[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
22 ธันวาคม 2567 19:42:56 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: จุดประกายเซนในเมืองไทย  (อ่าน 15118 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 2.0.0.20 Firefox 2.0.0.20


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 22 มกราคม 2553 12:50:44 »


              

พุทธ ขงจื้อ เต๋า เขาว่าเป็นเซน

สารคดี
จุดประกายเซนในเมืองไทย
โดย สุภารัตถะ

 
คำนำ - ผู้เขียน เขียนเรื่องนี้ขึ้นเพื่อบอกกล่าวการเดินทางของนิกายเซนที่เข้ามาเผยแพร่ในเมืองไทย และความเป็นมาของกลุ่มผู้ทำงานเผยแพร่ธรรมะอย่างเซนนี้ กลุ่มหนึ่งที่อยู่เบื้องหลังในยุคแรก ซึ่งล้วนเป็นบุคคลสำคัญในวงการศาสนาพุทธเมืองไทย อีกทั้งขอส่งความปรารถนาดีไปยังบุคคลอื่นๆ ในการค้นคว้า ศึกษา เขียนและแปลหนังสือออกเผยแพร่ให้ความรู้เรื่องเซนนี้กับชาวไทย

 
หมายเหตุ ที่จริงมีภาพประกอบ แต่ไม่มีเครื่องสแกน เลยไม่ได้นำลงประกอบเนื้อหา ซึ่งจะทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น


http://i306.photobucket.com/albums/nn251/jawrakea/2-14.jpg
จุดประกายเซนในเมืองไทย

 
 
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=suparatta&month=06-2006&date=12&group=14&gblog=7

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 06 ตุลาคม 2553 06:30:19 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: เพิ่มภาพค่ะ » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 2.0.0.20 Firefox 2.0.0.20


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 22 มกราคม 2553 13:01:10 »




พุทธ ขงจื้อ เต๋า เขาว่าเป็นเซน

โดย สุภารัตถะ

อ า รั ม ภ บ ท
ความเป็นมาของเซนในไทย

 
ไม่อาจยืนยันได้ว่านิกายเซนได้เดินทางเข้ามาสู่เมืองสยามในสมัยใด จังหวัดใดบ้าง แต่ก็ประมาณมีหลักฐานพอให้พิจารณา ข้าพเจ้าได้รับหนังสือหลายเล่มของท่านธีรทาสมาอ่าน และเล็งเห็นว่าหากข้อมูลเหล่านี้ยังไม่อาจสรุปยืนยัน แต่ก็ควรเก็บตั้งเป็นสมมุติฐานไว้เป็นอย่างสำคัญ
 
ข้อความบางส่วนจากหนังสือค้นพบเมืองเก่ากรุงศรีวิชัยของท่านธีรทาส หน้า 49-51 / 67-72 / 43-44
 
หน้า 49-51
…และยังมีหนังสือเก่า ตำนานหลักฐานโบราณสถาน นครต้าหลี่ต่างๆ ที่ก่อสร้างไว้ก่อนสมัยศรีวิชัย อาจารย์สัมพันธ์ อาภรณ์พานิช บอกว่าชมดูทั้งหมดแล้ว มีองค์พระอวโลกิเตศวร ที่สร้างไว้ที่นครต้าหลี่ เอามาพิจารณาเปรียบเทียบดู เป็นช่างสกุลเดียวกันกับพระอวโลกิเตศวร องค์ที่พบในวัดพระบรมธาตุ อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ก็สมัยศรีวิชัยเช่นกัน หรือว่าหล่อที่นครต้าหลี่ แล้วนำเอามาไว้ที่เมืองไชยา

…พบหลักฐาน ตำนาน นครต้าหลี่ จารึกไว้ว่า พระพุทธศาสนานิกายเซน(ฌาน) เจริญแพร่หลายในเมืองต้าหลี่และอาณาจักรน่านเจ้ามาก่อน …พบหลักฐานต่างๆ ทำให้เชื่อว่า พระสังฆราชโพธิธรรม(ตั๊กม้อไต้ซือ) ตอนอายุ 150 พรรษา ท่านเดินทางขี่ช้างกลับอินเดีย ต้องใช้เส้นทางตะวันตกเฉียงใต้ เส้นทางเสฉวน-ยูนาน ผ่านนครต้าหลี่ เพราะเส้นทางนี้สมัยถังติดต่อกันกับอินเดีย …ประมาณ พ.ศ. 924 บันทึกการเดินทางของภิกษุจีนหลวงจีนฟาเหียน เดินทางจากจีนไปอินเดีย ใช้เส้นทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีนด้วยเส้นทางแพรไหม แต่ตอนกลับทางเรืออ้อมแหลมมลายู ได้แวะเมืองท่าตะโกลา (ตะกั่วป่า) และอ่าวบ้านดอน สมัยเมื่อพันปีที่แล้ว สมัยโบราณ จากอ่าวตะโกลา(ตะกั่วป่า) มีแม่น้ำลำคลองใหญ่ให้เรือเดินทะเลผ่านได้ จากทะเลอันดามันข้ามมายังอ่าวบ้านดอนได้ ทำให้เมืองไชยายุคโน้นเก็บภาษีสินค้าต่างๆ จนเป็นเมืองที่ร่ำรวยมากเมืองหนึ่ง

…ประมาณ พ.ศ.1172 ถึง พ.ศ.1188 บันทึกการเดินทางของพระถังซำจั๋ง จากจีนเดินทางทางบกถึงอินเดีย ใช้เส้นทางแพรไหมภาคตะวันตกเฉียงเหนือของจีน ไปทางบกกลับทางบก …ประมาณ พ.ศ.1214 ถึง พ.ศ.1232 บันทึกการเดินทางของพระภิกษุอี้จิง เดินทางจากจีนลงเรือทะเล ยังได้แวะกรุงศรีวิชัยก่อนไปอินเดีย แสดงว่าชาวจีนเมื่อพันปีก่อนโน้นอพยพมาอยู่กรุงศรีวิชัย จนภาษาจีนแพร่หลายใช้ในราชการได้ คงจะนำเอาพระพุทธศาสนานิกายเซน (ฌาน) และนำเอาช่างฝีมือดีของจีน มาหล่อพระพุทธรูปต่างๆ ไว้อีกด้วย เพราะว่าโบราณวัตถุต่างๆ ที่ขุดพบอายุ 1,000 ปีขึ้นไป มีศิลปคล้ายจีนผสมอินเดียมาก

…องค์พระมหาเจดีย์บรมพุทโธ ที่สร้างประมาณ พ.ศ. 1315 ในชวาปาเล็มบัง 72 องค์ ผู้สร้างเจาะจงก่อสร้างเป็นเจดีย์โปร่ง ข้างในว่างเปล่า หรือจะเป็นปริศนาธรรม ต้องการให้มองเห็นความว่าง เป็นสัญลักษณ์ของ “สุญตา” คือความว่าง – นิพพาน เป็นปริศนาธรรม (โกอาน) แบบเซน

…พระเจ้ากรุงจีน สมัยราชวงศ์ถัง ได้พระราชทานระฆังใหญ่มาให้กรุงศรีวิชัย บัดนี้ระฆังนั้นได้ขุดพบที่วัดพระบรมธาตุ อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี หรือจะเป็นพยานปากเอกว่า กรุงศรีวิชัย ตั้งอยู่ที่เมืองไชยา ประเทศไทยนี่เอง
 
หน้า 67-72

…ตอนพบท่าน (ท่านธีรทาสพบท่านพุทธทาส) ท่านก็ดีใจ ผมบอกท่านว่า สูตรของท่านเว่ยหล่างที่ท่านอาจารย์แปล เตี่ยสอนผมตั้งแต่อายุ 8–9 ขวบแล้ว ท่านก็แปลกใจ “8–9 ขวบ เตี่ยสอนยังไง” ผมก็ท่องโศลก “กายคือต้นโพธิ์ ใจคือกระจกเงาใส…” ให้ฟัง ท่านก็ถามต่อว่า “เมืองไทยรู้เรื่องเซนตั้งแต่โน่นเหรอ” ผมบอก “ใช่ เขามาก่อนเตี่ยผมแล้ว” อาจารย์เซนที่มา มาแล้วสอนไม่ได้ ไม่อาจถ่ายทอดเป็นภาษาไทยเพราะพูดจีนกลาง ตอนนั้นสมัยรัชกาลที่ห้าตอนปลาย มีพระอาจารย์เซนมาจากเมืองจีน 3 องค์ ยังค้นชื่อที่แน่ชัดไม่หมด แต่พอจะได้หลักฐานเค้ามูลบ้าง พระอาจารย์มาถึงแล้วก็ปลงสังขารตกว่า ถ้าสอนได้ก็สอน สอนไม่ได้ก็เอาตัวรอดดับขันธ์ไป ไม่กลับเมืองจีน รุ่นเก่าๆ บอกเล่ากันต่อๆ มาว่า อาจารย์ทั้ง 3 รูปนั้น หายไปในเมืองไทยได้อย่างไร

รูปหนึ่งชื่อ พระภิกษุกักเง้ง สายวัดเส้าหลิน (วัดเซียวลิ้มยี่) นั่งเข้าฌานดับแห้งตายอยู่ในถ้ำเขาน้อย อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี พี่สาวผม (ธีรทาส) ทันเห็นองค์นี้ตอนอายุ 9 ขวบ ช่วงนั้นฝนไม่ตก 3-4 ปี ชาวบ้านหาว่า หลวงพ่อนั่งแห้งที่อยู่บนถ้ำทำให้ฝนไม่ตก แห้งแล้ง จึงอัญเชิญลงมาเผา แต่ศพไม่เน่าเพราะเซนเก่งเรื่องนี้ เขามีสูตรวิธีทำได้ วันที่ชาวบ้านจะเอาพระศพของพระกักเง้งลงมาเผา หลานชายของท่านซึ่งเก่งเรื่องตำรายางูกัด ชาวบ้านเรียกท่านว่าพระงู ท่านมีกำลังภายใน กังฟูแบบวัดเส้าหลิน ท่านได้ปลงไม่พูดอะไรเลย เพียงแค่แสดงอิทธิฤทธ์…คือที่วัดมีระฆังใหญ่ขนาดสองคนยกแทบจะไม่ขึ้น พระงูท่านสำรวมพลังจิต ยื่นมือจับระฆังใบนั้น หิ้วแล้วชูสูงๆ เดินนำจากตีนภูเขา ตีระฆังเสียงดังๆ ไปจนถึงถ้ำ ที่หลวงลุงพระกักเง้งท่านนั่งสมาธิดับขันธ์ในฌานสมาบัติ ชาวบ้านแถบนั้นยังมองไม่เห็นถึงคุณธรรมโพธิสัตว์… พอชาวบ้านอัญเชิญหลวงพ่อแห้งพระกักเง้งลงมาเผาที่เชิงเขาแล้ว ท่านพระงูได้แต่ปลงสติปัญญาของชาวบ้านนี้ว่า จะสอนฌานหรือเซนกันได้อย่างไร? ท่านจึงตัดสินใจ อำลาไปทางสิงคโปร์ ไม่กลับมาอีกเลย

อีกรูปหนึ่งชื่อหลวงพ่อโพธิ์ อยู่ในถ้ำเมืองกาญจน์ พระยิ้งอ้วง วัดมังกรบุปผาราม จันทบุรี ธุดงค์เข้าไปในแดนกะเหรี่ยง มีกะเหรี่ยงที่พูดภาษาไทยได้บอกว่า มีถ้ำแปลกหลายถ้ำ เขาบอกว่ามีคนนั่งตายตัวแห้งแข็ง พระยิ้งอ้วงท่านก็สงสัย ให้กะเหรี่ยงพาไป ชื่อถ้ำกระปุก ท่านถ่ายรูปหลวงพ่อพวงโพธิ์ออกมาได้ ศพนั่งแห้งจนนึกว่าปั้น แทบไม่น่าเชื่อ เรื่องนี้ทำให้สันนิษฐานว่า พระมหายานมาเมืองไทย ก็เดินทางเข้ามาทางเมืองกาญจน์หมด (มีรายงานกลับเมืองจีนว่าไปอยู่ที่ อ.เที้ยบ้วง ก็คือ อ.ท่าม่วง เมืองกาญจน์นั่นเอง)

อีกรูปหนึ่งนั้น มีเชื้อพระวงศ์แต่ชื่ออะไรนั้นจำไม่ได้ บอกว่าปู่ของท่าน แล่นเรือออกไปทางสมุทรปราการเพื่อยิงนกตกปลาเล่น เมื่อส่องกล้องทางไกล กลับไปเจอพระนั่งนิ่งอยู่ไกลๆ อีก 5 วันกลับมา ก็ยังเห็นพระนั่งอยู่อย่างนั้น จึงแวะไปดุและสืบจนรู้ว่าเป็นพระมาจากเมืองจีน ท่านบอกว่าตั้งใจจะลาโลกแล้ว เพราะเจตนาจะมาสอนธรรมในเมืองไทย แต่ไปไม่รอดเพราะติดเรื่องภาษา เจ้าองค์นั้นจึงนิมนต์หลวงพ่อมาอยู่กรุงเทพฯ และบอกว่าจะช่วยหาวิธีถ่ายทอดธรรมะให้ แต่อยู่ได้ไม่ถึง 2 อาทิตย์ ท่านก็บอกว่าได้ปลงสังขารชีวิตแล้ว อยากกลับที่เดิม ก่อนที่ท่านจะจากไป ได้เขียนภาษาจีนทิ้งไว้ว่า ท่านเป็นพระนิกายเซน (ฌาน) สายวัดเส้าหลิน สาขาฮกเกี้ยน ชื่อกวงติก อายุ 85 ปี ลงเรือที่ซัวเถามาถึงเมืองไทย และออกธุดงค์ไปหลายจังหวัด เมืองไทยนี้คนใจบุญมาก พระโพธิสัตว์จะไม่เดือดร้อนปัจจัย 4 แต่ท่านแก่ชราภาพมากแล้ว ขอลาผู้มีบุญคุณ และฝากธรรมะ “อนิจจัง – ทุกขัง – อนัตตา – สุญตา“ เป็นพรอันประเสริฐ ขอให้จงมีแต่โชคดีในธรรมาณาจักรนี้
 

หน้า 43-44

…พระเซน (ฌาน) สายนี้ เก่งอักษรศาสตร์ มุ่งสอนแต่เทศนาธรรมาทาน ตั้งแต่โบราณกาลมาแล้ว พยายามมุ่งส่งเสริมศิษย์ที่เก่ง ให้นำพระคัมภีร์และคำสอนธรรมต่างๆ ลงท่าเรือซัวเถา ให้ออกโพ้นทะเลไปเวียดนาม สิงคโปร์ มาลายา อินโดนีเซีย เข้าเมืองไทย สมัยรัชกาลที่ 4 และที่ 5 รุ่นแรกมีพระจีน 3 องค์มาแล้ว แต่การสอนธรรมาทานไปไม่รอด เพียงแต่ได้ส่งรายงานกลับเมืองจีนว่า ภาคกลางของเมืองไทยเป็นชาวแต้จิ๋วมาก ติดขัดเรื่องภาษาพูด ทั้งสามองค์พูดเป็นแต่ภาษากวางตุ้ง ฮกเกี้ยน จีนกลางผสมสำเนียงเหอหนานก็มี

…รุ่นหลังๆ ได้ส่งอุบาสกมาหลายท่าน ดังเช่น แปะโคว้เซียน ซึ่งเป็นอุบาสก ที่รับโพธิสัตว์ศีล (ถือศีล 5 ) มานั่งสมาธิดับตายในฌานสมาบัติ ท่านทิ้งผลงานไว้ให้แก่ชาวโลกพิสูจน์ว่า ตายได้ตามความต้องการมีจริง ที่โรงเจหัวตะเข้ ฉะเชิงเทรา (ต้นรัชกาลที่ห้า) และที่เมือง เพชร เมืองกาญจนบุรี มักจะแอบสงบเงียบอยู่ในถ้ำแดนกะเหรี่ยง เขตพม่า หรือไปสังกัดอยู่กับวัดของอัญนำนิกาย (วัดญวน) ต่างๆ

