[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
23 พฤศจิกายน 2567 17:26:09 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พระกรรมฐานกลางกรุง  (อ่าน 18020 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 24 มกราคม 2553 19:42:17 »




พระกรรมฐานกลางกรุง


คำอนุโมทนา
     
เหตุการณ์ก่อนบวช .. เหตุการณ์ขณะถือเพศบรรพชิต (๑)

เหตุการณ์ขณะถือเพศบรรพชิต (๒)

เหตุการณ์ขณะถือเพศบรรพชิต (๓)

เหตุการณ์ขณะถือเพศบรรพชิต (๔)

เหตุการณ์ขณะถือเพศบรรพชิต (๕)

ภาคผนวก ๑ “หน่ายกาม”

ภาคผนวก ๒ “สันติวรบท ธรรม ๙ บท”

ท้ายเล่มจากผู้บันทึก








 ยิ้ม  http://www.oknation.net/blog/tocare/2009/10/29/entry-1



มีต่อค่ะ


Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 24 มกราคม 2553 19:52:40 »




พระกรรมฐานกลางกรุง (๑)

จากบันทึกของดำเกิง สงวนสัตย์


คำอนุโมทนา


     สุรินทร์มีหลวงปู่ดูลย์ หนองคายมีหลวงปู่เทสก์ อุดรฯ มีหลวงปู่ขาวและท่านอาจารย์พระมหาบัว สกลนครมีหลวงปู่ฝั้น เชียงใหม่มีหลวงปู่แหวนและหลวงปู่สิม อุบลฯ มีหลวงพ่อชา ฯลฯ ส่วนกรุงเทพฯ ถ้าจะหาพระกรรมฐานชาวกรุงแท้ๆ สักองค์หนึ่ง ก็น่าจะนึกถึงท่านธมฺมวิตกฺโก หรือพระภิกษุพระยานรรัตนราชมานิต แห่งวัดเทพศิรินทราวาส ซึ่งคนทั่วไปเรียกนามท่านอย่างเคยปากว่า “ท่านเจ้าคุณนรฯ”


     ท่านเป็นพระมหาเถระที่อาตมาให้ความเคารพนับถือมากที่สุดองค์หนึ่ง เพราะคุณงามความดีของท่านในหลายๆ ด้าน เช่น ในด้านความกตัญญูกตเวที ด้านความรักในการเรียนรู้ ด้านความอดทนอดกลั้น และพากเพียรทำกิจทั้งปวงอย่างเอาจริงเอาจัง จนกิจของท่านประสบความสำเร็จด้วยดี และที่สำคัญยิ่งก็คือ ท่านเป็นบทพิสูจน์อันยิ่งใหญ่ว่า แม้ท่านจะเป็นชาวเมืองมาโดยตลอด ตั้งแต่เกิด เรียน ทำงานจนรุ่งเรืองถึงขั้นเป็นองคมนตรี จนถึงการบรรพชาอุปสมบทในเมือง โดยไม่เคยเดินธุดงค์ไปตามป่าเขาหรือแม้กระทั่งการออกนอกวัด ท่านก็ยังสามารถปฏิบัติธรรมได้สมควรแก่ธรรม เป็นข้อพิสูจน์ว่า ธรรมแท้ไม่เลือกสถานที่ ถ้าเป็นคนจริง ถึงอยู่กลางกรุงก็ปฏิบัติได้ จัดว่าเป็นตัวอย่างและกำลังใจให้นักปฏิบัติรุ่นหลัง ในวันที่เมืองไทยไม่มีป่าเขาจะให้เดินธุดงค์ และสังคมเปลี่ยนจากสังคมเกษตรเป็นสังคมเมืองและอุตสาหกรรมอย่างในขณะนี้


     ในวัยเด็กอาตมาเรียนหนังสือที่โรงเรียนวัดพลับพลาชัย ซึ่งแค่ข้ามถนนก็ถึงวัดเทพศิรินทร์ แต่ไม่เคยพบกันท่านเจ้าคุณนรฯ เพราะเวลาที่อาตมาเข้าไปเที่ยวเล่นในวัดเทพศิรินทร์ ไม่เคยตรงกับเวลาที่ท่านออกจากกุฏิ ต่อเมื่อท่านสิ้นไปแล้ว จึงได้รู้จักเกียรติคุณของท่านผ่านข้อเขียนของบุคคลหลายท่าน ซึ่งก็เขียนแบบลอกกันต่อๆ มา และไม่มีข้อมูลใหม่มานานแล้ว อาตมาเคยนึกเสียดายว่าทำไมไม่มีใครบันทึกข้อธรรมคำสอนของท่านไว้บ้างเลย จนเมื่อได้ทราบจากคุณดำเกิง สงวนสัตย์ ซึ่งมาเรียนกรรมฐานกับอาตมา ว่าเคยเป็นศิษย์กรรมฐานของท่านเจ้าคุณนรฯ มาก่อน จึงได้ถามคุณดำเกิงว่าได้เคยบันทึกธรรมะและเรื่องราวของท่านไว้บ้างหรือไม่ นี่คือที่มาของบันทึกฉบับนี้ ซึ่งคุณดำเกิงเขียนให้อาตมาไว้ตั้งแต่กลางปี ๒๕๔๙ และเขียนเพิ่มเติมอีกในปี ๒๕๕๒


     เมื่ออ่านแล้วเกิดความประทับใจในท่านเจ้าคุณนรฯ ยิ่งขึ้น เพราะนอกจากจะมีข้อธรรมะที่ไม่เคยได้ยินใครกล่าวถึงอีกหลายเรื่องแล้ว ยังเป็นบันทึกที่เขียนถึงท่านอย่างมีชีวิตชีวายิ่ง เมื่อได้อ่านเรื่องดีขนาดนี้แล้ว ก็อดที่จะคิดเผื่อแผ่ให้เพื่อนร่วมทางได้อ่านด้วยไม่ได้ จึงขออนุญาตคุณดำเกิงนำมาจัดพิมพ์ และเมื่อคุณสุเมธ โสฬศ ทราบว่าอาตมาจะพิมพ์หนังสือเล่มนี้ ก็ได้อาสาที่จะจัดพิมพ์ให้ ซึ่งอาตมาก็ต้องขออนุโมทนากับทั้งสองท่านมา ณ โอกาสนี้ และหวังว่าเรื่องนี้จะเป็นแบบอย่างและเป็นกำลังใจให้กับเพื่อนนักปฏิบัติชาวเมืองทุกท่านด้วย


                                                                           พระปราโมทย์ ปาโมชฺโช

                                                                      สวนสันติธรรม ๑ มิถุนายน ๒๕๕๒

     

     


                                                                                     วันที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๔๙


กราบนมัสการ ท่านอาจารย์ปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่เคารพอย่างสูง


     เรื่องราวและธรรมะที่กระผมได้บันทึกไว้ต่อไปนี้ เป็นเรื่องที่กระผมได้ฟังมาด้วยตนเองจากท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต (พระธมฺมวิตกฺโก) ซึ่งต่อไปจะเรียกขานนามท่านสั้นๆ ว่า “ท่านเจ้าคุณนรฯ” บางเรื่องก็เกี่ยวกับปฏิปทาจริยวัตรของท่าน โดยมิได้แต่งเติมหรือคัดมาจากหนังสือที่เขียนเกี่ยวกับเรื่องราวของท่านเล่มอื่นๆ แต่ประการใด


     กระผมได้มีโอกาสบรรพชาอุปสมบทที่วัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันที่ ๖ เมษายน ๒๕๑๒ ถึงวันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๑๒ เป็นเวลา ๒ เดือนเศษ อันเป็นขณะสมัยที่ท่านเจ้าคุณนรฯ ยังดำรงขันธ์อยู่ ซึ่งกระผมถือว่าเป็นลาภอย่างยิ่งและเป็นโอกาสอันประเสริฐสุด


     ถึงแม้ว่ากาลเวลาจะล่วงเลยมานานกว่า ๓๗ ปีแล้ว กระผมก็ยังจดจำภาพเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับท่านได้เป็นอย่างดี ราวกับว่าเหตุการณ์เหล่านั้นเกิดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้เอง และคิดว่าคงจะไม่มีวันลืมเหตุการณ์ที่ประทับใจนั้นๆ ตราบชั่วชีวิต


     กระผมรู้สึกปีติปราโมทย์เป็นอย่างยิ่งที่ท่านอาจารย์ให้ความสนใจ และได้ขอให้กระผมเขียนบันทึกธรรมจากท่านเจ้าคุณนรฯ ให้


     ถ้าหากบันทึกของกระผมที่เกี่ยวกับท่านเจ้าคุณนรฯ จะมีส่วนดีอยู่บ้าง นั่นเป็นเพราะความบันดาลใจอันเกิดจากการที่ได้ยินได้ฟังเรื่องราวและธรรมะเหล่านั้นจากท่านด้วยตนเอง ด้วยความกรุณา ปัญญาบารมี และปฏิปทาที่บริสุทธิ์ อันน่าเคารพเลื่อมใสของท่านเจ้าคุณนรฯ ซึ่งกระผมขอถวายแด่ท่าน แต่หากจะมีข้อบกพร่องหรือผิดพลาดอันเกิดจากเหตุใดก็ตาม กระผมขอน้อมรับความผิดนั้นไว้เองแต่เพียงผู้เดียว และหากกระผมมีความเข้าใจผิดในสัจธรรมใดๆ กระผมกราบขอความกรุณาจากท่านอาจารย์ได้โปรดชี้ผิดและบอกถูกแก่กระผมด้วยครับ


                                                                   กราบนมัสการมาด้วยความเคารพอย่างสูง

                                                                                 ดำเกิง สงวนสัตย์


 

ขอขอบพระคุณภาพจาก:

http://www.gmwebsite.com/Webboard/Topic.asp?TopicID=Topic-071014212620914&PageNo=2&Other



มีต่อค่ะ


บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 24 มกราคม 2553 23:36:36 »





พระกรรมฐานกลางกรุง (๒)


เรื่องราวต่อไปนี้

กระผมได้บันทึกไว้เมื่อวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๓


เหตุการณ์ก่อนบวช

กระผมเคยมีความคิดที่จะบวชตั้งแต่จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยใหม่ๆ เพื่อทดแทนพระคุณคุณพ่อคุณแม่ เนื่องจากเป็นลูกชายคนเดียว แต่เมื่อปรารภกับท่าน คุณพ่อได้ทัดทานไว้ และบอกว่ารอไว้ให้ทำงานหาประสบการณ์ก่อนดีกว่า


     เวลาผ่านไปอีก ๗ ปี หลังจากที่ได้ไปศึกษาต่อและทำงานมาระยะหนึ่ง ความคิดที่จะบวชก็เข้ามาอยู่ในใจอีก เพราะเกรงว่าหากคุณพ่อคุณแม่จากไปก่อน หรือตัวกระผมเองตายไปเสียก่อน ก็จะไม่มีโอกาสได้บวช กอปรกับกระผมมีอายุ ๒๘ ปีแล้ว จึงได้ขออนุญาตจากคุณพ่อคุณแม่อีกครั้ง คราวนี้ท่านอนุโมทนาและรับจะจัดการให้


     เริ่มแรกกระผมไม่เคยมีความคิดว่าจะมาบวชที่วัดเทพศิรินทราวาส แม้แต่ชื่อท่านเจ้าคุณนรฯ กระผมก็ยังไม่รู้จัก กระผมตั้งใจว่าจะไปบวชที่วัดแห่งหนึ่งในจังหวัดฉะเชิงเทรา เพราะเมื่อสมัยเป็นเด็ก คุณพ่อเคยพามาอาศัยหลบภัยจากสงครามโลกครั้งที่ ๒ นานพอสมควร ทั้งยังเคยบวชเป็นสามเณรที่วัดแห่งนี้ด้วย


     ชะรอยจะเป็นวาสนาของกระผม ที่จะได้พบกับท่านเจ้าคุณนรฯ เมื่อเดินทางไปติดต่อท่านเจ้าอาวาสที่วัดแห่งนั้นเพื่อที่จะหาองค์อุปัชฌาย์ แต่เผอิญวันนั้นท่านไม่อยู่ ไปทำกิจศาสนาที่จังหวัดอื่น จึงต้องกลับกรุงเทพฯ


     หลังจากนั้นคุณแม่ได้พากระผมไปพบญาติผู้ใหญ่ท่านหนึ่งที่กระผมนับถือเป็นคุณอาว์ ท่านเคยบวชบุตรชายที่วัดเทพศิรินทร์ฯ และคุ้นเคยกับท่านเจ้าคุณใหญ่ พระธรรมธัชมุนี (สมณศักดิ์ในขณะนั้น) (เอื้อน ชินทตฺโต) ท่านเจ้าอาวาส รวมทั้งพระผู้ใหญ่อื่นๆ ด้วย เพื่อปรึกษาเรื่องที่จะบวชนี้


     เย็นวันหนึ่งก่อนหน้าวันที่จะบวชไม่นาน คุณอาว์ คุณแม่และกระผมได้ไปที่วัดเทพศิรินทร์ฯ ท่านได้พาไปฝากตัวกับท่านเจ้าอาวาส ผู้ที่จะเป็นองค์อุปัชฌาย์ของกระผม และยังได้ไปกราบนมัสการพระโสภณสีลคุณ (สมณศักดิ์ในขณะนั้น) หรือหลวงปู่หลุย พาหิยเถระ และพระครูปัญญาภรณ์โสภณ (สมณศักดิ์ในขณะนั้น) หรือพระมหาอำพัน บุญ-หลง เพื่อขอให้ท่านเป็นพระคู่สวดให้ ซึ่งก็ได้รับความกรุณาจากท่านทั้งสอง


