|
|
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 7493
ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0
|
|
« ตอบ #61 เมื่อ: 07 กุมภาพันธ์ 2553 08:18:20 » |
|
ภาพที่ ๙๒
ปากสามชนิด พระพุทธองค์ทรงสอนภิกษุว่า ปากของเรานี่ต้องระวังให้ดี มีอยู่สามชนิด ปากเหมือนน้ำผึ้ง ปากเหมือนดอกไม้ และปากเหมือนคูถ ปากเหมือนส้วมนี่ เรียกว่าไปไหนเผยออ้าปากก็เหมือนเปิดฝาส้วม พูดอะไรมาที ก็เหม็นขี้หน้า เรียกว่าเหม็นขี้ปาก บางคนนี่พูดมาทีก็ว่าปากมาก คลำดูแล้วก็มีปากเดียว แต่ว่าพูดอะไรไม่ดี ส่วนปากเหมือนดอกไม้ คือ น่าฟัง น่าดู น่าชม และปากเหมือนน้ำผึ้ง…แหม หยาดเยิ้ม พูดแล้วหวานรื่นหู น่าฟัง อย่างนี้เป็นต้น
ทรงเน้นว่าปากชนิดไหนที่จะดีมีประโยชน์ ถูกกาล ถูกเวลา ฟังแล้วได้สาระ เป็นเครื่องชำระกิเลส
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 7493
ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0
|
|
« ตอบ #62 เมื่อ: 07 กุมภาพันธ์ 2553 08:22:10 » |
|
ภาพที่ ๙๓
รักษาตนเท่ากับรักษาผู้อื่นด้วย พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมอุปมาเรื่องของการแสดงกายกรรมในหมู่บ้านหนึ่ง มีนักกายกรรมซึ่งมีอาจารย์กับลูกศิษย์ อาจารย์ก็เรียกลูกศิษย์ให้ขึ้นมาไต่ไม้ที่ตั้งบนไหล่ของอาจารย์ แล้วอาจารย์ก็ร้องขึ้นไปบอกว่า นี่ แกช่วยรักษาฉันให้ดีนะ หมายความว่า ขึ้นไปเหยียบเนี่ย พยายามรักษาชื่อเสียงนะ อย่าให้หล่นให้พลาดมา แกรักษาฉัน ฉันก็จะรักษาแก ว่าอย่างนั้นเถอะ ต่างคนต่างรักษาหน้าที่กันให้ดีก็แล้วกัน อาจารย์ทำหน้าที่ของอาจารย์ให้ดี ผมก็จะรักษาตัวผมให้ดี แล้วทุกอย่างก็จะดีเอง ชื่อเสียง ลาภสักการะ ก็จะมาหาเราเอง เมื่อเราต่างคนต่างรับผิดชอบหน้าที่ของตัวเองดี
พระพุทธองค์ทรงแสดงให้เห็นว่า ในโลกนี้มันอาศัยซึ่งกันและกัน ถ้าเรารักษาตนก็เท่ากับรักษาคนอื่นด้วย เรารักษาคนอื่นเท่าไรก็เท่ากับเรารักษาตนเท่านั้น
หมายความว่า การที่เรามีเมตตา มีความอดทน มีการไม่เบียดเบียนผู้อื่น โทษภัยทั้งหลายมันก็ไม่มีมาถึงเรา เพราะเรามีเมตตา มีความอดทน ใครเขาก็ไม่กล่าวโทษเรา เราก็ไม่ได้รับทุกข์รับโทษ ไม่มีใครมาล้มทับเรา ไม่มีใครมาหล่นใส่เรา ให้ร้ายเรา นั้นก็เพราะเรามีความอดทน มีความเมตตา ความอดทน ความไม่เบียดเบียนนั้นเป็นการรักษาตนที่ยอดเยี่ยม และรักษาผู้อื่นที่ดีที่สุด เพราะฉะนั้น การเถียงกันว่า จงรักษากันให้ดี จงช่วยกันให้ดี ขอให้ช่วยให้ตัวเอง จิตใจของตัวเองมีเมตตา มีความอดทน และมีการไม่เบียดเบียน จะเป็นการช่วยสังคมและช่วยตนให้อยู่อย่างมีความสุขและดีที่สุด
เหมือนนักกายกรรม ที่คนข้างล่างผู้เป็นอาจารย์ก็มีความปรารถนาดี รักศิษย์ อย่าให้ศิษย์ตกลงมา ท่านมีความอดทนให้ศิษย์ยืนขึ้นไปบนไหล่ และไม่คิดจะเบียดเบียนทำให้ผู้ที่อยู่ข้างบนนั้นพลัดตกลงมา แล้วอย่างนี้ลาภสักการะ ชื่อเสียงก็เกิดขึ้นกับวงการกายกรรมนี้อย่างมากมาย นั่นคือผลแห่งการรักษาตน เหมือนกับเล่นตะกร้อ ส่งกันไปส่งกันมาดีมันก็ดีกันหมดทั้งวง แต่ถ้าหากไม่รับ ไม่เตะ ไม่ส่งให้ดี ชู้ตออกนอกวง มันก็พัง แพ้กันหมดทั้งวงเหมือนกัน
นี่ชื่อว่า ถ้ารักษาตนดี มีเมตตา มีความอดทน มีความไม่เบียดเบียนผู้อื่นแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างก็จะถูกรักษาดีไปหมด
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 7493
ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0