…เตี่ยกิมเช็ง (บิดาของท่านธีรทาส) บอกว่า ท่านเป็นรุ่นสุดท้าย เรื่องนี้โบราณถือเก็บเป็นความลับ สอนได้แต่ลูกหลาน ศิษย์ที่สืบอายุธรรมาณาจักรใจนี้เท่านั้น แต่พอถึงสมัยลูกๆ โตไปแล้ว คงไม่ต้องเก็บไว้เป็นความลับ ถึงเวลา จะกลายเป็นประวัติศาสตร์ก็ได้…

 
 
- ข้อความบางส่วนที่นำมานี้ คัดลอกมาจากหนังสือค้นพบเมืองเก่ากรุงศรีวิชัย โดยท่านธีรทาส
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 06 ตุลาคม 2553 06:50:13 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: จัดหน้าค่ะ » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 2.0.0.20 Firefox 2.0.0.20


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 22 มกราคม 2553 13:10:51 »




จุดประกายเซน (ในเมืองไทย)

โดย สุภารัตถะ


หลายท่านอาจนึกไม่ออกหรือลืมเลือนไปบ้างแล้ว ว่าเริ่มสนใจศึกษาเซนกันตั้งแต่เมื่อไหร่ แต่หลายท่านก็คงยังจดจำได้อย่างชัดเจน ถึงตอนหยิบหนังสือเซนขึ้นมาอ่านด้วยความสนใจ สนุกสนานกับนิทานเซน การ์ตูนเซน หรือหลักคำสอนของเซนที่เน้นจากจิตสู่จิต สลัดการยึดมั่นละวางการตึดยึดทั้งปวงฉับพลัน เข้าสู่สุญตาทันทีทันใด และหนังสือเซนชื่อดัง “สูตรของเว่ยหล่าง” ว่าด้วยประวัติและคำสอนของท่านเว่ยหล่าง แปลโดยท่านอาจารย์พุทธทาสภิกขุ จากภาษาอังกฤษโดย ว่องมูล่ำ ที่แปลมาจากต้นฉบับภาษาจีนของ ดร.ติงโฟโป ซึ่งนับเป็นคัมภีร์สำคัญของนิกายเซน
 
น่าเสียดาย ที่การเดินทางเข้ามาไทยของพระเซนจากจีน ไม่สามารถทำการเผยแพร่หลักคำสอน หรือก่อสร้างศาสนสถานได้แพร่หลาย แต่ปัจจุบันนิกายเซน ได้เข้ามาก่อรูปก่อร่างในหัวใจคนไทยไม่น้อย หลายท่านทั้งฆราวาสและนักบวช ได้เดินทางไปศึกษาเซนถึงประเทศเกาหลีและญี่ปุ่น และอีกหลายๆ ท่านได้ศึกษาเซน จากหนังเซนซึ่งเผยแพร่ในรูปแบบต่างๆ ผู้ที่ชื่นชอบได้นำหลักการเซนมาประยุกต์ใช้ในชุมชน นำศิลปะอย่างเซนมาใช้ในการก่อสร้างสถานที่ ด้วยความเรียบง่ายที่มากไปด้วยความจริงตามธรรมชาติ แต่จะมีคนไทยสักกี่คน ที่จะรู้จักสถานที่ที่หนึ่ง ซึ่งมีความสำคัญต่อการก่อกำเนิดเซนและมหายานในไทย ด้วยบุคคลสำคัญที่มาพบปะชุมนุมกัน ณ สถานที่แห่งนี้ โรงเจเป้าเก็งเต็ง หรือพุทธสมาคมเป้าเก็งเต็ง
 
แม้ว่าภิกษุจีนหลายรูป ที่ได้ตั้งปณิธานจะเข้ามาเผยแพร่นิกายเซนในไทย ต้องประสบกับปัญหาอันยากลำบาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องภาษา ความยากจนของชาวบ้าน อีกทั้งความยากที่จะเข้าใจถึงสัจธรรมความจริงของจิตเดิม ทำให้ไม่อาจสืบสานเจตนา ต้องละทิ้งรูปสังขารอันไม่เที่ยงที่ต้องยอมจำนนต่อข้อจำกัดของกาลเวลา ในการเสื่อม เจ็บและตาย และอาจจะเป็นด้วยว่า ยังไม่ถึงเวลาของนิกายเซนจะเผยแพร่เจริญรุ่งเรืองในไทย แต่บุคคลที่อยู่เบื้องหลังทั้งหลายก็ยังคงมุ่งมั่นทำงานต่อไป เหมือนที่ท่านโพธิธรรม (ตั๊กม้อ) ต้องยอมจำนน ต่อความไม่พร้อมของชาวจีน ที่จะเข้าถึงเซนเมื่อท่านเดินทางไปถึง ท่านจึงปลูกเมล็ดพันธุ์ไว้ ในสังฆปรินายกองค์ถัดมา ถัดมา และในที่สุด ท่านเว่ยหล่างสังฆปรินายกองค์ที่หก ก็สามารถเผยแพร่หลักธรรม ว่าด้วยการถ่ายทอดแบบจิตสู่จิตออกไปอย่างแพร่หลายกว้างขวาง ทำให้มีผู้เข้าถึงจิตเดิมจำนวนมากมาย จนทำให้นิกายเซน (ธยานะ) เจริญในจีนอย่างสูงสุด เป็นที่รู้จักและสืบทอดไปทั่วโลกต่อๆ มาถึงทุกวันนี้ เช่นกัน…ในความโชคร้ายที่ไม่อาจดำรงอยู่ได้ตลอด เพราะโชคดี ที่มีฆราวาสจีนกลุ่มหนึ่งในจำนวนชาวจีนมากมายที่เดินทางมาพึ่งแผ่นดินไทย นับเป็นกลุ่มที่นำเมล็ดพันธุ์แห่งเซนเข้ามาบ่มเพาะอีกครั้ง และรอวันที่จะเติบโตเจริญงอกงามในเส้นทางของผู้ที่พากเพียรค้นหาความจริงแห่งจิต แม้ท่านอาจจะไม่ใช่ผู้บรรลุธรรม อาจไม่ใช่ปรมาจารย์เซน ที่จะสามารถทำให้ใครต่อใครบรรลุธรรมได้ฉับพลัน แต่ก็เป็นกลุ่มบุคคลที่เปี่ยมไปด้วยความมุ่งมั่นศรัทธาในความเป็นเอกยานแห่งพุทธ ไม่แบ่งแยกหินยาน มหายาน หรือวัชรยาน เพราะความจริงนั้นเป็นหนี่ง และจิตนั้นก็ไม่อาจแบ่งแยก ความมุ่งมั่นของบุคคลกลุ่มนี้ จึงทนต่อสถานการณ์อันยากลำบากต่างๆ ในเส้นทางที่จะสืบทอดพุทธศาสนาในมุมกว้าง ถึงความเป็นแก่นแท้ของพุทธะ
 
จากโรงเจเป้าเก็งเต็ง จังหวัดราชบุรี
สู่โรงเจเป้าเก็งเต็ง ซอยปลูกจิต คลองเตย

 
แม้ว่าโรงเจเป้าเก็งเต็ง จะก่อกำเนิดด้วยแรงทานของชาวจีนในไทยจำนวนมาก ที่นิยมทำกงเต็กให้กับผู้ที่ล่วงลับ เงินทองที่ได้มาจากงานศพต่างๆนั้น มักจะถวายให้เป็นการบำรุงโรงเจ คณะบุคคลกลุ่มหนึ่งมีจิตศรัทธาและแสวงหาบุญกุศล จึงช่วยกันบุกเบิกป่า ก่อสร้างพุทธวิหารขึ้นเป็นโรงเจ ที่อำเภอปากท่อ ราชบุรี รายนามของผู้บุกเบิกนับเป็นผู้จัดการยุคต้น 7 ท่าน มีหลักฐานดังนี้ ตั้งฮุ้นเซี้ยง, ลิ้มเช็งเอี้ยง, จิวซูเล้ง (เนี่ยไหล), ลิ้มเทียงเล้ง (โบ่ว), เฮ้งเง็กเล้ง, ตั้งงิ้นเล้ง (อ้อ), ลี้เต๋าอิม (กี้)
 
ท่านซินแสจิวเนี่ยไหล เห็นว่าหลักธรรมะที่ใช้สอนเผยแพร่แก่ผู้ที่มาศึกษาที่โรงเจยังไม่เพียงพอ ตัวท่านและศิษย์อีกสองคน คือ นายเซ้งง้วน แซ่เล้า และนายลิบซี แซ่ตั้ง จึงลงเรือเดินทางทางทะเล ไปขึ้นฝั่งที่ซัวเถา วัดซิงอำยี่ อำเภอเท่งไฮ้ มณฑลกวางตุ้ง เพื่อศึกษาธรรม จากพระธรรมาจารย์เหลาฮั้วเสียงโจ้วซือ ทั้งสามท่านรับโพธิสัตว์ศีล ศึกษาธรรมะอยู่ร่วม 2 ปี ท่านจิวเนี่ยไหลก็ล้มป่วยถึงแก่กรรมที่ประเทศจีน คุณเซ้งง้วนและคุณลิปซีผู้เป็นศิษย์ ได้นำพระคัมภีร์ต่างๆ กลับมาไว้ที่โรงเจ แต่ยังไม่สามารถจะเผยแพร่และสั่งสอนญาติโยมได้อย่างเต็มที่
 
ประมาณปี พ.ศ. 2490 คุณเซ้งง้วน มีอายุ 27 ปี ได้รับการสนับสนุนจากครูบาอาจารย์ต่างๆ ให้มาก่อตั้งโรงเจเป้าเก็งเต็ง บ่อนไก่ ถนนพระราม 4 กรุงเทพฯ ด้วยความตั้งใจจะสร้างให้เป็น พุทธวิหารอย่างเซน ตามวัดนิกายเซน (ฌาน) ในเมืองจีน มีองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าศากยมุนี เป็นองค์ประธาน พระมหากัสสปะเถระ พระอานนท์เถระ และพระอรหันต์ 18 องค์ เจ้าแม่กวนอิม พระศรีอารยเมตไตรยมหาโพธิสัตว์ และรูปพระสังฆราชโพธิธรรมมหาครูบา (ตั๊กม้อไต้ซือ) รูปพระสังฆปรินายกองค์ต่างๆ ในจีน จนถึงท่านเว่ยหล่าง เพื่ออนุรักษ์รูปแบบอย่างเดิมไว้ทุกประการ น่าเสียดายที่กว่าจะรวบรวมเงินเพื่อการก่อสร้างให้สำเร็จลุล่วง ต้องใช้เวลานาน ท่านเซ้งง้วนต้องสอนการสวดมนต์ทำพิธีกรรม ทำกงเต็ก เพื่อหาเงินมาสร้างพุทธวิหารนี้ กว่าจะรวบรวมได้ท่านก็อายุมากแล้ว โดยที่ท่านยังไม่ได้สอนเซน (ฌาน) ความชราภาพก็เดินทางมาสู่ท่านเสียก่อน แต่ความตั้งใจของท่านก็บรรลุวัตถุประสงค์ โรงเจดำเนินการก่อสร้างลุล่วง ภายใต้การจดทะเบียนเป็น พุทธสมาคมเป้าเก็งเต็ง คลองเตย มีคุณบุญฤทธิ์ รัตนชินกร เป็นนายกพุทธสมาคม คุณธีระ วงศ์โพธิ์พระ (ธีรทาส) เป็นเลขานุการ และคณะกรรมการที่สำคัญอีกหลายท่าน
 
ท่านอาจารย์อ้อซินแส และท่านอาจารย์กี้ซินแส เกิดโพธิจิตเห็นว่าการหาเงินก่อสร้างวัตถุสมควรเพียงพอแล้ว จึงมอบหน้าที่ให้อาจารย์เซ้งง้วน จัดหาอริยครูบามาสอนธรรมะเป็นธรรมาทาน ท่านอาจารย์นายแพทย์ตันม่อเซี้ยง อาจารย์เสถียร โพธินันทะ (ตั้งเม่งเต็ก) พระอาจารย์หลวงจีนเย็นบุญภิกขุ และท่านธีรทาส จึงถูกเชิญมาร่วมก่อตั้งชมรมธรรมาทาน ณ พุทธสมาคมเป้าเก็งเต็งแห่งนี้ เพื่อสอนธรรมะให้แก่ผู้ที่มาโรงเจ
 
ท่านอาจารย์ตันม่อเซี้ยง จะมาแสดงปาฐกถาธรรม บรรยายพระสูตรที่สำคัญของมหายานต่างๆ เป็นภาษาจีนแต้จิ๋ว มีชาวจีนและผู้มีศรัทธา และพระสงฆ์จีนตามวัดต่างๆ มาฟังด้วยความสนใจ ผลงานแสดงธรรมต่างๆ ได้บันทึกเสียงแจกจ่ายไปตามโรงเจและวัดจีนต่างๆ ร่วม 10 ปี จนอาจารย์นายแพทย์ตันม่อเซี้ยงแก่ชราภาพมาก จึงหยุดไป

 
น่าเสียดายคนหนุ่มอย่างอาจารย์เสถียร โพธินันทะ ผู้เปี่ยมไปด้วยความรู้อันยิ่งยวด ท่านเป็นทั้งปราชญ์และอาจารย์สอนในมหาวิทยาลัยสงฆ์ มีผลงานเขียนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์พุทธศาสนา พุทธมหายานและแปลพระสูตรสำคัญต่างๆ ต้องมาด่วนละสังขารไปตั้งแต่อายุยังน้อย ทำให้เราต้องสูญเสียทรัพยากรบุคคลที่สำคัญไป ทำให้งานสำคัญอีกหลายชิ้นที่ท่านตั้งมโนปณิธานจะทำ ต้องระงับไปโดยปริยาย
 
ท่านธีรทาส เลขานุการของโรงเจเป้าเก็งเต็ง วัยหนุ่มรุ่นเดียวกับอาจารย์เสถียร โพธินันทะ ผู้ได้รับการสอนเซน (ฌาน) โดยบิดาท่าน จากปากสู่ปาก บัดนี้ท่านกำลังทำหน้าที่แทนบิดาของท่าน สอนเซนให้กับลูกหลานเซนอย่างพวกเรา โดยการเขียนหนังสือธรรมะรวมถึงพิมพ์หนังสือธรรมะแจกเป็นทาน ไม่ว่าจะเป็นหนังสือของท่านอาจารย์พุทธทาส ท่านอาจารย์เสถียร โพธินันทะ ผลงานธรรมะที่น่าสนใจ และผลงานของท่านเอง จนกระทั่งบัดนี้ท่านอายุประมาณ 76 ปี (พ.ศ. 2547) นับว่าท่านเป็นผู้ที่ถ่ายทอดเซน ผสานประวัติศาสตร์การเดินทางของเซนในไทย และเชื่อมต่อบุคคลสำคัญต่องานเซนที่เผยแพร่ในไทยอย่างสำคัญ
 
 

 
 
-ท่านที่สนใจประวัติการก่อตั้งพุทธสมาคมเป้าเก็งเต็งอย่างละเอียด หาอ่านได้จาก
หนังสือพระคัมภีร์ (ปริศนาธรรม) 18 พระอรหันต์ เรียบเรียงโดย ธ.ธีรทาส (ท่านธีรทาส)


http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=suparatta&month=06-2006&date=11&group=14&gblog=1
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 06 ตุลาคม 2553 16:38:22 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: เพิ่มภาพค่ะ » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 2.0.0.20 Firefox 2.0.0.20


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 22 มกราคม 2553 13:19:29 »


       

บุคคลสำคัญ สืบสานเซน (ในเมืองไทย )
โดย สุภารัตถะ

ปัจจุบันมีงานเขียนเซนที่เผยแพร่ในไทยอย่างแพร่หลาย ถูกแปลมาจากภาษาจีนหรืออังกฤษ โดยนักเขียนและนักแปลผู้ทรงภูมิในประเทศไทยเป็นจำนวนไม่น้อย ความมีเสน่ห์ของหนังสือเซน ( ฌาน หรือ ธยานะ) ไม่ได้เป็นเพียงแค่ตัวหนังสือ แต่เป็นโกอานหรือปริศนาธรรมที่สามารถหยุดยั้งคนอ่านให้รวบรวมสมาธิ ปัญญา ขบคิดปริศนานั้นไปในขณะกำลังอ่านด้วย
 
