[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
21 มิถุนายน 2567 13:03:30 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า:  1 ... 11 12 [13] 14 15 ... 20   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: มิลินทปัญหา  (อ่าน 135142 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 15 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 18 ตุลาคม 2553 20:39:52 »





มิลินทปัญหา
มิลินทปัญหา วรรคที่ ๑

ปัญหาที่ ๑ ถามชื่อ
ครั้งนั้น พระเจ้ามิลินท์ได้เสร็จไปหาพระนาคเสนแล้ว
ทรงปราศรัยพอให้เกิดความร่าเริงยินดีแล้วก็ประทับนั่ง
ฝ่ายพระนาคเสนก็แสดงความชื่นชมยินดี
ทำให้เป็นที่พอพระทัยของพระเจ้ามิลินท์
ลำดับนั้น พระองค์จึงตรัสถามปัญหาข้อแรกต่อพระนาคเสนขึ้นว่า

" ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า โยมประสงค์จะสนทนาด้วย "
พระนาคเสนถวายพระพรตอบว่า
" เชิญสนทนาเถิด มหาบพิตร อาตมภาพใคร่จะฟัง "
" โยมสนทนาแล้ว ขอผู้เป็นเจ้าจงฟังเถิด "
" อาตมภาพฟังอยู่แล้ว มหาบพิตรเชิญเจรจาเถิด "

" พระผู้เป็นเจ้าได้ฟังว่าอย่างไร ? "
" ก็มหาบพิตรเจรจาว่าอย่างไร ? "
" โยมจะถามพระผู้เป็นเจ้า "
" จงถามเถิด มหาบพิตร "
" โยมถามแล้ว "
" อาตมภาพก็แก้แล้ว "

" พระผู้เป็นเจ้าแก้ว่าอย่างไร ? "
" ก็มหาบพิตรถามว่าอย่างไร ? "


เมื่อพระเถระตอบอย่างนี้แล้ว พวกโยนกเสนาทั้ง ๕๐๐
ก็เปล่งเสียง สาธุการ ถวายพระนาคเสน
แล้วกราบทูลพระเจ้ามิลินท์ว่า " ข้าแต่มหาราชเจ้า
คราวนี้ขอพระองค์จงตรัสถามปัญหาต่อไปเถิดพระเจ้าข้า "





: http://agaligohome.fx.gs/index.php?topic=205.0

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 16 กรกฎาคม 2555 19:24:04 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: จัดหน้าค่ะ » บันทึกการเข้า
 
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 5.0 Firefox 5.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #241 เมื่อ: 03 สิงหาคม 2554 02:42:45 »



การขอ

" ข้าแต่พระนาคเสน คำว่า การขอ นั้นมีอยู่เท่าใด? "
" ขอถวายพระพร มีอยู่ ๒ ประการ คือ การขอทางกาย ๑ การขอทางวาจา ๑

การขอทั้งสองนี้ แยกออกไปอย่างละ ๒ คือ มีโทษ ๑ ไม่มีโทษ ๑
การขอทางกายที่มีโทษ นั้นได้แก่สิ่งใด....

ได้แก่การที่ภิกษุบางรูปเข้าไปถึงตระกูลแล้วยืนอยู่ในที่ไม่สมควร ไม่ละที่นั้นไป พระอริยะทั้งหลายย่อมไม่เลี้ยงชีวิตด้วยการขอทางกายนั้น ส่วนบุคคลนั้น เป็นผู้ที่พระอริยเจ้าดูหมิ่นติเตียน ครอบงำ ไม่ยำเกรง ดูแคลน นินทา ถึงซึ่งอันนับว่าเป็นผู้เสียอาชีพ

ยังมีอีกข้อหนึ่งมหาบพิตร ภิกษุบางรูปเข้าไปถึงตระกูล แล้วยืนอยู่ในที่ไม่สมควร ยื่นคอเล็งดูประหนึ่งว่านกยูง ด้วยเข้าใจว่าคนจักไม่เห็นเรา แล้วคนก็เห็นภิกษุนั้น อันนี้ก็เป็นการขอทางกายที่มีโทษ พระอริยเจ้าทั้งหลาย ไม่เลี้ยงชีพด้วยการขอทางกายนี้ ภิกษุนั้นย่อมเป็นที่ดูหมิ่นติเตียนของพระอริยะทั้งหลาย ย่อมถึงซึ่งความนับว่า เลี้ยงชีพในทางที่ไม่สมควร

การขอทางกายที่ไม่มีโทษ นั้นได้แก่สิ่งใด...
ได้แก่การที่ภิกษุบางรูปเข้าไปถึงตระกูลมีสติสัมปชัญญะ ไปยืนอยู่ในที่สมควร ด้วยคิดว่า ผู้ประสงค์จะให้ก็ต้องมา ผู้ไม่ประสงค์จะให้ก็ต้องหลีกไป พระอริยะเจ้าทั้งหลายเลี้ยงชีพด้วยการขออย่างนี้ ภิกษุนั้นย่อมเป็นที่สรรเสริญเชยชมของพระอริยเจ้าทั้งหลาย ย่อมถึงซึ่งความนับว่ามีความประพฤติขัดเกลากิเลส มีอาชีพบริสุทธิ์

ข้อนี้ สมกับที่สมเด็จพระบรมสุคต ผู้เป็นวิสุทธิเทพยิ่งกว่าเทพยดาตรัสไว้ว่า
" ผู้มีปัญญาทั้งหลายย่อมไม่ขอ ผู้มีความคิดดีทั้งหลายย่อมติเตียนการขอ พระอริยะทั้งหลายได้แต่ยืนเฉพาะ การยืนเฉพาะเป็นการขอของพระอริยะทั้งหลาย" ดังนี้ การขอด้วยกายอย่างนี้ เป็นของไม่มีโทษ

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 5.0 Firefox 5.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #242 เมื่อ: 03 สิงหาคม 2554 02:47:07 »



การขอทางวาจาที่มีโทษ นั้นคืออย่างไร

คือภิกษุบางรูปย่อมขอสิ่งต่างๆ ด้วยวาจา คือขอจีวร บิณฑบาต ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค ที่เก็บเภสัช พระอริยะทั้งหลายย่อมไม่เลี้ยงชีวิตด้วยการขออย่างนี้ ภิกษุนั้นย่อมเป็นที่ดูแคลน เป็นที่ติเตียนในธรรมเนียมของพระอริยะทั้งหลาย ย่อมถึงซึ่งอันนับว่าผู้เสียอาชีพ

ยังอีกข้อหนึ่งมหาบพิตร คือภิกษุบางรูปเมื่อจะให้ผู้อื่นได้ยินเสียง ก็กล่าวว่า เราต้องการของสิ่งนี้ เมื่อคนเหล่านั้นถูกขอด้วยวาจาอย่างนั้น เขาก็ต้องให้ การพูดขออย่างนี้ก็เป็นของมีโทษ

ยังอีกข้อหนึ่ง คือภิกษุบางรูปย่อมเปล่งวาจาให้คนอื่นได้ยินว่า ควรถวายแก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้ ๆ พวกที่ได้ยินก็จักถวาย อันนี้ก็เป็นวจีที่มีโทษ ขอถวายพระพร

พระสารีบุตรเถระ เป็นไข้ในเวลากลางคืน เมื่อพระมหาโมคคัลลาน์ถามถึงยา ก็ได้เปล่งวาจาออกมาแล้วก็ได้ยา ครั้งนั้น พระสารีบุตรเถระก็ได้ทิ้งยานั้นเสีย ไม่ฉันยานั้น ด้วยกลัวเสียอาชีพว่า ยานี้ได้เกิดแก่เราเพราะการเปล่งวาจา อย่าให้อาชีพของเราเสียไปเลย

พระอริยะทั้งหลายย่อมไม่ฉันของที่ขอด้วยวาจาอย่างนั้น

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 5.0 Firefox 5.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #243 เมื่อ: 03 สิงหาคม 2554 02:52:15 »



การขอทางวาจาที่ไม่มีโทษ นั้นคืออะไร

คือเมื่อความจำเป็นมีขึ้น ภิกษุก็ขอยาต่อพวกญาติหรือผู้ที่ปวารณาไว้ การขออย่างนั้นเป็นของไม่มีโทษ ผู้นั้นก็เป็นที่สรรเสริญของพระอริยะทั้งหลายนับว่าเป็นผู้มีอาชีพบริสุทธิ์ "

" ข้าแต่พระนาคเสน เมื่อพระตถาคตเจ้าจะเสวย เทวดาทั้งหลายได้โปรยทิพยโอชาลงไปทุกคราวหรือ...หรือเฉพาะในบิณฑบาตทั้งสองคราวนั้น คือ เนื้อสุกรอ่อนของนายจุนท์ กับข้าวมธุปายาสของนางสุชาดาเท่านั้น? "

" ขอถวายพระพร ทุกคราวที่สมเด็จพระชินวรเจ้าเสวย เหมือนกับเมื่อพระราชากำลังเสวย พวกพนักงานเครื่องเสวยก็ได้หยิบเอากับข้าวใส่ลงไปในคำข้าวฉะนั้น

ครั้งหนึ่ง เมื่อพระตถาคตเจ้าเสวยข้าวสำหรับเลี้ยงม้า ที่พวกพ่อค้านำไปถวาย เทวดาทั้งหลายก็ทำให้ข้าวนั้นอ่อนด้วยผงทิพย์แล้วน้อมเข้าไปถวาย ทำให้เกิดความสบายพระกายแก่พระตถาคตเจ้า "

" ข้าแต่พระนาคเสน เป็นลาภอันดีของพวกเทวดา ที่คอยปฏิบัติพระพุทธเจ้าอยู่เสมอไป เป็นอันว่า ปัญหาข้อนี้พระผู้เป็นเจ้าแก้ไขถูกต้องดีแล้ว"

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 5.0 Firefox 5.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #244 เมื่อ: 03 สิงหาคม 2554 03:00:25 »


ปัญหาที่ ๘ ถามเรื่องทรงขวนขวายน้อยในการแสดงธรรม

" ข้าแต่พระนาคเสน พระผู้เป็นเจ้าได้กล่าวไว้ว่า
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงบำเพ็ญพระบารมีมาตลอดถึง ๔ อสงไขยกับอีกแสนกัป เพื่อจะช่วยชนหมู่ใหญ่

แต่กล่าวอีกว่า เมื่อสำเร็จพระสัพพัญญุตญาณแล้ว จิตขององค์สมเด็จพระประทีปแก้ว ก็น้อมไปเพื่อความขวนขวายน้อย ไม่น้อมเพื่อทรงแสดงธรรม ดังนี้