     เมื่อได้เวลาอันสมควร เราทั้ง ๓ ก็ลาท่านแล้วเดินมาทางด้านหลังโบสถ์ ตอนนั้นพระท่านทำวัตรเย็นเสร็จแล้ว คุณอาว์ถามคุณแม่ว่า “เข้าไปกราบท่านเจ้าคุณนรฯ หน่อยไหมล่ะ ท่านยังอยู่ในโบสถ์” คุณแม่ถามว่า “ท่านเจ้าคุณนรฯ ไหน” คุณอาว์ตอบว่า “อ้าว ไม่รู้จักท่านเจ้าคุณนรฯ เหรอ ท่านเป็นมหาดเล็กของรัชกาลที่ ๖ เมื่อเสด็จสวรรคตแล้ว ท่านบวชหน้าไฟถวายแล้วไม่ยอมสึกเลย”


     เป็นครั้งแรกที่กระผมได้ยินชื่อท่านเจ้าคุณนรฯ เพียงทราบประวัติท่านอย่างคร่าวๆ เท่านั้น ศรัทธาในองค์ท่านก็บังเกิดขึ้นในใจเป็นครั้งแรก จึงขอให้คุณอาว์พาเข้าไปกราบท่านในโบสถ์


     เมื่อกระผมได้เห็นองค์ท่าน และเข้ามานั่งอยู่เบื้องหน้า ท่านกำลังคุยอยู่กับอุบาสก อุบาสิกา ที่ไปคอยพบในตอนเย็นหลังทำวัตรเสร็จ ซึ่งเป็นเวลาเดียวที่จะมีโอกาสพบท่านได้ เพียงแค่เห็นบุคลิกของท่าน ตลอดจนสังเกตเวลาที่ท่านพูดสั่งสอนผู้ที่มาพบท่าน ตาของท่านจะทอดลงต่ำเสมอ บางครั้งจะยิ้มน้อยๆ ความเลื่อมใสในองค์ท่านได้บังเกิดขึ้นในใจกระผมตั้งแต่บัดนั้น


     กระผมจำได้ว่าประโยคหนึ่งที่ท่านเอ่ยกับกระผม เมื่อได้เวลาที่ท่านจวนจะกลับกุฏิคือ “Good example is better than teaching.” ซึ่งตรงกับความเห็นของกระผมเลย เนื่องจากเห็นว่าการสอนให้คนอื่นทำดีนั้นง่ายกว่าการที่ผู้สอนจะทำดีเสียเองเป็นไหนๆ เย็นนั้นกระผมกลับบ้านด้วยใจที่ปลาบปลื้ม และตั้งใจไว้ว่าในระหว่างที่บวช จะพยายามอยู่ใกล้ชิดท่านให้มากที่สุด


     วันที่ ๖ เมษายน ๒๕๑๒ พิธีบวชผ่านไปอย่างเรียบร้อย กระผมได้ถือเพศเป็นพระภิกษุตามที่ได้ตั้งใจไว้นานแล้ว ได้รับฉายาว่า ธมฺมติลโก


เหตุการณ์ขณะถือเพศบรรพชิต

ต่อไปนี้เป็นเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับตัวกระผม เฉพาะที่เกี่ยวเนื่องกับท่านเจ้าคุณนรฯ จากการสังเกตปฏิปทาจริยวัตร และคำสอนของท่านเท่าที่ได้บันทึกไว้


     เย็นวันนั้น (วันที่บวช) หลังจากลงโบสถ์ทำวัตรเย็นเสร็จ พระรูปอื่นๆ กลับกุฏิหมดแล้ว เหลือแต่ท่านเจ้าคุณนรฯ ท่านพระมหาอำพันและกระผม กระผมก็ค่อยๆ คลานเข้าไปหาท่านเจ้าคุณนรฯ กราบท่านและสนทนาธรรมกับท่าน กระผมได้เรียนถามท่านว่าในปฏิจจสมุปบาทนั้น ธรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้นล้วนแต่อาศัยธรรมที่เกิดก่อนเป็นเหตุ อยากทราบว่าจุดเริ่มต้นอยู่ตรงห่วงไหน ท่านตอบว่า “ก็ต้องเป็นอวิชชา” และยังได้อธิบายต่อไปอีกว่า “เมื่อตัวอสุจิแหวกว่ายเข้าไปหาไข่ ก่อนที่จะปฏิสนธินั้น มันก็ไปด้วยอวิชชา คือความไม่รู้ และมีตัณหาในตัวของแม่เข้าประกอบกัน ผู้หญิงนั้นความจริงตัณหามากกว่าผู้ชาย แต่ได้ถูกปิดบังไว้ด้วยความอาย คนเราถ้าจิตยังฝักใฝ่อยู่ในกาม ร่างกายจะสร้าง Sperm แต่ถ้าละกามได้ ร่างกายจะกลับไปสร้างส่วนสมองแทน เมื่อถึงที่สุดตัดกามฉันทะได้เด็ดขาดแล้ว ร่างกายจะหยุดผลิต Sperm เอาเลย” อันนี้เป็นความรู้ใหม่ ซึ่งยังไม่เคยอ่านพบในหนังสือธรรมะเล่มใดเลย



บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 24 มกราคม 2553 23:46:29 »






ตามปกติแล้ว ในเวลาเย็นหลังจากทำวัตรเสร็จ กระผมมักจะเข้าไปเรียนถามปัญหาธรรมกับท่าน
ซึ่งท่านก็ได้กรุณาแก้ข้อสงสัยให้กระผมทุกครั้ง

จากกิตติศัพท์ที่ได้ทราบมาท่านไม่ใคร่ได้คุยกับพระลูกวัดองค์อื่นๆ เท่าใดนัก นอกจากท่านพระมหาอำพันองค์เดียว
ซึ่งเวลาทำวัตรเย็นจะนั่งอยู่ข้างๆ ท่าน พอทำวัตรเย็นเสร็จ ส่วนมากท่านมักจะมีแขก

ที่เป็นฆราวาสมารอพบในโบสถ์ ท่านจะสนทนากับเขาเหล่านั้น บางคนเรียนถามปัญหาธรรมที่ตัวเองสงสัย

ท่านก็จะตอบแก้ให้ บางครั้งท่านไม่ตอบตรงๆ แต่พูดให้เป็นปริศนาธรรม ในระหว่างนี้กระผมก็ถือโอกาสเข้าไปนั่งใกล้ๆ ท่าน
คอยเงี่ยโสตลงสดับธรรมอันเป็นประโยชน์จากท่าน บางครั้งก็เรียนถามท่านในสิ่งที่ตัวเองยังสงสัย

เช่น วันหนึ่งหลังจากที่กระผมได้ขอยืมหนังสือ พระอภิธรรมมัตถสังคหะ จากหลวงปู่หลุยมาอ่าน แล้วติดศัพท์อยู่คำหนึ่ง
คือ พระโยคีผู้สโตการี เลยเรียนถามท่านว่า สโตการี แปลว่าอะไร
 

ท่านตอบว่า “สโต คือ สติ การี คือ ผู้กระทำ สโตการี คือ ผู้กระทำสติ”


อีกคำหนึ่งคือ วิขัมภนปหาน ท่านตอบว่า “ข่มเอาไว้ด้วยฌาน” ตราบเท่าที่ฌานยังไม่เสื่อม กิเลสก็ยังไม่กำเริบ
เหมือนกับเอาหินทับหญ้า เมื่อเอาหินออก หญ้าก็งอกขึ้นมาอีกได้

บางครั้งท่านก็พูดสั่งสอนให้เป็นแง่คิด เช่น “กิเลสที่เกิดขึ้นกับจิตนั้น อยู่ที่เจ้าตัวผู้นั้นจะเต็มใจรับมันเอาไว้หรือไม่
ถ้าไม่รับ มันก็เกิดไม่ได้ คือ ทำใจให้เหมือนกับใบบัว

เมื่อมีน้ำมากระทบก็จะกระเด็นร่วงไป โดยที่ใบบัวไม่มีรอยเปียกเลย”






บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: 25 มกราคม 2553 00:31:19 »





พระกรรมฐานกลางกรุง (๓)

  พระบวชใหม่รูปหนึ่งเรียนถามท่านว่า เรื่องในคัมภีร์ที่ว่า ผู้มีฤทธิ์เหาะเหินเดินอากาศได้นั้น เป็นความจริงเพียงใด ท่านไม่ตอบตรงๆ ว่าได้หรือไม่ได้ แต่ตอบแบบที่ให้ผู้ฉลาดเอาไปคิดเองว่า“ในสมัยโบราณ คนเขาไม่เชื่อว่าจะเอาเหล็กมาต่อเรือได้ เพราะเหล็กจมน้ำ”ท่านยังกล่าวเสริมอีกว่า“การเหาะเหินเดินอากาศได้นั้น เกิดแต่เหตุปัจจัยหลายอย่าง เกิดแต่กรรมก็มี เช่น นก กา บินไปมาได้ ผู้ที่ได้โลกียอภิญญาก็เหาะได้ เช่น พระเทวทัต แล้วจะกล่าวไปไยกับผู้ที่ได้โลกุตตรอภิญญา”

กระผมเรียนถามท่านว่า พระอรหันต์ที่ไม่ได้ฌานมีบ้างหรือไม่ ท่านตอบว่า “มี คือพระอรหันต์สุกขวิปัสสก ซึ่งแนวปฏิบัติของท่านมุ่งตรงไปในทางวิปัสสนาเลย โดยใช้เพียงขณิกสมาธิเป็นบาทฐาน พระอรหันต์แบบนี้จะได้ญาณเพียงข้อเดียว คือ อาสวักขยญาณ ซึ่งหมายถึงญาณที่ทำให้กิเลสหรืออาสวะทั้งหลายหมดสิ้นไป”


     เย็นวันหนึ่งท่านได้เอ่ยกับกระผมว่า “พระโสดาบันนั้น ท่านยังตัดกามไม่ขาด ยังมีเมียอยู่ ส่วนพระสกิทาคามีนั้น ถึงจะมีเมียอยู่ ก็เหมือนเป็นเพื่อนกัน ไม่ได้ร่วมหลับนอนด้วย”


    “ส่วนการเห็นแจ้งในพระนิพพานนั้น พระโสดาบันเห็นเหมือนฟ้าแลบ คือพอฟ้าแลบก็เห็นว่ามีอะไรอยู่บ้าง เรียกว่าได้ดวงตาเห็นธรรม พระอนาคามีนั้นเห็นเหมือนในคืนเดือนหงาย คือยังไม่ชัดแจ้ง ส่วนพระอรหันต์นั้นเห็นชัดแจ้งเหมือนในเวลากลางวันเลยทีเดียว”


     ในระหว่างที่กระผมบวชอยู่นั้น มีความอยากที่จะทราบว่า พระโสดาบันกับพระอรหันต์นั้นท่านรู้ในธรรมต่างกันอย่างไร แต่ก็ยังมิได้เอ่ยปากเรียนถามท่านตรงๆ คงเก็บความสงสัยนั้นเอาไว้ วันหนึ่งหลังจากทำวัตรเย็นเสร็จ พระองค์อื่นๆ กลับกุฏิหมดแล้ว เหลือแต่ท่านเจ้าคุณนรฯ กับกระผม ท่านกำลังเดินออกประตูโบสถ์ทางด้านหลังจะกลับกุฏิ กระผมเดินตามหลังท่านมาติดๆ ท่านก้าวลงบันไดด้านหลังโบสถ์ เดินเลี้ยวขวาไปตามทางคอนกรีตซึ่งเป็นทางกลับกุฏิท่าน ขณะนั้นท่านอยู่ห่างจากกระผมพอสมควรเพราะท่านเดินเร็ว พอกระผมลงบันไดตามท่านมาถึงทางเท้าเพื่อจะกลับกุฏิกระผมเช่นกัน ทันใดนั้นท่านหันหลังกลับ เดินตรงมาหากระผม หยุดแล้วกล่าวเบาๆ ว่า “พระโสดาบันรู้ว่าสิ่งใดมีเกิด สิ่งนั้นมีดับ พระอรหันต์รู้ว่าสิ่งใดไม่มีเกิด สิ่งนั้นไม่มีดับ” ท่านพูดเพียงเท่านี้ก็หันหลังเดินกลับกุฏิไป เหตุการณ์ครั้งนี้กระผมแน่ใจเลยว่า ท่านต้องรู้ใจกระผม ท่านจึงมาตอบปัญหาให้หายสงสัย ทำให้กระผมเข้าใจว่าที่ท่านพูดว่าสิ่งใดมีเกิด สิ่งนั้นมีดับ หมายถึงธรรมทั้งปวงในโลกนี้ที่ยังต้องอาศัยปัจจัยปรุงแต่ง ส่วนสิ่งที่ไม่มีทั้งเกิดและดับนั้น ก็คือธรรมที่ไม่ต้องอาศัยปัจจัยปรุงแต่งและไม่ปรุงแต่งสิ่งใด ซึ่งหมายถึงพระนิพพานนั่นเอง พระโสดาบันจึงได้ชื่อว่าเป็นผู้ได้ดวงตาเห็นธรรม ส่วนพระอรหันต์นั้นเป็นผู้ทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน


     หลังจากที่กระผมบวชแล้วได้มีโอกาสศึกษาข้อธรรมในเรื่องการปฏิบัติ ก็เกิดความคิดขึ้นมาว่าการศึกษาเกี่ยวกับศาสตร์ต่างๆ ทั้งหลายในโลก ที่เราเรียนกันเพื่อไปประกอบอาชีพก็ดี หรือเพื่อการอื่นก็ดี ล้วนเป็นการเรียนจากภายนอกเข้ามาภายในทั้งสิ้น ส่วนการศึกษาปฏิบัติในทางธรรมตามคำสอนของพระศาสดานั้น เป็นการเรียนจากภายในออกมาภายนอก


