน์



Credit : ESA/Hubble & NASA, L. Ho
กล้องฮับเบิลจับภาพดาราจักรทรงกังหัน

อย่างที่รู้กันว่าดาราจักรหรือกาแล็กซีที่มีอยู่ในจักรวาลนั้น มีรูปทรงแตกต่างกันหลายประเภท ทั้งกาแล็กซีปกติ และกาแล็กซีไม่มีรูปแบบหรือไม่มีรูปทรงสัณฐานชัด ในทางดาราศาสตร์มีการแบ่งกาแล็กซีเป็นหลายประเภท อย่าง กาแล็กซีทรงรี กาแล็กซีทรงกังหัน กาแล็กซีทรงกังหันแบบมีคาน กาแล็กซีลูกสะบ้า ส่วนกาแล็กซีที่ไม่มีรูปทรงชัดเจนก็เช่น เมฆแมกเจลแลนใหญ่ เมฆแมกเจลแลนเล็ก ที่เป็นบริวารของกาแล็กซีทางช้างเผือกเราแต่กาแล็กซีที่พบบ่อยที่สุดก็คือกาแล็กซี-กังหัน และกาแล็กซีทรงกังหันแบบมีคาน ล่าสุด กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล ที่เป็นความร่วมมือขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา หรือองค์การนาซา และองค์การอวกาศยุโรป หรืออีเอสเอ ได้จับภาพกาแล็กซีทรงกังหันที่รู้จักในชื่อ NGC 4100 เผยให้เห็นโครงสร้างเกลียวที่ยืดออก ดูประณีตสวยงาม โดยแขนกังหันหมุนนั้นเต็มไปด้วยจุดสีฟ้าสว่างสุกใสของดาวฤกษ์ที่เพิ่งก่อตัวขึ้นใหม่

ทั้งนี้ กาแล็กซี NGC 4100 ตั้งอยู่ในกลุ่มดาวหมีใหญ่ (Ursa Major) หรือคนไทยเรียกว่ากลุ่มดาวจระเข้ ถูกค้นพบเมื่อ 9 มี.ค.ปี พ.ศ.2331 โดยวิลเลียม เฮอร์เชล นักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษเชื้อสายเยอรมัน ที่ได้รับการยกย่องเป็นบิดาของวิทยาศาสตร์อินฟราเรด.
ทันโลก ไทยรัฐออนไลน์



Credit : CC0 Public Domain
เส้นเวลาใหม่สนามแม่เหล็กโบราณดาวอังคาร

สนามแม่เหล็กโลกของดาวเคราะห์เกิดขึ้นจากสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์เรียกว่าไดนาโม (dynamo) คือการไหลของโลหะที่หลอมละลายภายในแกนกลางของดาวเคราะห์และผลิตกระแสไฟฟ้า บนโลกไดนาโมคือสิ่งที่ทำให้เข็มทิศชี้ไปทางทิศเหนือ แต่ไดนาโมของดาวอังคารสูญหายไปหลายพันล้านปีแล้ว

การจับเวลาไดนาโมนับเป็นส่วนสำคัญของวิวัฒนาการของดาวเคราะห์ เพราะไดนาโมบอกถึงบางสิ่งเกี่ยวกับประวัติความร้อนของดาวเคราะห์และวิวัฒนาการของดาว เมื่อเร็วๆ นี้ทีมวิจัยนานาชาติ นำโดยมหาวิทยาลัยบริติชโคลัมเบียในแคนาดา พบว่าไดนาโมของดาวอังคารทำงานในช่วง 4,500-3,700 ล้านปีก่อน จากเบาะแสคือหินที่มีแม่เหล็กดึงดูด เนื่องจากหินที่อยู่ใต้พื้นผิวดาวก็เปรียบเสมือนเครื่องบันทึกข้อมูล โดยเฉพาะอย่างยิ่งหินภูเขาไฟ ที่เริ่มจากลาวาเมื่อเย็นตัวลงและแข็งตัวในที่ที่มีสนามแม่เหล็ก แร่ธาตุภายในหินก็เรียงตัวเข้ากับสนามแม่เหล็กดาวเคราะห์ นักวิทยาศาสตร์ก็สามารถประเมินได้ว่าไดนาโมทำงานในเวลาที่หินถูกจัดวาง