สำหรับคนไทย เซนไม่ได้เป็นหนังสือหรืองานแปลแค่ในยุคนี้ แต่นิกายเซนเดินทางมาไทยด้วยบุคคลสู่บุคคลมาเนิ่นนานแล้ว รวมถึงบิดาของท่านธีรทาสคือ ซินแสกิมเช็ง แซ่เล้า ฆราวาสสายเซนรุ่นสุดท้ายที่เดินทางมาไทย ก่อนท่านจะเดินทางมาตั้งรกรากในประเทศไทยนั้น สมัยที่ท่านยังอยู่ที่ประเทศจีน อายุ 12 ปี อาก๋งของท่านได้พาไปนมัสการพระอริยครูพระธรรมาจารย์เหลาฮั้วเสียงโจ้วซือ วัดซิงอำยี่ ท่านเป็นอริยครูสายนิกายเซน ซึ่งหลบรอดจากภัยสงครามที่พระจักรพรรดิเฉียนหลง ราชวงศ์ชิง สั่งให้กวาดล้างพระวัดเส้าหลิน (วัดเซียวลิ้มยี่) สาขาฮกเกี้ยน เพราะเป็นวัดของชาวฮั่น ที่พวกราชวงศ์เหม็งมาบวช และคิดจะกอบกู้ราชวงศ์เหม็งล้มราชวงศ์ชิง ทำให้พระกลุ่มหนึ่งซึ่งรู้ถึงภัยนี้ แอบหนีมาซ่อนตัวและสอนธรรมะอยู่เมืองแต้จิ๋ว ภายหลังสร้างเป็นวัดซิงอำยี่ ที่อำเภอเท่งไฮ้ ท่านเหลาฮั้วโจ้วซือ เป็นพระอาจารย์องค์สุดท้าย ท่านมรณภาพเมื่ออายุ 120 พรรษา ภายหลังวัดนี้ถูกภัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำลายล้างไปหมดเช่นกัน
 
ซินแสกิมเช็ง บิดาท่านธีรทาส บอกว่าท่านเป็นศิษย์รุ่นสุดท้าย สมัยโบราณถือเก็บไว้เป็นความลับ ศิษย์ต่างๆ ได้นำหลักฐานและพระคัมภีร์เข้ามาทางไทย เวียดนาม สิงคโปร์ มาลายา อินโดนีเชีย กระทั่งญี่ปุ่นที่เซนเข้าไปเจริญและเผยแพร่อย่างกว้างขวาง ท่านที่ขนตำรายาและพระคัมภีร์เก่าๆ ไป ท่านเหล่านั้นส่วนมากได้ผ่านการศึกษามาอย่างดี อาจารย์จึงมอบหมายหน้าที่ส่งออกโพ้นทะเลได้

 
แม้ซินแสกิมเช็ง จะส่งข่าวกลับไปที่จีนด้วยความท้อใจ เห็นว่าเมืองไทยภาคกลาง ซึ่งเป็นชาวแต้จิ๋ว ส่วนมากยังเป็นชนชั้นกรรมาชีพ อดอยาก ต้องดิ้นรนกับอาชีพเพื่อแสวงหาเงินทองมาเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง ยากจะมีผู้ใดมาฟังธรรม โดยเฉพาะเซน ซึ่งเป็นธรรมะขั้นสูงที่สอนเรื่องจิตเดิม ยากต่อการเข้าใจ แต่ท่านก็ได้ทำหน้าที่ปลูกเมล็ดพันธุ์นั้นลงในจิตใจของเด็กชายธีระ(ธีรทาส) ด้วยการสอนเซนจากปากต่อปาก โดยหวังว่าเด็กชายธีระจะเติบโตขึ้นมา และนำคำสอนเรื่องเซนเผยแพร่ต่อออกไป ให้กับลูกหลานชาวไทย ได้รับรู้สัจธรรมแห่งการพ้นทุกข์ และความหวังนั้นก็เป็นจริง
 
ท่านธีรทาสเติบโตมาพร้อมกับอุดมการณ์ ซึ่งเป็นหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายมาจากเตี่ยกิมเช็ง การมาเป็นเลขานุการพุทธสมาคมเป้าเก็งเต็ง ซึ่งก่อตั้งโดยซินแสเซ้งง้วน เพื่อสืบสานการเผยแพร่นิกายเซน โดยได้ร่วมงานกับอาจารย์เสถียร โพธินันทะ และนายแพทย์ตันม่อเซี้ยง อีกทั้งการเดินทางมาพบกับท่านพุทธทาส ก็คงไม่ใช่เรื่องบังเอิญ ท่านธีรทาสเมื่อสมัยอายุ 23 ปี ได้เดินทางไปพบท่านพุทธทาส ที่สวนโมกขพลาราม ไชยา จังหวัดสุราฏร์ธานี ด้วยความประทับใจเมื่อได้อ่านงานเขียนของท่าน จากเรื่องขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์
 
นับเป็นจุดเชื่อมครั้งสำคัญ ที่ทำให้เกิดการพบปะสนทนาแลกเปลี่ยนและการเกื้อกูลในการทำงานเพื่อศาสนาของบุคคลสำคัญต่อมา ระหว่างพุทธสมาคมเป้าเก็งเต็ง ซึ่งมีบุคคลที่มีความรู้ในทางพุทธศาสนาฝ่ายมหายานอย่างลึกซึ้ง ไม่ว่าจะเป็นนายแพทย์ตันม่อเซี้ยง อาจารย์เสถียร โพธินันทะ ท่านธีรทาส และท่านพุทธทาส อริยสงฆ์ผู้เปรื่องปราดจากสวนโมกข์ ผู้ที่ไม่เคยหยุดการขวนขวายค้นคว้า ศึกษาหาความรู้ทางศาสนาอย่างไม่ย่อท้อ อย่างไม่ยึดมั่นถือมั่น ที่จะทำให้เกิดข้อจำกัดคับแคบ หรือยึดติดกับความรู้ในธรรมจนขาดความก้าวหน้า และเพื่อประโยชน์ในการนำมาถ่ายทอดให้พุทธบริษัทลูกหลานชาวไทยด้วยความเมตตา เพื่อให้พวกเราเข้าใจจุดมุ่งหมายของธรรม มีจิตใจที่ไม่คับแคบต่อการศึกษาในธรรมที่ลึกซึ้ง ของพุทธศาสนานิกายต่างๆ ให้สมกับคำว่าเมืองไทยเป็นเมืองพุทธ
 
ท่านพุทธทาส ผู้มีทัศนะอันกว้างไกล แม้แต่การศึกษาศาสนาพุทธของท่านก็แตกฉานกว้างขวาง ท่านมองเห็นถึงคุณค่าของพุทธนิกายเซน เมื่อท่านพระยาลัดพลีชลประคัลภ์ นำหนังสือสูตรของเว่ยหล่าง มาให้ท่านอ่าน โดยยังไม่มีผู้ถ่ายทอดภาษาอังกฤษเป็นไทย อีกทั้งมาเจอหนังสือ คำสอนของฮวงโป ฉบับภาษาอังกฤษอีก ท่านก็ว่า “จีนมีของดี” บอกให้อาจารย์เสถียร โพธินันทะ และท่านธีรทาส ถ่ายทอดเป็นภาษาไทย แต่ด้วยความที่ยังไม่สามารถถ่ายทอดจากต้นฉบับภาษาจีน มาเป็นภาษาไทยได้ในตอนนั้น ท่านพุทธทาสจึงแปลจากภาษาอังกฤษมาเป็นภาษาไทยทั้งสองเล่ม หนังสือทั้งสองเล่มนี้นับเป็นหัวใจของเซน ในการถ่ายทอดหลักคำสอนสำคัญ และได้รับความนิยมอย่างสูงสำหรับผู้ที่สนใจศึกษาเซน

เมื่อท่านพุทธทาสแปลหนังสือทั้งสองเล่มนี้เสร็จ ขณะต้องเดินทางมาให้การอบรมผู้พิพากษาในกรุงเทพฯ ท่านก็นำมาด้วย กลางวันอบรมผู้พิพากษา กลางคืนมาที่วัดปทุมคงคา โดยนำมาตรวจสอบกับภาษาจีนโดยนายแพทย์ตันม่อเซี้ยง เพื่อให้หนังสือทั้งสองเล่มนี้แปลได้ดีที่สุด และใกล้เคียงกับภาษาจีนต้นฉบับที่สุด เพราะการที่ท่านแปลจากฉบับภาษาอังกฤษ เกรงว่าอาจจะคลาดเคลื่อนกันออกไปเรื่อยๆ นายแพทย์ตันม่อเซี้ยงแปลจากจีน เพื่อเทียบเคียงกับที่ท่านพุทธทาสแปลจากอังกฤษ ท่านธีรทาสช่วยตรวจ เพราะเคยได้ยินจากคำสอนของเตี่ยกิมเช็งสมัยเด็กและท่องจำไว้ จึงได้ช่วยเหลือกิจของท่านพุทธทาสไว้ด้วยความภูมิใจ
 
และที่น่าเสียดาย ที่คนไทยไม่อาจได้ยลโฉมอีกคัมภีร์สำคัญที่เขียนโดยท่านเว่ยไห่ อีกหนึ่งหลานศิษย์ของท่านเว่ยหล่าง ซึ่งท่านอาจารย์เสถียร โพธนันทะ ได้แปลจากภาษาจีนสู่ภาษาไทยเรียบร้อยแล้วแล้ว แต่มีผู้ปรารถนาดีนำไปจัดพิมพ์ดีดให้ ทำให้หายสาบสูญไปกับผู้ปรารถนาดีผู้นั้น อีกทั้งท่านเสถียร โพธินันทะ ก็มาถึงแก่กรรมเสีย การติดตามงานแปลต้นฉบับคืนด้วยความพยายามของท่านธีรทาส จึงไม่สำเร็จผลมาถึงทุกวันนี้ หากลูกหลานของผู้ที่ปรารถนาดีผู้นั้นรับทราบ นำต้นฉบับมาคืนเพื่อให้ได้มีการจัดพิมพ์ คงจะเป็นโชคมหาศาลของคนไทยรุ่นหลัง ที่จะได้มีโอกาสได้อ่านหนังสือเล่มนี้ ความงามในสำนวนการแปลและงานเขียนของท่านเสถียร โพธนันทะนั้น เป็นที่ยอมรับในความเป็นอัจฉริยภาพในทางภาษาไทยที่งดงามหาตัวจับยากผู้หนึ่ง งานแปลและงานเขียนของท่าน อาทิเช่น วัชรปรัชญาปารมิตราสูตร วิมลเกียรตินิทเทศสูตร เมธีตะวันออก ปรัชญามหายาน ฯลฯ
 
ส่วนงานเขียนของท่านธีรทาส เป็นที่น่ายินดีอย่างยิ่ง เพราะหลายเล่มด้วยกันเขียนขึ้นจากการถ่ายทอดการสอนเซน จากบิดาท่านสู่ท่านโดยตรง และท่านนำมาถ่ายทอดต่อลูกหลานเซนอย่างพวกเราโดยผ่านทางหนังสือ อีกทั้งแจกฟรีเป็นธรรมทาน อาทิเช่น ศิษย์โง่ไปเรียนเซน เล่ม 1-4 ศิษย์เต๋า-เซียน-เซน เล่ม 1-2 คัมภีร์ 18 พระอรหันต์ ฯลฯ แจกเป็นธรรมทาน ขอรับได้ที่พุทธสมาคมเป้าเก็งเต็ง
 
ด้วยคำพูดของท่านพุทธทาส ที่มีต่อท่านธีรทาสในวัยหนุ่มว่า “ธีระ ทำยังไงช่วยกันปลุกระดมลัทธิความกตัญญูของขงจื้อ ความกตัญญูกตเวทีที่มันสูญพันธุ์ไปแล้วหรือแทบจะสูญพันธุ์ไปแล้วให้ฟื้นขึ้นมา และแนวโพธิสัตว์ เดี๋ยวนี้โลกไม่มีพระโพธิสัตว์เสียแล้ว ช่วยกันทำให้มันฟื้นขึ้นมา ทำอย่างไรจึงจะช่วยแก้ไขสถานการณ์ของโลกได้” ทำให้ปณิธานของท่านธีรทาสยิ่งมั่นคงขึ้นไม่เสื่อมคลาย ที่จะถ่ายทอดธรรมะด้วยความตั้งใจจะเชิดชูวิญญาณของพระโพธิสัตว์ เพื่อให้ปัญญานั้นปลูกฝังลงไปในจิตของอนุชนรุ่นหลังๆ ซึ่งเป็นความตั้งใจของท่านที่มีมาตั้งแต่เด็ก และด้วยคำสอนของพ่อและคำสั่งเสียก่อนท่านตาย ที่สั่งไว้ว่า ให้ท่านธีรทาสเรียนภาษาไทยให้เก่งแล้วหาโอกาสจัดพิมพ์เรื่องที่แปลไว้สู่สาธารณชนให้ได้ นับเป็นหนังสือที่สอนเซน จากจิตหนึ่งสู่อีกจิตหนึ่ง ซึ่งเมตตานี้มาถึงพวกเรา ด้วยความตั้งใจและศรัทธามั่นอย่างแท้จริง
 
ปัจจุบัน ท่านธีรทาสรับหน้าที่ดูแลพุทธสมาคมเป้าเก็งเต็ง โดยมีคุณเสาวนีย์ ธโนฆาภรณ์ เป็นเลขานุการของพุทธสมาคม ความสำคัญของโรงเจเป้าเก็งเต็งแห่งนี้ อีกไม่นานคงกลายเป็นประวัติศาสตร์ที่จะมีเพียงสักกี่คนรู้จัก หรือรู้ซึ้งถึงตำนานความเป็นมาของเสาแต่ละต้น ศิลปสถานอย่างเซน โบราณวัตถุทางศาสนาแต่ละชิ้น ภาพเขียนที่มีนัยยะแห่งธรรมะแต่ละภาพ และบุคคลสำคัญที่ผ่านเข้ามาเพื่อสร้างงานสำคัญทางศาสนา เพื่อที่จะบอกชาวพุทธว่า แท้จริงมีเพียงเอกยานเท่านั้น หากคุณยึดติดใน หินยาน มหายาน วัชรยาน โดยมิได้เข้าใจถ่องแท้ คุณอาจจะจมอยู่กับหนทางโดยมิได้ถึงเป้าหมายเลย
 
 
- ประวัติชีวิตของท่านธีรทาส หาอ่านได้จากหนังสือ ค้นพบเมืองเก่ากรุงศรีวิชัย เรียบเรียงโดย
ธ.ธีรทาส ส่วนประวัติของท่านอยู่บทสุดท้ายของหนังสือ เขียนโดยคุณสัมพันธ์ ก้องสมุทร



http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=suparatta&month=06-2006&date=10&group=14&gblog=6

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09 ตุลาคม 2553 15:08:42 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 2.0.0.20 Firefox 2.0.0.20


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: 22 มกราคม 2553 13:31:27 »




กำเนิดเซน
โดย สุภารัตถะ
 
ณ พุทธสมาคมเป้าเก็งเต็งนั้น ถูกสร้างให้เป็นพุทธวิหารตามแบบวัดนิกายเซน (ฌาน) มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นองค์ประธาน พระมหากัสสปะเถระอยู่เบื้องซ้าย และพระอานนท์เถระอยู่เบื้องขวา (ตามความเชื่อชาวจีน ซ้ายสำคัญหรือเป็นใหญ่กว่าขวา) ฝีมือการปั้นพระพุทธรูปของช่างจีนชาวไทยนั้น สวยงามวิจิตรบรรจง เป็นพุทธศิลป์ที่งดงามทรงคุณค่าอย่างยิ่ง ซึ่งกรมศิลปากรรับรองในความงามนี้ เชื่อได้ว่าเป็นพุทธศิลป์ที่งามไม่แพ้ในประเทศจีนทีเดียว
 