     ความคิดนี้ก็ยังมีอยู่ เย็นวันหนึ่งหลังจากทำวัตรเย็นเสร็จ ท่านเจ้าคุณนรฯ ได้กล่าวกับพวกเราพระนวกะว่า “การศึกษาเล่าเรียน ความรู้ทั้งหลายในโลก เช่น วิทยาศาสตร์ อักษรศาสตร์ ฯลฯ จนกระทั่งสำเร็จได้ปริญญา เป็นการเรียนจาก ภายนอกเข้ามาภายใน ไม่มีวันที่จะจบสิ้นได้ เพราะว่าความรู้ในโลกมีมากมายเหลือเกิน แต่มีการเรียนอีกชนิดหนึ่งเป็นการเรียนจาก ภายในมาหาภายนอก คือการปฏิบัติธรรมนี่แหละ เพราะว่าพระพุทธเจ้าบัญญัติธรรมทั้งปวงไว้ในกายของบุคคล ที่ยาวหนึ่งวาหนาหนึ่งคืบพร้อมทั้งสัญญาและใจ การเรียนชนิดนี้มีที่สิ้นสุด เมื่อใครจบแล้วก็จะรู้ได้ด้วยตัวเอง” ท่านช่างพูดได้ตรงกับที่ใจกระผมกำลังคิดอยู่ในขณะนั้นเลย นี่ก็เป็นหลักฐานอีกอันหนึ่งที่แสดงว่าท่านรู้วาระจิตกระผม


     นอกจากนี้ยังมีเหตุการณ์อื่นๆ อีกที่เป็นหลักฐานได้ว่าท่านสามารถล่วงรู้วาระจิตกระผม เช่น เย็นวันหนึ่งท่านกล่าวกับกระผมเป็นการส่วนตัวว่า “ปริยัติน่ะพอแล้ว ให้เริ่มปฏิบัติเถอะ” แสดงว่าท่านจะต้องทราบว่าก่อนกระผมมาบวชนั้นได้ศึกษาธรรมมาบ้างพอสมควร โดยเฉพาะแนวทางของการทำกรรมฐาน


     อีกวันหนึ่ง ณ บริเวณทางเท้าด้านหลังโบสถ์หลังจากทำวัตรเย็นเสร็จ พระทุกองค์กลับกุฏิหมดแล้ว เหลือแต่ท่านเจ้าคุณนรฯ และกระผม ขณะนั้นคนดูแลโบสถ์ปิดประตูโบสถ์แล้ว รอบตัวมีแต่ความเงียบและความมืด กระผมได้กราบเรียนถามท่านถึงสิ่งซึ่งจะเอื้ออำนวยให้การทำกรรมฐานสำเร็จว่ามีอะไรบ้าง และราวกับท่านจะทราบวาระจิตกระผมขณะนั้นว่าทางโลกและทางธรรมยังยื้อยุดกันอยู่ แม้จะสนใจศึกษาทางธรรมมาบ้าง แต่ก็ยังตัดทางโลกไม่ขาด ท่านได้กล่าวกับกระผมว่า “รู้แล้วนี่ จะไปเมื่อไหร่ก็เอา” ต่อจากนั้นท่านก็ได้อธิบายถึงสัปปายะต่างๆ เช่น อาวาสสัปปายะ โคจรสัปปายะ เป็นต้น แล้วอธิบายแจกแจงแต่ละข้อให้เข้าใจ พอจบแล้วกระผมก็กราบลาท่านกลับกุฏิด้วยความซาบซึ้งในความกรุณาของท่าน


     ตอนเย็นบางวันหลังจาทำวัตรเสร็จ กระผมมักจะไปเดินเล่นบริเวณทางเดินระหว่างกำแพงด้านหน้าโบสถ์กับกำแพงที่คั่นวัดกับโรงเรียนเทพศิรินทร์ วันหนึ่งระหว่างเดินเล่นเกิดความคิดขึ้นมาว่าสถานที่ทางธรรมกับทางโลกนี่ช่างแบ่งกันเป็นสัดเป็นส่วนดีจริง มีกำแพงกั้นไว้เหมือนอยู่คนละโลก แม้จะอยู่ติดกันก็ตาม พอเย็นวันรุ่งขึ้นหลังจากทำวัตรเสร็จ ท่านเจ้าคุณนรฯ ได้กล่าวกับพระนวกะรวมทั้งกระผมด้วยว่า “บรรพชิตกับฆราวาสนั้นเหมือนกับอยู่กันคนละโลก ดูซิ เขตวัดเขาก็ทำกำแพงมากั้นไว้เป็นสัดส่วน” ท่านช่างพูดได้ตรงกับใจกระผมจริงๆ ท่านคงต้องทราบว่ากระผมคิดอะไรอยู่ คำพูดนี้กระผมรู้สึกเสมือนว่าท่านพูดกับกระผมแต่เพียงผู้เดียว


     กระผมได้มีโอกาสอ่านหนังสือพระอภิธรรมมัตถสังคหะ เมื่ออ่านไปถึงบทที่ว่าด้วยวิปัสสนามีการกล่าวถึงวิปัสสนูกิเลส ซึ่งถ้าพระโยคาวจรไปติดอยู่ก็จะไม่ได้ซึ่งมรรคผล แต่ถ้ารู้ทันว่าเป็นเพียงอุปกิเลสซึ่งมาคู่กับวิปัสสนาแล้วทำความเพียรต่อไป โคตรภูจิต จึงจะเกิดแล้วทำหน้าที่ยึดหน่วงเอานิพพานเป็นอารมณ์ ครอบเสียซึ่งจิตสันดานอันเป็นปุถุชนโคตร ต่อจากนั้นมรรคจิตและผลจิตจึงจะเกิดตามมา


     ๒-๓ วันต่อมา หลังจากทำวัตรเย็น ท่านเจ้าคุณนรฯ ได้พูดกับพวกเราพระนวกะว่า“บางคนทำวิปัสสนา พอเห็นแสงสว่างเกิดขึ้นตรงหน้า (โอภาส) ก็นึกว่าตัวเองสำเร็จแล้วดีใจ ร้องเอะอะ เลยกลายเป็นบ้าไป เพราะไปยึดถืออุปกิเลสว่าเป็นตัวมรรคผล” พอท่านพูดมาถึงแค่นี้ ท่านก็หันมามองหน้ากระผม แล้วกล่าวพร้อมกับยิ้มน้อยๆ ว่า “นั่นยังไม่ใช่ โคตรภู นี่ก็แสดงว่าท่านจะต้องล่วงรู้ถึงวาระจิตของกระผมว่ามีความเข้าใจในคำนี้แล้ว ซึ่งในความเป็นจริงกระผมเพิ่งทราบคำนี้จากกการอ่านพระอภิธรรมฯ ได้เพียง ๒-๓ วัน เท่านั้น


     เป็นที่ทราบกันดีในหมู่บรรพชิตและคฤหัสถ์ทั้งหลายว่าท่านเจ้าคุณนรฯ ไม่รับแขกในกุฏิของท่าน กระผมได้มีโอกาสเห็นข้างในกุฏิชั้นล่างของท่านเพียงครั้งเดียวเท่านั้น คือในตอนสายวันหนึ่งหลังจากทำวัตรเช้าเสร็จ พวกเราพระนวกะ ๔-๕ รูป ตามท่านเจ้าคุณนรฯ ไปที่กุฏิ ท่านได้แจกแผ่นพับคำสอนของท่าน เรื่อง “หน่ายกาม” (อ่านต่อได้ที่ภาคผนวก ๑ ) ข้อความในนั้นเป็นภาษาอังกฤษพร้อมกับมีคำแปลภาษาไทย พระนวกะด้วยกันได้เล่าให้ฟังว่าเป็นคำเทศนาของท่านที่ได้กรุณาแก่พระฝรั่งรูปหนึ่ง ซึ่งเดินทางมาจากต่างจังหวัดมาคอยพบท่าน พระรูปนี้ได้กราบเรียนถามถึงวิธีแก้เมื่อมีกามวิตกเข้ามารบกวนขณะกำลังบำเพ็ญเพียรภาวนา ท่านได้เทศน์เป็นภาษาอังกฤษให้พระรูปนั้นฟังถึงวิธีแก้ ภายหลังท่านพระมหาอำพันมีความเห็นว่าคำสอนนั้นเป็นประโยชน์ควรบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร จึงได้จัดทำแผ่นพับนี้ขึ้น นอกจากนั้นพวกเรายังได้รับแจกสำเนาสิ่งพิมพ์อีกฉบับหนึ่งเป็นภาษาอังกฤษ แผ่นหน้าเป็นคำรำพึงสั้นๆ ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถึงเรื่องการแยกกายกับจิตขณะกำลังเสวยทุกขเวทนา ภายในเป็นประวัติสั้นๆ ของท่านเจ้าคุณนรฯ และคำสั่งสอนของท่าน ในตอนนั้นมีพระนวกะรูปหนึ่งซึ่งมีอายุมากกกว่าเพื่อนพูดขึ้นว่า “น่าจะเอาไปพิมพ์แจกเผยแพร่ให้คนทั่วไปได้อ่าน” ท่านรีบห้ามทันทีแล้วพูดว่า “อย่าให้เป็น Propaganda เลย”


     ต่อมาท่านได้พาพวกเรามายืนที่ข้างกุฏิของท่านทางด้านสระน้ำ มองเข้าไปในห้องเห็นโลงไม้สัก ซึ่งท่านทำเตรียมไว้ใส่ศพท่านเองมานานแล้ว พระในกลุ่มรูปหนึ่งเล่าให้กระผมฟังว่า สมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ เมื่อเวลาที่กรุงเทพฯ ถูกทิ้งระเบิด ท่านจะลงไปนอนในโลงเตรียมพร้อม ส่วนที่ฝาผนังห้องเหนือโลงนั้น มีโครงกระดูกมนุษย์เต็มตัวแขวนไว้ ท่านบอกว่าเอาไว้เพ่งพิจารณา ต่อจากนั้นท่านได้ยังได้กรุณาสอนพวกเราอีกว่า “ถ้ากามฉันทะยังละไม่ได้ละก็ สมาธิก็ไม่สามารถเจริญได้ เพราะธรรมทั้งสองอย่างนี้เป็นข้าศึกแก่กันและกัน พระพุทธเจ้าท่านต้องการให้คนที่มีกามราคะมากๆ มาบวช แล้วมาละเสีย ท่านไม่ต้องการให้พวกกามตายด้านหรือพวกกะเทยมาบวช แม้ตอนขานนาคก็ยังมีคำถามไว้ซักฟอก” ตอนนั้นกระผมไม่ทันได้พิจารณาถึงคำขานนาคในพิธีอุปสมบทให้ดี จึงได้เรียนถามท่านด้วยคำถามที่โง่ๆ ไปว่า “มีหรือครับที่ห้ามกะเทยมาบวช” ท่านก็ตอบกลับมาว่า “ให้ไปดูคำขานนาคเสียใหม่” ซึ่งต่อมาหลังจากได้พิจารณาแล้ว ก็นึกขึ้นมาได้ถึงคำว่า ปุริโสสิ (เจ้าเป็นบุรุษหรือเปล่า) นั่นเอง



บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #5 เมื่อ: 25 มกราคม 2553 07:59:09 »



พระกรรมฐานกลางกรุง (๔)

ก่อนที่กระผมจะมาบวช ได้เคยศึกษาวิธีทำใจให้สงบมาบ้าง โดยการตามดูลมหายใจเข้าและออก หรืออานาปานสติ เคยทดลองทำแต่ก็ยังไม่ค่อยได้ผลเท่าไร เพราะจิตฟุ้งซ่านมาก เมื่อได้เข้ามาบวชจึงตั้งใจว่าลองฝึกดูอีก แม้จะไม่สำเร็จก็ไม่เป็นไร เคยได้ยินมาว่าให้บริกรรมด้วยคำว่า “พุทโธ” (หายใจเข้า) และ “โธ” (หายใจออก) ได้ลองทำดู แต่ประเดี๋ยวเดียวจิตก็หนีไปเสียแล้ว นึกถึงคำที่ท่านเจ้าคุณนรฯ เคยสอนว่า “อย่ากำหนดลมให้ต่ำเกินไปนัก เช่นถึงสะดือจะทำให้เกิดกำหนัด ให้วางเอาไว้แค่อก” กระผมลองทำดูตอนแรกๆ ก็ล้มลุกคลุกคลาน สักพักหนึ่งร่างกายก็ค่อยๆ สงบระงับลงตามลำดับ ขาที่เคยเป็นเหน็บก็ไม่เป็น ลมหายใจค่อยๆ สั้นและแผ่วลงทุกที จนบางครั้งแทบจะกำหนดไม่ได้ ขณะนั้นรู้สึกตัวว่าที่ผิวหนังตามตัวทั่วไป โดยเฉพาะที่หน้าอก หลัง แขน ขา โปร่งเหมือนผ้าที่มีรูพรุนๆ แล้วมีลมผ่านเข้าออกตามรูเหล่านั้น (คงเป็นรูขุมขนนั่นเอง) รู้สึกราวกับว่าไม่ได้หายใจทางจมูกแต่หายใจทางผิวหนังแทน ขณะนั้นรู้สึกเหมือนมีผู้รู้ภายนอกกำลังเฝ้าดูตัวเอง เหมือนกับกองอะไรกองหนึ่งที่พองยุบได้สลับกันไป ไม่ได้เห็นว่าเป็นคนหรือตัวเราอะไรทั้งสิ้น รู้สึกมีความสุขมากชนิดที่ไม่เคยพบมาก่อนในชีวิต เกิดคำถามขึ้นมาในใจว่า “หรือว่าการกระทำแบบนี้เป็นการเจริญวิปัสสนา?” เพราะในเวลานั้นยังไม่ทราบว่าการเจริญวิปัสสนาเป็นอย่างไร แต่ก็ไม่ได้เรียนถามท่าน


     พอออกจากสมาธิ จิตใจเบิกบานเกิดปีติปราโมทย์อย่างมาก เหมือนกับได้อาหารมาหล่อเลี้ยง เลยระลึกถึงคำที่ท่านเจ้าคุณนรฯ เคยกล่าวกับกระผมว่า “ข้าวน้ำเป็นอาหารของกาย ฌานก็เป็นอาหารของใจ”


