[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
22 ธันวาคม 2567 20:36:52 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: {恐怖 パパニコロウ}หิริโอตัปปะ  (อ่าน 5016 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 3 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
時々๛कभी कभी๛
สมาชิกถูกดำเนินคดี
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +9/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Nepal Nepal

กระทู้: 1921


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 3.6.10 Firefox 3.6.10


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 14 ตุลาคม 2553 10:43:46 »


<table class="maeva" cellpadding="0" cellspacing="0" border="0" style="width: 800px" id="sae1"> <tr><td style="width: 800px; height: 576px" colspan="2" id="saeva1"><script type="text/javascript"><!-- // --><![CDATA[ var oldLoad = window.onload; window.onload = function() { if (typeof(oldLoad) == "function") oldLoad(); if (typeof(aevacopy) == "function") aevacopy(); } // ]]></script><embed type="application/x-mplayer2" src="http://www.fungdham.com/download/song/allhits/17.wma" width="800px" height="576px" wmode="transparent" quality="high" allowFullScreen="true" allowScriptAccess="never" ShowControls="True" autostart="false" autoplay="false" /></td></tr> <tr><td class="aeva_t"><a href="http://www.fungdham.com/download/song/allhits/17.wma" target="_blank" class="aeva_link bbc_link new_win">http://www.fungdham.com/download/song/allhits/17.wma</a></td><td class="aeva_q" id="aqc1"></td></tr></table>


หิริโอตัปปะ นั้น เรียกรวมกันว่า ความละอายและความเกรงกลัวต่อบาป ถือว่าเป็นธรรมะสำคัญ ต่อการใช้ชีวิต อยู่ร่วมกันของคนในสังคมนี้มาก เพราะบุคคลที่ไม่ละอายแก่ใจต่อการกระทำผิด ไม่เกรงกลัวต่อผล ของการกระผิดแล้วนั้น บุคคลนั้น สามารถทำสิ่งเลวร้ายได้ทุกชนิด สามารถสร้างความเดือดร้อน ความเสียหายให้แก่ตนเอง และผู้คนในสังคมได้ไม่หยุดหย่อน เพราะเหตุนี้ โลกนี้ สังคมนี้ ต้องการธรรมะสองข้อนี้ปกป้องคุ้มครอง เรียกได้ว่า เป็นธรรมโลกบาล หรือ ธรรมะที่คุ้มครองโลก เลยทีเดียว

{หิริ} หรือความละอายแก่ใจในการทำบาป หากหิริเกิดขึ้น สามารถหยุดตัวเองไม่ให้ความชั่วชนะใจ เพราะมีความละอายที่จะคิด จะพูด หรือจะกระทำ ความชั่วเหล่านั้น หิริเกิดขึ้นได้จากการอบรมเลี้ยงดู ฝึกฝนตนเอง การคำนึงถึงชาติ วงศ์ตระกูล คนในสมัยโบราณอบรมเลี้ยงดูลูกหลานให้เกรงกลัวต่อบาป ด้วยการเล่าถึงนรก ยมบาล และการลงฑัณฑ์ในอเวจีขุมต่างๆ ทำให้คนเกรงกลัว ซึ่งไม่ใช่เรื่องเสียหาย หรืองมงาย หากเรื่องเล่าเหล่านี้ สามารถคุ้มครองสังคม ให้อยู่ร่มเย็นเป็นสุขได้ ผิดกับสังคมอุดมปัญญา ที่หาความละอายใจแก่บาปของคนในสังคมไม่ได้

{โอตัปปะ} หรือ ความเกรงกลัวต่อบาป หากคนกลัวแต่กฎหมาย ไม่กลัวกฏแห่งกรรม สังคมนี้จะมีแต่คนหากินกับ การหาช่องโหว่ทของกฏหมาย โดยไม่คำนึงถึงความถูกต้อง เหมาะสม สังคมควรมีส่วนรับผิดชอบในเรื่องนี้ คือคนในสังคมควรยกย่องผู้กระทำดี มีศีลธรรม และตำหนิผู้ประพฤติชั่ว ไม่ใช่ยกย่องผู้มีเงิน มีอำนาจ โดยไม่สนใจที่มาของเงิน และอำนาจเหล่านั้น ซึ่งหากสังคมให้ยอมรับผู้มีศีลธรรม เป็นสำคัญ สังคมนั้นก็จะสงบร่มเย็น


ธรรม ๔ อย่าง ควรเจริญ เป็นไฉน

ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ คือ................................................

