[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
22 ธันวาคม 2567 18:38:58 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ทำอย่างไร เมื่อต้อง ขับรถ นานๆ อาการปวดเมื่อย และ วิธีการ บรรเทาอาการเบื้องต้น  (อ่าน 5207 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7866


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 6.0.472.63 Chrome 6.0.472.63


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 20 ตุลาคม 2553 01:11:42 »



ทำอย่างไรเมื่อต้องขับรถนานๆ


http://i1224.photobucket.com/albums/ee367/nuikaokala/1053/97192.jpg
ทำอย่างไร เมื่อต้อง ขับรถ นานๆ อาการปวดเมื่อย และ วิธีการ บรรเทาอาการเบื้องต้น


อาการปวดเมื่อยและวิธีการบรรเทาอาการเบื้องต้น

ทั่วๆไปแล้วอาการปวดบ่า กระบอกตา คอ หลัง หน้าขา(สะโพก) และน่อง เป็นอาการที่พบได้บ่อย
เรามาลองดูสาเหตุและการบรรเทาอาการเหล่านี้กัน

เมื่อ ขับรถต้องใช้สายตามากไม่สามารถพักสายตาได้ ต้องเพ่งและมองไปข้างหน้าตลอด
ถ้าหากแสงแดดจ้าก็จะทำให้ตาต้องทำงานหนักเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันการเพ่งสายตามีผลต่อท่าทางของคอ
คือคอต้องตั้งตรงนานๆ ย่อมมีผลต่อการทำงานของกล้ามเนื้อคอ ทำให้กล้ามเนื้อคอทำงานหนัก
และเกิดอาการล้าได้

การเมื่อยล้าของคอส่งผลต่อการบีบรัดเส้นประสาทโดยเฉพาะที่ฐานกะโหลกด้านหลังทำให้ปวดศีรษะ
และกระบอกตาได้


http://i1224.photobucket.com/albums/ee367/nuikaokala/1053/97193.jpg
ทำอย่างไร เมื่อต้อง ขับรถ นานๆ อาการปวดเมื่อย และ วิธีการ บรรเทาอาการเบื้องต้น


วิธีการแก้ไขปัญหาปวดกระบอกตาและล้าของตาคือ ต้อง ใส่แว่นปรับสายตาหากมีปัญหา
เรื่องสายตาสั้นหรือยาว จะทำให้ลดการเพ่งในขณะขับรถและหากขับรถในเวลาที่แดดจัด
ควรใช้แว่นกันแดด เพื่อลดปริมาณแสงที่อาจทำให้ม่านตาทำงานหนักได้

ขณะ ที่พักรถหรือช่วงติดไฟแดงอาจใช้เวลาเล็กน้อยที่จะมองไปยังต้นไม้ที่มีสีเขียวหรือหลับตา
พักสายตาสักครู่ และหากเป็นไปได้การนวดบริเวณต้นคอและบ่า 2 ข้าง จะสามารถลดความตึงเครียด
ของกล้ามเนื้อบริเวณนั้นส่งผลให้ความรู้สึกล้าลดลงได้

ในขณะขับรถกล้ามเนื้อบ่าจะทำงานเพื่อยกบ่าและแขนในการควบคุมพวงมาลัย หาก การจับพวงมาลัย
ห่างจากตัวมากจะมีผลทำให้ต้องเอื้อมมือยืดแขนไปข้างหน้า กล้ามเนื้อบ่าและไหล่จึงทำงานมากขึ้นอีก
และทำให้เกิดอาการเมื่อยล้ากล้าม เนื้อบ่าและเกิดกล้ามเนื้ออักเสบได้ในที่สุด ซึ่งสามารถตรวจได้
โดยการคลำกล้ามเนื้อนั้นๆ จะพบลำหรือปมแข็งในกล้ามเนื้อ เมื่อกดก็จะมีอาการเจ็บและร้าวได้

ดัง นั้นการปรับระยะและความสูงของพวงมาลัยเป็นสิ่งที่สำคัญ แต่ต้องเข้าใจว่าในขณะขับ
ต้องทิ้งน้ำหนักแขนส่วนหนึ่งไว้ที่พวงมาลัย ไม่เกร็งแขนและไหล่ตลอด การเกร็งและยกแขนนี้
อาจทำให้การควบคุมพวงมาลัยทำได้ยากกว่าที่ควรจะเป็น



Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7866


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 6.0.472.63 Chrome 6.0.472.63


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 20 ตุลาคม 2553 01:16:30 »




อย่างไรก็ตามคุณสามารถลดอาการตึงและปวดเมื่อยบ่านี้ได้โดยการหมุนไหล่แบบกายบริหารของ เด็กๆ
ที่หมุนไหล่มาข้างหน้าและย้อนกลับหลัง โดย ทำเมื่อหยุดพักหรือหากเมื่อยในขณะขับรถ
ท่านสามารถทำการแบะไหล่ไปด้านหลังและ แอ่นตัวมาข้างหน้าหรือทำการหมุนไหล่ข้างเดียวได้
โดยพิจารณาถึงความปลอดภัยในขณะขับขี่เป็นหลัก

สำหรับ อาการปวดเมื่อยหลังเกิดขึ้นได้เนื่องจากท่านั่งเป็นท่าที่หมอนรองกระดูก สันหลังมีแรงกด
มากกว่าท่าอื่นๆ แม้ว่าจะมีเบาะพนักพิงก็ตาม แต่หลังที่อยู่ในลักษณะโค้งงอ ย่อมส่งผลต่อแรงดัน
ในหมอนรองกระดูกสันหลัง โดย มีแรงกดด้านหน้าหมอนรองกระดูกมากกว่าด้านหลัง หมอนรองกระดูก
จึงมีแนวโน้มที่จะปลิ้นไปทางด้านหลังและอาจเกิดปัญหาของหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทได้
เอ็นและกล้ามเนื้อที่อยู่ด้านหลังจะถูกยืดมากกว่าเมื่อหลังอยู่ในท่าตรง