     ใกล้เวลาลงโบสถ์ทำวัตรเย็น กระผมรีบครองจีวรแล้วเดินไปที่โบสถ์ ที่นั่นท่านเจ้าคุณนรฯ มายืนรอประตูโบสถ์เปิดอยู่ก่อนแล้ว พร้อมทั้งพระนวกะอีก ๒-๓ รูป กระผมรีบถือโอกาสเข้าไปเรียนถามท่านทันทีว่า “เวลาทำสมาธิจนถึงจุดหนึ่งนั้น สามารถหายใจทางผิวหนังได้จริงหรือเปล่าครับ” ท่านตอบว่า “เรื่องนี้ในประเทศอิตาลีเขามีการทดลอง โดยเอาปูนพลาสเตอร์พอกที่ผิวหนังของผู้ที่ทำสมาธิ ปรากฏว่าตายเพราะขาดอากาศ” คำตอบของท่านจึงเป็นการสนับสนุนความรู้ที่เกิดจากประสบการณ์ของกระผมในเรื่องนี้


     คืนวันหนึ่งกระผมนั่งสมาธิกำหนดลมหายใจแบบเดิม จิตเป็นสมาธิดีมาก ร่างกายสงบระงับ ไม่มีการปวดเมื่อย กระผมนั่งอยู่ในท่าขัดสมาธิท่าเดียวโดยไม่ได้เปลี่ยนเลย พอออกจากสมาธิแล้วดูนาฬิกา พบว่าตนเองนั่งอยู่ได้นานถึงชั่วโมงครึ่ง ซึ่งไม่เคยทำได้มาก่อน ตั้งแต่วันนั้นกระผมไม่สงสัยเลยว่า ทำไมท่านเจ้าคุณนรฯ จึงสามารถนั่งได้คราวละนานๆ กว่าจะเปลี่ยนท่านั่งใหม่ ตามที่กระผมสังเกตเห็น โดยเฉพาะในวันสำคัญทางศาสนา เช่น วันวิสาขบูชา ฯลฯ


     เรื่องนี้ท่านเจ้าคุณนรฯ เคยบอกกระผมอยู่เสมอว่า “เมื่อจิตเป็นสมาธิแล้ว ร่างกายจะสงบระงับไปด้วย เลือดลมจะเดินสะดวก เมื่อออกจากสมาธิแล้ว จะไม่มีการปวดเมื่อยหรือเป็นเหน็บ ไม่ใช่ว่าพอเป็นเหน็บแล้วก็ทนเอาไว้ เพราะจะให้ได้ชื่อว่านั่งได้นาน แบบนั้นเป็น อัตตกิลมถานุโยค หรือการทรมานตนเอง ซึ่งพระพุทธเจ้าไม่ให้เข้าไปส้องเสพ”


     กระผมเคยเรียนถามท่านว่า ทำไมพระพุทธรูปทุกองค์จึงต้องมีพระเกศแหลมขึ้นไปอย่างนั้น ท่านได้อธิบายให้ฟังว่า “นั่นคือรูปของเปลวไฟซึ่งกำลังเผากิเลส ส่วนที่มารวมกันแหลมเป็นยอดเดียว หมายถึงจิตถึงซึ่งความเป็นหนึ่ง หรือ เอกัคคตา”


     เรื่องที่ท่านเจ้าคุณนรฯ สามารถรู้วาระจิตได้นั้นมีอีกเรื่องหนึ่ง จำได้ว่าเย็นวันหนึ่งขณะที่พระนวกะกำลังยืนรอประตูโบสถ์ด้านหลังเปิดเพื่อเข้าไปทำวัตรเย็น ขณะนั้นมีชายหนุ่มคนหนึ่งท่าทางเป็นคนมีการศึกษามากับผู้หญิงสาว (ไม่ทราบว่าเป็นภรรยาหรือคู่รักกัน) เขาพาผู้หญิงคนนั้นมากราบท่านแล้วบอกว่า จะขอลาไปอยู่เมืองนอก ทั้งๆ ที่ตอนนั้นอยู่ในเพศบรรพชิต กระผมก็ยังอดมองผู้หญิงคนนั้นไม่ได้ ในใจคิดว่าผู้หญิงคนนี้เป็นคนสวยทีเดียว ขณะนั้นรู้สึกตัวว่ามีราคะเกิดขึ้น พอหนุ่มสาวคู่นั้นลาท่านกลับไปแล้ว ท่านพูดกับกระผมเป็นเชิงเตือนสติว่า “เห็นไหมล่ะ ผู้หญิง ดูด้วยตาเนื้อ สวยไหม สติที่ตามมาทันเท่านั้นจึงจะช่วยได้”


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 25 มกราคม 2553 08:00:41 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #6 เมื่อ: 25 มกราคม 2553 09:35:01 »




เย็นวันหนึ่งขณะที่ท่านกำลังจุดธูปเทียนเพื่อนำพวกเราทำวัตร ท่านปรารภขึ้นว่า มีอุบาสกอุบาสิกาพวกหนึ่งพาคนเป็นไข้มาหาท่าน เพื่อขอให้รดน้ำมนต์ ท่านได้ปฏิเสธไป พวกนั้นก็พยายามอ้อนวอนจะให้ท่านรดให้ได้ ท่านก็ไม่รด ท่านกล่าวกับพวกเราว่า “เป็นไข้ ก็ต้องไปให้หมอรักษาซิ มาให้รดน้ำมนต์ เดี๋ยวเกิดเป็นนิวมอเนียไปแล้วจะว่ายังไง พิลึก!”


     ค่ำวันหนึ่งหลังจากทำวัตรเสร็จ พระรูปอื่นกลับกุฏิหมดแล้ว กระผมยังไม่กลับเช่นเคย รอจนท่านเจ้าคุณนรฯ ลุกขึ้นจะเดินกลับกุฏิ ก็เดินตามท่านมา พอลงบันไดหลังโบสถ์ถึงทางเดิน กระผมจำไม่ได้ว่าได้ถามคำถามอะไรท่าน รู้แต่ว่าใจยังไม่อยากให้ท่านกลับกุฏิ อยากจะสนทนากับท่าน ท่านเองก็คงรู้ใจ ท่านได้เล่าเรื่องส่วนตัวให้กระผมฟังว่าท่านเคยโดนสัตว์ขบกัด ๒ ครั้ง แต่ไม่ยักตาย


     ครั้งแรก ขณะที่ท่านกำลังเดินอยู่หลังกุฏิซึ่งเป็นพงหญ้า มีคางคกตัวหนึ่งกัดท่านที่หลังเท้า ท่านได้รับทุกขเวทนามาก แต่อดกลั้นไว้ได้ ท่านถามคนดูแลโบสถ์ว่าคนโดนคางคกกัดจะตายไหม เขาตอบว่าตายทุกราย ท่านก็เลยบอกเขาว่าถ้าพรุ่งนี้ท่านไม่ลงโบสถ์ตอนเช้า ก็แปลว่าท่านตายแล้วก็แล้วกัน ท่านเล่าว่าคืนนั้นทั้งคืนท่านเข้าฌาน พอตอนเช้าออกจากฌานแล้ว ลืมตาดูขาข้างที่โดนกัด ก็เห็นขาบวมมาก ข้อเท้ามีขนาดโตเท่ากับหัวเข่า แต่ท่านไม่รู้สึกเจ็บปวด ต่อจากนั้นอาการก็ค่อยๆ ทุเลาขึ้น จนกระทั่งหายไปเอง โดยที่ท่านไม่ต้องรักษาแต่ประการใด


     อีกครั้งหนึ่ง เรื่องเกิดขึ้นตอนเย็นเช่นกัน หลังจากที่ท่านซักจีวรเสร็จกำลังจะเอาไปตาก ทันใดนั้น ท่านรู้สึกว่าเท้าท่านไปเหยียบอะไรอย่างหนึ่งหยุ่นๆ แล้วก็รู้สึกเจ็บแปลบที่หน้าแข้ง พอท่านก้มลงดูก็เห็นงู ซึ่งดูเหมือนจะเป็นงูเห่าตะลานกำลังรัดข้อเท้าท่านอยู่ ท่านค่อยๆ บรรจงแกะงูตัวนั้นออก แล้วไปบอกพระที่อยู่กุฏิข้างๆ ว่าท่านโดนงูกัด ก็เลยช่วยกันเอาปี๊บมาดักงูไว้ และด้วยเมตตาจิตของท่านที่เกรงว่าเขาจะจับงูไปส่งให้สถานเสาวภา ท่านจึงสั่งพระให้เอาไปปล่อยเสีย แล้วท่านก็รักษาแผลด้วยฌานจนหายในที่สุด


     สำหรับเรื่องมโนมยิทธิของท่านเจ้าคุณนรฯ นั้น เย็นวันหนึ่ง ขณะที่พวกเราพระนวกะกำลังรอท่านลงโบสถ์เพื่อทำวัตรเย็นตามปกติ มีชายผู้หนึ่งอายุราวๆ ๕๐ ปีเศษ มารอพบท่าน กระผมเข้าไปถามเขาว่ามาจากไหน เขาบอกว่าเขาเป็นคนขับรถเมล์ขาว เคยติดต่อกับท่านเสมอๆ และท่านก็ได้กรุณาไปหาเขาถึงบ้านบ่อยๆ กระผมเกิดความสงสัยขึ้นมาว่า เอ๊ะ! ท่านไม่เคยออกไปนอกวัดเลยตลอด ๔๐ พรรษา ทำไมเขาจึงอ้างว่าท่านไปหา ลองถามดูได้คำตอบว่าท่านไปหาเขาด้วยจิต โดยถอดกายทิพย์ไป (แบ่งภาค) โดยที่ตัวท่านยังนั่งอยู่ที่กุฏินั่นแหละ เขาบอกว่าต้องการจะมากราบเท้าท่านนานแล้ว เพิ่งหาโอกาสได้


     ขณะกำลังสนทนากันอยู่นั้น ท่านเจ้าคุณนรฯ เดินขึ้นมาทางหลังโบสถ์จะเข้าประตู เราจึงต้องหยุดการสนทนา ขณะที่ท่านกำลังจะก้าวผ่านประตูโบสถ์ กระผมเห็นชายผู้นั้นทรุดตัวลงนั่งคุกเข่าแล้วก้มลงกราบบนหลังเท้าของท่านด้วยความเคารพอย่างสูง เป็นภาพที่ประทับใจทุกคนที่อยู่ ณ ที่นั้น ท่านได้หยิบเอาหนังสือ “สันติวรบท”(อ่านต่อได้ที่ภาคผนวก ๒ ) เล่มเล็กให้แก่ชายผู้นั้นโดยใส่ไว้ในกระเป๋าเสื้อของเขา แล้วกล่าวว่า “เอาเก็บไว้ใกล้ๆ กับใจ” แล้วท่านก็เดินเข้าโบสถ์ พวกเราจึงเดินตามท่านเข้าไป


     กระผมรู้สึกว่าขณะที่มาบวชอยู่นี้ได้ใช้เวลาให้หมดไปอย่างมีค่าที่สุด บางวันเกิดวิตกขึ้นมาว่าสัตว์ทั้งหลายที่เกิดในภพใด ก็มักจะติดอยู่ในเครื่องร้อยรัดแห่งภพนั้น เช่น กามภพก็ติดข้องอยู่ในกาม รูปภพก็ติดข้องอยู่ในรูป แต่น่าอัศจรรย์ที่ว่าพระพุทธเจ้าท่านเกิดในกามภพแท้ๆ แต่ท่านกลับไม่ติดข้องอยู่ในกาม


     หลังจากนั้นอีกไม่กี่วันกระผมได้มีโอกาสสนทนาธรรมกับท่านเจ้าคุณนรฯ ตอนหนึ่งท่านพูดขึ้นว่า “พระพุทธเจ้าเกิดในกามภพแต่ตัวไม่เปื้อนกาม เหมือนกับบัวเกิดในตม แต่ไม่เปื้อนตม เพชรเกิดในหิน แต่ไม่เปื้อนหิน” ท่านช่างล่วงรู้ใจกระผมยิ่งนัก






บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #7 เมื่อ: 25 มกราคม 2553 09:36:47 »






พระกรรมฐานกลางกรุง (๕)


ภายหลังจากที่ได้บันทึกครั้งที่แล้ว กระผมยังมีเรื่องราวที่นึกขึ้นได้อีก

เห็นสมควรบันทึกต่อเพื่อความสมบูรณ์

กระผมจึงจะขอเขียนแยกเป็นแต่ละเหตุการณ์ไปครับ


เมื่อใกล้จะถึงวันวิสาขบูชาของปีนั้น (๒๕๑๒) กระผมตั้งใจว่า ในคืนวันวิสาขบูชาจะนั่งอยู่ในโบสถ์ตลอดทั้งคืนไม่นอน เพื่อที่จะทำตามปฏิปทาเดียวกับท่านเจ้าคุณนรฯ และเพื่อเป็นการตอบแทนบูชาพระคุณองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า


     เมื่อวันสำคัญนั้นมาถึง กระผมรู้สึกมีความปีติยินดีมากที่จะได้ร่วมพิธีเวียนเทียนรอบโบสถ์ตามท่านเจ้าคุณนรฯ ในวันนั้นจำได้ว่า พระเถระทุกรูปรวมทั้งท่านเจ้าคุณนรฯ  มายืนประชุมพร้อมกันอยู่ที่ด้านหน้าพระอุโบสถอย่างเป็นระเบียบ เมื่อพระรูปที่เป็นประธานกล่าวถึงความสำคัญของวันวิสาขบูชาจบ พระทั้งหมดเริ่มเดินเวียนเทียนรอบพระอุโบสถจนครบ ๓ รอบ เสร็จแล้วต่างก็นำเทียนไปปักไว้ที่ขอบคอนกรีตที่ก่อไว้รอบโคนต้นโพธิ์ ข้างพระอุโบสถด้านทิศใต้ กระผมสังเกตเห็นท่านเจ้าคุณนรฯ นำเทียนไปปักทางด้านทิศเหนือของต้นโพธิ์ จึงทำตามท่านโดยเอาเทียนไปปักไว้ใกล้ๆ กับท่าน เพียงเพื่ออาศัยบารมีท่านเป็นที่พึ่งเท่านั้น

