[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
21 ธันวาคม 2567 22:54:05 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: กฐิน ในพระพุทธศาสนา ตอนที่ ๑  (อ่าน 2635 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
時々๛कभी कभी๛
สมาชิกถูกดำเนินคดี
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +9/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Nepal Nepal

กระทู้: 1921


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 3.6.10 Firefox 3.6.10


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 17 ตุลาคม 2553 22:03:09 »


<table class="maeva" cellpadding="0" cellspacing="0" border="0" style="width: 800px" id="sae1"> <tr><td style="width: 800px; height: 576px" colspan="2" id="saeva1"><script type="text/javascript"><!-- // --><![CDATA[ var oldLoad = window.onload; window.onload = function() { if (typeof(oldLoad) == "function") oldLoad(); if (typeof(aevacopy) == "function") aevacopy(); } // ]]></script><embed type="application/x-mplayer2" src="http://www.fungdham.com/download/song/allhits/21.wma" width="800px" height="576px" wmode="transparent" quality="high" allowFullScreen="true" allowScriptAccess="never" ShowControls="True" autostart="false" autoplay="false" /></td></tr> <tr><td class="aeva_t"><a href="http://www.fungdham.com/download/song/allhits/21.wma" target="_blank" class="aeva_link bbc_link new_win">http://www.fungdham.com/download/song/allhits/21.wma</a></td><td class="aeva_q" id="aqc1"></td></tr></table>


(:LOVE:)สวัสดีเพื่อน ๆ ชาว สมาชิก สุขใจ{Sometime}หายไป 2 วัน ซึ่งเป็น 2 วันสุดท้ายของ

เทศกาล ทานอาหาร เจ และถืออุโบสถศีล{Sometime}ไปร่วมทำกิจกรรมที่วัดนั่งสมาธิสวดมนต์แผ่เมตตาและกรวดน้ำ

มีพิธีเวียนเทียนรอบบริเวณวัดเมื่อวานนี้ เสาร์ที่ 16 ตุลาคม 2553 และไปถ่ายภาพมาให้ สมาชิกชาว

สุขใจได้ดูด้วยแต่ตอนนี้ยังเหนื่อย

อยู่และเพลีย ๆ นิดหน่อยไว้จะค่อย ๆ เล่ารายละเอียดให้ฟังนี่เป็นกระทู้แรกหลังจากหายไป 2 วัน เมื่อวานกลับมาดึกเพราะมี

เวียนเทียนที่วัด กว่าจะกลับถึงบ้านก็ดึกมากแล้วไม่ได้อาบน้ำก็นอนเลยพอรุ่งเช้าก็ต้องตื่นแต่เช้าแล้วไปที่มลฑลพิธีเพื่อ

ส่งพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้าทั้ง ๙ พระองค์กลับสู่สวรรค์และปิดมลฑลพิธีในวันนี้ 17 ตุลาคม 2553 รวม 10 วันเต็ม ๆ ใน

การบำเพ็ญอุโบสถศีล ถ้าจะถามว่าได้อะไรมั๊ย ? ขอตอบว่าได้มากมายมหาศาลชนิดที่เรียกว่าหาซื้อด้วยเงินไม่ได้เป็นการลงมือ

ปฏิบัติด้วยใจจริง ๆ เพราะว่าไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ สำหรับคนจน ๆ อย่าง{Sometime}มีแต่หัวใจที่หาญกล้าต่อสู้กับ

อุปสรรคต่าง ๆ เช่น...........................................

1.ฝนตกพายุเข้าประเทศไทยต้องกรำฝนไป

2.กำลังทรัพย์ไม่มีมีแต่กำลังใจและกำลังกายต้องเดินทางระยะไกล ๆ หลายสิบกิโลและใช้ 2 เท้าเดิน

3.อาหารกินง่าย ๆ คือ ผัก และเต้าหู้ยี้ - เม็ดหนำเลี๊ยบอะไรที่เค็มกับข้าวสวยร้อน ๆ เอาสะเต็กมาแลกก็ไม่ยอม(จริง ๆ)