|
|
« ตอบ #63 เมื่อ: 07 กุมภาพันธ์ 2553 08:25:55 » |
|
ภาพที่ ๙๔
หลบหนีมัจจุราช พราหมณ์พาวรี 16 คน ได้นำปัญหาต่าง ๆ มาทูลถามคนละข้อสองข้อ มีปัญหาหนึ่งดีมากคือปัญหาของโมกขราชมาณพที่ว่า ทำอย่างไรข้าพเจ้าจึงจะไม่ให้มัจจุราชเห็น พระพุทธองค์ก็บอกว่า โมกขราช เธอจงมีสติ มองโลกนี้โดยความเป็นของว่าง ว่าไม่มีเรา ไม่มีของเรา ให้ว่างจากความรู้สึกว่าในโลกนี้มันเป็นของเรา เป็นของเราเสีย พญามัจจุราชก็จะมองไม่เห็นว่ามีเราเกิด มีเราแก่ มีเราเจ็บ มีเราตาย ให้มองว่าเป็นเพียงธรรมชาติล้วน ๆ ไหลไปเสีย จิตก็จะไม่มีตัว ความทุกข์ว่าเกิด แก่ เจ็บ ตาย นั้นมันไม่ใช่ทุกข์ที่ภาวะแก่ ทุกข์ที่ภาวะเจ็บ มันไปทุกข์ที่ยึดถือว่าเราแก่ เราเจ็บ ถ้ามองโลกนี้ด้วยความเป็นของว่างจากตัวเราเสียแล้ว จะไม่มีพญามัจจุราชมาตามมองเห็นเลย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 7493
ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0
|
|
« ตอบ #64 เมื่อ: 07 กุมภาพันธ์ 2553 08:29:46 » |
|
ภาพที่ ๙๕
เมื่อศรัทธา ก็ไม่มีคำว่าน้อย นี้เป็นภาพมีในพุทธประวัติจากหินสลัก พระพุทธองค์ออกบิณฑบาต พวกเด็ก ๆ ที่น่ารักกำลังนั่งเล่นดินเล่นทราย เอากะโหลกกะลามาทำข้าว ทำขนม ครั้นเมื่อเห็นพระพุทธเจ้าบิณฑบาต ก็เรียกพระพุทธเจ้าว่าจะรับไหม พระพุทธเจ้าก็เปิดบาตรรับจากเด็กผู้มีจิตศรัทธาน้อมอยากจะให้ จิตที่คิดจะให้นั้นมันสบาย แล้วจิตที่คิดจะให้ด้วยศรัทธานั้นชื่อว่าน้อยไม่มี เพราะขึ้นชื่อว่าจิตที่คิดจะให้ด้วยศรัทธาแล้วมันไม่มีคำว่าค่าน้อย มันมีคุณค่าทางจิตใจมาก เพราะใจที่จะคิดให้นั้นมันยาก ซึ่งมันไม่เหมือนกับเดี๋ยวนี้ แม้แค่ดินแค่ทรายล่วงล้ำเกินนิดเดียวเพื่อประโยชน์ของสาธารณะก็ยังยาก บางคนนี่ขยายที่รุกเขตกันเข้ามาจนหมดรั้วหมดหนทางเดิน นี่แหละ…จิตที่คิดจะให้มันยาก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 7493
ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0
|
|
« ตอบ #65 เมื่อ: 07 กุมภาพันธ์ 2553 08:33:37 » |
|
ภาพที่ ๙๖
ทุกชีวิตมุ่งสู่ความตาย พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมโปรดพระเจ้าปเสนทิโกศล ให้เห็นภัยในการเกิด แก่ เจ็บ ตาย ความว่า…
ความแก่ ความเจ็บ ความตายนั้น เป็นเสมือนภูเขาก้อนใหญ่ หรือหินก้อนใหญ่ที่กลิ้งลงมาจากยอดภูเขา แล้วก็บดทับสัตว์ให้แหลกลาญไปวัน ๆ หนึ่ง ฉะนั้นชีวิตของเรานั้นแหลกไปกับเกิด ไปกับแก่ ไปกับเจ็บ ไปกับตาย ซึ่งก้อนหินนั้นกำลังกลิ้งเข้ามา
ท่านทั้งหลายอย่าได้ประมาท ที่ยังอยู่ตรงนี้เพราะว่าหินก้อนใหญ่มันยังไม่กลิ้งมาข้างหลังเรา ความแก่มันกลิ้งจะทับเราอยู่ทุกวัน ความเจ็บกำลังกลิ้งจะทับเราอยู่ทุกวันและมันก็กลิ้งทับเพื่อน ญาติพี่น้อง สัตว์ต่าง ๆ ตายไปวันละศพสองศพ เรายังไม่ตกใจ จะคิดที่จะวิ่งหนีหรือ คือวิ่งไปหาพระธรรมคำสอนที่สอนให้พ้นเกิด แก่ เจ็บ ตาย พระองค์บอกว่า ใครได้เราเป็นกัลยาณมิตรแล้วจะพ้นเกิด แก่ เจ็บ ตาย เพราะฉะนั้นจงวิ่งหาพระธรรมคำสอนของพระองค์ เพื่อให้พ้นหินก้อนใหญ่ที่มันจะทับเราให้แหลกลาญ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 7493
ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0
|
|
« ตอบ #66 เมื่อ: 07 กุมภาพันธ์ 2553 08:37:46 » |
|
ภาพที่ ๙๗
การฝึกม้า การฝึกพระภิกษุ ครั้งหนึ่ง เกสีผู้ฝึกม้าได้เข้ามากราบทูลถามพระพุทธเจ้า ว่า… พระองค์ฝึกสาวกอย่างไร?