      หลังจากนั้นพระทั้งวัดได้เข้ามานั่งในโบสถ์เต็มไปหมด ทุกองค์นั่งประนมมือ ฟังพระธรรมเทศนาจากพระเถระที่นั่งอยู่บนธรรมาสน์ด้วยความเคารพ กระผมนั่งอยู่ในแถวหลังๆ เมื่อเวลาล่วงเลยไปจนดึก พระเริ่มทยอยกันออกจากที่นั่งหน้าพระประธานไปทีละองค์สององค์จนบางตา เริ่มจากพระนวกะก่อน ต่อมาก็พระเถระ และท่านเจ้าอาวาส ในที่สุดก็เหลือแต่ท่านเจ้าคุณนรฯ ท่านพระมหาอำพัน ที่เป็นพระคู่สวดให้กระผมตอนบวช และตัวกระผมเอง ซึ่งนั่งอยู่ห่างจากท่านทั้งสองมาก คืนนั้นทางวัดได้จัดพระมาเทศน์ให้ภิกษุ อุบาสก อุบาสิกา ฟังเป็นช่วงๆ ตลอดทั้งคืน ตัวกระผมเองไม่รู้สึกง่วงนอนเลย เพียงแต่รู้สึกหิวบ้างเล็กน้อยเท่านั้น เมื่อถึงเวลาเกือบ ๖ โมงเช้า กระผมจึงได้ลุกออกจากโบสถ์ เดินกลับกุฏิ พร้อมทั้งรู้สึกปลื้มปีติ ที่ได้ทำตามความตั้งใจได้สำเร็จ


     เมื่อตอนกระผมบวชใหม่ๆ ได้เกิดคำถามขึ้นมาในใจว่า ในบทไหว้ ๕ ครั้ง ของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดเทพศิรินทร์ฯ นั้น มีครั้งที่ ๔ ท่านให้ไหว้พ่อแม่ ก็ขณะนี้เราอยู่ในเพศบรรพชิตซึ่งสูงกว่าเพศฆราวาส ถ้าไหว้พ่อแม่แล้วจะถูกต้องหรือเปล่า ค่ำวันหนึ่งหลังจากทำวัตรเสร็จ ได้โอกาสจึงกราบเรียนถามท่านเจ้าคุณนรฯ ท่านตอบว่า “การที่เราไหว้พ่อแม่นั้น เราไหว้พระคุณท่าน ย่อมไหว้ได้ตลอดเวลา พ่อแม่นั้นเป็นพระอรหันต์ของลูก”


     บ่ายวันหนึ่งขณะไปนั่งเล่นบริเวณหน้าโบสถ์แถวกำแพงที่กั้นระหว่างวัดกับโรงเรียน กระผมได้เผลอสติปล่อยจิตให้ท่องเที่ยวกลับไปหาอดีตสมัยที่ยังมีความสุขอยู่กับคนรัก แล้วก็เพลิดเพลินอยู่กับอารมณ์อันเกิดแต่สัญญานั้น อีก ๒-๓ วันต่อมา หลังจากทำวัตรเย็นได้เข้าไปฟังธรรมจากท่านเจ้าคุณนรฯ ร่วมกับพระนวกะอื่นๆ ท่านพูดเปรยๆ ขึ้นมาว่า “บางคนชอบปล่อยจิตใจให้นึกคิดไปถึงเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวกับกามฉันทะ เพราะมันเพลิดเพลินดี…” กระผมรู้สึกเหมือนกับว่า ท่านกำลังเทศนาให้ฟังโดยเฉพาะแต่ผู้เดียว ในใจรู้สึกละอายท่านมาก





« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 25 มกราคม 2553 09:56:00 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #8 เมื่อ: 25 มกราคม 2553 10:28:42 »





ในสมัยที่กระผมบวชอยู่นั้น มีความรู้สึกใคร่ที่จะปฏิบัติธรรมมาก แต่ไม่ทราบว่าจะเลือกเจริญกรรมฐานใดดี เคยได้ฟังท่านเจ้าคุณนรฯ พูดถึงกสิณต่างๆ เช่น ปฐวีกสิณ เอาดินมาทำเป็นวงแล้วนั่งเพ่ง หรือเตโชกสิณ เอาเทียนไขจุดไฟตั้งไว้ในบาตรแล้วนั่งเพ่ง ก็ลองทำเตโชกสิณดู แต่ยังไม่เห็นนิมิตอะไร

 เย็นวันหนึ่งหลังจากทำวัตรเย็นเสร็จ ได้โอกาสจึงเข้าไปเรีนนถามท่านว่า กระผมควรจะเจริญกรรมฐานใดดี ท่านได้กรุณาบอกว่า “เอาอานาปาฯ ดีกว่า แต่ให้กำหนดลมต่ำสุดแค่เพียงหน้าอกเท่านั้น อย่าให้ต่ำลงไปถึงสะดือจะเกิดกำหนัด” เมื่อเรียนถามท่านถึงเรื่องกสิณ ท่านตอบว่า “กสิณนั้นสำหรับคนโง่ทำ” ท่านยังเคยสอนถึงเรื่องการเจริญกรรมฐานอีกว่า “จะทำเรื่องนี้ต้องใจเด็ด”



ในระหว่างเวลา ๒ เดือนเศษ ที่กระผมบวชอยู่ และได้มีโอกาสใกล้ชิดกับท่านเจ้าคุณนรฯ นั้น จากการสังเกตของกระผมเองมีความเห็นว่า ท่านเพียบพร้อมไปด้วยปฏิปทาวัตรปฏิบัติ แม้แต่เรื่องเล็กน้อยท่านก็มิได้ละเลย เช่น ท่านจะรับไหว้พระทุกๆ รูปที่ไหว้ท่านเสมอ ไม่ว่าจะอ่อนพรรษาขนาดไหน โดยท่านจะยกมือขึ้นประนมรับไหว้อย่างงดงามในทันทีที่พระรูปนั้นไหว้ท่าน นอกจากนี้ท่านยังเคร่งครัดในพระวินัยเรื่องอาวุโส – ภันเต


     มีอยู่วันหนึ่งกระผมเดินตามหลวงปู่หลุยมาออกประตูด้านหลังโบสถ์ทางด้านขวาของพระประธาน ขณะนั้นท่านเจ้าคุณนรฯ เดินอ้อมผ่านด้านหลังพระประธานมา จะออกประตูเดียวกัน พอท่านเห็นหลวงปู่ท่านรีบยกมือขึ้นประนมไหว้ทันที เพราะท่านถือว่าหลวงปู่พรรษามากกว่า เป็นภาพที่งดงามมาก ยังติดตากระผมมาจนบัดนี้


     อีกเรื่องหนึ่งที่ประทับใจกระผมมาก คือในเช้าวันหนึ่งเป็นวันพระ ทางวัดได้จัดให้มีการแสดงพระธรรมเทศนา โดยกำหนดให้พระหนุ่มรูปหนึ่งเป็นผู้ขึ้นไปนั่งแสดงธรรมบนธรรมาสน์ ก่อนที่ท่านจะก้าวขึ้นธรรมาสน์ ท่านได้คุกเข่าลงกราบท่านเจ้าคุณนรฯ ซึ่งเป็นพระเถระที่มีพรรษาสูงสุดที่อยู่ ณ ที่นั้น กระผมเห็นท่านเจ้าคุณนรฯ ยกมือขึ้นประนมรับไหว้ด้วยท่าทางที่งดงามมาก ซึ่งภาพที่เห็นทำให้กระผมเกิดความปลื้มปีติจนน้ำตาคลอ รู้สึกว่าเป็นบุญอย่างยิ่งที่ได้อยู่ใกล้ชิดพระที่มีวัตรปฏิบัติงดงามเช่นท่าน และทำให้กระผมเกิดกำลังใจที่จะปฏิบัติตนให้ดียิ่งๆ ขึ้นไป


     ยังมีวัตรปฏิบัติที่งดงามของท่านเจ้าคุณนรฯ อีกเรื่องหนึ่งที่ประทับใจกระผมมาก คือทุกครั้งที่ทำวัตรเช้าและเย็น ไม่ว่าท่านจะเป็นผู้นำสวดหรือไม่ก็ตาม ท่านจะนั่งอยู่แถวระดับหน้าทางด้านขวามือ ถ้าไม่มีพระรูปอื่นที่มีพรรษาสูงกว่านั่งอยู่ ท่านจะเป็นผู้นำสวด เสียงของท่านแจ่มใสและกังวาน จากการสังเกตของกระผมเมื่อสวดมนต์บูชาพระพุทธคุณและพระธรรมคุณจบ ท่านจะก้มลงกราบตรงๆ หน้าพระประธาน แต่พอจบบทสวดบูชาพระสังฆคุณ ท่านจะหันหน้าไปทางพระรูปสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ญาณวรมหาเถระ สมเด็จพระอุปัชฌาย์ของท่าน ซึ่งประดิษฐานอยู่ด้านซ้ายของพระประธาน แล้วกราบลง เป็นเช่นนี้ทุกครั้ง เมื่อเสร็จจากการทำวัตรและสนทนากับญาติโยมที่มารอพบแล้ว ขณะเดินกลับกุฏิท่านก็จะหยุดไหว้พระรูปองค์นี้อย่างนอบน้อมทุกครั้ง แสดงถึงความเป็นผู้มีความกตัญญูกตเวทีต่อองค์อุปัชฌาย์ของท่าน


     ท่านยังสอนอีกว่าเวลานั่งขัดสมาธิเจริญภาวนาในโบสถ์ ไม่ควรหันหน้าเข้าหาพระประธาน ควรเลี่ยงเป็นนั่งหันข้าง เพราะขณะนั้น เรากำลังทำท่าเหมือนกับท่าน




ดอกโมกเอยโมกขธรรมล้ำเลิศค่า.....ปรารถนาโมกข์หมายปลายทางถึง.....
อัฏฐังคิกมรรคไม่หย่อนตึง.....โมกน้อยดอกหนึ่งเริ่มแย้มบาน.....


โดย.. อักษราภรณ์


บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #9 เมื่อ: 25 มกราคม 2553 14:17:39 »





พระกรรมฐานกลางกรุง (๖)  

บ่ายวันหนึ่งกระผมจำได้ว่าเป็นวันสำคัญทางศาสนา มีญาติโยมมากันเต็มวัด ขณะนั้นกระผมยังอยู่บนกุฏิเตรียมตัวจะลงโบสถ์ มองผ่านทางหน้าต่างลงมา เห็นทางเดินด้านหลังโบสถ์มีญาติโยมทั้งยืนและนั่งเต็มไปหมด เว้นไว้เฉพาะทางเดินคอนกรีตเพื่อให้พระเดินผ่าน ทันใดนั้นกระผมเห็นท่านเจ้าคุณนรฯ กำลังเดินมาตามทางเดินด้านหลังโบสถ์ แล้วเดินเลี้ยวซ้ายจะมาขึ้นประตูโบสถ์ด้านซ้ายของพระประธาน ทางเดินส่วนนั้นอยู่ใกล้กับกุฏิที่กระผมอยู่ ทันทีที่เห็นท่าน กระผมรีบยกมือขึ้นไหว้ท่านด้วยความเคารพทั้งๆ ที่อยู่ชั้นบนของกุฏิและท่านก็มิได้มองขึ้นมา กระผมเห็นท่านรีบยกมือขึ้นรับไหว้ทันที จะว่าท่านรับไหว้พระที่อยู่บริเวณนั้นก็ไม่น่าจะใช่ เพราะมีแต่ญาติโยมที่เป็นฆราวาสทั้งนั้น กระผมแน่ใจว่าท่านต้องเห็นการกระทำของกระผมด้วยตาทิพย์ของท่าน จึงได้รับไหว้ในทันที

     ท่านเจ้าคุณนรฯ ได้กรุณาสั่งสอนอบรมพวกเราพระนวกะว่า “กรรมใดที่บุคคลได้กระทำไปบ่อยๆ กรรมนั้นจะมาแสดงให้เห็นเป็นนิมิตเมื่อใกล้จะตาย”

     “การรักษาศีลจึงจำเป็น เพื่อเป็นบาทฐานของการทำสมาธิ เพราะถ้าไม่มีศีลแล้ว เวลานั่งทำสมาธิจะถูกนิมิตเหล่านี้ (ที่เกี่ยวกับอกุศลที่ทำไว้)
มารบกวน ทำให้จิตไม่อาจรวมได้


     ท่านยังได้พูดเป็นเชิงให้ข้อคิด เพื่อเพิ่มพูนศรัทธาสำหรับผู้ที่สละเพศฆราวาสเข้าสู่เพศบรรพชิตไว้ว่า “ผู้ที่เข้ามาบวชเป็นพระภิกษุนั้น เปรียบเสมือนหนึ่งตายแล้วจากความเป็นผู้ครองเรือน เวลาจะเข้าพิธีบวช เขาจึงเอาผ้าขาวห่อตัว คือนุ่งขาวห่มขาวเป็นนาค เหมือนห่อศพก่อนจะนำขึ้นเชิงตะกอน เพศภิกษุเป็นเพศที่สูงส่งมาก แม้แต่พ่อแม่หรือพระราชายังต้องไหว้ ท่านไหว้ศีลที่เราถืออยู่นี่แหละ!”