4.กลับบ้านดึกไม่มีรถเข้าถึงบ้านและอุปสรรคอื่น ๆ ซึ่งจะเล่าให้ฟังในโอกาสต่อไปแต่ตอนต้องขอพักเอาแรงก่อน


หมายเหตุ..........อุปสรรคเหล่านี้ไม่เคยทำให้หัวใจของ{Sometime}ท้อถอยต่อการบำเพ็ญเพียรแม้แต่

น้อยทั้ง ๆ ที่สังขารก็ไม่อำนวยกลับตรงกันข้ามยิ่งมุมานะสู่ต่อไปถ้าเกิดว่า(ตาย)ก็นับว่าคุ้มค่าไม่เสียชาติเกิดแล้ว

ราตรีสวัสดิ์ หลับ หลับ หลับ


พระศาสดาทรงแสดงธรรม

ผู้มีปัญญา{ทำกุศลอยู่}

คราวละน้อย ๆ ทุก ๆ ขณะ

โดยลำดับพึงกำจัดมลทินของตนได้

เหมือนช่างทองปัดเป่าสนิมทองฉะนั้น



ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น


เนื่องจากว่าช่วงนี้ใกล้ออกพรรษาแล้วและหลังจากออกพรรษาก็จะเป็นฤดูกาล

แห่ง{กฐิน} ซึ่งมีระยะเวลา ๑ เดือนสำหรับเรื่องกฐินนั้นชาวพุทธเข้าใจหรือยัง ?

หรือใครว่ากฐินก็กฐินตามเขาไปทอดกฐินก็ไปทอดตามเขาพร้อมกับนำมาเล่าสู่กัน

ฟังว่ากฐินกองนี้ได้เงินเท่านั้น เท่านี้แต่ความเข้าใจไม่มีเลยแม้แต่น้อยจึงเป็นที่มา

ของกระทู้ธรรมหัวข้อนี้ คือ{กฐิน}ในพระพุทธศาสนาซึ่งในบางส่วน อาจารย์

ประเชิญ แสงสุข ได้แสดงความเห็นไว้แล้วในเว็บไซต์นี้


เนื่องจากข้าพเจ้า ยังเป็นผู้ใหม่ในการศึกษาพระธรรมเป็นคนที่เข้าใจอะไรค่อน

ข้างยากอาจจะมีข้อผิดตกบกพร่องอยู่บ้างดังนั้นข้าพเจ้าจะขอรวบรวมเรียบ

เรียงประมวลให้สั้นที่สุดตามกำลังแห่งความเข้าใจของตนเองพอเป็นแนวทาง

เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องยิ่งขึ้นสำหรับผู้ศึกษาพระธรรมร่วมกัน(สหายธรรม)ทุกท่าน

แต่ถ้าท่านใดประสงค์ในรายละเอียด สามารถศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมได้ที่ พระวินัยปิฎก

มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ หน้าที่ ๑๙๓  -  ๒๔๐
ในส่วนของ{กฐินขันธกะ}และประการ

ที่สำคัญ ถ้าหากความสงสัยจะพึงเกิดขึ้นแก่ผู้ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ข้าพเจ้าจะขอ

ความอนุเคราะห์จากอาจารย์ ประเชิญ แสงสุข ช่วยตอบคำถามในประเด็นดังกล่าวด้วย




Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 ตุลาคม 2553 23:19:08 โดย 時々sometime » บันทึกการเข้า

โลกเรานี้หนอช่างเหมือนความฝันเสียนี่กระไร ?

時々๛कभी कभी๛
สมาชิกถูกดำเนินคดี
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +9/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Nepal Nepal

กระทู้: 1921


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 3.6.10 Firefox 3.6.10


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 17 ตุลาคม 2553 22:17:45 »



{กฐิน} เป็นเรื่องของผ้าเท่านั้น

พระพุทธศาสนา  เป็นคำสอนของท่านผู้รู้  ผู้รู้ในที่นี้หมายถึง พระผู้มีพระภาคอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเป็นบุคคลผู้เลิศที่สุด ประเสริฐที่สุด เจริญที่สุดในโลกทั้งพระ

บริสุทธิคุณ พระปัญญาคุณ  พระมหากรุณาคุณเมื่อเป็นคำสอนของท่านผู้รู้ต้องฟัง

ต้องศึกษาด้วยความละเอียดรอบคอบความรู้ความเข้าใจจึงจะค่อย ๆ เจริญขึ้นไป

ตามลำดับความรู้ความเข้าใจเกิดเองไม่ได้คิดเองไม่ได้ต้องอาศัยเหตุ คือ..................