ภิกษุในธรรมวินัยนี้

พิจารณาเห็นกายในกาย ๑

พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา ๑

พิจารณาเห็นจิตในจิต ๑

พิจารณาเห็นธรรมในธรรม ๑

ธรรม ๔ อย่างเหล่านี้ควรเจริญ


ท่านอาจารย์..............ถ้าอีกขั้นหนึ่งก็คือ {หิริ - โอตตัปปะ}

ขณะใดทึ่สติปัฏฐานเกิดระลึกลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ

ขณะนั้นก็เป็น หิริโอตัปปะ ของขั้น อบรมเจริญ ปัญญา

เพื่อที่จะดับกิเลสเป็นสมุจเฉท

แต่ถ้าใครยังไม่เห็นกำลังขอ อหิริกะอโนตตัปปะ คนนั้นก็คงจะคิดว่า

ไม่ได้ทำความเดือดร้อนให้ใครเลยมีชีวิตวันหนึ่งๆเป็นสุขสบายดี

เพราะฉะนั้นก็ไม่ระลึกลักษณะของสภาพธรรมเพื่อที่จะศึกษาให้ประจักษ์แจ้ง

ในสภาพธรรมที่ไม่ใช่ สัตว์ บุคคล ตัวตน


Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 14 ตุลาคม 2553 11:08:37 โดย {sometime} » บันทึกการเข้า

โลกเรานี้หนอช่างเหมือนความฝันเสียนี่กระไร ?

時々๛कभी कभी๛
สมาชิกถูกดำเนินคดี
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +9/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Nepal Nepal

กระทู้: 1921


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 3.6.10 Firefox 3.6.10


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 14 ตุลาคม 2553 10:48:17 »



เพราะฉะนั้นวิริยารัมภกถาที่จะให้เกิดความเพียร ที่สติจะระลึกลักษณะของสภาพ

ธรรมคือชี้แจงให้เห็นโทษของอกุศลและให้เห็นกำลังของอกุศลซึ่งแทบจะกล่าวได้ว่า

ตลอดทั้งวันและตลอดทั้งคืนด้วยติดตามไปถึงความฝันกลางวันก็เต็มไปด้วยอกุศล

แล้วน่ะค่ะเวลาที่เห็นที่ได้ยิน - รู้สี่งที่กระทบสัมผัส คิดนึก ทางใจนอนหลับพักผ่อน

แล้ว{อหิริกะอโนตตัปปะ}ก็ยังติดตามไปถึงความฝันด้วยมีใครไม่ฝันบ้างไหมค่ะพระ

อรหันต์ไม่ฝันเพราะฉนั้นผู้ที่ยังไม่ใช่พระอรหันต์ฝันเพราะว่ายังมี{อหิริกะ - อโนตตัปปะ}

เวลาฝันนี้เป็นโลภะมูลจิตบ้างโทสะมูลจิตบ้างใช่ไหมค่ะใครที่ฝันเป็นกุศลได้ทุกคืน ๆ

หรือว่าในฝันเรื่่องหนึ่งซึ่งคืนหนึ่งนี้ฝันหลายเรื่องแล้วในฝันเรื่องหนึ่ง ๆ นี้เป็นกุศล

กี่ครั้งหรือว่าฝันด้วยอกุศลท้งนั้นตื่นเต้นสนุกสนานเป็นเรื่องเป็นราวต่าง ๆ ถึงสี่งที่เห็น

มาแล้วบ้างหรือว่าเคยลี้มรสมาแล้วต่าง ๆ เหล่านั้นเพระฉะนั้นก็จะเห็นได้น่ะค่ะว่า{อหิริกะ