     ในส่วนที่เกี่ยวกับพระวินัยที่พระศาสดาบัญญัติขึ้น เพื่อควบคุมและป้องกันความประพฤติเสียหาย โดยวางโทษแก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิดนั้น ท่านสอนว่าพวกเราผู้เป็นภิกษุ ต้องทำตัวเหมือนตำรวจจับตัวเอง ส่งตนเองขึ้นศาลพิจารณาความผิด และตัดสินความผิดที่ได้กระทำไปด้วยตนเอง
     กระผมได้อ่านหนังสือธรรมะเรื่อง “อานาปานสฺสติกถา” ซึ่งเป็นเรื่องของการเจริญอานาปานสติทั้ง ๑๖ บท

     เมื่อมีโอกาสกระผมได้กราบเรียนถามท่านเจ้าคุณนรฯ ว่า ในการเจริญอานาปานสตินั้น ตอนไหนที่เป็นตอนยกจิตขึ้นสู่วิปัสสนา

     ท่านถามกลับว่า “รู้จักอานาปาฯ ๑๖ ไหม?”
ก็ตอบท่านไปว่า “รู้จักครับ” (จริงๆ แล้วกระผมรู้จักแค่ชื่อ เพราะเพิ่งได้อ่านมาเมื่อไม่กี่วันนี้เอง ซึ่งก็ยังไม่เข้าใจดีนัก)

     ท่านตอบว่าในอานาปาฯ ๑๖ (จิต) จะขึ้นวิปัสสนาเอาในบทที่ ๑๓ ที่ว่า “อนิจฺจานุปสฺสี อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ, อนิจฺจานุปสฺสี ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ.” จิตเป็นผู้สังเกตจะเอาความไม่เที่ยงของสภาวธรรมที่ดูอยู่เป็นอารมณ์ ต่อจากนั้นท่านได้อธิบายขยายความให้ฟัง แต่กระผมจำไม่ได้ เพราะตอนนั้นยังไม่มีพื้นความรู้เรื่องนี้เลย จำได้แต่เพียงว่าธรรมทั้ง ๑๖ บท นั้น จะเกิดขึ้นได้เองเมื่อปฏิบัติไปจนถึงจุดหนึ่ง

     ท่านสอนอีกว่า ลมหายใจ (จากอานาปานสติภาวนา) สามารถเอาเป็นเพื่อนได้จนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต

     กระผมเคยเกิดข้อสงสัยว่า ถ้าหากไปดำเนินชีวิตอย่างฆราวาสแล้ว จะสามารถเจริญอานาปานสติได้ดีเหมือนอย่างอยู่ในเพศบรรพชิตหรือไม่ และราวกับท่านเจ้าคุณนรฯ จะทราบว่ากระผมกำลังปริวิตกเรื่องนี้อยู่ ท่านจึงได้กล่าวกับกระผมเป็นการส่วนตัวว่า “ผู้ที่มีชีวิตคู่ก็ทำได้ ยิ่งถ้าได้ทำทั้งคู่ ก็จะสามารถส่งถึงกันได้” (กระผมเข้าใจว่าท่านคงหมายถึงส่งจิตถึงกัน)

     กระผมและพระนวกะอีก ๒-๓ รูป ได้มีโอกาสสนทนาธรรมกับท่านเจ้าคุณนรฯ ถึงเรื่องพระที่มีคุณวิเศษทางอภิญญาต่างๆ ครั้งหนึ่งท่านได้กล่าวถึงคุณวิเศษอย่างหนึ่ง ซึ่งกระผมไม่เคยทราบมาก่อน ท่านกล่าวว่า ถ้าผู้ใดถึงซึ่งคุณวิเศษอันนี้ จะสามารถไปได้ทั้ง ๘ ทิศทาง ในขณะเดียวกัน ในตอนนั้นพวกเราได้แต่รับฟัง แต่ไม่รู้เรื่อง

     ในภายหลังเมื่อกระผมได้อ่านพระสูตรที่ชื่อว่า “สฬายตนวิภงฺค” จึงพอจะเข้าใจเรื่องนี้ได้บ้าง พระศาสดาได้ตรัสเรื่องนี้ไว้ว่า ท่านสามารถฝึกบุรุษให้ไปได้ทั้ง ๘ ทิศ แต่ละทิศมีอะไรบ้าง ซึ่งเป็นที่รู้จักกันโดยชื่อว่า “วิโมกข์ ๘”

     ท่านเจ้าคุณนรฯ เคยบอกกระผมถึงสภาวะของพระสกิทาคามีอีกสำนวนหนึ่งว่า เหมือนกับพระโสดาบันแก่ๆ (แก่ทางสภาวธรรม ไม่ใช่แก่อายุ)

     ในสมัยที่กระผมบวชอยู่ จำได้ว่ามีพระนวกะรุ่นราวคราวเดียวกันอยู่ราว ๕ รูป มีอยู่รูปหนึ่งที่อายุมากกว่าเพื่อนลางานมาบวช ได้เรียนขอพุทธภาษิตสั้นๆ จากท่านเจ้าคุณนรฯ เพื่อเอาไปติดที่ทำงาน ให้เพื่อนๆ ได้ศึกษาและปฏิบัติตาม ท่านกล่าวว่า


               “สพฺพรสํ ธมฺมรโส ชินาติ.”

                รสแห่งพระธรรมย่อมชนะซึ่งรสทั้งปวง


     พระนวกะรูปหนึ่งขอถ่ายรูปกับท่าน แต่ท่านไม่อนุญาต ท่านบอกว่า “ถ่ายด้วยตาซิ” กระผมถือว่านี่ก็เป็นคำสอนเหมือนกัน


     อีกคราวหนึ่ง เป็นคำสอนสั้นๆ ท่านกล่าวกับพวกเราว่า

               “สวรรค์อยู่ในอก นรกอยู่ในใจ นิพพานอยู่ที่ไหน อยู่ที่ใจนั่นเอง”





บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #10 เมื่อ: 25 มกราคม 2553 15:18:30 »




เมื่อใกล้วันลาสิกขา ภายหลังจากทำวัตรเย็นเสร็จ กระผมกำลังเดินออกประตูโบสถ์ทางด้านหลัง ได้พบท่านบริเวณนั้น ท่านหยุดและหันมาบอกกระผมว่า “เป็นอะไรก็ไม่รู้ที่คอ” แล้วท่านก็ชี้ให้ดู กระผมมองดูเห็นแค่เหมือนผิวหนังบริเวณนั้นนูนขึ้นมา ลักษณะเป็นก้อนครึ่งทรงกลม ขนาดประมาณ ๒ ซม. แต่ยังไม่มีแผล ยังไม่ทันจะถามอาการหรือความรู้สึกของท่าน ท่านก็พูดต่อว่า “มันนิ่มๆ ลองแตะดูซิ” กระผมจึงลองแตะดู รู้สึกว่าเนื้อบริเวณนั้นนิ่มกว่าปกติ ต่อมาแพทย์วินิจฉัยว่าท่านอาพาธด้วยโรคมะเร็ง


     ก่อนที่กระผมจะลาสิกขา ๑ วัน หลังจากทำวัตรเช้าเสร็จ กระผมตั้งใจจะเข้าไปกราบลาท่านเจ้าคุณนรฯ แต่ขณะนั้นท่านไม่อยู่ในโบสถ์เสียแล้ว กระผมตามหาท่านเป็นการใหญ่ เดินไปตามทางที่จะกลับไปกุฏิท่าน ก็พบท่านกำลังสนทนาอยู่กับท่านเจ้าคุณพระธรรมไตรโลกาจารย์ (สมณศักดิ์ในขณะนั้น) ที่หน้ากุฏิของท่านเจ้าคุณธรรมฯ กระผมรออยู่ห่างๆ จนกระทั่งท่านเสร็จจากการสนทนา จึงเข้าไปคุกเข่าก้มลงกราบแล้วกล่าวว่า “กระผมจะขอกราบลาสึกครับ” ตอนนั้นใจหายหมด ชะรอยท่านจะรู้ใจกระผม ท่านได้อวยพรว่า “ขอให้ประสบความสำเร็จในชีวิต ทั้งทางคดีโลกและทางคดีธรรมเถิด” กระผมได้น้อมรับพรนั้น ก้มลงกราบท่านแล้วเดินกลับกุฏิ


     ในช่วงที่บวชอยู่นั้นท่านเจ้าคุณอุดมซึ่งเป็นผู้จัดทำเหรียญท่านเจ้าคุณนรฯ ได้นำเหรียญฯ มาแจกพระนวกะ เป็นเหรียญรูปวงรี ด้านหน้าเป็นรูปเหมือนท่านหล่อนูน ด้านหลังจารึกอักขระคล้ายๆ อักษรขอม เมื่อใกล้กำหนดวันลาสิกขา กระผมจึงเกิดความคิดขึ้นมาว่า อยากจะรับเหรียญนี้จากมือของท่านเจ้าคุณนรฯ โดยตรง



เมื่อถึงวันลาสิกขาหลังจากทำวัตรเช้าเสร็จ กระผมกราบพระประธานในโบสถ์และเข้าไปกราบท่าน พร้อมนำเหรียญรูปเหมือนท่านไปขอให้ท่านมอบให้ด้วยตนเองเพื่อความเป็นสิริมงคล ก่อนที่ท่านจะส่งเหรียญกลับคืนมาให้ ท่านได้กล่าวว่า “คงเข้าใจนะว่า จะปฏิบัติต่อพระเครื่องนี้อย่างไร ไม่ใช่บูชาวัตถุที่มองเห็นเท่านั้น” กระผมได้ตอบท่านไปว่า เข้าใจดี แล้วท่านก็ส่งคืนมาให้ ยังความปลาบปลื้มแก่กระผมเป็นอย่างมาก รีบก้มลงกราบบนยกพื้นที่เป็นที่นั่งของพระในโบสถ์ โดยวางเหรียญนั้นไว้ ท่านรีบกล่าวเตือนทันทีว่า “อย่าวางไว้บนพื้นอย่างนั้น ไม่สมควร” คำสอนนี้เป็นประโยชน์มาก ทำให้กระผมได้มีความสำรวมระวังยิ่งขึ้น


     หลังจากลาสิกขาแล้ว กระผมได้เดินทางไปทำงานต่างประเทศ ต่อมาทราบว่าท่านได้ละขันธ์ไปเมื่อวันที่ ๘ มกราคม ๒๕๑๔ ขณะมีอายุได้ ๗๔ ปี.




ขอขอบพระคุณภาพจาก:

http://www.gmwebsite.com/Webboard/Topic.asp?TopicID=Topic-090425215137923


บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #11 เมื่อ: 25 มกราคม 2553 16:56:28 »



http://img29.imageshack.us/img29/7805/chaokhun3.jpg
พระกรรมฐานกลางกรุง


พระกรรมฐานกลางกรุง (๗)

ภาคผนวก ๑

หน่ายกาม


Sensual craving arises through unwise thinking on the agreeable and delightful.
     กามฉันท์ หรือ กามตัณหา เกิดขึ้นจากความไม่ฉลาด หลงคิดเห็นอารมณ์ต่างๆ เป็นที่ถูกใจและน่ายินดี


     It may be suppressed by the following 6 methods:-
     สามารถข่มไว้ได้ด้วยวิธีทั้ง ๖ ดังต่อไปนี้

     1. Fixing the mind upon an idea that arouses disgust.

     เพ่งใจให้เห็นอสุภารมณ์ คืออารมณ์ที่ปฏิกูล น่าเกลียด ไม่งามของสังขารร่างกาย จนให้เกิดความเบื่อหน่าย
คลายความรักใคร่ หายความกำหนัดยินดี

     2. Meditation upon the impurity of the body.
     เพ่งพินิจพิจารณาความปฏิกูลของร่างกาย (แยกออกเป็นอาการ ๓๒ ที่เรียกว่า กายคตาสติภาวนา มี ผม ขน
เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เป็นต้น)

    3. Watching over the six doors of the sense.
     ใช้สติสำรวมอินทรีย์ เฝ้าระวังทวารทั้ง ๖ (คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เมื่อได้ประสบพบเห็น รูป เสียง กลิ่น รส
โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ อย่าให้ความรักใคร่ กำหนัด ยินดียินร้าย เกิดขึ้นภายในจิตใจ)

     4. Moderation in eating.
     ให้รู้จักประมาณการบริโภคอาหาร อย่าให้อิ่มมากจนเกินไป จะเป็นเหตุให้เกิดความกำหนัดทางกาย
และลุกลามเข้าไปถึงจิตใจ ให้เกิดความเศร้าหมองด้วยฉันทราคะ

    5. Cultivating friendship with the good.
     ทำความวิสาสะคบหาสมาคม สนทนาปราศรัยสนิมสนมคุ้นเคยกับกัลยาณมิตรเพื่อนผู้ดีงาม ที่จะชักชวน
ให้สนทนาไปในทางที่จะให้เสื่อมคลายหายความรักใคร่กำหนัด ยินดีและยินร้ายในรูป เสียง กลิ่น รส
โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์

     6. Right instruction.
     ฝึกฝนปฏิบัติตนในทางที่ถูกตรงตามไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา

     ๑. พยายามกำจัดตัดกิเลสเครื่องเศร้าหมองอย่างหยาบ ที่ล่วงออกมาทางกายทางวาจา ด้วย ศีล

     ๒. พยายามกำจัดตัดกิเลสเครื่องเศร้าหมองอย่างกลาง คือ นิวรณ์ทั้ง ๕ มี กามฉันท์ พยาบาท
ถีนมิทธะ อุทธัจจ-กุกกุจจะ วิจิกิจฉา ด้วย สมาธิ ย่นย่อนิวรณ์ ๕ ลงเป็น ๓ คือ

         ๑. ราคะ – โลภะ

         ๒. โทสะ

         ๓. โมหะ

     กามฉันทนิวรณ์ ความพอใจในกาม เป็นฝ่ายราคะ – โลภะ

     พยาบาทนิวรณ์ ความขึ้งเคียดโกรธเคือง เป็นฝ่ายโทสะ

     ที่เหลืออีก ๓ คือ

ถีนมิทธะ ความหดหู่ ง่วงเหงา

อุทธัจจ-กุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านรำคาญ
และวิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย ทั้ง ๓ นี้ เป็นฝ่ายโมหะ

     ๓. พยายามกำจัดตัดกิเลสอย่างละเอียดที่เกิดทางทิฏฐิความเห็น ด้วย ปัญญา ด้วยการพิจารณา
เห็นตามความเป็นจริงของสังขาร ซึ่งมีลักษณะเกิดขึ้น เสื่อมสิ้น ดับไป ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา


    The sensual craving is for-ever destroyed upon the entrance into Anagamiship.