แม่เหล็กในหินบางก้อนบนพื้นผิวดาวอังคาร ระบุว่าไดนาโมบนดาวทำงานอยู่ระหว่าง 4,300-4,200 ล้านปีก่อน แต่การขาดสนามแม่เหล็กในแอ่งใหญ่ 3 แห่งที่ก่อตัวขึ้นเมื่อ 3,900 ล้านปีที่แล้ว ทำให้นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อว่าไดนาโมไม่ได้ทำงานภายในช่วงเวลานั้น จากการวิเคราะห์ข้อมูลดาวเทียมใหม่ก็พบว่าสนามแม่เหล็กที่มาจากการไหลของลาวาในพื้นที่ชื่อลูคัส พลานัม (Lucus Planum) ที่ก่อตัวน้อยกว่า 3,700 ล้านปีก่อน ซึ่งช้ากว่าอายุของแอ่งดังกล่าว นอกจากนี้ ยังตรวจพบสนามแม่เหล็กความเข้มต่ำเหนือแอ่งโบเรียลิส ในซีกเหนือที่ก่อตัวเมื่อ 4,500 ล้านปีก่อน ซึ่งเชื่อว่าเป็นหนึ่งในองค์ประกอบที่เก่าแก่ที่สุดบนดาวอังคาร
ทันโลก ไทยรัฐออนไลน์
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09 กรกฎาคม 2563 19:19:57 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5767


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #19 เมื่อ: 17 กรกฎาคม 2563 12:40:30 »

การอยู่รอดของดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้หลุมดำ

เป็นที่รู้กันมานานว่าหลุมดำจะกลืนกินวัตถุที่อยู่ใกล้ๆ นักดาราศาสตร์พบว่ามีดาวฤกษ์หลายดวงเผชิญหน้ากับหลุมดำมวลยวดยิ่งจนเกิดปรากฏการณ์ Tidal disruption events  หลุมดำจะฉีกทึ้งดาวฤกษ์ให้แตกออกเป็นเสี่ยงๆ โดยเศษซากที่แตกจะถูกดึงเข้าหาหลุมดำต่อไป ทว่าก็มีดาวฤกษ์จำนวนน้อยมากที่อยู่รอดได้

เมื่อเร็วๆนี้ นักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเลสเตอร์ ในอังกฤษ เผยว่า อาจค้นพบการอยู่รอดของดาวฤกษ์ที่ไม่ถูกหลุมดำเขมือบ จากการศึกษาข้อมูลของกล้องโทรทรรศน์อวกาศจันทรา หรือกล้องรังสีเอกซ์จันทรา ขององค์การนาซา และกล้องสำรวจอวกาศ XMM-Newton  ขององค์การอวกาศยุโรป สังเกตดาวยักษ์แดงที่อยู่ใกล้ หลุมดำมวลยวดยิ่งชื่อ GSN 069 มีมวลประมาณ 400,000 เท่าของดวงอาทิตย์ ตั้งอยู่บริเวณใจกลางกาแล็กซีทางช้างเผือกของเรา และอยู่ห่างจากโลกราว 250 ล้านปีแสง

นักดาราศาสตร์อธิบายว่า เมื่อดาวยักษ์แดงถูกจับด้วยแรงโน้มถ่วงของหลุมดำ ชั้นนอกของดาวฤกษ์ที่อุดมด้วยไฮโดรเจนจะถูกกำจัดออก และถูกดึงไปที่หลุมดำ โดยเหลือทิ้งไว้แต่แกนกลางของดาวที่เรียกว่าดาวแคระขาว เมื่อดาวแคระขาวโคจรรอบหลุมดำราวๆ 3 ครั้ง หลุมดำจะดึงวัตถุให้มาใกล้ที่สุด เศษซากดาวฤกษ์จะเคลื่อนเข้าสู่จานรอบหลุมดำและปล่อยรังสีเอกซ์ที่กล้องโทรทรรศน์อวกาศจันทราและ XMM-Newton ตรวจจับได้ และอาจช่วยให้ทำนายคลื่นความโน้มถ่วงที่ถูกปล่อยออกมาจากหลุมดำและคู่แคระขาว
ทันโลก ไทยรัฐออนไลน์