โยมเห็นว่า ข้อที่พระพุทธองค์ทรงย่อท้อในการแสดงธรรมนั้น เหมือนกับนายขมังธนูหรือศิษย์ของนายขมังธนู ที่ฝึกหัดธนูไว้เป็นอันมากแล้ว พอสงครามเกิดขึ้นก็ย่อท้อฉะนั้น
หรือไม่อย่างนั้นก็เปรียบเหมือนกับนักมวย หรือศิษย์ของนักมวยที่ฝึกหัดไว้มากแล้ว เมื่อจะเกิดต่อยกันขึ้นก็ท้อใจฉะนั้น

ข้าแต่พระนาคเสน พระตถาคตเจ้าทรงย่อท้อพระทัยเพราะความกลัว หรือเพราะความขวนขวายน้อย หรือเพราะไม่มีกำลังพอ หรือเพราะไม่รู้ทุกสิ่ง ขอจงแก้ไข
ถ้าพระตถาคตเจ้าผู้สร้างบารมีมาตลอดถึง ๔ อสงไขยกับอีกแสนกัป เพื่อโปรดเทพยดามนุษย์เป็นอันมากจริงแล้ว ข้อที่ว่าเมื่อสำเร็จพระสัพพัญญุตญาณแล้ว พระหฤทัยได้น้อมไปเพื่อความขวนขวายน้อย ไม่น้อมไปเพื่อจะทรงแสดงธรรมนั้นก็ผิดไป

ถ้าข้อนี้ถูก ข้อที่ว่า ได้ทรงบำเพ็ญพระบารมีมา เพื่อจะทรงเทศนาโปรดเทพยดามนุษย์เป็นอันมากนั้นก็ผิดไป
ปัญหาข้อนี้เป็นอุภโตโกฏิ โปรดวิสัชนาให้สิ้นสงสัยเถิด"

พระนาคเสนถวายพระพรว่า
" มหาบพิตรพระราชสมภาร ข้อที่ว่า ได้ทรงบำเพ็ญพระบารมีมา เพื่อจะทรงเทศนาโปรดเทพยดามนุษย์เป็นอันมาก เวลาได้สำเร็จพระสัพพัญญุตญาณแล้ว พระหฤทัยของพระองค์ได้น้อมไปเพื่อความขวนขวายน้อยไม่น้อมไปเพื่อทรงแสดงธรรมนั้น เป็นเพราะเหตุว่า

๑. ธรรมที่พระองค์ทรงตรัสรู้นั้น เป็นของลึกซึ้ง รู้ตามได้ยาก เป็นของละเอียดเป็นของหยั่งรู้ได้ยาก
๒. สัตว์โลกทั้งหลายก็มีความอาลัยอยู่ในโลกเป็นอันมาก เพราะมากไปด้วย สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่าเป็นตัวตนเราเขา ดังนี้


อุปมาอุปมัยเปรียบเหมือนแพทย์ที่จะรักษาคนไข้ซึ่งมีโรคมากอย่าง ก็คิดว่าโรคทั้งปวงของบุรุษนี้จะหายไปด้วยการกระทำชนิดใด หรือด้วยยาชนิดใด ข้อนี้มีอุปมาฉันใด
สมเด็จพระจอมไตรก็ได้ทรงเห็นหมู่สัตว์ที่เป็นโรคกิเลสทั้งสิ้น และทรงเห็นธรรมอันเป็นของเห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก ก็มีพระหฤทัยน้อมไปเพื่อความขวนขวายน้อย ไม่น้อมไปเพื่อทรงแสดงธรรมฉันนั้น

อีกประการหนึ่ง พระราชาผู้ได้เสวยราชย์แล้ว ได้ทรงพิจารณาเห็นประชาราษฏร์ที่พึ่งพระองค์ มีนายประตู แม่ทัพนายกอง ราชบริพาร ข้าราชการ ชาวนิคม อำมาตย์ราชกัญญาทั้งหลายแล้ว ก็ทรงรำพึงว่า เราจะสงเคราะห์คนเหล่านี้อย่างไร ข้อนี้ฉันใด พระตถาคตเจ้าทรงเล็งเห็นธรรมอันเป็นของลึก เป็นของละเอียด เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก และทรงเล็งเห็นจิตของสัตว์ทั้งหลาย ผู้ยินดีในกามารมณ์ มากไปด้วยความเห็นว่าเป็นตัวตนเราเขา ก็มีพระหฤทัยน้อมไปในความขวนขวายน้อย ไม่น้อมไปเพื่อทรงแสดงธรรมฉันนั้น

อีกอย่างหนึ่ง ข้อที่มีพระหฤทัยน้อมไปในความขวนขวายน้อยนั้น เป็นธรรมดาของพระตถาคตเจ้าทั้งหลาย ผู้ที่ ท้าวมหาพรหม ทูลอาราธนาแล้วจึงทรงแสดงธรรม เพราะเหตุว่าในคราวนั้น ดาบส ปริพาชก สมณพราหมณ์ เทพยดา มนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้นับถือพระพรหมทั้งนั้น เมื่อพรหมได้อาราธนาแล้วจึงจักแสดงธรรม ข้อนี้เปรียบเหมือนพระราชา หรือมหาอำมาตย์ แสดงความเคารพต่อผู้ใด คนทั้งหลายก็จะเคารพผู้นั้นยิ่งขึ้น ฉันนั้น

เพราะฉะนั้น ท้าวมหาพรหมจึงได้ทูลอาราธนาพระตถาคตเจ้าทั้งปวง เพื่อให้ทรงแสดงธรรม พระตถาคตเจ้าทั้งปวงที่มหาพรหมทูลอาราธนาแล้ว จึงได้ทรงแสดงธรรม ดังนี้ ขอถวายพระพร "

" ถูกต้องดีแล้ว พระนาคเสน "

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 5.0 Firefox 5.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #245 เมื่อ: 03 สิงหาคม 2554 03:05:33 »



ปัญหาที่ ๙ ถามถึงความมีอาจารย์และไม่มีอาจารย์ของพระพุทธเจ้า

" ข้าแต่พระนาคเสน สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสคำนี้ไว้ว่า
" อาจารย์ของเราไม่มี ผู้เสมอเราไม่มี ผู้เปรียบกับเราในมนุษย์โลกหรือเทวโลกไม่มี" ดังนี้

แต่ตรัสไว้อีกแห่งหนึ่งว่า " อาฬาระ กาลามะ ผู้เป็นอาจารย์ของเรา ได้ยกย่องเราผู้เป็นศิษย์ว่า มีความรู้เสมอกับตน ได้บูชาเราด้วยการบูชาอย่างเยี่ยม" ดังนี้

ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ถ้าพระตถาคตเจ้าไม่มีอาจารย์ ข้อที่ว่า " อาฬาระ กาลามะ ผู้เป็นอาจารย์ของเราได้ยกย่องเรา" ก็ผิดไป
ถ้าข้อที่ว่า " อาฬาระ กาลามะ ผู้เป็นอาจารย์ของเราได้ยกย่องเรา" นั้นถูก ข้อที่ว่า " เราไม่มีอาจารย์" นั้นก็ผิด
ปัญหาข้อนี้เป็นอุภโตโกฏิ ขอได้โปรดวิสัชนาให้สิ้นสงสัยเถิด"

พระนาคเสนตอบว่า
" ขอถวายพระพร ข้อที่ตรัสไว้ทั้งสองนั้นถูกทั้งนั้น แต่ข้อที่ตรัสว่า " อาฬาระ กาลามะ ผู้เป็นอาจารย์ของเราได้ยกย่องเรานั้น" ตรัสหมายถึงพระองค์ยังไม่ได้ตรัสรู้ คือในเวลานั้นมีอาจารย์สั่งสอนอยู่ถึง ๕ จำพวกคือ

๑. พราหมณ์ทั้ง ๘ ที่เป็นผู้ทำนายพระลักษณะ ได้ถวายสวัสดิมงคล กระทำการรักษาซึ่งนับว่าเป็นอาจารย์จำพวกแรก
๒. สัพพมิตตพราหมณ์ ที่พระเจ้าสุทโธทนะทรงมอบให้สอนศิลปวิทยา
๓. เทวดา ที่ทำให้สลดพระทัยแล้วเสด็จออกบรรพชา
๔. อาฬารดาบสกาลามโคตร
๕. อุทกดาบสรามบุตร

อาจารย์ทั้ง ๕ จำพวกนี้ เป็นอาจารย์ในทางโลกิยธรรม ของพระโพธิสัตว์ผู้ยังไม่ได้ตรัสรู้ต่างหาก ส่วนในทางโลกุตรธรรมนั้น ไม่มีอาจารย์สั่งสอน พระองค์ทรงสำเร็จได้ด้วยพระบารมีของพระองค์เอง จึงตรัสว่าพระองค์ไม่มีอาจารย์ ขอถวายพระพร "

" ถูกต้องดีแล้ว พระนาคเสน "

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 5.0 Firefox 5.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #246 เมื่อ: 03 สิงหาคม 2554 03:10:14 »



ปัญหาที่ ๑๐ ถามถึงสมณะที่เลิศและไม่เลิศ

" ข้าแต่พระนาคเสน สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า
" ชื่อว่าเป็นสมณะเพราะสิ้นอาสวะทั้งหลาย "
แล้วตรัสไว้อีกว่า " เราเรียกผู้ที่ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ว่าเป็นสมณะ"

ธรรม ๔ ประการนั้น คือ ขันติ ความอดทน ๑ อัปปาหารตา ความเป็นผู้บริโภคอาหารน้อย ๑ รติวิปปหานัง การละความยินดี๑ อากิญจัญญัง ความไม่มีอะไรเหลือ ๑

ธรรมทั้ง ๔ นี้ ย่อมมีแก่ผู้ยังไม่สิ้นอาสวะ ผู้ยังมีกิเลส
ถ้าชื่อว่า
เป็นสมณะเพราะความสิ้นอาสวะทั้งหลาย เป็นของถูกแล้ว ข้อที่ว่าผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้เป็นสมณะก็ผิดไป

ถ้าผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้เป็นสมณะ ข้อที่ว่า เป็นสมณะเพราะสิ้นอาสวะนั้นก็ผิดไป
ปัญหาข้อนี้เป็นอุภโตโกฏิ โปรดแก้ให้สิ้นสงสัยเถิด "

