. ภาพวาด ครูเหม เวชกร• ความรู้คู่เปรียบด้วย กำลัง กายแฮ
สุจริตคือเกราะบัง ศาสตร์พ้อง
ปัญญาประดุจดัง อาวุธ
กุมสติต่างโล่ป้อง อาจแกล้วกลางสนาม ฯ "
บทพระราชนิพนธ์โคลงสุภาษิต"
ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕)
พระราชทานแก่ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา ภาพวาด ครูเหม เวชกร • ร้อนอากาศอาบน้ำ บรรเทา
ร้อนแดดพอแฝงเงา ร่มได้
ร้อนในอุระเรา เหลือหลีก
ร้อนอกราคหมกไหม้ หม่นเพี้ยงเพลิงรุมฯ" "ลิลิตพายัพ" พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) ภาพจาก : 'กามนิต' เว็บไซต์สุขใจดอทคอม• โอ้โอ๋กระไรเลย บมิเคย ณ ก่อนกาล!
พอเห็นก็ทราบซ่าน ฤดิรักบหักหาย
ยิ่งยลวะนิดา ละก็ยิ่งจะร้อนคล้าย
เพลิงรุมประชุมกาย ณ อุรา บลาลด "มัทนะพาธา" พระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) (* คัดโดยคงตัวสะกดเดิม) ภาพวาด ครูเหม เวชกร• ชมโฉมประโลมสวาท วรราชนารินทร์
รื่นรมยะสมจิน ตนะพร้อมพระไภมี
เนาแนบสุดาดวง จนล่วงลับซึ่งราตรี
ใสแสงพระสุรศรี พยับเยี่ยมยุคันธร "พระนลคำหลวง" พระราชนิพนธ์ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดี ศรีสินทรมหาวชิราวุธ
พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖) ภาพวาด ครูเหม เวชกร•...โคมีแอก ม้ามีบังเหียน
และเหยี่ยวมีกระดิ่ง ฉันใด
บุรุษก็มีกาม ฉันนั้น... "ตามใจท่าน" พระราชนิพนธ์ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดี ศรีสินทรมหาวชิราวุธ
พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖) เจ้าเงาะขับเสภา รจนาปั่นฝ้าย
ภาพวาด ครูเหม เวชกร• ความเอยความรัก เริ่มสมัครชั้นต้น ณ หนไหน?
เริ่มเพาะเหมาะกลางวางหัวใจ, หรือเริ่มในสมองตรองจงดี?
แรกจะเกิดเป็นไฉนใครรู้บ้าง? อย่าอำพรางตอบสำนวนให้ควรที่
ใครถนอมกล่องเกลี้ยงเลี้ยงรตี ผู้ใดมีคำตอบขอบใจเอยฯ... "เวนิสวาณิช" พระราชนิพนธ์แปล ใน พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ
พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖) จากบทละครเรื่อง '
The Merchant of Venice' ของ วิลเลียม เชกสฺเปียร์ นักกวีชาวอังกฤษ
ภาพวาด ครูเหม เวชกร• เรืองเรืองไตรรัตน์พ้น พันแสง
รินรสพระธรรมแสดง ค่ำเช้า
เจดีย์ระดะแซง เสียดยอด
ยลยิ่งแสงแก้วเก้า แก่นหล้าหลากสวรรค์ ฯ. โคลงนิราศ เรื่อง
"นิราศนรินทร์" นายนรินทรธิเบศร (นรินทร อิน) แต่ง เมื่อคราวตามเสด็จ
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ เสด็จยกทัพไปปราบพม่าข้าศึก
ที่เมืองถลางและชุมพร เมื่อต้นรัชกาลที่ ๒ ในปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๓๕๒ • อันว่าความกรุณาปรานี
จะมีใครบังคับก็หาไม่
หลั่งมาเองเหมือนฝนอันชื่นใจ
จากฟากฟ้าสุราลัยสู่แดนดินฯ. "เวนิสวานิช" พระราชนิพนธ์แปล ใน พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ
พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖) จากบทละครเรื่อง
'The Merchant of Venice' ของ วิลเลียม เชกสฺเปียร์ นักกวีชาวอังกฤษ
• ทรามวัยอย่าร้องร่ำ กำศรวล
อยู่แม่อย่าเสวยครวญ ลห้อย
บ่นานบ่หน่าย*นวล แหนงเสน่ห์ นุชนา
เสรจ์ทับกลับถนอมสร้อย อย่าเศร้าเสียศรี ฯ" "ลิลิตตะเลงพ่าย" พระนิพนธ์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปรมานุชิตชิโนรส* สมุดไทยเลขที่ ๔๓ ว่า แหนง
'หุ่นขี้ผึ้ง' พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้ง จ.นครปฐม•"การที่จะลงพระราชอาญาด้วยอาการใดๆ
มีตีและขังเป็นต้น...น่าจะไม่เป็นประโยชน์
เพราะลูกผู้ดีไม่ใช่สัตว์เดียรัจฉาน
ที่จะบังคับบัญชาได้ด้วยอาญา” ฯ ประกาศกระแสพระราชดำริในเรื่อง เป็นลูกผู้ชาย ใน พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดี ศรีสินทรมหาวชิราวุธ
พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖) พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔)• "...ฉันขอลาท่านทั้งหลายไปจากภพนี้ ในวันนี้แล้ว
ฉันขอฝากลูกของฉันด้วย อย่าให้มีภัยอันตรายเป็นที่กีดขวางในการแผ่นดิน
ถ้าจะมีความผิดสิ่งหนึ่งสิ่งใดเป็นข้อใหญ่ ขอแต่ชีวิตไว้ ให้เป็นแต่โทษเนรเทศ