อโนตตัปปะ}นอกจากจะมีมากในเวลากลางวันแล้วก้ยังติดตามไปจนถึงกลางคืนแม้ใน

ขณะที่กำลังพักผ่อนหลับนอนด้วย  

มีท่านผู้ฟังท่านหนึ่ง ท่านก็อยากปฏิบัติมากเหลือเกิน ซึ่งก็คงจะไม่ใช่ท่านผู้ฟังท่าน

นี้ท่านเดียว ก็คงจะมีอีกหลายท่านทีเดียวที่อยากจะข้ามธรรมทั้งหมดเพื่อที่จะปฏิบัติ

เสียที ๆ รู้สึกว่ามีความตั้งใจรีบร้อนที่จะปฏิบัติ แต่ว่าถ้าการปฏิบัตินั้นไม่ใช่เพื่อรู้จักตัวเอง

ตามความเป็นจริงจะมีประโยชน์ไหมไม่รู้ว่าอกุศลเกิดในขณะไหนบ้างกุศลเกิดในขณะ



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 14 ตุลาคม 2553 11:06:09 โดย {sometime} » บันทึกการเข้า

โลกเรานี้หนอช่างเหมือนความฝันเสียนี่กระไร ?

時々๛कभी कभी๛
สมาชิกถูกดำเนินคดี
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +9/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Nepal Nepal

กระทู้: 1921


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 3.6.10 Firefox 3.6.10


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 14 ตุลาคม 2553 10:51:49 »



ไหนบ้างวันหนึ่งมีกุศลมากหรืออกุศลมาก ถ้าไม่รู้อย่างนี้

แล้วอยากจะปฏิบัติทันทีโดยไม่รู้อะไรทั้งหมด ในเรื่องของสี่งที่

ปรากฏทางตากาย ทางใจ ก็เท่ากับว่าไม่เป็น

การปฏิบัติเพื่อรู้จักตนเองเพราะฉะนั้นจะมีประโยชน์อะไรแต่ถ้าได้ฟังพระธรรม

และการปฏิบัติ ก็คือ{สติ}ระลึกลักษณะของสภาพธรรมทีไม่เคยรู้  

แต่เคยยึดถือว่าเป็นเราและเรี่มเข้าใจลักษณะของสภาพธรรม

ตามความเป็นจริงขึ้นอันนั้นย่อมเป็นประโยชน์เพราะว่าเมี่อเห็น{อกุศล}

ตามความเป็นจริงย่อมเกิดความละอายความรังเกียจและอบรมเจริญปัญญา

ที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่จะคลาย{อกุศล}จนสมารถที่จะดับได้เป็น

สมุจเฉทเห็นกำลังของ{อหิริกะ - อโนตัปปะ}ไหมค่ะ

วันหนึ่ง ๆ มีมากแค่ไหน

และทุกวันเป็นอย่างนี้ใน{สังสารวัฏฏ์}

เพราะฉะนั้นการที่{อหิริกะและอโนตตัปปะ}จะลดกำลังไปได้

ก็ต่อเมื่อ{หิริ}และ{โอตตัปปะ}มีกำลังขึ้น




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 14 ตุลาคม 2553 11:06:38 โดย {sometime} » บันทึกการเข้า

โลกเรานี้หนอช่างเหมือนความฝันเสียนี่กระไร ?

【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪
ลั้ลลา
ผู้ดูแลบ้านสุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +8/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 2097


【ツ】ต้นไม้แห่งแสง

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 2.0.157.2 Chrome 2.0.157.2


หน้ากู
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 14 ตุลาคม 2553 11:14:54 »


สาธุ อนุโมทนามิ

 บ๊าบบาย บ๊าบบาย บ๊าบบาย
บันทึกการเข้า

เราช่วยกันนำต้นรักที่เพาะได้
   ส่งไปตาม บ้านที่ต้องการ
       อยากจะได้...
   หรืออยากจะเติม
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: 14 ตุลาคม 2553 11:35:28 »





 ยิ้ม  ยิ้ม  ยิ้ม
บันทึกการเข้า
คำค้น: หิริ ความ ละอาย บาป เกรง กลัว ต่อ dhamma ข้อคิด เตือนใจ สติ บ่อเกิด ธรรม ปัญญา 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.295 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 02 พฤศจิกายน 2567 04:50:58