พระนาคเสนตอบว่า
" ขอถวายพระพร ข้อที่ตรัสไว้ทั้งสองประการนั้นถูกทั้งนั้น ส่วนข้อที่ตรัสไว้ว่า " ผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ชื่อว่าสมณะนั้น" ตรัสไว้ด้วยทรงถือ คุณวิเศษ เป็นสำคัญ

ส่วนข้อที่ตรัสว่า " ชื่อว่าเป็นสมณะเพราะสิ้นอาสวะนั้น" เป็นคำที่ตรัสไว้อย่างไม่เหลือ

อนึ่ง ผู้สิ้นอาสวะแล้ว ชื่อว่าเป็นสมณะยิ่งกว่าผู้ปฏิบัติเพื่อให้สิ้นกิเลสทั้งสิ้น ดอกไม้ที่เกิดบนบกทั้งหลาย มีดอกมะลิเป็นอย่างเลิศ ดอกไม้ที่ร้อยแล้ว ดีกว่าดอกไม้ที่ไม่ได้ร้อยฉันใด ข้าวสาลีดีกว่าข้าวทั้งปวงฉันใด ผู้สิ้นอาสวะแล้ว ก็เป็นสมณะ ดีกว่าสมณะทั้งหลายฉันนั้น ขอถวายพระพร "

" ถูกต้องแล้ว พระนาคเสน "

จบวรรคที่ ๓

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 03 สิงหาคม 2554 03:37:36 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: จัดหน้าค่ะ » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 5.0 Firefox 5.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #247 เมื่อ: 03 สิงหาคม 2554 03:24:31 »



เมณฑกปัญหา วรรคที่ ๔

ปัญหาที่ ๑ ถามเกี่ยวกับเรื่องสรรเสริญ

" ข้าแต่พระนาคเสน สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

" ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีผู้สรรเสริญเรา หรือสรรเสริญธรรม สรรเสริญสงฆ์ พวกเธอไม่ควรทำความร่าเริง ความดีใจ ความมีใจแปรปรวน อย่างใดอย่างหนึ่ง "
แล้วตรัสไว้อีกว่า
" เมื่อเสลพราหมณ์สรรเสริญตามความเป็นจริง พระตถาคตก็ทรงดีพระทัย "

แล้วได้แสดงพระคุณของพระองค์ยิ่งขึ้นไปว่า
" ดูก่อนเสลพราหมณ์ เราเป็นพระธรรมราชาผู้เยี่ยม ได้ยังธรรมจักรอันไม่มีผู้ปฏิบัติได้ให้เป็นไปโดยชอบธรรม" ดังนี้

ข้าแต่พระนาคเสน ถ้าพระตถาคตเจ้าได้ตรัสว่า " เวลามีผู้สรรเสริญเราหรือสรรเสริญธรรม สรรเสริญสงฆ์ พวกเธอไม่ควรร่าเริง ไม่ควรดีใจ ไม่ควรมีใจตื่นเต้น" ดังนี้ถูกแล้ว คำที่ตรัสว่า " เมื่อเสลพราหมณ์สรรเสริญตามเป็นจริง เราตถาคตก็ร่าเริงดีใจ แล้วได้แสดงคุณของเราตถาคตให้ยิ่งขึ้นไป" ดังนี้ก็ผิด

ถ้าคำว่า " เมื่อเสลพราหมณ์สรรเสริญเราตามจริง เราก็ร่าเริงดีใจ ได้แสดงคุณของเราให้ยิ่งขึ้นไป " ดังนี้ถูกแล้ว คำที่ตรัสว่า " เวลามีผู้อื่นสรรเสริญมา หรือธรรม หรือสงฆ์ พวกเธอไม่ควรร่าเริงดีใจ มีใจตื่นเต้น " ดังนี้ก็ผิด
ปัญหาข้อนี้เป็นอุภโตโกฏิ โปรดวิสัชนาให้สิ้นสงสัยเถิด "

พระนาคเสนตอบว่า
" ขอถวายพระพร คำทั้งสองนั้นจริงทั้งนั้น เมื่อสมเด็จพระภควันต์จะทรงแสดงลักษณะแห่งสภาวธรรมตามความเป็นจริง ก็ได้ตรัสห้ามภิกษุทั้งหลายไว้อย่างนั้น เมื่อเสลพราหมณ์สรรเสริญพระองค์ตามความเป็นจริง ก็ได้ทรงแสดงคุณของพระองค์ให้ยิ่งขึ้นไป ดังที่ว่าแล้วนั้น

แต่การที่ทรงแสดงคุณของพระองค์ให้ยิ่งขึ้นไปนั้น ไม่ใช่เพราะเห็นแก่ลาภยศ พรรคพวกบริวารอย่างไร เป็นเพราะทรงพระเมตตากรุณาแก่ผู้ฟังทั้งหลายว่า ความรู้แจ้งธรรมจักมีแก่พราหมณ์นั้น พร้อมกับมาณพ ๓๐๐ คน จึงได้ทรงแสดงคุณของพระองค์ให้ยิ่งขึ้นไปกว่านั้น ขอถวายพระพร "

" ดีแล้วพระนาคเสน โยมรับว่าถูกต้องดี "

ต่อที่ #๒๕๕ น.๑๘ http://agaligohome.com/index.php?topic=205.255

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 5.0 Firefox 5.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #248 เมื่อ: 11 สิงหาคม 2554 05:16:42 »



ปัญหาที่ ๒ ถามเรื่องไม่เบียดเบียนและไม่ข่มเหง

" ข้าแต่พระนาคเสน สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคำนี้ไว้ว่า
" จงอย่าเบียดเบียนผู้อื่นในโลก จงถือว่าผู้อื่นจงเป็นที่รักของเราจงเป็นพวกของเรา" ดังนี้

แล้วตรัสอีกว่า " ควรข่มขี่ ผู้ที่ควรข่มขี่ ควรยกย่องผู้ที่ควรยกย่อง " ดังนี้
ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า การตัดมือ ตัดเท้า การฆ่า การจองจำ การทำให้ตาย การทำให้สิ้นเครื่องสืบต่อชีวิต ชื่อว่าการข่มขี่ คำว่า " ข่มขี่ " นี้ ไม่สมควรแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ไม่ควรจะตรัสคำนี้

ถ้าตรัสว่า " อย่างเบียดเบียนผู้อื่นในโลกจงรักผู้อื่น ถือว่าผู้อื่นเป็นพวกของเรา " ดังนี้ถูกแล้ว คำที่ว่า"ควรข่มขี่ผู้ที่ควรข่มขี่ควรยกย่องผู้ที่ควรยกย่อง" ก็ผิด

ไปถ้าคำว่า " ควรข่มขี่ผู้ที่ควรข่มขี่ ควรยกย่องผู้ที่ควรยกย่อง" ดังนี้ถูกแล้ว คำที่ว่า " อย่าเบียดเบียนผู้อื่นในโลก จงทำผู้อื่นให้เป็นที่รักของตัว จงนึกว่าเป็นพวกของตัว" ดังนี้ก็ผิด

ปัญหานี้ก็เป็นอุภโตโกฏิ ควรแก้ไขให้สิ้นสงสัยด้วยเถิด"
พระนาคเสนตอบว่า

" ขอถวายพระพร คำทั้งสองนั้นถูกทั้งนั้นคำว่า " อย่าเบียนเบียดผู้อื่นในโลก" เป็นคำอนุมัติ เป็นคำพร่ำสอน เป็นคำแสดงธรรมของพระตถาคตเจ้าทั้งปวง เพราะว่าธรรมมีความไม่เบียดเบียนเป็นลักษณะ การที่ตรัสอย่างนั้น ตรัสตามสภาพ คือความเป็นจริง

คำที่ตรัสว่า " ควรข่มขี่ผู้ที่ควรข่มขี่ ควรยกย่องผู้ที่ควรยกย่อง" เป็นการมุ่งการปฏิบัติธรรม คือจิตที่ฟุ้งซ่านควรข่ม จิตที่หดหู่ควรประคองขึ้น จิตที่เป็นอกุศลควรข่มขี่เสีย จิตที่เป็นกุศลควรประคองไว้ การนึกผิดทาง ควรข่มขี่เสีย การนึกถูกทาง ควรประคองไว้ การปฏิบัติผิดควรข่มขี่เสีย การปฏิบัติถูกควรประคองไว้ ผู้ไม่ใช่อริยะควรข่มขี่เสีย ผู้เป็นอริยควรประคองไว้ ผู้เป็นโจรควรข่มขี่เสีย ผู้ไม่ใช่โจรควรประคองไว้ ขอถวายพระพร "

" เอาละ พระนาคเสน คราวนี้พระผู้เป็นเจ้าหวนกลับมาสู่วิสัยของโยมแล้ว โยมถามถึงข้อความอันใด ข้อความอันนั้นได้เข้ามาถึงโยมแล้ว โยมจึงขอถามว่า ผู้ที่เป็นโจร เราจะควรข่มขี่อย่างไร? "
" ขอถวายพระพร โจรที่ควรด่าว่าก็ต้องด่าว่า ที่ควรปรับไหมก็ต้องปรับไหม ที่ควรขับไล่ก็ต้องขับไล่ ที่ควรจองจำก็ต้องจองจำ ที่ควรฆ่าก็ต้องฆ่า ควรข่มขี่โจรอย่างนี้ "

" ข้าแต่พระนาคเสน การฆ่าโจรเป็นพระอนุมัติของพระตถาคตเจ้าทั้งหลายหรือ ? "
" ไม่เป็น มหาราชะ "
" ถ้าไม่เป็น เพราะเหตุไรจึงกล่าวว่า โจรนั้นเป็นผู้ควรสั่งสอนตามพระอนุมัติของพระตถาคตเจ้าทั้งหลาย? "

" ขอถวายพระพร การฆ่าโจรนั้น คนทั้งหลายไม่ได้ฆ่าตามพระอนุมัติของพระตถาคตเจ้าทั้งหลาย โจรนั้นถูกฆ่าด้วยความผิดที่เขากระทำเอง ก็แต่ว่าโจรนั้นบุคคลควรสั่งสอนตามเหตุผล บุคคลอาจจับบุรุษผู้ไม่มีความผิด จูงตระเวนไปตามถนน แล้วฆ่าเสียตามมติได้หรือ ? "

" ไม่ได้ พระผู้เป็นเจ้า "
" เพราะเหตุไรล่ะ ? "
" เพราะเขาไม่ได้ทำความผิด "

" ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร โจรไม่ได้ถูกฆ่าด้วยพระอนุมัติของพระตถาคตเจ้าทั้งหลาย ถูกฆ่าด้วยการกระทำของเขาเองต่างหาก ผู้ที่สั่งสอนโจรจะได้รับโทษอย่างไรบ้างหรือ? "
" ไม่ได้รับโทษอย่างไรเลย ผู้เป็นเจ้า "