     กามฉันท์หรือกามตัณหานี้ สลัดกำจัดตัดได้อย่างเด็ดขาดต่อเมื่อเข้าสู่กระแสพระอนาคามิมรรค บรรลุถึงพระอนาคามิผล.





ดอกโมกเอยโมกขธรรมล้ำเลิศค่า.....ปรารถนาโมกข์หมายปลายทางถึง.....
อัฏฐังคิกมรรคไม่หย่อนตึง.....โมกน้อยดอกหนึ่งเริ่มแย้มบาน.....


โดย..อักษราภรณ์


บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #12 เมื่อ: 25 มกราคม 2553 17:54:06 »




พระกรรมฐานกลางกรุง (๘)

ภาคผนวก ๒

สันติวรบท
   ธรรม ๙ บท    


สันติวรบท ธรรม ๙ บท เป็นโอวาทของท่านธมฺมวิตกฺโก ภิกขุ ซึ่งท่านได้ปรารภว่า เป็นชื่อที่ดี หมายถึง “หนทางอันประเสริฐสู่ความสงบ” ท่านสอนให้เชื่อในเรื่องกรรม หมั่นทำความดี ให้ศึกษาธรรมและปฏิบัติตามด้วย จึงจะทำให้ชีวิตพ้นทุกข์ ประสบความสำเร็จและมีความสงบได้อย่างแท้จริง


๑. PERSONAL MAGNET
     เรื่องที่มีคนเมตตากรุณา เห็นอกเห็นใจนั้น เป็นเพราะคุณธรรมความดีของตนเองหลายประการด้วยกัน เป็นต้นว่ามี วิริยะ อุตสาหะ บากบั่น เข้มแข็งแรงกล้า และจิตใจเมตตากรุณา ไม่เย่อหยิ่งจองหอง เป็นเหตุให้ผู้ที่แวดล้อมอยู่เกิดความเมตตากรุณา รักใคร่เห็นอกเห็นใจ คิดที่จะช่วยเหลือ
  
     คนซึ่งมีกิริยามารยาทอ่อนโยน สุภาพนิ่มนวล ย่อมเป็นที่เสน่หารักใคร่ของคนที่ได้พบเห็นและพยายามที่จะช่วยเหลือ นี่เป็น Personal Magnet คือ เสน่ห์ในตัวเอง เพราะฉะนั้น จงพยายามรักษาคุณสมบัติดังกล่าวนี้ไว้ จะเป็นเครื่องช่วยตัวเองให้บรรลุความสำเร็จสมประสงค์ทุกประการ ทุกกาลเวลา ทั้งปัจจุบันและอนาคต

๒. เมตตา
     อย่ากลัว จงรักษาตัวให้บริสุทธิ์ ไม่มีอะไรทำอันตรายได้
     จงจำไว้ว่า ถ้าปรารถนาความเมตตา และความเห็นอกเห็นใจจากผู้อื่น ก็ควรส่งกระแสใจที่ประกอบด้วยความเมตตา และความเห็นอกเห็นใจไปยังท่านเหล่านั้น แล้วก็จะได้รับความเมตตาและความเห็นอกเห็นใจจากท่านเหล่านั้นเช่นเดียวกัน นี่เป็นกฏของจิตตานุภาพ แล้วความสำเร็จทั้งหลายที่ปรารถนา ก็จะบังเกิดแก่ตน สมประสงค์ทุกประการเป็นแน่นอนไม่ต้องสงสัยเลย

๓. สบายใจ
     คำว่า “ไม่สบายใจ” อย่าใช้ และอย่าให้มีขึ้นในใจต่อไป “Let it go, and get it out!” ก่อนมันจะเกิด Let it go! ปล่อยให้มันผ่านไป อย่ารับเอาความไม่สบายใจไว้ ถ้าเผลอไป มันแอบเข้ามาอยู่ในใจได้ พอมีสติรู้สึกตัวว่าความไม่สบายใจเข้ามาแอบอยู่ในใจ ต้อง Get it out! ขับมันออกไปทันที อย่าเลี้ยงเอาความไม่สบายใจไว้ในใจ มันจะเคยตัว ทีหลังจะเป็นคนอ่อนแอ ออดแอด ทำอะไรผิดพลาด นิดๆ หน่อยๆ ก็ไม่สบายใจเคยตัว เพราะความไม่สบายใจนี้แหละเป็นศัตรู เป็นมารทำให้ใจไม่สงบ ประสาทสมองไม่ปกติ เป็นเหตุให้ร่างกายผิดปกติ พลอยไม่สงบ ไม่สบายไปด้วย ทำให้สมองทึบไม่ปลอดโปร่ง เป็น habit ความเคยชินที่ไม่ดี เป็นอุปสรรคกีดกั้นขัดขวางสติปัญญาไม่ให้ปลอดโปร่งแจ่มใส ต้องฝึกหัดแก้ไขปรับปรุงจิตใจเสียใหม่ ทั้งก่อนที่จะทำอะไรหรือกำลังกระทำอยู่ และเมื่อเวลากระทำเสร็จแล้ว ต้องหัดให้จิตใจแช่มชื่นรื่นเริง เกิดปีติปราโมทย์เป็นสุขสบายอยู่เสมอ เป็นเหตุให้เกิดกำลังกายกำลังใจ Enjoy living มีชีวิตอยู่ด้วยความเบิกบาน สมองจึงจะเบิกบาน จะศึกษาเล่าเรียน ก็เข้าใจจำได้ง่าย เหมือนดอกไม้ที่แย้มเบิกบาน ต้อนรับหยาดน้ำค้างและอากาศอันบริสุทธิ์ฉะนั้น

๔. สันติสุข
     พระพุทธเจ้าสอนว่า "นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ"

     "สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี"

     หมายความว่า ความสุขอื่นมี เช่นกับความสุขในการดูละคร ดูหนัง ในการเข้าสังคม Social ในการมีคู่รักคู่ครอง หรือในการมีลาภยศ ได้รับความสุขสรรเสริญ เมื่อได้รับความสุขจากสิ่งเหล่านี้ ก็สุขจริง
  
    แต่ว่า สุขเหล่านี้มีทุกข์ซ้อนอยู่ทุกอย่าง ต้องคอยแก้ไขปรับปรุงกันอยู่เสมอ

     ไม่เหมือนกับความสุขที่เกิดจากสันติ ความสงบ ซึ่งเป็นความสุขที่เยือกเย็น และไม่ซ้อนด้วยความทุกข์ และไม่ต้องแก้ไขปรับปรุงตกแต่งมาก

     เป็นความสุขที่ทำได้ง่ายๆ

     เกิดกับกายใจของเรานี่เอง

     อยู่ในที่เงียบๆ คนเดียวก็ทำได้ หรืออยู่ในสิ่งแวดล้อมสังคมก็ทำได้ ถ้าเรารู้จักแยกใจหาสันติสุข กายนี้ก็เพียงสักแต่ว่าอยู่ในที่ระคนด้วยความยุ่ง สิ่งแวดล้อมเหล่านั้นไม่ยุ่งมาถึงใจ

     แม้เวลาเจ็บหนัก มีทุกขเวทนาปวดร้าวไปทั่วกาย แต่เรารู้จักทำใจให้เป็นสันติสุขได้ ความเจ็บนั้นก็ไม่สามารถจะทำให้ใจเดือดร้อนตามไปด้วย

     เมื่อใจสงบแล้วกลับทำให้กายนั้นสงบ หายทุกขเวทนาได้ด้วยและประสบสันติสุข ซึ่งไม่มีสุขอื่นยิ่งกว่าสันติสุขนั้น พระพุทธเจ้าสอนให้ฝึกเป็น ๓ ทางคือ
  
     ๑. ทรงสอนให้สงบกาย วาจา ด้วย ศีล ไม่ทำโทษทุจริตอย่างหยาบที่เกิดทางกาย วาจา เป็นต้นเหตุให้เกิดสันติสุขทางกาย วาจา เป็นประการต้น
  

  
     ๒. ทรงสอนให้ฝึกหัดให้เกิดสันติสุขทางใจ ด้วย สมาธิ หักใจไม่ให้คิดถึงเรื่อง

          ความกำหนัด
          ความโกรธ
          ความโลภ
          ความหลง
          ความกลัว
          ความฟุ้งซ่านรำคาญ
          ความลังเลใจ ทำให้ใจไม่เด็ดเดี่ยว ไม่เด็ดขาด เมื่อละสิ่งเหล่านี้ได้ เป็นเหตุให้ใจสงบ เป็นสันติสุข ทางจิตใจอีกประการหนึ่ง
  
     ๓. ทรงสอนให้ฝึกหัดให้เกิดสันติสุขทางทิฏฐิ ความเห็น ด้วย ปัญญา พิจารณาให้เห็นว่า
  
          สรรพสิ่งทั้งหลายไม่แน่นอน เป็น อนิจจัง ไม่เที่ยง คงทนอยู่ไม่ได้ ต้องเสื่อมสิ้น แปรปรวน ดับไปเรียกว่าเป็น ทุกข์
  
          ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา อ้อนวอน ขอร้อง เร่งรัด ให้เป็นไปตามความประสงค์ ท่านเรียกว่า อนัตตา

    
          เมื่อเรารู้เห็นความเป็นจริงเช่นนี้ จะทำให้จิตใจของเราเข้มแข็งมั่นคง เด็ดเดี่ยว ไม่หวั่นไหวไปตามเหตุการณ์ทั้งหลาย


     เพราะรู้เห็นตามความเป็นจริงด้วยปัญญาว่า สิ่งเหล่านั้นมันไม่แน่นอน

     มันคงอยู่ไม่ได้ ต้องเปลี่ยนแปลง เสื่อมสิ้นดับไป

     ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาฝ่าฝืนของเรา

     อย่าไปเร่งรัดให้เสียกำลังใจ

     คงรักษาใจให้เป็นอิสระมั่นคงอยู่เสมอ

     ไม่หวั่นไหวไปตามเหตุการณ์เหล่านั้น

     เป็นเหตุให้ใจตั้งอยู่ในสันติสุข

     เป็นอิสระที่เกิดอำนาจทางจิตใจ Mind Power ที่จะใช้ทำกิจกรณียะอันเป็นหน้าที่ของตนได้สำเร็จสมประสงค์

    
“นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ
สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี”

     It needs a Peaceful Mind to support a Peaceful Body,
 and it needs a Peaceful Body to support a Peaceful Mind, and it needs Both Peaceful
and Mind to attain all success that which you wish.





« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 25 มกราคม 2553 18:02:34 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #13 เมื่อ: 25 มกราคม 2553 20:14:45 »





๕. ทำอะไรไม่ผิดเลย ก็คือไม่ทำอะไรเลย

    “DO NO WRONG IS DO NOTHING”

      จงระลึกถึงคติพจน์ว่า “Do no wrong is do nothing!”

     “ทำอะไรไม่ผิดเลย ก็คือไม่ทำอะไรเลย!”

ความผิดนี้แหละเป็นครูอย่างดี ควรจะรู้สึกบุญคุณของตัวเองที่ทำอะไรผิดพลาด และควรสบายใจที่ได้พบกับอาจารย์ผู้วิเศษคือความผิด จะได้ตรงกับคำว่า “เจ็บแล้วต้องจำ” ตัวทำเอง ผิดเอง นี้แหละเป็นอาจารย์ผู้วิเศษ เป็น Good example ตัวอย่างที่ดี เพื่อจะได้จดจำไว้ สังวรระวังไม่ให้ผิดต่อไป แล้วตั้งต้นใหม่ด้วยความไม่เลินเล่อเผลอประมาท อดีตที่ผิดไปแล้วก็ผ่านพ้นล่วงเลยไปแล้ว แต่อาจารย์ผู้วิเศษยังคงอยู่ คอยกระซิบเตือนใจอยู่เสมอทุกขณะว่า “ระวัง! อย่าประมาทนะ! อย่าให้ผิดพลาดเช่นนั้นอีกนะ!”


๏ ผิดหนึ่งพึงจดไว้        ในสมอง
  เร่งระวังผิดสอง           ภายหน้า

  สามผิดเร่งคิดตรอง     จงหนัก เพื่อนเอย
  ถึงสี่อีกทีห้า                 หกซ้ำอภัยไฉน!

จงสังเกตพิจารณาดูให้ดีเถิด จะเห็นได้ว่า นักค้นคว้าวิทยาศาสตร์ทางโลกก็ดี และท่านผู้วิเศษที่เป็นศาสดาอาจารย์ในทางธรรมทั้งหลายก็ดี ล้วนแต่ผ่านพ้นอุปสรรคความผิดพลาดนับครั้งไม่ถ้วนด้วยกันมาแล้วด้วยกันทุกท่าน

๖. สติสัมปชัญญะ (ความระลึกได้ และความรู้ตัว) ที่จะทำอะไรไม่ผิดนั้น ข้อสำคัญอยู่ที่สติ ถ้ามีสติคุ้มครองกาย วาจา ใจอยู่ทุกขณะ จะทำอะไรไม่ผิดพลาดเลย ที่ผิดพลาดเพราะขาดสติ คือ เผลอ เหม่อ เลินเล่อ ประมาท ระเริง หลงลืม จึงผิดพลาด จงนึกถึงคติพจน์ว่า “กุมสติต่างโล่ป้อง อาจแกล้วกลางสนาม”

ธรรมดาชีวิตทุกชนิด ทั้งมนุษย์และสัตว์ ตลอดทั้งพืชพันธุ์พฤกษาชาติ เป็นอยู่ได้ด้วยการต่อสู้ ตรงกับคำว่า “Life is fighting” “ชีวิตคือการต่อสู้” เมื่อต่อสู้ไม่ไหวขณะใด ก็ต้องที่สุดแห่งชีวิต คือ death ความตาย เพราะฉะนั้นยังมีสติอยู่ตราบใด ถึงตายก็ตายแต่กาย เช่นเดียวกับ
ชีวิตพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ ท่านมีสติไพบูลย์อยู่ทุกขณะจิต ท่านจึงทำอะไรไม่ผิดและถึงซึ่งอมตธรรม คือ ธรรมที่ไม่ตาย ตรงกับคำว่า immortal จึงเรียกว่า ปรินิพพานคือนามรูปสังขารร่างกายที่เรียกว่า เบญจขันธ์ ขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แตกดับไปเท่านั้น

     เพราะฉะนั้น ควรฝึกฝนสติ (ความระลึกรู้ก่อนทำ ก่อนพูด ก่อนคิด) สัมปชัญญะ (รู้ตัวอยู่ทุกขณะ ที่กำลังทำอยู่ พูดอยู่ คิดอยู่) เมื่อทำเสร็จแล้ว ก็มีสติตรวจตราพิจารณาดูว่าบกพร่องอย่างไร หรือเรียบร้อยบริบูรณ์ดี ถ้าบกพร่องก็รีบแก้ไขเพื่อให้สมบูรณ์ต่อไป ถ้าเรียบร้อยดีอยู่แล้ว ก็พยายามให้เรียบร้อยดียิ่งๆ ขึ้นไปจนถึงที่สุด

๗. อานุภาพของไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา

ด้วยอานุภาพของไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญานี้แล จึงชนะข้าศึก คือ กิเลสอย่างหยาบ กิเลสอย่างกลาง และอย่างละเอียดได้!
   