ดาวเคราะห์ที่หายไปอาจไม่เคยมีอยู่จริง

ดาวฤกษ์โฟมัลฮอต (Fomalhaut) เป็นดาวฤกษ์สว่างที่สุดในกลุ่มดาวปลาใต้ ดาวฤกษ์ดังกล่าวอยู่ห่างจากเราออกไป 25 ปีแสง แต่เมื่อเร็วๆนี้ ทีมนักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยอริโซนาในสหรัฐอเมริกา รายงานว่า ดาวเคราะห์ นอกระบบชื่อโฟมัลฮอต บี (Fomalhaut b) ที่โคจรรอบดาวฤกษ์โฟมัลฮอต อาจจะไม่เคยมีอยู่จริง เพราะสิ่งที่นักดาราศาสตร์เห็นน่าจะเป็นฝุ่นก้อนใหญ่จาก 2 วัตถุน้ำแข็งที่มีการชนกัน

สิ่งที่นักวิทยาศาสตร์เคยเชื่อว่าเป็นดาว เคราะห์นอกระบบสุริยะของเราอย่างโฟมัลฮอต บี ในขณะนี้ดูเหมือนจะหายไปจากการมองเห็นแล้ว นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2551 ที่นักดาราศาสตร์จากองค์การนาซาได้รายงานการค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบ Fomalhaut b จากภาพรวมแสงที่มองเห็นดาวเคราะห์ที่โคจรรอบดาวฤกษ์อื่น การศึกษาใหม่ได้วิเคราะห์ข้อมูลถาวรที่กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลเก็บไว้เกี่ยวกับระบบดาวโฟมัลฮอต ข้อมูลเหล่านั้นเผยลักษณะหลายอย่างที่ทำให้รู้ว่าวัตถุขนาดเท่าดาวเคราะห์ หรือโฟมัลฮอต บี นั้นอาจไม่เคยปรากฏมาตั้งแต่แรก

ส่วนการชนของ 2 วัตถุน้ำแข็งดังกล่าวนับว่าเป็นปรากฏการณ์ที่หายากมาก นักวิทยาศาสตร์มองว่าระบบดาวโฟมัลฮอตเปรียบเสมือนห้องปฏิบัติการทดสอบขั้นสุดยอดสำหรับแนวคิดทั้งหมด ที่เกี่ยวกับวิธีการที่ดาวเคราะห์นอกระบบและระบบดาววิวัฒนาการขึ้นมา.
ทันโลก ไทยรัฐออนไลน์



ดาวหางโบรีซอฟไม่ใช่ดาวหางธรรมดา

ดาวหางโบรีซอฟ (2I / Borisov) คือวัตถุระหว่างดวงดาว ที่นักดาราศาสตร์สมัครเล่นชื่อเกนนาดี โบรีซอฟ ตรวจพบในเดือน ส.ค.2562 นักวิทยาศาสตร์เริ่มสรุปเมื่อปีที่แล้วว่าดาวหางโบรีซอฟคล้ายกับดาวหางในระบบสุริยะของเรา แต่ล่าสุด ข้อมูลจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลและหอดูดาวในชิลีเปิดเผยว่า มันมีความแตกต่างในองค์ประกอบของดาวหาง

ก๊าซที่ปล่อยออกมาจากดาวหางโบรีซอฟ มีคาร์บอนมอนอกไซด์ในปริมาณสูงมากกว่าดาวหางที่เกิดขึ้นในระบบสุริยะ บ่งบอกว่าวัตถุนี้มีคาร์บอนมอนอกไซด์เข้มข้นในสถานะของแข็งอยู่จำนวนมาก จริงอยู่ที่คาร์บอนมอนอกไซด์เป็นพิษต่อมนุษย์ แต่เป็นสิ่งธรรมดาในอวกาศ โดยจะก่อตัวเป็นน้ำแข็งในที่ที่หนาวจัดเท่านั้น นักวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์แห่งมหาวิทยาลัยออเบิร์น ในสหรัฐอเมริกา เผยว่า ดาวหางเป็นชิ้นส่วนที่เหลือจากการก่อตัวของดาวเคราะห์ และนี่เป็นครั้งแรกที่สามารถตรวจสอบองค์ประกอบทางเคมีของวัตถุจากระบบดาวเคราะห์อื่นในขณะที่มันโคจรผ่านระบบสุริยะ