" ถ้าอย่างนั้น คำสอนของพระตถาคตเจ้าก็เป็นคำสอนที่ถูกต้องดีแล้ว ขอถวายพระพร "
" พระผู้เป็นเจ้าแก้ปัญหาข้อนี้ดีแล้ว "

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 5.0 Firefox 5.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #249 เมื่อ: 11 สิงหาคม 2554 05:24:32 »



ปัญหาที่ ๓ ถามเรื่องทรงขับไล่ภิกษุ

" ข้าแต่พระนาคเสน สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคำนี้ไว้ว่า
" เราเป็นผู้ไม่โกรธ เป็นผู้ไม่มีตะปู คือความโกรธแล้ว"
แต่ภายหลังได้ทรงประณามขับไล่ พระโมคคัลลาน์ พระสารีบุตร พร้อมทั้งบริวาร

ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงขับไล่ เพราะความโกรธ หรือเพราะความดีพระทัย ขอได้โปรดแก้ไขให้โยมเข้าใจ
ถ้าทรงขับไล่ด้วยความโกรธ ก็เป็นอันว่าพระตถาคตเจ้า ยังไม่ทรงละความโกรธ ถ้าทรงขับไล่ด้วยยินดี ก็เป็นอันว่าไม่รู้ แต่ทรงกระทำให้เมื่อยังไม่มีเหตุสมควร
ปัญหานี้ก็เป็นอุภโตโกฏิ ควรแก้ให้สิ้นสงสัยนะ พระคุณเจ้าข้า "

พระนาคเสนชี้แจงว่า
" ขอถวายพระพร ข้อที่สมเด็จพระชินวรเจ้าตรัสว่า เราเป็นผู้ไม่มีความโกรธ เป็นผู้ที่ไม่มีตะปู คือความโกรธแล้ว แต่ได้ทรงขับไล่พระโมคัลลาน์พระสารีบุตร พร้อมทั้งบริวาร การทรงขับไล่นั้น ไม่ใช่ทรงขับไล่ด้วยความโกรธ มหาราชะ

เหมือนอย่างบุรุษผู้หนึ่งพลาดล้มลงที่พื้นดิน หรือล้มลงที่แผ่นหิน ถูกก้อนกรวด หลักตอ ที่ไม่สม่ำเสมอ ที่มีตมมีโคลนย่อมมีอยู่ อาตมภาพขอถามว่า แผ่นดินโกรธหรือ จึงทำให้ผู้นั้นพลาดล้ม ? "
" แผ่นดินไม่ได้โกรธเลย ผู้เป็นเจ้า ความโกรธหรือความเลื่อมใสไม่มีแก่แผ่นดิน แผ่นดินไม่มีความยินดียินร้าย เขาพลาดล้มของเขาเอง"

" ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร สมเด็จพระพิชิตมารไม่มีความโกรธ ความยินดีร้ายอันใด แต่พระอัครสาวกทั้งสองนั้น ถูกขับไล่เพราะการกระทำผิดของตนต่างหาก อาตมภาพขอถามว่า ธรรมดามหาสมุทรย่อมไม่อยู่ร่วมกับซากศพ หรือจอกแหนสาหร่าย แต่อย่างใด มีแต่พัดเอาจอกแหนสาหร่าย ขึ้นไปบนฝั่งเสียโดยเร็ว มหาสมุทรนั้นโกรธหรือ จึงได้ทำอย่างนั้น ? "
" ไม่โกรธ ผู้เป็นเจ้า เพราะมหาสมุทรไม่รู้สึกยินดียินร้ายอะไร"

" ข้อนี้มีอุปมาฉันใด สมเด็จพระจอมไตรก็ไม่ทรงยินดียินร้ายแต่อย่างใด พระอัครสาวกทั้งสองนั้น ถูกขับไล่เพราะความผิดพลาดของตนต่างหาก สมเด็จพระผู้มีพระภาคมีแต่ทรงมุ่งประโยชน์สุข ได้ทรงขับไล่ด้วยทรงเห็นว่าภิกษุเหล่านี้ จักพ้นจากความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยอาการอย่างนี้ ขอถวายพระพร "

" สาธุ...พระนาคเสน โยมขอรับว่า ถูกอย่างพระผู้เป็นเจ้ากล่าวแล้วทุกประการ"

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 5.0 Firefox 5.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #250 เมื่อ: 11 สิงหาคม 2554 05:33:58 »



   ปัญหาที่ ๔ ถามเรื่องความเป็นสัพพัญญูของพระพุทธเจ้า

   พระเจ้ามิลินท์บรมกษัตริย์ตรัสถามว่า

   " ข้าแต่พระนาคเสน พระผู้เป็นเจ้ากล่าวว่า พระพุทธเจ้าเป็นพระสัพพัญญู แต่กล่าวไว้อีกว่า เมื่อพระตถาคตเจ้าทรงขับไล่พระภิกษุสงฆ์ มี พระโมคคัลลาน์พระสารีบุตร เป็นหัวหน้าไม่ให้เช้ามาเฝ้า แล้วพวกกษัตริย์ศากยราชกับท้าวสหัมบดีพรหม ได้พร้อมกันเข้าไปเฝ้าทูลขอโทษต่อสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยคำอุปมากับพืชและลูกโค

   ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า อุปมาทั้งสองข้อ ที่ทำให้สมเด็จพระบรมศาสดาทรงอดโทษนั้น พระตถาคตเจ้าไม่ทรงทราบหรือ ถ้าไม่ทรงทราบจะว่าพระพุทธเจ้าเป็นสัพพัญญูได้อย่างไร

   ถ้าทรงทราบ แต่ทรงพระประสงค์จะทดลองใจของภิกษุเหล่านั้นว่าจะคิดอย่างไรจึงได้ทรงขับไล่ ก็เป็นอันว่า พระตถาคตเจ้าไม่มีพระกรุณา
   ปัญหานี้ก็เป็นอุภโตโกฏิได้มาถึงพระผู้เป็นเจ้าแล้ว "

   พระนาคเสนตอบว่า
   " ขอถวายพระพร พระตถาคตเจ้าเป็นพระสัพพัญญูจริง แต่ว่าทรงอดโทษด้วยอุปมาทั้งสองข้อนั้น คือเทพยดามนุษย์ทั้งหลายย่อมทำให้พระตถาคตเจ้า ผู้เป็นเจ้าของแห่งธรรม ทรงเลื่อมใสได้ด้วยธรรมที่พระองค์ได้ทรงแสดงไว้แล้ว ขอถวายพระพร

   ภรรยาย่อมให้สามีดีใจ ด้วยทรัพย์ของสามีที่หามาได้เอง คือเมื่อได้เห็นภรรยานำทรัพย์ที่ตนหามาได้นั้นออกมาให้ดูก็ดีใจฉันใด พวกกษัตริย์ศากยราช กับท้าวสหัมบดีพรหม ก็ได้ทำให้พระตถาคตเจ้าทรงชื่นชมยินดี ด้วยธรรมของพระองค์เองฉันนั้น

   อีกประการหนึ่ง ช่างกัลบกผู้ตกแต่งพระเกศของพระราชา ก็ทำให้พระราชาทรงพอพระทัย ด้วยเครื่องประดับของพระราชาเอง ถึงกับได้รับพระราชทานรางวัลฉันใด พวกนั้นก็ได้ทำให้พระตถาคตเจ้า ทรงโปรดปรานด้วยธรรมของพระองค์เอง พระตถาคตเจ้าก็ได้ทรงแสดงความหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวง ให้พวกนั้นฟังฉันนั้น

   อีกอย่างหนึ่ง เปรียบเหมือนสัทธิวิหาริก ได้ทำให้อุปัชฌาย์ดีใจ ด้วยอาหารที่อุปัชฌาย์บิณฑบาตมาได้เอง คือเมื่ออุปัชฌาย์บิณฑบาตได้อาหารมาไว้แล้ว สัทธิวิหาริกก็จัดน้อมเข้าไปถวาย อุปัชฌาย์ก็ดีใจฉะนั้น ขอถวายพระพร "

   " สาธุ...พระนาคเสน โยมรับว่าถูกต้องดีแล้ว"

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 5.0 Firefox 5.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #251 เมื่อ: 11 สิงหาคม 2554 05:44:56 »



   ปัญหาที่ ๕ ว่าด้วยบรรพชิตมีโอกาสได้มรรคผลมากกว่าฆราวาส

   พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน พระพุทธพจน์มีอยู่ว่า ฆราวาสก็ดี บรรพชิตก็ดี เมื่อหมั่นปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบแล้ว ก็ย้อมได้บรรลุมรรคผลเหมือนกัน ฉะนี้มิใช่หรือ
   
   พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร เป็นดังพระองค์ตรัสนั้นแล

   ข้าแต่พระนาคเสน ถ้าอย่างนั้น จะบวชทำไม  ต้องโกนผม โกนหนวด ต้องสำรวมกายวาจาใจ ส่วนฆราวาส
   มีของบำเรอสุขสบายทุกอย่างทุกประการ แต่เมื่อปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบแล้ว ก็ย่อมได้บรรลุมรรคผลเหมือนกัน ถ้าเป็นเช่นนี้ ฆราวาสจะมิดีกว่าหรือ

   ขอถวายพระพรมหาบพิตร   เพศบรรพชิตย่อมทรงคุณพิเศษ กว่าฆราวาส ยังมีทางที่จะได้บรรลุมรรคผลได้
   เพราะบรรพชิตไม่ต้องเสียเวลาแสวงหาสิ่งที่จำเป็น เช่นเครื่องนุ่งห่ม อาหาร หรือที่อยู่อย่างฆราวาส มีโอกาสที่จะพึงประพฤติมักน้อย สันโดษ ยินดีในที่สงัดเงียบ และตัดความกังวลทั้งหลายเสียได้ ไม่มีสิ่งบำเรอความสุขซึ่งจะมาหน่วงเหนี่ยวใจให้เกิดความยินดีและความอาลัย โอกาสที่จะพึงกระทำศีลสมาธิปัญญาให้บริบูรณ์ยิ่ง ๆ จึงมีได้

   ขอถวายพระพร ก็เมื่อบรรพชิตมีโอกาสได้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบถึงอย่างนี้ บรรพชิตจะมิดีกว่าฆราวาสหรือ

   ข้าแต่พระคุณเจ้า ถ้าเป็นอย่างนี้ก็ดีกว่า

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 5.0 Firefox 5.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #252 เมื่อ: 11 สิงหาคม 2554 05:50:29 »