     ๑. ชนะความหยาบคาย ซึ่งเป็นกิเลสอย่างหยาบที่ล่วงทางกายวาจาได้ด้วยศีล!
         ชนะความยินดียินร้าย หลงรัก หลงชัง ซึ่งเป็นกิเลสอย่างกลางที่เกิดในใจได้ด้วยสมาธิ!
         ชนะความเข้าใจผิด รู้ผิด เห็นผิด จากความเป็นจริงของสังขาร ซึ่งเป็นกิเลสอย่างละเอียดได้ด้วยปัญญา!

     ๒. ผู้ใดศึกษาและปฏิบัติตามไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญานี้โดยพร้อมมูล บริบูรณ์ สมบูรณ์แล้ว ผู้นั้นจึงเป็นผู้จากทุกข์ทั้งปวงได้เป็นแน่นอน ไม่ต้องสงสัยเลย!

     เพราะฉะนั้นจึงควรสนใจ เอาใจใส่ ตั้งใจศึกษา และปฏิบัติตามไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา นี้ ทุกเมื่อเทอญ



๘. ดอกมะลิ

ดอกมะลิเป็นดอกไม้ที่ถูกรับรองแล้วว่าเป็นดอกไม้ที่หอมเย็นชื่นใจที่สุด และขาวบริสุทธิ์ที่สุดในบรรดาดอกไม้ทั้งหลาย

      ชีวิตของมนุษย์ที่เป็นอยู่ก็เช่นเดียวกับการเล่นละคร ขอให้เป็นตัวเอกที่มีชื่อเสียงที่สุดเช่นเดียวหรือลักษณะเดียวกับดอกมะลิ อย่าไปเป็นตัวผู้ร้ายที่เลวที่สุด และให้เห็นว่าดอกมะลินี้จะบานเต็มที่เพียง ๒-๓ วัน ก็จะเหี่ยวเฉาไป
     ฉะนั้น ขอให้ทำตัวให้ดีที่สุดเมื่อยังมีชีวิตอยู่ ให้หอมที่สุดเหมือนดอกมะลิที่เริ่มแย้มบานฉะนั้น

   “จงเลือกทำแต่กรรมที่ดีๆ”

๙. “ทำดี ดีกว่าขอพร”
     “จงเลือกทำแต่กรรมที่ดีๆ นะ!”


เตือนให้เตรียมตัวไว้ดำเนินชีวิตต่อไป เป็นคำแทนคำอวยพรอย่างสูงสุด ประกอบด้วยเหตุผล
เมื่อทำกรรมดีแล้ว ไม่ให้พรก็ต้องดี เมื่อทำชั่วแล้ว จะมาเสกสรรปั้นแต่งอวยพรอย่างไรก็ดีไม่ได้ทำชั่วเหมือนโยนหินลงน้ำหินจะต้องจมทันที ไม่มีผู้วิเศษใดๆ จะมาเสกเป่าอวยพรอ้อนวอนขอร้องให้หินลอยขึ้นมาได้ ทำกรรมชั่วจะต้องล่มจมป่นปี้เสียราศีเกียรติคุณชื่อเสียงเหมือนก้อนหินหนักจมลงไปอยู่กับโคลนใต้น้ำ ทำดีเหมือนน้ำมันเบา เมื่อเทลงน้ำย่อมลอยเป็นประกายมันปลาบอยู่เหนือน้ำ

ทำกรรมดี ย่อมมีสง่าราศี มีเกียรติคุณชื่อเสียง มีแต่คนเคารพนับถือ ยกย่องบูชา เฟื่องฟุ้งฟูลอยเหมือนน้ำมันลอยน้ำ ถึงจะมีศัตรูหมู่ร้ายจงใจเกลียดชังมุ่งร้าย อิจฉาริษยาแช่งด่าให้จม ก็ไม่สามารถจะเป็นไปได้ กลับจะแพ้เป็นภัยแก่ตัวเอง ขอให้จงตั้งใจกล้าหาญ พยายามทำแต่กรรมดีๆ โดยไม่มีความเกรงกลัวหวั่นไหวต่ออุปสรรคใดๆ ทั้งสิ้น ผู้ที่มีความเลื่อมใสในคุณพระรัตนตรัย ผู้ที่มีโชคดี ผู้ที่มีความสุข และผู้ที่มีความเจริญ ประสงค์ใดสำเร็จสมประสงค์ ก็คือผู้ประกอบกรรม ทำแต่ความดีอย่างเดียวนั่นเอง.





บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #14 เมื่อ: 26 มกราคม 2553 07:03:04 »




พระกรรมฐานกลางกรุง (จบ)

ธรรมเทศนา ของ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
ที่สวนสันติธรรม อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี

วันที่ ๔ มิถุนายน ๒๕๕๒
นาทีที่ ๕๖ ในการแสดงธรรมช่วงหลัง


  คุณดำเกิง… หลวงพ่อว่าจะเอาหนังสือของคุณดำเกิงไปพิมพ์ ทีนี้คุณสุเมธรู้นะ อาสาเอาไปแล้ว เดี๋ยวจะส่งอันนี้เพิ่มไป เขียนดีนะ คุณดำเกิงเขียนเรื่องท่านเจ้าคุณนรฯ ท่านสอนอย่างไรบ้าง ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่เคยได้ยินเลย เรารู้แต่เรื่องท่านเจ้าคุณนรฯ นะ รู้แค่ผิวเผินไม่เคยรู้ธรรมะของท่าน นี่คุณดำเกิงเคยบวชอยู่กับท่าน เรียนกรรมฐานอยู่กับท่าน น่าฟัง มาเล่าให้หลวงพ่อฟังทีละนิดๆ หน่อยๆ นะ เรา ฮ๊า…ไม่พอ โลภหนอโลภหนอ (โยมหัวเราะทั้งศาลา) เลยบอกคุณดำเกิงช่วยไปเขียนมา (ให้) หน่อยได้ไหม (ที) นี้คุณดำเกิงไปเขียนมา เราก็นั่งอ่านด้วยความชื่นชมอยู่คนเดียวอยู่หลายปีแล้ว อ่านไปอ่านมาก็ เอ้อ ให้คนอื่นเค้าอ่านบ้างดีกว่า

     ท่านเจ้าคุณนรฯ เป็นพระที่น่าสนใจมาก ท่านเป็นชาวกรุงเทพฯ นะ ท่านเกิดในกรุงเทพฯ โตในกรุงเทพฯ เรียนหนังสือในกรุงเทพฯ เรียนอยู่รัฐศาสตร์จุฬาฯ เนี่ย เรียนอยู่กรุงเทพฯ แล้วก็ทำงานในกรุงเทพฯ แล้วเป็นใหญ่เป็นโตถึงระดับองคมนตรีโน่น เสร็จแล้วท่านก็ออกบวช บวชแล้วท่านก็ไม่ไปไหน ท่านก็อยู่ในวัดของท่านแหละ ปรากฏว่าท่านภาวนาได้ชนิดหาตัวจับยากมาก ภาวนานี่ไม่ได้เป็นรองใครเลย ธรรมะของท่านก็เฉียบขาดมากเลย ฟังแล้ว โอย…สะใจ หลวงพ่อทึ่งท่านตั้งแต่ประโยคหนึ่ง เคยอ่านเจอ ท่านบอกว่า “ของจริงนิ่งเป็นใบ้ ของพูดได้ไม่ใช่ของจริง” โอย…สะใจนะ เดี๋ยวหนังสือออกมาแล้วก็จะได้อ่านนะ จะได้ช่วยกันสะใจ (โยมหัวเราะทั้งศาลา) แต่จะสะใจกันหรือเปล่าก็ไม่รู้ ภาวนาไม่เป็น คงไม่ สะ หรอก (โยมหัวเราะทั้งศาลา)




บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #15 เมื่อ: 26 มกราคม 2553 10:08:22 »




ท้ายเล่มจากผู้บันทึก


แรกทีเดียวไม่ได้คิดที่จะทำบันทึกคำสอนและเรื่องราวต่างๆ ที่เกี่ยวกับท่านเจ้าคุณนรฯ เพราะอยู่ในความทรงจำของข้าพเจ้าแล้ว ครั้นมาพิจารณาว่าหากทำบันทึกไว้ ก็น่าจะเป็นประโยชน์แก่อนุชนรุ่นหลัง เพื่อเพิ่มพูนศรัทธาในบวรพระพุทธศาสนา ทั้งเป็นการเชิดชูเกียรติคุณและแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อท่าน ผู้ซึ่งข้าพเจ้ามีความเคารพอย่างสูง จึงได้เริ่มเขียนบันทึกนี้ในเวลาต่อมา


     นับเป็นโอกาสอันดียิ่งที่หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ได้ขอให้ข้าพเจ้าเขียนบันทึกธรรมของท่านเจ้าคุณนรฯ ให้ และต่อมาได้ขอนำบันทึกฉบับนี้ไปจัดพิมพ์ ทำให้ความตั้งใจของข้าพเจ้าสัมฤทธิผล หลังจากที่เวลาได้ล่วงเลยไปแล้วถึง ๔๐ ปี


     ตลอดเวลาที่บวชอยู่นอกจากท่านเจ้าคุณนรฯ แล้ว ข้าพเจ้ายังได้รับความกรุณาจากครูบาอาจารย์อีกหลายท่าน พระอุปัชฌาย์ได้ให้กำเนิดเพศภิกษุแก่ข้าพเจ้า หลวงปู่หลุย พาหิยเถระ ได้อบรมสั่งสอนธรรมและวินัย ท่านพระมหาอำพัน บุญ-หลง คอยดูแลให้คำแนะนำสั่งสอน และที่ซาบซึ้งมากคือ ก่อนวันลาสิกขาท่านได้กรุณาพาข้าพเจ้าไปกราบลาพระแก้วมรกตที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยที่ท่านได้กล่าวนำเป็นภาษาบาลีให้ข้าพเจ้าว่าตาม วันที่ไปกราบลาท่านกลับบ้านหลังจากลาสิกขาแล้ว ท่านยังได้มอบเหรียญที่ท่านเจ้าคุณนรฯ ปลุกเสกและรูปถ่ายเล็กๆ ของท่านเจ้าคุณนรฯ ให้ข้าพเจ้า ซึ่งเป็นรูปที่ท่านเจ้าคุณนรฯ ได้มอบให้กับท่านไว้เป็นการส่วนตัว ด้านหลังเขียนตัวหนังสือไว้คล้ายอักขระขอม


     ส่วนดีของหนังสือเล่มนี้ขอน้อมอุทิศถวายแด่ท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต (พระธมฺมวิตกฺโก) พระสาสนโสภณ (สมณศักดิ์สุดท้าย) (เอื้อน ชินทตฺโต) พระอุปัชฌาย์ หลวงปู่หลุย พาหิยเถระ พระอนุสาวนาจารย์ ท่านพระมหาอำพัน บุญ-หลง พระกรรมวาจาจารย์ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช และครูบาอาจารย์ทุกท่าน


     ขออุทิศบุญนี้แด่คุณพ่อคุณแม่นายแพทย์ชลิต คุณแม่ประคอง สงวนสัตย์ และคุณอาว์อุดม เจริญประวัติ ผู้เป็นปัจจัยให้ข้าพเจ้าได้พบท่านเจ้าคุณนรฯ


     ขออนุโมทนากับกิจกรรมพัฒนาจิต ชมรมพุทธศาสน์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย คุณสุเมธ โสฬศ ทีมงานทุกท่านและผู้ใกล้ชิดข้าพเจ้าที่ได้ช่วยงาน ตลอดจนผู้มีจิตศรัทธาที่ได้มีส่วนร่วมในธรรมทานนี้.


ข้อคิดแถมท้าย

"การที่คุณเอาธนบัตรที่มีรูปในหลวงไปใส่ไว้ในกระเป๋ากางเกงนั้นไม่ดีเลย

เพราะในหลวงท่านเป็นพระโพธิสัตว์

การเอาพระรูปของท่านไปไว้ในที่ต่ำอย่างนั้น ย่อมบังเกิดโทษเป็นอันมาก

ทีหลังอย่าพากันทำ..!!?!"


ท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต (พระธมฺมวิตกฺโก)

วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพมหานคร



   

พุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา


รวบรวมข้อมูลโดย forgive


Credit by : http://www.oknation.net/blog/tocare/2009/10/29/entry-1
Pics by : Google


ขอบพระคุณที่มาทั้งหมดมากมาย
อนุโมทนาสาธุค่ะ


บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.749 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 20 พฤศจิกายน 2567 22:02:17