นักวิทยาศาสตร์อธิบายว่า ดาวหางโบรีซอฟเกิดมานานแล้วในจานฝุ่นก๊าซและฝุ่นที่หมุนรอบดาวฤกษ์ที่เพิ่งก่อตัวในพื้นที่ที่ต้องมีคาร์บอนมอนอกไซด์อยู่มากมาย ดาวฤกษ์ดวงนั้นอาจเป็นดาวแคระชนิด M มีขนาดเล็กกว่าและเย็นกว่าดวงอาทิตย์ของเรา นอกจากนี้ ยังพบความหลากหลายของไฮโดรเจนไซยาไนด์ในระดับที่ใกล้เคียงกับดาวหางในระบบสุริยะ สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าดาวหางโบรีซอฟ ไม่ใช่วัตถุต่างด้าวอย่างสิ้นเชิงและยืนยันว่ามันคล้ายคลึงกันกับดาวหางปกติในระบบสุริยะของเรา.
ทันโลก ไทยรัฐออนไลน์



Credit : ESO / L.Calcada
ดวงดาวแกว่งไปมาตามทฤษฎีของไอน์สไตน์

ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ถูกตีพิมพ์ในปี พ.ศ.2458 กลายเป็นรากฐานของการศึกษาฟิสิกส์สมัยใหม่ และช่วย ให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจพลังของแรงโน้มถ่วงมาเนิ่นนาน เมื่อเร็วๆนี้กลุ่มนักดาราศาสตร์จากหอดูดาวท้องฟ้าซีกใต้แห่งยุโรป ที่ดำเนินงาน ในชิลีประกาศการพิสูจน์ทฤษฎีนี้ โดยใช้กับ ดาวฤกษ์ที่ห่างจากดวงอาทิตย์ 26,000 ปีแสง

จากการใช้กล้องโทรทรรศน์ เวรี ลาร์จ เทเลสโคป หรือวีแอลที (Very Large Telescope, VLT) เป็นกล้องโทรทรรศน์ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ตรวจวัดมานานเกือบ 30 ปี โดยเฝ้าสังเกตติดตามดาวฤกษ์ เอส ทู (S 2) ที่มีวงโคจรรูปทรง กุหลาบที่รอบๆหลุมดำมวลยวดยิ่ง (supermassive black hole) ในกาแล็กซีช้างเผือก นักวิทยาศาสตร์พบว่าดาวฤกษ์ดวงนี้มีการแกว่งไปมาเหมือนกำลังเต้นรำอยู่รอบๆหลุมดำ ซึ่งอาจ เป็นสิ่งเดียวกับที่ไอน์สไตน์ทำนายไว้นานกว่าหนึ่งศตวรรษ

นอกจากนี้ การค้นพบดังกล่าวยังให้หลักฐานเพิ่มเติมเกี่ยวกับการมีอยู่ของหลุมดำมวลยวดยิ่งที่เรียกว่า Sagittarius A* ซึ่งเชื่อกันว่ามีมวลมากกว่าของดวงอาทิตย์ของเราถึง 4,000,000 เท่า.
ทันโลก ไทยรัฐออนไลน์



Credit : NASA/JPL
การรับน้ำของดาวเคราะห์ในแทรพพิสต์-วัน

เมื่อปี พ.ศ.2560 ทีมนักดาราศาสตร์นานาชาติประกาศข่าวสำคัญ นั่นคือการค้นพบระบบดาวแทรพพิสต์-วัน (TRAPPIST-1) ซึ่งประกอบด้วยดาวฤกษ์ที่เป็นดาวแคระแดงชนิด M และมีดาวเคราะห์หินไม่น้อยกว่า 7 ดวงโคจรรอบดาวฤกษ์ของตน ตั้งอยู่ห่างจากโลก 40 ปีแสง แต่ที่น่าตื่นเต้นคือมีดาวเคราะห์ 3 ดวงอยู่ในเขตที่เอื้อต่อการอาศัยอยู่ของสิ่งมีชีวิต และระบบดาวแห่งนี้มีเวลา 8,000 ล้านปีในการพัฒนาด้านเคมีสำหรับสิ่งมีชีวิต


Credit : NASA/JPL

ดาวเคราะห์เหล่านี้โคจรรอบดาวแคระแดงอย่างหนาแน่น ทำให้เกิดความสงสัยว่าดาวเคราะห์ทั้ง 3 ดวงนั้นสามารถรักษาบรรยากาศหรือน้ำในสถานะของเหลวได้นานมากอย่างไร ซึ่งการวิจัยใหม่ของทีมนักดาราศาสตร์นานาชาติเผยว่า หากระบบดาวแทรพพิสต์-วัน มีแถบไคเปอร์ (Kuiper Belt) ที่เป็นแถบจานอุดมด้วยกลุ่มวัตถุน้ำแข็งวางตัวอยู่ในระนาบใกล้เคียงกับระนาบวงโคจรของดาวเคราะห์ โดยอยู่เลยวงโคจรของดาวเนปจูนออกไป ทั้งยังเป็นที่อยู่ของดาวเคราะห์แคระหลายดวง ก็มีเหตุผลที่ระบบดาวแทรพพิสต์-วันจะมีกระบวนการที่คล้ายกัน