ปัญหาที่ ๖ ถามเรื่องไม่มีที่อยู่ประจำและไม่มีอาลัย

" ข้าแต่พระนาคเสน สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงตรัสไว้ว่า
" การไม่มีที่อยู่ประจำไม่มีความอาลัยในสิ่งใดเป็นความเห็นของมุนี"

ดังนี้ แล้วตรัสอีกว่า
" บุคคลควรสร้างวิหารให้น่ายินดี ควรให้ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นพหูสูตรมาอยู่ในวิหารนั้น"
ดังนี้ ปัญหานี้ก็เป็นอุภโตโกฏิควรแก้ไขให้สิ้นสงสัย"

พระนาคเสนตอบว่า
" ขอถวายพระพร สมเด็จพระชินวรเจ้าได้ตรัสคำทั้งสองนั้น ไว้อย่างนั้นจริง ๆ คำที่ตรัสว่า " การไม่มีที่อยู่ประจำ ไม่มีความอาลัยในสิ่งใด เป็นความเห็นของมุนีนั้น " เป็นคำที่ตรัสออกไปด้วยทรงเห็นว่า สิ่งทั้งสองนั้นสมควรแก่สมณะ เพราะสมณะไม่ควรมีที่อยู่ประจำ ไม่ควรอาลัยในสิ่งใดควรทำตนเหมือนกับเนื้อในป่าฉะนั้น

ข้อที่ตรัสไว้ว่า
" บุคคลควรสร้างวิหารให้น่ายินดี แล้วให้ภิกษุผู้เป็นพหูสูตรทรงพระไตรปิฎกมาอยู่นั้น ตรัสด้วยทรงเล็งเห็นประโยชน์ ๒ ประการ คือ

ประการที่ ๑ ทรงเล็งเห็นว่า วิหารทาน การให้ที่อยู่ที่อาศัยเป็นทาน เป็นของที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงสรรเสริญว่าดี พวกสร้างวิหารให้เป็นทาน อาจสำเร็จแก่พระนิพพาน พ้นจากความเกิด แก่ เจ็บ ตาย อันนี้เป็นอานิสงส์ในการสร้างวิหารทานเป็นข้อแรก

ประการที่ ๒ เมื่อมีวิหารอยู่ ก็จักมีพระภิกษุผู้มีความรู้ มาอาศัยอยู่เป็นอันมากใครอยากพบเห็นก็จะพบเห็นได้ง่าย อันนี้เป็นอานิสงส์ในวิหารข้อที่สอง

แต่พระภิกษุไม่ควรมีความอาลัยเกี่ยวข้องในที่อยู่ จึงทรงสอน อย่างนั้น ขอถวายพระพร

" ถูกแล้ว พระนาคเสน"

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 5.0 Firefox 5.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #253 เมื่อ: 11 สิงหาคม 2554 06:00:41 »



ปัญหาที่ ๗ ถามเรื่องสำรวมท้อง

" ข้าแต่พระนาคเสน สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า
" ภิกษุไม่ควรประมาทในอาหารที่ลุกขึ้นยืนรับ ควรเป็นผู้สำรวมท้อง"

ดังนี้แล้วตรัสอีกว่า
" ดูก่อนอุทายี บางคราวเราตถาคตได้ฉันอาหารเต็มเสมอขอบปากบาตร บางคราวก็ยิ่งกว่านั้น"

ดังนี้ ถ้าทรงสอนให้สำรวมท้อง คำที่ตรัสว่า
" บางคราวเสวยอาหารเต็มเสมอขอบปากบาตรและยิ่งกว่าก็มีนั้น" ก็ผิดไป

ถ้าไม่ผิด คำว่า " ควรสำรวมท้อง " ก็ผิดไป
ปัญหานี้ก็เป็นอุภโตโกฏิ ควรแก้ไขให้สิ้นสงสัยเช่นกัน"

พระนาคเสนตอบว่า
" ขอถวายพระพร คำที่ตรัสไว้ทั้งสองอย่างนั้น เป็นจริงทั้งนั้น ส่วนคำที่ตรัสว่า " ไม่ควรประมาทในอาหารที่ลุกขึ้นยืนรับ ควรเป็นผู้สำรวมท้องนั้น" เป็นถ้อยคำที่ปรากฏทั่วไปของพระอรหันต์ พระปัจเจกพุทธเจ้า พระสัพพัญญูเจ้าทั้งหลาย

เพราะเหตุว่า ผู้ไม่สำรวมท้อง ย่อมทำบาปต่าง ๆ ได้ คือทำปาณาติบาติก็มี ทำอทินนาทานก็มี ทำกาเมสุมิจฉาจารก็มี กล่าวมุสาวาทก็มี ดื่มน้ำเมาก็มี ฆ่ามารดาบิดาก็มี ฆ่าพระอรหันต์ก็มี ทำสงฆ์ให้แตกกันก็มี ทำโลหิตุปบาทก็มี

พระเทวทัต ทำสงฆ์ให้แตกกัน ไม่ใช่เพราะไม่สำรวมท้องหรือ...

สมเด็จพระบรมศาสดาทรงเห็นเหตุการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ จึงได้ทรงสอนให้สำรวมท้อง ผู้สำรวมท้องย่อมล่วงรู้อริยสัจ ๔ สำเร็จ สามัญผล ๔ มีความชำนาญในปฏิสัมภิทา ๔ สมาบัติ ๔ อภิญญา ๖ ทรงไว้ซึ่งสมณธรรมทั้งสิ้น ลูกนกแขกเต้าเป็นผู้สำรวมท้อง จึงได้ทำให้สวรรค์ชั้นดาวดึงส์หวั่นไหว ทำให้พระอินทร์เสด็จลงมาหา ใช่หรือไม่ สมเด็จพระจอมไตรทรงเห็นอานิสงส์ต่าง ๆ อย่างนี้จึงได้ทรงสอนให้สำรวมท้อง

ส่วนข้อที่ตรัสว่า" บางคราวได้เสวยอาหารเสมอขอบปากบาตรก็มี ยิ่งกว่าก็มีนั้น" เป็นคำที่พระตถาคตเจ้าผู้สำเร็จกิจทั้งปวงแล้วได้ตรัสไว้ด้วยมุ่งหมายพระองค์เองเท่านั้น ผู้เป็นโรคเมื่อต้องการหายจากโรค ควรงดเว้นของแสลงฉันใด ผู้ยังมีกิเลสอยู่ ยังไม่เห็นของจริง ก็ควรสำรวมท้องฉันนั้น อีกอย่างหนึ่ง แก้วมณีที่บริสุทธิ์ผ่องใสอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องขัดสีฉันใด พระพุทธเจ้าผู้สำเร็จพุทธวิสัยแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องห้ามในพุทธจริยาทั้งหลายฉันนั้น ขอถวายพระพร "

" ถูกดีแล้ว พระนาคเสน"

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 5.0 Firefox 5.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #254 เมื่อ: 11 สิงหาคม 2554 06:09:55 »



ปัญหาที่ ๘ ถามเรื่องปกปิดพระธรรมวินัย

" ข้าแต่พระนาคเสน สมเด็จมหามุนีได้ตรัสคำนี้ไว้ว่า
" ธรรมวินัยอันพระตถาคตเจ้าประกาศไว้แล้ว มีผู้เปิดเผยจึงสว่างไสว เมื่อปิดก็ไม่สว่างไสว " แล้วตรัสไว้อีกว่า

" พระปาฏิโมกข์และพระวินัยทั้งสิ้น เป็นของอันภิกษุทั้งหลายปกปิดแล้ว"
ดังนี้ ถ้าบุคคลได้ความรู้ความเข้าใจในพระพุทธศาสนา เปิดพระวินัยบัญญัติไว้ จะทำให้งามดี การศึกษา การสำรวมในพระวินัยบัญญัติและศีลคุณ อาจารบัญญัติ อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรส จะปรากฏรุ่งเรืองขึ้น

ถ้าคำว่า " เปิดพระธรรมวินัยไว้ จะรุ่งเรืองดี " เป็นคำถูก คำว่า " พระปาฏิโมกข์และพระวินัยทั้งสิ้น เป็นของอันภิกษุทั้งหลายปกปิดแล้ว" ก็เป็นของผิด

ถ้าคำว่า " เปิดพระธรรมวินัยไว้ จะรุ่งเรืองดี " เป็นคำผิด คำว่า " พระปาฏิโมกข์และพระวินัยทั้งสิ้น เป็นของอันภิกษุทั้งหลายปกปิดแล้ว" ก็เป็นของถูก
ปัญหานี้ก็เป็นอุภโตโกฏิ ควรแก้ไข"

พระนาคเสนตอบว่า
" ขอถวายพระพร คำทั้งสองนั้น ถูกต้องทั้งนั้น ก็แต่กว่าการปิดนั้น ไม่ได้ปิดทั่วไปปิดมีเขตแดนต่างหาก คือสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงปิดพระปาฏิโมกข์ อันมีสีมาเป็นเขตแดน ด้วยเหตุ ๓ ประการ คือ

๑. ปิดตามวงค์ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายในปางก่อน
๒. ปิดด้วยความเคารพพระธรรม
๓. ปิดด้วยความเคารพภูมิของภิกษุ


๑. ปิดตามวงค์ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายในปางก่อน คืออย่างไร... คือพระพุทธเจ้าทั้งหลายได้ทรงแสดง พระปาฏิโมกข์ ในท่ามกลางภิกษุทั้งหลาย ปิดเฉพาะพวกนอกจากภิกษุเท่านั้น เหมือนกับขัตติยมายา คือประเพณีของกษัตริย์ทั้งหลาย ย่อมรู้เฉพาะในวงศ์กษัตริย์เท่านั้น ปกปิดพวกอื่นไม่ให้รู้

๒. ปิดเพราะเคารพพระธรรมนั้น คืออย่างไร...คือพระธรรมเป็นของควรเคารพเป็นของหนัก ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบในพระธรรมจึงจะสำเร็จธรรมได้ ถ้าไม่ปกปิดไว้ ผู้ไม่ปฏิบัติชอบในระบอบธรรมวินัย คือพวกคฤหัสถ์ก็จะติเตียนได้ จึงทรงโปรดให้ปกปิดพระปาฏิโมกข์ไว้ ด้วยเคารพพระธรรมว่า อย่าให้พระธรรมอันเป็นแก่นอันประเสริฐนี้ เป็นที่ดูหมิ่นดูแคลนดูถูกติเตียน ของพวกที่ไม่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเลย

เปรียบเหมือนจันทร์แดง อันมีแก่นประเสริฐ สมควรแก่ขัตติยกัญญาเท่านั้น ฉะนั้น

๓. ปิดเพราะความเคารพภูมิของภิกษุนั้น คืออย่างไร...คือความเป็นภิกษุเป็นของมีคุณ ชั่งไม่ได้ ประมาณไม่ได้ ตีราคาไม่ได้ ไม่มีสิ่งใดเสมอ เปรียบเหมือนทรัพย์อันประเสริฐอย่างใดอย่างหนึ่ง คือเครื่องนุ่งห่ม เครื่องปู ม้า ช้าง รถ ทอง เงิน ที่ช่างทองตกแต่งดีแล้ว ย่อมสมควรแก่พระราชาทั้งหลายฉันใด คุณธรรม คือการศึกษาเล่าเรียน การสำรวมในพระปาฏิโมกข์ ย่อมสมควรแก่ภิกษุสงฆ์ฉันนั้น ขอถวายพระพร "

" ถูกดีแล้ว พระนาคเสน"

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 5.0 Firefox 5.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #255 เมื่อ: 11 สิงหาคม 2554 06:14:41 »



ปัญหาที่ ๙ ถามเรื่องความหนักเบาแห่งมุสาวาท

" ข้าแต่พระนาคเสน สมเด็จพระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ว่า
" เป็นปาราชิกเพราะแกล้งกล่าวเท็จ"

แต่ตรัสอีกว่า " แกล้งกล่าวเท็จเป็นอาบัติเบา แสดงในสำนักภิกษุองค์ใดองค์หนึ่งก็ได้"
ความ ๒ ข้อนี้ต่างกันอย่างไร เหตุไรข้อหนึ่งจึงเป็น อเตกิจฉา คือแก้ไขไม่ได้ อีกข้อหนึ่งเป็น สเตกิจฉา คือแก้ไขได้

ถ้าที่ตรัสว่า " แกล้งกล่าวเท็จเป็นปาราชิก " ถูกแล้ว คำที่ตรัสว่า " แกล้งกล่าวเท็จเป็นอาบัติเบา " ก็ผิดไป
ถ้าที่ตรัสว่า " แกล้งกล่าวเท็จเป็นอาบัติเบา " นั้นถูก ที่ตรัสว่า " แกล้งกล่าวเท็จเป็นปาราชิก" นั้นก็ผิดไป
ปัญหาข้อนี้เป็นอุภโตโกฏิ ควรแก้ไข "

พระนาคเสนตอบว่า " ขอถวายพระพร ข้อที่ตรัสว่า " แกล้งกล่าวเท็จเป็นปาราชิก " นั้นก็ถูก ที่ตรัสว่า " แกล้งกล่าวเท็จเป็นอาบัติเบา " นั้นก็ถูก
เพราะว่าการแกล้งกล่าวเท็จนั้น เป็นของหนักและเบาตามวัตถุ มหาบพิตรจะเข้าพระทัยความข้อนี้อย่างไร ถ้ามีบุรุษคนหนึ่งตบตีบุรุษอีกคนหนึ่งด้วยมือ พระองค์จะทรงลงโทษแก่ผู้ตบนั้นอย่างไร ? "

" ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ถ้าบุรุษนั้นไม่ขอโทษก็จะต้องไหมเขา เป็นเงิน ๑ กหาปณะเป็นอย่างมาก "
" ขอถวายพระพร ถ้าบุรุษคนเดียวกันนั้นเอง ตีมหาบพิตรด้วยฝ่ามือ บุรุษนั้นจะได้รับโทษอย่างไร ? "
" ข้าแต่พระนาคเสน ต้องให้ตัดมือบุรุษนั้นจนกระทั่งถึงตัดศีรษะ ริบบ้านเรือน ให้ฆ่าเสียถึง ๗ ชั่วตระกูล "
" ขอถวายพระพร การตบตีด้วยมืออย่างเดียวกัน เหตุไฉนจึงมีโทษหนักเบากว่ากันล่ะ ? "

" อ๋อ...เพราะเป็นเหตุด้วยวัตถุ "
" ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร การแกล้งกล่าวเท็จ ก็มีโทษหนักเบาตามวัตถุขอถวายพระพร "

" ถูกต้องดีแล้ว พระนาคเสน"

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 5.0 Firefox 5.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #256 เมื่อ: 11 สิงหาคม 2554 06:32:09 »



ปัญหาที่ ๑๐ ถามถึงเรื่องผู้ควรแก่การขอ

" ข้าแต่พระนาคเสน สมเด็จพระบรมศาสดาจารย์ได้ตรัสประทานไว้ว่า " เราเป็นพราหมณ์ ผู้ควรแก่การขอ ผู้มีมืออันล้างไว้เนือง ๆ ผู้ทรงไว้ซึ่งร่างกายสุดท้าย ผู้เยี่ยม"

แล้วตรัสอีกว่า " พระพากุละเลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ผู้เป็นสาวกของเรา ในทางมีอาพาธน้อย " ดังนี้

อาพาธได้เกิดในพระวรกายของพระพุทธเจ้าหลายครั้ง ถ้าพระตถาคตเจ้าเป็นผู้เยี่ยมจริง คำที่ว่า " พระพากุละเลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้เป็นสาวกของเรา ในทางมีอาพาธน้อย " ก็ผิดไป ถ้าพระพากุละเป็นผู้มีอาพาธน้อยจริงคำที่ว่า " พระตถาคตเจ้าเป็นผู้เยี่ยม" ก็ผิดไป
ปัญหานี้ก็เป็นอุภโตโกฏิ สมควรแก้ไขอีก "

พระนาคเสนตอบว่า
" ขอถวายพระพร ข้อที่ตรัสไว้ทั้งสองนั้นถูกทั้งนั้น ข้อที่ตรัสไว้นั้น เป็นความดีภายนอกต่างหาก คือพระสาวกทั้งหลายที่ไม่นอนเลย ได้แต่ยืนกับเดินเท่านั้นตลอดวันก็มี ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้ามีทั้งทรงยืน เดิน นั่ง นอน สาวกเหล่านั้น จึงมีการยืน กับการเดินนั้น เป็นคุณพิเศษ

พวกสาวกที่นั่งฉันในอาสนะเดียว ถึงจะเสียชีวิตก็ไม่ยอมนั่งฉันในอาสนะที่สองก็มี ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเสวยในอาสนะที่สองก็ได้ พวกนั้นจึงมีการนั่งฉันในอาสนะเดียวนั้นเป็นคุณวิเศษ

ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้าที่ว่าเป็นผู้เยี่ยมนั้น คือเยี่ยมด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ทศพลญาณ เวสารัชชญาณ พุทธธรรม ๑๘ ที่ว่าเป็นผู้เยี่ยมทรงหมายพุทธวิสัยทั้งสิ้น ในหมู่มนุษย์ ผู้หนึ่งมีชาติตระกูลสูงผู้หนึ่งมีทรัพย์ ผู้หนึ่งมีวิชา ผู้หนึ่งมีศิลปะ ผู้หนึ่งแกล้วกล้า ผู้หนึ่งเฉียบแหลม มีคุณวิเศษต่าง ๆ กัน แต่พระราชาย่อมสูงสุดกว่าบุรุษเหล่านั้นฉันใด สมเด็จพระจอมไตรก็เป็นผู้ล้ำเสิศประเสริฐสุดกว่าสรรพสัตว์ทั้งหลายฉันนั้น พระพากุละผู้มีอาพาธน้อย จึงเลิศกว่าผู้อื่นในทางอาพาธน้อยเท่านั้น ไม่ใช่เลิศกว่าผู้อื่นในสิ่งทั้งปวง ขอถวายพระพร "

" ถูกแล้วพระนาคเสน โยมรับรองว่าถูกต้องดี"

จบวรรคที่ ๔

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 5.0 Firefox 5.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #257 เมื่อ: 11 สิงหาคม 2554 06:47:37 »



ปัญหาที่ ๑ ถามถึงอำนาจฤทธิ์และกรรม

" ข้าแต่พระนาคเสน สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

" บรรดาภิกษุผู้เป็นสาวกของเรา มหาโมคคัลลาน์เป็นผู้เลิศในทางฤทธิ์ " แล้วมีปรากฏว่า พระมหาโมคคัลลาน์นั้นถูกพวกโจรทุบตีจนศีรษะแตก กระดูก เส้นเอ็น สมอง แหลกละเอียด เหมือนกับเมล็ดข้าวสาร แล้วพระมหาโมคคัลลาน์ก็ปรินิพพานด้วยเหตุนั้น ดังนี้

ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ถ้าพระโมคคัลลาน์เป็นผู้เลิศในทางฤทธิ์จริง ข้อที่ว่า
" พวกโจรทุบตีแหลกละเอียดจนปรินิพพาน " นั้นก็ผิด
ถ้าข้อที่ว่า " ถูกพวกโจรทุบตีแหลกละเอียดจนปรินิพพาน " นั้นถูก
ข้อที่ว่า " พระมหาโมคคัลลาน์เป็นผู้เลิศในทางฤทธิ์ " นั้นก็ผิด พระมหาโมคคัลลาน์ไม่สามารถกำจัดพวกโจรอันจักมีแก่ตนด้วยฤทธิ์ได้หรือ...ไม่อาจเป็นที่พึ่งของมนุษย์โลกเทวโลกได้หรือ...
ปัญหานี้ก็เป็นอุภโตโกฏิ ควรแก้ไขให้สิ้นสงสัยเช่นกัน "

พระนาคเสนชี้แจงว่า
" ขอถวายพระพร ข้อที่ตรัสว่า " พระมหาโมคคัลลาน์เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้มีฤทธิ์ " นั้นก็ถูก ข้อที่ว่า " พระมหาโมคคัลลาน์ถูกโจรทุบตีถึงปรินิพพาน " นั้นก็ถูก แต่ข้อนั้นเป็นด้วย กรรม เข้ายึดถือ "

" ข้าแต่พระนาคเสน สิ่งทั้งสอง คือ วิสัยของผู้มีฤทธิ์ ๑ ผลของกรรม ๑ เป็นอจินไตยใคร ๆ ไม่ควรคิดไม่ใช่หรือ ? "

" ขอถวายพระพร สิ่งที่ไม่ควรคิดทั้งสองอย่างนี้ อย่างหนึ่งมีกำลังมากกว่า ข้อนี้เปรียบเหมือนพระราชากับประชาชน พระราชองค์เดียว ย่อมมีอำนาจครอบประชาชนฉันใด ผลของกรรมอันมีกำลังยิ่งกว่า ก็ครอบสิ่งทั้งปวงฉันนั้น