การที่เบื้องขวาและซ้ายขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ใช่พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะนั้น เพราะการสืบทอดของนิกายเซน เป็นลักษณะจิตสู่จิต พระธรรมต่างๆ ที่พระพุทธองค์ตรัสสอนเป็นอักษรภาษานั้น ก็เพื่อเปรียบเปรยเทียบเคียงให้ผู้ฟังได้เข้าใจ และเกิดปัญญาญาณ เข้าสู่ความจริงแท้ได้ในที่สุด แต่ความจริงแท้นั้น แท้จริงไม่อาจอธิบายได้ด้วยภาษาใดๆเลย การก้าวข้ามภาษาไปสู่ความจริง เป็นจุดมุ่งหมายของพระธรรมต่างๆ ที่ตรัสสอนให้เข้ากับจริตผู้ฟัง รวมถึงเหตุการณ์ สถานการณ์ ซึ่งทรงยกขึ้นมาอ้าง เพื่อทำให้ผู้ฟังเกิดปัญญาบรรลุธรรมได้ โดยการคลายตัวตนและความยึดมั่นทั้งปวง ด้วยสติ สมาธิ ปัญญา ที่เกิดจากธรรมนั้นๆ
 
ท่านมหากัสสปะเถระ เป็นสังฆปรินายกองค์ที่ 1 (สายอินเดีย) ของนิกายเซน (ธยานะหรือฌาน) ที่ได้รับการถ่ายทอดธรรมะจากพระพุทธองค์โดยไม่ผ่านอักษรภาษาใดๆ ทั้งสิ้น เพียงพระพุทธองค์ ยกดอกบัวขึ้นตรงหน้า ท่ามกลางการเทศนาธรรมต่อพระพุทธสาวกจำนวนมาก มีเพียงท่านมหากัสสปะพระองค์เดียวที่เข้าใจในธรรมนั้น ท่านได้รับการยกย่องจากพระสัมมาสัมพุทธะหลายประการ นับได้ว่าท่านเป็นพระมหาสาวกองค์เดียวที่มีภูมิธรรมและคุณสมบัติทัดเทียมพระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระศาสดา ซึ่งพระพุทธองค์ได้ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลายที่เชตวันว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราหวังเพียงใด ก็ย่อมสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว เข้าถึงฌานที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ สัญญาเวทยิตนิโรธ แล้วแลอยู่ได้ตลอดกาลเพียงใด ภิกษุทั้งหลาย แม้กัสสปะก็ดุจเดียวกัน เธอหวังเพียงใดก็ย่อมเข้าถึง ฯลฯ”
 
ท่านมหากัสสปะถ่ายทอดธรรมจากจิตสู่จิต สืบต่อมาทางพระอานนท์ สังฆปรินายกองค์ที่ 2 สายอินเดีย จนกระทั่งถึงท่านโพธิธรรมครูบา สังฆปรินายกองค์ที่ 28 สายอินเดีย และนับเป็นสังฆปรินายกองค์ที่ 1 สายจีน เมื่อท่านเดินทางเข้าสู่ประเทศจีน และสืบทอดนิกายเซน สู่สังฆปรินายกองค์ที่ 2 สายจีน จนกระทั่งถึงท่านเว่ยหล่าง สังฆปรินายกองค์ที่ 6 สายจีน ซึ่งเป็นองค์สุดท้ายที่ทำให้เซน เจริญแพร่หลายอย่างมากในประเทศจีน ด้วยเหตุนี้พุทธนิกายฝ่ายมหายาน โดยเฉพาะนิกายเซน (ธยานะ) ซึ่งถ่ายทอดธรรมะด้วยจิตสู่จิตนี้ โดยมีท่านมหากัสสปะ ผู้ซึ่งได้รับการถ่ายทอดธรรมะจากจิตสู่จิตโดยตรงจากพระพุทธองค์ และพระอานนท์ผู้ได้รับการถ่ายทอดธรรมะแบบจิตสู่จิตจากท่านมหากัสสปะ จึงได้รับการก่อสร้างเป็นพระพุทธรูป ที่อยู่เบื้องซ้ายและขวาของพระผู้มีพระภาคเจ้า ต่างจากฝ่ายหินยาน ซึ่งมีพระอัครสาวกพระสารีบุตรและพระโมคคัลานะอยู่เบื้องขวาและซ้ายแทน
 
พระสังฆปรินายกองค์ที่ 1 ถึงองค์สุดท้าย ของนิกายเซน (ธยานะ)

1 พระมหากัสสปะเถระ
2 พระอานนท์เถระ
3 พระสันนวสเถระ
4 พระอุปคุปตเถระ
5 พระธริตกเถระ

6 พระมฉกเถระ
7 พระวสุมิตรเถระ
8 พระพุทธนันทิเถระ
9 พระพุทธมิตรเถระ
10 พระปารสวเถระ

11 พระปุณยยสัสเถระ
12 พระอัสวโฆส มหาโพธิสัตว์
13 พระกปิมลเถระ
14 พระนาคารชุน มหาโพธิสัตว์
15 พระคนเทวเถระ

16 พระราหุลตเถระ
17 พระสังฆนันทิเถระ
18 พระสังฆยสัสเถระ
19 พระกุมราตเถระ
20 พระชยตเถระ

21 พระวสุพันธุเถระ
22 พระมโนรหิตเถระ
23 พระฮักเลนยสัสเถระ
24 พระสินหเถระ
25 พระพสยสิตเถระ

26 พระปุณยมิตรเถระ
27 พระปัญญาตาระเถระ
28 พระมหาโพธิธรรมครูบา ( องค์ที่ 1 สายจีน )
29 พระฮุ่ยเข่อมหาครูบา ( องค์ที่ 2 สายจีน )
30 พระซังซานมหาครูบา ( องค์ที่ 3 สายจีน )

31 พระตูชุนมหาครูบา ( องค์ที่ 4 สายจีน )
32 พระฮวางยานมหาครูบา ( องค์ที่ 5 สายจีน )
33 พระเว่ยหล่างมหาครูบา ( องค์ที่ 6 สายจีน )

 
ท่านโพธิธรรมมหาครูบาหรือพระอาจารย์ตั๊กม้อ พระภิกษุชาวอินเดีย ได้รับการทำนายจาก พระสังฆราชปัญญาตาราเถระ พระสังฆปรินายกองค์ที่ 27 สายอินเดีย ที่เล็งเห็นว่าหากท่านดับขันธ์ลงไปแล้ว 67 ปี บ้านเมืองจะเกิดภัยสงครามที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ด้วยปัญญาบารมีของท่านโพธิธรรมที่สูงส่งนั้น ท่านควรจะออกจาริกเพื่อเผยแพร่พระธรรมอันสำคัญ(สุญตา)นี้ ไปยัง ณ ประเทศจีน ท่านได้มอบ บาตร จีวร สังฆาฏิ ของพระสัมมาสัมโพธิญาน ที่ตกทอดมาตั้งแต่ท่านมหากัสสปะ สังฆปรินายกองค์ที่ 1 และภาระหน้าที่การสืบทอดธรรมะนิกายเซนจากจิตสู่จิต ให้กับท่านโพธิธรรมมหาครูบา สังฆปรินายกองค์ที่ 28 รับช่วงต่อไป
 
เมื่อท่านโพธิธรรมมหาครูบา พระชันษาได้ 120 ปี ได้ลงเรือโต้คลื่นฝ่ามรสุมถึง 3 ปี มาถึงเมืองกวางโจว ณ วันที่ 21 ค่ำเดือน 9 พ.ศ. 1070 สมัยราชวงศ์เหลียงหวู่ตี้ พระเจ้าเหลียงหวู่ตี้เป็นผู้ที่ศรัทธาพุทธศาสนาอย่างสูง พอทรงทราบข่าวว่าท่านโพธิธรรมเดินทางมาถึงประเทศจีนแล้ว ทรงพอพระทัยอย่างยิ่ง มีพระกระแสรับสั่งอาราธนาท่านโพธิธรรม (พระอาจารย์ตั๊กม้อ) เข้าเฝ้า ยังนครนานกิงซึ่งเป็นเมืองหลวง ท่านโพธิธรรมรับนิมนต์ เข้าเฝ้าพระเจ้าเหลียงหวู่ตี้ และได้ถกปัญหาธรรมกับพระองค์ พระเจ้าเหลียงหวู่ตี้ถามว่า ตัวท่านได้สร้างวัดวาอารามและวิหาร ทำนุบำรุงสงฆ์อีกทั้งโปรยทาน ไม่ทราบว่าเป็นบุญกุศลมากน้อยเท่าใด ท่านโพธิธรรมตอบว่า นี่ยังไม่อาจกล่าวได้ว่าเป็นกุศล เป็นเพียงบุญกริยาทางโลกหรือเทวสมบัติเท่านั้น กุศลที่แท้จริงนั้น คือความรู้แจ้งทางจิต ไม่อาจเข้าถึงโดยวิธีทางโลก

ท่านโพธิธรรมเห็นว่าพระเจ้าเเหลียงหวู่ตี้มีภูมิปัญญาที่ยังไม่แก่กล้าพอที่จะบรรลุธรรม จึงทูลลา เดินทางข้ามแม่น้ำแยงซีไปยังภาคเหนือแคว้นเป่ยวุ่ย ส่วนพระเจ้าเหลียงหวู่ตี้ถามธรรมาจาย์ปอจี่เซียงซือว่า ท่านโพธิธรรมกล่าวเช่นนั้นถูกต้องหรือ? ท่านปอจี่เซียงซือตอบว่า ฝ่าพระบาทได้พบท่านเหมือนไม่ได้พบ ได้เห็นท่านเหมือนไม่ได้เห็น พระสังฆราชโพธิธรรมมหาครูบา คือพระกวนอิมมหาโพธิสัตว์อวตารลงมาทีเดียว ทำให้พระเจ้าเหลียงหวู่ตี้เสียพระทัยมาก มีรับสั่งให้รีบไปอาราธนาท่านโพธิธรรมกลับมา แต่ท่านปอจี่เซียง ซือ ทูลว่าไร้ประโยชน์ ต่อให้ส่งคนทั้งประเทศไปทูลเชิญท่านก็ไม่ยอมกลับมา
 
ท่านโพธิธรรมข้ามแม่น้ำแยงซีเดินทางมาถึงวัดเส้าหลิน บนเขาซงซาน มณฑลเหอหนาน นับเป็นสังฆปรินายกองค์ที่ 1 สายจีน ท่านหันหน้าเข้าผนังถ้ำ นั่งสมาธิตลอดวันตลอดคืน โดยมีท่านซิ่งกวง (หรือท่านฮุ่ยเข่อ) ซึ่งติดตามมาด้วยความศรัทธาคอยเฝ้าปรนนิบัติ
 
คืนวันที่ 29 ค่ำ ปีไท่เหอที่ 10 ภิกษุซิ่งกวงยืนสงบอยู่หน้าถ้ำ ท่ามกลางหิมะที่ตกหนักจนกระทั่งสูงท่วมถึงเข่า ท่านโพธิธรรมถามท่านว่า “ท่านมายืนตากหิมะตลอดคืน เพื่ออะไร?”
 
ภิกษุซิ่งกวงตอบว่า “ขอท่านอาจารย์โปรดเปิดประตูมรรคผล ชี้ทางพุทธะแก่ศิษย์ด้วยเถิด” และถามต่อว่า “หัวใจแห่งธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นสิ่งที่จะพูดหรือแสดงให้เห็นและฟังได้ไหม?”
 
ท่านโพธิธรรมจึงกล่าวว่า “เจ้าอาศัยความตั้งใจเพียงเล็กน้อยมาแสวงหาธรรมะอันยิ่งใหญ่ ศรัทธาของเจ้ามีแค่ไหนกัน?”
 
ภิกษุซิ่งกวงจึงตัดแขนซ้ายของตนเองขาดลงทันที ท่านโพธิธรรมเห็นท่านซิ่งกวงปลงตกในสังขารอันไม่เที่ยงเพื่อแสวงหาโมกขธรรม จึงถามว่าธรรมะใดที่ภิกษุซิ่งกวงอยากรู้จากท่าน
 
“ขอให้อาจาย์ช่วยทำให้จิตของศิษย์สงบด้วย” ภิกษุซิ่งกวงบอกออกไป ท่านโพธิธรรมจึงสั่งให้ภิกษุซิ่งกวงส่งจิตของตัวเองให้ท่าน
 
“ศิษย์หาจิตอยู่นานแต่ไม่พบ” ภิกษุซิ่งกวงกล่าวตอบ
 
“ถ้าหาพบจะเป็นจิตของเจ้าได้อย่างไร…” ทันทีที่ท่านโพธิธรรมเอ่ยด้วยเสียงกังวานเช่นนั้น ฉับพลันท่านซิ่งกวงเกิดความสว่างไสว เข้าถึงความว่างเปล่าของจิตเดิม บรรลุธรรมทันที
 
“เราทำให้จิตของเจ้าสงบแล้ว…” ท่านโพธิธรรมกล่าว และตั้งฉายาให้ใหม่ว่า ฮุ่ยเข่อ แล้วถ่ายทอด บาตร จีวร สังฆาฏิ และธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้กับท่านฮุ่ยเข่อมหาครูบา สังฆปรินายกองค์ที่ 2 สายจีน ของนิกายเซน ประเทศจีน เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนาต่อไป และได้กล่าวโศลกไว้ว่า
 
ฉันเดินทางมาถึงแผ่นดินนี้
ถ่ายทอดธรรมช่วยผู้หลงงมงายอารมณ์
หนึ่ง-ดอกไม้บานครบ 5 กลีบแล้ว
ผลที่สุดธรรมชาติจะปรากฎขึ้นมาเอง

 
เมื่อใกล้จะมรณภาพ ท่านโพธิธรรมได้เรียกประชุมศิษย์ต่างๆ และกล่าวกับท่านฮุ่ยเข่อว่า
 
ให้ปลูกกุศลจิตแก่ชาวจีน ด้วยการหว่านเชื้อเมล็ดพืชพันธุ์แห่งพุทธะเพื่อบุกเบิกทางแห่งอริยภูมิไว้ 200 ปีหลังจากที่ท่านดับขันธ์ จะมีพระโพธิสัตว์มาตรัสรู้ธรรม โดยท่านผู้นี้จะทำให้ธรรมะที่ท่านสั่งสอนด้วย “จิตสู่จิต” เจริญก้าวหน้า และทำให้มีผู้บรรลุธรรมจักษุเป็นจำนวนมาก
พระเจ้าเหลียงหวู่ตี้ ได้พระราชทานสมณศักดิ์ให้ท่านฮุ่ยเข่อว่า “ไต้โจ้วเซียงซือ” ท่านนั่งสมาธิดับขันธ์ในฌานสมาบัติเมื่ออายุ 107 พรรษา
 
สังฆปรินายกองค์ที่ 3 มีนามว่าท่านเจิงชาน
สังฆปรินายกองค์ที่ 4 มีนามว่าท่านเต้าสิน
สังฆปรินายกองค์ที่ 5 มีนามว่าท่านหงเญิ่น
 
และสุดท้ายสังฆปรินายกองค์ที่ 6 สายจีน มีนามว่าท่านฮุ่ยเหนิงหรือท่านเว่ยหล่าง ซึ่งนับว่าเป็นปรมาจารย์ของนิกายเซน ที่ได้พัฒนาเซนให้มีความรุ่งเรืองและมีลักษณะอย่างจีนโดยสมบูรณ์ คำสอนของท่าน ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้เรียกว่า “สูตรของเว่ยหล่าง” เป็นคำสอนของภิกษุจีนเพียงเล่มเดียว ที่ได้รับการยกย่องเปรียบเสมอด้วยพระสูตรในพระไตรปิฎก นับได้ว่าท่านเป็นมหาบุรุษคนหนึ่งของจีนเช่นเดียวกับ เหลาจื้อ จวงจื้อ ขงจื้อ และเมิ่งจื้อ

 
 
 


 
- ประวัติของพระสังฆปรินายกองค์ที่ 1-6 หาอ่านได้โดยละเอียด
จากหนังสือ ศิษย์โง่ไปเรียนเซน เล่ม 1 – ธีรทาส
หรือจากการ์ตูนปรัชญาประทีปแห่งเซน – ถาวร สิกขโกศล
(มีภาพปะกอบสวยงามโดย ไช่จื้อจง )
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=suparatta&month=06-2006&date=09&group=14&gblog=5
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 06 ตุลาคม 2553 19:51:14 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 2.0.0.20 Firefox 2.0.0.20