นักดาราศาสตร์อธิบายว่า การก่อกวนแรงโน้มถ่วงจะทำให้วัตถุถูกเตะออกจากแถบดังกล่าว และเดินทางไปยังดาวเคราะห์ทั้ง 7 ดวง โดยดาวเคราะห์ได้กักเก็บน้ำไว้บนพื้นผิว เมื่อรวมกับสภาพบรรยากาศที่เหมาะสมดาวเคราะห์ทั้ง 3 ดวงในเขตที่เอื้อต่อการอาศัยอยู่ได้ของระบบดาวแทรพพิสต์- วัน ก็อาจมีปริมาณน้ำเพียงพอบนพื้นผิวของดาวนั่นเอง.
  ทันโลก ไทยรัฐออนไลน์



ภาพ :  Credit : Lawrence Sromovsky, University of Wisconsin-Madison/W.W. Keck Observatory/NASA
ต้นกำเนิดความประหลาดของดาวยูเรนัส

ลักษณะที่ผิดปกติของดาวยูเรนัสหรือดาวยักษ์น้ำแข็ง ทำให้นักวิทยาศาสตร์สงสัยมานาน เพราะดาวเคราะห์ทุกดวงในระบบสุริยะจะหมุนรอบดวงอาทิตย์ในทิศทางเดียวกันและในระนาบเดียวกัน นักดาราศาสตร์เชื่อว่าระบบสุริยะของเราก่อตัวขึ้นจากจานหมุนวนของก๊าซและฝุ่น ดาวเคราะห์ส่วนใหญ่จึงหมุนไปในทิศทางเดียวกัน โดยขั้วของดาวแต่ละดวงตั้งฉากกับระนาบที่ดาว เคราะห์หมุนรอบ เว้นก็แต่ดาวยูเรนัสที่มีความเอียงราว 98 องศา

ดาวยูเรนัสมีระบบวงแหวนเหมือนดาวเสาร์และมีดวงจันทร์บริวาร 27 ดวงโคจรรอบ ล่าสุดทีมวิจัยจากสถาบันวิทยาศาสตร์ชีววิทยาศาสตร์โลก (Earth-Life Science Institute-ELSI) ของสถาบันเทคโนโลยีแห่งโตเกียว ในญี่ปุ่น ได้อธิบายถึงต้นกำเนิดความผิดปกติของดาวยูเรนัส จากการสร้างแบบจำลองทางคอมพิวเตอร์ใหม่ เกี่ยวกับการก่อตัวของดวงจันทร์รอบดาวเคราะห์น้ำแข็ง ที่เชื่อว่าจะช่วยอธิบายวิธีการก่อตัวของดาวยูเรนัส ซึ่งดาวเคราะห์ชั้นนอกสุดนั้นมักมีองค์ประกอบที่ระเหยได้ง่าย เช่น น้ำ แอมโมเนีย เมื่ออยู่ไกลจากดวงอาทิตย์สิ่งเหล่านี้จะถูกแช่เป็นน้ำแข็ง



Credit : ELSI

ในกรณีของดาวยูเรนัสนั้น การวิจัยชี้ให้เห็นว่าในช่วงยุคต้นๆ ระบบสุริยะของเรา ดาวยูเรนัสมีการปะทะชนกับดาวเคราะห์น้ำแข็งขนาด 1-3 เท่าของมวลโลก จนสามารถเอียงดาวยูเรนัสและทำให้หมุนรอบตัวเร็วขึ้น โดย 1 วันของดาวยูเรนัสจะมีประมาณ 17 ชั่วโมงซึ่งเร็วกว่าโลก ส่วนวัสดุที่เหลือจากการชนก็กลายเป็นก๊าซไป.   ทันโลก ไทยรัฐออนไลน์



Credit : ESA/Hubble & NASA, P. Erwin et al.
กล้องฮับเบิลส่องไปที่กาแล็กซีที่ดูนุ่มฟู