พระพุทธเจ้าก็เลยย้อนกลับเกสีผู้ฝึกม้าว่า แล้วท่านล่ะฝึกม้าอย่างไร?
เกสีบอกว่า เราฝึกด้วยวิธีละมุนละไม บางทีก็ฝึกด้วยวิธีลงแส้ ลงปฏัก แล้วแต่ม้าตัวนั้นมันจะอยู่ในสภาพอย่างไร ถ้าหากว่าไม่ไหว ก็พาไปฆ่าทิ้ง
พระองค์ก็บอกว่า เราก็เป็นเช่นนั้น เราก็ฝึกสาวกด้วยวิธีละมุนละไม และลงแส้บ้างคือขนาบบ้าง และถ้าเห็นว่าไม่ไหวเราก็ฆ่าทิ้งเช่นเดียวกัน เกสีบอกว่า เอ้า เป็นพระแล้วจะไปฆ่าได้ยังไง ไม่ผิดศีลหรือ?
พระองค์ก็ทรงบอกว่า การฆ่าในธรรมวินัยนี้ ไม่ใช่ฆ่าเหมือนชาวโลก ที่ใช้ปืน ใช้มีด ใช้หอก ใช้ดาบ ฆ่าในความหมายของเราก็คือให้ตายจากความดี ฆ่าในอริยวินัยนี้ก็คือไม่พูด ไม่สอน ไม่เตือน ปล่อยให้เน่าอยู่กับความชั่วนั่นเอง เพราะฉะนั้น การที่ไม่มีใครคอยเตือน คอยสอน คอยห้าม นั่นถือว่าเราถูกฆ่าให้ตายจากความดี และจมอยู่กับความชั่วร้ายอย่างเน่าฟอนเฟะ เพราะฉะนั้นการฆ่าที่ร้ายกาจที่สุดก็คือ การปล่อย ไม่สอน ไม่เตือน ปล่อยให้จมอยู่กับความชั่ว ให้เน่าเฟะอยู่กับความชั่ว คิดชั่ว นั่นแหละเป็นการถูกฆ่าที่ร้ายกาจที่สุด
ท่านทั้งหลาย…ถ้าเราไม่มีใครเตือน ไม่มีใครสอนเราเลย จงรู้สึกไว้เสียเถิดว่าเรากำลังจะถูกฆ่าอย่างน่ากลัวที่สุด
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 7493
ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0
|
|
« ตอบ #67 เมื่อ: 07 กุมภาพันธ์ 2553 08:41:33 » |
|
ภาพที่ ๙๘
น้ำพระทัยอันใหญ่หลวง ครั้งเมื่อพระนางปชาบดีโคตมี ได้นำเอาผ้าจีวรมาถวายพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงยกมือห้ามว่า ควรถวายแก่สงฆ์ และอย่าเจาะจงเฉพาะรูปใดรูปหนึ่งเลย
ซึ่งเป็นการแสดงถึงน้ำพระทัยของพระพุทธองค์ว่า ไม่ยินดีรับไว้ในลาภสักการะแต่เพียงผู้เดียว ยังได้เหลียวแลในสังฆมณฑลหมู่สงฆ์เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งชาวพุทธทั่วไปก็มักมีการเจาะจงยินดีเฉพาะบุคคลที่ตนเคารพรักใคร่รู้จัก ไม่ได้นึกถึงสังฆมณฑลทั่วไป
นี่น้ำพระทัยของพระผู้มีพระภาค ผู้เป็นพระบรมศาสดาของพวกเรานั้น พระองค์ทรงมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่สาวกของพระองค์หรือหมู่คณะเป็นอย่างยิ่ง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 7493
ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0
|
|
« ตอบ #68 เมื่อ: 07 กุมภาพันธ์ 2553 08:45:46 » |
|
ภาพที่ ๙๙
ภิกษุณีองค์แรก ต่อมาพระนางปชาบดีก็ได้บวชเป็นภิกษุณี ซึ่งถือว่าเป็นภิกษุณีองค์แรกในพระพุทธศาสนา และต่อมาได้เป็นพระอรหันต์ เป็นภิกษุณีที่มีจิตใจเด็ดเดี่ยว หลังจากที่พระบรมศาสดาพยายามอย่างยิ่งที่จะไม่ให้มีสตรีเข้ามาบวช ด้วยเห็นว่าจะเป็นอันตรายต่อพรหมจรรย์ แต่ว่าด้วยความใจเด็ดของผู้เป็นสตรีสมัยก่อนโน้น อย่าว่าแต่แค่รักษาศีลแปดเลย ศีลสองร้อย สามร้อย ยังพยามยามที่จะรักษาไว้ได้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 7493
ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0
|
|
« ตอบ #69 เมื่อ: 07 กุมภาพันธ์ 2553 08:49:14 » |
|
ภาพที่ ๑๐๐
พระจริยาวัตร ภาพนี้เป็นอิริยาบถพระจริยาวัตรที่น่าเลื่อมใสของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นทรงมีน้ำพระทัยเอื้อเฟื้อเกื้อกูลอย่างยิ่ง ภิกษุสาวกรูปใดเจ็บป่วย พระองค์ก็ทรงไปอาบน้ำเอาน้ำลูบ โดยเสด็จไปพร้อมกับพระอานนท์ ซึ่งเป็นพระอุบัฎฐาก โดยทรงพยายามเน้นหนักตรัสสั่งสอนพระอานนท์ไปในทางที่ว่า ใครที่มุ่งจะปฏิบัติต่อตถาคตแล้ว ขอให้ปฏิบัติกับภิกษุที่ป่วยไข้เช่นเดียวกับที่ปฏิบัติต่อพระองค์ นี่ก็แสดงถึงว่าเราเป็นเพื่อนภิกษุหรือว่าเป็น พุทธบริษัทร่วมกันแล้ว จะเหลียวแลกันเมื่อยามเจ็บยามไข้ ที่เรียกว่า ป่วยก็ช่วยกันรักษายามดีก็ช่วยกันที่จะประกอบกิจการงาน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 7493
ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0
|
|
« ตอบ #70 เมื่อ: 07 กุมภาพันธ์ 2553 09:09:48 » |
|
ภาพที่ ๑๐๑
อุปมาหม้อสี่ชนิด ครั้งหนึ่งพระองค์แสดงธรรมกับภิกษุสาวก โดยอุปมาด้วยหม้อ 4 อย่าง คือ หม้อเปล่าปิดฝา หม้อเปล่าไม่ปิดฝา หม้อน้ำเต็มปิดฝา และหม้อน้ำเต็มไม่ปิดฝา ซึ่งอุปมาได้กับภิกษุที่ไม่รู้อริยสัจแล้วก็มีความประพฤติไม่งาม (หม้อเปล่าเปิดฝา) ภิกษุที่รู้อริยสัจจ์แต่ว่ากิริยามารยาทไม่งามเลยนี้เปรียบเสมือนกับหม้อที่มีน้ำแต่ว่าเปิดฝา ส่วนหม้อที่เปล่าด้วยแล้วก็ไม่ปิดฝาด้วย ก็คือรูปร่างกิริยามารยาทก็ไม่ดี อริยสัจสี่ก็ไม่รู้ สุดท้ายหม้อที่เต็มน้ำด้วยปิดฝาด้วย นี่ก็คือภิกษุที่น่าเคารพเลื่อมใส ภายในจิตใจก็รู้อริยสัจสี่ ทรงอุปมาไว้เพื่อแสดงให้เห็นว่า ภิกษุที่แม้จะรู้อริยสัจสี่แล้วแต่กิริยาไม่น่าเคารพเลื่อมใสนั้นก็ยังมีอยู่ในส่วนตัวนั้นหมดทุกข์ไป แต่กิริยาภายนอกไม่สร้างศรัทธาให้เกิดแก่ปวงชน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 7493
ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0
|
|
« ตอบ #71 เมื่อ: 07 กุมภาพันธ์ 2553 09:15:14 » |
|
ภาพที่ ๑๐๒
กุศโลบายสอนธรรม พระองค์ทรงแสดงธรรมสั่งสอนภิกษุด้วยการใช้อุปกรณ์ภายนอกที่เห็นได้ด้วยตา เช่น ไปเห็นหนูสี่ตัว ตัวหนึ่งขุดรูแต่ไม่อยู่ ตัวหนึ่งอยู่แต่ไม่ขุด ตัวหนึ่งขุดด้วยอยู่ด้วย ตัวหนึ่งไม่ขุดด้วยไม่อยู่ด้วย นี่แสดงอุปมาว่า ภิกษุบางรูปนั้นศึกษาสำนักนั้นสำนักนี้ แต่ว่าไม่ได้ปฏิบัติ เรียกว่าขุดแต่ไม่อยู่ ส่วนผู้ที่ปฏิบัติเอาจริงเอาจัง แต่ไม่ค่อยศึกษาธรรมวินัยให้ทั่วถึงเรียกว่าอยู่โดยไม่ค่อยได้ขุด ส่วนที่ศึกษาด้วยปฏิบัติด้วยอย่างจริงจังตามที่ศึกษานั้นและเผยแพร่ได้ด้วย เป็นประโยชน์ส่วนตน ส่วนรวม ก็เรียกว่าทั้งขุดด้วยทั้งอยู่ด้วย ส่วนที่ไม่ขดไม่อยู่นั้นก็ง่ายที่สุด คือพวกไม่เอาไหนเลย ไม่ยอมฟัง ไม่ยอมศึกษา ไม่ยอมทดลองปฏิบัติอะไรทั้งสิ้น นี่คือกุศโลบายของพระองค์ที่ทรงสั่งสอนภิกษุให้เข้าใจ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 7493
ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0
|
|
« ตอบ #72 เมื่อ: 07 กุมภาพันธ์ 2553 09:22:25 » |
|
ภาพที่ ๑๐๓
โปรดสิงคาลมาณพ พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมโปรดสิงคาลมาณพ ซึ่งเชื่อตามที่พ่อได้สอนไว้ว่า ให้ไหว้ทิศทุกเช้า พระองค์ก็ทรงมาโปรดและตรัสถามว่า ทำไมต้องไหว้อย่างนี้ เขาก็ตอบว่าพ่อสั่งให้ทำ พระองค์ก็เลยบอกว่า มันมีทิศที่น่าจะไหว้อีก ทิศแปลว่าสิ่งที่จะต้องเหลียวดู เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราน่าจะเหลียวดูทุกเช้า ไม่ใช่ทิศเหนือทิศใต้ ทิศที่น่าเหลียวดูที่สุด ทิศเบื้องหน้า ได้แก่ บิดา มารดา เป็นต้น ทิศเบื้องหลัง ได้แก่ บุตร ภรรยา แต่คนบางคนมันหันกลับทิศ มัวดูแต่บุตรและภรรยา บิดามารดาไม่ได้ดู อย่างนี้ก็เสียหาย ก็เรียกว่าดูให้ทั่วทิศที่เราควรเหลียวดู เช่น บุตร ภรรยา สามี เพื่อน บ่าว ไพร่ สมณะ ชี พราหมณ์
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 7493
ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0
|
|
« ตอบ #73 เมื่อ: 07 กุมภาพันธ์ 2553 09:47:28 » |
|
ภาพที่ ๑๐๔
โปรดลัทธิชีเปลือย พระพุทธองค์เสด็จโปรดพวกลัทธิชีเปลือย ที่มีการประพฤติแบบอัตกิลมถานุโยค หรือเป็นพวกสีลัพพตปรามาส ซึ่งมีความเชื่อว่าการประพฤติให้หมดกิเลสจะมีวิธีเช่น การจับกิ่งไม้โหนไว้ไม่ไปไหน มือกำไว้แน่น พระองค์ก็มาถามว่า ทำไปทำไม เขาก็บอกว่าทำเพื่อใช้กรรมเก่า พระองค์ทรงถามว่า ไปทำกรรมอะไรมาไว้ เขาก็บอกว่าไม่รู้ ครั้นพอถามว่าใช้ไปได้เท่าไรแล้ว เขาบอกไม่รู้ ยังเหลืออีกเท่าไรที่จะใช้ต่อไป ก็ไม่รู้ แต่ทำไปตามที่เรียกว่าเถรส่องบาตร เขาบอกให้ทำยังไงก็ทำกันไปยังงั้น
พระองค์ทรงแสดงธรรมโปรดโดยชี้ให้เห็นว่า ถ้าหากว่ามือนี้มัวมากำอยู่นั่น เพื่อไม่ให้มันทำกรรมต่อ นั่นมากำไม้กวาดกวาดวัดเสียยังดีกว่า อย่าเสียเวลาไปกำอยู่อย่างนั้นเลย บางคนก็เอามือลนย่างไฟ เพื่อไม่ให้มือนี้มันไปทำบาปทำกรรมใหม่ บางคนก็เดินบนหนาม นอนบนหนาม ยืนขาเดียว ยืนบิดตัว สารพัดอย่างที่จะทรมานกันไป
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 7493
ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0
|
|
« ตอบ #74 เมื่อ: 07 กุมภาพันธ์ 2553 09:53:24 » |
|
ภาพที่ ๑๐๕
ธิดาช่างหูก พูดเล่นลิ้น ครั้งหนึ่ง ขณะที่พระองค์ทรงแสดงธรรมกับฝูงชนเป็นอันมาก มีลูกสาวช่างหูกคนหนึ่งมาพูดในลักษณะที่คนทั่วไปมองดูแล้วหาว่าพูดยวนพระพุทธเจ้า เรียกง่าย ๆ แบบชาวบ้านก็ว่า พูดเล่นลิ้น แต่ใจจริงของเธอที่พูดไปนั้น พูดไปตามความรู้สึกสภาพธรรมะที่เกิดขึ้นในหัวใจ กล่าวคือ…