ดังนั้น สิ่งที่ควรทำเมื่อพักรถคือ ค่อยๆ ลงจากรถ ไม่ลุกแบบพรวดพราดและก่อนจะลุกขึ้น
ควรทำการยืดตัวและแอ่นหลังประมาณ 3-4 ครั้งก่อน แล้วค่อยลุกขึ้น และเมื่อลุกขึ้นแล้ว
ควรทำการยืดหลังและแอ่นหลังในขณะท่ายืนอีก 10 ครั้ง แล้วถึงจะทำการก้มหลังหรือใช้งานหลัง
ได้ตามปกติ เหตุที่ให้ทำเช่นนี้ เพราะว่าเอ็นที่อยู่ด้านหลังเมื่อนั่งนานๆ จะล้า ขาดความยืดหยุ่นตัว
และถ้าก้มบิดตัวหรือใช้งานหลังหนักๆ(เช่น การยกของหนัก) การก้มขณะที่จะลุกจากรถ
อาจมีผลต่อการเคลื่อนหรือปลิ้นตัวของหมอนรองกระดูกสันหลังได้

หากเกิดอาการปวดเมื่อยล้าหลังขณะขับรถคุณสามารถนำหมอนเล็กๆ สอดไว้ที่หลังส่วนล่าง
ระหว่างเบาะกับหลังของคุณเพื่อให้หมอนเป็นตัวดันให้ หลังแอ่นตัวเล็กน้อย แต่ไม่ควร
นั่งพิงหมอนนั้นตลอด เพราะจะเกิดความล้าต่อหลังได้เช่นกัน

การขับรถเกียร์อัตโนมัติ ความเมื่อยล้ากล้ามเนื้อหน้าขาและน่องเกิดได้จากการที่ต้องขยับขาเพื่อการ
เหยียบเบรกและคันเร่ง ขณะที่ถ้าขับรถเกียร์ธรรมดาจะมีอาการเมื่อยล้าขาซ้ายเพิ่มขึ้น
เนื่องจากการเหยียบคลัตช์



บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7866


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 6.0.472.63 Chrome 6.0.472.63


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 20 ตุลาคม 2553 01:20:46 »





การแก้ไขหรือลดอาการปวดขณะขับรถสามารถทำได้โดยการหมุนข้อเท้าจิกปลายเท้า
กระดกปลายเท้าขึ้น เหยียดปลายเท้าลงให้สุด โดย สามารถทำกับเท้าข้างซ้ายข้างเดียว
ในขณะขับรถและหากเมื่อหยุดพักแล้วคุณ สามารถทำการหมุนหรือดัดต่อเท้าข้างขวา
รวมทั้งทำการยืดกล้ามเนื้อหน้าขาได้ การยืดกล้ามเนื้อหน้าขาทำได้โดยยืนแล้วพับเข่า
ไปด้านหลังโดยเอามือช่วยจับ เข่างอเข้ามายังก้น

อย่างไรก็ตามการขยับ เขยื้อนออกกำลังกายแบบนี้เป็นการบรรเทาอาการเท่านั้น
และหากทำขณะขับรถให้คำนึงถึงความปลอดภัยในการขับขี่เป็นหลักด้วย

สิ่ง ที่จะต้องทำที่สุดคือ การหยุดพักบ่อยๆ เพื่อเปลี่ยนอิริยาบถ ล้างหน้าล้างตาและ
ทำการออกกำลังกายตามที่ได้กล่าวมา หรือทำการบิดขี้เกียจก็ได้ในลักษณะเหมือน
การบิดขี้เกียจตอนเช้าก่อนลุกขึ้น มาอาบน้ำ และเมื่อถึงที่หมายแล้ว ควรทำการนอนยกขาสูง
โดยการนอนราบกับพื้นแล้วทำการยกขาแบบงอเข่าเล็กน้อยพาดกับเก้าอี้หรือโซฟา
เพื่อให้เลือดไหลและน้ำเหลืองไหลกลับได้ง่ายขึ้น และทำให้หลังได้พักตัวลดอาการเกร็ง
ของกล้ามเนื้อหลังได้


ที่มา วิชาการดอทคอม
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7866


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 2.0.157.2 Chrome 2.0.157.2


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 24 ตุลาคม 2553 22:37:43 »

อีกทางที่ดีที่สุดสำหรับการแก้ปัญหาการเมื่อยล้า

ให้หาสาว ๆ ไปด้วย เอาแบบอ้อนเก่ง ๆ นวดเก่ง ๆ

ขับเหนือจดใต้ก็บ่ยั่นกันละเด้อ


5555

บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
wondermay
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #4 เมื่อ: 17 ธันวาคม 2553 03:00:23 »

กาแฟซักสองกระป๋องแก้ขัดไปก่อนนะน้า หัวเราะลั่น
บันทึกการเข้า
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7866


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 8.0.552.215 Chrome 8.0.552.215


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: 18 ธันวาคม 2553 16:47:25 »

๕๕๕๕

เอามา ๆ เอาเบอร์ดี้นะ

สีไหนก็ได้กินได้หมด

อร่อย... ๕๕๕

เอ๊ะ หรือจะกรุ่นกลิ่น
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
คำค้น: ทำอย่างไร ขับรถ นาน ความรู้ สาระ ปวด เมื่อย 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.314 วินาที กับ 30 คำสั่ง

Google visited last this page 21 ตุลาคม 2567 09:58:09