หนึ่งในเรื่องที่นักดาราศาสตร์ให้ความสนใจศึกษาตลอดมา คือการค้นหาว่าดาราจักรหรือกาแล็กซีทรงกังหันหรือชนิดก้นหอยนั้นมีวิวัฒนาการอย่างไร และหลุมดำมวลยวดยิ่งที่มักแฝงตัวอยู่ในใจกลางของกาแล็กซีที่มีแขนเกลียวมีการเติบโตอย่างไร

อาศัยพลังของกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล ที่เป็นการร่วมมือขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกาหรือองค์การนาซา และองค์การอวกาศยุโรป หรืออีเอสเอ ช่วยในการสำรวจหลายครั้งหลายครา ล่าสุด กล้องฮับเบิลได้ส่องดูที่กาแล็กซี NGC 4237 อยู่ห่างจากโลกประมาณ 60 ล้านปีแสง ตั้งอยู่ในกลุ่มดาวผมเบเรนิซ (Coma Berenices) ซึ่ง NGC 4237 จัดเป็นกาแล็กซีกังหันแบบก้นหอย โดยแขนกังหันไม่ได้แยกออกจากกันอย่างชัดเจนเช่นเดียวกับในกาแล็กซีกังหันใหญ่ๆ แต่ลักษณะของ NGC 4237 กลับเป็นหย่อมๆ ไม่ต่อเนื่อง แลดูเป็นปุยนุ่มฟู

นักดาราศาสตร์เผยว่า NGC 4237 มีความน่าสนใจสำหรับการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับส่วนนูน (bulges) ที่จะช่วยสำรวจว่ากาแล็กซีกังหันมีวิวัฒนาการอย่างไร และไขความกระจ่างการเติบโตของหลุมดำมวลยวดยิ่ง ซึ่งมีข้อบ่งชี้ว่ามวลของหลุมดำที่ใจกลางกาแล็กซีสัมพันธ์กับมวลของส่วนนูนนั่นเอง
ทันโลก ไทยรัฐออนไลน์



Credit : ESA/DLR/FU Berlin, CC BY-SA 3.0 IGO

เนินทรายอันมืดมิดของดาวเคราะห์สีแดง
 
เนินทรายกว้างใหญ่เป็นระลอกคลื่นบนพื้นผิวลาดเอียงน้อยๆ ในดินแดนที่เรียกว่า Terra Sabaea ไม่ได้อยู่บนโลกของเรา แต่อยู่บนดาวอังคาร ถือเป็นดินแดนที่มีองค์ประกอบทางธรณี วิทยาน่าสนใจอย่างมากมาย รวมถึงหลุมอุกกาบาต Moreux ตั้งอยู่ที่ขอบด้านเหนือของ Terra Sabaea

เมื่อเร็วๆนี้ ทีมนักวิทยาศาสตร์จากโครงการยานสำรวจมาร์ส เอ็กซ์เพรสส์ (Mars Express) ขององค์การอวกาศยุโรปหรืออีเอสเอ เผยแพร่ภาพถ่ายหลุมดังกล่าว ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับหลุมอุกกาบาตอื่นๆ ทั้งบนดาวอังคารและโลก พบว่าหลุมอุกกาบาต Moreux ดูเหมือนจะไม่ปกติและวุ่นวายเล็กน้อย เป็นผลมาจากการกัดเซาะอย่างต่อเนื่องในอดีตของดาวอังคาร อีกทั้งยากที่จะเข้าใจขนาดของมันเมื่อมองดูจุดสูงสุดของหลุมอุกกาบาตจากวงโคจร

จุดสูงสุดของหลุมอุกกาบาตของ Moreux นั้นใหญ่พอสมควร โดยสูงประมาณ 2 กิโลเมตร ตัวปล่องนั้นมีความลึกประมาณ 3 กิโลเมตร มีระยะทาง 135 กิโลเมตรจากขอบจดขอบ ช่วงของสีที่แสดงในภาพถ่ายโดยกล้องสเตอริโอความละเอียดสูงบนยานมาร์ส เอ็กซ์เพรสส์ เผยให้เห็นถึงองค์ประกอบของพื้นที่ รวมถึงวัตถุที่มีคุณสมบัติเฉพาะตัว ที่น่าสนใจคือลมที่ตัดขวางได้สร้างสัณฐานวิทยาของเนินทรายที่น่าสนใจและไม่เหมือนใครภายในหลุมอุกกาบาต
Moreux ทันโลก ไทยรัฐออนไลน์