พระองค์ทรงถามลูกสาวช่างหูกผู้นั้นว่า …มาจากไหน หญิงคนนั้นแทนที่จะบอกว่ามาจากบ้านหรือมาจากไหน นางกลับไม่ตอบแบบนั้น กลับตอบว่าไม่รู้ เมื่อพระพุทธองค์ตรัสถามต่ออีกว่าแล้วจะไปไหน บอกรู้ จะไปเมื่อไร บอกไม่รู้
พูดกันง่าย ๆ ก็สรุปว่า พระองค์ถามว่ามาจากไหน…ไม่รู้ ก็คือไม่รู้ว่าตนเกิดมาจากไหนที่มาเกิดนี่ ทีนี้จะไปไหนก็รู้ล่ะ ไปตายแหละ ก็ต้องไปแหละ นี่รู้ ถามว่าไปเมื่อไร ตายวันไหน บอกไม่รู้อีก
คนส่วนใหญ่นี่โมโหมาก นึกแค้นว่าผู้หญิงคนนี้มันพูดเล่นลิ้นกับพระพุทธเจ้า แต่ที่จริงนั้นไม่ใช่ เป็นเรื่องที่ดังได้กล่าวแล้วว่า เป็นการเข้าใจผิดกัน พวกชาวบ้านหาว่าพูดเล่นลิ้น แต่หญิงนั้นหมายถึงว่า การถามว่ามานี่ เกิดมานี้มาจากไหนไม่รู้ ส่วนจะไปไหน รู้ว่าไปสู่ความเกิด เจ็บ ตาย ส่วนไปเมื่อไรล่ะ บอกไม่รู้เหมือนกันจะไปเมื่อไร
ลักษณะนี้เรียกว่าเป็นแบบเซ็นเลยทีเดียว แต่ว่าพระพุทธเจ้าเข้าใจ คนส่วนใหญ่ที่มาฟังวันนั้นไม่เข้าใจ จึงเกลียดชังโกรธแค้นมาก หาว่าลูกสาวช่างหูกผู้นี้พูดจาเล่นลิ้นกับพระพุทธเจ้า
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 7493
ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0
|
|
« ตอบ #75 เมื่อ: 07 กุมภาพันธ์ 2553 10:02:52 » |
|
ภาพที่ ๑๐๖
โปรดชายไถนา พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมกับคนไถนา คนไถนาเขาต่อว่าพระสมณโคดมว่า ไม่เห็นทำมาหากิน ทำไร่ไถนาอะไร เที่ยวบิณฑบาตขอเขาอยู่เรื่อยไป พระองค์เมื่อได้ยินชายไถนากล่าวต่อว่าดังนั้น จึงทรงแสดงธรรมโปรดชายไถนาว่า
เราก็ทำนาเหมือนกัน มีอมตะเป็นผล คือมีความไม่ตายนี้เป็นข้าวเปลือกเป็นผล เรามีขันติเป็นงอนไถ มีสติเป็นเหมือนเชือก มีผาลเป็นปัญญาที่จะไถพลิกความโง่ออกจากจิตใจ พระองค์ทรงแสดงธรรมโปรดสั้น ๆ ครั้นปรากฏว่าพอแสดงธรรมไปแล้ว พราหมณ์ผู้ทำนานี้เกิดเลื่อมใสศรัทธาเพราะว่าไอ้คันไถอย่างนั้น เชือกอย่างนั้น มันหายากเหมือนกันนะ ผาลไถนี่เราก็ทำกันได้ เดี๋ยวนี้ใช้เครื่องผาลไถพลิกกลับดินให้งอกงาม ทำให้ต้นไม้ขึ้นดี แต่ว่าพระองค์นั้นทรงใช้ปัญญา
พระผู้มีพระภาคทรงไปโปรดพราหมณ์ผู้ทำนา ปรากฏว่าพราหมณ์ก็ได้พูดกับพระพุทธเจ้าว่า ท่านจะทำนาบ้างไม่ได้หรือไง ผู้ที่ทำนาก็ย่อมได้ข้าวกิน เมื่อไม่ได้ทำนาก็ไม่ควรจะกิน พูดตามภาษาบ้านเราก็ว่าอย่างนั้นเถอะ ปรากฏว่า พระองค์ก็บอกว่าเราก็ทำนาเหมือนกัน ชาวนาผู้เป็นพราหมณ์ก็ถามว่า เอ้า ไหนล่ะเครื่องมือในการทำนาไม่เห็นมีอะไร มีแต่บาตรลูกเดียวจะทำได้อย่างไร
พระองค์ก็ทรงตอบว่าเรามีศรัทธาเป็นเสมือนพืชเป็นเหมือนเมล็ดที่จะเพาะปลูกงอกงามเป็นผลเรามีปัญญาเป็นเหมือนแอกและไถ มีหิริเป็นงอนไถ ใจเป็นเชือกชัก สติของเราเป็นผาลและปฏัก เรามีกายคุ้มครอง ดีแล้ว มีทวารมีวาจาอันคุ้มครองดีแล้ว เป็นผู้สำรวมแล้วในการบริโภคอาหาร เราทำการ ดายหญ้าด้วยคำสัตย์ โสรัจจะของเราเป็นเครื่องให้เสร็จงานความเพียรของเราเป็นเครื่องนำธุระไปให้สมหวัง นำไปถึงความเกษมจากโยคะ คือปราศจากเครื่องผูกพันนั้น ไปไม่ถอยหลังยังที่ซึ่งบุคคลไปแล้วไม่ต้องโศก มีอมตะเป็นผล