{การฟังการศึกษานั่นเอง}

ในสังคมไทยเมื่อกล่าวถึง{กฐิน}แล้วส่วนใหญ่ก็จะกล่าวตามความคิดเห็น

ตามความเข้าใจเดิม ๆ ของตนเองซึ่งอาจจะมีหลากหลายความคิดเห็นเช่นอาจจะ

กล่าวว่าเป็นเรื่องของซองเงินบ้างเป็นเรื่องของกองวัตถุทานขนาดใหญ่บ้างหรือ

แม้กระทั่งเป็นบุญกุศลที่ใครได้กระทำแล้วจะไม่ไปเกิดในอบายภูมิอีกเลยเป็นต้น

นี่คือ ความคิดเห็นที่ไม่ตรงตามพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ซึ่งจะเห็น

ได้ว่า{พระธรรม}ต้องศึกษาเท่านั้นถึงจะเข้าใจถูกต้อง ตรงตามความเป็นจริงแม้แต่

ในเรื่องของ{กฐิน}ก็เช่นเดียวกัน

คำว่า{กฐิน} มี ๒ ความหมาย คือ กฐินเป็นชื่อไม้สะดึงสำหรับขึงผ้าให้ตึงเป็น

อุปกรณ์ที่ช่วยในการเย็บผ้า และ กฐินตามพระวินัยหมายถึงผ้า ซึ่งเป็นผ้าสำหรับครอง

ของพระภิกษุ เป็นผ้าผืนใดผืนหนึ่ง(ในบรรดา ๓ ผืน คือ ผ้าสบง ผ้าจีวรและผ้าสังฆาฏิ)

ซึ่งก็เกี่ยวโยงว่าผ้าที่จะมาทำเป็นผ้าครองนั้นต้องมีการขึงให้ตึงสำหรับเย็บผ้าผืนดัง

กล่าวนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาต แก่พระภิกษุที่อยู่จำพรรษาครบ ๓ เดือนซึ่ง

ในอาวาสนั้นมีภิกษุอยู่จำพรรษา อย่างน้อย ๕ รูปขึ้นไปถ้าจำนวนน้อยกว่านั้นไม่เป็น

{กฐิน}จะนิมนต์มาจากอาวาสอื่นให้เต็มจำนวนอย่างนี้ก็ไม่ได้
    
ครั้งแรกพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรารภภิกษุชาวเมืองปาฐา ๓๐ รูป ซึ่งมีความ

ประสงค์จะมาเข้าเผ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าที่วิหารพระเชตวันตอนนั้นจวนเข้าสู่ช่วง