ดูรายละเอียด
« ตอบ #5 เมื่อ: 22 มกราคม 2553 14:32:51 »




เซนอยู่รอดได้อย่างไร

โดย สุภารัตถะ

ถ้านับพระสังฆปรินายกจากทางสายอินเดีย ท่านเว่ยหล่างเป็นสังฆปรินายกองค์ที่ 33 หรือเป็นสังฆปรินายกองค์ที่ 6 หากนับจากทางสายจีน และเป็นสังฆปรินายกองค์สุดท้ายที่ได้รับ บาตร จีวร สังฆาฏิ และการถ่ายทอดธรรมะจากสังฆปรินายกองค์ก่อน เนื่องด้วยเพราะนิกายเซนสมัยเริ่มแรกในจีนยังไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลาย จึงมีการสืบทอดตำแหน่งด้วย บาตร จีวรและสังฆาฏิ แต่พอมาถึงยุคของท่านนั้น สิ่งเหล่านี้ กลับกลายเป็นวัตถุสัญลักษณ์ของตำแหน่งสังฆปรินายก แทนที่จะเป็นพระธรรมอันสำคัญแท้จริง ทำให้เกิดการแย่งชิงตำแหน่งสังฆปรินายก โดยการแก่งแย่งเพื่อที่จะครอบครองวัตถุเหล่านี้แทน วัตถุเหล่านี้ซึ่งจะเป็นต้นเหตุแห่งภัยภิบัติที่จะเกิดขึ้นอย่างใหญ่หลวง สังฆปรินายกองค์ที่ 6 จึงยุติการสืบทอดตำแหน่งสังฆปรินายกลงเสีย และมอบสิ่งที่สำคัญกว่านั้น คือการรู้แจ้งฉับพลัน ให้กับศิษยานุศิษย์เป็นจำนวนมาก นับเป็นยุคเจริญสูงสุดของเซนอย่างไม่มีประมาณ
 
ปี พ.ศ. 1081 ในคืนที่ท่านเว่ยหล่างได้จุติลงมาเกิดนั้น มารดาของท่านนิมิตฝันเห็นดอกไม้หน้าบ้านบานขาวสะพรั่งไปหมด ส่งกลิ่นหอมฟุ้งขจรไปทั่วเมือง หงษ์ขาวสองตัวบินร่อนอยู่บนฟากฟ้า นางเกิดศรัทธาจึงถือศีลกินเจ และอุ้มท้องอยู่นานถึง 6 ปี จึงคลอดบุตรออกมาเป็นผู้ชาย ขณะที่คลอดบุตรชายนั้น มีแสงสว่างพวยพุ่งเป็นรัศมีออกจากบ้านเด่นตระหง่านท่ามกลางนภาอยู่จนถึงรุ่งเช้าอย่างมหัศจรรย์ มีภิกษุแปลกหน้า 2 รูป ได้เดินทางมาถึงบ้าน และบอกบิดาของท่านว่า ฉันรู้ว่าภรรยาของท่านคลอดบุตรชายเป็นเด็กที่มีบุญมาก ฉันขอตั้งชื่อให้ว่า “เว่ยหล่าง”หมายถึงมีเมตตากรุณาในการให้ธรรมะเป็นทานไปยังสรรพสัตว์ และมีความสามารถที่จะทำหน้าที่ของพระพุทธเจ้า ภิกษุทั้งสองกล่าวลาและหายออกไปจากบ้านทันที
 
เมื่อท่านเว่ยหล่างอายุ 3 ขวบ บิดาท่านถึงแก่กรรม มารดาท่านต้องทำหน้าที่เลี้ยงดูบุตรด้วยความยากลำบาก ไม่สามารถส่งบุตรให้ศึกษาเล่าเรียนได้ ท่านเว่ยหล่างจึงไม่สามารถอ่านเขียนได้
 
เมื่อท่านเว่ยหล่างเติบโต จึงเลี้ยงดูมารดาด้วยการตัดฟืนขาย จนกระทั่งอายุ 24 ปี ได้พบอุบาสกท่านหนึ่งกำลังสาธยายพระสูตรวัชรปรัชญาปารมิตา เมื่อท่านได้ยินข้อความในพระสูตร จิตใจของท่านบังเกิดความสว่างไสวในพระธรรม จึงถามชายผู้นั้นว่าได้ศึกษาพุทธรรมจากที่ไหน..ท่านได้ฝากเพื่อนบ้านดูแลมารดา และออกเดินทางไปพบท่านหงเญิ่น สังฆปรินายกองค์ที่ 5 ที่เขาหวงเหมย มณฑลเหอเป่ย ท่านรีบเข้าไปนมัสการและมอบตัวเป็นศิษย์ แต่ท่านหงเญิ่นเอ่ยว่า “มาจากเมืองซันโจว มณฑลกว้างตุ้ง เป็นคนบ้านนอกคอกนา (ชาวใต้) จะบรรลุธรรมได้หรือ” ท่านเว่ยหล่างจึงตอบว่า “คนแบ่งเป็นชาวเหนือชาวใต้ แต่การบรรลุธรรมไม่แบ่งแยก พุทธภาวะในตัวมิได้ต่างกัน” ท่านหงเญิ่นรับรู้ถึงสติปัญญาของท่านเว่ยหล่างแต่มิได้แสดงออก สั่งให้ท่านเว่ยหล่างไปทำงานตัดฟืนตำข้าวถึง 8 เดือนโดยมิได้ให้บวช
 
จนกระทั่งวันหนึ่ง ท่านหงเญิ่นเรียกประชุมศิษย์เพื่อให้เขียนโศลกธรรม ใครเป็นผู้บรรลุธรรม ท่านจะมอบบาตรและจีวรให้ ในบรรดาศิษย์ของท่านนั้นมีท่านเสินชิ่ว เป็นผู้ที่ทุกคนคาดหมายว่าจะได้รับสืบทอดบาตรและจีวร ดังนั้นบรรดาศิษย์ทั้งหลายจึงไม่ได้คิดจะเขียนโศลกเข้าแข่งขัน ท่านเสินชิ่วเขียนโศลกขึ้นที่ฝาผนังว่า

กายหรือคือต้นโพธิ์
จิตเหมือนกระจกเงาใส
หมั่นเพียรเช็ดปัดไว้
อย่าปล่อยให้เกิดธุลี

 
วันหนึ่งท่านเว่ยหล่างได้ยินภิกษุผู้หนึ่งท่องโศลกบทนี้ ท่านจึงถามว่าเป็นโศลกของผู้ใด ช่วยพาท่านไปดูด้วยเถิด และขอร้องให้เขียนโศลกของท่านไว้ที่ฝาผนังด้วย แม้จะถูกดูถูกว่าเป็นคนต่ำต้อย จะมีปัญญาแต่งโศลกได้หรือ ท่านก็ตอบว่า คนต่ำต้อยอาจมีปัญญาสูงส่ง คนสูงส่งอาจไม่มีปัญญาก็ได้ ท่านเว่ยหล่างได้กล่าวโศลกให้เขียนลงบนผนังว่า
 
โพธิ์นั้นเดิมไร้ต้น
กระจกใสหาใช่มี
เมื่อทุกสิ่งว่างเปล่า
ธุลีเล่าจักเกิดตรงที่ใด

 
เมื่อภิกษุทั้งหลายได้อ่านโศลกนี้ถึงกับตะลึงในภูมิธรรมของท่าน และคิดว่าท่านเป็นโพธิสัตว์จุติลงมาเกิด อาจารย์หงเญิ่นทราบเข้าจึงให้ลบโศลกนี้ทิ้ง และมิให้ใครเห็นว่าโศลกนี้สำคัญ ด้วยเกรงว่าท่านเว่ยหล่างจะมีภัย จากนั้นสามวันถัดมา ท่านนัดแนะท่านเว่ยหล่างเวลาเที่ยงคืน ให้มาหาที่ห้องของท่านโดยไม่ให้ใครรู้ คืนนั้นท่านได้อธิบายข้อธรรมอันลึกซึ้งในวัชรปรัชญาปารมิตาสูตร เมื่อถึงข้อความที่ว่า…คนเราควรใช้จิตตน ในวิถีทางที่เป็นอิสระจากเครื่องข้องทั้งหลาย…ฉับพลันนั้นท่านเว่ยหล่างก็บรรลุธรรมโดยสมบูรณ์ เมื่อเห็นว่าท่านเว่ยหล่างบรรลุธรรมแล้ว ท่านหงเญิ่นจึงกล่าวว่า ผู้ที่รู้จิตตนและเห็นด้วยญาณปัญญาในธรรมชาติแท้ของตน ผู้นั้นย่อมเป็นครูของเทวดาและมนุษย์ ท่านได้กล่าวต่อว่า เมื่อท่านโพธิธรรมเดินทางมาสู่ประเทศจีน ชาวจีนส่วนใหญ่ไม่เคารพศรัทธา บาตรและจีวรนี้จึงเกิดเป็นธรรมเนียม สืบทอดต่อกันในฐานะที่เป็นเครื่องหมาย แต่สำหรับธรรมะนั้นถ่ายทอดจากจิตสู่จิต ไม่เกี่ยวกับคัมภีร์และผู้รับมอบ ผู้นั้นต้องเห็นธรรมะด้วยความพยายามของตนเองโดยเฉพาะ นับแต่อดีตกาล พระพุทธเจ้าก็จะมอบหัวใจคำสอนของพระองค์ ให้แก่ผู้ที่จะสืบอายุพระพุทธศาสนาต่อไป แม้สังฆปรินายกองค์ต่อๆ มา ก็ย่อมมอบคำสอนอันเร้นลับโดยตัวต่อตัวด้วยความรู้ทางใจ ส่วนบาตรและจีวรนี้ ท่านจะเป็นคนสุดท้ายที่ได้รับ ชีวิตของท่านกำลังอยู่ท่ามกลางอันตราย ขอจงไปเสียจากที่นี่โดยเร็วที่สุด
 
เมื่อได้รับมอบบาตรและจีวรแล้ว ท่านหงเญิ่นได้มาส่งท่านเว่ยหล่างออกเดินทาง ก่อนจากกันท่านสำทับว่า อย่าด่วนทำการเผยแพร่ให้เร็วเกินไป เพราะว่าพุทธธรรมนี้ (เซน) ไม่เป็นของที่จะเผยแพร่ได้ง่าย ท่านเว่ยหล่างต้องระหกระเหินและหลบซ่อนตัวอยู่ในป่าถึง 15 ปี ด้วยสาเหตุจากการแย่งชิงบาตรและจีวรเพื่อตำแหน่งสังฆปรินายก จากผู้ที่ไม่สามารถจะเข้าถึงความสำคัญแท้จริงของพระธรรม หากแต่มุ่งหวังในตำแหน่งเกียรติยศที่หาประโยชน์อันใดไม่ได้ ซึ่งบุคคลเช่นนี้ ไม่ว่าอดีต ปัจจุบัน หรืออนาคต ก็ยังคงมีอยู่เป็นจำนวนมากอย่างไม่เคยสูญหาย
 
ท่านเว่ยหล่างซ่อนตัวอยู่กับพวกพรานป่า ที่ตำบลโซกาย จนกระทั่งวันหนึ่งท่านได้รำพึงในใจว่า ไม่ควรซ่อนตัวเช่นนี้ตลอดไป ท่านควรจะประกาศธรรม จึงออกจากสถานที่นั้นเดินทางไปสู่อาวาสฟัดฉิ่น นครกวางตุ้ง ขณะนั้นภิกษุเยนซุงกำลังเทศนาด้วยมหาปรินิรวารสูตร ในวันนั้นมีลมพัดธงริ้วสะบัดพลิ้วอยู่ พระภิกษุสองรูปจึงถกเถียงกันว่า สิ่งที่กำลังไหวอยู่นั้นได้แก่ลมหรือธงกันแน่ ท่านเว่ยหล่างได้ยินเช่นนั้น จึงตอบว่าไม่ใช่ลมและธง แท้จริงที่สั่นไหวอยู่คือจิตของเธอทั้งสอง ทำให้ภิกษุทั้งหลายในที่ประชุมพากันตื่นตะลึงกับคำตอบที่ท่านเว่ยหล่างกล่าว ภิกษุเยนซุงจึงอาราธนาท่านสู่อาสนะอันสูง และได้ซักถามปัญหาในพระสูตรสำคัญๆ หลายพระสูตร เมื่อได้รับคำตอบที่ชัดเจนแจ่มแจ้ง เป็นคำตอบที่ลึกซึ้งสูงยิ่งไปกว่าความรู้ที่จะหาได้จากตำรา ภิกษุเยนซุง จึงกล่าวแก่ท่านเว่ยหล่างว่า ท่านจะต้องเป็นบุคคลพิเศษเหนือธรรมดา ท่านคือผู้ที่รับบาตร จีวรและธรรมะจากสังฆปรินายกองค์ที่ 5 เป็นผู้ที่ได้เดินทางลงมาทางทิศใต้เสียแน่แล้ว ท่านเว่ยหล่างได้แสดงกริยายอมรับ ภิกษุเยนซุงขอให้ท่านเว่ยหล่างนำบาตรและจีวร ออกมาให้ในที่ประชุมดู และถูกซักถามถึงพระธรรมเร้นลับที่ได้รับมอบจากสังฆปรินายกองค์ก่อน ท่านตอบว่า นอกจากการขุดคุ้ยด้วยเรื่องการเห็นแจ้งชัดในจิตเดิมแล้ว ท่านไม่ได้ให้คำสอนอะไรอีก
 
หลังจากการถามตอบและแสดงธรรมจนเป็นที่พอใจ ท่านเยนซุงถึงกับกล่าวว่า “คำอธิบายในพระสูตรที่ข้าพเจ้าอธิบายไปแล้วนั้น ไร้มูลค่าเช่นเดียวกับกองขยะอันระเกะระกะ ส่วนคำอธิบายของท่านเปรียบเหมือนทองคำเนื้อบริสุทธ์” จากนั้นท่านได้จัดการประกอบพิธีปลงผมและอุปสมบทให้ท่านเว่ยหล่างเป็นภิกษุในพุทธศาสนา และขอร้องให้ท่านเว่ยหล่างรับท่านเป็นศิษย์ จากนั้นสังฆปรินายกองค์ที่ 6 ท่านเว่ยหล่างครูบาก็เริ่มประกาศธรรม แม้ว่าจะต้องตกระกำลำบากเท่าใดท่านก็มิได้ย่อท้อ ท่านเว่ยหล่างเดินทางมายังเมืองเฉ้าชี บรรดาศิษยานุศิษย์สร้างสถานธรรมถวาย ท่านจึงพำนักและแสดงธรรมอยู่ที่นั่น
 
สำนักบรรลุฉับพลัน นิกายใต้ ของท่านเว่ยหล่าง เป็นที่รู้จักและเผยแพร่ธรรมะออกไปอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ศิษย์ของท่านเว่ยหล่างมีโดดเด่นอยู่ 5 ท่าน คือ ท่านหวยญ่างแห่งหนันย่วน ท่านซิงซือแห่งชิงหยวน ท่านสวนเจี๋ยแห่งหย่งเจีย ท่านฮุยจงแห่งหนันหยาง และท่านเสินฮุ่ยแห่งเหอเจ๋อ
 
เมื่อท่านหวยญ่างบรรลุธรรม ท่านเว่ยหล่างได้กล่าวแก่ท่านหวยญ่างว่า สังฆปรินายกองค์ที่ 27 พระปัญญาตาระเถระ ได้พยากรณ์ไว้ว่าศิษย์ของท่านหวยญ่างผู้หนึ่ง จะเป็นประดุจม้าอาชาไนย ผาดโผนไปทั่วแผ่นดิน นั่นก็คือท่านหม่าจูเต้าอี
 