นี้คือการทำนาของเรา บุคคลทำนาอย่างนี้แล้ว ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้เหมือนท่านต้องการข้าวไปแก้หิว เรานั้นก็มีคุณธรรมดังที่ได้กล่าวนี้เป็นเครื่องให้พ้นทุกข์ด้วยเช่นกัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 7493
ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0
|
|
« ตอบ #76 เมื่อ: 07 กุมภาพันธ์ 2553 10:07:28 » |
|
ภาพที่ ๑๐๗
พราหมณ์ผู้ถือตน พระพุทธองค์ทรงโปรดพราหมณ์ผู้ถือตัวถือตน ได้ถือดอกไม้สองกำมาข้างละกำมือ เมื่อมาถึงพระองค์ก็ทรงบอกว่า วางสิ…พราหมณ์ พราหมณ์ได้วางดอกไม้ในมือข้างหนึ่งลง ยังเหลืออีกข้างหนึ่ง พระองค์ตรัสต่อไปว่า…วางสิพราหมณ์ พราหมณ์ก็ได้วางลงอีกข้างหนึ่ง พระองค์ก็ยังตรัสต่อไปอีกว่า วางสิ..พราหมณ์ ปรากฏว่าพราหมณ์ชักโมโห จะวางอะไรอีกล่ะ วางจนหมดแล้วนี่น่า จะให้วางอะไรอีกล่ะ พระองค์ก็ตรัสว่า วางการยึดมั่นถือมั่นถือตัวถือตนสิพราหมณ์ จะได้เบากว่านี้ ทำให้พราหมณ์ได้เกิดแวบขึ้นมาในหัวใจ และทำให้เกิดลดทิฏฐิมานะความยึดมั่นถือมั่นลงไปได้มากทีเดียว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 7493
ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0
|
|
« ตอบ #77 เมื่อ: 09 กุมภาพันธ์ 2553 16:31:39 » |
|
ภาพที่ ๑๐๘
อุปมาเรื่องนิพพาน ภาพนี้เป็นภาพการอุปมานิพพานว่า…
เหมือนกับการเรียกเด็กมากินข้ามต้ม ข้าวต้มนิพพานแล้ว ก็คือข้าวมันเย็นแล้วนั่นเอง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 7493
ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0
|
|
« ตอบ #78 เมื่อ: 09 กุมภาพันธ์ 2553 20:54:54 » |
|
ภาพที่ ๑๐๙
ม้านิพพาน ภาพนี้ เปรียบนิพพานเหมือนม้าที่มันเชื่องเยือกเย็นดีแล้ว คนเราเมื่อกิเลสหมดแล้วก็ย่อมสงบเย็น เหมือนม้าที่เชื่อง เรียกว่านิพพานคือ ม้านิพพาน
เพราะฉะนั้น คำว่านิพพานนั้นไม่ใช่เรื่องหลังจากความตาย ผู้ที่ฟังหรือพบพระพุทธเจ้าแล้วก็จะได้เย็นใจในปัจจุบัน เดี๋ยวนี้ ชีวิตนี้ ไม่ต้องรอต่อเมื่อตายแล้ว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 7493
ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0
|
|
« ตอบ #79 เมื่อ: 09 กุมภาพันธ์ 2553 21:01:27 » |
|
ภาพที่ ๑๑๐
ธรรมะกำมือเดียว ภาพนี้พระองค์ทรงแสดงธรรมโปรดภิกษุที่ป่าประดู่ลาย โดยทรงหยิบใบไม้ขึ้นมากำมือหนึ่ง แล้วถามภิกษุว่า ใบไม้ในกำมือของพระองค์ กับใบไม้ทั้งหมดในป่าประดู่นี้ ใบไม้ที่ไหนมีมากกว่ากัน ภิกษุก็ได้ตอบว่า ใบไม้ในป่านี้ทั้งหมดมีมากกว่าในกำมือของพระองค์