เข้าพรรษา ไม่สามารถเดินทางให้ทันวันเข้าพรรษาในพระนครสาวัตถีก็เลยอยู่จำ

พรรษาตามพระวินัย ณ.เมืองสาเกตุเมื่อออกพรรษาแล้วท่านเหล่านั้นก็เดินทางต่อ

ทันทีในช่วงนั้นฝนยังไม่หมด ทำให้จีวรเปียกชุ่มด้วยน้ำเกิดความลำบากพระผู้มี

พระภาคเจ้าทรงปรารภในเรื่องนี้จึงทรงอนุญาตให้ภิกษุที่อยู่จำพรรษาครบ ๓ เดือน

แล้วทำการกรานกฐิน เพื่อเปลี่ยนผ้าในช่วงจีวรกาลซึ่งเป็นเรื่องวินัยกรรมของพระ

ภิกษุส่วนคฤหัสถ์มีหน้าที่เพียงถวายผ้าเท่านั้นผ้าดังกล่าวนั้นพระภิกษุจะต้องได้

มาด้วยความบริสุทธิ์ ขอเขามาหรือเลียบเคียงมานั้นไม่ได้ถ้าหากพระภิกษุไปบอก

คฤหัสถ์ว่าวัดที่ตนจำพรรษานั้นยังไม่มีผู้จองกฐินเลยแล้วคฤหัสถ์นำไปถวายอย่างนี้

ไม่เป็นกฐินเพราะเกิดจากการออกปากขอย่อมเป็นผ้าที่ไม่บริสุทธิ์แต่ถ้าเป็น

ความประสงค์ของคฤหัสถ์ที่จะเป็นผู้ถวายโดยตรง อย่างนี้ใช้ได้ซึ่งถ้าหากคฤหัสถ์ไม่

รู้จักธรรมเนียมในการถวายพระภิกษุสามารถแนะนำแก่คฤหัสถ์ได้ในสมัยก่อนผ้าที่

ถวายเป็นผ้าที่ยังไม่สำเร็จรูป เป็นผ้าขาวผืนหนึ่ง ที่เพียงพอสำหรับจะทำเป็นผ้าผืนใด

ผืนหนึ่งในบรรดา ๓ ผืน สำหรับระยะเวลาหรือขอบเขตในการถวายกฐินนั้นมีระยะ

เวลา ๑ เดือน คือ หลังออกพรรษาแล้ว ตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑  ถึงวันขึ้น

๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒

มาถึงตรงนี้ก็พอจะทราบแล้วว่า{กฐิน}เป็นเรื่องของผ้าเท่านั้นไม่เกี่ยวกับเงินทอง

เลยเพราะเหตุว่า เงินทอง เป็นวัตถุที่พระภิกษุรับไม่ได้ถ้ารับก็เป็นอาบัติมีโทษ

อยู่เหนือตนเป็นเครื่องกั้นแห่งการบรรลุมรรคผล{นิพพาน}และ คฤหัสถ์ผู้ถวายเงิน

ทองแก่พระภิกษุ ก็ชื่อว่า เป็นผู้ไม่ฉลาดในการเจริญกุศลเพราะเหตุว่าเป็นการกระทำ

ที่ไม่ถูกต้องตามพระธรรมวินัยเป็นเหตุให้พระภิกษุต้องอาบัติประการสำคัญที่ควร

พิจารณาคือ{กฐิน}ไม่ว่าจะเป็นยุคใดสมัยใดถ้าหากกระทำอย่างถูกต้องตรงตามพระ

วินัย ย่อมเหมือนกันทั้งหมด คือ ถูกต้องทั้งหมดแต่ถ้าไม่ตรงตามพระธรรมวินัยแล้ว

ย่อมไม่ถูกต้อง สำหรับในตอนที่ ๒ จะขอกล่าวถึง ใครสามารถเป็นผู้ถวายกฐินได้บ้าง{กรานกฐิน}

คืออะไรคุณสมบัติของผู้{กรานกฐิน}และอานิสงส์ของพระภิกษุผู้รับกฐิน

ตอนที่ ๓ จะขอกล่าวถึง เกี่ยวกับผู้ถวายกฐินโดยตรงจำเป็นหรือไม่ที่จะต้องมี

การถวายกฐิน(กฐินเดาะ)

สำหรับในตอนที่ ๔ และตอน ๕ (ซึ่งเป็นตอนจบ)จะขอนำเสนอคำสนทนา

เรื่อง{กฐิน}ระหว่างท่าน อาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ คณะวิทยากร และผู้ร่วม

สนทนาธรรม ณ.มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา)



................ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุก ๆ ท่าน................



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 ตุลาคม 2553 23:21:10 โดย 時々sometime » บันทึกการเข้า

โลกเรานี้หนอช่างเหมือนความฝันเสียนี่กระไร ?

คำค้น: เจ งด เว้น การ เบียดเบียน เนื้อ กิน บาป บุญ โทษ ธรรม dhamma กิจ กฐิน ธรรมดา 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.358 วินาที กับ 30 คำสั่ง

Google visited last this page 20 กรกฎาคม 2567 07:54:36