กิริยาอย่างอื่นของผู้ที่กรรมเข้ายึดถือแล้ว ย่อมไม่ได้โอกาส มีบุรุษคนหนึ่งกระทำผิดพระราชาอาชญาอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ย่อมไม่มีใครช่วยได้

มารดาบิดา พี่หญิงพี่ชาย มิตรสหาย ก็ช่วยไม่ได้ พระราชาต้องทรงลงโทษแก่ผู้นั้น ตามความผิดของเขาฉันใด ผลของกรรมก็มีกำลังแรงกว่าฤทธิ์ ย่อมครอบงำฤทธิ์ได้ฉันนั้น

อีกประการหนึ่ง เมื่อไฟไหม้ป่าลุกลามมาใหญ่ ถึงจะตักน้ำไปดับตั้งพันโอ่ง ก็ไม่อาจดับได้ สู้ไฟป่านั้นไม่ได้ เพราะไฟป่ามีกำลังมากกว่าฉันใด ผลของกรรมก็มีกำลังมากกว่าฤทธิ์ ครอบงำฤทธิ์ได้ฉันนั้น

เพราะฉะนั้นแหละ มหาบพิตร พระมหาโมคคัลลาน์ผู้ที่กรรมเข้ายึดถือแล้ว จึงถูกพวกโจรทุบตี ไม่สามารถกางกั้นได้ด้วยฤทธิ์ "

" สาธุ...พระนาคเสน โยมรับว่าถูกต้องดีแล้ว"

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 5.0 Firefox 5.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #258 เมื่อ: 11 สิงหาคม 2554 06:58:49 »



ปัญหาที่ ๒ ถามถึงธรรมดาของพระโพธิสัตว์

" ข้าแต่พระนาคเสน สมเด็จพระบรมศาสดาได้ตรัสไว้ในธัมมตาปริยายว่า
" มารดาบิดาของพระโพธิสัตว์ทั้งหลายในปางก่อนย่อมเป็นนิตตะ คือแน่นอน การตรัสรู้ก็แน่นอน อัครสาวกทั้งสองก็แน่นอน พระโอรสก็แน่นอน อุปัฏฐากก็แน่นอน" ดังนี้

แต่มีกล่าวอีกว่า พระโพธิสัตว์ผู้ยังประทับอยู่ในดุสิตสวรรค์ได้เล็งดู มหาวิโลกนะ ๘ คือเล็งดูกาลเวลา ๑ เล็งดูทวีป ๑ เล็งดูประเทศ ๑ เล็งดูพระชนนี ๑ ตระกูล ๑ อายุ ๑ เดือน ๑ การเสด็จออกบรรพชา ๑ ดังนี้

ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า เมื่อญาณยังไม่แก่กล้าการตรัสรู้ย่อมไม่มี เมื่อญาณแก่กล้าแล้ว ไม่อาจรอเวลาพิจารณาได้ เหตุไรพระโพธิสัตว์จึงเล็งดูเวลาว่า เป็นเวลาที่เราสมควรจะลงไปเกิดในมนุษย์หรือไม่...

ข้าแต่พระนาคเสน ถ้ามารดาบิดาของพระโพธิสัตว์แน่นอนแล้ว ข้อที่ว่า " เล็งดูตระกูลบิดามารดานั้น" ก็ผิด
ถ้าข้อที่ว่า " เล็งดูตระกูลบิดามารดานั้น " ถูก ข้อที่ว่า " มารดาบิดาของพระโพธิสัตว์แน่นอนนั้น " ก็ผิด
ปัญหานี้ก็เป็นอุภโตโกฏิ มาถึงพระผู้เป็นเจ้าแล้ว พระผู้เป็นเจ้าควรแก้ไข

" พระนาคเสนวิสัชนาว่า
" ขอถวายพระพร มารดาบิดาของพระโพธิสัตว์เป็นของแน่นอนนั้นก็จริง พระโพธิสัตว์เล็งดูตระกูลมารดาบิดานั้นก็จริง การเล็งดูตระกูลของมารดาบิดานั้นเล็งดูอย่างไร...คือเล็งดูว่ามารดาบิดาของเราเป็นกษัตริย์หรือพราหมณ์

ผู้ที่เล็งดูมี ๘ จำพวก
สิ่งที่เป็นอนาคต แต่ควร
เล็งดูก่อนนั้นมีอยู่ ๘ อย่าง คือ

๑. พ่อค้า ต้องเล็งดูสินค้าก่อน
๒. ช้าง ต้องคลำหนทางด้วยงวงก่อน
๓. พ่อค้าเกวียน ต้องพิจารณาดูท่าข้ามก่อน
๔. ต้นหน คือนายท้ายสำเภา ต้องพิจารณาดูฝั่งเสียก่อน

๕. แพทย์ ต้องตรวจดูอายุก่อน จึงเข้าใกล้คนไข้
๖. ผู้จะข้ามสะพาน ต้องดูว่าสะพานมั่นคงหรือไม่เสียก่อน
๗. พระภิกษุ ต้องพิจารณาเสียก่อนจึงฉัน
๘. พระโพธิสัตว์ชาติสุดท้าย ต้องพิจารณาดูตระกูลเสียก่อน ดังนี้ ขอถวายพระพร "

" สาธุ...พระนาคเสน โยมรับว่าถูกต้อง"

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 5.0 Firefox 5.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #259 เมื่อ: 11 สิงหาคม 2554 07:22:41 »



ปัญหาที่ ๓ ถามถึงเรื่องฆ่าตัวเอง

" ข้าแต่พระนาคเสน สมเด็จพระผู้มีพระภาคเสจ้าได้ตรัสไว้ว่า

" ภิกษุไม่ควรทำตนให้ตกไป  ภิกษุใดทำตนให้ตกไป ต้องปรับอาบัติภิกษุนั้น ตามสมควรแก่เหตุการณ์"

แต่พระผู้เป็นเจ้าได้กล่าวไว้อีกว่า เมื่อสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า จะทรงแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายไม่ว่าในที่ใด ๆ ย่อมทรงแสดงเพื่อตัดการเกิด แก่ เจ็บ ตาย ให้ขาดไป ผู้ใดพ้นจากการเกิด แก่ เจ็บ ตายได้ ก็ทรงสรรเสริญผู้นั้นด้วยวาจาสรรเสริญอย่างเยี่ยม

ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ถ้าสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสห้ามไม่ให้ภิกษุทำลายตนเองนั้นถูก ข้อที่ได้ทรงแสดงธรรมเพื่อให้ตัดขาด ซึ่งเกิดแก่ เจ็บ ตาย ก็ผิด

ถ้าการทรงแสดงธรรม เพื่อตัดการเกิด แก่ เจ็บ ตาย ให้ขาดนั้นเป็นของถูก ข้อที่ห้ามไม่ให้ทำลายตัวเองก็ผิด
ปัญหานี้ก็เป็นอุภโตโกฏิ ควรแก้ไขให้สิ้นสงสัยต่อไป "

พระนาคเสนตอบว่า
" ขอถวายพระพร ข้อที่ตรัสห้ามไม่ให้ภิกษุทำลายตัวเองนั้นก็ถูก ข้อที่ทรงแสดงธรรมเพื่อให้ตัดการเกิด แก่ เจ็บ ตาย นั้นให้ขาดก็ถูก แต่ในข้อนั้น ย่อมมีเหตุการณ์ที่ให้ทรงห้ามและทรงชักนำ ขอถวายพระพร

ผู้มีศีล ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ย่อมเป็นผู้ทำกิเลสให้พินาศ เหมือนกับยาดับพิษงู
ย่อมดับพิษร้าย คือกิเลสของสัตว์ทั้งหลาย เหมือนกับยาทั่วไป
ย่อมกำจัดเหงื่อไคล คือกิเลสของสัตว์ทั้งหลาย เหมือนกับน้ำ
ย่อมให้ได้สมบัติอันประเสริฐทั้งปวง เหมือนกับแก้วมณีโชติ

ย่อมทำให้ข้ามแม่น้ำใหญ่ทั้ง ๔ เหมือนกับเรือ
ย่อมพาข้ามที่กันดาร คือการเกิด เหมือนกับนายเกวียน
ย่อมดับไฟ ๓ กองของสัตว์ทั้งหลาย เหมือนกับลม
ย่อมทำให้ความปรารถนาของสัตว์ทั้งหลายเต็มบริบูรณ์ เหมือนกับฝนห่าใหญ่ที่ตกลงมา

ย่อมให้สัตว์ทั้งหลายศึกษาสิ่งที่เป็นกุศล เหมือนอาจารย์
ย่อมบอกทางปลอดภัยให้แก่สัตว์ทั้งหลาย เหมือนกับผู้นอกทิศบอกทาง


สมเด็จพระพิชิตมารผู้มีพระคุณมาก มีพระคุณเป็นเอนก มีพระคุณหาประมาณมิได้ เต็มไปด้วยกองพระคุณ เป็นผู้ทำความเจริญให้แก่สัตว์ทั้งหลายอย่างนี้ จึงทรงบัญญัติสิกขาบทห้ามไม่ให้ทำลายตัวเอง ด้วยทรงพระมหากรุณาว่า อย่าให้ผู้มีศีลพินาศไป พระกุมารกัสสปเถระ ผู้แสดงธรรมได้อย่างวิจิตร เมื่อจะแสดงโลกหน้าถวายแก่ พระเจ้าปายาสิ ได้กล่าวไว้ว่า

" สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้มีศีลธรรมอันงาม อยู่ในโลกนี้ตลอดกาลนาน ด้วยอาการใด ๆ ก็ตาม ก็มีแต่ปฏิบัติเพื่อให้เป็นประโยชน์สุขแก่สัตวโลกทั้งหลาย ด้วยอาการนั้น ๆ "

แต่เพราะเหตุไร สมเด็จพระจอมไตรจึงทรงแสดงว่า
" ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย โศกเศร้ารำพัน ไม่สบายกาย ไม่สบายใจ คับแค้นใจเป็นทุกข์

การประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก การตายของมารดาบิดา พี่น้อง บุตร ธิดา ญาติ ก็เป็นทุกข์