ขอให้ท่านเป็นที่พึ่งแก่ลูกของฉันต่อไปด้วยเถิด.” ฯ พระราชดำรัสจากพระโอษฐ์ เหตุการณ์วันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔)
มีพระราชดำรัสฝากฝังพระราชโอรสและพระราชธิดาต่อขุนนางผู้ใหญ่และพระราชวงศ์ผู้ทรงอำนาจ
ทรงรับสั่งให้เจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (สมุหกลาโหม ภายหลังต่อมาได้รับพระราชทานเลื่อนยศเป็น สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์)
และพระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงวงศาธิราชสนิท พระราชวงศ์ผู้ใหญ่ที่สุดที่ทรงรับราชการ
เข้าเฝ้าเพื่อรับสั่งราชการเป็นครั้งสุดท้าย และรับสั่งลา... ภาพวาดของ ครูเหม เวชกร• หนูตายตัวเดียว สามารถจะทำให้น้ำทั้งสระเป็นพิษได้ ฉันใด
อ้ายพวกยุแหย่ก็อาจจะทำให้คนร่วมชาติทั้งหมดเสียชื่อเสียง
สิ้นความนับถือของคนทั้งปวงได้ ฉันนั้น. อัศวภาษิต ภาษิตของ "อัศวพาหุ" พระนามแฝง หรือนามปากกา
ใน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖
"ดูดอุ" (เหล้าไห)ภาพจาก : ผนังหอไตร วัดธาตุหลวงใต้ นครเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ภาพ : ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๗• บุคคลบางจำพวก เมื่อนึกไปถึงความยากลำบากของตนแล้ว
ก็มักหันเข้าหาความเพลิดเพลิน และความหลงใหลในสุรา. อัศวภาษิต ภาษิตของ "อัศวพาหุ" พระนามแฝง หรือนามปากกา
ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
จิตรกรรมฝาผนัง วัดป่าภูก้อน ต.บ้านก้อง อ.นายูง จ.อุดรธานี• พุทธศาสนิกชนย่อมได้รับความสั่งสอน ให้เผื่อแผ่เมตตาจิต
และมีความปรานี สังเวช ไม่ชั่วแต่แก่ผู้ที่ร่วมศาสนา
ย่อมทั่วถึงไปยังเวไนยสัตว์ทั้งหลาย ไม่ว่าศาสนาใดหรือลัทธิใด. อัศวภาษิต ภาษิตของ "อัศวพาหุ" พระนามแฝง หรือนามปากกา
ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
"โคลงสยามานุสติ"
ลายพระราชหัตถ์ ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ฯลฯ
• หากสยามยังอยู่ยั้ง ยืนยง
เราก็เหมือนอยู่คง ชีพด้วย
หากสยามพินาศลง ไทยอยู่ ได้ฤๅ
เราก็เหมือนมอดม้วย หมดสิ้นสกุลไทย สยามานุสติ คำโคลงพระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖
ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันเสาร์ที่ ๒๗ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๖๑
• พระพุทธเจ้าตรัสว่า "ความอยากรู้-อยากทำ เป็นรุ่งอรุณของการศึกษา" วจนะภาษิตธรรม คัดจาก กระดานผลงาน ณ ชาติภูมิสถาน ปอ.ปยุตฺโต
อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี
ภาพวาด - ครูเหม เวชกร?• เคยตระโบมบัวมาดแก้ว กับกร
เกี้ยวตระกองบงงอร อุ่นเนื้อ
ปางร้างนิราสมร มาเทวศ
ถวิลบวายรสเกื้อ กอดเกี้ยวก่ายเขนย. ลิลิตตะเลงพ่าย พระนิพนธ์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
*
ผู้ทรงพระนิพนธ์ได้นำเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์สมัยอยุธยา
ที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงมีชัยชนะเหนือพระมหาอุปราชาของพม่า
มาเรียบเรียงเป็นวรรณคดียอพระเกียรติ ภาพวาด - ครูเหม เวชกร• กำไลมาศชาตินพคุณแท้ ไม่ปรวนแปรเป็นอื่นยั่งยืนสี
เหมือนใจตรงคงคำร่ำพาที จะร้ายดีขอให้เห็นเช่นเสี่ยงทาย
ตาปูทองสองดอกตอกสลัก ตรึงความรักรัดไว้อย่าให้หาย
แม้รักร่วมสวมใส่ไว้ติดกาย เมื่อใดวายสวาสดิ์วอดจึงถอดเอย. บทกลอนพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว *
สลักไว้บริเวณด้านบนของกำไล พระราชทานแด่เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ ลดาวัลย์
เจ้าจอมคนสุดท้ายในรัชกาลที่ ๕ ภาพพระปฐมสมโพธิ์ ของ ครูเหม เวชกร• พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง
โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี
นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์
สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา กฤษณาสอนน้องคำฉันท์
พระนิพนธ์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส *
คชสารแม้ม้วยมีงา โคกระบือมรณาเหลือเขาหนัง
มนุษย์ถึงกาลอาสัญ สูญสิ้นสารพัน คงไว้แต่ "ความชั่ว-ความดี". p. 7-9p. 32/32