ท่านไป่จ้าง ศิษย์คนสำคัญของท่านหม่าจูเต้าอี เมื่อท่านได้เป็นอาจารย์ใหญ่ต่อจากท่านหม่าจู คณะสงฆ์เซนเจริญรุ่งเรืองขึ้นอย่างมาก ทำให้ท่านได้กำหนดระเบียบข้อปฏิบัติของภิกษุนิกายเซน โดยเรียกกันภายหลังว่า “ปาริสุทธิ์วินัยไป่จ้าง” นับว่าเป็นรากฐานการจัดระเบียบการรวมกลุ่มเป็นหมู่คณะของสงฆ มีข้อกำหนดหน้าที่และกิจวัตรประจำวันของเจ้าอาวาสและลูกวัดไว้โดยละเอียด ทั้งยังบัญญัติไว้ด้วยว่า ผู้ที่จะออกบวชต้องรักษาศีล 5 ให้บริบูรณ์ และรักษาศีลของสามเณรเพิ่มอีก 5 ข้อ คือ ไม่กินอาหารยามวิกาล ไม่นอนบนที่นอนสูงใหญ่ ไม่ใช้เครื่องหอม ไม่ดูการฟ้อนรำ และไม่จับต้องเงินทอง อีกทั้งกำหนดให้ภิกษุเซนทำนาปลูกผัก แม้แต่เจ้าอาวาสก็ต้องทำ นับเป็นกฎระเบียบที่ปรับให้เหมาะกับประเทศจีนอย่างยิ่ง อีกทั้งมีความสำคัญ ซึ่งทำให้นิกายเซนอยู่รอดโดยไม่ต้องพึ่งพาการบิณฑบาต โดยเฉพาะฤดูหนาวที่อากาศหนาวเหน็บนั้น แม้แต่ชาวบ้านก็ยากลำบากต่อการทำมาหาเลี้ยงครอบครัวตัวเอง
 
ท่านเว่ยชานหลิวอิ้ว ศิษย์คนสำคัญของท่านไป่จ้าง ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งเซนสำนักเว่ยหล่าง ต้องเผชิญกับภัยพิบัติที่เกิดกับชาวพุทธครั้งใหญ่ ปี พ.ศ. 1288 พระเจ้าถังหวู่จงดำเนินการกวาดล้างพุทธศาสนา โดยอ้างว่าเศรษฐกิจย่ำแย่ วัด 44,600 กว่าแห่งถูกทำลาย ภิกษุและภิกษุณีถูกจับสึก บ้างถูกจับไปเป็นทาส มหันตภัยครั้งนี้ ทำให้พุทธศาสนานิกายอื่นๆ เสื่อมโทรมถูกทำลาย แต่นิกายเซนยังคงอยู่รอด เพราะเซนไม่ติดคัมภีร์ ไม่ติดวัตถุ แม้สิ่งเหล่านั้นถูกทำลาย ชาวพุทธนิกายเซนก็ยังคงปฏิบัติธรรมได้ อีกทั้งภิกษุแลภิกษุณีนิกายเซน ทำนาปลูกผักพึ่งพาตัวเอง ไม่ต้องอาศัยฆราวาส นับเป็นญานทัศนะอันยาวไกลของท่านไป่จ้าง ที่เข้าใจระบบสังคมจีน ยังประโยชน์มหาศาลในการปฏิบัติพุทธนิกายเซน ให้สามารถดำรงอยู่แม้ในยามคับขัน และสามารถถ่ายทอดหัวใจคือแก่นของพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองสืบมา โดยไม่ต้องติดยึดกับเปลือกภายนอกอย่างแท้จริง

 


http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=suparatta&month=11-2005&date=17&group=14&gblog=4
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09 ตุลาคม 2553 14:19:52 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 2.0.0.20 Firefox 2.0.0.20


ดูรายละเอียด
« ตอบ #6 เมื่อ: 22 มกราคม 2553 14:38:33 »




เซนมุ่งปฏิบัติ มหายานมุ่งช่วยเหลือ
โดย สุภารัตถะ
 
ประเทศไทยนับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาทหรือหินยาน โดยแบ่งออกเป็นสองฝ่ายคือ ธรรมยุตินิกาย และมหานิกาย มีทางสายเอกเป็นหัวใจของการปฏิบัติคือ สติปัฏฐานสี่ คือ
 
กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน
จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน
และธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน

 
แม้จะมีสติปัฏฐานสี่เป็นหัวใจหลักของการปฏิบัติ แต่พุทธบริษัทส่วนใหญ่ก็ใช่ว่าจะจับหลักในการปฏิบัตินี้ได้ ยังคงคุ้นเคยกับประเพณีและรูปแบบพิธีกรรมต่างๆ อีกทั้งมีการพัฒนาพิธีกรรมต่างๆ ให้ดูตระการตา ทันสมัย ยิ่งใหญ่น่าศรัทธา ในรูปแบบต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว จนบางครั้งก็กลับหลงกลเข้าไปติดกับเสียเอง กับการไม่กล้าแตะต้องตัวพิธีกรรม ซึ่งแท้จริงก็พัฒนาการมาจากฝีมือมนุษย์เองด้วยความยึดมั่นจนยากจะปล่อยวาง ส่วนพุทธบริษัทบางกลุ่ม อาจไม่สนใจเปลือกนอกเหล่านี้ แต่สนใจการศึกษาอภิธรรมด้านปริยัติ เพลินกับการตีความและติดยึดตัวหนังสือ จนยากต่อการเข้าถึงหัวใจของพุทธได้เช่นกัน ส่วนบางกลุ่มก็มุ่งมั่นฝึกสมาธิ เปรียบได้กับคนที่มีกำลังดี แต่แทนที่จะเอากำลังนั้นไปทำลายกิเลส ก็หลงเอากำลังนั้นมาเสริมกิเลสแทน ชมชอบให้ผู้อื่นยกย่อง มีฌานอภิญญาตั้งตัวเป็นบุคคลสำคัญ เต็มไปด้วยความโลภโกรธหลง
 
จะเห็นได้ว่าคำว่า “สติ” ที่ดูเหมือนจะเข้าใจง่ายแต่กลับทำไม่ง่าย และเพราะการขาดสัมมาทิฏฐิ จึงยากอย่างยิ่งต่อความเข้าใจ และการปฏิบัติให้ถูกต้อง
 
เช่นกัน พุทธศาสนานิกายมหายาน ซึ่งเจริญในเอเชียแถบประเทศ ญี่ปุน เกาหลี เวียดนาม ฯลฯ ก็ยากที่จะหนีปัญหาเหล่านี้ไปได้ ปัญหาที่พุทธศาสนิกชน ยากต่อการเข้าถึงแก่นแท้ของพุทธ แม้มหายานจะเน้นแนวทางโพธิสัตว์หรือพุทธภูมิ แต่ผู้ที่จะเป็นพระโพธิสัตว์ได้นั้น จะต้องเข้าใจถึงพุทธภาวะ และการบำเพ็ญบารมีเพื่อความแตกฉานในความรู้ทั้งปวง เพื่อช่วยสรรพสัตว์ให้มากที่สุดเข้าสู่ความจริง ดูจะเป็นการปฏิบัติได้ยากลำบากกว่าอรหันตภูมิของหินยานหลายเท่านัก เพราะผู้ที่หวังพุทธภูมินั้น นอกจากจะต้องเสียสละอดทนอดกลั้น เพียงพอที่จะสอนธรรมให้กับผู้อื่น โดยที่ตัวเองก็ยังต้องอยู่ในหนทางแห่งกองทุกข์แล้ว ยังจะต้องผ่านสถานการณ์อันยากลำบากในการสร้างบารมี เพื่อโพธิญาณในการช่วยเหลือผู้อื่นอย่างไม่มีประมาณ หนทางสายนี้อย่าว่าแต่กลีบกุหลาบเลย แม้แต่ผ้ากระด้างสักผืนที่จะปูรองเส้นทางก็คงหาได้มีไม่ ผู้ที่จะเดินบนเส้นทางสายนี้จึงต้องอาศัย ศรัทธา วิริยะ และขันติ อย่างยิ่งยวด จิตของผู้ที่จะเป็นพระสัมมาสัมโพธิญาณนั้น เป็นจิตที่ปุถุชนไม่อาจหยั่งได้เลย เพราะเปี่ยมไปด้วยเมตตาและปัญญา อันสุดจะคำนวณวัดได้ แต่ความเจริญในฝ่ายมหายาน ก็ดูจะไม่ต่างจากฝ่ายหินยาน พุทธบริษัทกลับให้ความสนใจแต่การสวดมนต์ อ้อนวอน ร้องขอ ทำให้รูปแบบพิธีกรรม ได้พัฒนาขึ้นหลายรูปแบบเช่นกัน จนผู้ที่ตระหนักถึงจุดหมายหลักในมหายาน ก็คงหาได้ยากที่จะเข้าใจได้จริง
 
ความจริงการนับถือพุทธมหายานนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย และอาจหมายถึง ไม่ใช่เรื่องที่จะเข้าใจได้ง่าย เพราะในการช่วยเหลือตัวเองเข้าสู่จิตเดิมของตนอย่างเถรวาท โดยมีพระวินัยและกฏระเบียบเคร่งครัด พุทธบริษัทยังยากจะเข้าใจที่จะปฏิบัติให้ถูก ยังติดอยู่ที่เปลือกเป็นส่วนใหญ่ ส่วนการช่วยเหลือสรรพสัตว์ของโพธิสัตว์อย่างมหายาน ยิ่งยากลำบาก จนจะมีสักกี่คนที่ทำความเข้าใจได้ หลายคนแม้เอ่ยปากว่าตัวเองเป็นพุทธ กลับเอาแต่ร้องขอให้เทพ พรหม พระโพธิสัตว์ หรือพระอรหันต์ ฯลฯ ให้มาช่วยเหลือตนในทางที่ไม่ค่อยสมควรนัก เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว จะมีสักกี่คนเล่า ที่จะรู้ว่า หินยาน มหายาน วัชรยาน สอนอะไรกับเราจริงๆ พระพุทธองค์ต้องเสียเวลาในการศึกษา เพื่อสอนเรื่องเหล่านี้กับพวกเรานานเพียงใด
 
แม้เซนจะถือว่าเป็นหนึ่งในนิกายฝ่ายมหายาน จุดมุ่งหมายอาจคล้ายหินยานในการมุ่งสู่จิตเดิม แต่การปฏิบัตินั้น ไร้รูปแบบ และมีความเป็นอิสระจากกฎเกณท์ต่างๆ อย่างสิ้นเชิง ทำให้หลายคนอาจจะนึกถึงนิกายวัชรยานหรือตันตระ แต่เซนก็เป็นเซน มีเอกลักษณ์ของตนอย่างสมบูรณ์แบบ เราอาจจะรู้สึกว่าหินยานนั้นเคร่งครัดและมีกฎระเบียบ แต่เซนไม่เป็นเช่นนั้น เราอาจจะรู้สึกว่ามหายานช่างงมงายในเทพเซียน และการอ้อนวอนพระโพธิสัตว์ แต่เซนไม่เป็นเช่นนั้น เราอาจจะรู้สึกว่าวัชรยานต้องเปี่ยมไปด้วยปัญญาในภาวะการรู้แจ้ง แต่เซนไม่เป็นเช่นนั้น การปรับตัวให้เรียบง่ายและอยู่รอด เข้าสู่ความจริงตามธรรมชาติ ทำให้เปลือกต่างๆ ของประเพณี พิธีกรรม หรือกฎเกณท์ที่เกิดจากความเชื่อต่างๆ ยากที่จะเข้ามาเกาะยึดอาศัยเซน จนทำให้หักเหคลาดเคลื่อนออกไปจากหัวใจของพุทธะ นี่นับได้ว่าเป็นข้อดีของเซนจริงๆ
 
สรรพสิ่งที่ผ่านกาลเวลา ย่อมถูกริดรอนหรือแต่งเติมไปตามธรรมดา บางส่วนถูกลดทอน บ้างถึงกับสูญหาย บางส่วนถูกแต่งเติม บ้างพอเหลือเค้า หรือถึงกลับแปรเปลี่ยนเป็นของใหม่ แม้ความจริงแท้ของธรรมยังคงอยู่ แต่คำสั่งสอนให้เข้าใจในธรรม ที่ต้องผ่านกาลเวลามาอย่างยาวนาน มีหรือจะไม่คลาดเคลื่อน แม้โชคดียังมีคำสอนเป็นต้นฉบับภาษาบาลี แต่การตีความในยุคปัจจุบัน ไปตามภาษาต่างๆ ในแต่ละประเทศที่พุทธศาสนาไปถึงนั้น ก็ต้องอาศัยผู้ทรงภูมิในทางธรรมอย่างสูง แม้แต่แปลออกมาได้ดีแล้ว ก็ยังต้องอาศัยผู้อ่านที่มีความเข้าใจได้แจ่มชัด ไม่ใช่รับรู้ความไปตามความเข้าใจของตน ยิ่งเป็นการจดจำคำต่อคำมากล่าวสอนกัน ทำให้เกิดปัญหาที่ว่า จะมีแต่การกล่าวตู่อ้างในพุทธพจน์ ว่าพระพุทธองค์ทรงตรัสสอนเช่นนั้นเช่นนี้ แต่จะมีสักกี่คน ที่เข้าใจคำสอนโดยไม่เข้าใจไปตามความคิดตน ซึ่งเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยากนัก เพราะถ้าหากผู้ฟัง ยังยากที่จะวางอัตตาตัวตน ธรรมนั้นเมื่อฟังแล้วเกิดการยึด ปล่อยวางลงไม่ได้ ก็รังแต่จะเป็นการเข้าใจไปในทางอคติ หรือเข้าใจไปตามที่เข้าข้างตนอยู่นั่นเอง โดยเฉพาะพระสูตรหลายพระสูตรของฝ่ายมหายาน หรือแม้แต่พระสูตรในพระไตรปิฎกฝ่ายหินยาน ซึ่งมีข้อธรรมมากมายที่ลึกซึ้ง ยากแก่การเข้าใจ หากครูบาอาจารย์ตีความไม่ถูกแล้ว ก็มีแต่จะเป็นเหตุให้อธิบายข้อธรรมนั้นๆ ไปตามความเข้าใจของตนเสียเอง โดยเหตุนี้นิกายเซน แม้จะมีคัมภีร์ก็ไม่ติดคัมภีร์ แม้จะมีกฎเกณฑ์แต่ก็อยู่เหนือกฎเกณฑ์ การดำรงชีวิตในสังคมย่อมต้องมีกฎเกณท์ แต่การเข้าถึงซึ่งความเข้าใจแท้ ย่อมไม่ยึดติดอยู่กับกฎเกณฑ์ใดๆ
 
หลายท่านอาจกล่าวว่า ตนเป็นหินยาน บ้างเป็นมหายาน บ้างเป็นเซน บ้างเป็นวัชรยาน แต่ผู้ที่เข้าถึงความว่างเปล่าของจิต อาจเป็นผู้ที่ไม่เคยศึกษาธรรมะตามทฤษฎีรูปแบบใดๆ เลยก็ได้ หากเราเห็นท่านที่ศึกษาด้านปริยัติ กลับมีทิฏฐิติดแน่นอยู่กับภูมิความรู้ของตนเสียแล้ว หรือพวกมหายานที่มีจิตใจคับแคบติดยึดกว่าพวกหินยานเสียอีก แบบนี้แล้ว การหลงคัมภีร์หรือทฤษฎี คงเป็นเรื่องน่ากลัวอย่างยิ่ง
 
อาจเป็นเพราะ ภาษามีข้อจำกัดอยู่มากมาย ยากจะอธิบายสัจจะภาวะได้ คำสอนของเซน จึงมุ่งให้ผู้ฟัง เข้าใจก้าวข้ามภาษาออกไป ตีฝ่าความลวงของอัตตา เข้าสู่ความจริงของสุญตา คำสอนส่วนใหญ่จึงมีลักษณะเป็นปริศนาธรรม (โกอาน) ตรึงให้ผู้ฟังขบคิดอย่างไร้ตัวตนเห็นจิตเดิมแท้ อีกทั้งการดำเนินชีวิตที่เรียบง่าย อาศัยแต่สิ่งจำเป็นต่อรูปขันธ์ สลัดเครื่องร้อยรัดทางวัตถุเกินความจำเป็น พึ่งพาตัวเองได้ ทำให้ผู้ปฏิบัติเซน ไม่ว่าจะเป็นนักบวชหรือฆราวาส สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างไม่เดือดร้อน
 