Credit : NASA/JPL-Caltech/Space Science Institute/A. Bader (Lancaster University)
ภาพดาวเสาร์ชุดสุดท้ายจากยานแคสสินี

ยานอวกาศแคสสินีที่เดินทางจากโลกไปอยู่ในวงโคจรรอบดาวเสาร์นานกว่า 13 ปีจนกระทั่งสิ้นสุดภารกิจในเดือน ก.ย.2560 แม้ว่ายานลำนี้จะกลายเป็นตำนานไปแล้ว แต่ข้อมูลที่ให้ไว้นั้นมีค่าอย่างมหาศาล อีกทั้งยังเต็มไปด้วยความประหลาดใจ บางข้อมูลอาจช่วยให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจการทำงานของแสงออโรร่า (auroras) หรือแสงเหนือและแสงใต้ของดาว เมื่อนำไปรวมกับข้อมูลของยานอวกาศจูโนที่สังเกตการณ์แม็กนีโตสเฟียร์ (magnetosphere) ย่านแม่เหล็กกำลังสูงที่ครอบดาวพฤหัสบดี

เนื่องจากการเดินทางรอบสุดท้ายของยานแคสสินีที่เข้าใกล้กับดาวเสาร์ ข้อมูลสุดท้ายก่อนที่ยานจะร่วงลงสู่พื้นผิวดาว นักวิทยาศาสตร์ก็ได้รับภาพของแสงออโรร่าที่แผ่รังสีอัลตราไวโอเลตได้ ซึ่งแสงออโรร่าของดาวเสาร์เกิดจากปฏิกิริยาของลมสุริยะที่เป็นพลังอนุภาคถูกปล่อยออกมาจากดวงอาทิตย์ผนึกด้วยสนามแม่เหล็กหมุนวนอย่างรวดเร็วของดาวเสาร์ นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแลงคาสเตอร์ ในอังกฤษ เผยว่า ข้อสงสัยเกี่ยวกับแสงออโรร่าของดาวเสาร์มีมากมายที่ยังไม่ได้รับการเฉลย แต่ภาพระยะใกล้ชิดชุดสุดท้ายนี้ทำให้ได้มุมมองรายละเอียดสูงอย่างไม่เคยมีมาก่อนเกี่ยวกับโครงสร้างขนาดเล็กที่ไม่สามารถแยกแยะได้จากการสำรวจก่อนหน้าของยานแคสสินีเองหรือแม้แต่กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล

ภาพชุดสุดท้ายนี้ได้ให้แนวคิดบางอย่างถึงต้นกำเนิดแสงออโรร่าบนดาวเสาร์ เมื่อตรวจวัดอนุภาคที่บันทึกในช่วงเวลานั้นชี้ว่าแสงออโรร่าบนดาวเสาร์คล้ายกับดาวพฤหัสบดี ถูกสร้างขึ้นโดยอนุภาคที่ทรงพลังมากกว่าบนโลก.
ทันโลก ไทยรัฐออนไลน์



ไขความกระจ่างของดวงจันทร์บริวารดาวเสาร์

ไททัน (Titan) เป็นดวงจันทร์ที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ในระบบสุริยะ บริวารของดาวเสาร์ดวงนี้เต็มไปด้วยความลึกลับ เนื่องจากมีเมฆหมอกเป็นก๊าซมีเทนที่หนาทึบปกคลุมพื้นผิวทำให้ป้องกันการมองเห็นในเชิงลึกเกี่ยวกับลักษณะทางธรณีวิทยาที่สำคัญ แต่นักวิทยาศาสตร์ก็หาวิธีมองผ่านเมฆหมอกเหล่านั้นได้ ด้วยการสำรวจของยานอวกาศแคสสินีที่โคจรรอบดาวเสาร์ระหว่างปี พ.ศ.2547-2560 และเคลื่อนผ่านดวงจันทร์ไททันมามากกว่า 120 ครั้ง