ความเสื่อม
ญาติ ความเกิดโรค ความเสียทรัพย์ ความเสียศีล ความเสียทิฏฐิ ราชภัย โจรภัย เวรภัย ทุพภิกขภัย อัคคีภัย อุทกภัย อุมมิภัย คือลูกคลื่น กุมภิรภัย คือจระเข้ อาวัฏฏภัย คือน้ำวน สุสุกาภัย ปลาร้าย อัตตานุวาทภัย ติเตียนตนเอง ปรานุวาทภัย ถูกผู้อื่นติเตียน อสิโลกภัย เสื่อมลาภ ปริสารัชชภัย ครั่นคร้ามในที่ประชุม ทัณฑภัย ถูกราชทัณฑ์ ทุคคติภัย ทุคติอาชีวิตภัย หาเลี้ยงชีพ มรณภัย ถึงซึ่งความตาย เหล่านี้ทั้งสิ้น เป็นทุกข์ทั้งนั้น

การถูก
ตัดมือ ตัดเท้า ตัดหู ตัดจมูก ตัดปาก การถูกถลกหนังศีรษะ แล้วเอาก้อนเหล็กแดงวางลงไป การถลกหนังทั้งตัวแล้วขัดด้วยหินหยาบ ๆ ให้ขาวเหมือนสังข์

การทำปากราหู คือเอาขอเหล็กงัดปากขึ้นแล้วจุดประทีปทิ้งเข้าไปในปากให้ไฟลุกโพลงอยู่ในปาก
การทำเปลวไฟให้สว่าง คือผู้ขี้ริ้วชุบน้ำมัน พันตลอดตัวแล้วจุดไฟ

การ
จุดนิ้วมือต่างประทีป คือเอาผ้าชุบน้ำมันพันนิ้วมือ แล้วจุดให้เหมือนประทีป
การให้นุ่งผ้าแกะ คือถลกหนังตั้งแต่คอลงไปจนถึงข้อเท้า แล้วไล่ให้วิ่ง ให้วิ่งเหยียบหนังของตัวเองไป

การให้
นุ่งผ้าเปลือกปอ คือถลกหนังตั้งแต่ศีรษะลงไปพักไว้ที่สะเอวตอนหนึ่ง ถลกจากสะเอวไปถึงข้อเท้าตอนหนึ่ง ทำให้เป็นเหมือนท่อนล่างนุ่งผ้าเปลือกปอ

การทำให้ยืนแบบแพะ คือให้คุกเข่าคุกศอกลงบนหลาวเหล็ก แล้วเสียบปักไว้กับพื้นดิน
การตกเบ็ด คือเอาเบ็ดเกี่ยวเนื้อให้ตัวดึงให้หนัง เนื้อ เอ็น ขาดออกไปทีละชิ้น ๆ

การ
ทำให้เป็นรูปเงิน คือเอามีดคม ๆ เชือดเนื้อออกไปทีละก้อน ๆ เท่ากับรูปเงินกลม ๆ
การรดด้วยน้ำแสบ คือฟันแทงให้ทั่วตัวแล้วเอาน้ำแสบน้ำเค็มรดราดลงไป จนกระทั่งหนัง เนื้อ เอ็น หลุดออกไปเหลือแต่กระดูก

การตอก
ลิ่ม คือให้นอนตะแคงลง แล้วเอาหลาวเหล็กแทงช่องหูข้างบน ให้ทะลุลงไปปักแน่นอยู่กับพื้นดินข้างล่าง แล้วจับเท้าหมุนเวียนไปรอบ ๆ
การ
ทำให้เหมือนมัดฟาง คือเชือดผิวหนังออกจนหมด ทุบกระดูกให้แตกด้วยก้อนหินแล้วจับที่ผมดึงขึ้น ผูกผมไว้ให้เหมือนกับมัดฟาง

การเอาน้ำมันเดือด ๆ เทรดตัว
การให้สุนัขกัดกิน
การปักไว้บนหลาว เหล่านี้ ล้วนแต่เป็นทุกข์ใหญ่ทั้งนั้น
สัตว์โลกทั้งหลายย่อมได้รับทุกข์ต่าง ๆ อย่างที่ว่ามานี้

เมื่อ
ฝนตกลงที่ภูเขาหิมพานต์ ก็มีน้ำไหลหลั่งไปสู่แม่น้ำ พัดเอาหิน กรวด ไม้แห้ง กิ่งไม้ รากไม้ น้อยใหญ่ในป่า ให้ไหลไปฉันใด ทุกข์ต่าง ๆ เป็นอันมากอย่างที่กล่าวมานี้ ก็ไหลไปตามกระแสน้ำ คือสงสารฉันนั้น

การเวียนว่ายตายเกิดเป็นทุกข์ การไม่เวียนว่ายตายเกิดเป็นสุข เมื่อสมเด็จพระบรมสุคตจะทรงแสดงคุณการไม่เวียนว่ายตายเกิด และทรงแสดงโทษแห่งการเวียนว่ายตายเกิด จึงได้ทรงแสดงทุกข์ต่าง ๆ ไว้เป็นอันมาก เพื่อให้สำเร็จการไม่เวียนว่ายตายเกิด เพื่อให้พ้นจากการเกิด แก่ เจ็บ ตายไป อันนี้แหละ เป็นเหตุการณ์ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงทุกข์ไว้ต่าง ๆ ขอถวายพระพร "

" สาธุ...พระนาคเสน พระผู้เป็นเจ้าได้แก้ปัญหาข้อนี้ถูกต้องดีแล้ว"

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 5.0 Firefox 5.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #260 เมื่อ: 11 สิงหาคม 2554 07:40:15 »



ปัญหาที่ ๔ ถามเกี่ยวกับอานิสงส์เมตตา

" ข้าแต่พระนาคเสน สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า " เมตตาเจโตวิมุตติ " คือความหลุดพ้นแห่งจิตด้วยเมตตา อันบุคคลอบรมแล้ว ทำให้มีแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เหมือนยานพาหนะแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ตั้งไว้เนือง ๆ แล้ว สะสมไว้ดีแล้ว อบรมไว้แก่กล้าแล้ว ย่อมหวังได้อานิสงส์ ๑๑ ประการคือ

๑. นอนหลับสบาย
๒. เวลาตื่นก็สบาย
๓. ไม่ฝันลามก
๔. เป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลาย
๕. เป็นที่รักของอมนุษย์ทั้งหลาย

๖. เทวดาทั้งหลายรักษา

๗. ไฟไม่ไหม้ ไม่ถูกพิษและอาวุธ
๘. หน้าตาเบิกบาน ใจมั่นคง
๙. สีหน้าผ่องใส
๑๐. ไม่หลงใหลในเวลาตาย
๑๑. เมื่อยังไม่สำเร็จอรหันต์ ก็ได้เกิดในพรหมโลก


แล้วมีเรื่องกล่าวไว้อีกว่า สุวรรณสาม ผู้อยู่ในเมตตา ผู้มีหมู่เนื้อเป็นบริวาร อยู่ในป่าใหญ่ ถูกพระยาปิลยักษ์ ยิงด้วยลูกศรอันอาบด้วยยาพิษ ล้มสลบอยู่ในที่นั้นทันที ดังนี้

ข้าแต่พระนาคเสน ถ้าอานิสงส์เมตตามีอยู่อย่างนั้นจริง เรื่องที่ว่าสุวรรณสามลูกศรพระยาปิลยักษ์นั้นก็ผิด
ถ้าเรื่องที่ว่าสุวรรณสามถูกศรพระยาปิลยักษ์ นั้นถูก ข้อที่ว่า ถึงอานิสงส์เมตตานั้นก็ผิด
ปัญหาข้อนี้เป็นอุภโตโกฏิ เป็นปัญหาละเอียดลึกซึ้ง ขอได้โปรดแก้ให้สิ้นสงสัยแก่บุคคลในภายหน้าด้วย"

พระนาคเสนแก้ไขว่า
" ขอถวายพระพร ข้อที่ว่า ด้วยอานิสงส์เมตตานั้นก็ถูก ที่ว่าสุวรรณสามถูกลูกศรพระยาปิลยักษ์นั้นก็ถูก แต่ว่าในข้อนั้นมีเหตุการณ์อยู่

เหตุการณ์นั้นคืออะไร...คือคุณอานิสงส์เหล่านั้น ไม่ใช่คุณอานิสงส์ของบุคคล เป็นคุณอานิสงส์แห่งเมตตาภาวนาต่างหาก เมื่อสุวรรณสามยกหม้อน้ำขึ้นบ่านั้น เผลอไปไม่ได้เจริญเมตตา คือในขณะใด บุคคลเจริญเมตตาอยู่ ในขณะนั้น ไฟก็ไม่ไหม้ ยาพิษก็ไม่ถูก อาวุธก็แคล้วคลาด ผู้มุ่งทำร้ายก็ไม่ได้โอกาส จึงว่าคุณเหล่านั้น เป็นคุณแห่งเมตตาภาวนา ไม่ใช่คุณแห่งบุคคล ขอจงทรงทราบด้วยอุปมาดังนี้

เปรียบประดุจบุรุษผู้แกล้วกล้า สวมเกราะแน่นหนาดีแล้วย่อมเข้าสู่สงคราม เมื่อบุรุษย่างเข้าสู่สงคราม ลูกศรที่ข้าศึกยิงมาถึงถูกก็ไม่เข้า การที่ลูกศรถูก ไม่เข้านั้น ไม่ใช่คุณความดีของผู้แกล้วกล้าในสงคราม เป็นคุณความดีของเกราะต่างหาก ข้อนี้มีอุปมาฉันใด อานิสงส์ ๑๑ อย่างนั้นก็ไม่ใช่คุณความดีของบุคคล เป็นคุณความดีของเมตตาภาวนาต่างหากฉันนั้น

อีกประการหนึ่ง เหมือนกับบุรุษมีรากยาทิพย์หายตัว ยังอยู่ในมือตราบใดก็ไม่มีใครเห็นตราบนั้น การไม่มีผู้เห็นนั้น ไม่ใช่เป็นความดีของบุรุษนั้น เป็นความดีของรากยานั้นต่างหาก "
" น่าอัศจรรย์ ! พระนาคเสน เป็นอันว่า เมตตาภาวนา ป้องกันสิ่งชั่วร้ายทั้งปวงได้ "

" ขอถวายพระพร เมตตาภาวนาย่อมนำคุณความดีทั้งสิ้นมาให้แก่บุคคลทั้งหลาย ผู้ที่ต้องการอานิสงส์เมตตา ควรเจริญเมตตา ขอถวายพระพร"

บันทึกการเข้า
คำค้น: ท่านเมนานเดอร์ พระนาคเสน ปัญหาธรรม 
หน้า:  1 ... 11 12 [13] 14 15 ... 20   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.343 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 26 มีนาคม 2567 06:22:06