พระอาจารย์เซนรุ่นบุกเบิกที่โด่งดังอีกท่านหนึ่ง ท่านซ่านฮุ่ยโพธิสัตว์ ท่านมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในนามฟู่ต้าสื้อ ครั้งหนึ่งท่านได้รับการอาราธนาจากพระเจ้าเหลียงหวู่ตี้ เพื่อไปแสดงธรรมวัชรปรัชญาปารมิตตสูตร ท่านขึ้นธรรมาสน์แสดงธรรมโดยการเอาไม้เคาะธรรมาสน์นั้นจนเกิดเสียงดัง และลงมาจากธรรมาสน์นั้น โดยทูลถามพระเจ้าเหลียงหวู่ตี้ว่าเข้าใจธรรมะแล้วหรือยัง เพราะท่านแสดงธรรมจบแล้ว และอีกครั้งหนึ่ง ที่พระเจ้าเหลียงหวู่ตี้เห็นท่านสวมหมวกนักพรตเต๋า ห่มจีวรพระ และสวมรองเท้าลัทธิขงจื้อ พระเจ้าเหลียงหวู่ตี้ตรัสถามท่านซ่านฮุ่ยว่า ท่านเป็นพระหรือ? ท่านซ่านฮุ่ยกลับชี้ไปที่หมวก เมื่อถามว่าเช่นนั้นท่านเป็นนักพรตหรือ? ท่านซ่านฮุ่ยกลับชี้ไปที่รองเท้า เมื่อถามว่าเช่นนั้นท่านก็เป็นบัณฑิตลัทธิขงจื้อ? คราวนี้ท่านซ่านฮุ่ยชี้ไปที่จีวรซึ่งท่านสวมอยู่ และกล่าวว่า หมวกเต๋ารองเท้าขงจื้อจีวรพระ รวมสามลัทธิธรรมเป็นหนึ่งเดียว นับว่านิกายเซนนั้น ประสานข้อเด่นของพุทธศาสนา ลัทธิขงจื้อและลัทธิเต๋าเข้าด้วยกัน เพื่อใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันโดยกลมกลืนกับโลก และไม่ขัดแย้งกับผู้ใด ทำให้เซนมีข้อเด่นต่างจากพุทธนิกายใดๆ โดยสามารถปรับใช้ข้อเด่นต่างๆ นั้น เพื่อการดำรงอยู่ ในการปฎิบัติเข้าสู่ความเป็นพุทธะ อย่างไม่ติดยึดกรอบหรือรูปแบบใดๆ ทั้งปวง โดยมีหลักการถ่ายทอดสู่กันเกินถ้อยคำ ไม่ยึดติดตำรา ชี้ตรงไปที่จิต สลัดอัตตา พุทธภาวะย่อมปรากฏ (สุญตา)
 
ความที่แตกต่างจากหินยานผู้คร่ำเคร่ง และมหายานผู้มากไปด้วยศรัทธา ทำให้เซนไร้กฎเกณท์ เป็นอิสระไม่ติดยึดรูปแบบ ดำเนินชีวิตเรียบง่าย ไม่พร่ำบ่น ไม่วุ่นวาย ไม่เป็นภาระ ไม่ขัดแย้ง มีก็เหมือนไม่มี ฯล การปรับแต่ข้อดี ของลัทธินิกายอื่นๆ มาใช้ เพื่อการดำรงอยู่ของชีวิตอย่างไม่ติดเปลือก แต่มีจุดมุ่งหมายแท้จริงอยู่ภายใน ทำให้เซนมุ่งปฏิบัติ เพื่อปล่อยวางทุกสิ่งสู่ความว่าง คืนสู่สัจจะภาวะที่เป็นหนึ่งเดียวกับทุกสรรพสิ่ง ไม่มีเขา ไม่มีเรา ไม่มีแปลกแยก สัจธรรมเช่นนี้ ไม่เพียงภิกษุหรือภิกษุณีที่ปฏิบัติได้ ฆราวาสก็ปฏิบัติได้ จนกว่าท่านผู้ปฏิบัติทั้งหลาย จะเข้าถึงพุทธภาวะแห่งจิตเดิมนั้นแล้วจริงๆ

 


 
 
- ผู้ที่สนใจประวัติพุทธศาสนาแลพุทธมหายาน หาอ่านได้จากหนังสือ
ปะวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา และปรัชญามหายาน ของท่านเสถียร โพธินันทะ

http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=suparatta&month=11-2005&date=17&group=14&gblog=3

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09 ตุลาคม 2553 12:05:46 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 2.0.0.20 Firefox 2.0.0.20


ดูรายละเอียด
« ตอบ #7 เมื่อ: 22 มกราคม 2553 16:32:40 »


 


เซนกับยุค 2000
โดย สุภารัตถะ

แม้เซนจะมีต้นกำเนิดขึ้น ด้วยการถ่ายทอดธรรมะจากจิตสู่จิต จากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสู่ท่านมหากัสสปะ สังฆปรินายกองค์ที่ 1 สายอินเดีย สืบทอดมาถึงท่านมหาโพธิธรรม สังฆปรินายกองค์ที่ 28 สายอินเดีย ที่เดินทางมาถึงจีนประมาณปี พ.ศ. 1070 เพื่อถ่ายทอดธรรม จวบจนเจริญพัฒนาเป็นเซนสมบูรณ์แบบในจีน ในสมัยสังฆปรินายกองค์ที่ 33 ท่านเว่ยหล่าง ซึ่งนับเป็นสังฆปรินายกองค์ที่ 6 สายจีน และเป็นสังฆปรินายกองค์สุดท้ายนั้น ท่านได้ทำให้การถ่ายทอดธรรมะแบบจิตหนึ่งสู่จิตหนึ่งอย่าเซน (ธยานะ) เจริญขึ้นอย่างสูงสุด พร้อมการพัฒนามาตามลำดับ เข้าสู่การเป็นเซนที่สามารถอยูรอดได้อย่างยาวนานในจีน จนกระทั่งจีนได้ประกาศตัวเป็นประเทศสาธารณรัฐ เซนซึ่งอาจเรียกได้ว่า เติบโตและพัฒนาเป็นเซนสมบูรณ์ในประเทศจีนนี้ ก็สามารถแผ่ขยายเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้านข้างเคียง และเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก ครอบครองหัวใจชาวพุทธ และผู้ที่ไม่ใช่ชาวพุทธ ที่อยู่ทั่วทุกมุมโลกตราบจนถึงปัจจุบัน

ศาสนาพุทธนั้น กล่าวได้ว่า มีไว้เพื่อทุกคนที่ต้องการแสวงหาความจริงของชีวิต ไม่ใช่เพื่อใครที่เป็นชาวพุทธ หรือห้ามใครที่ไม่ใช่ชาวพุทธ แต่สำหรับใครก็ได้ ที่พร้อมจะเผชิญหน้ากับความเป็นจริง ไม่วิ่งหนี ไม่หลอกลวงตัวเอง ไม่ปรุงแต่งจิตสร้างภาพมายาดารดาษ ให้ตัวเองต้องวิ่งวนอยู่ภายในกลลวงของสมมุตินี้ นิกายเซนก็เช่นกัน ความมีเสน่ห์ของเซน อยู่ที่การถ่ายทอดธรรมอย่างโกอานหรือปริศนาธรรม และการดำรงอยู่อย่างเรียบง่ายสมถะ แต่ท่ามกลางกระแสคลื่นแห่งความเจริญของโลกสมัยใหม่ ความเจริญทางด้านวัตถุ การสื่อสารด้วยเทคโนโลยีล้ำยุค จะไม่มีผลกระทบต่อเซนเชียวหรือ
 
ห้างสรรพสินค้าชื่อดังใช้ชื่อว่า “เซน” แม้จะไม่ได้ขายสินค้าเฉพาะที่จำเป็นต่อชีวิต แต่ดูจะขายแต่สินค้าที่เกินจำเป็นไปเสียมาก ก็อาจเป็นเครื่องชี้แสดงได้ว่า เซนนั้น ได้เป็นที่รู้จักขยายออกไปในวงกว้าง แต่ผู้คนในวงกว้างเหล่านั้น รู้จักเซนกันแค่ไหน อย่างไร หรือเข้าใจแค่ว่า เซนเป็นที่นิยมชมชื่นของสังคม เป็นเพียงสีสันตกแต่งสังคม
 
ความเจริญอย่างฉุดไม่อยู่ของยุคอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี กับความฉาบฉวยของยุคสังคมบริโภคนี้ สร้างเรื่องน่าแปลก ในการบริโภคทุกอย่างที่ขวางหน้าอย่างเหลือเชื่อ แม้แต่ความรู้ในทางศาสนาก็ตาม มีสื่อและหนังสือมากมายให้ศึกษา ผิดกลับยุคสมัยก่อน แม้จะไม่มีตำรามากมายที่จะสอนพุทธศาสนา แต่คนสมัยก่อนกลับดูจะมีธรรมะในใจมากกว่าคนสมัยนี้ คนยุคนี้ร่ำเรียนทฤษฎีจดจำได้ทุกรูปแบบ แต่กลับยากจะเข้าใจในสิ่งที่ศึกษานั้นได้อย่างจริงจัง ประวัติศาสตร์อันยาวนานของพุทธศาสนา อภิธรรมอันแสนยาก กลายเป็นตำราหนังสือมากมายกองพะเนิน ที่ผู้คนสนใจคร่ำเคร่งร่ำเรียน แต่การจดจำโดยไม่ปฏิบัติ ย่อมไม่อาจนำไปสู่ความเข้าใจได้จริงๆ

               
 
ทำไมคนยุคนี้ ชอบแต่จะเรียนรู้แต่ไม่ชอบลงมือทำ กลไกอันซับซ้อนของสังคมศิวิไลซ์ เกิดค่านิยมอันแปลกประหลาด ความเจริญสะดวกสบาย ทำให้คนอยากเสพ อยากบริโภคทุกอย่างแม้แต่ความรู้ ด้วยความสบายในรูปแบบที่เรียกว่าสำเร็จรูป แต่กลับกลัวความลำบากในการลงมือปฏิบัติ การปฏิบัติธรรมอย่างแสนสบาย ในสถานปฏิบัติที่อำนวยความสะดวกครบครัน จึงเป็นที่นิยมและได้รับความสนใจอย่างสูง
 
คนเรียนมากได้วุฒิบัตรจากสังคม คนมีการศึกษาได้รับการยอมรับกว่าผู้ที่มีการศึกษาน้อยกว่า คนรุ่นใหม่ส่วนมาก เป็นเจ้านายคนอย่างขาดการปฏิบัติ หากพินิจพิเคราะห์โดยละเอียดแล้ว ผู้ที่ประสบความสำเร็จรุ่นปู่ย่าตายายของเรานั้น การที่ท่านจะก้าวขึ้นมาเป็นเจ้าคนนายคนได้ เริ่มจากการปฏิบัติ และลงมือทำเองทุกขั้นทุกตอน จึงจะสามารถรู้รายละเอียด และรู้ระบบในการทำงานของฝ่ายต่างๆ เพราะหากไม่ลงมือเรียนรู้จากการปฏิบัติด้วยตนเองแล้ว ก็ยากที่จะรู้รายละเอียดภายใต้โครงสร้างโดยรวมได้ถ่องแท้ การลงมือทำ ไม่จำเป็นต้องได้รับการยืนยันจากวุฒิบัตรใดๆ จากภายนอก ธรรมะก็เช่นกัน ผู้ที่เรียนรู้แต่ทฤษฎีโดยไม่ลงมือปฏิบัติ ก็ยากที่จะเข้าใจได้แท้จริง แม้จะคิดว่าตนรู้ทฤษฎีมาก สอนผู้อื่นด้วยธรรมะขั้นสูง แต่กลับอาจจะทำให้ยิ่งห่างไกลจากธรรมะที่ตัวเองสอน โดยยากจะรู้ตัว เพราะหัวใจของธรรมนั้น อยู่ที่การปฏิบัติหรือลงมือทำทันที
 
ความสามารถที่ไม่ใช่เพียงคิด ได้แต่ทำได้จริง เสมือนเราเป็นเจ้านายและลูกน้องในตัว มีความสมบูรณ์ในการพึ่งพิงตัวเอง ความสมบูรณ์ในเซนก็เฉกเช่นกัน ไม่เป็นภาระให้ใคร ไม่ต้องทำให้ใครวุ่นวาย การปฏิบัติธรรมอย่างเซน จึงถูกกระทบจากทางโลกน้อยมาก แม้ไม่ต้องอ้อนวอนใคร แต่ก็อยู่อย่างกลมกลืนกับโลก วางรูปแบบที่จะสร้างความวุ่นวายกับตัวเองลงเสีย ชีวิตก็จะง่ายขึ้นอย่างมาก
หิวก็กิน ง่วงก็นอน ดูจะกลายเป็นถ้อยคำอมตะของนิกายเซน (ธยานะ) ไปเสียแล้ว
 
แม้โลกจะเจริญขึ้นด้วยวัตถุ แต่กลับจะดูวุ่นวายและซับซ้อนขึ้นทางจิตใจ เด็กที่สอบไม่ได้ที่หนึ่งจากที่เคยได้ อาจผิดหวังจนไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ คณะสงฆ์ผู้สืบทอดศาสนาแห่งความจริง กลับแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกัน จนไม่มีเวลาสอนศาสนาให้แม้แต่ตัวเอง การเรียกร้องสันติภาพระหว่างประเทศทั่วโลก โดยไม่หยุดยั้งเกมของสงครามและเศรษฐกิจ การกระทำต่อกันด้วยความเห็นแก่ตัวทางเศรษฐกิจ จากประเทศที่มีอำนาจที่เข้ามากอบโกยทรัพยากรจากประเทศด้อยอำนาจ ภายใต้การช่วยเหลือที่เหมือนมีน้ำใจในด้านอื่นๆ ด้วยฉากหลังการสนับสนุนเพื่อการพัฒนาของประเทศ เป็นเพียงการล่าอาณานิคมรูปแบบใหม่

                         
 
อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ยังเร่งผลิตเครื่องอุปโภคบริโภคจนเกินกำลังซื้อ ความล้ำหน้าทางเทคโนโลยีการสื่อสารจนเกินกำลังใช้ แต่กลับหลอกล่อให้ผู้บริโภคใช้ทุกวิถีทาง เพราะนักลงทุนแสวงหาเงินทุกกลวิธี มนุษย์ตกอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ของเงินตรา ที่มนุษย์สร้างอำนาจให้กับมันและก็ตกอยู่ในอำนาจของมันเอง จากเศษกระดาษที่เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการ มนุษย์ยอมถลุงทรัพยากรโลกออกมาแปรรูปอย่างเกินกำลัง ความปรารถนาเงินตรา อำนาจ ความเจริญ และตัณหาอีกมากมาย ของมนุษย์ผู้ไม่รู้สึกตัว
 
สถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างน่าสับสนเช่นนี้ บ่งบอกถึงความเจริญนั้น ไม่ได้ช่วยทำให้มนุษย์มีความสุข มนุษย์ผู้ไม่เคยอิ่ม ไม่เคยรู้จักคำว่าพอ มีแต่ความขัดแย้งดีเลวในใจตลอดเวลา แต่ถ้าเราจะทำอย่างเซน ก็เพียงแต่หยุดความสับสนในใจตัวเอง และทำความเรียบง่ายให้เกิดกับชีวิต วัตถุมากมายไม่อาจทำให้มนุษย์มีความสุข หากไม่รู้จักที่จะมีอิสระไปจากมัน
 