เพื่อพิสูจน์ว่าพื้นผิวของดวงจันทร์ไททันประกอบด้วยทะเลสาบมีเทนขนาดใหญ่ การผ่านซ้ำๆ หลายครั้ง เครื่องมือเรดาร์ของยานแคสสินีจึงมีเวลาตรวจสอบคุณลักษณะของไททัน และทำให้เกิดแผนที่ทางธรณีวิทยาครั้งแรกของดวงจันทร์ที่แปลกและเย็นเยือก นักวิทยาศาสตร์จากสถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย หรือแคลเทค (California Institute of Technology-Caltech) เผยเมื่อเร็วๆนี้ ลักษณะภายนอกของไททันคือหนึ่งในความหลากหลายทางธรณี- วิทยาที่มากที่สุดในระบบสุริยะของเรา คุณสมบัติหลัก 6 ประการในทางธรณีวิทยาที่ถูกกระบุคือ มีที่ราบ, เนินทราย, ภูเขาขนาดเล็ก, ทะเลสาบ, ผืนดินมีความสลับซับซ้อน และหลุมอุกกาบาต ซึ่งพื้นผิวของไททันนั้นเต็มไปด้วยที่ราบตรงเขตละติจูดกลาง คิดเป็นประมาณ 65% ของแผนที่ทั้งหมด เนินทรายขยายความยาวตามเส้นศูนย์สูตร ขณะที่ขั้วดาวเป็นที่ตั้งของทะเลสาบมีเทนแปลกๆ

นักวิทยาศาสตร์สังเกตพบว่าทะเลสาบ ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ที่ขั้วโลกเหนือ แต่ที่ขั้วโลกใต้นั้นค่อนข้างแห้ง นี่อาจเป็นผลมาจากวัฏจักรสภาพอากาศและคุณสมบัติที่แตกต่างกันของไททันชี้ให้เห็นว่ามีกระบวนการหลายอย่างที่ก่อเกิดบนพื้นผิวของดวงจันทร์ดวงนี้ ซึ่งควบคุมโดยสภาพอากาศ ฤดูกาล และเนินเขา
ทันโลก ไทยรัฐออนไลน์



ปรากฏการณ์หายากดาวพุธผ่านดวงอาทิตย์

ปรากฏการณ์ดาวพุธดาวเคราะห์ที่เล็กที่สุด ในระบบสุริยะของเรา เดินทางผ่านหน้าดวงอาทิตย์ถือเป็นปรากฏการณ์ที่หาดูยาก เพราะจะเกิดขึ้นกับดาวเคราะห์ที่อยู่ชั้นในและสามารถมองเห็นจากโลก ครั้งสุดท้ายที่เกิดเหตุการณ์นี้ก็คือในปี พ.ศ.2559 ส่วนปีนี้ได้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 11 พ.ย.ที่ผ่านมา เหตุการณ์ทั้งหมดมองเห็นได้จากทางตะวันออกของสหรัฐอเมริกาและแคนาดา ปลายตะวันตกเฉียงใต้ของกรีนแลนด์ และพื้นที่ส่วนใหญ่ของแคริบเบียน อย่าง อเมริกากลาง อเมริกาใต้ แอฟริกาตะวันตกบางส่วน ยุโรปรวมถึงสหราชอาณาจักร

แต่ตะวันออกกลางและทวีปแอฟริกาส่วนใหญ่ ดวงอาทิตย์จะตกก่อนที่การเดินทางของดาวพุธจะสิ้นสุดลง ดังนั้นจึงไม่อาจมองเห็นช่วงท้ายของปรากฏการณ์ได้ ส่วนในเอเชียตะวันออก เอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และออสเตรเลียจะไม่สามารถมองเห็นการเดินทางของเพื่อนบ้านดวงเล็กได้เช่นกัน ทั้งนี้ นักดาราศาสตร์อาชีพและมือสมัครเล่นต่างจับจ้องปรากฏการณ์ครั้งนี้ โดยใช้กล้องส่องทางไกลและกล้องโทรทรรศน์ที่ผ่านการกรองแสงเพื่อส่องดาวพุธ ซึ่งมองเห็นดาวดังกล่าวเป็นจุดสีดำขนาดเล็กเคลื่อนผ่านระหว่างโลกและดวงอาทิตย์แบบแนวตรง




ดาวพุธโคจรรอบดวงอาทิตย์ทุกๆ 88 วัน โดยจะผ่านระหว่างโลก และดวงอาทิตย์ทุก 116 วัน ปรากฏการณ์หาดูยากแบบนี้จะเกิดขึ้นอีกครั้งในปี พ.ศ.2575 หรือใน 13 ปีข้างหน้า และจะปรากฏครั้งต่อไปในปี พ.ศ.2592. ทันโลก ไทยรัฐออนไลน์
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 1.074 วินาที กับ 34 คำสั่ง

Google visited last this page 16 พฤศจิกายน 2567 09:14:38