(๖) สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง
วาทาภิโรปิตะมะนังอะติอันธะภูตัง
ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
ปราบเจ้าลัทธิ ด้วยปัญญาพระพุทธเจ้าประทับอยู่ในมหาวันใกล้เมืองเวสาลี ครั้งนั้น
มีสัจกนิครนถ์บุตร อาศัยในเมืองเวสาลี ถือมิจฉาทิฐิตั้งตนเป็นปราชญ์ มีความรู้มาก
ต้องทำแผ่นเหล็กรัดท้อง เพราะกลัววิชาจะทำลายท้องแตกวันหนึ่งพบพระอัสชิ
จึงถามปัญหาแก่ท่าน ต่อมาได้ชวนพญาลิจฉวีทั้ง ๕๐๐ ไปป่ามหาวันถามปัญหาแก่พระพุทธเจ้า
ขณะนั้นพระอินทร์นิมิตเป็นยักษ์ถือฆ้อน ลอยอยู่บนอากาศเหนือศีรษะของสัจกนิครนถ์
สัจกนิครนถ์นั้นได้ฟังพระธรรมเทศนา จากพระพุทธเจ้าก็ละมิจฉาทิฐิ แล้วตั้งตนอยู่ใน
พระไตรสรณคมณ์
โบราณจารย์ ได้บอกอุปเท่ห์การใช้พระคาถาพาหุงบทที่ ๖ นี้ ไว้ดังต่อไปนี้คือ แก้การใส่ไคล้
โดยไม่เป็นจริง เฉพาะผู้ที่กล่าวใส่ร้ายเป็นชาย กรรมวิธีเป็นแบบเดียวกับคาถาพาหุงบทที่ ๕
“นางจิญจามาณวิกา” ทุกประการ ใช้ในการเอาชนะทางด้านการพูด การละเล่น เมื่อจะไปโต้วาที
หรือแสดงการละเล่นประชัน ตลอดจนการแข่งขันที่ต้องใช้โวหารทั้งปวง ให้สวดคาถาพาหุง
ลำดับที่ ๖ สามจบ ก่อนจะออกไปกระทำการดังกล่าว ระลึกเอาพระบารมีที่ชนะสัจจะกะนิครนถ์
เป็นที่ตั้ง เสกน้ำหนึ่งแก้วเป็นน้ำมนต์กินก็ยิ่งดีใหญ่ เมื่อไปถึงสถานที่ที่จะต่อสู้แล้ว ให้ภาวนา
คาถานี้ ๑ จบ จะเต้น จะรำ จะโต้วาที ก็ทำเถิดจะเกิดชัยชนะทุกเมื่อแล
คาถาบทที่ ๖ นี้ ใช้ปิดปากคนนินทาว่าร้ายเราได้อีกด้วย กล่าวคือ ท่านให้เอากระป๋องหรือกล่องโลหะ
ที่มีฝาปิดมิดชิดมาหนึ่งใบ เขียนชื่อ นามสกุล คนที่ใส่ร้ายหรือนินทาว่าร้ายเรา โดยปราศจากความจริง
ด้วยความเท็จทั้งปวง ให้รำลึกถึงพระบารมีที่ทรงชนะต่อนางจิญจามาณวิกา และสัจจะกะนิครนถ์
เสกด้วยคาถาทั้งสองบทคือ บทที่ ๕ และบทที่ ๖ บทละ ๓ จบ เป่าลงไปที่ชื่อ นามสกุล
แล้วแผ่เมตตาซ้ำลงไป อย่าไปผูกพยาบาทจองเวรเขา อธิษฐานให้คนผู้นั้นสงบปาก จากนั้นก็ม้วน
กระดาษชื่อลงไปในกระป๋องหรือกล่องผนึกปากให้แน่นหนา เอาบูชาไว้ที่หิ้งพระสัก ๓ วัน
แล้วเปิดกระป๋องขึ้นทีหนึ่ง หากยังไม่สงบปากให้ปิดต่อไปจนครบเจ็ดวัน ก็เปิดอีกทีหนึ่ง เขาจะสงบเงียบ
ไปทันที หากยังขืนปากมากเป็นฝีที่ปากหรือที่ลิ้น จะแพ้ภัยไปเอง ห้ามทำเกินเจ็ดวันจะเข้าตัวแล