อะไรกันที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตได้จริงๆ และไม่ว่ายุคใดๆ ชีวิตก็ไม่ได้ต้องการอะไรไปมากกว่านั้น น้อยมาก น้อยเสียจนคำว่าปัจจัยสี่คงใช้ได้กับทุกยุคสมัย อาหารพออิ่ม ที่หลบร้อนหนาว เสื้อผ้าสองสามชุด ยารักษาคามเจ็บไข้ แม้ในยุค 2000 ก็ใช่ว่าจะต้องมีทุกสรรพสิ่งที่สังคมเสนอเสมอไป แต่ก็ใช่จะต้องปฏิเสธทั้งหมด เทคโนโลยีบางอย่าง ก็ช่วยให้ทำงานได้มากขึ้น แต่ไม่ได้หมายความว่าเราจะขาดมันไม่ได้ การทำตัวให้เป็นอิสระ ไม่ยึดติดกับสิ่งต่างๆ ต่างหาก ที่จะทำให้ไม่ต้องทุกข์เมื่อขาดมัน ทำไมปัจจัยเกินสี่ทุกรูปแบบ กลับมีความสำคัญจำเป็นกับคนสมัยนี้อย่างยิ่ง ทั้งๆ ที่ให้ความสุขเพียงน้อย ประโยชน์ของมันก็มีมากจนเกินใช้ จนแทบไม่เคยใช้ แต่กลับทำให้เป็นทุกข์อย่างมาก กับการที่ต้องพากเพียรแสวงหามันมาให้ได้ จนทำให้คนหลายคนยอมจำนนด้วยชีวิต ทำทุกวิถีทางในการแสวงหาของนอกกายเหล่านี้ แม้จะแลกกับความตาย ก็เพียงขอให้ได้ความสบาย ดีกว่าอยู่อย่างไม่มีอะไร ตกอยู่ในภาพพจน์จะต้องมีต้องเป็น และต้องสร้างเกียรติขึ้นในสังคมแห่งหน้าตา แม้จะมีเบื้องหลังในการแสวงหา อย่างน่าเกลียดและไม่ถูกต้องด้วยซ้ำ ส่วนผู้คนอีกหลายคน ที่เริ่มเห็นความสุขที่แสนทุกข์นี้ ทุกข์จากการมีมาก เหน็ดเหนื่อยกับการแสวงหาที่ไม่จบสิ้น ก็หันหลังกลับมาแสวงหาความสุขที่แท้กว่า…ความเรียบง่าย ความสุขใจจริงๆ ของชีวิตที่อยู่อย่างอิสระ โดยไม่ต้องติดตามหรือขึ้นต่อยุคสมัย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09 ตุลาคม 2553 14:29:20 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
คนดีศรีอยุธยา
นักโพสท์ระดับ 4
****

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 6.0 MS Internet Explorer 6.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #8 เมื่อ: 23 มกราคม 2553 11:17:04 »

เราควรนับถือเซนหรือพุทธดีครับ
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #9 เมื่อ: 23 มกราคม 2553 15:17:19 »


เราควรนับถือเซนหรือพุทธดีครับ

นิกายเซ็น ก็เป็นพุทธ เหมือนในความต่าง

แล้วแต่ จริต ความเชื่อของแต่ละบุคคลค่ะ ถึงอย่างไรพระศาสดา
ก็พระองค์เดียวกัน พระสัมมาสัมพุทธะเจ้าสมณโคดมสิทธัตถะ

ทางพ้นทุกข์ ลัด ตัดตรง ตามที่อ่านมา ถ้าเข้าใจ ถึงใจแล้ว ความ
เห็นส่วนตัว นิกายเซ็นค่ะ

ลองศึกษาดูด้วยกันนะคะ ถ้ามีข้อคิดเห็นใดๆ กรุณาแนะนำด้วยนะคะ
ทุกๆท่านที่แวะเข้ามาอ่านด้วยน่ะค่ะ ขอบพระคุณค่ะ
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #10 เมื่อ: 09 ตุลาคม 2553 15:15:28 »


 


แม้เราอาจจะต้องกลมกลืนไปกับยุคและกาลเวลาซึ่งตัวเองดำรงอยู่ เพราะไม่อาจร่ำร้องยุคและกาลเวลาอื่น โดยไม่ต้องทำตัวขัดกับยุคสมัย แต่ก็ไม่จำเป็นต้องเป็นไปตามสังคม เพราะการที่เราจะเข้าถึงความจริงนั้น นอกจากจะต้องสลัดภาพมายาออกไปให้มากที่สุด ไม่ใช่สร้างมายาภาพมากขึ้น จนมัดตัวเองดิ้นไม่หลุด จนกระทั่งไม่รู้สึกตัวว่า ภาระผูกพันกับสังคมที่เราต้องดำเนินอยู่นั้นมันจำเป็นหรือ? เราอาจจะสร้างภาระผูกพันอย่างไม่รู้ตัว หรือรู้ตัว แต่ไม่สามารถวางมันลงได้แม้วาระสุดท้ายของชีวิตมาเยือน เพราะภาระมากมาย ที่เราสร้างมันขึ้นมา ด้วยความรู้สึกที่ไม่เคยเพียงพอสำหรับชีวิต ทำให้เราต้องจมอยู่ การมีชีวิตอย่างอิสระ แม้ไม่ขัดแย้ง แต่ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องถูกลากจูงไปด้วย แค่เข้าใจว่า เราจะวางตัวอย่างไรเท่านั้น โดยเฉพาะฆราวาสที่ไม่ได้เลือกการออกบวช การเข้าใจโลกและความเป็นไปของโลกเป็นเรื่องสำคัญ หากเราสามารถวางตัวให้เหมาะสมกับยุคและกาลเวลา โดยไม่ต้องเจ็บปวดกับการขัดแย้งสุดโต่ง ไม่ต้องเหน็ดเหนื่อยกับการแสวงหากับสิ่งที่สังคมยัดเยียด เราก็สามารถดำรงอยู่ ไม่แตกต่างจากเซน ที่ปรับตัวและอยู่รอดมาถึงปัจจุบัน
 
การดำรงอยู่ แน่นอน…ไม่ใช่แค่อยู่รอดไปวันๆ เพราะในการแสวงหาความจริงอันยิ่งใหญ่ หากเราไม่สามารถดำรงเลี้ยงชีวิตอยู่ได้แล้ว การแสวงหาความจริงก็ไม่อาจทำได้ การดำรงอยู่ได้อย่างเรียบง่ายมีความสุขนี้ ไม่ใช่ความจริงดอกหรือ ความจริงย่อมปรากฏให้เห็นอยู่แล้วทุกขณะ ภาวะดั้งเดิมของจิตก็เช่นกัน เปิดเผยอยู่ตลอดเวลาขณะที่ไม่เป็นทุกข์ แต่ทันทีที่เอาหมอกมัวมาปกคลุมจิตใจ แสวงหาความสุขจากภายนอก เราก็จะพลาดไปจากมันทันที ความทุกข์ก็จะประดังประเดเข้ามาจนหลบไม่ไหว
 
                       

การนำหมอกมัวมาปกคลุมจิตใจ โดยไม่รู้ว่าตัวเองนั่นเอง เป็นผู้ที่ทำให้หมอกมัวต่างๆ เกิดขึ้น เพราะตัวเองนั่นเอง ที่เป็นผู้ดิ้นรนไขว่คว้าไม่จบสิ้น ทะยานอยากกับการอยากมีอยากเป็น อยากแม้กระทั่งนิพพาน และเมื่อต้องการเดินทางกลับมาหาจิต กลับต้องเผชิญกับความยากลำบาก ของอุปสรรคที่สร้างขึ้นไว้เองอย่างพะรุงพะรัง งุนงงกับการสะสางอุปสรรคเหล่านี้ เปรียบเหมือนคนที่ยกของ มากขึ้นมากขึ้นจนหนัก และกำลังหาทางที่จะทำให้ตัวเองไม่หนัก โดยคิดหาวิธีต่างๆ มากมาย ในการทำให้ของเหล่านั้นไร้น้ำหนัก จนกระทั่งลืมคิดไปว่า เราไม่ควรยกมันขึ้นมาเท่านั้น แต่เมื่อยกมันขึ้นมาแล้ว ก็สามารถแก้ไขปัญหาได้ง่ายๆ เพียงแค่วางมันลงเท่านั้น แต่หลายคน กลับหาวิธีที่จะทำของหนักเหล่านั้นไม่ให้หนัก ก็เพราะไม่อาจวางมันลงได้ง่ายๆ ซึ่งยิ่งหาหนทางก็กลับยิ่งติดกับ การจะวางทุกข์โดยที่ยังอยากกอดความทุกข์นั้นให้อยู่กับตัว แน่นอน…ไม่อาจทำเช่นนั้นได้จริงๆ เหมือนการก้าวข้ามไปยังอีกฝั่งแม่น้ำ การที่จะอยู่อีกฝั่งหนึ่งได้ ก็ต้องไม่อยู่ฝั่งนี้แล้วเท่านั้น
 
การไม่หวังจะลุถึงสภาวะใดๆ นี่ไม่ใช่การบรรลุหรอกหรือ การแสวงหาวิธีให้มากมายเพื่อการบรรลุ กลับทำให้ยิ่งสับสน เซนนั้นให้ปล่อยวางแม้กระทั่งความว่างเปล่า เพราะเมื่ออยากว่างเปล่า ความว่างนั้นย่อมไม่อาจเกิดขึ้น จิตว่างจึงไม่อาจยึดอยู่ในความว่าง การลุถึงจึงไม่ใช่การลุถึง คนที่บรรลุธรรมไม่อาจบอกว่าตัวเองบรรลุอะไรได้ นิกายเซนเน้นคำสอนการบรรลุฉับพลัน ปล่อยวางตัวตนทันที เพราะการสรรหาวิธีพัฒนาจิต ให้ก้าวหน้าไปจนถึงการบรรลุธรรมนั้นไม่มี นอกจากการปล่อยวางอัตตาลงแค่นั้น
 
เมื่อเราหยุดวิ่งตามโลก เราก็ไม่ต้องเหนื่อย ไม่ต้องติดตามครอบครองวัตถุที่หาความจีรังไม่ได้ นอกจากมีแต่จะเสื่อมไปกับกาลเวลา แม้โลกอาจเห็นว่าเราล้าหลัง แต่สิ่งที่โลกไม่รู้ก็คือ เรากำลังก้าวตามตัวเองทัน เมื่อเราก้าวตามตัวเองทัน เราก็เริ่มรู้จักตัวเอง และเราสามารถจะรู้จักตัวเอง ในแง่ที่จะสัมพันธ์กับธรรมชาติของตัวเราเองและธรรมชาติของโลก เมื่อมี…เราก็รู้จักใช้ประโยชน์จากมัน เมื่อไม่มี…เราก็เป็นอิสระจากมันโดยไม่ทุกข์ หากเป็นดังนี้ได้ ไม่ว่ายุคไหนๆ เราก็จะสามารถเข้าถึงธรรมในตัวเราเอง

 


ทุกสรรพสิ่งล้วนเกิดขึ้นก็เพราะจิต ความขัดแย้งต่างๆ บนโลก บ่งบอกถึงสภาวะขัดแย้งภายในใจมนุษย์เอง ศตวรรษที่ 21 ความเจริญเกิดขึ้นจริงๆ หรือ นักบินอวกาศอาจไปเยือนดาวอังคาร แต่ก็ยังมีขอทานที่ไม่มีข้าวจะกิน ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี กับข่าวฆ่าตัวตายของจำนวนคนที่มากขึ้นเรื่อยๆ เพราะขาดพื้นฐานความรักความเข้าใจต่อกันในสังคม ความคาดหวังต่อความสำเร็จของตัวเองในสังคมที่เต็มไปด้วยการแข่งขันที่หนักข้อขึ้น ลูกหลานเซ่นไหว้บรรพบุรุษทางอินเทอร์เน็ต ความโดดเดี่ยวในสังคมที่เต็มไปด้วยความสนุกสนาน โลกที่ไม่มีเงินไม่มีชีวิต ฯลฯ แต่ถ้าหากเราถอยกลับมาตั้งหลักสักนิด มีชีวิตให้เรียบง่ายขึ้น โดยไม่เข้าไปสับสนกับโลกใบนี้นัก ไม่ทำชีวิตให้ซับซ้อนมากนัก เราอาจกำลังสร้างความเจริญทางจิตใจ และกำลังจะอยู่รอดอย่างเซน แบบไม่ต้องแบกทุกข์เอาไว้มาก เพราะต้องมีวัตถุล้ำสมัยกองพะเนินอยู่รอบตัวก็ได้
 
จิตหนึ่งนี้เองที่เป็นพุทธะ แต่สัตว์โลกกลับไปยึดมั่นต่อรูปธรรมภายนอก แม้แต่การค้นหาพุทธภาวะ ก็ยังเที่ยวแสวงหาจากภายนอก เพียงแค่หยุดภาวะรูปธรรม ซึ่งก่อเกิดมาจากการปรุงไปต่างๆ ของจิต พุทธภาวะก็ปรากฏอยู่ตรงหน้า
 
…เพียงแค่หยุดการแสวงหาเท่านั้น พุทธภาวะภายในย่อมปรากฏ…
 




http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=suparatta&month=11-2005&date=17&group=14&gblog=2

สุขาวดีนั้นอยู่สุดแสนไกล
นับด้วยล้านโกฏภพ
ฉันจะไปที่นั่นได้อย่างไร
หากอาศัยเพียงรองเท้าฟางคู่หนึ่ง

- ไฮกุ ท่านอิกคิวซัง -

http://www.buddhayan.com/
http://www.agalico.com/
นำมาแบ่งปันโดย : คุณมดเอ็กซ์

Pics by : Google
ขอบพระคุณที่มาทั้งหมดมากมาย
อนุโมทนาสาธุค่ะ
บันทึกการเข้า
時々๛कभी कभी๛
สมาชิกถูกดำเนินคดี
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +9/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Nepal Nepal

กระทู้: 1921


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 3.6.10 Firefox 3.6.10


ดูรายละเอียด
« ตอบ #11 เมื่อ: 09 ตุลาคม 2553 15:49:07 »

http://img826.imageshack.us/img826/128/2998590673.jpg
จุดประกายเซนในเมืองไทย


(:LOVE:)ขอบพระคุณ พี่ แป๋ม ต้องค่อย ๆ อ่านวันละนิด - วันละหน่อย ยาวจัง สลึมสลือ







« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09 ตุลาคม 2553 15:52:40 โดย {sometime} » บันทึกการเข้า

โลกเรานี้หนอช่างเหมือนความฝันเสียนี่กระไร ?

หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7866


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 6.0.472.63 Chrome 6.0.472.63


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #12 เมื่อ: 10 ตุลาคม 2553 01:19:28 »

สาธุ อนุโมทนาครับ
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #13 เมื่อ: 10 ตุลาคม 2553 03:42:35 »



<a href="http://www.4shared.com/flash/player.swf?file=http://dc149.4shared.com/img/182979056/fbd72ded/dlink__2Fdownload_2FDBt130El_3Ftsid_3D20101007-091952-6e603e0d/preview.mp3&amp;logo=http://dc149.4shared.com/images/logo.png&amp;image=http://dc149.4shared.com/images/icons/misc/mp3_200x180.jpg&amp;plugins=revolt-1,sharing,ltas&amp;ltas.cc=rvlfdyginfjkpdu&amp;sharing.link=http://www.4shared.com/audio/DBt130El/_online.html&amp;sharing.code=%3Cembed%20src%3D%22http://www.4shared.com/embed/182979056/fbd72ded%22%20width%3D%22420%22%20height%3D%22250%22%20allowfullscreen%3D%22true%22%20allowscriptaccess%3D%22always%22%20%2F%3E" target="_blank">http://www.4shared.com/flash/player.swf?file=http://dc149.4shared.com/img/182979056/fbd72ded/dlink__2Fdownload_2FDBt130El_3Ftsid_3D20101007-091952-6e603e0d/preview.mp3&amp;logo=http://dc149.4shared.com/images/logo.png&amp;image=http://dc149.4shared.com/images/icons/misc/mp3_200x180.jpg&amp;plugins=revolt-1,sharing,ltas&amp;ltas.cc=rvlfdyginfjkpdu&amp;sharing.link=http://www.4shared.com/audio/DBt130El/_online.html&amp;sharing.code=%3Cembed%20src%3D%22http://www.4shared.com/embed/182979056/fbd72ded%22%20width%3D%22420%22%20height%3D%22250%22%20allowfullscreen%3D%22true%22%20allowscriptaccess%3D%22always%22%20%2F%3E</a>

 ตกหลุมรัก  ขอบคุณน้องบางครั้ง"ค่ะ พุทธังสรนังคัจฉามิ...
บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

2: Error while sending QUERY packet. PID=26814
ไฟล์: /home/dcjuxso123/domains/sookjai.com/public_html/Sources/Subs.php
บรรทัด: 321