พระองค์จึงทรงตรัสต่อไปว่า เรื่องที่เรารู้น่ะเท่ากับใบไม้ทั้งป่า แต่ที่นำมาสอนเธอเท่ากับใบไม้ในกำมือ คือสอนแต่เรื่องทุกข์กับเรื่องดับทุกข์เท่านั้น ส่วนเรื่องอื่น ๆ นั้น ปรากฏว่ามีคนสอนกันมากมาย ฉะนั้นพระองค์จึงมุ่งไปสอนแต่เรื่องทุกข์กับเรื่องดับทุกข์ ส่วนสูตรอื่นวิชาอื่นมีคนสอนแล้ว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 7493
ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0
|
|
« ตอบ #80 เมื่อ: 09 กุมภาพันธ์ 2553 21:16:21 » |
|
ภาพที่ ๑๑๑
แสดงธรรมโต้สัจฉกนิครนถ์ พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมโต้กับสัจฉกนิครนถ์ ที่ป่ามหาวัน เมืองเวสาลี โดยมีพระเจ้าลิจฉวีเข้าร่วมฟังในครั้งนั้นด้วย พร้อมกับผู้ฟังอีกเป็นจำนวนมากมาย เนื่องจากว่าสัจฉกนิครนถ์นี่เป็นคนที่ค่อนข้างจะโม้คุยโวโอ้อวดศักดาสักหน่อย ได้ป่าวประกาศว่าวันนี้เราจะไปโต้กับสมณโคดมให้เหงื่อตก สั่นสะท้านดุจดังลูกนกทีเดียว เพราะสัจฉกนิครนถ์เคยพูดไว้ว่า เขาน่ะโต้กับเสาที่ไม่มีชีวิตนี่น่ะยังสั่นสะเทือน นี่เป็นถึงขนาดนั้น
ปรากฏว่า เมื่อมาพูดโต้กันไปโต้กันมา ก็ได้ถามว่า ท่านสมณโคดมสอนอย่างไร?
พระองค์ก็เน้นไปที่ว่า เราสอนว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตน สัจฉกนิครนถ์ก็ได้ย้ำเน้น แน่นะ พระพุทธเจ้าบอกว่า แน่ สัจฉกนิครนถ์ก็บอกว่า ธรรมดาคนเขาสอนกันทั่วไป เขารู้กันว่าร่างกายนี่มันเป็นของตน ท่านมาสอนอย่างนี้มันก็ผิดน่ะสิ
พระองค์กล่าวอุปมาว่า ในนครหนึ่งมีพระราชาเป็นเจ้าของแผ่นดิน ก็ยอมลงโทษบุคคลผู้ทำผิด เนรเทศให้ออกไปเสียก็ได้ บังคับให้ทำอะไร ได้รับอาชญาอย่างไรก็ได้ แต่รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เราบังคับได้ไหม เราบังคับไม่ให้เจ็บ ไม่ให้ป่วย ไม่ให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ได้หรือไม่ สัจฉกนิครนถ์ก็บอกว่า ไม่ได้ พระองค์ก็บอกว่า ถ้างั้นคำแรกกับคำหลังมันก็ไม่ตรงกันซะแล้วนี่ ซัดส่ายไปส่ายมาเสียแล้ว ทีแรกว่าเป็นตนตอนนี้ว่าไม่ใช่ตนเสียแล้ว หนัก ๆ เข้าก็ให้ตอบให้ยืนยันมาว่า ที่พูดมานี่ถูกหรือไม่ถูก ชักจะนิ่งอึ้ง ปรากฏว่าถามถึงสามครั้งไม่ตอบ
พระองค์ก็บอกว่า ถ้าหากว่าครั้งที่สามนี่ไม่ตอบ จะหัวแตกเป็นเจ็ดเสี่ยงทีเดียว พระองค์บอกว่าให้ตอบนะ ไม่ใช่ให้นิ่ง ปรากฏว่าสัจฉกนิครนถ์นี่นิ่ง คอตก สั่นสะท้านเหงื่อตกทีเดียว ทีแรกคิดว่าจะมาโต้กับพระองค์นี่ ต้อนให้พระองค์นิ่ง เหงื่อไหล ว่าอย่างนั้นเถอะ แต่ปรากฏว่าพระองค์ได้หยิบจีวรให้ดูว่า นี่เหงื่อเราไม่ได้ไหลเลย แต่ของท่านน่ะย้อยตั้งแต่หน้าผากมาทีเดียว ปรากฏว่าตั้งแต่นั้นมา สัจฉกนิครนถ์ถึงกับหมดทิฏฐิอันชูโรงว่าตนเองนั้นเด่นแน่ ชอบใช้วาทะข่มผู้อื่น เลยเกิดศรัทธานิมนต์พระพุทธเจ้าไปฉันยังสำนักของตน พระเจ้าลิจฉวีก็ได้ติต่าง ๆ นานาว่า เป็นคนที่ชอบใช้วาทะข่มผู้อื่น แต่แล้วเมื่อมาเจอพระพุทธเจ้าก็เรียกว่าสยบไปเลยทีเดียว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
กำลังโหลด...